วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์ หรือ วิธีแก้ไขปัญหานี้ เรียกชื่อว่า มรรค เพราะเป็นเหมือนหนทางที่นำไป

สู่จุดหมาย ชื่อว่า มีองค์ ๘ เพราะเป็นทางสายเดียว แต่มีส่วนประกอบ ๘ อย่าง

การเดินทางสู่จุดหมายจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งแปดอย่างนั้น ทำหน้าที่คอยเสริมกันและประสาน

สอดคล้องพอเหมาะพอดี

ความพอเหมาะพอดีและตรงเป้าหมายนี้ อาศัยปัญญาที่เห็นชอบ หรือ รู้เข้าใจถูกต้องช่วยส่องช่วยชี้นำให้

มรรคนั้นจึงมี สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบข้อแรก และเพราะเป็นข้อปฏิบัติพอเหมาะพอดี ที่จะให้แล่นตรงเข้าสู่

เป้าหมาย จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง

ซึ่งสังเกตง่ายๆ ด้วยลักษณะที่ไม่เอียงเข้าหาที่สุดทั้งสอง คือมิใช่เห็นแก่จะแสวงหาสิ่งเสพเสวยมาบำรุงบำเรอ

ปรนเปรอตน มัวเมาหมกมุ่นอยู่ในกามสุข โดยไม่คำนึงถึงใครอื่น และมิใช่หันเหไปสู่จุดทางตรงข้าม

มุ่งหน้าทำการบีบรัดเข้มงวดเอากับตนเอง หาทุกข์มาทับถมตัว เหมือนดังว่า เบื่อหน่ายเกลียดชังตัวตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติตามมรรคนั้น จะเริ่มต้นได้ และจะดำเนินต่อไปด้วยดี ต้องอาศัยปัจจัย ๒ อย่างเป็นเชื้อชนวนและเป็น

เครื่องหล่อเลี้ยงสนับสนุน เรียกว่าปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ

อย่างแรก เป็นปัจจัยภายนอก หรือ ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปรโตโฆสะที่ดี คือเสียงหรือการชักนำ แรงเร้าและ

อิทธิพลจากผู้อื่น โดยเฉพาะที่เรียกว่า กัลยาณมิตร เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ คนมีชื่อเสียง

ที่ประสบความสำเร็จด้วยความดี และบุคคลอื่นๆ ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีงาม น่าเลื่อมใส

ทั้งที่ใกล้และไกล ซึ่งจะช่วยอบรมสั่งสอนแนะนำให้คำปรึกษาหารือ หรือ เร้าจิตจูงใจให้ใฝ่นิยมในสิ่งดีงาม

และให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยอาศัยศรัทธา คือ ความเชื่อความเชิดชูนิยมนับถือเป็นสื่อชักนำ

ตลอดจนช่วยกระตุ้นแนะให้รู้จักคิดรู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยตนเอง

อย่างที่สอง เป็นปัจจัยภายใน หรือองค์ประกอบในตัวบุคคล ได้แก่โยนิโสมนสิการคือการทำในใจโดยแยบคาย

หรือ ความฉลาดคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี รู้จักคิดรู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้ตรงตามสภาวะและตามเหตุปัจจัย

ของมัน

เมื่อมีปัจจัยสองอย่างนี้ ช่วยปลุกเร้าและส่งเสริมสัมมาทิฏฐิ ก็มั่นใจได้มากว่า การปฏิบัติธรรมหรือการดำเนินชีวิต

จะอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง

กุศลธรรมทั้งหลายที่เป็นองค์มรรคข้ออื่นๆ ก็จะเจริญงอกงามไปกับปัญญาด้วย เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

พร้อมทั้งเดินหน้าไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 18:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนับนี้ ศรัทธาที่มั่นคงในพระรัตนตรัย ความรู้ในอริยสัจ และการปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทาคือมรรคามีองค์ ๘

จึงเป็นเครื่องป้องกันหรืออย่างน้อยก็บรรเทาการดำเนินชีวิต

การปฏิบัติต่อความทุกข์ และ การแก้ไขปัญหาในทางที่ผิดทุกอย่างทุกด้าน ซึ่งอาจมีมาในรูปของการลืมสติหลง

ฟั่นเฟือน ปล่อยตัวปล่อยใจ ให้เลื่อนลอยไปตามอำนาจของความทุกข์ความคับแค้นโศกเศร้าบ้าง

การกลบเกลื่อน หลอกตัวเองให้ลืมทุกข์ด้วยการกดตัวให้จมลึกลงไปในกามสุขมากยิ่งบ้าง

การหันไปหวังพึ่งอำนาจเร้นลับ อ้อนวอนสิ่งดลบันดาล หรือรอคอยโชคชะตาจากภายนอกบ้าง

การประกอบทุจริตต่างๆบ้าง

การหันออกไปรุกรานระบายทุกข์แก่ผู้อื่น เที่ยวเบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่คนทั้งหลายบ้าง

การเคียดแค้นชิงเบื่อตัว หันกลับเข้ามาบีบคั้นทรมานตนเองบ้าง มรรคซึ่งหนุนด้วยศรัทธาที่ถูกต้องนี้

ทำให้ดำรงอยู่ในสุจริต ประพฤติการที่เกื้อกูล เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้เผชิญ

สถานการณ์ต่างๆ ด้วยความเข้มแข็งมั่นคง มีใจสงบ สามารถดำเนินชีวิต แก้ไขปัญหา ดับทุกข์ได้ ด้วยความมีสติ

ใช้ปัญญาพิจารณา และเพียรพยายามจัดการไปตามวิถีทางแห่งเหตุปัจจัย

แม้อย่างอ่อนแอที่สุด เมื่อไม่อาจช่วยตนเองได้ลำพัง ก็รู้จักเลือกหากัลยาณมิตร ที่จะช่วยปลุกเร้าใจให้กล้าหาญ

ในกุศลธรรม และที่จะช่วยชี้แนะให้เกิดปัญญามองเห็นเหตุปัจจัยเพื่อแก้ไขได้โดยถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์อรรถกถา ได้เปรียบเทียบอริยสัจ ๔ ไว้เป็นข้ออุปมานัยต่างๆ มีบางข้อน่าสนใจ เช่น

ก.ทุกข์ เหมือนโรค สมุทัย เหมือนสมุฎฐานของโรค

นิโรธ เหมือนความหายโรค มรรค เหมือนยารักษาโรค

ข.ทุกข์ เหมือนทุพภิขภัย สมุทัย เหมือนฝนแล้ง

นิโรธ เหมือนภาวะอุดมสมบูรณ์ มรรค เหมือนฝนดี

ค.ทุกข์ เหมือนภัย สมุทัย เหมือนเหตุแห่งภัย

นิโรธ เหมือนความพ้นภัย มรรค เหมือนอุบายให้พ้นภัย

ง. ทุกข์ เหมือนของงหนัก สมุทัย เหมือนการแบกของหนักไว้

นิโรธ เหมือนการวางของหนักลงได้ มรรค เหมือนอุบายวิธีที่จะเอาของหนักลงวาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




16.jpg
16.jpg [ 59.58 KiB | เปิดดู 1403 ครั้ง ]
ดูต่อก็ที่


viewtopic.php?f=7&t=32363

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร