วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 22:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ลด ละ ปลด วาง กับ ความยึดติด
พระอาจารย์สยาดอ อู โชติกะ

ก่อนที่คุณจะ ลด ปลด วาง ความยึดติดในบุคคล หรือสิ่งหนึ่งส่งใดได้
พึงสำรวจความยึดติดนั้นในใจตนเองเสียก่อน

การเข้าใจความยึดติดนั้นสำคัญยิ่ง
เพราะคุณต้องเข้าใจมันให้ลึกซึ้งได้เสียก่อน
จิตจึงจะเป็นอิสระ


หากคุณดึงดันบังคับจิตให้ละลดปลดวาง สิ่งหนึ่งสิ่งใด
ทั้งๆที่ยังไม่เห็นความยึดติดนั้นตามความเป็นจริงได้แล้วล่ะก็
ไม่ช้าไม่นานมันก็จะหวนคืนขึ้นมาใหม่

หนทางเดียวที่จะกำจัดมันได้อย่างเด็ดขาดก็คือ

ต้องมองเห็นมันจนชัดเจนและเข้าใจมันจนลึกซึ้งเท่านั้น

การบีบบังคับตัวเองให้ละลดปลดวาง
หาใช่การละวางที่แท้จริงไม่


คนส่วนมากสร้างเกราะที่มองไม่เห็น
แต่ทะลลุทะลวงเข้าไปไม่ได้ขึ้นมาป้องกันตนจากการถูกทำร้ายจิตใจ
แล้วก็ต้งหน้าตั้งตาแสวงหาความพอใจ
จากเงินทอง ลาภยศ ความบันเทิงเริงรมย์
สิ่งเสพติด สุราเมรัย และความสุขทางเพศ

เพียงเพราะพวกเขารู้สึกเหงาที่ไม่มีใครรักและเข้าใจเขาอย่างแท้จริง
ทุกคนล้วนขลาดเกินกว่าที่จะกล้าเปิดใจออกมา
กลัวเกินกว่าจะปล่อยใจให้บอบบางต่อการกระทบกระทั่งใดใด


มันอาจจะมีความรักความกรุณาแบบฝืนใจ
ความจำต้องพอใจในสิ่งที่มี
และความถ่อมตนแบบข่มใจด้วยเช่นกัน

เบื้องหลังความรู้สึกเหล่านี้

อาจแฝงไว้ด้วยความเกลียด กลัว และหยิ่งผยองในตัวเอง
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมองให้เห็น
ความเกลียด ความกลัว ความหยิ่งผยอง ฯลฯ

การมองให้ทะลุก็อาจจะเป็นหนทางลัดอีกเส้นหนึ่งด้วยเช่นกัน

อาตมาก็ลำบากใจยามที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องกับผู้คนด้วยเช่นคุณ
คนส่วนใหญ่ล้วนแต่มีความคิดความสนใจที่ผิวเผิน
โชคดีที่อาตมาเป็นพระภิกษุ
จึงสามารถหลีกเลี่ยงคนที่ตัวเองรับไม่ได้

แต่อย่างไรเสียเราก็เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์สังคม
เราอยู่ตามลำพังไม่ได้
ยังต้องพบปะสัมผัสกับมนุษย์ด้วยกัน
อีกทั้งเรายังอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่
ขาดสติ เห็นแก่ตัว ขาดความเกรงใจ
โง่งมหยิ่งผยอง ขี้อิจฉา ริษยา ฯลฯ


เพราะฉะนั้นก็จำเป็นอยู่เอง
ที่คนฉลาด และไวต่อความรู้สึก
จะต้องทนทุกข์จากการพบปะเกี่ยวข้องกับผู้คน
ความเข้าใจผู้คนให้ลึกซึ้งและความอดกลั้นจึงสำคัญยิ่ง


พึงเตือนตนให้ระลึกถึงพระพุทธพจน์ไว้เสมอ

“ปุถุชฺชโน อุมฺมตฺตโก” *
(ปุถุชนเป็นหมือนคนวิกลจริต ไว้เสมอ)


คุณกำลังรับมือกับผู้คนที่เพี้ยนเจียนบ้า

มนุษย์เราทุกคนแก่ลงเรื่อยๆ
แต่ก็จะใช่ว่าจะต้องเติบโตขึ้นด้วย


คนที่คุณรับมืออยู่ น่าจะเหมือนพวกเด็กที่แก่เกินวัย

ตราบใดที่คุณยังวิ่งหนีจากผู้คนไม่ได้
ก็ต้องพยายามใช้ทั้งปัญญาและกรุณา
เมื่อต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คน


หากเราไม่มีอะไรสักอย่างที่เหมือนคนอื่น
ก็ย่อมไม่มีเรื่องใดแบ่งปันเล่าสู่กันฟังกับเขา เธอผู้นั้นได้
คุณจะรู้สึกเป็นคนแปลกหน้าอยู่อย่างนั้น

หากคุณต้องการมิตร
คุณต้องลองนึกดูว่า คุณกับพวกเขามีอะไรเหมือนกันบ้าง
หากคุณสนใจพวกเขา
เขาก็ย่อมจะรู้สึกสนิทสนมกับคุณไปเอง


:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : “มิตรภาพ สัมพันธภาพ กับความเมตตา” ใน หิมะกลางฤดูร้อน
(Snow in the Summer)
โดย พระอาจารย์สยาดอ อู โชติกะ พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่า,
แปลและเรียบเรียงโดย มณฑาทิพย์ คุณวัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๙ โดย สำนักพิมพ์ DMG, หน้า ๒๕๕-๒๕๗)


:b8: :b8: :b8:

* หมายเหตุ :

คำว่า “ปุถุชฺชโน อุมฺมตฺตโก”

ไม่ทราบที่มาของข้อความนี้
และไม่พบในพระไตรปิฏกตามธรรมเนียมของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
คัมภีร์อรรถกถาทั้งหมด
ทั้งคัมภีร์อรรถกถาของพระอภิธรรม
หรืออรรถกถาอื่นก็ไม่รวมไว้ในพระไตรปิก
ซึ่งต่างจากธรรมเนียมของนิกายมหายาน

อย่างไรก็ตาม

ข้อความนี้มีปรากฏอยู่ในบางอรรถกถา
เช่น ใน อรรถกถามัชชิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายสูตร ที่กล่าวว่า

“อุมฺมตฺตโก วิย หิ ปปุถุชฺชโน”

พระพุทธโฆษาจารย์ก็มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นกัน
และอาจพบได้ใน ขุททกนิกายอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ทิฏฐิกถา (๒)
อัตตานุทฏฐินิเทสสวรรณณา
อีกด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 20 มี.ค. 2010, 14:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร