วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสาวกจำนวนมากเสด็จพุทธดำเนินระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ปริพาชก (นักบวชลัทธิหนึ่งสมัยพุทธกาล ตั้งสำนักอยู่ประจำบ้าง เที่ยวเร่ร่อนไปบ้าง) คนหนึ่งชื่อ สุปิยะ กับลูกศิษย์หนุ่มชื่อ พรหมทัต ก็กำลังเดินทางเช่นเดียวกัน ทั้งสองเดินตามพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ แต่สุปิยปริพาชกผู้เป็นอาจารย์กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ อาจารย์และศิษย์ทั้งสองเดินขัดแย้งกันไปตลอดทาง

ในราตรีนั้น พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ประทับแรม ณ ตำหนักหลวงในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา (สวนมะม่วงหนุ่ม) สุปปิยปริพาชกและศิษย์ก็พักที่นั่นเหมือนกัน และยังคงกล่าวโต้เถียงกันเช่นเดิม เวลาใกล้รุ่งวันนั้น ภิกษุสงฆ์ได้นั่งสนทนากันถึงเรื่องที่ศิษย์และอาจารย์ทั้งสองสรรเสริญและติเตียนพระรัตนตรัยอย่างไร และสนทนากันถึงคุณอันน่าอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าว่า ทรงรู้ทรงเห็นความที่สัตว์ทั้งหลายมีอัธยาศัยต่างกัน (เช่นอาจารย์และศิษย์ทั้งสองนี้)

พระศาสดาเสด็จมา ทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันแล้ว ตรัสเตือนด้วยพระเมตตาว่า "ถ้าใครกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ก็อย่าโกรธเคือง อาฆาตขุ่นแค้น เพราะถ้าโกรธเคืองเสียก่อนแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวถูกหรือกล่าวผิด อนึ่งถ้าใครกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็อย่าเพิ่งยินดี ลิงโลดใจ เพราะถ้ายินดีเสียก่อนแล้ว รีบรับเอาแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเขากล่าวถูกหรือผิด การที่ด่วนโกรธก็ตาม ด่วนพอใจยินดีก็ตาม จะเป็นอันตรายแก่เธอทั้งหลาย ทางที่ถูกต้องก็คือ ควรพิจารณาว่าเขากล่าวนั้นเป็นจริงหรือไม่ แล้วชี้แจงให้เขาทราบ ให้เข้าใจตามที่เป็นจริง"

ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ปุถุชนสรรเสริญพระองค์ก็เพียงแต่ศีลเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งเล็กน้อย อันนี้หมายความว่า พระองค์ทรงมีคุณธรรมอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าศีลเป็นอันมาก เช่น สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ (ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง) เป็นต้น แต่ปุถุชนหารู้ถึงคุณธรรมเหล่านั้นไม่

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงทิฏฐิหรือทฤษฎี หรือทรรศนะต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในสมันั้นถึง ๖๒ ประการ บางพวกเห็นว่าโลกเที่ยง บางพวกว่าไม่เที่ยง บางพวกว่าโลกมีที่สุด มีขอบเขตจำกัด บางพวกว่าไม่มีที่สิ้นสุด คือไม่มีขอบเขตจำกัด บางพวกว่าโลกหน้ามี คือหลังจากความตายแล้ว สัตว์ทั้งหลายต้องเกิดอีก บางพวกว่าไม่มี คือตายแล้วสูญ บางพวกว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง บางพวกว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

ในพวกที่เชื่อว่าตายแล้วเกิด ยังแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งถือว่าเกิดเป็นอะไรก็เกิดอย่างนั้นต่อไปทุกชาติ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น อีกพวกหนึ่งถือว่ามีการเปลี่ยนแปลง คือ เกิดเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง ไม่แน่นอน ในพวกที่เห็นว่าตายแล้วสูญก็เหมือนกัน บางพวกเห็นว่าสูญหมด บางพวกเห็นว่าสูญเฉพาะบางอย่าง เช่น ร่างกายสูญไป แต่จิตใจไม่สูญ เป็นต้น บางพวกเห็นว่าจิตใจ (ชีวะ) กับร่างกาย (สรีระ) เป็นอย่างเดียวกัน บางพวกเห็นว่าเป็นคนละอย่าง

*****ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตในสมัยนั้นได้เป็นไปอย่างกว้างขวางมาก ได้มีการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญา (Metaphysics) กันอย่างเอาจริงเอาจัง เอาแพ้ชนะกันจริงๆ ใครถือทิฏฐิอย่างใดก็ยึดมั่นในทิฏฐิอย่างนั้น และสั่งสอนชักชวนให้ผู้อื่นให้มีความเห็นและปฏิบัติเช่นนั้นด้วย ตั้งเป็นคณะเป็นสำนักขึ้นมา จนถึงสมัยพุทธกาลก็ยังมีเจ้าสำนักอยู่เป็นอันมาก

*****รวมความในเรื่องทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตของคนสมัยนั้นว่า ใครมีความเห็นอย่างใด เลื่อมใสลัทธิใด ก็ดำเนินชีวิตไปตามลัทธิความเชื่อถือนั้น (เช่นเดียวกับคนสมัยนี้) การได้เป็นเจ้าลัทธิในสมัยนั้นถือว่าศักดิ์สูงเทียบด้วยพระเจ้าแผ่นดิน (ราชา) หรือยิ่งกว่า จึงเป็นที่กระหยิ่มของนักปราชญ์ทั้งหลายที่ใคร่เป็นเจ้าลัทธิ ประกาศตนเป็นผู้นำหมู่ชนในวิถีชีวิตและจิตใจ

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิตฝ่ายพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นกลางๆ ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งที่เกิดแต่เหตุก็ย่อมดับไป เหมือนไฟซึ่งเกิดแต่เชื้อ เมื่อสิ้นเชื้อไฟก็ย่อมดับไปเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นปฏิจจสมุปบาท คือ สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น (Dependent Orgination or Interraction) เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

เกี่ยวกับสุขทุกข์แห่งชีวิตนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงสุขทุกข์ว่า เกิดแต่เหตุ เช่น ในอริยสัจ ๔ ทรงแสดงเรื่องทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ (สุข) และทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ในเรื่องจริยธรรม ทรงสอนให้มนุษย์เว้นจากการเบียดเบียนกัน ให้เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน บำเพ็ญประโยน์ต่อกัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม คนในสังคมใดปฏิบัติตามหลักที่ทรงสอนไว้นี้ สังคมนั้นก็ประสบสันติสุขตามสมควรแก่การปฏิบัติ

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า สัตว์ทั้งหลายถูกทิฏฐิต่างๆ ดังกล่าวมาคล้องไว้ หมกอยู่ในทิฏฐิแล้วนั้นเหมือนปลาติดข่าย ไม่อาจดิ้นให้หลุดออกไปได้ พวกเขาพอใจ ติดใจในผัสสะแห่งอายตนะต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีความทะยานอยาก มีความยึดมั่นหรือติดใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทมนัสเป็นอันมาก ส่วนคถาคต (คือ องค์พระพุทธเจ้า) เป็นผู้ตัดตัณหาอันเป็นเหตุให้วนเวียนเกิดในภพน้อยใหญ่ได้แล้ว (จึงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ไม่มีทิฏฐิใดๆ คล้องไว้ได้ เหมือนปลาที่หลุดออกจากข่าย ว่ายไปได้ตามปราถนา)

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร