วันเวลาปัจจุบัน 24 พ.ค. 2025, 21:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่ถึงจุติจิต ก็ย่อมมีความยินดี พอใจในชีวิต ในภพ ในขันธ์ เมื่อมีความยินดีพอใจในชีวิต ในภพ ในขันธ์ แต่กำลังจะจากไป มรณะ หรือความตายนั้นจึงเป็นวัตถุ ที่ตั้งแห่งทุกข์ ๒ อย่างคือ ทุกข์กาย ๑ และทุกข์ใจ ๑ และอีกประการหนึ่ง เพราะความตายนี้เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ ทางใจ ซึ่งก็มีคนบาปที่กำลังจะตาย ผู้กำลังเห็นนิมิตมีกรรมชั่วเป็นต้น อยู่โดยลำดับ
....สำหรับคนดี ผู้ไม่สามารถข่มความพลัดพราก อันมีสัตว์ และ สังขารที่รักเป็นอารมณ์อยู่ และทุกข์อันเกิดในสรีระ มีโรคลมอันติดข้อต่อ และเส้นเอ็นเป็นต้น ข่มไม่ได้แก้ไขไม่ได้ ซึ่งมีแก่สัตว์ทั้งปวง ผู้กำลังถูกโรคเสียดแทงเป็นธรรมดา โดยไม่แปลกกัน เช่นนี้ ฉะนั้น มรณะนี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นทุกข์ เหมือนกันแล
......
.....เมื่อคนชั่วจะตาย ก็เป็นทุกข์ เพราะคิดถึงกรรมชั่วที่ได้ทำแล้ว และอาจจะเห็นนิมิตของกรรมชั่ว คือ ภพภูมิที่จะไปเกิดต่อไป ก็ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น หรือ สำหรับคนดี แต่ยังไม่สามารถที่จะข่ม ความพลัดพรากจากผู้ที่เป็นที่รัก ทั้งสัตว์ และสังขารที่รักซึ่งกำลังเป็นอารมณ์ ก็จะทำให้ เกิดความทุกข์ได้เช่นเดียวกัน มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ท่านอยู่ใกล้คนที่กำลังจะตายคนหนึ่ง ซึ่งใส่แหวน ท่านก็ลองใจ เพราะรู้ว่ากำลังจะตาย ท่านจับแหวนแล้วลองขยับดูเพื่อจะถอด คนที่กำลังจะตายก็กำไว้แน่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความติด ความยึดในวัตถุ สังขารซึ่งเป็นที่รักมากมายสักแค่ไหน แม้กำลังจะตาย ก็ไม่ยอมที่จะให้สิ่งที่พอใจนั้นจากพรากไป
......ความโศกเศร้าเสียใจต่างๆ อันเนื่องมาจากความตาย จากการพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก หรือว่าจากผู้ที่เป็นที่รักพลัดพรากไปนั้น ข้อความในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังคปกรณ์ สัจจวิภังคนิทเทส อธิบายไว้ว่า
.....บทว่า...โสโก แปลว่า อาการคือความเศร้า
.....บทว่า โสจิตตฺตํ แปลว่า ภาวะที่เศร้า
.....บทว่า อนฺโต โสโก แปลว่า ความแห้งภายใน
(ต่อ...)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 01 ต.ค. 2010, 10:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: :b43:
.....ความโศกไม่มีลักษณะที่น่าพอใจเลยสักอย่างเดียว ที่จริง ความโศกนั้น ย่อมเกิดขึ้นทำภายในให้แห้งผาก เหตุนั้นพระองค์จึงตรัสว่า อนฺโต โสโก ความแห้งภายใน อนฺโต ปริโสโก ความแห้งผากภายใน (ซึ่งทุกคนคงจะรู้ลักษณะของความโศก แม้ว่าจะไม่กล่าวถึงโดยบทต่างๆ นี้ )
....ความโศกเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาจิตใจ คือไหม้จิตใจอย่างยิ่ง ได้แก่ ทำให้บ่นว่า จิตใจเราไหม้แล้ว เราไม่มีอะไรๆ แจ่มใส ดังนี้ (เมื่อฟังคนที่กำลังเป็นทุกข์ ก็มีคำพูดที่แสดงถึงความทุกข์ต่างๆ ขณะนั้นเป็นอาการของโทสมูลจิต ซึ่งประกอบด้วยโทมนัสเวทนา)
....ก็โสกะ นี้นั้น ถึงแม้โดยเนื้อความจะเป็นโทมนัสเวทนาอย่างเดียวก็จริง แม้เช่นนั้น ก็มีการไหม้ข้างในเป็นลักษณะ มีการเผาลนใจเป็นรสะ มีความเศร้าโดยลำดับเป็นปัจจุปัฏฐานะ คือ เป็นอาการปรากฏ
(หน้าตาของคนที่กำลังเสียใจนั้น สามารถมองเห็นได้ว่า ขณะนั้น เป็นทุกข์มากน้อยเพียงใด)

....โสกะ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นสภาวะทุกข์ และเพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์
...ถามว่า ของทุกข์ไหน..? แก้ว่า...ของทุกข์กาย และทุกข์คือโทมนัส ในชวนะขณะ
....โดยการศึกษา ก็ทราบว่า ทุกข์ทางกายได้แก่ ทุกขกายวิญญาน ซึ่งเป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่โทสมูลจิตที่เกิดร่วมกับโทมนัสเวทนานั้นเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่วิบาก
....จริงอยู่ ด้วยกำลังแรงของความโศก ฝีหัวใหญ่ย่อมตั้งขึ้นที่หัวใจ สุกงอม แล้วย่อมแตก โลหิตเป็นสีดำย่อมไหลออกทางปาก เกิดทุกข์ทางกายอย่างแรงขึ้นได้ และเมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติของเราเท่านี้ กึงความสิ้นไป โภคะของเราเท่านี้ถ้าตายสิ้นไป ดังนี้ ย่อมเกิดโทมนัสอย่างรุนแรงขึ้นไป ก็โสกะ นี้ พึงทราบว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้ง ๒ นี้ ด้วยประการฉะนี้

......ความเสียใจ อย่างรุนแรงนั้น ย่อมถึงกับทำให้โลหิตสีดำไหลออกทางปาก แต่ว่าก็คงจะมีน้อยคนที่จะโศกเศร้าถึงอย่างนั้น อีกประการหนึ่ง เพราะความโศก ย่อมเสียดแทงหทัยของเหล่า สัตว์ ดุจลูกศร ย่อมเผาหทัยของเหล่าสัตว์ อย่างแรงกล้าอีก ดังศรเหล็ก เครื่องสังหารมนุษย์ อันร้อนด้วยไฟ และย่อมนำมาพร้อมแม้ซึ่งทุกข์ชนิดต่างๆ อันต่างโดยพยาธิ ชรา และ มรณะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 10:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48:
....ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ทุกข์และ ความโศกเศร้าเสียใจในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ย่อมเกิดจากเหตุต่างๆ กัน ตามเหตุการณ์ของแต่ละคน ซึ่งใน มโนรถปูรณี อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต วรรคที่ ๑ สูตรที่ ๓ มีเรื่องเล่าว่า...
.....เล่ากันมาว่า พี่น้องสองคนนั้น ฆ่าโคตัวหนึ่งแล้ว แบ่งเนื้ออกเป็น ๒ ส่วน ต่อแต่นั้น น้องชายพูดกับพี่ชายว่า เด็กของเรามีมาก ท่านจงให้ไส้ใหญ่เหล่านั้นแก่เราเถิด
.
...ครั้งนั้น พี่ชายจึงกล่าวกะน้องชายว่า เนื้อทั้งหมดเราแบ่งกันแล้วเป็นสองส่วน เจ้าต้องการอะไรอีก ดังนี้ จึงประหารน้องชาย ให้ถึงชีวิตแล้ว ก็เมื่อพี่ชายกลับไปแลดู เห็นน้องชายตายแล้ว จึงยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เรากระทำกรรมหนักแล้ว ครั้งนั้น ความโศกเศร้าอันมีกำลังเกิดขึ้นแล้วแก่เขา เขาระลึกถึงกรรมนั้นนั่นเทียว ในที่อันตนยืนแล้วบ้าง ในที่อันตนนั่งแล้วบ้าง ไม่ได้ความสบายใจเลย โอชะที่เขาลิ้ม ดื่ม เคี้ยว กิน ไม่แผ่ไปในสรีระของเขา สรีระมีเพียงหนังหุ้มกระดูก เท่านั้น
....เมื่อระลึกถึงกรรมนั้น ก็ทำให้ไม่สบายใจเลย ในที่ๆ ยืนแล้วบ้าง ในที่ๆ นั่งแล้วบ้าง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด อุบาสกนั้นเมื่อตายไป ก็เกิดในนรก
.....
....โทสมูลจิตนั้น เมื่อมีกำลังแรงขึ้น ก็ทำให้เกิดปริเทวะ ข้อความใน สัมโมหวิ โนทนี อรรถกถาพระวิภังคปกรณ์ สัจจวิภังคนิทเทส แสดงความหมายของปริเทวะไว้ว่า
....ที่ชื่อว่า อาเทวะ เหตุร่ำไห้ ด้วย อรรถว่า เป็นเหตุครวญ คือ ร้องไห้ โดยอ้างอย่างนี้ว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน ดังนี้ ของคนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า ปริเทวะ เหตุร่ำ ครวญ ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุครวญ รำพัน ถึงคุณของธิดาและบุตรนั้นๆ
....การเพ้ออย่างผิดรูป ด้วยอำนาจการพูดครึ่งๆกลางๆ และพูดอย่างอื่นเป็นต้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิปปลาปะ การเพ้อผิดๆ
.....บทว่า ลาลโป แปลว่า การพูดซ้ำๆ ซากๆ อาการแห่งการพูดซ้ำซาก ชื่อว่า ลาลปนา
....ปริเทวะนั้น มีการพูดซ้ำซากเป็นลักษณะ มีการรำพันถึงคุณและโทษ เป็น รสะ มีความหมุนไปพร้อมเป็นปัจจุปัฏฐาน โทสมูลจิตเป็นเหตุให้เสียใจ ร้องไห้ คร่ำครวญบ่นเพ้อต่างๆ (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b43: :b42: :b42:
....จริงอยู่ บุคคลที่กำลังคร่ำครวญ ย่อมเอากำปั้นทุบลำตัวของตนได้ เอามือสองมือตีอก ขยี้อก เอาหัวชนฝาก็ได้ เพราะเหตุนั้น จึงเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรงขึ้นแก่ผู้นั้น เขาย่อมคิดเป็นต้นว่า ญาติของเราเท่านี้ได้ถึงความสิ้นไป เสื่อมไป ตั้งอยู่ไม่ได้อย่างยิ่งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเกิดโทมนัสอย่างรุนแรงขึ้นแก่เขา พึงทราบ ปริเทวะว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ แม้ทั้งสอง ด้วยประการฉะนี้
...เมื่อเสียใจร้องไห้ คร่ำครวญ จะมีทุกข์ทางกายบ้างไหม ถ้ายังไม่เคยโศกเศร้า เสียใจ ถึงอย่างนั้น ก็จะไม่ทราบว่าจะทำให้เกิดทุกข์ ทางกายได้อย่างไรบ้าง แต่ผู้ที่ร้องไห้คร่ำครวญมากๆ ย่อมจะรู้ว่า จะมีทุกข์กายอย่างไรบ้าง ซึ้งข้อความต่อไปมีว่า..

....บุคคลผู้ถูกศรคือความโศก ถ้าจิตวิเศษแล้ว คือถูกความโศกกำจัดยิ่งแล้ว คร่ำครวญอยู่ ย่อมประสบทันทีซึ่งทุกข์อันใด อันเกิดแต่ความแห้งที่คอ ริมฝีปาก และพื้นเพดาน ที่ทนไม่ได้อย่างเหลือประมาณยิ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสปริเทวะ ความ คร่ำครวญ เป็นทุกข์ โดยทุกข์นั่นแล
.....นอกจากโสกะ ปริเทวะ ข้อความต่อไป ก็ได้กล่าวถึงลักษณะขอลทุกข์และโทมนัส ซึ่ง อรรถกถาของทุกข์และโทมนัส มีว่า
....แม้ทุกข์และโทมนัสทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า เป็นทุกข์เพราะตัวเองเป็นทุกข์ด้วย เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ทั้งทางกายและทางใจด้วย จริงอยู่ สำหรับคนที่ถึงทุกข์ โดยทุกข์ เพราะเท้า หู และ จมูก นอนวางกระเบื้องเพื่ออาหารอันเป็นเดนในศาลาของคนอนาถา หนอนทะลักออกจากปากแผลอยู่ ย่อมเกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรงขึ้นๆ เพราะเห็นมหาชนผู้มีผ้าย้อมสีต่างๆ มีเครื่องอลังการที่น่าเจริญใจ เล่นนักษัตรอยู่ ย่อมเกิดโทมนัสอย่างรุนแรงขึ้น

....คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วย จะเห็นอาการของทุกข์ทางกายมากมายทั้งหลาย อาจจะถึงกับมีหนอนทะลักออกจากปากแผลก็ได้ หรือ...ว่าบาดแผลธรรมดาที่ถูกตัดมือ เท้า หู จมูก โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็เกิดกับร่างกาย ตั้งแต่ศรีษะตลอดเท้า นั้นก็เป็นอาการของทุกข์ ทางกาย แต่ว่าคนที่กำลังมีทุกข์ทางกาย ย่อมมีความโทมนัสเพิ่มขึ้น เวลาที่เห็นคนอื่นสนุกสนานร่าเริง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใดๆ ก็ย่อมจะมีความรู้สึกน้อยใจ เสียใจ เป็นโทมนัสเกิดขึ้น (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b42: :b48: :b43: :b48: :b43: :b42: :b43: :b42:
......อนึ่ง บุคคลผู้เต็มไปด้วยทุกข์ทางใจ จะสยายผมแล้ว ขยี้อก จะกลิ้งเกลือกไปมา จะโดดเหว จะนำศาสตรามาฆ่าตัว จะดื่มยาพิษ จะเอาเชือกแขวนคอ จะเข้าไปสู่กองไฟ จะมีปกติเดือดร้อน มีจิตใจ ร้อนรุ่ม อยู่ด้วยอาการนั้นๆ คิดเรื่องวิปริตนั้นๆ อยู่
....อีกประการหนึ่ง เพราะโทมนัสย่อมบีบคั้นจิตใจ และย่อมนำความบีบคั้นแก่ร่างกาย ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย จึงกล่าวแม้โทมนัสว่า เป็นทุกขฺแล เวลาที่ใจเป็นทุกข์ กายก็พลอยกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นทุกข์ไปด้วย ฉะนั้น ทุกข์กายจึงทำให้เกิดทุกข์ใจ และทุกข์ใจก็ทำให้เกิดทุกข์กาย ทำให้ปวดหัว เป็นไข้ หรือ เป็นโรคภัยอื่นๆ ซึ่งเกิดจากจิต ซึ่งกำลังเป็นทุกข์ได้

....ข้อความต่อไป แสดงความหมายของทุกข์อีกประการหนึ่ง คือ อุปายาส ไว้ดังนี้ คือ ที่ชื่อว่า อายาส ความคับใจ ด้วย อรรถว่า ลำบาก
....บทว่า อายาส ความคับใจนั้น เป็นชื่อของควมลำบากแห่งจิตใจ อันเป็นไปแล้วด้วยอาการ หดหู่ และ ย่อท้อ ความคับใจอย่างรุนแรงชื่อว่า อุปายาส ความคับแค้นใจ ก็ อุปายาส นี้นั้นมีความวุ่นวายใจ เป็น ลักษณะ มีการถอนหายใจเป็นรสะ มีความปราศจากความยินดีเป็น ปัจุปัฏฐานะ
.....ข้อความต่อไปได้ยกตัวอย่างในอรรกถาที่ว่า ผู้ที่ถูกพระราชากริ้ว ตัดอิสริยยศ และมีบุตรและพี่น้องที่ถูกประหาร ตัวเองก็ถูกสั่งฆ่า ก็ได้หนีเข้าไปสู่ดงด้วยความกลัว ปราศจากความยินดีอย่างใหญ่หลวง เกิดทุกข์ทางกายอย่างรุนแรงขึ้น ยืนเป็นทุกข์ นอนเป็นทุกข์ นั่งเป็นทุกกข์ เมื่อคิดอยู่ว่าญาติของเราเท่านี้ โภคะของเราเท่านี้ พินาศแล้ว ย่อมเกิดโทมนัสอย่างรุนแรงขึ้น

.....คนที่เคยมีทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อต้องสูญสิ้นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เกือบทนชีวิตต่อไปไม่ได้ ด้วยความรู้สึกโทมนัส
....อีกประการหนึ่ง อุปายาส ย่อมให้ทุกข์มีประมาณยิ่งอันใดเกิดเพราะเผาลนจิตใจ และเพราะทำกายให้เศร้าหมองโดยทุกข์นั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสให้ชื่อว่า ทุกข์แล
.....ก็ทุกข์ใน ค อย่างนี้ คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส พึงทราบโสกะ ดุจการหุงน้ำมันเป็นต้นในภายในภาชนะ เท่านั้นด้วยไฟอ่อน พึงทราบปริเทวะ ดุจการล้นออกของภาชนะที่เคี่ยวด้วยไฟแรง
พึงทราบอุปายาส ดุจการเคี่ยวจนสิ้นไปรอบในภาชนะ นั้นเอง ของสิ่งที่เหลือจากล้นออกข้างนอก แม้ไม่พอที่จะล้นออกอยู่ (ต่อ...)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 30 ก.ย. 2010, 11:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: :b43:
....หวังว่าชีวิตของแต่ละท่านคงจะไม่ได้ประสบกับโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างรุนแรง แต่ก็มิได้ความว่าจะพ้นไปเลย แล้วแต่กำลังของความโศกในขณะนั้น บางทีเมื่อผู้เป็นที่รักสิ้นชีวิตไปก็พอที่จะระลึกได้ว่าความโศกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นถึงขั้นไหน ก็เป็นเรื่องของการสะสมของแต่ละบุคคล แต่ก็แสดงให้เห็นว่าทุกภพทุกชาติ ทุกคนต้องประสบกับ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
.....ต่อไปก็เป็นชีวิตประจำวัน คือ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ทีทำให้เกิดโทมนัส หรือทุกข์ขึ้น มีข้อความอธิบายว่า อัปปิยะสัมปโยค คือ บทว่า "ที่เขาไม่ต้องการ" คือโดย อรรถที่เขาไม่แสวงหา เวลาที่ท่านผู้ฟังได้อะไรโดยที่ไม่ต้องการก็หมายความว่าสิ่งนั้นเป็นที่ท่านไม่ได้แสวงหา บทว่า ที่เขาไม่ต้องการนี้ เป็นชื่อของอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจทั้งหลาย อันเขาไม่พึงแสวงหา ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใดไม่ก้าวไป คือ ไม่ก้าวไปในใจ เหตุนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้น จึงชื่อ อกนฺตา ไม่ก้าวไปในใจ (อยู่ข้างนอก คือ เห็นก็ผ่านไป ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้ติดใจ ไม่ได้ต้องการ ไม่ได้แสวงหา)
....ธรรมเหล่าใดย่อมไม่เอิบอาบในใจ หรือย่อมไม่ยังใจให้เจริญ เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า อมนาปา ไม่เอิบอาบใจ หรือ ไม่ให้ใจเจริญ ไม่น่าชอบใจ

.....ชื่อว่า สงฺคติ การไปพร้อม "สมาคโม" ความมาพร้อม ภาวะที่ร่วมกันในการยืนและนั่งเป็นต้น
....ชื่อว่า "สโมธานํ "การประชุม การทำกิจทั้งปวงร่วมกัน
.....ชื่อว่า "มิสฺสีภาโว" ความเป็นผู้กระทำร่วมกัน
....อัปปิยะสัมปโยค ทุกข์นั้น มีการประชุมสิ่งที่เขาไม่น่าปรารถนา เป็นลักษณะ มีการทำความกระทบจิตใจด้วยอาการต่างๆ เป็นรสะ มีภาวะที่ไร้ประโยชน์เป็นปัจุปัฏฐานะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ แม้ทั้งสองอย่างกับผู้ประจวบแล้วกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ลองพิจารณาว่า สิ่งที่ไม่เป็นที่รักของทุกๆท่าน ในชีวิตประจำวันคืออะไรบ้าง)
....จริงอยู่ วัตถุที่เขาไม่ปรารถนาแล้ว (หมายถึงสิ่งของ) ถึงการประชุมเข้าแล้ว ย่อมให้เกิดทุกข์แม้ทางกาย โดยการเจาะ การตัด และการผ่าเป็นต้น แม้ทางใจ โดยนัยอันเกิดแต่ความกลัวขึ้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b48: :b42: :b48: :b42:
......สิ่งที่ไมน่าปรารถนาทางกาย คือ ไม่ปรารถนาที่จะให้รูปซึ่งเป็นอันตรายกระทบร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมีด เป็นปืน เป็นวัตถุใดๆ ก็ตาม ซึ่งจะทำให้ร่างกายเจ็บปวด เป็นทุกข์ทรมาน นั่นคือวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา แม้ทางใจก็มีทุกข์ เวลาประจวบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ทำใหเกิดความหวาดกลัวขึ้นได้
เพราะเหตุนั้นท่านจึงแสดงไว้ ดังนี้ว่า
.....เพราะเห็นสัตว์อันไม่เป็นที่รักทีเดียว จึงมีทุกข์ที่ใจก่อน และมีทุกข์อันกิดแต่ความพยายามของสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นที่กายเหตุใด เพราะเหตุนั้นจึงทราบความสมาคมกับสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นว่า อันพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแม้แห่งทุกข์ทั้งสองโลกนี้
.....ท่านคงจะเคยมีคนที่ท่านไม่ชอบ ซึ่งแม้เพียงเห็นก็ไม่สบายใจแล้ว ไม่อยากเห็น บางทีถ้าทราบว่าคนนั้นจะไปที่ไหน ท่านก็ไม่ไป เพราะว่าไม่ต้องการที่จะพบเห็นคนที่ท่านไม่พอใจ นั่นคือการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก และถ้าไม่ชอบมากกว่านั้นอีก ซึ่งโจร ผู้ร้ายต่างๆ ซึ่งไม่มีใครชอบเลย เวลาเห็นโขมย โจร นอกจากไม่พอใจแล้ว ถึงกับหวาดกลัวด้วย ขณะที่กำลังหวาดกลัวนั้นเป็นทุกข์ เมื่อเห็นผู้ไม่เป็นที่รักนั้น เพียงเห็นก็เป็นทุกข์ และเห็นกันต่อไปนานๆ ก็อาจจะเกิดทุกข์มากกว่านั้นอีก คือ ทะเลาะกัน ตีกัน วิวาทกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากันก็ได้
......
.....ฉะนั้น ทุกข์ซึ่งเกิดจากการประสบกับสิ่งหรือผู้ไม่เป็นที่รัก ย่อมมีตั้งแต่ เล็กๆ น้อยๆ จนกระทั่งถึงกับทำให้เกิดภัยอันตรายขึ้นได้
......ชีวิตประจำวันนั้น นอกจากจะประสบกับสิ่งซึ่งไม่เป็นที่รักแล้ว ก็ยังมีทุกข์อื่นอีก คือ พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
....ก็ในนิทเทสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสคำเป็นอาทิว่า มาตา วา ได้แก่ มารดา ก็ตาม ดังนี้ เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้ใคร่ประโยชน์โดยสงบ ใน คำว่า มารดา เป็นต้นนั้น มีวิเคราะห์ศัพท์ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มารดา โดยอรรถว่า ประพฤติยึดถือว่าของเรา ชื่อว่าบิดา ด้วยอรรถว่า ประพฤติรักใคร่ ชื่อว่า พี่ชายน้องชาย ด้วยอรรถว่าเป็นผู้คบ ชื่อว่า พี่น้องหญิง ก็เหมือนกัน ชื่อว่า มิตร ด้วยอรรถประพฤติเมตตา หรือ ด้วยอรรถว่า นับถือ ชื่อว่า อำมาตย์ ด้วยอรรถว่า เป็นผู้ร่วม โดยอรรถคือเป็นไปร่วมกันในกิจและในกรณียะทั้งหลาย ชื่อว่า ญาติ ด้วยอรรถว่า เป็นผู้ทราบหรือรู้อยู่อย่างนี้ว่า คนนี้เป็นคนข้างในของเรา ชื่อว่า สาโลหิต ด้วยอรรถ ว่าเป็นผู้สัมพันธ์กันโดยสายเลือด (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ปิเยหิวิปโยค มีการพลัดพรากจากวัตถุที่น่าปรารถนา เป็นลักษณะ มีการให้เกิดความโศกขึ้นเป็นรสะ
มีการโยนความพินาศให้เป็นปัจุปัฏฐานะ นี่คือการพลัดพรากจากผู้ที่เป็นที่รักกทั้งหลาย คือ มารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือแม้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต
......จริงอยู่ วัตถุที่น่าปรารถนาอันบุคคลพลัดพรากอยู่ ย่อมให้เกิดทุกข์แม้ทางกาย โดยลักษณะ มีทำให้สรีระซูบซีดและเหี่ยวแห้งเป็นต้น แม้ทางใจ โดยเศร้าสร้อยเป็นลำดับว่า แม้สิ่งซึ่งมีอยู่แล้ว แก่เรานั้น ก็จะไม่มีแก่เขาอีก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า
...
......เพราะพลัดพรากกจากญาติและทรัพย์ เป็นต้น คนพาล ผู้เพียบพร้อมด้วยลูกศร คือ ความโศก จึงเสียดแทงใจ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความพลัดพรากจากของรักนี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทุกข์
.....เมื่อ มารดา บิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สิ้นชีวิตไป ผู้ที่คิดถึง ก็จะมีความโศกเศร้ารู้สึกว่าสิ่งที่มีอยู่แล้วแก่เรานั้น ก็จะไม่มีแก่เขาอีก
........ชีวิตของเรายังมีอยู่ แต่ชีวิตของเขาก็จะไม่มีที่จะเป็นบุคคลนั้นอีกต่อไป ทรัพย์ สมบัติ บ้านช่อง ข้าวปลาอาหารทั้งหลาย ซึ่งเรากำลังบริโภค สำหรับเขาก็ไม่มีอีก นี่คือความรู้สึกที่ระลึกถึงผู้จากไปโดยสิ้นชีวิต ขณะที่เพียงคิดถึง ระลึกถึงนั้นก็เป็นโทมนัสเวทนาอย่างอ่อน ซึ่งจะเพิ่มกำลังขึ้น จนถึงกับทำให้ร่างกายซูบซีดเหี่ยวแห้งหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่กำลังของโทมนัสเวทนา

......และนั่นคือการพลัดพรากจากสิ่งซึ่งเป็นที่รัก
รวมควาทุกข์ทั้งหมดคือ ปรารถนาสิ่งใด เมื่อไม่ได้ ย่อมเป็นทุกข์ เช่นปรารถนาที่จะไม่แก่ ปรารถนาที่จะไม่เจ็บ ปรารถนาที่จะไม่ตาย ก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้
....พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกขํ ปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น แม้นั้น ก็เป็นทุกข์ ความปราถนานั้นมีปรารถนาวัตถุอันไม่พึงได้เป็นลักษณะ มีการแสวงหาวัตถุนั้นเป็นรสะ มีความไม่สำเร็จเป็นปัจุปัฏฐานะ
....อีกประการหนึ่ง สำหรับผู้ปรารถนาวัตถุนั้นๆ อยู่ เพราะไม่ได้วัตถุนั้นๆ ย่อมเกิดทุกข์อันสำเร็จ แต่ความพลาดหวังในโลกนี้เพราะความปรารถนาวัตถุอันไม่พึงได้
เป็นเหตุแห่งทุกนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า ความไม่ได้สิ่งที่ปราถนาแล้วว่าเป็นทุกข์แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b42: :b43: :b42: :b43: :b42: :b43:
....โดยย่อ...อุปาทาน ขันธ์ เป็นทุกข์
.....เมื่อย่อลงไป จนถึงที่สุดของทุกข์ทั้งหมด ที่ได้กล่าวถึงแล้ว ก็คือ ขันธ์ หรือ อุปาทาน นั่นเอง เป็นทุกข์ บทว่า สงฺขิตฺเตน(โดยย่อ) พระผู้มีพระภาคตรัสทรงหมายเอาเทศนา จริงอยู่ ใครๆ ไม่อาจจะย่อทุกข์ไว้ว่า เท่านี้ ๑๐๐ ทุกข์ หรือว่าเท่านี้ ๑,๐๐๐ ทุกข์ แต่เทศนา อาจย่อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อทรงย่อเทศนาว่า ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยบ่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น

.....เพราะทุกข์มีชาติเป็นต้นอันใด อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ตรัสไว้ ในโลกนี้ และทุกข์ใดที่พระองค์ มิได้ตรัสไว้ ทุกข์นั้นๆ ทั้งหมด เว้นขันธ์ ๕ นี้เสียแล้ว ย่อมไม่มี ฉะนั้น อุปาทานขันธ์ ๕ นี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงแสดงที่สุดแห่งทุกข์ จึงได้ตรัสว่า เป็นทุกข์โดยย่อ
......ถ้าจะกล่าวทุกข์ของแต่ละคน เอาทุกข์ของตัวเองมาเล่าสู่กันฟัง ก็คงจะไม่มีวันจบ เพราะวันนีทุกข์อย่างหนึ่ง อีกวันก็ทุกข์อีกอย่างหนึ่ง
....ในโลกนี้มีคนมากมายเพียงใด ทุกข์ก็แจกแจงไปตามเหตุตามปัจจัยเพียงนั้น ไม่มีทางที่จะประมาณได้ว่า นี้ทุกข์ ๑๐๐ ทุกข์ นี้ ๑,๐๐๐ ทุกข์ ก็จริง
แต่โดยสรุปแล้ว ทุกข์ทั้งหมด คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง เป็นทุกข์เพราะว่า ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ ก็ไม่มีทุกข์
......ซึ่งมีข้อความอุปมาว่า ชาติเป็นต้น เบียดเบียนอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล โดยประการต่างๆ ดังไฟป่าเบียดเบียนเชื้อฟืน เครื่องประหารเบียดเบียนเป้า เหลือบและยุงเป็นต้นเบียดเบียนโค คนเกี่ยวข้าวเบียดเบียนนา โจรปล้นบ้านเบียดเบียนบ้าน ย่อมเกิดในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง ดุจหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น
เกิดในพื้อนดิน ดุจดอกไม้ผลไม้และใบอ่อน เกิดที่ต้นไม้นั่น ฉะนั้น
....เมื่อขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็เหมือนต้นไม้ที่เกิดแล้ว ซึ่งย่อมมีดอกไม้ผลไม้และใบอ่อน เกิดที่ต้นไม้นั้นฉันใด เมื่อขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็ย่อมจะมีทุกข์ลักษณะหนึ่งลักษณะใด เช่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส นั่นเอง เกิดจากอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....และอุปาทานขันธ์ ๕ มีทุกข์เบื้องต้น คือ ชาติ มีทุกข์ท่ามกลาง คือ ชรา มีทุกข์ท้ายสุดคือ มรณะ เพราะทุกข์มีความตายเป็นที่สุด กระทบเฉพาะ จึงมีทุกที่เผาลน คือ โสกะ เพราะอดกลั้นโสกะไว้ไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุพูดรำพัน คือ ปริเทวะ ต่อนั้น เพราะประจวบกับโผฏฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา กล่าวคือ ธาตุกำเริบ จึงมีทุกข์ที่เบียดเบียนกาย คือ ทุกข์เพราะปุถุชนผู้ถูกทุกข์เบียดเบียนอยู่ เกิดปฏิฆะขึ้นในอุปาทานขันธ์นั้น
จึงมีทุกข์ที่เบียดเบียนใจ คือ โทมนัส เพราะ โสกะ เป็นต้น เจริญสำหรับผู้ที่เกิดความปราศจากยินดี มีทุกข์ที่ถอนหายใจเนืองๆ คือ อุปายาส สำหรับผู้ที่ถึงความพลาดหวังแห่งใจ มีทุกข์ เพราะพลาดหวัง คือ ความไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา

......อุปาทานขันธ์ ๕ ที่บุคคลเข้าไปพิจารณาโดยประการต่างๆ อย่างนี้ ด้วยประการนี้นั่นแล ชื่อว่าเป็นทุกข์
.......ข้อความต่อไปมีว่า พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงแสดงย่อทุกข์ที่พระองค์ตรัสแสดงแต่ละอย่างๆ นี้ ซึ่งใครไม่อาจกล่าวโดยไม่เหลือได้ด้วยกัปป์มิใช่น้อยนั้น แม้ทั้งหมดในอุปาทานขันธ์ ๕ หมวดใดหมวดหนึ่ง ดุจย่อรสแห่งน้ำในมหาสมุทรทั้งสิ้น แสดงในหยดน้ำหยดเดียว ฉะนั้นจึงได้ตรัสว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา กล่าวโดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์ ดังนี้แล
.......ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ในสังสารวัฏฏ์ หลายแสนโกฏิกัปป์นับประมาณไม่ได้เลยนั้น ความทุกข์ก็มีประการต่างๆ ซึ่งแม้ว่าจะมีมากเพียงใด พระผู้มีพระภาคก็ทรงย่อลงที่อุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง ดุจย่อรสแห่งน้ำในมหาสมุทรทั้งสิ้น แสดงในหยดน้ำหยดเดียว ฉะนั้น..

......ในพระสูตร ก็ได้กล่าวถึงความทุกข์ซึ่งแต่ละคนประสบในสังสารวัฏฏ์ เช่น ในสังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคค สังยุตต์ปฐมวรรคที่ ๑ อัสสุสูตร ข้อ ๔๒๕ มีข้อความว่า
......สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนคร สาวัตถี ณ ที่นั่นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมาคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน (ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกข้าพระองค์ที่ท่องเที่ยงไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
.....(ผู้ที่เห็นทะเล ก็ควรจะระลึกได้ว่า น้ำตาของท่านในสังสารวัฏฏ์นั้น มากกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก)
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา โดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดา ตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
......พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่ไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของบิดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
.
.....พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของพี่ชายน้องชายตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของพี่ชายน้องชาย คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
.....พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของพี่สาวตลอดกาลนาน น้ำตาที่ไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของพี่สาว คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
.....พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของน้องสาวตลอดกาลนาน น้ำตาที่ไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของน้องสาว คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
....พวเธอได้ประสบมรณกรรมของของบุตรตลอดกาลนาน น้ำตาที่ไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของบุตร คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของธิดาตลอดกาลนั้น น้ำตาที่หลั่งไหลออของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของธอดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย
.......พวกเธอได้ประสบความเสื่อมแห่งญาติ ความเสื่อมแห่งโภคะ ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรคมาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมแห่งญาติ ความเสื่อมแห่งโภคะ ความเสื่อมเพราะโรค คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสื่งที่พอใจ นั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สังสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว เพื่อที่จะเบื่อหน่ายสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดีงนี้

........ไม่ใช่ว่าภิกษุเหล่านั้นจะไม่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าใจการเจริญสติปัฏฐานก็จริง แต่ถ้าไม่มีพระธรรมเทศนาที่จะทรงตักเตือนให้ระลึกถึงสภาพของสังขารที่เป็นทุกข์ สติย่อมไม่เกิดขึ้นระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และพระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ทรงอุปมาเพียงน้ำตากับน้ำในมหาสมุทรเท่านั้น
.......ในสังยุตตนิกาย นิทานวรรค ติณกัฏฐสูตร ข้อ ๔๒๑-๔๒๒ มีความว่า....
......พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เหมือนอย่างว่า บุรุษปตัดทอนหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้สมมติว่า นี่เป็นมารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาเรา โดยลำดับมารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ไนชมพูทวีปนี้ พึงถึงกาลหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สังสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือนฉันนั้น.
......ในสังยุตตนิกาย นิทานวรรค ปฐวีสูตร ข้อ ๔๒๓-๔๒๔ มีข้อความว่า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เหมือนอย่างว่าบุรุษนั้นปั้นมหาปฐพีให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ดกะเบาแล้ววางไว้ สมมติว่านี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้...
......ท่านที่อยากจะรู้ว่าเมื่อไรโลกจะหมดไปเสียทีนั้น ควรคิดถึงข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้เอาดินมาปั้นเป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ดกะเบาแล้วสมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรานี้เป็นบิดาของบิดาเรา จนกระทั่งหมดดินไปในโลกนี้ แต่สังสารวัฏฏ์ก็ยังไม่หมด ก็จะต้องมีทุกข์สืบต่อไปอีก

.....นอกจากนั้น พระผู้มีพระภาคยังตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย นิทานวรรค ขีรสูตร ข้อ ๔๒๗- ๔๒๘ ว่า น้ำนมมารดาที่พวกเธอท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สังสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้..
....พระผู้มีพระภาคทรงแสดงทุกข์ต่างๆ โดยนัยของพระสูตร ซึ่งในแต่ละภพ แต่ละชาติ จะต้องมีทุกข์แน่นอน และทุกข์นั้นๆ ก็ผ่านไปหมดแล้ว ทุกข์ในชาตินีก็ใกล้จะจบสิ้นลงด้วยความตาย แต่ก็จะต้องตั้งต้นทุกข์ของภพชาติต่อไปอีก แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นทุกข์มากมายในสังสารวัฏฏ์อย่างไร ขณะใดที่โทมนัสเวทนาเกิด ขณะนั้นก็ต้องเป็นโทสะมูลจิตอ ซึ่งโดยประเภทแล้วมี ๒ ดวงได้แก่...

......โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ ดวง และ
......โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑ ดวง

.....ทั้งที่ทุกข์มากมาย แต่ว่าโยปรมัตถธรรม โดยสภาพที่ไม่ใช่สัตว์บุคคลแล้ว ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ ดวง
บางท่านก็เป็นห่วงว่าฟังธรรมไปเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมเลย แต่ตามความเป็นจริงนั้น ในขณะที่ฟังเรื่องนามธรรมรูปธรรมโดยละเอียดขึ้น นั่นคือ การศึกษาปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั่นเอง เพราะว่านามธรรมและรูปธรรมเป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ฉะนั้น เมื่อได้ศึกษาความละเอียดของรูปธรรมและนามธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รู้ว่าขณะใดเป็นวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกรรม ขณะใดเป็นกุศลจิตและขณะใดเป็นอกุศลจิตซึ่งเป็นเหตุ ขณะนั้น ก็คือการศึกษาพระอภิธรรมนั่นเอง เพราะว่า สภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมโดยละเอียดนั้น แสดงไว้ในอภิธรรมปิฎกและในอภิธรรมมัตถสังคหะทั้งนั้น...
.....ข้อควาทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงแล้วนี้คือปรมัตถธรรม หรืออภิธรรม ซึ่งกล่าวถึงสภาพโดยละเอียดต่างๆ และต้องรู้จุดประสงค์ของการศึกษาว่า การศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังคหะหรือภิธรรมปิฎกนั้นเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อที่จะจำว่ามีจิตกี่ดวงและมีเจตสิกกี่ดวง เกิดกับจิตกี่ดวง แต่เพื่อปรุงแต่งเกื้อกูลให้สติระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพื่อที่จะเข้าใจจริงๆ จนกระทั่งสามารถที่จะละคลายการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตนได้

....... :b43: :b48: :b43: :b43: :b43: :b43: :b48: :b43: :b43: :b43: :b48: :b43: :b48: :b43: :b48:
.....................สนทนาธรรมที่โรงแรมแม่น้ำแคว
.....................จังหวัด กาญจนบุรี
.....................วันที่ ๒๖ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๐
.....................โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์

...ทันทีที่เกิดมาก็เป็นผลของกรรมแล้ว ซึ่งแล้วแว่วิบากจิตประเภทใดทำกิจปฏิสนธิ ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก คือเป็นผลของอกุศลธรรม ก็เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นสุนัข เกิดเป็นเสือ เกิดเป็นไก่ เป็นต้น ถ้าเป็นผลของกุศลอย่างอ่อนมาก แม้เกิดเป็นมนุษย์ อกุศลกรรมก็เบียดเบียน ทำให้มีรูปร่างพิการตั้งแต่กำเนิด ตาบอด หูหนวก เป็นต้น เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ขณะเห็นเป็นผลของกรรม ได้ยินก็เป็นผลของกรรม ได้กลิ่นก็เป็นผลของกรรม ลิ้มรสจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็เป็นผลของกรรม กระทบสัมผัสสิ่งที่อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ก็เป็นผลของกรรม ซึ่งเลือกไม่ได้ รูปร่างกายก็เกิดเพราะกรรมด้วย ทุกภพทุกชาติที่เกิดมาเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึกถึงสิ่งที่เห็น คิดนึกถึงเสียงที่ได้ยิน คิดนึกถึงกลิ่น คิดนึกถึงรส คิดนึกถึงสิ่งที่กระทบสัมผัส ตั้งแต่เกิดจนตายก็เท่านั้นเอง (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......ทุกชีวิตเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีใจ ทั้งเสียใจ เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะจิตแล้วก็ดับไป ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ตายแล้วต้องเกิดแน่ แต่วาชาติต่อไปจะเกิดเป็นอะไร ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็เกิดเป็นมนุษย์หรือเทพ
......ส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นวิบากคือผลของกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นการสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้า ขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส เป็นผลของกรรม ขณะคิดไม่ใช่ผลของกรรม จิตที่มี ๒ อย่าง คือ คิดดี กับคิดไม่ดี ถ้าคิดดีก็สงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น มีเมตตา กรุณา คิดในทางละคลายอกุศล ถ้าคิดไม่ดีก็คิดแต่ในทางที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น เวลาที่ฟังเรื่องอะไรมาแล้วไม่ไตร่ตรอง พลอยพูดตามไปโดยไม่รู้ความจริง คำพูดนั้นก็ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ ในขณะนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลให้เกิดโทษตั้งแต่เริ่มคิด ตัวคนคิดเดือดร้อนเพราะอกุศลนั้นก่อนคนอื่น ดังนั้น ต้องเห็นโทษของความคิดที่ไม่ดี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า

.....โลภะ ความยึดมั่น ความติด ความผูกพันในทุกอย่างจะนำมาซึ่งความทุกข์ โทสะเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ประทุษร้ายทำลาย
......อกุศลทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาจากโลกไหน ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน วันหนึ่งๆ ทำอะไร เพราะอะไรก็ไม่รู้ ที่ทั่วโลกกำลังลำบากนั้นเพราะเป็นทาสของความรู้สึกที่เป็นสุขซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้สิ่งที่พอใจ เมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็แสวงหาสิ่งที่พอใจอื่นๆ อีกไม่รู้จบ โดยไม่รู้ว่าแท้จริงรสอาหารที่อร่อยก็ดับหมดไปแล้ว เสียงที่ไพเราะปรากฏนิดเดียวก็ดับหมดไปแล้ว ไม่มีใครเป็นเจ้าของสิ่งใดได้เลย เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ร่างกายที่แข็งแรงก็ป่วยไข้ได้ แม้ความป่วยไข้ วันหนึ่งก็หายเป็นปกติได้ ทุกอย่างไม่คงที่
.....ขณะใดที่เป็นผลของกุศลก็อย่าติดมากนัก ต้องเตรียมพร้อมที่จะรับอกุศลวิบาก ด้วยความไม่หวั่นไหว เวลานี้ที่มีทุกข์กันมากก็เพราะควมหวั่นไหวนั่นเอง
......ถ้ารู้ความจริงว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา "ธรรมคือธรรมดา" เกิดก็ธรรมดา เจ็บก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดา ได้ลาภก็ธรรมดา เสื่อมลาภก็ธรรมดา ได้ชื่อเสียงหรือเสื่อมชื่อเสียงก็ธรรมดา มีใครบ้างไม่ถูกนินทา หรือว่ามีแต่คนเคารพนับถือตลอดเวลา (ต่อ....)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร