วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 21:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2010, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อจาก..กระทู้ที่แล้ว)
อยู่ลึกซับซ้อนกว่านิวรณ์ ต้องใช้กำลังของจิตที่นิ่งสงัดจริงๆ จึงจะพอมองเห็นได้ เป็นกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน หรือเป็นความเคยชินที่จะกลับเกิดเป็นกิเลสขึ้นมาใหม่อีก,. มี ๓ ชนิด คือ
ราคานุสัย,ปฏิฆานุสัย,และ อวิชชานุสัย....
อนุสัยนี้เป็นสิ่งคู่กันกับนิวรณ์ มีอนุสัยก็มีนิวรณ์
อนุสัย ๓ ,. ราคะนุสัย,ปฏิฆานุสัย,.อวิชชานุสัย
สังโยชน์ ๗,.กามราคะ,ปฏิฆะ,ทิฏฐิ,วิจิกิจฉา,มานะ,ภวราคะ,อวิชชา
๑. กามราคะ(ราคานุสัย)ความกำหนัด ความอยากได้ ติดใจในกามคือ โลภะ
๒. ปฏิฆะ(ปฏิฆานุสัย)ความขัดใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง คือ โทสะ
๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด การถือความเห็น เอาความคิดเห็นเป็นความจริง
๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๕. มานะ ความถือตน
๖. ภวราคะ ความกำหนัดในภพ ความอยากเป็น อยากยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน
๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง คือโมหะ
//////---ความไม่มีอนุสัย คือ ป้องกันได้ด้วยการกำหนดสติ ตัดขาดสิ้นเชิงด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยสัมมาวิหาร(เจริญธรรมด้วย อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ยังเป็น สาสวสัมมาทิฏฐิ,คือ ยังมีอาสวะ,.ยึดถือบุญ ยึดมั่นตัวตน ยังเวียนว่ายตายเกิด)

(มีต่อ.....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2010, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำดับขั้นตอนต่อเนื่องของกิเลส
๑. เมื่อมีปัจจัยจาก โลภะ โทสะ โมหะ ทำให้จิตเพาะอารมณ์ขึ้น เป็นการเกิดอาการเฉพาะหน้าขึ้น เราเรียกอาการที่เกิดเฉพาะหน้านี้ว่า กิเลส(กิเลสหยาบ)และ นิวรณ์ (กิเลสกลาง)
๒. แต่ถ้าเป็นกิเลสที่มาจากความเคยชินแห่งกิเลส และนิวรณ์ที่สะสมไว้ในสันดานนี้,. เรียกว่า [b]อนุสัย (กล่าวแล้วว่า ผู้ปฏิบัติที่ละกิเลสได้จนหมดอนุสัย ,.ก็ยังมีสาสวสัมมาทิฏฐิอยู่ ยังไม่ถึงนิพพาน)
๓. ขั้นตอนต่อจากอนุสัย,. ถ้าจิตมีโอกาสหรือปัจจัย ก็ยังมีกิเลสชนิดที่ไหลออกมาจากคลังอนุสัยเรียกว่า[b] "อาสวะ"
และสำหรับผู้มี อนาสวสัมมาทิฏฐิคือปราศจากอาสวะ เป็นพระอรหันต์แล้วหมายถึงไม่ยึดบุญ ไม่มีตัวตนสำหรับเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นแล้ว สภาพจิตที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงนี้จึงจะถึงซึ่งนิพพาน
แต่ในที่สุด ผู้เริ่มศึกษาจะต้องสังเกตุว่า กิเลสทั้งปวงไม่ได้เริ่มเกิด-ดับไป ตามที่ลำดับให้เห็นนี้เสมอไป อาจย้อนไปย้อนมา หรือเกิดติดต่อกันเป็นสายในเวลาเดียวกันก็ได้ (เช่น ความโกรธ มักมีเหตุเนื่องมาจากความโลภ เป็นต้น) และถึงแม้กิเลสจะก่อกิเลสเนื่องกันขึ้นมา แต่วิธีกำจัดกิเลสก็ไม่ใช่กำจัดให้หมดทีเดียวได้ ทีละชนิด แต่ต้องกำจัดด้วยวิธีลดกิเลสทุกชนิดลงไปด้วยกัน โดยการลงมือปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มด้วยการเคร่งครัดในศีล เพื่อที่จะกำจัดความรุนแรง
ของกิเลสเฉพาะหน้าลงให้มาก แล้วนิวรณ์จะลดลงพร้อมกันลงไปด้วย ส่วนอนุสัยและอาสวะนั้นกำจัดได้ด้วยขั้นตอนของการเจริญสมาธิวิปัสนาให้มากขึ้นๆ อนุสัยนั้นจะจางคลายตามลำดับและอาสวะก็จะเบาลง จนไม่เหลืออยู่ต่อไปในที่สุด,. หมายความว่าการปฏิบัตินั้นถูกต้องตรงทางแล้ว สามารถขจัดกิเลสทั้งปวงให้หมดไปได้ด้วยกันแต่ไม่พร้อมกัน โดยจะหมดอาสวะเป็นประการสุดท้ายนั่นเอง

(มีต่อครับ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2010, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ขยายความเรื่องกิเลสมาเหมือนกับว่ามากมายนี้ ก็ยังไม่เป็น อรรถะ สาระที่ครบถ้วนหรือเกือยครบถ้วนแต่อย่างใด แต่เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจพอสังเขปว่า
๑. คนทั่วไปรู้จัก โลภะ โทสะ โมหะ แต่ไม่เข้าใจดี
๒. คนทั่วไปรู้จัก นิวรณ์ ๕ กันบ้างเล็กน้อย และบางคนไม่รู้จักเลย ทั้งๆที่ นิวรณ์ ๕ นี้ทำลายเฉพาะตนของตนเป็นอย่างมาก บุคคลที่ปล่อยให้จิตสะสมนิวรณ์อย่างท่วมท้น อาจจะเป็นคนประเภทที่คิดฆ่าตัวตายได้
๓. คนทั่วไปหยั่งไม่ถึง อนุสัยและ อาสวะเพราะสภาวะจิตไม่สว่าง ไม่ขาว และไม่ละเอียดพอ
พระพุทธองค์ตรัสขึ้นเพื่อใช้ขนาบกิเลสทั้งปวงของบรรพชิต ให้บรรพชิตสอดส่องให้ถึงอนุสัย หยั่งให้เห็นโทษ และให้ละอนุสัย หรือสันดานที่นอนเนื่องอยู่ในจิตให้ได้ การหมั่นทำจิตของตนให้ขาวรอบ ให้หมดสิ้นจนถึงอาสวะ ตามลำดับนั้น นั่นแหละ, คือ วัฏฏปฏิบัติที่บรรพชิตหรือผู้ใฝ่ศึกษาจะสามารถเรียนรู้พิษสงของ นิวรณ์และ อนุสัย อย่างลึกซึ้งต่อไป
๔. ฉะนั้นการเขียนนี้ จึงพยายามให้พอดีกับผู้เริ่มต้น เพื่อให้เข้าใจง่าย และไม่รู้สึกท้อถอยเสียก่อน
โดยเฉพาะการปฏิบัติเพื่อละกิเลส
การเห็นกิเลสตัวเอง และการกำจัดกิเลสนี้เป็นเรื่องยากที่สุด แต่ที่ยากยิ่งกว่าคือ การกำจัดนิวรณ์ และการทำให้หมดอนุสัยจนถึงหมดอาสวะซึ่งความยากลำบากนี้ เปรียบได้ว่ายากเสียยิ่งกว่าคำกล่าว "จูงช้างรอดรูเข็ม"ขึ้นไปอีก แต่เมื่อปรากฏผลอยู่ว่า มีผู้ปฏิบัติได้ สำเร็จได้เป็นหลักฐาน และโลกไม่เคยขาดพระอรหันต์ ไม่เคยขาด "ผู้เดินทาง(ธรรม)" ดังนั้นความพยายามในการทำช้างให้เล็กลงจนรอดรูเข็มได้ ที่อุปมาเหมือนความพยายามที่จะกำจัดกิเลสให้น้อยลง เล็กลง ซึ่งแม้จะไม่หมดในวันนี้ ก็ยังศรัทธาที่จะพยายามต่อไป.
คัดลอกบางส่วนจาก ธรรมโฆษณ์ ขุมทรัพย์ทางปัญญา โดย อ.อโณทัย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร