วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 03 เม.ย. 2011, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2009, 20:18
โพสต์: 20

แนวปฏิบัติ: ปนเป
งานอดิเรก: เรียนหนักๆ ปฎิบัติเบาๆ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ มากๆเลยคะ ได้ความรู้เรื่องวิปัสสนามากมายจริงๆเเละทำให้ไม่ประมาทกับการปฎิบัติได้มากเลยขอบคุณคะ

.....................................................
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีสิ่งใดบ้างหนีพ้นกฎเหล่านี้


โพสต์ เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำตามสภาวะ



ทำตามสภาวะ หมายถึง ตัวผัสสะที่เกิดขึ้น จิตเกิดอุปทานปรุงแต่งตามกิเลส ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกใดๆก็ตาม ให้แค่ดู แค่รู้ แล้วอยู่กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น

ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่คิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆกับสภาวะ เพราะทุกอย่างล้วนมีเหตุมาก่อน ผลที่ได้รับจะมาแสดงในรูปของเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราจะเห็นสภาวะโดยรูปแบบหยาบๆนี้ก่อน

เมื่อเรายอมรับได้ในสิ่งที่เกิดขึ้น สภาวะจะจบลงด้วยตัวของสภาวะเอง แล้วตัวสภาวะจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนตัวละครมาเล่นกับเราใหม่ แต่เป็นกิเลสเดิม แต่มีสภาวะของกิเลสที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ



สภาวะที่เกิดขึ้น



สภาวะที่เกิดขึ้นจะมีทั้งภายนอกและภายใน คือ เกิดโดยผัสสะที่มากระทบ และไม่ต้องมีผัสสะใดๆมากระทบ แต่เกิดขึ้นเอง เป็นเองในจิต เป็นสภาวะของกิเลสที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไปอีกสภาวะหนึ่ง

สภาวะที่เกิดจากผัสสะ จะรู้เท่าทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตได้ ต้องมีสติ สติ สัมปชัญญะในระดับหนึ่ง

สภาวะที่เกิดขึ้นเองในจิต โดยไม่ต้องมีตัวผัสสะ สภาวะนี้จะมีรายละเอียดที่จะนำมากล่าวถึงในครั้งต่อไป




ชีวิตทุกชีวิต


ชีวิตทุกชีวิต สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเป็นเพียงสภาวะ ที่เป็นไปตามเหตุที่กระทำไว้ รวมทั้งเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ตราบใดที่ยังมีเหตุ ผลที่ได้รับ มาแสดงในรูปของผัสสะที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอก

ตราบใดที่กิเลสยังไม่ได้ถูกขัดเกลาให้เบาบางลงไป ตราบนั้นย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะที่แท้จริงยังไม่ได้ เนื่องจาก โมหะ โทสะ โลภะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากต่างๆครอบงำปกปิดสภาวะที่แท้จริงเอาไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มหันตภัยที่ร้ายแรงที่สุด



มหันตภัยที่ร้ายแรงที่สุดที่เราต้องระวังกันให้ดี ไม่ใช่ภัยพิบัติจากภายนอกเลย เหตุของภัยพิบัติทั้งหมด ล้วนเกิดจากในจิตที่ยังไม่ได้ขัดเกลากิเลส ที่ยังเต็มไปด้วยอวิชชานี่แหละ

ตอนนี้กระแสของการตื่นตัวเรื่องภัยพิบัติต่างๆกำลังแพร่กระจายไปทั่ว ข้อความต่างๆที่ส่งต่อๆกันนั้น มีแต่ถ้อยคำตักเตือนให้ระวังแต่ภัยจากภายนอกที่ไม่อาจจะคาดเดาได้ว่า เวลาที่แท้จริงแน่นอนของภัยต่างๆเกิดขึ้นจริงๆเมื่อใด

ไม่มีเลยที่จะพูดถึงภัยพิบัติภายในที่มีเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมหันตภัยนี้สิน่ากลัวยิ่งกว่าภายนอก เพราะมีแต่การกระทำที่ล้วนแต่ก่อเหตุใหม่ที่เป็นเหตุของการก่อภพก่อชาติกันตลอดเวลา เพียงแต่ว่า มองเห็นกันหรือยังเท่านั้นเอง

แม้กระทั่งเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ที่บางครั้งเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด เคยคิดพิจรณาย้อนกลับมามองกันบ้างไหมว่า ทำไม อย่างไร ไม่มีเลย มีแต่ว่ากัน มีแต่กล่าวโทษนอกตัว เหตุเกิดจากในตัวที่แท้จริงที่ก่อเหตุเอาไว้ทั้งหมด ไม่เคยรู้เลย

มีแต่ไฟโกรธ ไฟพยาบาท ที่สะสมไว้ในจิต การให้อภัยต่อกันช่างหาได้ยากเสียเหลือเกิน มีแต่ความขุ่นข้องหมองใจ ไม่ชอบใจ ยามที่อีกฝ่ายพูดหรือกระทำ แล้วไม่ถูกใจในความคิดของแต่ละคนเท่านั้นเอง

การเจริญสติเป็นยารักษาใจได้ดีที่สุด รักษาได้ทุกโรค โรคต่างๆล้วนเกิดจากใจทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่นๆเลย แต่ส่วนมากชอบสะสมโรคเอาไว้ด้วยความไม่รู้ กว่าจะรู้ก็ตายไปแล้ว

บางทีตายไปแล้วยังไม่รู้เลยว่า ที่ตายน่ะ ตายเพราะโรคจริงหรือ ตายเพราะเหตุนั้นเหตุนี้จริงๆหรือ ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ต้นเหตุที่แท้จริงของโรค เหตุของเหตุทั้งหมด ล้วนเกิดจากจิตหรือใจที่ยังมัวเมาเต็มไปด้วยกิเลสนี่แหละ ไม่ใช่เหตุจากภายนอกเลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 07 เม.ย. 2011, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านจงมาดูเถิด


โลกมนุษย์เต็มไปด้วยภัยนานาประการเช่น ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย อัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อัคคีภัย อุทกภัย ทุพภิกขภัย โจรภัย อูมิภัย กุมภีภัย อาวาฏภัย สุสุกาภัย

ภัยเหล่านี้ย่อมนำมาแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อนร้อยแปดพันประการ ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร จึงรีบถ่อรีบพาย ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า

" อุฏฐหถ นิสีทถ โก สุปิเตน โว "


" ลุกขึ้นเถิดท่านทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายนั่งเถิด ท่านทั้งหลายจะมัวหลับไหลเอาประโยชน์อะไร ในเมื่อชาวโลกถูกภัยต่างๆคุกคามอยู่อย่างนี้ เชิญท่านทั้งหลายศึกษาเพื่อสันติเถิด "

นอกจากนี้ ท่านพระอรรถกถาจารย์ ยังได้กล่าวตักเตือนและชักชวนไว้ว่า

อิติ เนเกหิ นาเมหิ กิตฺติยา ยา มเหสินา

วุฏฐาตุกโม สํสาร ทุกฺขปงฺกา มหพฺภยา

กเรยฺย สตฺตํ ตตฺถ โยคํ ปณฺฑิตชาติโก


" วิปัสสนาใด เป็นข้อปฏิบัตินำสรรพสัตว์ออกไปจากกองทุกข์ สงบบริสุทธิ์ อันพระพุทธองค์ทรงประกาศแล้ว โดยชื่อต่างๆดังที่ได้บรรยายมาแล้วนั้น

ท่านผู้เป็นบัณฑิต มีจิตใคร่จะออกจากเปลือกตม คือ ทุกข์ในสังสาร อันทุรกันดาร มีภัยหาประมาณมิได้ พึงทำความเพียร เจริญวิปัสสนานั้นให้ติดต่อกันไปเถิด "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 07 เม.ย. 2011, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมหาสิวเถรเจ้า



มีเรื่องเล่าไว้ว่า แรกเริ่มเดิมที พระเถระนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาดี ได้เป็นอาจารย์สอนปริยัติถึง ๑๘ แห่ง ในวันหนึ่งๆจะหาเวลาว่างมิได้เลย เพราะท่านเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรดี ทั้งเป็นผู้ปราชญ์เปรื่องในพระไตรปิฎก มีศิษย์จำนวนมาก

ในศิษย์จำนวนนั้น มีศิษย์คนหนึ่งได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงได้มุ่งหน้าไปหาอาจารย์ เพื่อจะได้แสดงธรรมวิเศษให้แก่อาจารย์ฟัง

เมื่อไปถึงที่อยู่แล้ว ได้กล่าวทักทายปราศัยตามฉันศิษย์กับอาจารย์ อาจารย์ก็ตอบว่าไม่มีเวลาว่างพอ แม้ขณะนี้ก็จะไปสอนธรรมในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง กลับมาก็ค่ำมืดแล้ว ถึงศิษย์จะอ้อนวอนอย่างไรๆก็ไม่สำเร็จ

อาจารย์ก็จะยืนยันกระต่ายขาเดียวว่า ไม่มีเวลาอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อศิษย์เห็นว่า อาจารย์อาจจะไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามที่ตนจะแนะแนวถวาย จึงเหาะไปต่อหน้าอาจารย์

เมื่ออาจารย์เห็นศิษย์ของตนเหาะไปต่อหน้าเช่นนั้น ก็ได้สติรู้สึกตนขึ้นมาว่า การที่ศิษย์มาหาครั้งนี้เพื่อจะแนะนำให้เราได้เข้าถึงธรรมวิเศษโดยปฏิเวธญาณอย่างแท้จริง แต่เรากลับมีความประมาทเสีย และเราเองก็ไม่ได้มีธรรมวิเศษเหมือนเขาเลย เมื่อมีสติระลึกได้เช่นนี้ จึงตั้งสัจอธิษฐานขึ้นว่า

" ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะต้องเจริญวิปัสสนา ตั้งหน้าปฏิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งธรรมวิเศษนั้น ตราบใดที่เรายังไม่ได้ธรรมวิเศษนั้น ตราบนั้นจะไม่ยอมละทิ้งความเพียรเป็นอันขาด จะยอมทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจทุกอย่าง เพื่อแลกเอาธรรมวิเศษนั้นให้ได้ " ดังนี้

ครั้นท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานอย่างนี้แล้ว ก็เริ่มลงมือปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ปฏิบัติไปวันหนึ่งก็แล้ว สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว สามเดือนก็แล้ว สามปีก็แล้ว เจ็ดปี สิบปี สิบห้าปี ยี่สิบปีก็แล้ว ยังไม่ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพานเลย

ถึงอย่างนั้น ท่านก็ไม่เคยละทิ้งความเพียร ยิ่งพยายามทำอย่างสุดความสามารถืผลที่สุดเมื่อ ๓๐ ปี ท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้บรรลุธรรมวิเศษดังใจหวัง

เข้าตำราที่ว่า " ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 07 เม.ย. 2011, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ


โพสต์ เมื่อ: 07 เม.ย. 2011, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ชัดภายใน ย่อมรู้ชัดภายนอก



ความอดทน อดกลั้น คือ ก้าวแรกของทุกๆคนที่จะต้องใช้ในทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นในชีวิต

ยากยิ่งนักที่จะยอมให้ผู้อื่นมาทำไม่ดีกับตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆก็ตาม เพราะส่วนมากตามความคิดของแต่ละคนย่อมคิดเข้าข้างตัวเองว่า ตัวเองนั้นเป็นฝ่ายถูก มากกว่าที่จะคิดว่าตัวเองนั้นผิด


ในความรู้สึกของแต่ละคน เป็นเรื่องปกติมากๆที่จะกล่าวโทษนอกตัวมากกว่าที่จะกล่าวโทษตัวเอง ทุกอย่างมันมีเหตุ เหตุเพราะตัวเองทำกันไว้นั่นแหละ


ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ ย่อมสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้เสมอ อย่าไปโกรธคนที่เขามาว่าหรือทำอะไรๆที่เราคิดว่าเขาทำไม่ดีกับเรา เพราะนั่นคือ ความพยาบาท จงให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำกับเรา


มันเป็นเพียงแค่การคาดเดาและให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง แต่หาใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น


พื้นฐานของจิต ต้องมีที่ตั้งมั่นให้ได้ก่อนที่จะคิดทำอะไรๆ ที่ตั้งมั่นของจิต คือ สติ สัมปชัญญะ เพียงมีสภาวะ ๒ ตัวนี่เกิดขึ้น ชีวิตนี้เอาดีได้อย่างแน่นอน แต่กว่าจะเอาดีได้ ชีวิตต้องเจอบททดสอบมากมาย

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนเป็นบททดสอบที่เที่ยงตรงที่สุด ไม่มีการทำข้อสอบล่วงหน้า แต่มีการเตรียมตัวล่วงหน้าได้ คือ การเจริญสติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ดู ผู้รู้ ตัวผู้รู้




ผู้รู้นี่ก็คือ จิตเรานี่เอง แต่มีหลายสภาวะ



ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา จนกระทั่งปิดเปลือกตาลง จะมีสองสิ่งที่เกิดขึ้น …


เมื่อเราลืมตาขึ้น .. จะมี ผู้ดู เกิดขึ้น … และ สิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมันมี มันเป็นของมันแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมีผู้ดูหรือไม่มีผู้ดูก็ตาม



พอลืมตาได้สักพัก … เริ่มมองเห็นสภาพรอบๆตัวชัดเจน



ตอนนี้เริ่มมี ผู้รู้ เกิดขึ้น กับ สิ่งที่ถูกรู้


ทำไมถึงเรียกว่าผู้รู้ เพราะเขารู้ว่า สิ่งที่เขาเห็นมันเรียกว่าอะไร

และ สิ่งที่เขาเห็นแล้วเรียกนั้น เป็น สิ่งที่ถูกรู้





ต่อมา มี ตัวผู้รู้ เกิดขึ้น ..



ตัวผู้รู้ เกิดขึ้นจากอะไร


เกิดจากเอาตัวตน ที่ตัวเองคิดว่าตัวเองมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกรู้

แล้วสิ่งที่ถูกรู้จะเปลี่ยนสภาพเป็น ใช่ และ ไม่ใช่ ถูก และ ผิด พอใจ และ ไม่พอใจ ..

เป็นการให้ค่าตามอุปทานที่มีอยู่ ตามเหตุปัจจัยที่มีกับสิ่งที่มากระทบ ( ผัสสะ หรือ สิ่งที่เกิดขึ้น )

ซึ่งเป็นเหตุของการก่อภพก่อชาติ ก่อเหตุขึ้นมาใหม่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น




เมื่อได้เจริญสติปัฏฐาน 4 ย่อมมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น …


ตัวผู้รู้ ที่มีอยู่ ย่อมลดน้อยลงไป สุดท้ายเหลือเป็นเพียงแค่ ผู้รู้


ส่วนสิ่งที่มีคำว่า ใช่ และ ไม่ใช่ ถูก และ ผิด พอใจ และ ไม่พอใจ ย่อมแปรสภาพกลับมา เป็น สิ่งที่ถูกรู้




ต่อมาเมื่อ มีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น ผู้รู้ ย่อมหายไป จะเปลี่ยนเป็น ผู้ดู

และ สิ่งที่ถูกรู้ จะเปลี่ยนเป็น สิ่งที่เกิดขึ้น

และสิ่งที่เกิดขึ้นจะแสดงเป็นไตรลักษณ์ให้เห็น ซึ่งมันมีของมันอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังมองไม่เห็นเท่านั้นเอง



เพราะตราบใด ที่ยังมีเราเขา( ตัวผู้รู้ ) เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น ( ให้ค่าตามอุปทานที่มีอยู่ ) ย่อมไม่สามารถมองเห็นตามความเป็นจริงได้เลย



ผู้ดู กับ สิ่งที่เกิดขึ้น .. ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผล



ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ … มีเหตุนิดๆคือความคิด ผลย่อมมีแน่นอน

( กรรมคือการกระทำ วิบากคือผล ถึงจะเป็นเพียงความคิด ก็ต้องรับผลแน่นอน มากน้อยอยู่ที่คิด )



ตัวผู้รู้ กับ สภาวะเปลี่ยนไป เป็น ชอบใจ ไม่ชอบใจ ถูก ผิด ทุกข์ สุข ตามความคิดของตัวเอง

ตัวนี้แหละสำคัญก่อภพก่อชาติไม่รู้จบ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำรวม



ความสำรวมทั้ง ๕ คือ



๑. ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกขื คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต


๒. สติสังวร สำรวมด้วยสติ คือ ระมัดระวังมิให้ความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ในเวลาที่เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ

โดยใจความ ได้แก่การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง เพราะการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นการใช้สติอย่างเต็มที่ ซึ่งได้แก่ สัมมาสติในมรรค ๘


๓. ญาณสังวร สำรวมด้วยปัญญา ได้แก่ สุเมตยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา


๔. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ ได้แก่ ขันติทั้ง ๓ คือ


ก. ตีติกขาขันติ อดทนด้วยอำนาจอดกลั้น เช่น ทนต่อหนาว ต่อร้อนเป็นต้น

ข. ตปขันติ อดทนจนเป็นเดชเผากิเลสขั้นต่ำ ขั้นกลางให้เหือดแห้งไป

ค. อธิวาสนขันติ อดทนด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยังกิเลสให้หยุด ให้หลุด ให้ขาด คือ ไม่ให้ก่อภพก่อชาติอีกต่อไป


๕. วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร ได้แก่ สัมมัปปธานทั้ง ๔ คือ


ก. เพียรระวังมิให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

ข. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมไป

ค. เพียรบำเพ๊ญภาวนากุศลให้มีขึ้นในตน

ง. เพียรรักษากุศลที่ตนได้บำเพ็ญมาแล้วให้ตั้งอยู่ และให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิลของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ( เจริญสติ )



ขณะที่เดินจงกรม หรือขณะที่เจริญสติในอิริยาบทอื่นๆ เช่น เดินจงกรม แม้จะมีคำบริกรรมภาวนาหรือไม่มีก็ตาม ขณะนั้นพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ

อาตาปี มีความเพียรเป้นเครื่องเผากิเลสให้ร้อนทั่ว


สติมา มีสติคอยระมัดระวังมิให้ใจเผลอออกจากเท้าขวา เท้าซ้ายที่กำลังก้าวไป ซึ่งเรียกตามโวหารนักปฏิบัติว่า ไม่ให้ใจเผลอจากรูป จากนาม


สมฺปชาโน มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ รู้ทุกๆขณะที่เท้าขวา เท้าซ้าย กำลังก้าวไป ในขณะนั้นไตรสิกขาคือ ศิล สมาธิ ปัญญา มีพร้อมแล้ว


ศิลที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้ ท่านเรียกว่า อวีรติศิล

คือ ศิลเกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจงดเว้น มิได้ตั้งใจสมาทาน แต่ตั้งใจปฏิบัติธรรม

บ้างเรียกว่า วเสสศิล แปลว่า ศิลวิเศษ ศิลประเสริฐ

บ้างเรียกว่า นิพเพธภาคิยศิล แปลว่า ศิลตัดกิเลสบ้าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปมาดั่งพยับแดด


ชีวิตมนุษย์ ความลุ่มหลงในเบญจขันธ์
มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้เลย

เหตุเกิด เพราะความไม่รู้ ผลที่ได้รับคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เพราะยังมีอุปทาน จึงเกิดการให้ค่าให้ความหมายตามกิเลสที่เกิดขึ้น

เราจะมีชีวิตอยู่กันได้อีกนานเท่าไหร่ กว่าจะรู้ กว่าจะเห็น กว่าจะเข้าใจ กว่าจะเบาบาง
กว่าจะปล่อยวาง กว่าจะหลุดจากสภาวะอุปทานนั้นๆได้

” แค่รู้ ” คำว่า ” แค่รู้ ” สั้นๆ แต่ กว่าจะรู้ได้ ไม่ใช่สั้นๆเลย
เปรียบเสมือนว่า ๑ ความไม่รู้ที่ได้กระทำลงไป นั่นคือ ๑ ภพชาติที่เราได้ทำให้เกิดขึ้นใหม่

แค่ดู แค่รู้ คืออะไร

แค่ดู คือ การดูทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
ไม่ว่าจะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นรู้รส กายสัมผัส

คือ แค่ดู แต่ไม่ไปยึดติดจนเกิดอุปทานไปหลงให้ค่าให้ความหมายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

แค่รู้ คือ รู้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ยามเมื่อเกิดผัสสะ รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต
ว่าจิตนั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้ลงไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

เช่น ความชอบ ความชัง ความโลภ โทสะ โมหะ ความทะยานอยาก ฯลฯ
คือ อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ให้แค่รู้ลงไปในอารมณ์นั้นๆว่า เรายังมีมันอยู่

แต่ไม่ให้ลงไปปรุงแต่งในอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆแต่อย่างใด ไม่มีการให้ค่าให้ความหมายแต่อย่างใด
เช่น เรียกว่าอะไร ลักษณะแบบนี้ อาการแบบนี้ ให้แค่รู้ตามความเป็นจริงไปอย่างเดียว

เพราะตราบใดที่จิตยังมีกิเลส จิตย่อมย้อนยอกลวงหลอกเราได้ตลอดเวลา
หากยังมีกำลังของสติ สัมปชัญญะ ยังไม่มากพอ จึงยังไม่สามารถรู้เท่าทันการปรุงแต่งของจิตได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 00:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42:

:b8: กระทู้ดีๆ แบบนี้พึ่งจะได้เข้ามาอ่านนะครับ

:b53: :b51: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 22 เม.ย. 2011, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิศิล,อธิจิต,อธิปัญญา


อธิศิล



อธิศิล ได้แก่ ศิลที่ยิ่ง ศิลที่ประเสริฐ เกิดเฉพาะแก่ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน

จนเกิดญาณที่ ๑ คือ เห็นรูปนาม

เกิดญาณที่ ๒ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม

เกิดญาณที่ ๓ คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เกิดญาณที่ ๔ คือ เห็นความเกิดดับของรูปนาม

เกิดญาณที่ ๕ คือ เห็นเฉพาะความดับไปของรูปนามฝ่ายเดียว

นับตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปัจจเวกขณญาณ จึงจัดเป็นอธิศิลได้

ส่วนศิล ๕-๘-๑๐-๒๒๗ ตามปกตินั้น มีบัญญัติเป็นอารมณ์ จัดเป็นอธิศิลไม่ได้

อธิศิลมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์อย่างเดียว



คำว่า สิกฺขา แปลว่า ศึกษา ได้แก่การลงมือปฏิบัตินั่นเอง

คำว่า สมาทาน แปลว่า ถือเอาพร้อม ได้แก่ การตั้งใจปฏิบัติจนเกิดผลปรากฏแก่ตนจริงๆ ดุจถือไว้ในเงื้อมมือของตนฉะนั้น



อธิจิต



อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง จิตใหญ่ ได้แก่ จิตของท่านผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงภังคญาณ

เมื่อถึงญาณนี้แล้ว จิตของผู้นั้นจะมีกำลังแก่กล้า สามารถเห็นรูปนามเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และเห็นความดับไปของรูปนาม




อธิปัญญา



อธิปัญญาแปลว่า ปัญญายิ่ง ปัญญาใหญ่ ได้แก่ ปัญญาของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนถึงภังคญาณ ดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงจัดเป็นอธิปัญญาได้

อธิปัญญานั้น ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านแสดงไว้ มีองค์ ๓ คือ

๑. อามรมฺมณปฏิสงฺขา พิจรณารูปนามที่เป็นปัจจุบัน คือ เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

๒. ภงฺคานุปสฺสนา เห็นเฉพาะความดับไปของรูปนามฝ่ายเดียว

๓. สุญฺญโต อุปฏฺฐานํ ปรากฏโดยความเป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

ตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณที่ ๑๖ จึงจัดเป็นอธิปัญญาได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 22 เม.ย. 2011, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ,สัมปชัญญะและสมาธิ


อาการหยาบและละเอียดสงบ



เมื่อกายและจิตกระสับกระส่าย กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ ( หยาบ )

เมื่อกายและจิตไม่กระสับกระส่าย กายสังขารย่อมเป็นไปละเอียด




ในปฏิสัมภิทามรรค



ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก หายใจเข้าอย่างไร? กายสังขารเป็นไฉน?

คือ ธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปในกองลมหายใจออกและหายใจเข้ายาว อันนี้เป้นธรรมเกี่ยวเนื่องด้วยกาย ภิกษุทำกายสังขารเหล่านั้นให้ระงับ คือ ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ ชื่อว่า สำเหนียกฯลฯ

สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร ที่เป็นเหตุให้โยกโคลงโอนเอนส่ายสั่นหวั่นไหวไปมาเสีย

หายใจออก สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารอันสงบละเอียด ที่เป็นเหตุให้กายไม่โยกโคลง ไม่โอน ไม่เอน ไม่ส่ายสั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว หายใจออก หายใจเข้า

นัยว่า ภิกษุเมื่อสำเหนียกดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจเข้า

เมื่อเป็นดังนั้น การอบรมจิตเพื่อวาตุปลัทธิ ( การกำหนดลม ) ก็ดี เพื่อลมหายใจออก หายใจเข้าก็ดี เพื่ออานาปนสติก็ดี เพื่ออานาปนสติสมาธิก็ดี ย่อมไม่สำเร็จได้ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ได้เข้าสมาบัติ ทั้งยังไม่ได้ออกสมาบัตินั้น



เหมือนอย่างไร?


เหมือนอย่างเมื่อกังสดาลถูกเคาะแล้ว เสียงหยาบย่อมเป็นไปครั้งแรกจิตก็เป็นไปได้ เพราะกำหนดนิมิต ( เครื่องหมาย ) แห่งเสียงได้ง่าย เพราะทำนิมิตแห่งเสียงหยาบไว้ในใจได้ง่าย เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงหยาบได้ง่าย

แม้เมื่อเสียงหยาบดับแล้ว หลังนั้นถัดไปเสียงละเอียดก็ยังเป็นไปจิตก็เป็นได้ เพราะกำหนดนิมิตเสียงละเอียดไว้ในใจได้ดี เพราะยังทำนิมิตเสียงละเอียดได้ดี เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงละเอียดได้ดี

แม้เมื่อเสียงละเอียดดับแล้ว หลังจากนั้นไป จิตก็ยังเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงละเอียดเป็นอารมณ์

แม้ฉันใด ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่หยาบก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกำหนดนิมิตแห่งลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย เพราะทำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าที่หยาบไว้ในใจได้ง่าย



เพราะสังเกตุนิมิตแห่งลมหายใจออก หายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย



เมื่อลมหายใจออก หายใจเข้าที่หยาบดับแล้ว หลังจากนั้น ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่ละเอียดก็ยังเป็นอยู่ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะกำหนดจับนิมิตได้ด้วยดี เพราะใส่ใจนิมิตได้ด้วยดี เพราะทรงจำนิมิตได้ด้วยดี

แม้เมื่อลมหายใจออก หายใจเข้าที่ละเอียดดับไปแล้ว หลังจากนั้นจิตก็ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะยังมีนิมิตแห่งลมหายใจออก หายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์

เมื่อเป็นดังนี้ การอบรมจิต เพื่อวาตุปลัทธิ เพื่อลมหายใจออกเข้าก็ดี เพื่ออานาปนสติก็ดี เพื่ออานาปนสติสมาธิก็ดี ย่อมสำเร็จได้ และสมาบัติผู้นั้น ผู้เป็นบัณฑิตย่อมเข้าบ้าง ย่อมออกบ้าง



ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จัดเป็นกาย

ความปรากฏ จัดเป็นสติ

ปัญญา ( สัมปชัญญะ ) เครื่องตามเห็น จัดเป็นญาณ

กายจัดเป็นเครื่องปรากฏ ไม่ใช่ตัวสติ

สติ เป็นตัวปรากฏ ทั้งเป็นตัวสติด้วย ( เครื่องระลึก )




พระโยคาวจรย่อมเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณ ( สัมปชัญญะ+สมาธิ ) นั้น


เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือ ปัญญาเครื่องตามเห็นกายในกาย ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอำนาจกายานุปัสสนา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 22 เม.ย. 2011, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สโตการี ผู้ทำสติ



บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ความว่า


ภิกษุนั้น นั่งอยู่อย่างนี้และตั้งสติไว้มั่นอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า


ท่านอธิบายไว้ว่าเป็น สโตการี ผู้ทำสติ



บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเหตุให้ภิกษุนั้นได้ชื่อว่า สโตการี จึงตรัสคำว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต หรือ หายใจออกยาว ดังนี้เป็นต้น

สมจริงดังคำที่ธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาในวิภังค์แห่งปาฐะว่า

โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ

นั้นนั่นแลว่า พระโยคาวจร ย่อมเป็นชื่อว่า สโตการี ด้วยอาการ ๓๒ อย่าง

เมื่อเธอรู้ชัดว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอผู้นั้นชื่อ สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น

เมื่อเธอรู้ชัดภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติ ย่อมตั้งมั่น เธอย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ฯลฯ

เมื่อเธอรู้ชัดว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจรณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจออกยาวอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจรณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจเข้าอยู่

สติ ย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ดังนี้




อธิบาย อัสสาสะ ปัสสาสะ




บรรดาบทเหล่านั้น บทที่ว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่ หรือ เมื่อหายใจออกยาว ในอรรถพระวินัยกล่าวไว้ว่า


บทว่า อสฺสาโส ได้แก่ ลมหายใจออก

บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ หายใจเข้า


แต่ในอรรถกถาพระสูตรทั้งหลายตรงกันข้าม ในลมทั้งสองอย่างนั้น ในเวลาที่สัตว์ทั้งปวงอยู่ในครรภ์ ออกจากท้องมารดา อันดับแรก ลมหายใจออกมาภายนอก

ทีหลัง ลมหายใจออกนอก พาเอาธุลีละเอียดเข้าไปจรดเพดาน แล้วดับ อันดับแรก บัณฑิตพึงทราบลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อย่างนี้



สพฺพกายปฏิสํเวทิ



คำว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก หายใจเข้านี้ มีคำอธิบายว่า

พระโยคาภิกษุ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกองลมอัสสาสะทั้งสิ้นให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้ปรากฏ จักหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งกองลมปัสสาสะให้แจ่มแจ้ง คือ ให้ปรากฏ จักหายใจเข้า

พระโยคาวจร เมื่อกระทำให้แจ่มแจ้ง คือ ทำให้ปรากฏอย่างนี้ ย่อมหายใจออกและหายใจเข้า ด้วยจิตที่เป็นสัมปยุต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักหายใจออก เราจักหายใจเข้า

เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ปรากฏบางรูป

จริงอยู่ สำหรับภิกษุบางรูป ในกองลมหายใจออกหรือกองลมหายใจเข้าที่ซ่านไปอย่างละเอียด ย่อมปรากฏแต่เบื้องต้น ส่วนท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ เธอก็อาจกำหนดเฉพาะเบื้องต้นเท่านั้น ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด

บางรูป ปรากฏแต่ท่ามกลาง ส่วนเบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏ

เธอก็อาจ เพื่อกำหนดเฉพาะแต่ที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง

บางรูป ปรากฏทั้งหมด เธอย่อมกำหนดได้ทั้งหมด ไม่ลำบากส่วนไหนๆ



เพื่อแสดงว่า พึงเป็นเช่นนั้น จึงกล่าวว่า

” สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสสิสฺสามิฯลฯ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺ ข ตีติ “


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขาติ ความว่า ความเพียร คือ พยายามอย่างนี้


อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบอธิบายในบทอย่างนี้ว่า การสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น อันใด การสำรวมนี้จัดเป็น อธิศิลสิกขา

ในบรรดาสิกขา ๓ นี้ สมาธิของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้อันใด สมาธินี้ จัดเป็น อธิปัญญาสิกขา

รวมความว่า สิกขา ๓ เหล่านั้น พระโยคีย่อมศึกษา ย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มากด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้นในอารมณ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร