วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทศบารมีวิภาค - ขันติบารมี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์)
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


อิทานิ ปณฺณรสี ทิวเส สนฺนิปติตาย พุทฺธปริสาย กาจิ ธมฺมิกถา กถิยเต,
อิโต ปรํ ขนฺติปารมึ อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ภาสิสฺสามีติ อิมสฺส ธมฺมปริยายสฺส
อตฺโถ สาธายสฺมนฺเตหิ สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ


ณ วันนี้เป็นวันปัณรสีดิถีที่ ๑๕ ค่ำ แห่งกาฬปักษ์
เป็นวันอันพุทธบริษัทมาสันนิบาต
เพื่อจะสดับพระธรรมเทศนาตามวินัยนิยม
และได้พร้อมใจกันกระทำบุรพกิจ

คือการบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน และไหว้พระสวดมนต์
และสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ เสร็จแล้ว

บัดนี้เป็นโอกาสที่จักฟังพระธรรมเทศนา
พึงตั้งใจฟังให้สำเร็จประโยชน์ที่ตนต้องประสงค์
ด้วยว่าการฟังธรรมเป็นของได้ด้วยยาก

ถึงแม้พุทธโอวาทก็มีอยู่ว่า

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ

ความว่า การฟังธรรมเป็นของได้ด้วยยากฝึดเคืองดังนี้
อธิบายว่า ธรรมเป็นของลึกซึ้งยากที่จักถือเอาเนื้อความได้
แต่เพียงจะมีศรัทธาความเชื่อว่าฟังธรรมเป็นบุญเป็นกุศล
เป็นเหตุให้ได้รับความรู้ความฉลาด เท่านี้ก็เป็นของหายากเสียแล้ว

ผู้มีศรัทธาความเชื่อพอ แต่ฟังไม่เข้าใจอย่างนี้ก็มีมาก
อุปสรรคเครื่องขัดข้องต่อการฟังธรรมเล่าก็มีมาก
คือเหตุภายนอกก็มีหลาย เหตุภายในก็มีมาก
ที่จักปลอดโปร่งได้มายังที่ประชุมตามกาลนิยมดังนี้ก็แสนยาก
ไม่ใช่เป็นของยากแต่ผู้ฟัง ผู้แสดงธรรมก็หายากอีกเหมือนกัน

ถ้าผู้แสดงธรรมเข้าใจแต่ทางปริยัติ ไม่เข้าใจทางปฏิบัติ
ถึงแสดงอย่างไร ฟังก็ไม่เข้าใจอีกเหมือนกัน


เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกำหนดลักษณะแห่ง พระธรรมกถึก ไว้ ประการ

สนฺทสฺสโก แสดงให้ผู้ฟังเห็นด้วยดี ๑
สมาทปโก เสดงให้ผู้ฟังเต็มใจจะปฏิบัติตามด้วยดี ๑
สมุตฺเตชโก แสดงให้ผู้ฟังมีใจองอาจกล้าหาญที่จักทำตามด้วยดี ๑
สมฺปหํสโก แสดงให้ผู้ฟังเกิดความร่าเริง ตั้งใจปฏิบัติโดยความชื่นอกชื่นใจ ๑ ดังนี้

ท่านกำหนดองคคุณของผู้แสดงธรรมไว้ ๔ ประการดังนี้

เราจะไปได้ที่ไหน
ท่านผู้ใดจะแสดงธรรมให้ได้ลักษณะพร้อมทั้ง ๔ ประการนี้ก็แสนจะหายาก

เอาแต่เพียงว่า

ท่านแสดงให้ฟังได้ความเข้าใจอยู่กับเราผู้ฟังเท่านี้ก็พอ
คือว่า ให้ตั้งใจฟังแล้วกำหนดตาม
ไม่ต้องจำเอาสำนวนโวหารที่ท่านเทศน์
กำหนดเอาแต่เนื้อความตามที่ท่านอธิบายขยายความให้เข้าใจเท่านั้นเป็นพอ


แล้วนำไปตรวจตรองอีกชั้นหนึ่ง
ถ้าเห็นว่าคำสอนนั้นสมเหตุสมผลควรจะปฏิบัติตาม
ก็ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามอย่านอนใจ
วันคืนปีเดือนไม่คอยเรา


อกุศลส่วนใดควรละได้ละไปก่อน
ส่วนใดยังละไม่ได้ก็ให้ตั้งใจว่าจะต้องละให้ได้


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ฝ่ายบุญกุศลส่วนใดที่ยังไม่เคยมีก็รีบทำให้มีขึ้น
บุญกุศลส่วนใดที่เคยมีอยู่แล้ว ก็อย่าให้เสื่อม ให้มีแต่เพิ่มพูนทวีขึ้น


ประพฤติอย่างนี้เป็นความชอบยิ่ง
ควรพุทธบริษัทจะพากันสนใจให้มาก

ต่อนี้ จักแสดง ขันติบารมี ต่ออนุสนธิกถาไป
ขนฺติ นาม ชื่ออันว่า ขันติ คือ ความอดทนอันนี้
พหุปกาโร มีอุปการะมากแก่กิจการทั้งปวง
ไม่เลือกว่าคดีโลก หรือคดีธรรม ต้องพึ่งขันติ

ผู้จะประกอบการทำมาหากินเลี้ยงชีพ
ก็ต้องอาศัยขันติความอดทน ไม่เห็นแก่หนาวและร้อนจนเกินไป
กิจการงานนั้น ๆ ก็สำเร็จตามประสงค์

แม้ผู้จะปฏิบัติทางฝ่ายคดีธรรม
ถ้ามีขันติตั้งหน้าแล้ว ก็อาจจะให้ความประสงค์นั้น ๆ สำเร็จได้ทุกประการ
ถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์สัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อสมัยที่ยังก่อสร้างพระบารมีอยู่
ก็ได้ทรงบำเพ็ญขันติบารมีทุกภพทุกชาติจนเต็มรอบ


ครั้นมาถึงปัจฉิมชาติ พระองค์เสด็จออกบำเพ็ญพรต
ทรงประกอบความเพียร ก็ทรงมั่นในขันติความอดทน
ไม่เห็นแก่หนาวและร้อน ไม่เห็นแก่ความอยาก ความหิว
อดทนต่อทุกข์ อดทนต่อเหตุแห่งทุกข์
จนได้สำเร็จสยัมภูภาพพุทธวิสัย
ก็ต้องอาศัยขันติความอดทนเป็นผู้อุปการะ

ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เที่ยวประกาศพระพุทธศาสนา
ไม่เห็นแก่ความลำบากยากแค้น
ก็สำเร็จด้วยขันติ ความอดทนทั้งสิ้น
เพราะขันติบารมีพระองค์ได้ทรงสร้างสมมานับด้วยโกฏิแห่งกัลป์เป็นอันมาก

ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
ก็ทรงนำเอาขันติที่มีบริบูรณ์ในพระองค์นั้นแหละมาแจกแก่พุทธบริษัท
ผู้รับแจกก็คือผู้ปฏิบัติตาม
และพากันได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน
นับด้วยโกฏิด้วยล้านนับไม่ถ้วน
ท่านพรรณนาคุณแห่งขันติ

คือบอกอานิสงส์แห่งขันติไว้ใน ขันติกถา ถึง ๑๔ ประการ
จะสาธกมาไว้ในที่นี้ เพื่อผู้ต้องการจะได้ค้นหาง่าย


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ข้อที่ ๑ ว่า สีลสมาธิคุณานํ ขนฺตี ปธานการณํ
ขันติความอดทนเป็นเหตุ เป็นประธานปห่งคุณ คือ ศีลแลสมาธิทั้งหลาย

ข้อที่ ๒ สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
แม้กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น ย่อมเจริญด้วยขันติความอดทนโดยแท้

ข้อที่ ๓ ว่า เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติมูลํ นิกนฺตติ
ขันติความอดทนย่อมตัดเสียได้
ซึ่งรากเหง้าแห่งกรรมอันเป็นบาปทัง้หลายแม้ทั้งสิ้น

ข้อ ๔ ว่า ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก
คนผู้มีขันติความอดทนชื่อว่าย่อมขุดเสียได้
ซึ่งรากเง่าแห่งความเดือดร้อนทั้งหลาย มีการติเตียนกันแลทะเลาะวิวาทกันเป็นต้น

ข้อ ๕ ว่า ขนฺตี ธีรสฺส ลงฺกาโร
ขันติความอดทน เป็นอาภรณ์เครื่องประดับของนักปราชญ์

ข้อที่ ๖ ว่า ขนฺตี ตโป ตปสฺสิโน
ขันติ ความอดทนเป็นตบะ คือเป็นฤทธิเป็นเดชของผู้มีความเพียร

ข้อที่ ๗ ว่า ขนฺตี พลํ ว ยตึนํ ขันติ
ความอดทน เป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรตพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ข้อที่ ๘ ว่า ขนฺตี หิตสุขาวหา
ขันติความอดทน นำประโยชน์และความสุขมาให้เป็นผล

ข้อที่ ๙ ว่า ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสี สุขสีลวา
ผู้มีขันติความอดทน ชื่อว่า ผู้มีมิตร เป็นผู้มีลาภ เป็นผู้มียศ
เป็นผู้มีความสุขอยู่เสมอเป็นเนืองนิตย์

ข้อที่ ๑๐ ว่า ปีโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติความอดทนชื่อว่า เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ข้อที่ ๑๑ ว่า อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนติโก
ผู้มีขันติความอดทนชื่อว่าเป็นผู้นำประโยชน์มาให้แก่ตน
และคนทั้งหลายเหล่าอื่นด้วย

ข้อที่ ๑๒ ว่า สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนิติโก
ผู้มีขันติความอดทน ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ดำเนินตามมรรคา
เป็นที่ไปสวรรค์และพระนิพพาน

ข้อที่ ๑๓ ว่า สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
ผู้มีขันติความอดทน ชื่อว่า ย่อมทำตามพจนโอวาทแห่งพระศาสดาแท้

ข้อที่ ๑๔ ว่า ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติความอดทน
ชื่อว่าย่อมบูชาสมเด็จพระบรมชินเจ้าด้วยการบูชาอย่างยิ่ง


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ใน โอวาทปาฏิโมกข์
ก็ทรงยกขันติความอดทนขึ้นเป็นประธานว่า

ขนฺตึ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ขันติความอดทน
ตีติกฺขา คือความอดกลั้นทนทาน
เป็นตบะธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่งดังนี้


สรุปความทั้งสิ้น คงได้ใจความว่า
ขันติความอดทนเป็นบารมีธรรมอย่างเอก

ถ้าผู้ใดตั้งใจรักษา ย่อมกันความชั่วร้ายความเสียหาย ความเสื่อมทราม
ที่นับว่าลามกธรรมเสียทั้งสิ้นได้
สิ่งที่ต้องการปรารถนาอาจสำเร็จได้ทุกประการ

ข้อสำคัญที่ว่า ขันติ เป็นธรรมให้สำเร็จทางสวรรค์
ทางพระนิพพาน คือว่าผู้ปรารถนาสวรรค์


เมื่อมีขันติความอดทน
หมั่นเข้าใกล้ไต่ถามข้ออรรถข้อธรรมในสำนักของนักปราชญ์บ่อย ๆ
ก็จักเกิดความเชื่อความเลื่อมใส
เป็นไปมั่นในคุณพระรัตนตรัย
เกิดปัญญาเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม
บำเพ็ญทานและศีลให้ไพบูลย์ขึ้น
ก็อาจสำเร็จภูมิสวรรค์ได้โดยไม่ต้องสงสัย

ถ้าปรารถนา พระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันประเสริฐ
ก็ให้มีขันติความอดทน
บำเพ็ญ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เต็มรอบ
ก็อาจจักสำเร็จได้ตามปรารถนา


ศีลที่ควรจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ก็มีหลายประเภทต้องรักษาตามภูมิของตน
ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็ควรรักษาศีล ๕ ศีล ๘
ถ้าเป็นสามเณรก็ควรรักษาศีล ๑๐
ถ้าเป็นภิกษุ ก็ควรรักษาพระปาฏิโมกขสังวรศีลให้เป็นภาคพื้น

แล้วบำรุงยอดคือ อาชีวมัฏฐกศีล
อาชีวมัฏฐกศีล ในองค์อริยมรรค
คือ สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว
ให้สำเร็จเป็นสมุจเฉท คือให้ตั้งวิรัติให้ขาดด้วยเจตนา ว่า

เราจักเว้น วจีทุจริตทั้ง ๔ ให้ขาด
ให้ตั้งใจสมาทาน สมฺมาวาจา ว่า
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจักกล่าวแต่วาจาที่จริง
วาจาที่อ่อนโยน วาจาสมัครสมานประสานสามัคคี
วาจาที่เป็นไปกับด้วยประโยชน์

เราจักเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ มี ปาณาติบาต เป็นต้นให้ขาด
ให้ตั้งใจสมาทาน สมฺมากมฺมนฺโต ว่าตั้งแต่บัดนี้ไป

เราจักกระทำการงานด้วยกาย
จะให้สัมปยุตด้วยเมตตากรุณาทุกประเภทไป
เราจักเว้นมิจฉาอาชีวะเลี้ยงชีวิตผิดธรรมเสีย

ให้ตั้งใจสมาทาน สมฺมาอาชีโว ว่า
ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยอาหารอันได้มาโดยชอบธรรม

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ศีล คือ สัมมาวาจา มีองค์ ๔ สัมมากัมมันโตมีองค์ ๓
สัมมาอาชีโว มีองค์ ๑ รวมเป็น ๘ ชื่อว่า อาชีวมัฏฐกศีล
แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นองค์ที่ ๘ ดังนี้
ศีล ๘ ประการนี้ เป็นยอดศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาฏิโมกข์

คือว่าผู้รักษาศีลเหล่านั้นตามภูมิของตนให้บริบูรณ์แล้ว
ต้องสมาทาน อาชีวมัฏฐกศีล นี้ให้มีในตน จะได้เป็นบาทแห่งสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรกุลบุตร บำเพ็ญตนให้เป็นอาชีวมัฏฐกศีลแล้ว
ประสงค์จะบำเพ็ญสมาธิตามในองค์พระอัฏฐังคิกมรรค
พึงตั้งสติลงที่กาย คือสกลกายนี้ และสัมปยุตตธรรม

คือ เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔
สติมีอันเดียวอารมณ์ที่ตั้งเป็น ๔ ถึงอารมณ์ทั้ง ๔ นั้น ก็ ๔ ในหนึ่ง
คือ ๔ ในสกลกายอันเดียวนี้เท่านั้นต่างแต่อาการ


เมื่อเข้าใจแล้วให้เพ่งอารมณ์นั้นด้วยวิริยะความเพียร
และขันติความอดทนจนให้จิตเป็นเอกัคคตา จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว

ชื่อว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อทำจนชำนาญสมาธิจิตมั่นคงดีแล้ว
น้อมจิตอันบริสุทธิ์นั้นขึ้นสู่ปัญญา
ปัญญาในที่นี้ประสงค์วิปัสสนาปัญญา
แปลว่า ปัญญาเห็นแจ้งเห็นจริงในสกลกายนี้เท่านั้น ไม่ประสงค์รู้ในที่อื่น

ให้แยกอาการแห่งทุกข์ในสกลกายนี้ออกเป็น ๔ สถาน
ให้รู้ว่า ส่วนนี้เป็นทุกขสัจ ดังโรคภัยไข้เจ็บ ร้อน หนาวเป็นตัวอย่าง
ให้รู้ทุกขสมุทัยสัจ ดังพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่เจริญใจ
มีลูกตายเสียเมียตายจากเป็นตัวอย่าง
ให้รู้ทุกขนิโรธสัจ ดังรู้เท่าต่อเหตุ เหตุดับ

คือเหตุภายในมีความป่วยไข้ความตายมาถึง
เหตุภายนอกมีความพิบัติแห่งวัตถุภายนอกมาถึง
ก็ไม่มีทุกข์เป็นตัวอย่าง
ให้รู้มรรคสัจ ดังรู้ว่าตนเป็นทุกขสัจด้วยอาการนี้
ตนเป็นทุกขสมุทัยสัจด้วยอาการนี้
ตนเป็นทุกขนิโรธสัจด้วยอาการนี้ ตนเป็นมรรคสัจด้วยอาการนี้
อย่าให้เสียหลักในพระพุทธโอวาท

ใน ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
ทุกขสัจเป็นของพึงกำหนด ทุกขสมุทัยสัจเป็นของพึงละเสีย
ทุกขนิโรธสัจเป็นของพึงทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นของพึงทำให้เกิดให้มี

เมื่อโยคาวจรกุลบุตรน้อมจิต
ตรวจตรองอยู่ในสกลกายนี้จนรู้ชัดในลักษณะทั้ง ๔ นั้นโดยชัดใจ
ชื่อว่า ภาเวตัพพธรรม ทำมรรคภาวนาให้เกิดให้มี
ผู้เห็นอริยสัจเพียงชั้นนี้เป็นแต่มรรคปฏิปทาเท่านั้น
เป็นแต่ผู้เห็นตรงจึงชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

เมื่อทิฏฐิตรงเป็นมัชฌิมาปฏิปทาแล้ว
ก็ให้ตรวจตรองให้เป็นอนุโลมปฏิโลม ถอยหน้าถอยหลัง
ท่านเรียกว่า อนุโลมิกญาณ
พิจารณาสังขารด้วยอุเบกขาจิต
จนให้รู้เท่าสังขารและวิสังขาร สังขารนั้นเป็นของไม่มีอยู่แต่เดิม
ถ้ารู้เท่าเมื่อใดก็ดับเมื่อนั้น

แต่วิสังขารเป็นของมีอยู่แต่เดิม
ต้องให้เห็นตามความเป็นจริงได้อย่างไร ตามสภาพของเขา
ชื่อว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นที่สุดของมรรค
ให้โยคาพจรทำมรรคนี้แลให้เกิดให้มีขึ้นให้จงได้
ส่วนผลไม่ต้องพูดถึงก็ได้
ขอให้บำรุงแต่มรรคให้เต็มรอบเท่านั้นเป็นพอ


มรรคจะบริบูรณ์ขึ้นได้
ก็ต้องอาศัยวิริยบารมี ขันติบารมี เป็นผู้อุปถัมภ์
ถ้าขาดขันติความอดทนเสียแล้ว
ก็จักเสื่อมจากมรรคผลที่ตนต้องประสงค์


เพราะเหตุนั้นขันติบารมีนี้
ถ้าผู้ใดได้รับแจกจากพระบรมศาสดาแล้ว
และตั้งอกตั้งใจรักษาของท่านให้เกิดให้มีในตนอย่างจริงจังแล้ว
ย่อมไม่แคล้วจากมรรคผลนิพพาน
จึงเป็นบารมีธรรมอันวิเศษ
เป็นเหตุให้ผู้ดำเนินตามได้ประสบสุขทั้งโลกนี้โลกหน้า
ตลอดถึงพระนิพพาน โดยนัยดังวิสัชนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ

:b8: :b8: :b8:

ที่มา : หนังสือ ทศบารมีวิภาค-มงคลสุตตวิภาคบรรยาย
ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส

สำเนาเทศน์เช้า วันสิ้นเดือน ๑๒ (๒๒/๘/๗๐) [ทศบารมีวิภาค - ขันติบารมี]


:b50: :b50: ทศบารมีวิภาค : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=56279

:b44: รวมคำสอน “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=47595

:b44: ประวัติและปฏิปทา “พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26908


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2008, 01:41
โพสต์: 128


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโทนานะคะ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆคะ สาธุ :b24:

.....................................................
มีชีวิตอยู่เพื่อทำความดี..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2015, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2016, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2018, 06:46 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2020, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2021, 08:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2021, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2021, 13:44 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร