วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 07:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติเป็นตัวบอก สัมปชัญญะเป็นตัวรู้


การยกตนข่มท่าน นั่นก็คือเหตุ

การที่คิดว่าตัวเองวิเศษเลิศเลอกว่าคนอื่นๆ นั่นก็คือเหตุ

สิ่งใดก็ตามที่มีความรู้สึกเกิดขึ้นไปในแนวทางว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นๆ หรือผิดแผกแตกแยกไปจากคนอื่นๆ ล้วนเกิดจากอุปทานทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น

หากรู้จักภายใน ย่อมรู้จักภายนอก ย่อมเข้าใจถึงเหตุและผล เพราะเขา,เรา ล้วนไม่มีความแตกต่างกันเลย แต่ที่ทำให้ดูให้แตกต่างกัน เหตุเพราะกิเลสเท่านั้น เพียงแต่จะรู้ชัดตรงนี้หรือยัง


หากแม้นระลึก ( มีสติ รู้อยู่ ) อย่างนี้ได้เนืองๆ กระทบปั๊บรู้ๆๆๆๆๆ การยึดมั่นถือมั่นย่อมลดน้อยลงไป สุดท้ายเป็นเรื่องปกติไปทันที จะมองทุกๆเรื่องเป็นเรื่องปกติ ไม่มีมาว่าดีหรือไม่ดี ใช่หรือไม่ใช่แต่อย่างใด

หากรู้แล้ว ย่อมรู้จักให้อภัยและมีแต่ความเมตตา กิเลสในใจเป็นตัววัดผลของการปฏิบัติ

ยิ่งว่าผู้อื่นมากเท่าใด ผลย่อมกลับคืนมากมาเเท่านั้น เหตุย่อมไม่จบ ภพชาติย่อมยืดยาวออกไป เราสร้างเหตุเพื่อการดับที่ต้นเหตุไม่ดีกว่าหรือ?

แต่นั่นแหละ ใครเชื่อใคร ใครไม่เชื่อใคร ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุที่ทำร่วมกันมาทั้งสิ้น เหตุมี ผลย่อมมี

ทุกๆความผิดพลาดที่ผ่านมา ทุกๆความล้มเหลวที่เคยคิดว่าล้มเหลว สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นครู สภาวะที่เกิดขึ้นในชีวิต คือการศึกษาหรือการเรียนรู้ที่แท้จริง


ครูที่แท้จริงของเรา คือ กิเลสนี่เอง กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต


ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นในจิตล้วนเป็นครู มีทั้งครูภายนอกและภายใน เรียนรู้ภายใน ย่อมรู้ทั้งภายในและภายนอก

ทั้งสภาวะภายในภายนอกล้วนเป็นข้อสอบมีทั้งบัญญัติ ( คาดเดา,การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น) และ ปรมัตถ์ ( ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น) แล้วแต่ว่าสติจะรู้เท่าทันหรือไม่


การตั้งใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง


ผลที่ได้รับคือ เป็นเหตุให้ชีวิตของเราไปตามกระแสโลก แต่ไม่ไหลไปตามกระแสโลก โลกเป็นอย่างไร เป็นอย่างโลก อยู่กับโลกได้ทุกสภาวะ แต่ไม่ไหลไปตามกิเลสที่มากระทบแต่อย่างใด หากแม้นมีไหล จะหยุดได้ไวมากขึ้น คือ อยู่กับปัจจุบัน

กิเลสมี เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันมีแค่นั้นเอง เราแค่รู้ แค่ดู อยู่อย่างเป็นสุขมากขึ้นเรื่อยๆ แค่รู้ได้มากเท่าไหร่ ยิ่งอยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เกิดความพอใจในสิ่งที่ตนมี ( ทางโลก ) และตั้งใจทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง

สภาวะดีก็แค่รู้ ไม่ดีก็แค่รู้ เพราะย่ำมาจนชิน รู้ดีว่า มันไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนตลอดเวลา คาดเดาอะไรไม่ได้ เพราะเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้อยู่ได้ทุกๆสภาวะทางโลก

ส่วนทางธรรม จะแค่ดู แค่รู้มากขึ้นเรื่อยๆ

นี่แหละตัวปล่อยวางที่แท้จริง จิตปล่อยวางได้จะมีแค่รู้ แค่ดู


สภาวะดีให้รีบทำ


สภาวะดี หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้นๆ หากรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบาสบาย นั่นน่ะโอกาสทอง เพราะเป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นได้ง่าย


สภาวะไม่ดีให้รีบทำ


สภาวะไม่ดี หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตขณะนั้นๆ หากรู้สึกหงุดหงิด รู้สึกห่วยแตก สิ่งต่างๆที่เกิดในจิตที่ว่าไม่ดีนั้น ดูทันไหม ถึงบอกว่าให้รีบทำ


ถ้าตัวสัมปชัญญะยังไม่เกิด จะไม่รู้ชัดในความรู้สึกนั้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจะเหมือนสายลมที่พัดผ่านไป เป็นเหตุให้เกิดการสร้างเหตุไปเรื่อยๆแบบ NON STOP เพราะทำตามความรู้สึกชอบหรือชังที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะ

ถ้าตัวสัมปชัญญะเกิด จะรู้ชัดในความรู้สึกหรือความคิดนั้นๆ จะเห็นแต่ความเลวของตัวเอง เห็นแต่ความผิดพลาดของตัวเอง เห็นแต่กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่ไปเห็นนอกตัวแต่อย่างใด

นี่แหละ สติเป็นตัวบอก สัมปชัญญะเป็นตัวรู้เพราะเหตุนี้

รู้ตัว( สติ )กับรู้สึกตัว ( สัมปชัญญะ = รู้ชัด )

รู้ลงไปบ่อยๆในสิ่งที่เกิดขึ้น ( รู้ชัดในกายและจิต )

ย่อมเป็นเหตุให้รู้สึกตัวทั่วพร้อม ( สติ+ สัมปชัญญะ = สมาธิ )

เป็นเหตุให้ รู้ชัดในจิต ( กิเลส )

เหตุนี้จึงเป็นที่มาของสภาวะจิตเห็นจิต ได้แก่ จิตนึกคิดอะไรก็รู้ชัด จิตรู้สึกอย่างไรก็รู้ชัด

เมื่อรู้ชัดแบบนี้ได้เนืองๆ ผลคือ จะเห็นแต่ความไม่เที่ยงของทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอก

ทุกๆครั้งที่เห็นความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปัญญาขึ้นเนืองๆ ปัญญาที่เกิดขึ้น มีแต่มุ่งดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง ( กิเลส ที่เกิดขึ้นในจิต )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้แบบ สมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง


การรู้แบบสมถะ คือ

รู้โดยการใช้คำบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธ,พองหนอ ยุบหนอ,นะมะพะทะ ตลอดจนคำบริกรรมภาวนาแบบอื่นๆ

สมถะ เกิดจาก การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วเป็นเหตุให้จิตเป็นสมาธิ รู้แบบนี้เรียกว่า รู้แบบสมถะ

รู้ได้แบบดังที่กล่าวมาก่อน เรียกว่า สมถะนำหน้า


หลังจากนั้นมารู้ได้แบบนี้


รู้ชัดในกายและจิต คือ ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สภาวะคือ

รู้ชัดในกาย ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ,ท้องพองยุบ,ชีพจรเต้น,เสียงหัวใจเต้นฯลฯ

รู้ชัดในจิต ไม่ว่าความคิดที่เกิดขึ้น หรือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นในจิต สามารถรู้ชัดได้

รู้แบบนี้ เรียกว่า วิปัสสนาตามหลัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้แบบ วิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง


รู้แบบวิปัสสนา มี ๒ แบบ


๑. รู้โดยการใช้ความคิดพิจรณา ( โยนิโสมนสิการ )

เช่น การเอาจิตจดจ่อรู้ในความคิดพิจรณา อาจจะยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาคิดพิจรณา หรืออสุภะ หรืออะไรก็ได้ที่นำมาคิดพิจรณา

๒. รู้อยู่ในกายและจิต ( มีรูปนามเป็นอารมณ์ ) คือ ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกายและจิต

รู้อยู่ในกาย ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ,ท้องพองยุบ,ชีพจรเต้น,เสียงหัวใจเต้นฯลฯ

รู้ชัดในจิต ไม่ว่าความคิดที่เกิดขึ้น หรือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นในจิต สามารถรู้ชัดได้



รู้แบบที่ ๑ คือ การใช้ความคิดพิจรณา ( โยนิโสมนสิการ )

การเอาจิตจดจ่อรู้ในความคิดพิจรณาแบบนี้ สมาธิย่อมเกิดขึ้นได้

รู้แบบนี้ เรียกว่า รู้แบบ วิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง



รู้แบบที่ ๒ รู้อยู่ในกายและจิต ( มีรูปนามเป็นอารมณ์ )

เช่น รู้กายได้ ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ,ท้องพองยุบ,ชีพจรเต้น,เสียงหัวใจเต้นฯลฯ การเอาจิตจดจ่อรู้ไปแบบนี้ สมาธิย่อมเกิด

หรือ รู้ในจิต ไม่ว่าความคิดที่เกิดขึ้น หรือความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นในจิต สามารถรู้ชัดได้ การเอาจิตจดจ่อรู้ไปแบบนี้ สมาธิย่อมเกิด

รู้แบบนี้ เรียกว่า รู้แบบ วิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้แบบสมถะคู่กับวิปัสสนา


รู้แบบสมถะคู่กับแบบวิปัสสนา คือ การมีสมาธิและสติเสมอกัน โดยความหมายว่า เป็นธรรมเทียมคู่กัน ไม่ก้ำเกินกันและกัน

เช่น สามารถรู้ชัดในกายและจิต ( ความคิด,ความรู้สึก ) พร้อมๆกับรู้ถึงกำลังของสมาธิ (มาก, น้อย ) ที่กำลังเกิดขึ้น

สภาวะนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เจริญสติ

จะเกิดขึ้นทั้งในผลของสมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง

จะเกิดขึ้นในผลของวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติเป็นเรื่องของจิต


การปฏิบัติเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ แต่ก่อนที่จะเกิดสภาวะจิตเห็นจิตได้ ต้องอาศัยรูปหยาบๆก่อน คือ กายนี่เอง

รู้ชัดในกายได้มากเท่าไหร่ ย่อมเป็นเหตุให้รู้ชัดในจิตมากขึ้นเท่านั้น กายจึงสำคัญเพราะเหตุนี้

การรู้ มีแต่เรื่องของกิเลส ไม่ใช่ไปรู้นอกตัว รู้ชัดในภายในให้ได้ก่อน จึงเป็นเหตุให้รู้ชัดภายนอกได้โดยไม่ต้องไปอยากรู้อะไร

การปฏิบัติไม่ได้ปฏิบัติเพื่อได้อะไร เป็นอะไร การที่กล่าวว่าได้อะไร เป็นอะไรในบัญญัติต่างๆ ล้วนเกิดจากการให้ค่าทั้งสิ้น เกิดจากกิเลสในจิตที่ยังมีการยึดติดในสิ่งที่เกิดขึ้น จนถึงขั้นให้ค่าแล้วก่อให้เกิดการกระทำออกมา นี่คือเหตุ

แต่เพราะความไม่รู้ยังมีอยู่ จึงเป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในรู้นั้นๆ ซึ่งมีแต่กิเลส แต่ยังมองไม่เห็น เพราะตัวตัณหาความทะยานอยากที่เกิดขึ้นในจิต บดบังสภาวะไม่ให้เห็นตามความเป็นจริง

เพียงหมั่นรู้ชัดในกายได้เนืองๆ แล้วจะรู้ชัดในจิตมากขึ้นเรื่อยๆ

รู้ชัดในกายได้มากเท่าไหร่ ย่อมรู้ชัดในจิตมากขึ้น

ย่อมเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิตนี่เอง


สติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ไม่ว่าจะการใช้ชีวิตทางโลกและทางธรรม ( การปฏิบัติ ) สติเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะการที่มีสติที่แข็งแรง ย่อมเป็นเหตุให้ตัวสัมปชัญญะเกิดได้ง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุนี้ จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้น

ฉะนั้น การปฏิบัติแบบไหนๆล้วนไม่ใช่เรื่องสำคัญ


สิ่งที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่า การปฏิบัตินั้นๆสามารถทำให้รู้ชัดในกายได้หรือไม่

หากปฏิบัติแล้ว ยังไม่สามารถรู้ชัดในกายได้ นั่นหมายถึง ตัวสัมปชัญญะยังไม่เกิด มันมีแค่นี้เอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนาที่ให้คุณ


ควรเป็นตัวของตัวเอง คิดอะไรยังไง ควรแสดงออกมาแบบนั้น รู้ที่คิดว่ารู้ รู้นั้นๆเป็นอย่างไร ควรแสดงรู้นั้นๆออกมาตามความเป็นจริง จงกล้าที่จะเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

ไม่ควรนำแนวทางการปฏิบัติของผู้อื่นมาวิพากย์ วิจารณ์ เพราะตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีชอบ,ชัง ถูกใจ,ไม่ถูกใจ ใช่,ไม่ใช่ ล้วนเกิดจากอุปทานที่ให้ค่าตามความคิดทั้งสิ้น หาใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะ

การที่นำแนวทางอื่นๆมาวิพากย์ วิจารณ์ ล้วนเป็นการก่อให้เกิดเหตุใหม่ทั้งสิ้น

แม้กระทั่งพฤติกรรมของผู้อื่นที่มิได้อยู่ในวงสนทนาหรือไม่ได้รู้เห็นอยู่ในเหตุการณ์ ไม่ควรนำมาวิพากย์ วิจารณ์ เพราะมีแต่การคาดเดา ให้ค่าตามกิเลสตามเหตุของแต่ละคน เหตุเก่าเพิ่งเกิดให้ผล เหตุใหม่ทำไปอีกแล้วด้วยความไม่รู้

ล้วนเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น แล้วผลจะไปไหน วัฎสงสารยาวนานเพราะเหตุนี้ มองนอกตัว แต่ไม่มองในตัว ไม่รู้ชัดในตัว หากรู้ชัดภายในได้ ย่อมรู้ชัดภายนอก

เคยคิดทบทวนมั่งไหม นาฬิกาชีวิตของตัวเองนั้น เหลือเวลาในการมีชีวิตอยู่มากน้อยแค่ไหน จะไปเสียเวลากับเหตุของผู้อื่นอยู่ทำไม ทำไมจึงไม่สร้างเหตุเพื่อดับเหตุทั้งปวงที่เกิดตัวเอง

เมื่อกล้าเป็นตัวของตัวเอง จะกล้าให้คนอื่นๆสามารถแสดงความคิดเห็น วิพากย์ วิจารณ์สิ่งที่เราคิด และกำลังทำอยู่ได้

การเห็นต่าง ไม่ใช่เหตุของความแตกแยกเสมอไป การเห็นต่าง หากกล้าเป็นตัวของตัวเอง ย่อมมีแต่ประโยชน์

บางสภาวะ เราไม่สามารถมองเห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของตัวเองตามความเป็นจริงได้ จุดบางจุด ข้อบกพร่องของตัวเองยากที่จะมองเห็นได้ หากกล้าที่จะยอมให้ผู้อื่นสามารถแสดงข้อคิดเห็นตรงๆได้ ย่อมมีแต่ประโยชน์

การปฏิบัติที่ได้ผล จะมีแต่ความเป็นอิสระจากกิเลสมากขึ้นเรื่อยๆ กิเลสจะเป็นนายเราน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะอยู่กับปัจจุบันทันมากขึ้น เนื่องจากสติรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต กิเลสที่เกิดขึ้น ย่อมดับไวได้มากขึ้นเรื่อยๆ



อกาลิโก

ธรรมนี้เป็นอกาลิโก คือ ไม่จำกัดกาล ไม่มีเรื่องของกาลเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง มีแต่เรื่องของเหตุและผล ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เกิดจากสุตตมยปัญญาหรือจินตมยปัญญา แต่เป็นเรื่องของจิตภาวนาโดยตรง

ไม่ว่าจะยุคไหน สมัยไหน ธรรมจะทันยุคสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ธรรมเป็นอกาลิโกเพราะเหตุนี้ ไม่ต้องมีเหตุปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของเหตุที่แต่ละคนกระทำไว้ ผลจึงมาแสดงให้ได้รับ ในรูปของเหตุปัจจุบัน

ต่อให้น้ำท่วมโลก ต่อให้ไม่มีดวงอาทิตย์ ต่อให้ไม่มีโลกใบนี้ ธรรมก็ยังคงเป็นธรรม แต่จะพบธรรมนั้นๆได้ ต้องมียานพิเศษส่วนตัว ต้องสร้าง ต้องทำกันขึ้นมาเอง คนอื่นๆทำแทนให้ไม่ได้ นี่แหละ ความพิเศษของธรรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2011, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติแบบไหนถึงจะถูก


การปฏิบัติไม่มีคำว่าถูกหรือผิด มีแต่ถูกใจกับไม่ถูกใจในความคิดของแต่ละคน จึงเป็นเหตุของคำว่าปฏิบัติแบบนี้ถูก ปฏิบัติแบบนี้ผิด

การปฏิบัติไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด การเริ่มต้นทำตามความถนัดไปก่อน ถนัดแบบไหนให้ทำแบบนั้น หากไม่เคยมีพื้นฐานด้านการปฏิบัติมาก่อน


เริ่มต้นแบบง่ายๆ



หาที่นั่ง นั่งตามสะดวก จะนั่งขัดสมาธิหรือนั่งบนเก้าอี้หรือนั่งที่กลางแจ้ง นั่งตรงไหนก็ใช้ได้ นั่งแบบไหนก็ใช้ได้ แรกๆหาที่เงียบๆก่อน เพราะเพิ่งเริ่มต้นฝึกจิต ต้องหาที่สงบเงียบก่อน

นั่งตามถนัดแล้ว หายใจเข้าออกยาวๆสักสองสามครั้ง แล้วเอาจิตจดจ่อรู้ลมหายใจไปสักพัก กี่นาทีก็ได้ จะใช้คำบริกรรมภาวนาหรือใช้การนับตัวเลขกำกับตามลมหายใจเข้า-ออกก็ได้


เอาจิตจดจ่อดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดูแบบปกติ ไม่ต้องไปเพ่งเพื่อให้รู้ชัดแต่อย่างใด ใหม่ๆอาจจะมีการเพ่งอยู่บ้าง ไม่เป็นไร อาจจะมีอาการตึงๆตามใบหน้า นี่เป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องไปหาสาเหตุ


เราปฏิบัติเพื่อสร้างตัวสติให้มีกำลังแข็งแรง จุดประสงค์คือ ต้องการสร้างตัวสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น หากสติไม่แข็งแรงพอ สัมปชัญญะย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เมื่อสติแข็งแรง สัมปชัญญะย่อมเกิด

เราปฏิบัติเพื่อสิ่งนี้

เพื่อสร้างสติที่มีอยู่ ทำให้เป็นสัมมาสติ คือ มีทั้ง สติและสัมปชัญญะเกิดขึ้น


การปฏิบัติหรือการใช้ชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม สติ สัมปชัญญะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สร้างเหตุตรงนี้ให้เกิดขึ้นให้ได้ก่อน ปรับพื้นฐานของจิตตรงนี้ให้แข็งแรงก่อน เรื่องอื่นๆยังไม่ต้องไปนึกถึง สงสัยให้รู้ว่าสงสัย เป็นเรื่องปกติที่จะสงสัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2011, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมุทัย


สมุทัย คือ ต้นเหตุแห่งทุกข์

ต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงได้แก่ กิเลส


ที่กล่าวว่า จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์นั้น ไม่แน่เสมอไป ต้องดูสภาวะของจิตเป็นหลัก


๑. ยามที่เกิดผัสสะ จิตปราศจากอคติ สภาวะแบบนี้ การส่งจิตออกนอกไม่เป็นสมุทัย

๒. ยามที่เกิดผัสสะ จิตมีกิเลสเกิดขึ้น สภาวะแบบนี้ จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย





ลักษณะของจิตส่งออกนอกที่เป็นสมุทัย คือ จิตที่ไหลไปตามผัสสะที่เกิดขึ้น เช่น ความชอบ,ชัง หรือ จิตที่ชอบเพ่งโทษนอกตัวเนืองๆ หรือชอบกล่าวโทษนอกตัวเนืองๆ

จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย เกิดเนื่องจาก ยามที่มีผัสสะ( สิ่งที่เกิดขึ้น ) มากระทบ แล้วเกิดการให้ค่าว่าผัสสะ ( สิ่งที่เกิดขึ้น ) นั้นๆว่า ดีหรือไม่ดี ตามตัวตัณหาอุปทาน ( กิเลส ) ที่มีอยู่

เหตุที่เกิดขึ้นตามมา คือ ให้ค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ว่าดีหรือไม่ดีนั้น เป็นความชอบ,ความชัง ใช่,ไม่ใช่ ถูก,ผิด ตามความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

เมื่อมีการให้ค่าตามความคิดไปในทางชอบ,ชัง ใช่,ไม่ใช่ ถูก,ผิด ย่อมมีเหตุเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ผลย่อมมีให้ได้รับ



ผัสสะนั้นเป็นกลางกับทุกๆสิ่ง


เป็นการทำงานของอายตนะภายนอกและภายในทำงานร่วมกัน ไม่ว่าผัสสะนั้นๆจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม

เหตุที่ผัสสะมีสภาวะเปลี่ยนไป ล้วนเกิดจากการให้ค่าของกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ณ ขณะนั้นๆ



เหตุที่กล่าวว่า จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ เมื่อมีการให้ค่าว่าดีหรือไม่ดี ตัวสังขาร ( ตัวปรุงแต่ง ) ย่อมเกิดต่อเนื่อง

เราให้ค่าตามความคิดของเรา คนอื่นก็ให้ค่าตามความคิดของเขา เราว่าดี ,ไม่ดี ใช่,ไม่ใช่ ถูก,ผิด แต่คนอื่นๆอาจจะเห็นต่างคือเห็นตรงข้ามกับเราก็ได้ เพราะนั่นคือความคิดของเขา ซึ่งไม่แตกต่างจากเราเลย

เหตุที่ทำให้ดูแตกต่าง ล้วนเกิดจากกิเลส เมื่อมีความเห็นต่าง เหตุย่อมเกิด ผลย่อมมี จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยเพราะเหตุนี้


จิตส่งออกนอกไม่เป็นต้นเหตุของสมุทัยเสมอไป


การที่จิตส่งออกนอกแล้วเจือไปด้วยกิเลส ล้วนเป็นเหตุแห่งสมุทัยทั้งสิ้น

ส่วนจิตที่ฝึกมาได้ในระดับหนึ่ง จะมองตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น จะสนทนากับทุกๆคนด้วยใจที่มีเมตตาต่อกัน ไม่ได้คิดเพ่งโทษใดๆ ไม่ได้มีความชอบใจหรือไม่ชอบใจแต่อย่างใด

แต่เพราะเห็นเหตุที่กำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละคน จึงเพียงบอกเล่าเหตุที่ตนเองเคยทำมาก่อน แล้วได้รับผล จึงนำมาเพื่อสะกิดเตือนให้เห็นว่า นั่นคือเหตุนะ

ในเมื่อเราปฏิบัติเพื่อดับเหตุทั้งปวง แล้วจะไปคิดสร้างเหตุที่เป็นต้นเหตุของเหตุใหม่ไปทำไมกัน บางครั้งสติทุกคนใช่ว่าจะทัน กิเลสมันไว เราก็ต้องอาศัยผู้อื่นในการมองช่องโหว่ที่เรานั้นยังคงมีอยู่ ใช่ว่าการกระทำนั้นๆจะถูกเสมอไป

มีแต่ถูกใจเพราะคิดเข้าข้างตัวเองมากกว่าว่า ทำแบบนั้นดี แบบนี้ดี ถูกแน่นอน จริงๆล้วนเป็นเหตุใหม่ที่กำลังทำให้เกิดขึ้น

เมื่อเราเห็นสภาวะตรงนี้ได้ชัด เราย่อมเข้าใจในสภาวะของคนอื่นๆที่เป็นอยู่ จิตย่อมไม่มีความรู้สึกชอบหรือชังเกิดขึ้น ในขณะที่พูดออกไปในสิ่งที่คิดว่าน่าจะช่วยให้แง่คิดกับคนอื่นๆได้ เมื่อพูดไปแล้วย่อมรู้ดีว่า แต่ยินดีที่จะรับผลนั้น

เพราะกิเลสย่อมแตกต่างอย่างแน่นอน ย่อมเป็นเหตุให้มีความชอบหรือชังเกิดขึ้นในจิตของคนอื่นๆ เมื่อมีความชอบหรือชัง ย่อมมีวิวาทะอย่างแน่นอน แต่ทีนี้อยู่ที่ตัวเราเองมีความหวังผลไหม เราต้องดูที่จิตตัวเองเป็นหลัก ดูกิเลสที่เกิดขึ้น

เมื่อจิตไม่ได้หวังผล ไม่ได้มีความรู้สึกชอบหรือชังในสิ่งที่มากระทบ เราจึงแค่ดู แค่รู้ แล้วแบ่งปันในสิ่งที่คิดว่ามีประโยชน์กับคนอื่นๆ

เมื่อมีผลกระทบกลับมา มีความชอบใจ ไม่ชอบใจของคนอื่นเกิดขึ้น มีวิวาทะเกิดขึ้น จิตเราไม่มีกระเพื่อมไปในทางชอบหรือชังแต่อย่างใด เราจึงชี้แจงแค่ที่ควรชี้แจงแล้วจบ เราย่อมรู้ชัดในจิตของตัวเองดีกว่าคนภายนอก

ส่วนคนภายนอก เขาย่อมรู้จิตเขาดีกว่าคนอื่นๆ แต่การรู้นั้นๆ เป็นเพียงแค่รู้ของแต่ละคน กิเลสเกิดขึ้นมากน้อย ยอมรับตามความเป็นจริงหรือไม่ เห็นหรือไม่ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุของแต่ละคน

แต่ที่หนีไม่พ้น คือ ผลที่ได้รับตามความเป็นจริงที่ได้กระทำลงไป ไม่ใช่ได้รับผลตามที่ตัวเองคิดว่าดี,ไม่ดี ใช่,ไม่ใช่ ถูก,ผิด ตามความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆแต่อย่างใดเลย


ให้ดูที่จิตเป็นหลัก


การส่งจิตออกนอก เป็นสมุทัย ยามที่กิเลสเกิดขึ้นในผัสสะนั้นๆ

การส่งจิตออกนอกไม่เป็นทั้งสมุทัย เพราะจิตปราศจากอคติยามผัสสะที่เกิดขึ้น



จิตที่ถูกฝึก ย่อมมีสภาวะจิตเห็นจิตได้เนืองๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2011, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดก็เพราะเหตุ ดับก็เพราะเหตุ


การที่ทุกคนได้มาพบเจอกัน ได้เกิดมาร่วมกัน ไม่ว่าจะพบกันในฐานะใดๆก็ตาม ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาร่วมกัน ส่วนจะพบกันในฐานะอะไรก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา


เมื่อหมดเหตุต่อกัน ทุกคนจึงต้องจากกัน ส่วนจะจากกันชั่วคราว แล้วมาพบกันในร่างใหม่หรือเปลือกใหม่ อยู่ที่ว่ายังมีเหตุต่อกันอีกหรือไม่


หากหมดเหตุต่อกันจริงๆ ทุกคนต้องจากกันชั่วนิรันดร์ เนื่องจากไม่ได้สร้างเหตุอันเป็นเหตุที่จะต้องมาพบเจอกันอีก



การเกิดและการตาย


คำว่า ” เกิด ” หรือ ” ตาย ” ล้วนเป็นเพียงคำสมมุติ เพื่อใช้ในการใช้ภาษาให้เข้าใจตรงกัน แต่โดยสภาวะตามความเป็นจริงของการเกิดและการตาย คือ


เกิด ก็เพราะมีเหตุ เพียงแต่สร้างเหตุมาแบบไหน ร่างกายหรือเปลือกนั้นๆ ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุที่ทำมา

ตาย ก็เพราะหมดเหตุ เพียงแต่จะหมดชั่วคราว แค่เปลี่ยนจากร่างหนึ่งไปยังอีกร่างหนึ่งตามวิบากกรรมหรือเหตุที่ทำไว้

ตายเหนือตาย คือ สร้างเหตุที่ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป



ความไม่รู้


ด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ เพราะอวิชชา ( ความไม่รู้ ) ครอบงำอยู่ เป็นเหตุให้เกิดการยึดติดในเปลือกหรือร่างกายที่มีอยู่ ยึดติดความเป็นตัวเป็นตนที่มองเห็น จึงเป็นเหตุให้เกิดความสุขหรือทุกข์เนืองๆ จากเหตุของการเกิดและการตาย

เมื่อยังมีความไม่เข้าใจ ยังไม่เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามที่คิด

จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ โศกะ ปริเทวะ ความโศกพิไรรำพัน
เพราะเหตุนี้ น้ำตาในวัฏสงสารจึงมีมากมายเหลือคณานับ



ความทุกข์


ความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงว่า ต้นตอของความทุกข์ทั้งปวงหรือทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในชีวิตนั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร จึงเป็นทุกข์เพราะเหตุนี้


เมื่อไม่ได้สร้างเหตุที่ทำให้เกิดเหตุของการดับทุกข์ ผลคือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ที่เป็นไปตามเหตุของแต่ละคนที่กระทำมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2011, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอิสระ


จิตที่เป็นอิสระ คือ จิตที่ไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป ไม่ว่าจะยังมีการให้ค่าสภาวะตามกิเลสที่ยังมีอยู่ มีให้ค่าแต่ไม่ยึด รู้ว่ายังให้ค่า ยอมรับตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในจิต แล้วยินดีรับผลที่เกิดขึ้น


เมื่อยอมรับได้แบบนี้

จิตจึงไม่ไปเป็นทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด จะมีแค่รู้ แค่ดูอยู่กับสภาวะนั้นๆหรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น มีเพราะยังมีเหตุ หากหมดเหตุ ผลย่อมไม่มี

ยิ่งอยู่กับปัจจุบัน คือ รู้ชัดในกายได้มากเท่าไหร่ เป็นเหตุให้สามารถอยู่ได้กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น มีให้ค่าแต่ไม่ทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้น

คิดแต่ไม่ต้องมาทุกข์เพราะคิด ที่ยังทุกข์เพราะคิด เกิดเนื่องจากการยึดติดที่ยังมีอยู่

ขอเพียงยอมรับตามความเป็นจริง ดูตามความเป็นจริงของการให้ค่า ( กิเลส ) ที่เกิดขึ้นในจิต จึงเป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริง ( กิเลส ) มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึง สภาวะของสติที่มีกำลังมากขึ้น



หากสติไม่มากพอ


จะเห็นแบบนั้นไม่ได้ มีแต่จะไหลไปตามสิ่งที่มากระทบหรือผัสสะที่เกิดขึ้น เมื่อไหลไปเช่นนั้น กิเลสที่เกิดขึ้นจึงเหมือนเพียงสายลมที่พัดมากระทบกายแล้วหายไป เรียกว่ายังดูไม่ทัน


หากดูทัน จะรู้ชัดในความคิดที่เกิดขึ้นขณะนั้นๆ ความคิดไปห้ามไม่ให้คิดคงไม่ได้ ยกเว้นสติทัน ความคิดย่อมดับลงได้ไว หากสติยังไม่ทัน ความคิด ( กิเลส ) ย่อมมีกำลังมากกว่า


ความคิดมี ๒ แบบ


๑. คิดแล้วรู้

ลักษณะหรือสภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ว่าคิดอะไรอยู่ แล้วไม่เกิดความรู้สึกรำคาญความคิดนั้นๆแต่อย่างใด จิตยังคงตั้งมั่นอยู่แบบนั้น สามารถรู้ทั้งกายได้ รู้ทั้งความคิดที่เกิดขึ้นได้


๒. คิดแล้วปรุง

ลักษณะหรือสภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ว่าคิดอะไรอยู่ แต่ไหลไปตามความคิด ไม่สามารถรู้ที่กายได้ บางครั้งก่อให้เกิดความหงุดหงิด ความรำคาญในความคิดนั้นๆ แล้วคอยเฝ้าดูว่า เมื่อไหร่ความคิดนั้นๆจะหายไป หรือจะหยุดความคิดนั้นได้อย่างไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ กับ การกำหนดรู้


ยถา ยถา วาปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา สนฺปชานาติ

กายจะตั้งอยู่โดยอาการใดๆ ก็กำหนดรู้โดยอาการนั้นๆ


กายเดินไปไหนมาไหน ใครๆก็รู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง อย่าว่าแต่คนเลย แม้แต่สุนัขป่า สุนัขบ้านก็รู้ว่าเดิน แต่ทำไมพระพุทธองค์จึงนำมาสั่งสอนไว้ในพระไตรปิฎก เพราะ คนก็รู้ สัตว์ก็รู้ แต่มิได้กำหนดรู้




รู้ กับ การกำหนดรู้ แตกต่างกัน คือ


ก. รู้ ได้แก่ การรู้ของวิญญาณ ของสัญญา มิใช่รู้ด้วยปัญญา

การรู้อย่างนี้ ไม่ละความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขาได้ มีแต่เพิ่มความยึดมั่นถือมั่นเข้าไปอีก

ข. กำหนดรู้ ได้แก่ รู้เพราะอำนาจแห่งกรรมฐาน รู้เพราะอำนาจแห่งการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๓ คือ ความเพียร สติ สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ ได้แก่ ตัวปัญญานั่นเอง การรู้อย่างนี้จึงจะละ จึงจะเพิกความสำคัญผิดคิดว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขาได้



กายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอนได้เพราะ อำนาจของจิต ถ้าเว้นจากเหตุปัจจัยเสียแล้ว คำว่า สัตว์ บุคคล ก็จะไม่มีเลย คนหรือสัตว์ ยืน เดินได้ก็เพราะ อนุภาพของตนดังนี้

เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติจำต้องกำหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนาม ว่า รูปนามนี้ ยืน เดิน นั่ง นอนได้เพราะ อาศัยเหตุปัจจัยเท่านั้น ถ้าเหตุปัจจัยไม่มีแล้ว จะยืน เดิน นั่ง นอนไม่ได้เลย




เหตุปัจจัยนั้นมี ๒ อย่าง คือ


๑. เหตุปัจจัยในอดีต ได้แก่ อวิชชา ตัณหา กรรม เป็นต้น


๒. เหตุปัจจัยในปัจจุบัน ได้แก่ รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล นามเป็นเหตุ รูปเป็นผล วนไปวนมาอยู่อย่างนี้


อันว่าสกลกายทั้งหมดนี้ จะเคลื่อนไหวไปมาโดยอาการใดๆก็ตาม เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด ก้ม เงย เป็นต้น ก็ให้กำหนดรู้โดยอาการนั้นๆได้ทั้งสิ้น เป็นอันว่ากำหนดได้ทั้งตัว คือ ตั้งแต่หัวถึงปลายเท้า


นามรูปปริจเฉทญาณ พิจรณาแยกรูปนามออกจากกัน ได้รู้ชัดจริงๆว่า ในสกลกายนี้มีเพียงรูปกับนามเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา อะไรเลย แม้กระทั่งสกลโลกก็มีเพียง ๒ อย่างนี้เท่านั้น


ปัจจยปริคหญาณ พิจรณาเห็นเหตุปัจจัยของรูปและนามว่า รูปนามนี้ต่างเห็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน เกิดจากเหตุ ๒๕ อย่าง เรียกว่า นิพพัตติลักษณะ แปลว่า ลักษณะเกิดขึ้นของรูปนาม


ถ้าในแนวการปฏิบัติ มุ่งเอาเฉพาะปัจจุบันธรรมเท่านั้น เช่น

เวลาจะเดินจงกรม ใจที่อยากเดินเป็นเหตุ รูปที่ก้าวเดินไปเป็นผล

เวลาจะนั่งลง ใจอยากนั่งเป็นเหตุ รูปที่นั่งลงเป็นผล อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นเหตุ รูปเป็นผล


สัมมาสนญาณ พิจรณานามรูปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่น

ขณะที่หูได้ยินเสียง กำหนดตามเสียงที่ได้ยิน เสียงนั้นจะดับไป สิ้นไป หมดไป จัดเป็นอนิจจัง

เสียงนั้นทนอยู่ไม่ได้ จัดเป็นทุกขัง

เสียงนั้นไม่มีใครบังคับบัญชาได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามสภาวะ ตามธรรมชาติของเขาเอง จัดเป็นอนัตตา แปลว่า หาสาระมิได้ หรือ บังคับบัญชาไม่ได้

จากมหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก



หมายเหตุ การกำหนดรู้มีตั้งแต่แบบหยาบๆ จนกระทั่งละเอียด สุตตะ จินตะ ภาวนา

สตุตะ,จินตะ เกิดจากการคิดพิจรณา น้อมเอา คิดเอา สำเร็จได้ด้วยความคิด

ภาวนา คือ รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะเอง โดยปราศจากการน้อมเอา คิดเอา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จตุตถฌานกับสังขารุเปกขาญาณ


ความงดงามของธรรม


สภาวะละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ จะเห็นความงดงามของสภาวะธรรมมากขึ้นเท่านั้น
ปัญญากับสมาธิ สมาธิกับปัญญา ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สภาวะนั้นๆปัญญาญาณไม่สามารถเกิดขึ้นได้



ปัญญากับสมาธิ

ได้แก่ สภาวะของปัญญาอบรมสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะของ สัมมาสมาธิ

สมาธิที่มีอยู่โดยปกติที่ทุกๆคนมีติดตัวมานั้น ( ตามเหตุที่ทำมา หรือที่สร้างขึ้นมาใหม่ ) ล้วนเป็นมิจฉาสมาธิ เหตุเนื่องจากไปรู้นอกกายบ้าง สมาธินิ่งเป็นใบ้บ้าง เรียกว่าขาดความรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิ

เมื่อได้มาเจริญสติ ตัวสัมปชัญญะ( ปัญญา ) ย่อมเกิดขึ้น สมาธิที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมได้ตลอดขณะที่จิตเป็นสมาธิ


สมาธิกับปัญญา

ได้แก่ สภาวะของสมาธิอบรมปัญญา เหตุจากสมาธิที่ได้รับการอบรมจากตัวปัญญาแล้ว จากมิจฉาสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ

เมื่อเป็นสัมมาสมาธิ จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่าย สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้เนืองๆ ปัญญาหรือการเห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้น

เห็นตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไหร่ เป็นเหตุให้แค่รู้ แค่ดูมากขึ้น ปัญญาญาณหรือญาณทัสสนะย่อมบังเกิดขึ้น


……………………………………………………..

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า

ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี
นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา

แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

มหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก
…………………………………………………………………….


ความแตกต่างของปัญญาอบรมสมาธิและสมาธิอบรมปัญญา คือ


สภาวะปัญญาอบรมสมาธิ เป็นเรื่องของการสร้างสัมปชัญญะให้เกิดขึ้น เปลี่ยนจากมิจฉาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ

สภาวะสมาธิอบรมปัญญา เป็นเรื่องของการรู้ชัดอยู่ในกายและจิต เป็นเรื่องของกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น ยิ่งตั้งมั่นแนบแน่นได้มากเท่าไหร่ ตัวปัญญาที่เป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น



ปัญญาอบรมสมาธิ

ในการเจริญกรรมฐาน ของพระโยคาวจร จิตจะซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น ตลอดกาลนาน ไม่ปรารถนาจะขึ้นสู่อารมณ์แห่งกรรมฐานได้ หรือ อารมณ์แห่งสมถะได้ มัวแต่แล่นออกไปนอกทาง

ดังรถที่เขาเทียมด้วยโคโกง แล่นออกนอกเส้นทางฉันนั้น เพราะฉะนั้นบุคคลเลี้ยงโค ปรารถนาจะฝึกลูกโคโกงที่เติบโตขึ้น เพราะได้ดื่มนำนมแม่โคโกง เขาจึงพรากมันจากแม่โค ฝังหลักใหญ่ไว้ข้างหนึ่ง ล่ามด้วยเชือกที่หลักนั้น

ครั้นแล้ว ลูกโคตัวนั้นของเขาดิ้นไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่อาจหนีไปได้ก็จะพิงหมอบอิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นเอง


แม้ฉันใด แม้ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตที่ชั่วร้ายอันเติบโตขึ้น เพราะดื่มรสอารมณ์ มีรูปารมณ์เป็นต้น ในตลอดกาลนาน ก็พึงพรากจากอารมณ์รูปารมณ์เป็นต้น เข้าไปอยู่ป่าหรือโดคนไม้หรือเรือนว่างเปล่า ( สัปปายะ )

แล้วผูกไว้ที่หลัก คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ด้วยเชือก คือ สติ

เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเธอนั้น แม้จะดิ้นรนไปข้างโน้นข้างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชิน ก็ไม่อาจตัดเชือก คือ สติหนีไปได้ ก็ย่อมจะหมอบอิงอารมณ์นั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา


ในแง่ของสภาวะ จิตนี้เวลาเริ่มฝึกใหม่ๆ จะฝึกได้ยาก จะซ่านไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง จิตจะส่งออกนอกกายเนืองๆ ยากที่จะทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งได้ ต้องใช้สติ สัมชัญญะ เป็นดังเชือกเหนี่ยวรั้งจิตให้ผูกอยู่กับกาย คือ รู้ชัดอยู่ในกาย



จตุตถฌาน ( สัมมาสมาธิ ) กับสังขารุเปกขาญาณ


ความแตกต่างของทั้งสองสภาวะนี้ เป็นเรื่องของปัญญาอบรมสมาธิและสมาธิอบรมปัญญา



สภาวะของจตุตถฌาน เกิดขึ้นจากปัญญาอบรมสมาธิ

สภาวะของสังขารุเปกขาญาณ เกิดขึ้นจาก สภาวะสมาธิอบรมปัญญา



ความแตกต่างสภาวะอุเบกขา ที่เกิดขึ้นในจตุตถฌานและสังขารุเปกขาญาณ


จตุตถฌาน

สภาวะอุเบกขา ในจตุตถฌาน ( สัมมาสมาธิ ) เกิดจากสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน

ฌาณปรากฏชัดด้วยอุเบกขา

ในภาวนาจิตนั้น ญาณย่อมปรากฏด้วยอำนาจอุเบกขา เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า
โยคีบุคคลย่อมเพ่งดูเฉยซึ่งจิตที่ตนประคองไว้อย่างนั้นเป็นอย่างดี ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจปัญญา

จิตย่อมหลุดพ้นจากกิเลสอันมีอาสวะต่างๆ ด้วยอำนาจอุเบกขา

ปัญญินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่งด้วยอำนาจหลุดพ้น คือ ศรัทธากับปัญญาและวิริยะกับสมาธิ และด้วยอำนาจปัญญา ย่อมมีรสเดียวกัน จึงชื่อว่า ภาวนา


คำว่า เอกตฺตํ ที่แปลว่า ความเป็นหนึ่งของจิต หรือ ความเป็นเอกภาพนั้น หมายเอาจิตที่บรรลุถึงอัปปนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม จิตที่เป็นอัปปนาแล้ว ย่อมมีอารมณ์อันเดียว จึงเรียกว่า เอกภาพ




สังขารุเปกขาญาณ


สภาวะอุเบกขาในสังขารุเปกขาญาณ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ เป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย เกิดเดิมๆซ้ำๆ เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นเหตุให้ปล่อยวางไปในที่สุด


สังขารุเปกขาญาณ แปลว่า ปัญญาพิจรณาเห็นนามรูปเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติ มีความวางเฉยต่อรูปนาม


สภาวะ คือ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ เป็นเหตุให้เห็นโทษของสังขาร เห็นโทษของการเกิด เป็นเหตุให้ เกิดความเบื่อหน่าย


จะเห็นแบบหยาบๆก่อน คือ เห็นไตรลักษณ์ เป็นเหตุให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นต่อสภาวะที่เกิดขึ้น เห็นเดิมๆซ้ำๆจนจิตเกิดความเบื่อหน่าย เกิดการปล่อยวาง วางเฉยต่อรูปนามไปเอง โดยที่ไม่ต้องเจตนาจะปล่อยวางแต่อย่างใด เกิดเอง เป็นเอง เหตุจากการเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ


อย่างละเอียด เกิดจากการเห็นโทษของสังขาร เห็นโทษของการเกิด จึงเกิดความเบื่อหน่าย




สภาวะสังขารุเปกขาญาณจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสัมมาสมาธิ ที่มีกำลังของสมาธิที่แนบแน่นมากๆ

สภาวะจตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสติ สัมปชัญญะเป็นตัวหลัก





สมาธิที่เกิดขึ้น จะเป็นสัมมาสมาธิได้ ต้องมีกำลังของสติ และสัมปชัญญะเป็นกำลังเกื้อหนุน ( เกิดก่อน ) คือ ต้องมีสัมมาสติก่อน


ปัญญาญาณหรือญาณทัสสนะจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีกำลังของสมาธิเป็นกำลังเกื้อหนุน ( เกิดหลัง ) คือ ต้องมีสัมมาสมาธิก่อน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2011, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบันผิดศิล


โสดากินเหล้า

โสดามีอาชีพหาปลา

โสดามีอาชีพเป็นโสเภณี

โสดามีอาชีพจับสัตว์ขายฯลฯ

โสดาบันเมื่อเห็นแจ้งในอริสัจจ์แล้ว ทำไมยังทำผิดศิลอยู่ ซึ่งในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างที่นำมากล่าวอ้างถึง เรียกว่าถึงแม้ว่าไม่สร้างเหตุเบียดเบียนผู้อื่น ก็ยังสร้างเหตุเบียดเบียนตัวเองอยู่ ในตำรามีเขียนไว้ว่า พระโสดาบันจิตจะมุ่งพระนิพพานมีแต่ความดับอย่างเดียว โสดาบันเป็นผู้มีศิลที่สะอาด

การเห็นแจ้งในสภาวะของอริยสัจ ๔ เป็นเพียงแค่มรรค ยังไม่ใช่ผล ยังต้องทบทวนกิเลสที่เหลืออยู่ และต้องแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน

หลายๆคนที่คิดว่าเห็น อาจจะเห็นจริงหรือไม่เห็นจริงก็ตาม จะตกหลุมพรางของกิเลสตัวนี้เหมือนกันหมดทุกคน คือ ความอยาก แต่ไม่รู้ว่าอยาก

เป็นเหตุให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกรู้ จึงเสียทีกิเลสตัวนี้ โดยไม่รู้ว่าเสียทีกิเลส จึงกลายเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นไปด้วยความไม่รู้ เหตุจากที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร

ก่อนจะเห็นอริยสัจจ์ เคยประกอบอาชีพอะไร เคยใช้ชีวิตแบบไหน หลังเห็นอริยสัจจ์ ยังคงประกอบอาชีพเป็นปกติ ใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เป็นผู้มีความประมาทน้อยลง สำรวมสังวรระวังตัวมากขึ้น

การผิดศิลยังคงมีอยู่ แต่เมื่อเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตัวสภาวะจะเป็นตัวบังคับ อันมีเหตุให้บุคคลนั้นๆต้องเลิกประกอบอาชีพที่ผิดศิลหรือที่ยังมีประพฤติผิดศิล สุดท้ายกลายเป็นคนที่มีศิลสะอาดมากขึ้นทั้งกาย วาจา ใจ

โดยไม่ต้องระวังแต่อย่างใด จะมีความรู้ตัวเกิดขึ้นเองก่อนที่จะลงมือทำอะไร รู้ชัดในกายและจิตมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายศิล ๕ แบบหยาบๆจะสะอาดไปเองโดยไม่ต้องไปคิดสร้างให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด นี่ยังอยู่ในข่ายของมรรค ยังไม่ใช่ผล

ศิลเป็นฐานของสมาธิ มาจากสภาวะตรงนี้ เมื่อศิลสะอาด นิวรณ์ต่างๆย่อมระงับได้ง่ายมากขึ้น

ศิลจะสะอาดได้ต้องมีทั้งสติและสัมปชัญญะ ยิ่งมีมากขึ้นเท่าใด หิริ โอตตัปปะยิ่งมีมากขึ้น ศิลสะอาดหมดจดเพราะเหตุนี้

เมื่อศิลสะอาดสมบูรณ์ดีแล้ว เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นได้เนืองๆ เป็นเหตุให้รู้ชัดในกายและจิตหรือที่เรียกว่า รูป,นามได้มากขึ้นเรื่อยๆ สมาธิย่อมมีกำลังมากขึ้น แนบแน่นมากขึ้น

เป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณหรือปัญญาญาณจะเกิดขึ้น ทำให้เห็นแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน เมื่อแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน ศิลไม่ต้องพูดถึงแล้ว สมาธิไม่ต้องไปพูดถึง สติและสัมปชัญญะเป็นตัวที่ต้องพูดถึงตลอดเวลา

เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เป็นตัวที่ใช้ในการตัดภพตัดชาติ ก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิตนี่เอง จึงเรียกว่า จิตมุ่งพระนิพพาน สภาวะของพระนิพพานคือ ความดับ ได้แก่ดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากตัวเอง คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต

โสดาบัน ( แท้ ) มี ๒ ประเภท คือ โสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล

โสดาปัตติมรรคเกิดก่อนโสดาปัตติผล

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป โสดาบันก็เช่นกัน ก่อนจะเห็นแจ้งในสภาวะของอริยสัจ ๔ ที่แท้จริง อาจจะมีการประกอบอาชีพหรือประพฤติผิดในศิล

เมื่อได้พบประสพสภาวะเห็นแจ้งในสภาวะอริยสัจจ์แล้ว ย่อมขัดเกลากิเลสของตัวเอง บางคนได้เพียงมรรค ไม่อาจจะไปถึงผลได้ก็มี แล้วแต่เหตุที่ทำมาและที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน

หากเมื่อแจ้งในสภาวะนิพพานที่แท้จริงแล้ว นั่นบ่งบอกคุณธรรมของสภาวะโสดาปัตติผล คือ เป็นผู้มีศิล ๕ แบบหยาบๆสะอาด เนื่องจากตัวสภาวะจะดำเนินไปตามสภาวะเอง จะมีเหตุให้ไม่ประพฤติผิดศิลทั้งต่อหน้าและลับหลัง

โสดาบัน ( เทียม ) มี ๒ ประเภท คือ อธิมานิกโสดาบัน,อุลลปนาธิปปายโสดาบัน บุคคลทั้ง ๒ ประเภทนี้ไม่ได้มรรค,ผลจริง แต่โอ้อวดว่าได้

พอนานๆเข้าจิตใจที่ตนยึดมั่นในองคคุณของพระโสดาบันก็จืดจางลง เป็นเหตุให้ประพฤติปฏิบัติตนขาดไปจากองคคุณนั้นๆ มีการล่วงอกุศลกรรมบถ เช่นเสพสุราและกล่าวมุสาวาท เป็นต้น




พระโธตกะ เป็นคนหนึ่งในบรรดาลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ที่ได้ทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้าเป็นคนที่ ๕

ข้าพพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพพระพุทธเจ้า ข้าพพระพุทธเจ้าอยากจะฟังวาจาของพระองค์ ข้าพพระพุทธเจ้าได้ฟังสุระเสียงของพระองค์แล้ว จะศึกษาปฏิบัติเพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสของตน

พระองค์ตรัสว่า ” ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเป็นคนมีปัญญา มีสติทำความเพียรในศาสนานี้เถิด “

โธตกะมานพกราบทูลว่า ” ข้าพพระพุทธเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ หากังวลมิได้เลย อยู่ในเทวโลก และมนุษย์โลก เหตุนั้นข้าพพระพุทธเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอพระองค์ทรงเปลื้องข้าพพระพุทธเจ้าจากความสงสัยเสียเถิด “

พระพุทธองค์ตรัสว่า ” เราเปลื้องใครๆในโลกผู้มีความสงสัยอยู่ไม่ได้ เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ ก็จะข้ามห้วงทะเลหลวง คือ กิเลสอันนี้เสียได้ “

โธตกะมานพกราบทูลว่า ” พระองค์จงทรงพระกรุณาแสดงธรรมอันสงัดจากกิเลส ที่ข้าพพระพุทธเจ้าควรจะรู้ สั่งสอนข้าพพระพุทธเจ้าให้เป็นคนโปร่งไม่ขัดข้อง ดุจอาการสงบระงับกิเลสเสียได้ ไม่อาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใด เที่ยวอยู่ในโลกนี้? “

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ” เราจักบอกอุบายระงับกิเลสให้แก่ท่าน ซึ่งท่านจะเห็นเองไม่ต้องเชื่อตาม ไม่ต้องตื่นข่าวจากผู้อื่น ท่านจะมีสติข้ามความอยากที่ตรึงไว้ในโลกนี้เสียได้ “

โธตกะมานพ กราบทูลว่า ” ข้าพพระพุทธเจ้าชอบอุบายเครื่องระงับกิเลสอันสูงสุดเป็นอย่างยิ่ง “

พระพุทธองค์ตรัสว่า ” ความทะยานอยากทั้งเบื้องต้น เบื้องต่ำ เบื้องกลาง เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก ท่านอย่าทำความทะยานอยากเพื่อจะเกิดในภพน้อยใหญ่ “

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปถุชนกับอริยะ


ตราบใดที่อยู่ในสภาวะการขัดเกลากิเลส ทุกสรรพสัตว์มีค่าเท่ากัน ที่แตกต่างกันเป็นเพียงสภาวะกิเลสของแต่ละคน

ผู้ใดที่กล่าวแยกสภาวะความรู้สึกเช่นนี้ๆ หรือ การปฏิบัติเช่นนั้นๆ นี่ของปถุชน นั่นของอริยะ บุคคลนี้ขาดความเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น มีแต่โลภะ ความทะยานอยากเกิดขึ้นในจิต แต่มองไม่เห็น

หากเมตตาต่อผู้อื่น ต้องรู้จักเมตตาต่อตนเองก่อน จะไปเลียนแบบสภาวะของพระพุทธเจ้าไม่ได้ พระองค์ทรงวางแนวทางไว้ตลอดทาง การให้ค่า การคาดเดา ทรงให้ทำเอง ให้ทดลองด้วยตัวเอง มีแต่กับดักของกิเลส

เพื่อให้ผู้ดำเนินรอยตามให้รู้สึกตัวในสิ่งที่พระองค์เคยประสบพบมาก่อน จึงทรงตรัสเรียกปถุชนกับอริยะ ทรงแยกแยะไว้ตามสภาวะของกิเลส

แต่เพราะความไม่รู้ จึงเกิดการยึดติดในสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสไว้ กิเลสความอยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆ เป็นเหตุให้ไม่เห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของตัวเอง เป็นเหตุให้เกิดการยกตนข่มท่าน นี่คือ อริยะ นั่นคือ ปถุชน

ซึ่งโดยสภาวะที่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะอริยะหรือปถุชน แม้กระทั่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีค่าเท่าๆกัน ไม่มีใครเหนือใคร ไม่มีใครดีกว่าใคร

ก่อนจะเมตตาต่อผู้อื่น จงเมตตาตัวเองให้ได้ก่อน ทั้งคำว่า อริยะหรือปถุชน แม้กระทั่งคำบัญญัติต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ละให้ได้ก่อน หากยังกอดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น นั่นแหละคือ เหตุแห่งทุกข์ เป็นแนวทางสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น

แต่เนื่องจากกิเลสที่ให้ค่ากับสภาวะ บดบังสภาวะตามความเป็นจริงไว้ จึงเป็นเหตุให้มองไม่เห็นว่าได้หลงสร้างเหตุของการเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่การสร้างเหตุของการดับต้นเหตุแห่งทุกข์แต่อย่างใด

บางคนให้ค่ามากถึงขนาดใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า ” อาตมา ” ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นพระ นี่แหละความ ยึดติดแต่ไม่รู้ว่ายึดติด กิเลสเกิดแต่มองไม่เห็น เพราะความอยากทั้งหลายบดบังสภาวะ เหตุมี ผลย่อมมี

แทนที่จะย้อนกลับมาดูกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต เกิดจากการให้ค่าและยึดติดในสภาวะ เป็นเหตุให้สร้างเหตุวิวาทะเนืองๆ เพราะมีผู้ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวเองนำมากล่าว

เมื่อมีผู้อื่นชี้ช่องโหว่มาให้เห็น ต้องย้อนกลับมาพิจรณาตัวเอง กิเลสของตัวเองมองเห็นได้ยาก กิเลสของผู้อื่นมองเห็นได้ง่าย ผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน ไม่แตกต่างจากเราเลย

หากแม้มีจิตเมตตาต่อตนเองและผู้อื่นจริงๆ ต้องลดทิฏฐิมานะที่มีอยู่ รู้จักฟังคำของผู้อื่นให้มากขึ้น ไม่ใช่มีแต่สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น ที่เกิดจากการยึดติดว่านี่สภาวะอริยะ นั่นสภาวะปถุชน กิเลสโมหะและโลภะบดบังมองไม่เห็น

ในเมื่ออ้างว่าตัวเองได้อะไร เป็นอะไร เมื่อมีผู้ไม่เห็นด้วยในสิ่งที่นำมาสนทนา อาจมีการติติงว่ากล่าว เราต้องย้อนกลับมาคิดพิจรณาการกระทำของตัวเอง ว่าเป็นอย่างที่เขาว่ามาหรือไม่ ต้องมาทบทวนกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต

หากเราเห็นเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริงได้ หากแจ้งในสภาวะของพระนิพพานได้จริงๆ จะยอมรับทุกคำพูดที่ผู้อื่นชี้มา นั่นคือ ช่องโหว่ที่ยังมีอยู่ หากไม่มีช่องโหว่ ใครที่ไหนจะมาชี้ได้ เพราะไม่มีช่องจะให้ชี้

นี่แหละเหตุของต้นเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง เหตุของการสร้างเหตุของเกิดเกิดเหตุ ไม่ใช่การดับเหตุ ดับเหตุทั้งปวงต้องดับที่ตัวเราเอง ไม่ใช่ไปพยายามดับนอกตัว

การไปพยายามดับนอกตัว ล้วนเป็นต้นเหตุของเหตุแห่งการสร้างเหตุในการเกิดทั้งสิ้น

ไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ในเมื่อเห็นตามความเป็นจริงได้ เห็นอริยสัจจ์ได้จริง ย่อมแจ้งในสภาวะของเหตุและผล คือ กรรมและวิบากกรรม การกระทำและผลที่ได้รับ ใครสร้างเหตุอย่างไร สิ่งที่มองเห็นนั่นคือ ผลของเขา

จึงไม่ควรเอาตัวตนที่ยังมี " เรา " หรือตัวกู ของกู เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุของคนอื่นๆ ไม่ต้องไปคาดเดาสภาวะของคนอื่นๆ ทุกอย่างมันไม่เที่ยง ในเมื่อเห็นตามความเป็นจริงได้ ย่อมปล่อยวางได้ ไม่ใช่ยึดติดอย่างเหนียวแน่น

พระไตรปิฎกต่อให้อ่านจบ ๑๐ รอบ ๑๐๐ รอบ ๑๐๐๐ รอบหรือกี่แสนๆๆๆๆๆๆจบก็ไม่อาจะทำให้เห็นตามความเป็นจริงได้ ของจริงต้องลงมือทำ แล้วเฝ้าดูในกายและจิตของตัวเอง เฝ้าดูกิเลสที่เกิดขึ้น ดูให้ทัน ดูไม่ทันย่อมเสียทีกิเลส

ทำให้ต่อเนื่อง กิเลสวันนี้อาจจะยังเห็นไม่ทัน เห็นไม่ชัด สักวันย่อมเห็นและรู้ชัดในกิเลสต่างๆได้เอง

ดูสมัยพุทธกาล มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแยะ รู้ปริยัติ ศึกษามาก สอนให้คนสำเร็จอรหันต์ได้ แต่ไม่สามารถสอนให้ตัวเองสำเร็จได้

จิตไม่ตั้งมั่นมากพอ การเห็นตามความเป็นจริงไม่ชัดเจน เกิดเนื่องจากกำลังของสมาธิไม่มากพอ

สมาธิมากไป ก็ยากที่จะเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต เกิดเนื่องจากกำลังของสมาธิที่กดข่มเอาไว้ จึงต้องมีการปรับอินทรีย์ตลอดเวลาเพราะเหตุนี้

สมาธิยิ่งมาก ยิ่งดี แต่ต้องเป็นสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่สามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้

สติ ยิ่งมากยิ่งดี สติมากเท่าไหร่ บ่งบอกถึง ตัวสัมปชัญญะที่มีกำลังมากขึ้น สัมปชัญญะมีมากเท่าไหร่ เป็นเหตุให้เวลาเกิดสมาธิ สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้

ส่วนสมาธิที่เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมาและเหตุที่สร้างขึ้นในปัจจุบัน

เราจึงต้องมาเจริญสติเพราะเหตุนี้และเพื่อสร้างสติที่มีอยู่แล้ว ให้มีกำลังเข้มแข็งมากขึ้น ให้มีตัวสัมปชัญญะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วสมาธิที่มีอยู่ปกติในตัวของทุกๆคน จะได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

และ เป็นทั้งการปรับอินทรีย์เพื่อให้สภาวะเกิดความสมดุลย์ สติยิ่งมากยิ่งดี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเริ่มต้นที่แตกต่าง


แนวทางการปฏิบัติของแต่ละคน การเริ่มต้นอาจจะแตกต่างกันไป ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร ถ้ารู้และเข้าใจตรงนี้ได้ จะไม่มีการกล่าวเพ่งโทษในแนวทางการปฏิบัติที่ผิดจากรูปแบบที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติอยู่ หรือจากการอ่าน ตลอดจนการเรียนรู้ที่ได้รู้มา

ที่ยังมีการกล่าวเพ่งโทษถูก,ผิด ใช่,ไม่ใช่ ล้วนเกิดจากการให้ค่าที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่น ยึดติดในรูปแบบทั้งสิ้น


บางคนเริ่มต้นจากภายใน เช่น

บางคนเริ่มต้นรู้ที่กาย ใช้วิธีดูกาย ดูลมหายใจ ท้องพองยุบ กายเคลื่อนไหว ชีพจรฯลฯ

บางคนเริ่มต้นดูเวทนา ดูความเจ็บปวด สุข ทุกข์ทางเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย

บางคนเริ่มต้นดูจิต ดูความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต

บางคนเริ่มต้นที่ธรรม ความคิด,พิจรณาต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งกุศลและอกุศล



บางคนเริ่มต้นจากภายนอก เช่น

การนำวัตถุต่างๆภายนอกมาเป็นอารมณ์ในการให้จิตจดจ่อรู้อยู่ในสิ่งๆนั้น

บางคนใช้อาหารทั้งที่รับทานได้และรับทานไม่ได้มาเป็นอารมณ์ในการคิดพิจรณา

บางคนใช้กายของผู้อื่นในการคิดพิจรณา หรือนำมาเป็นอารมณ์ให้จิตจดจ่อรู้อยู่ในสิ่งๆนั้น ฯลฯ

การปฏิบัติล้วนมีหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะจากภายในหรือภายนอก ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนเป็นผู้สร้างขึ้นมาหรือทำขึ้นมาเองทั้งสิ้น จึงไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด หรือความผิดปกติใดๆเลย

แต่ที่กล่าวว่าวิธีการนั้นถูกหรือผิด ล้วนเกิดจากการให้ค่าตามความคิดของแต่ละคน ซึ่งไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะที่แท้จริง

เหตุทั้งหมดเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น แต่ไม่รู้ว่ายึดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น จึงมีการว่ากล่าวการปฏิบัติที่นอกเหนือไปจากที่ตนเองเคยพบเคยเจอ หรือเคยได้ปฏิบัติมา ซึ่งตนเองทำไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดการสร้างเหตุของการเกิดเพราะเหตุนี้

สภาวะล้วนก้าวกระโดดได้ ไม่จำเป็นต้องเรียงไปตามขั้นตอน ที่เรียงไปตามขั้นตอน ล้วนเกิดจากเหตุของคนที่เรียง ทำได้แบบไหน ย่อมเขียนอธิบายออกมาแบบนั้น แต่ลืมไปว่า เหตุของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน จะให้มาเริ่มต้นเหมือนๆกัน

อาจจะเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ จึงไม่ควรคาดหวังต่อสิ่งที่คิดจะให้กับคนอื่นๆ เมื่อคิดจะให้ จงให้โดยไม่มีข้อแม้ หากยังมีข้อแม้ นั่นคือ กิเลสที่เกิดขึ้นในใจขณะที่กำลังคิดจะให้ เพียงแต่จะดูหรือรู้ทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตตนเองได้หรือไม่เท่านั้นเอง

บางคนมีอุปนิสัยในการชอบสอน จึงพยายามถ่ายทอดโดยการนำพระไตรปิฎกมานำทาง แล้วใช้การตีความตามรู้ที่ตัวเองมีอยู่ อาจจะเกิดจากการได้ศึกษาหรือสัญญาเก่าที่ติดตัวมา หรือรู้จากผลของการปฏิบัติของตนเองนำมาสอน

เมื่อยังไม่เข้าใจในเหตุและผล ยังไม่เห็นแจ้งสภาวะตามความเป็นจริง ผู้ที่มีอุปนิสัยชอบสอน จึงมักก่อเหตุของการเกิดเนืองๆเพราะเหตุนี้

บางคนเห็นแจ้งในสภาวะ แต่ไม่เห็นแจ้งในกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของตัวเอง นี่ก็อีกหนึ่งเหตุที่เป็นการสร้างเหตุของการเกิดให้เกิดขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่ยังมีการให้ค่าต่อสภาวะ ถ้าแค่ดู แค่รู้ เมื่อให้ค่า ก็ยอมรับว่าให้ค่า ยอมรับว่ายึดติด แต่ไม่ไปยึดติดจนหลง ย่อมไม่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นเหตุของการเกิดอย่างแน่นอน

หากรู้แล้ว แล้วคิดว่ารู้ เกิดการยึดติดในรู้นั้นๆ ในสภาวะนั้นๆ ไม่ยอมรับว่าให้ค่าต่อสภาวะ หลงยึดติดเหนียวแน่น เป็นเหตุให้ทั้งโลภะและโมหะครอบงำ กลายเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผลเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เมื่อไม่ได้ดั่งใจ โทสะย่อมเกิด เป็นเหตุให้เกิดการกล่าววาจาเหน็บแนมแนวทางอื่นหนักมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะเป็นการสร้างเหตุของการดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง กลับเป็นการสร้างเหตุของการเกิดต่อไปเรื่อยๆ มีแต่เหตุและก็เหตุ

สภาวะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ซึ่งเกิดจากเหตุที่กระทำขึ้นมาเองทั้งสิ้น


สภาวะที่เกิดขึ้นมีทั้งภายในและภานยนอก


ภายใน สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ที่ให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ( ผัสสะ )

ภายนอก สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่สิ่งที่เคยกระทำไว้ในอดีตทั้งระลึกได้และไม่อาจะระลึกได้ เป็นผลของเหตุที่ทำไว้ มาในรูปของผัสสะ ( การกระทบ ) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


ทุกข์ สภาวะคือ ความทนอยู่ไม่ได้

สมุทัย สภาวะคือ การให้ค่า ( กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ) ต่อสภาวะ ( ผัสสะ ) ที่เกิดขึ้น

นิโรธ สภาวะคือ ความดับทุกข์ ได้แก่ การดับเหตุ ( กิเลส ) ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดเหตุทั้งปวง ได้แก่การดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง ไม่ว่าจะกาย วาจา ใจ

มรรค สภาวะคือ ทางหรือวิธีการ ได้แก่ การเจริญสติ ( สติ สัมปชัญญะ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร