วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 20:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่า ผู้ที่ต้องการแก่นไม้โดยไม่ตัดกิ่งไม้ ไม่ถางเปลือกไม้ ไม่ถางกระพี้ไม้ จะให้ถึงแก่นได้นั้น เป็นเหตุที่จะมีมิได้ ฉะนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ต้องการอรหันตผล โดยไม่เดินตาม โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหันตมรรค นั้น ก็เป็นเหตุที่จะมีมิได้ เช่นกัน

เป็นที่สังเกตุว่า ชาวพุทธจำนวนมาก พากันนำมรรคเบื้องสูงมาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใดก็แล้วแต่ อันดับแรก คือ ต้องแก้ไขสิ่งที่ผิดให้ถูกก่อน เพราะมันผิดทางผิดธรรม

การเดินจงกรมก็ดี การเจริญสติปัฏฐานก็ดี เป็นมรรคเบื้องสูง เป็นการปฏิบัติของพระอริยะ ตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป หากผู้ที่ยังไม่สำเร็จเป็นอริยะบุคคลไปปฏิบัติ สิ่งที่ได้ก็คือ มิจฉาสมาธิ เพราะเป็นเพียงการไปจดจ้องเผ้ามองร่างกาย หรืออากับกริยาต่างๆ ของร่างกาย เท่านั้นเอง หากฝืนทำต่อไป เกิดเห็นนิมิต หรือพบสภาวะต่างๆ ที่ไม่เคยพบในสมาธิ ก็เข้าใจว่าบรรลุธรรม เกิดเป็นความมั่นใจ เป็นทิฏฐิมานะ ชาตินี้ก็ถือได้เลยว่า ปิดประตูนิพพาน

การเดินตามทางมรรค ๔ นั้น เพื่อสร้างปัญญาสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรคก่อน เป็นอันดับแรก ด้วยการฝึกวิปัสสนาภาวนา เมื่อมรรคเกิด (อัฏฐังคิกมรรค) สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ก็จะเกิดตามมา

การภาวนาเพื่อ สัมมาทิฏฐิ เป็นโสดาปัตติมรรค ต้องภาวนาอย่างต่อเนื่อง (๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี) เมื่อเจริญสติปัญญาจนมรรคเกิด สติจะเกิดอาการระลึกถึงการพิจารณาสิ่งที่มาตกกระทบอินทรีย์ ๖ ว่า มันไม่เที่ยง ฯ เป็นปกติ ไม่ว่าอริยบุคคลจะมองอะไร (กาย เวทนา จิต ธรรม) ก็จะเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ด้วยความไม่เที่ยง ฯ ดังนี้ จึงจะถือว่า มีสติปัฏฐาน เมื่อมีสติปัฏฐานแล้ว จึงจะเจริญให้ถึงความบริบูรณ์ได้

ขอให้ชาวพุทธทั้งหลายได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ถูกต้องครบถ้วนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ เพราะหากท่านทำไปโดยไม่รู้ หากทางนั้นเป็นทางที่ผิด ถือว่าเสียชาติเกิดไปหนึ่งชาติเลยทีเดียว ... :b38:

ชาวพุทธอย่าเอาเขาว่า ต้องเอาพระพุทธเจ้าว่า


Quote Tipitaka:
ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือ ความแน่นอนแห่งสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจในภายหลังสิ้นกาลนาน ดุจพาณิชชื่อเสรีวะผู้นี้ฉะนั้น. (เสรีววาณิชชาดก)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 02:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนปฏิบัติมีเพียงศีลและสมาธิค่ะ สมาธิก็แค่สมถสมาธิเท่านั้นก็พอสำหรับการได้ปัญญาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


chulapinan เขียน:
คำสอนปฏิบัติมีเพียงศีลและสมาธิค่ะ สมาธิก็แค่สมถสมาธิเท่านั้นก็พอสำหรับการได้ปัญญาค่ะ
ดูเหมือนว่าจะมีการเข้าใจผิดนะครับ พระพุทธเจ้าให้ใช้ปัญญาดับทุกข์ ศีลสมาธินี่เป็นของศาสนาพราหมณ์ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน ไม่เคยตรัสว่ามีสมาธิก่อนแล้วจึงจะมาวิปัสสนาได้ กลับกับ ทรงตรัสสอนว่าวิปัสสนาแล้วจะได้สมาธิ

พระพุทธองค์รับศีลจากฤาษีพราหมณ์ ๒ ตน คือ อาฬารดาบสกับอุทกดาบส ไปนั่งสมาธิจนได้ความสงบสูงสุด ฌาน ๗ ฌาน ๘ มีอภิญญาเหาะเหินเดินอากาศได้ พระองค์สรุปว่าทางนี้ไม่มีปัญญาดับทุกข์ จึงลาอาจารย์ทั้ง ๒ ไปหาทางดับทุกข์ด้วยตัวเอง (ประวัติพุทธศาสนาหน้าแรกเลยนะ)

ขนาดพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขย์แสนกัป บอกว่าสมาธิไม่มีปัญญาที่จะดับทุกข์ได้ ได้เพียงหลบทุกข์ชั่วคราวเท่านั้น แล้วคุณว่า อย่างเราๆ ท่านๆ จะมีใครไปนั่งสมาธิจนมีปัญญามาดับทุกข์ได้ละครับ

ที่เขาสอนต่อๆ กันมาว่า ให้ไปนั่งสมาธิจนจิตใจสงบก่อนนะ พอสงบดีแล้วค่อยมาวิปัสสนา คำสอนประเภทนี้ ไม่มีในพระไตรปิฏก มีแต่เขาว่าต่อๆ กันมาเท่านั้น ไม่ใช่พระพุทธเจ้าว่า หากไครนำไปสอนต่อๆ และบอกว่าเป็นคำของพระพุทธเจ้า คือ กำลังทำกรรมหนักไม่รู้ตัว เป็นอธรรมวาที บำเพ็ญลงนรกสถานเดียว

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 มี.ค. 2010, 20:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
การเดินตามทางมรรค ๔ นั้น เพื่อสร้างปัญญาสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์มรรคก่อน เป็นอันดับแรก ด้วยการฝึกวิปัสสนาภาวนา เมื่อมรรคเกิด (อัฏฐังคิกมรรค) สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ก็จะเกิดตามมา


สงสัยครับว่า

"มรรค
4".....
คือ อะไรบ้าง

หรือว่าเขียนผิด

เพราะมากล่าวต่อว่า
อัฏฐังคิกมรรก ก็คือ มรรคมีองค์ 8


ขออนุโมทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 15 มี.ค. 2010, 20:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:
"มรรค 4"..... คือ อะไรบ้าง
โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหันตมรรค คู่กับผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหันตผล

มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 02:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร