วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความตาย

ความตาย เมื่อยังไม่รู้ ย่อมมีความรู้สึกกลัวความตายเป็นเรื่องธรรมดา
ความตายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวอะไรเลย แต่เวลาจะตายนี่สิสำคัญมากๆ
การที่เราได้มาฝึกเจริญสติ ให้มี สติ สัมปชัญญะ ให้จิตสามารถรู้อยู่ภายในกายได้
นี่คือ วิธีเตรียมตัวตาย ฝึกตายก่อนที่จะตายลงไปจริงๆ

ช่วงเสี้ยววินาทีที่กำลังจะหมดลมหายใจ โดยสัญชาติญาณไม่ว่าจะคนหรือสัตว์ ซึ่งเหมือนกันหมด
ไม่มีความแตกต่างกันเลย ล้วนตะเกียกตะกาย เพื่อเอาชีวิตรอด พยายามหาหนทางให้หายใจได้

สภาวะนี้แหละคือสภาวะที่กำลังขาดสติมากที่สุด แล้วตัวสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวล่ะ
ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย เพราะความไม่รู้นี่แหละ หากรู้แล้ว จะเตรียมตัวพร้อมตลอดเวลา
เพราะความตายนั้นไม่ใช่ความตายที่แท้จริง ความตายเป็นเพียงบัญญัติที่นำมาใช้ในการสื่อสาร
แต่โดยสภาวะที่แท้จริงคือ การเปลี่ยนสภาวะ จากสภาวะหนึ่งไปสู่อีกสภาวะหนึ่ง

สภาวะได้สอนให้เราเรียนรู้ทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเร่องการเกิด ตราบใดที่ยังมีการสร้างเหตุอยู่
สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นเนืองๆไปด้วยความไม่รู้ นั่นคือ เหตุของการเกิด หรือมีการเกิดให้เป็นผลที่ได้รับ

การเกิดแต่ละครั้ง ชีวิตเหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย แก่วงไปก็แกว่งมา จะคอนโทรล
หรือไปบังคับอะไรไม่ได้เลย จนกว่าจะมี สติ สัมปชัญญะ มีสมาธิที่ตั้งมั่น
จึงจะคอนโทรลหรือบังคับ ให้ตัวเองเดินตัวตรงบนเส้นด้ายนั้นได้

การเกิดทุกๆครั้ง คือ การเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกๆครั้งบนความไม่รู้ จะไม่รู้ก่อนที่จะได้รู้

ถ้าเราสามรถมีสติ มีสัมชัญญะ จิตจะสามารถรู้อยู่ในกายได้ ยิ่งมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากเท่าไหร่
สมาธิยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น ทำให้จิตรู้อยู่ในกายได้ต่อเนื่อง

ถ้ารู้ได้แบบนี้ เราไม่ต้องหวาดกลัวความตายหรือหวาดกลัวต่อสิ่งใดๆในโลกใบนนี้เลยแม้แต่สักนิดเดียว
เมื่อความตายมาเยือน ปล่อยให้ทุกอย่างเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

ขอเพียงให้มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ในกายได้ ตัวสมาธิเขาจะทำงานของเขาเอง
ไม่ต้องไปกังวลเรื่องอากาศหายใจที่กำลังจะหมดไปแต่อย่างใด ให้ดู ให้รู้ไปตามความเป็นจริง

สติเป็นตัวกั้นกิเลส สัมปชัญญะเป็นความรู้สึกตัว ทั้งสองอย่างทำงานร่วมกัน สมาธิย่อมเกิด
มีความรู้สึกตัวชัดมากขึ้นเท่าไหร่ สมาธิยิ่งมีกำลังแนบแน่นมากขึ้นเท่านั้น แนบแน่นแบบรู้สึกตัว
แบบมีปัญญา ไม่ใช่แนบแน่นแบบขาดความรู้สึกตัวหรือที่เรียกว่า มิจฉาสมาธิ

ความนิ่ง การไม่กลับมารู้กาย หรือไม่สามารถรู้สึกตัวขณะที่จิตเป็นสมาธิได้
สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเหตุให้ตัวปัญญาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะสมาธิมากเกิน
จึงต้องมีการปรับอินทรีย์เนืองๆ ดูสติ ดูความรู้สึกตัว ดูสมาธิ ทั้ง ๓ อย่างทำงานร่วมกัน

หากฝึกแบบนี้ได้ รู้อยู่ในกายแบบนี้ได้เนืองๆ ไม่ต้องกลัวความตายหรือสิ่งใดๆเลย
แต่จะเป็นเหตุให้เราอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยปราศจากความกลัว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะก่อนตาย


ความตาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในตัวบุคคลหรือสัตว์ ล้วนไม่แตกต่างกันเลย
หากเรารู้จักนำสภาวะมาพิจรณา เราจะได้รู้คุณค่าของสติ ยามจะหมดลมหายใจ

ก่อนไดม่อนตาย เขาจะกระตุกและตะเกียกตะกายอยู่นาน เราได้นั่งกรรมฐาน
และแผ่เมตตาให้กับเขา หลังจากนั้นได้คอยลูบตัวปลอบประโลมให้กับเขาตลอด
ขณะที่ลูบตัวให้เขานั้น เขาจะสงบ ตอนที่ไม่ได้ลูบตัวเขา เขาจะกระตุกเหมือนคน
ที่เป็นลมชัก ปัสสาวะราดเต็มพื้น

ก่อนที่จะหมดลมหายใจ เสียงลมหายใจครั้งสุดท้ายของไดม่อน
ก่อนสิ้นลม เราได้ยินชัดเจน เสียงเหมือนปอดที่ถูกเจาะเอาลมออก มันดังฟื้บยาวๆ
แล้วไดม่อนก็หมดลมหายใจ


ส่วนไวท์ ไวท์นี่เขาจะมีความแตกต่างจากไดม่อนตรงที่ว่า เขาอยู่บนห้องพระกับเราทุกวัน
ถ้าเราไม่ให้เขาเข้าห้อง เขาจะกระแทกประตูอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะเปิดให้เขาเข้าห้องพระ

ทุกๆครั้งที่เราสวดมนต์และทำกรรมฐาน ไม่ว่าจะเวลานานแค่ไหนก็ตาม เขาจะนอนสงบนิ่ง
ไม่ลุกไปไหนเลย จนกระทั่งเราลงจากห้องพระ เขาถึงจะลงมาพร้อมๆกับเรา

มันเป็นเวลาไม่ใช่น้อยเลยะนะ 4-5 ชม. สำหรับสัตว์ประเภทที่อยู่เฉยไม่ค่อยได้
แต่เขาสามารถนอนสงบนิ่งอยู่ได้นานขนาดนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย

ตอนไวท์ตาย เราสวดบทอภิณหังให้เขาฟังพร้อมๆกับร้องไห้ไปด้วย คือสงสารเขา
แต่มาครั้งนี้ที่ไดม่อนตาย ไม่มีน้ำตา ไม่มีเสียใจ มันมีแค่รู้ รู้ว่าชีวิตนี้มีเท่านี้เอง

ไม่ว่าจะสัตว์หรือเรา ยังไงก็หนีไม่พ้นความตาย มันรู้อยู่ข้างใน นิ่งสงบ
พร้อมๆกับแผ่เมตตาให้กับเขาด้วย

จากสองเหตุการณ์นี้ ทำให้เราทำความเพียรมากขึ้น เราไม่ได้ทำเพราะกลัวความตาย
ไม่ได้ทำเพราะเหตุอื่นๆ แต่ทำเพราะรู้ว่า ที่ทำอยู่นี้ยังไม่พอ ยังมีเผลอ ยังมีโอกาสที่จะหลง
ไปสร้างเหตุ แม้เพียงแว่บเดียวก็ถือว่ายังใช้ไม่ได้ นี่ขนาดยังมีชีวิตอยู่นะเนี่ย
แล้วถ้าต้องตายล่ะ คงหมดโอกาสที่จะได้ทำความเพียรต่อ

ทุกขเวทนา โดยอาชีพ เราคลุกคลีกับสภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตายมาตลอด
เห็นสิ่งเหล่านี้มาตลอดเวลา

ขณะที่กำลังจะตาย บางคนหมดลมไปแบบง่ายๆ บางคนโวยวาย ร้องไห้เสียใจ
บางคนมีแต่ความหวาดกลัวฯลฯ เรามองเห็นภาพเหล่านี้มาตลอดเกือบชั่วชีวิตของเรา

ชีวิตของเราถูกปรับเปลี่ยนโดยสภาวะมาตลอด ให้เรียนรู้อยู่กับความตายมาตลอด
นั่นคือ การเรียนรู้ความตายในคน มาครั้งนี้ ถูกให้เรียนรู้ความตายในสัตว์
ถูกตอกย้ำด้วยสัจธรรมที่ทุกคนหลีหนีไปไม่ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 11 ต.ค. 2010, 20:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 18 ต.ค. 2010, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปลาส

วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดจากความเป็นจริง
หมายถึง ความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง
วางใจ วางท่าที ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตา ไม่ให้มองเห็นสัจภาวะ

วิปลาส มี ๓ อย่าง คือ

๑. สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง

๒. จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง

๓. ทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง

สัญญาวิปลาส หมายรู้คลาดเคลื่อน เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู กาและกวางป่า
มองหุ่นฟางสวมเสื้อกางเกงมีหม้อครอบ เห็นเป็นคนเฝ้านา
คนหลงทางเห็นทิศเหนือเป็นทิศใต้ เห็นทิศใต้เป็นทิศเหนือ คนเห็นแสงไฟ
โฆษณากระพริบอยู่กับที่ เป็นไฟวิ่ง เป็นต้น

จิตวิปลาส ความคิดคลาดเคลื่อน เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหารของตน
คนจิตฟั่นเฟือนมองเห็นคนเข้ามาหา คิดว่าเขาจะทำร้าย คนเห็นเงาเคลื่อนไหวในที่มืดสลัว
คิดวาดภาพเป็นผีหลอก กระต่ายตื่นตูม ได้ยินเสียงลูกมะพร้าวหล่น
คิดวาดภาพเป็นว่าโลกกำลังแตก เป็นต้น

ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อน ตามปกติ สืบเนื่องมาจาก
สัญญาวิปลาสและจิตวิปลาสนั่นเอง เมื่อหมายรู้ผิดอย่างไร ก็เห็นผิดไปตามนั้น
เมื่อคิดวาดภาพเคลื่อนคลาดไปอย่างไร ก็พลอยเห็นผิด เชื่อถือผิดพลาดไปตามอย่างนั้น

ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อหมายรู้ผิดว่าเชือกเป็นงู ก็อาจลงความเห็นยึดถือว่า
สถานที่บริเวณนั้นมีงูหรือมีงูชุม เมื่อหมายรู้ว่าผืนแผ่นดินเรียบราบขยายออกไปเป็นเส้นตรง
ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่าโลกแบน เมื่อคิดไปว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เป็นไป เคลื่อนไหวต่างๆ
ก็ต้องมีผู้จัดแจงผลักดัน ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่า ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม
มีเทพเจ้าประจำอยู่และคอยบันดาล ดังนี้เป็นต้น

ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นชั้นหยาบที่เห็นง่ายๆ อาจเรียกอย่างภาษา
พูดว่า เป็นความวิปลาสขั้นวิปริต

ส่วนในทางธรรม ท่านมองความหมายของวิปลาสอย่างละเอียดถึงขั้นพื้นฐาน
หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนชนิดที่มิใช่มีเฉพาะในบางคนบางกลุ่มเท่านั้น
แต่มีในคนทั่วไปแทบทั้งหมดอย่างไม่รู้ตัว คนทั้งหลายตกอยู่ใต้อิทธิพลครอบงำของมัน
และวิปลาสทั้ง ๓ ชนิดนั้น จะสอดคล้องประสานกันเป็นชุดเดียว

วิปลาสขั้นละเอียดหรือขั้นพื้นฐานนั้น พึงเห็นตามบาลีดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มี ๔ อย่างดังนี้;
๔ อย่างอะไรบ้าง ? (กล่าวคือ)

๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งไม่เที่ยง ว่าเที่ยง

๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข

๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งมิใช่ตัวตน ว่าตัวตน

๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม


วิปลาสเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมเจริญปัญญา และก็เป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมปัญญา
ที่จะกำจัดมันเสีย การพัฒนาความรู้และเจริญปัญญาตามวิธีที่กล่าวไว้ในพุทธธรรม
ล้วนช่วยแก้ไขบรรเทาและกำจัดวิปลาสได้ทั้งนั้น

เฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยและแยกแยะองค์ประกอบ
ตรวจดูสภาวะ โดยมีสติพร้อมอยู่

พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ

ก) สรรพสิ่ง โลก และบัญญัติต่างๆ

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่พวกเธอซึ่ง “สรรพสิ่ง” (สิ่งทั้งปวง. ครบหมด, ทุกสิ่งทุกอย่าง),
จงฟังเถิด; อะไรเล่าคือ สรรพสิ่ง:

ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับ ธรรมารมณ์ -
นี้เราเรียกว่า สรรพสิ่ง

พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “โลก โลก” ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก ?

ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุ-
วิญญาณ, ที่นั่นก็มีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก, ที่ใดมีหู...มีจมูก...มีลิ้น...มีกาย...มีใจ มีธรรมารมณ์
มีมโนวิญญาณ มีสิ่งอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ ที่นั้นก็มีโลก หรือบัญญัติว่าโลก

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดโลก เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ ถึงได้ด้วยการไป,
แต่เราก็ไม่กล่าวเช่นกันว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดโลก จะทำความสิ้นทุกข์ได้

(พระอานนท์กล่าว : ) ข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ยังมิได้ทรงแจกแจงเนื้อความ
โดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจความโดยพิสดารดังนี้ :-

บุคคลย่อมสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลกด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นเรียกว่า “โลก”
ในอริยวินัยด้วยอะไรเล่า คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก ?

ด้วยตา...ด้วยหู...ด้วยจมูก...ด้วยลิ้น...ด้วยกาย...ด้วยใจ คนจึงสำคัญ
หมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก



ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอุทัยพร้อม และการอัสดงแห่งโลก, จงฟังเถิด.

การอุทัยพร้อมแห่งโลกเป็นไฉน ? อาศัยตา และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ,
ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น
คือ ผัสสะ,

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี,

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี,

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี,

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี,

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี,

เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสก็มีพร้อม;
นี้คือการอุทัยพร้อมแห่งโลก

อาศัยหู...อาศัยจมูก...อาศัยลิ้น...อาศัยกาย...อาศัยใจและธรรมารมณ์
จึงเกิดมโนวิญญาณ ฯลฯ นี้คือการอุทัยพร้อมแห่งโลก



การอัสดงแห่งโลกเป็นไฉน ? อาศัยตา และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ,
ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้นคือ ผัสสะ,

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี,

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี,

เพราะตัณหานั้นแหละสำรอกดับไปไม่เหลือ ความดับอุปาทานจึงมี,

เพราะดับอุปาทาน ความดับภพจึงมี,

เพราะดับภพ ความดับชาติจึงมี,

เพราะดับชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ,
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งหมด ย่อมมีได้อย่างนี้; นี้เรียกว่าการอัสดงแห่งโลก

อาศัยหู...อาศัยจมูก...อาศัยลิ้น...อาศัยกาย...อาศัยใจและธรรมารมณ์
จึงเกิดมโนวิญญาณ ฯลฯ เพราะตัณหานั้นแหละสำรอกดับไปไม่เหลือ… นี้คือการอัสดงของโลก


พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “มาร มาร” ...เรียกกันว่า “สัตว์ สัตว์”
...เรียกกันว่า “ทุกข์ ทุกข์” ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีมารหรือบัญญัติ
ว่ามาร...จึงมีสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์... จึงมีทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์ ?

ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุ วิญญาณ ฯลฯ มีใจ มีธรรมารมณ์
มีมโนวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ,

ที่นั้นก็มีมารหรือบัญญัติว่ามาร...สัตว์หรือบัญญัติว่า
สัตว์...ทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์

เมื่อตามีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขทุกข์,
เมื่อตาไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติว่าสุขทุกข์,

เมื่อหู...เมื่อจมูก...เมื่อ ลิ้น...เมื่อกาย...เมื่อใจมีอยู่
พระอรหันต์ทั้งหลาย จึงบัญญัติสุขทุกข์

เมื่อหู ฯลฯ ใจไม่มี
พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติสุขทุกข์

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7886

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุของการเกิดสัมมาสติและสัมมาสมาธิ


สติ คือ ความรู้ตัว

สภาวะหรือลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นของสติ คือ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำกิจนั้นๆ



สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว

สภาวะหรือลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นของสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ในขณะที่กำลังลงมือในกระทำกิจนั้นๆอยู่



ที่ใดมี สติ + สัมปชัญญะ ทำงานร่วมกันหรือเกิดขึ้นคู่กัน ที่นั้นย่อมมี สมาธิเกิดขึ้นคือ เมื่อมีการเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับการกระทำในกิจนั้นๆอยู่ ขณะนั้นย่อมมีสมาธิเกิดขึ้นเนืองๆ


สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น
( สัมมาสติ )




ถ้ามีทั้ง สติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ

เมื่อใดก็ตามที่มีสภาวะของ สติ สัมปชัญญะและสมาธิ ทำงานร่วมกันหรือเกิดร่วมกัน

สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่
หรือแม้กระทั่งขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิ ก่อนเกิด ขณะที่เกิด จนกระทั่งดับไป

หรือแม้กระทั่งสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตเป็นต่างๆ
จิตจะสามารถรับรู้รายละเอียดต่างๆเหล่านั้นได้หมด โดยที่สภาวะที่เกิดขึ้นแต่ละขณะนั้น
มิได้ส่งผลกระทบต่อสภาวะของจิตและสมาธิที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
( สัมมาสมาธิ )


นี่คือ เหตุของการทำให้เกิด สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ

เมื่อมาเจริญสติ สภาวะแรกที่ทุกคนจะต้องเจอคือ
ความรู้ชัดในสภาวะของอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

เนื่องจากผลของการเจริญสติ ทำให้ตัวสัมปชัญญะสามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง
จึงเป็นเหตุให้มีสมาธิเกิดร่วมด้วย และเป็นเหตุให้รับรู้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในใจ
ได้อย่างชัดเจน ( สภาวะกิเลส )


มีคำถามจากผู้ที่เจริญสติ ถามว่า ทำไมเมื่อก่อนนี้ เขาจึงไม่เห็นตัวอารมณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้
ทำไมเขาจึงหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย โกรธง่าย ทั้งๆที่อารมณ์เหล่านี้เมื่อก่อนนี้มีไหม มันมีเกิดขึ้นประจำ
แต่ทำไมเขาจึงมองไม่เห็นมันได้ชัดหรือรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆได้ชัดขนาดนี้

บางคนเป็นคนใจเย็น ไม่โกรธใครง่ายๆ ใครจะพูดอะไรยังไงช่างเขา พยายามกดข่มเอาไว้
เพราะไม่อยากมีเรื่องกับใครๆ แต่พอมาเจริญสติ กลับกดข่มอารมณ์เหล่านี้เอาไว้ไม่อยู่ มันจะคอยพุ่งออก

คำตอบคือ เพราะเป็นผลของการเจริญสติ ทำให้ตัวสัมปชัญญะเกิด
ตัวสัมปชัญญะจะทำให้มีความรู้สึกตัว ขณะที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้นในจิต ทำให้รู้ชัดในความรู้สึกที่เกิดขึ้น


ฉะนั้นถ้าใครเจอสภาวะเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในตัวเอง จงอย่าได้แปลกใจ
มันเพียงผลของการเจริญสติเท่านั้นเอง มันเป็นความรู้ชัดของตัวสัมปชัญญะที่เกิดขึ้น

นี่คือสภาวะแรกๆที่ทุกคนจะได้เจอเมื่อมาเจริญสติ คือ รู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต
ไม่ว่าจะความชอบใจ ไม่ชอบใจ การกระทบต่างๆจะรู้ชัดมากๆ เรียกว่า รู้ทันปัจจุบัน


ยิ่งเจริญสติมากเท่าไหร่ ยิ่งเจอสภาวะเหล่านี้ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นรายละเอียดต่างๆชัดมากขึ้น
และริ่มรู้เท่าทันต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตมากขึ้น

แรกๆอาจจะตอบโต้เพราะความไม่รู้ แต่เมื่อได้พบเจอกัลยาณมิตร แนะนำว่า
สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากอะไร ย่อมไม่ตอบโต้และเจริญสติต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากขึ้น
ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตมากขึ้นเรื่อยๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นตามความเป็นจริง

การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องเห็นตามความเป็นจริงในกายและจิตของตนให้ได้ก่อน
เมื่อรู้ภายในได้ชัดเจน จนถึงชัดแจ้งแล้ว ย่อมรู้นอกกายหรือรู้ทุกๆสรรพสิ่งที่อยู่นอกกายได้
เพราะทั้งภายในกายและภายนอกกายนั้นล้วนไม่มีความแตกต่างกันเลย

การที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ ขั้นแรก ต้องยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่ตัวเองเป็น และตัวเองนั้นมีก่อน ( กิเลส ) ถ้ายอมรับตามนี้ได้ ย่อมเห็นคนอื่นๆได้ เพราะเขา,เรา ล้วนไม่แตกต่างกันเลย

เมื่อมี สติ สัมปชัญญะ ย่อมมีหิริ โอตตัปปะเป็นเงาตามตัว
หิริ โอตตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เมื่อมีหิริ โอตตัปปะ ศิลนั้นย่อมสะอาดมากขึ้นตามกำลังของสติ สัมปชัญญะ

ถ้ายังไม่ยอมรับตามความเป็นจริง ในสิ่งที่ตัวเองเป็น
ย่อมเป็นเหตุให้เห็นตามความเป็นจริงได้ยาก เพราะขนาดตัวของตัวเองยังไม่ยอมรับในสิ่งที่เป็น
แล้วจะไปเห็นสิ่งอื่นๆตามความเป็นจริงที่อยู่นอกกายตัวเองได้อย่างไรกัน?

เหตุมี ผลย่อมมี ทุกๆความผิดพลาดเพราะความไม่รู้ นั่นคือ ครู

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุการเกิดของตัวปัญญา


สติ มีความระลึกได้เป็นลักษณะ มีความไม่ลืมเป็นรส มีความอารักขาเป็นอาการปรากฏ

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ตัวก่อนที่จะทำกิจ



สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นลักษณะ มีความไตร่ตรองเป็นรส มีความส่องเห็นอาการเป็นปรากฏ

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวในขณะที่กระทำกิจนั้นๆ


เมื่อมีการทำงานของสติและสัมปชัญญะร่วมกัน ผลที่ได้รับคือ สมาธิ
ส่วนกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำ



เมื่อสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน เรียกว่า มีทั้ง 3 องค์ประกอบทำงานร่วมกัน

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

เมื่อเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ย่อมรู้อยู่กับรูป,นามได้ดี ( กายและจิต )
นี่คือ ตัวปัญญาตัวแรกที่เราได้รู้จัก " รูป,นาม " คือ มีรูป,นามเป็นอารมณ์ นี่เรียกว่ารู้โดยสภาวะ
เมื่อรู้ได้แบบนี้บ่อยๆ ตัวรู้หรือตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ


ที่ใดมีทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ ที่นั่นย่อมมีปีญญาเกิด
ขาดตัวใดตัวหนึ่ง ปัญญาย่อมไม่เกิด


ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะมีสภาวะอย่างไร ย่อมสามารถสร้างตัวปัญญาให้เกิดขึ้นได้
ทุกๆคนย่อมไปถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกันหมด


เราปฏิบัติเพื่อดับ " เหตุ " ของเหตุที่เกิดขึ้นทั้งปวง
เราไม่ได้มาปฏิบัติเพื่อที่จะไปเป็นอะไรหรือเป็นอะไรในบัญญัติ


การที่ปฏิบัติเพื่อที่จะเป็นอะไรนั่น ล้วนแต่เป็นการก่อเหตุให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น
เพราะการปฏิบัติเพื่อที่จะเป็นอะไรนั้น ล้วนเป็นบัญญัติ


ตราบใดที่ยังมีการให้ค่าตามบัญญญัติ นั่นคือ อุปทานที่เกิดขึ้น
เมื่อมีอุปทานเกิดขึ้น เหตุมี ผลย่อมมี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณิกสมาธิและสภาวะที่เกิดขึ้น


สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ก่อนที่จะทำ

สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หรือ ความรู้สึกตัว
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ลงไปในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

สติ+สัมชัญญะ = สมาธิ การเอาจิตจดจ่อรู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ผลที่ได้รับคือ สมาธิ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำ

สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดชั่วขณะ

สภาวะหรือลักษณะที่เกิด

การที่เอาจิตจดจ่อรู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่ จะเกิดสมาธิชั่วขณะหนึ่ง คือ ขณิกสมาธิ
แต่ตรงนี้ไม่ตายตัวแน่นอน เนื่องจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมาแตกต่างกันไป
บางคน สมาธิอาจจะมีมากกว่าขณิกสมาธิก็ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนด


การกำหนดชื่อต่างๆที่ใช้เป็นรูปแบบในการปฏิบัติ

ทุกคำเรียก เป็นเพียงอุบายเพื่อให้จิตมีที่เกาะ
ให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวให้รู้อยู่ในกาย อยู่กับปัจจุบันได้ทัน ส่วนจะอยู่ได้นานแค่ไหน
ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของ สติ สัมปชัญญะและกำลังของสมาธิว่ามีความแนบแน่นมากน้อยแค่ไหน

เพราะการที่จิตส่งออกนอกกาย ไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ ไหลไปในอดีต อนาคต
จิตจะเกิดความคิด วิตกกังวลจนเป็นทุกข์เสมอ

หากจิตตั้งมั่น รู้อยู่ในกายได้ ถ้าปัญญาเขาจะเกิด เขาเกิดเอง
หรือไม่ก็มีความคิดพิจรณาในสิ่งที่ติดขัดอยู่ เมื่อเกิดปัญญา จะรู้เองว่า เหตุเกิดจากอะไร

ธรรมแท้เป็นเรื่องของตัวเอง ต้องพึ่งพาตัวเอง ต่อการดับทุกข์ทางใจ ด้วยปัญญาจากใจภายใน
ของตนเองจริงๆ อันเกิดจากการกระทำที่ถึงจุดของมันเองเท่านั้น
จึงจะดับทุกข์ของตนได้อย่างแท้จริง ดับสนิทจริงๆไม่มีส่วนเหลือ

มิใช่เกิดจากการอ่าน การฟังผู้อื่นเข้ามาจากภายนอกเข้ามาภายในตนนั้น
ยิ่งมิใช่ของจริงที่จะดับทุกข์ของตนได้ มันเป็นการคลายทุกข์เพียงชั่วคราว
พอสะดุดอีกก็ทุกข์อีกไม่รู้จักจบสิ้น

สรุป ธรรมที่ดับทุกข์จริงๆ จะต้องออกมาจากภายในจิตของใครของมัน
แล้วมาตรงกับพระไตรปิฏกเท่านั้น

สภาวะที่เกิดขึ้นของใครของมัน เหตุใครเหตุมัน ไม่เหมือนกันหมดทุกคน
แต่แกนกลางที่เหมือนกันคือ ไม่ทุกข์ใจแม้แต่นิดเดียว

ถ้าสมบูรณ์จริงๆ ดับทุกข์ใจได้เท่ากัน ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไรในจิต
เพราะความมีที่ยังมีหลงเหลืออยู่ย่อมเป็นทุกข์

ไม่ต้องไปลังเลสงสัยอะไร ให้ทำไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน อย่าหวังผล
อย่าท้อถอย ทำเท่านั้น อดทนทำต่อเนื่องไป ย่อมถึงผลในที่สุด

คนส่วนมากมักพูดว่า ปฏิบัติมานานแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย
การปฏิบัติ เราปฏิบัติเพื่อเอาทุกข์ออกจากใจ ไม่ใช่เพื่อไปได้อะไร หรือไปเป็นอะไร
เป็นเรื่องของตนเห็นจิตตน ซึ่งทางธรรมเรียกว่า ” ปัจจัตตัง “

หมายถึงปฏิบัติไปๆจะเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง อารมณ์ยินดี ยินร้าย
ที่เคยมีอยู่ในจิต มันค่อยๆลดลงไปๆ ในขณะเดียวกัน ความทุกข์ใจจะค่อยๆน้อยลงๆ
ความเป็นอยู่ จะอยู่ง่าย กินง่ายมากขึ้น ไม่ยึดมั่นเหมือนเมื่อก่อน

หากความโลภ ความโกรธ ความหลง ลดลงมากเท่าไหร่ ทุกข์ก็จะลดลงมากเท่านั้น
หมดเมื่อไหร่ หมดทุกข์เมื่อนั้น

ธรรมแท้มีไม่มาก มีทุกข์หรือไม่ทุกข์เท่านั้น
หมายถึงใจเป็นสำคัญ รู้ก็ไม่ทุกข์ ไม่รู้ก็ทุกข์

ในที่สุดของการปฏิบัติคือ

อยู่กับกิเลสได้ โดยใจไม่ไปเป็นทุกข์กับกิเลส อยู่กับทุกข์ได้ โดยใจไม่ทุกข์
อยู่กับโลกได้ด้วยใจเป็นธรรม กายส่วนกาย ใจส่วนใจ แต่อาศัยอยู่ด้วยกันเท่านั้นเอง

หากรู้สภาวะภายในที่เป็นเหตุที่แท้จริง ย่อมสามารถรู้สภาวะภายนอกที่เป็นผลได้ด้วย
เรียกว่า ฝึกภายใน สนามสอบอยู่ภายนอก ดูผัสสะหรือการกระทบที่เกิดขึ้น

เราฝึกจิตเพื่อให้รู้เท่าทันสภาพที่แท้จริงของอุปทานหรือความหลงยึดต่อร่างกาย
และสิ่งต่างๆในโลกนี้ อันเป็นธาตุ ๔ ว่า เป็นตัวเรา ของเรา แล้วขจัดความหลงให้หมดสิ้น

เพราะการมีตัวเรา ของเราเกิดขึ้นในจิตเมื่อไหร่
ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที

จิตมีความยึดถือในความมีตัวตนของเรา มากน้อยเพียงใด
ก็จะเกิดอุปทานไปตามนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ


สภาวะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น

ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน เรียกว่า " สภาวะ "

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำกันขึ้นมาเอง
หรือสร้างขึ้นมาเองทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดจากใครหรืออะไรบันดาลให้เป็นไป
หรือทำให้เกิดขึ้นมา ผลจึงได้มาแสดงให้เห็น ในรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติ


การปฏิบัติแต่ละแบบที่มีกล่าวๆไว้ ล้วนเป็นเพียงรูปแบบของผู้แนะนำ
ผู้แนะนำทำได้แบบไหน ก็จะแนะนำแบบนั้น ทำได้แค่ไหน จะแนะนำได้แค่นั้น

การปฏิบัติที่แท้จริง ไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวหรือเที่ยงแท้แน่นอนแต่อย่างใด
ที่สภาวะการปฏิบัติของแต่ละคนแตกต่างกันไป ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมา
จากรู้แค่นี้ ทำไปๆ รู้ที่เคยรู้ จะรู้ชัด รู้ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ
สภาวะในการปฏิบัติจึงมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่โดยหลักๆในการใช้ปรับอินทรีย์คือ อิริยาบทเดินกับนั่ง
ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่ทำมาด้วย

การเดินก่อนนั่ง เป็นการปรับอินทรีย์ เพื่อให้จิตมีหลัก มีที่เกาะ
ทำให้รู้อยู่ในกายหรือรู้ชัดในกายได้มากขึ้น เมื่อต่อด้วยอิริยาบทนั่ง
จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อมีตัวสัมปชัญญะเกิดขึ้นแล้ว
สมาธิที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาในการคิดพิจรณาเนืองๆ
ทำให้เห็นเหตุแห่งทุกข์ และหนทางดับทุกข์ในขณะนั้นๆของเหตุแต่ละเหตุ ตามสภาวะนั้นๆ

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
เวลาที่จะมีโอกาสในการปฏิบัติของแต่ละคนจึงมีมากน้อยแตกต่างกันไป

บางคนมีเวลามาก แต่ทำได้น้อย บางคนมีเวลาน้อยแต่ทำได้มาก
หรือทำได้มากน้อยแตกต่างกันไป ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน
ทั้งหมดนี้ ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมาทั้งสิ้น และเหตุในปัจจุบันอีก

ไม่มีคำว่า ” บังเอิญ ” ในโลกใบนี้อย่างแน่นอน
ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนล้วนเป็นเพียงผลของเหตุที่แต่ละคนกระทำมา
เหตุเกิดเพราะความรู้ชัดในผลที่ได้รับไม่เท่ากัน รู้ชัดในเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นไม่เท่ากัน

ทุกๆเรื่องราวที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเพียงสภาวะ
สภาวะคือ สิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่มีการเกิดการกระทบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ส่วนจะให้ค่ามากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับเหตุของแต่ละคนที่มีต่อการกระทบนั้นๆ

เรามาเจริญสติกันเพราะเหตุนี้ เพื่อรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต
รู้เท่าทันต่อการให้ค่าที่เกิดขึ้นจากตัวอุปทาน ที่ยังมีการยึดติดในตัวตน
ในตัวกู ของกู เมื่อยังมีอุปทาน ย่อมมีการให้ค่าต่ออุปทาน ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าวที่ติดลมบน


ทุกคนไม่มีความแตกต่างกัน ยังมีกิเลสเหมือนๆกัน
แต่อยู่ที่ว่า สติ สัมปชัญญะของใครจะรู้เท่าทันมากกว่ากันเท่านั้นเอง

ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่าว ว่าวที่กำลังจะติดลมบน

ว่าวก็คือ จิต

สติคือ เชือกที่คอยเหนี่ยวรั้งจิตเอาไว้

ลมคือ กิเลส

ถ้าเรามีเชือกที่เหนียวแน่น รู้จักหย่อนเชือก รู้จักจังหวะในการปล่อยเชือก
รู้จักดึงว่าวให้อยู่ในที่พอเหมาะพอควร เราก็จะคอนโทรลว่าวตัวนั้นได้

จิตก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีสติรู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้น
เราก็จะอยู่กับกิเลสนั้นๆได้โดยไม่ไปหลงไหลจมปลักอยู่กับมัน ดั่งว่าวที่ติดลมบน

ถ้าลมมีแรงมากกว่า ว่าวก็อาจจะหลุดลอยหรือขาดหายไปได้
เพราะเชือกที่มีอยู่ยังเหนียวแน่นไม่มากพอ

จิตก็เหมือนกัน ถ้าสติเหนี่ยวรั้งดึงเอาไว้ไม่อยู่
กิเลสก็ลากเอาไปกินหมด พาเข้ารกเข้าพงไป เราจึงต้องมาเจริญสติเพราะเหตุนี้
เพื่อให้รู้เท่าทันกิเลสและอยู่กับกิเลสได้ โดยไม่ไปสุขหรือทุกข์กับกิเลสแต่อย่างใด

แค่เผลอ เราเสร็จมันทันที กิเลสมันไวมาก
ถ้าไม่มีบททดสอบ เราเองก็คงไม่รู้ว่า กำลังสติที่มีอยู่นั้น มีมากน้อยแค่ไหน

เหตุล้วนเกิดจากตัวเองทั้งหมด ไม่มีใครช่วยเราได้หรอก
ให้หาอะไรก็ได้ให้จิตมีที่เกาะให้รู้อยู่ในกาย เพื่อไม่ให้มันเที่ยวไปนอกตัว

สภาวะ แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
อุบายในการรักษาจิตจึงแปรเปลี่ยนตลอดเวลา


ยิ่งผ่านสภาวะต่างๆมากขึ้นเท่าไหร่
บททดสอบยิ่งมีมากขึ้นและละเอียด เนียนมากขึ้นเรื่อยๆ

ในการเดินทางในเส้นทางนี้ ทุกๆคนต่างคนต่างเดินไปตามเหตุปัจจัยของตัวเอง
สภาวะของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุที่ได้ทำกันมาทั้งเหตุเก่าและเหตุใหม่ที่กำลังทำให้เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติและสภาวะที่เกิดขึ้น


สติ แปลว่า แปลว่า ความระลึกได้
ซึ่งแบ่งออกเป็น

สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกับจิต
โดยองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก

สติ ตามแนวปฏิบัติ มีอยู่ ๓ ประเภท

๑. สติขั้นต่ำ ได้แก่ สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่กันทุกคน
เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือก็ต้องมีสติ
จะลุก จะยืน ฯลฯ ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันตรงที่ว่าใครจะมีมากมีน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าใครขาดสติจะทำอะไรผิดๆพลาดๆ ลืมโน่น ลืมนี่บ่อยๆ

๒. สติขั้นกลาง ได้แก่ สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทานรักษาศิล
เรียนธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เจริญสมถกรรมฐานเป็นต้น

๓. สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพานตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้
ในการใช้ชีวิตโดยทั่วๆไป ปกติเราท่านทุกรูปทุกนามล้วนมีสติเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว

สติ กล่าวในแง่ของสภาวะ

สติ คือ ความรู้ตัว
สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของสติ คือ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำกิจนั้นๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะและสภาวะที่เกิดขึ้น

สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว
รู้ตัวหรือรู้สึกตัวอะไร รู้ตัวหรือรู้สึกตัว ในขณะที่กำลังกระทำการอยู่
เช่น เราหยิบแก้วน้ำ เรามีสติระลึกว่า กำลังจะหยิบแก้วน้ำ

แล้วถ้ามีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย
เราย่อมมีความรู้สึกตัวหรือรู้ตัวขณะที่หยิบแก้ว

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วยนั้น เช่น เราระลึกว่าจะหยิบแก้วน้ำนะ
แต่บังเอิญว่า มีสิ่งอื่นมากระทบ ที่หักเหความสนใจในการหยิบแก้วน้ำ

คุณอาจจะหยิบแก้วได้ แต่อาจจะหล่น หรืออาจจะลืมหยิบ เพราะมัวไปสนใจสิ่งที่มากระทบ
บางทีต้องมายืนคิดว่า เอ … เมื่อกี้เราคิดจะทำอะไร?

สัมปชัญญะ กล่าวในแง่ของสภาวะ

สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว

สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้นของสัมปชัญญะ คือ
ความรู้สึกตัว รู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่หรือรู้ลงไปในขณะที่กำลงกระทำกิจนั้นๆอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะและการกำหนด

สภาวะ แปลว่า ความเห็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง
เช่น สภาวะลักษณะ หมายถึงลักษณะที่เป็นเอง เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ

ในการปฏิบัติกรรมฐานหรือเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ตาม หมายถึง สภาวะหรือปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ ( อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน )

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน ล้วนเกิดจากเหตุที่แต่ละคนสร้างขึ้นมาเอง
อันนี้เป็นสภาวะภายนอก

เมื่อสามารถรู้สภาวะภายในได้ ย่อมสามารถรู้สภาวะภายนอกได้
นั่นคือ การเห็นตามความเป็นจริงของทุกๆสรรพสิ่ง

การกำหนดต้นจิต คือ การฝึกจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหวและอิริยาบทต่างๆของร่างกาย
เช่น ขณะนั่งอยู่ก็กำหนดรู้อยู่ว่านั่ง แล้วถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกก็กำหนดรู้อยู่

การจะเปลี่ยนอิริยาบทหรือเคลื่อนไหวใดๆ หรือเมื่อจำเป็นต้องสนทนา จะพูดจะกล่าวคำใดๆ
ก็กำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวมานี้ เป็นการช่วยให้มีสติ สัมปชัญญะ
และสมาธิเชื่อมโยงติดต่อกันไม่ขาดระยะ

การกำหนดทำนองดังกล่าวมานี้ มีในสติปัฏฐานสูตร หมวดอิริยาปถบัพพะและสัมปชัญญะบัพพะ
ในการฝึกกำหนดต้นจิต ในตอนแรกๆ อาจจะกำหนดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ขาดๆหายๆ
ซึ่งคนเราส่วนมากก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าไม่ท้อถอย และเลิกเสียก่อน แต่พากเพียรทำต่อไปจะพบเองภายภาคหน้าว่า
มีสติกำหนดได้ดีเป็นส่วนมาก และจะค่อยๆกำหนดได้ติดต่อกันดีขึ้น แล้วในที่สุด
ก็สามารถกำหนดได้โดยติดต่อกัน ซึ่งแสดงว่า มีสติมั่นคง มีสัมชัญญะเกิด
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนั่งกำหนดสมาธิต่อไป

นำมาจาก หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน ( สติปัฏฐานสูตร ) หลวงพ่อโชดก

การกำหนดมีสองแบบ คือ

๑. ใช้คำบริกรรมช่วย เช่น ใช้หนอกำกับลงไปในอิริยาบทนั้นๆ
เพื่อเป็นการสร้างทั้งสติ สัมปชัญญะ ให้มีกำลังมากขึ้น

๒. ไม่ใช่คำบริกรรม แต่เอาจิตจดจ่อลงไปรู้ในการกระทำนั้นๆ

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า
ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี
นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น
ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง การเจริญสติ ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ดี โดยเป็นไปติดต่อกันเสมอ
( จิตจดจ่อรู้อยู่ในกายได้ตลอด ) ไม่มีเผลอ ยิ่งไม่เผลอมากเท่าไหร่
นั่นบ่งบอกถึงกำลังความแนบแน่นของสมาธิที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร