วันเวลาปัจจุบัน 29 พ.ค. 2025, 06:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะและวิปัสสนาในโลกุตตระฌานเกิดร่วมเกิดพร้อมกันเสมอ

สมถะทำหน้าที่รักษาจิตให้บริสุทธิ์ขาวรอบ เป็นจิตที่ตั้งมั่นในโลกุตตระธรรมคืออารมณ์พระนิพพาน เป็นจิตที่มีอำนาจ อ่อน ควรแก่การงาน

วิปัสสนาทำหน้าที่ทำลายนิวรณ์ 5 โลกียะสัญญา และกิเลสสังโยชน์ทั้งหลาย


การหน่วงนิพพานเป็นอารมณ์ซึ่งเป็นอสังขตะ หน่วงด้วยสังขตะ เช่นมัคคปฏิปทา กล่าวคือหน่วงด้วยโลกุตตระฌาน คืออรหัตตมัคค อสังขตะจึงจะมีจริงได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตหน่วงอารมณ์นิพพาน แล้วสามารถหน่วงอารมณ์วิปัสสนา ในขณะจิตเดียวกันได้

ในจิตดวงเดียวกัน มีขันธ์ 4 อันเป็นมัคคหรือเหตุ
จิตย่อมหน่วงอารมณ์นิพพาน ด้วยสัญญาขันธ์มาทำหน้าที่จำ
การสามารถหน่วงอารมณ์วิปัสสนา เนื่องด้วยปัญญาเครื่องทำลายกิเลสมาทำหน้าที่


อ้างคำพูด:
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคสังคีติสูตร
อนึ่ง ขันธ์ ๔ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่านาม แม้ด้วยอรรถว่าน้อมไป เพราะขันธ์เหล่านั้นย่อมมุ่งหน้าน้อมไปในอารมณ์.
แม้สิ่งทั้งปวงก็ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่าน้อมไป.
ขันธ์ ๔ ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์.
นิพพานย่อมยังธรรมอันไม่มีโทษให้น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นใหญ่ในอารมณ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์ปัญหาแก่ พระอานนท์ในสมัยหนึ่งว่าภิกษุสามารถได้สมาธิด้วยการหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ กระทำไว้ในใจ โดยไม่จำต้องหน่วงเอาอุปธิ หรือสัพพสังขารนิมิตภายนอกอื่นใดเป็นอารมณ์.

Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยินอารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ

พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ ฯ

(อํ.ทสก. มนสิการสูตร ๒๔/๒๑๕)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 เม.ย. 2010, 01:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๗๕] ดูกรสุนักขัตตะ ข้อที่ปุริสบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้น้อมใจ
ไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล
ปุริสบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ
(ม.อุ. สุนักขัตตสูตร ๑๔/๗๕)


คำตรัสสอนนี้จึงเป็นพยานในคำจริงว่า โคตรภูบุคคล ย่อมสามารถหน่วงเอานิพพานเป็นอารมณ์ได้ โดยละนิมิตอันเป็นเกี่ยวกับกามเสีย แล้วไปทำสมาธินิมิตในโลกกุตระให้เจริญ เพื่อกระทำเหตุคือมรรคภาวนา หรือเจริญโลกุตตระฌาน ซึ่งเป็นผลให้ขันธ์ 5 นั้นบริสุทธิ์ ในที่สุดคืออรหัตผลซึ่งเป็นสภาวะที่ขันธ์ 5 นั้นบริสุทธิ์อย่างยิ่งเพื่อบรรลุนิพพาน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 เม.ย. 2010, 01:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาค ทรงเห็นธรรมเป็นส่วนสุดแห่งความสิ้นไป
แห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยพระทัยเกื้อกูล ย่อมทรงทราบ
ธรรมอันเป็นทางเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว. พุทธาทิบัณฑิต
ข้ามก่อนแล้ว จักข้ามและข้ามอยู่ซึ่งโอฆะด้วยธรรมอันเป็น
ทางนั้น ดังนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โคตรภูบุคคล เป็นผู้ที่จักหยั่งลงสู่ โสดาปัตติมรรคบุคคลเป็นผู้น้อมไปในทาน ศีล ย่อมเจริญแม้วิปัสสนา ด้วยลักขณูปนิชฌาน อันเป็นมรรคภาวนาอันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก เพื่อปหานทิฐิ ตัณหา.

มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉนเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจชอบ
นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเจริญโลกุตรกุศล ย่อมเจริญฌานด้วยอรรถว่า เข้าไปเพ่งอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้ย่อมเจริญแม้มรรคด้วยอรรถว่านำออก.

นำออกจากอะไร ?

นำออกจากโลกียะ นำออกจากวัฏฏะ

สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า นำออกจากอวิชชา
สัมมาสังกัปปะ ชื่อว่า นำออกจากเครื่องกังวล
สัมมาวาจา ชื่อว่า นำออกจากความตรึกและความรำคาญ
สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า นำออกจากบาปเวร
สัมมาอาชีวะ ชื่อว่า นำออกจากทุจริต
สัมมาวายามะ ชื่อว่า นำออกจากอกุศลและโลกียะกุศล
สัมมาสติ ชื่อว่า นำออกจากความหลงในขันธ์ 5
สัมมาสมาธิ ชื่อว่า นำออกจากกามและ อกุศลธรรมทั้งหลาย.


(กราบขอบพระคุณท่านมหาราชันย์ ที่ได้แสดงไว้)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รักษาศีลเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมรักษาศีลเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิเพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

บัณฑิตทั้งหลายย่อมให้ทาน
ย่อมรักษาศีล ย่อมเจริญฌาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

มีจิตเอนไปในพระนิพพาน
มีจิตน้อมไปในพระนิพพาน
เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 02:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค วิราคกถา


[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล

วิราคะเป็นมรรคอย่างไรฯ

ในขณะโสดาปัตติมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ


วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ
นิพพานเป็นวิราคะ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑


เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค


พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ
สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา
สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็น
ไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก


วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประ
ดิษฐานอยู่ในวิราคะ


วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ
นิพพาน เป็นวิราคะ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑


เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ


พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้
เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่า
มรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรค
จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 เม.ย. 2010, 02:54, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯเพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ
คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

[๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก

วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ใน
วิราคะ

วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑

เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ
องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้

เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 30 เม.ย. 2010, 02:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุคร๊าบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2011, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


push


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร