วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 19:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ใคร่จักแนะนำอีกสักเล็กน้อย เกี่ยวกับการทำกรรมเพื่อหวังผลแก่ตน
ผู้กระทำที่มีความเชื่อในทางผลกรรมแล้วว่า
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นเรื่องของใจก่อน
ผลเป็นวัตถุเป็นสิ่งตามมาทีหลัง เป็นของแน่นอน
แต่การเป็นอยู่ในโลก เราอยู่กับคนที่มีนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน

มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
การอยู่ร่วมกันต้องเรียนรู้นิสัยใจคำกันบ้าง
พอให้รู้ใจ ว่าใครชอบอย่างไร เพื่อจักได้ปฏิบัติให้พอเหมาะพอควรกัน
การกระทำอะไรทุกอย่าง
ต้องเป็นไปในรูปพอดี และเหมาะแก่กาลเทศะเสมอ
ถ้าขาดความพอดีไม่เหมาะแก่กาลเทศะ ผลก็ไม่อำนวยให้แก่ตนได้

ฉะนั้น การกระทำความดีที่หวังผลในทางวัตถุ
ต้องเข้าใจว่าวัตถุที่คนจักพึงได้นั้น จะได้มาจากไหน ใครเป็นผู้อำนวยให้
วัตถุนั้นได้มาอย่างไร แล้วคิดต่อไปว่า
คน ๆ นั้น เขาชอบในทางไหนต้องหาทางเข้าถึงจิตใจของเขา
แต่ไม่ทิ้งความดีของเรา การทำความดีในบ้างครั้ง
อาจไม่เป็นที่พอใจของคนบางคนก็ได้
เมื่อเขาไม่พอใจ เขาก็เป็นปรปักษ์กับเรา
เราเองต้องได้รับการเบียดเบียนจากเขา เรื่องมันยุ่งอยู่เหมือนกัน
เพราะการกระทำที่ไม่ถูกาละเทศะ และบุคคล
จึงเป็นความจำเป็น ที่ต้องทำให้เหมาะแก่กาลเวลา
ผู้ใหญ่ขางคนก็มีศีลธรรมดี บางคนก็ปราศจากศีลธรรม
ถ้าเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของคนมีศีลธรรม ก็ไม่สู้ลำบากนัก
แต่ถ้าอยู่ใต้คนขาดศีลธรรมก็เดือดร้อน จึงต้องหาทางออกให้แยบคาย
อย่าทำสิ่งใดที่เขาไม่ชอบใจ

การทำดีนั้นมีหลายอย่าง เหมือนทางเดินมีหลายทาง
ถ้าทำดีแบบนี้ คนอื่นเขาขัดใจ เราก็เปลี่ยนทำอย่างอื่นเสียก็ได้
ถือหลักว่า อย่าขัดใจเขา และ เราก็ไม่เสียคน เป็นใช้ได้
อีกประการหนึ่ง การทำดีอย่างเดียวไม่เพียงพอแต่ต้องเป็นความชอบด้วย
เช่น ชอบใจผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ชอบด้วยตัวบทกฏหมาย
ชอบด้วยเวลา ชอบด้วยภูมิประเทศ และชอบด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
อย่างนี้เป็นความชอบ ถ้าดีกับชอบมารวมกันเมื่อใด ผลก็เกิดขึ้นทันที

จงคอยกำหนดดูคนที่เขาก้าวหน้าในทางงาน
เขาต้องมีความดีส่วนตนอยู่ก่อน เช่น มีความรู้ดี มีความประพฤติดี
เมื่อมีของดีอย่างนี้แล้ว ก็พยายามเข้าหาเจ้านายไว้บ้าง
ทำดีชนิดที่นายชอบให้เหมาะแก่โอกาส เขาก็เป็นที่คุ้นเคยกันนาย
เวลาจะเลื่อนคนเลื่อนเงิน เป็นธรรมดา
นายจักต้องนึกถึงคนใกล้และคนที่รู้จักก่อนเสมอ
เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาของโลก หนีไม่พ้นคนอยู่ในโลกต้องเรียนรู้ไว้บ้าง
แต่คนใดที่ทำดีไปถ่ายเดียว โดยมิได้ทำให้เป็นที่ชอบใจนาย
ไม่เป็นที่รู้จักของนาย ทางเดินตันหน่อย
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะใช้ธรรมะไม่ถูกกาละเทศะนั่นเอง
จึงขอฝากความคิดนี้ไว้ด้วย

ส่วนบุคคลที่กระทำความดี โดยหวังเอาความดีแท้ๆ นั้นไม่มีปัญหาอะไร
เขาจักต้องได้ความดีตอบแทนเสมอ
คนเช่นนี้แหละ เป็นคนนำความสงบสุขมาสู่โลก
ว่ากันตามจริงแล้ว ควรทำความดีเพื่อความดี ทำงานเพื่องาน
อย่าไปหวังผลอะไรจากสิ่งนั้น ปล่อยให้มันผลมันเกิดขึ้นเอง ตามเรื่องของมัน
เราเองมีหน้าที่แต่กระทำเท่านั้น เมื่อทำเสร็จกิจแล้ว ก็เป็นอันหมดเรื่องกัน
อย่างนี้ใจสบาย ความทุกข์ไม่เกิด เพราะต้องการอะไรแล้วไม่ได้สมหวัง


ผลที่เกิดจากการกระทำความชั่ว อาจมีได้มากน้อยตามเหตุการณ์
แต่ของที่ได้มาจากความชั่วมิใช่เป็นสิ่งดี เป็นเงินบาป ทองบาป
ของบาปอยู่กับเราไม่นาน เวลาเป็นเครื่องตัดสิน ในเรื่องนี้อยู่แล้ว
ขอให้สังเกตดูกันนานๆ สักหน่อย
ก็พอมองเห็นได้ว่า คนที่ตั้งตัวด้วยความชั่ว แม้จักโด่งขึ้นไปสักพักหนึ่ง
เหมือนจรวดที่พุ่งขึ้นสู่ฟากฟ้า แต่ไม่ไรก็ตกลงมาเพราะหมดดินส่ง
คนทำบาปก็เป็นแบบเดียวกัน เขาไปได้ไม่ไกลนักก็ต้องตกไปสู่สถานที่เดิมอีก
คนโบราณจึงสอนไว้ว่า เงินที่ได้จากบาปเป็นของร้อน
เหมือนกับเก็บไฟไว้ในบ้าน ไม่เท่าใดก็เผาไหม้บ้านเรือนเสียหายหมด
คนผู้รักความสงบความเย็น จึงไม่ปรารถนากระทำสิ่งอันใด
อันจักก่อให้เกิดบาปแก่ตน

เรื่องของกรรมเป็นหลักสำคัญมาก
เป็นกุญแจสำคัญ ของการแก้ไขปัญหาของชีวิต
ถ้าเราหมั่นศึกษาสนใจก็จักมองเห็นเหตุผลอย่างแจ่มแจ้งว่า
ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ความเสื่อมเจริญทั้งมวล
เป็นสิ่งเนื่องมาจากกรรมของตนเอง ทั้งนั้น
เราเองเป็นผู้สร้างโชคชะตาของชีวิตให้แก่ตนเอง
อนาคตของชีวิตขึ้นอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน
การเป็นอยู่ปัจจุบันก็เนื่องมาจากการกระทำในเวลาที่ล่วงมาแล้ว
เหตุผลของชีวิตสืบต่อกันมาเป็นลำดับ โดยการกระทำของเราเอง
หาใช่โดยการกระทำของใครๆ ในที่ใดไม่คนที่มีความเชื่อในเรื่องกรรม
ย่อมไม่มีการลงโทษคนอื่น แต่จักลงโทษตนเองถ่ายเดียว
เขาจักคิดว่า เป็นความผิดของตนเองเท่านั้น
คนอื่นเป็นแต่เพียงตัวประกอบ หาใช่ตัวการสำคัญไม่
การแก้ไขเหตุร้ายของชีวิต ก็หันมาแก้การกระทำของตน
ไม่เที่ยวแก้ไขเหตุการณ์ภายนอกโดยไม่เข้าเรื่อง


คนทีมีความเชื่อในเรื่องกรรมแล้ว ไม่มีการกราบไหว้ สิ่งที่ไม่ควรกราบไหว้
เช่น ไหว้ต้นไม้ จอมปลวก ก้อนหิน ...หรือการทำพิธีวิงวอนต่างๆ
เช่น พิธีการเสียงทาย เป็นต้น เขาผู้มีความเชื่อในเรื่องกรรม
จักไม่มีความเชื่อในทางฤกษ์ผานาที วันดีวันร้าย พระราหูเข้าพระเสาร์แทรก
อันเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องปลอบใจคนที่โง่ในเหตุผล
และมีความเชื่อผิดทางเท่านั้น สิ่งเหล่านั้นหาได้ทำให้ใครดีและเลวได้ไม่
การกระทำของตนเองสร้างชีวิตแก่ตนเอง ไม่มีสิ่งใดมาช่วยได้
วิธีปลอบใจของคนมีความเชื่อในเรื่องกรรม
ก็ไม่ทำโดยไปรดน้ำมนต์หรือสะเดาะเคราะห์อันเป็นวิธีการที่ผิด
แต่เขาจะทำโดยวิธีที่พิจารณาตนว่า
ทุกข์อย่างนี้เกิดจากความชั่วอย่างไหนแล้วเลิกกระทำความชั่วนั้นเสีย

คนเชื่อกรรมจักมีชีวิตสะอาดและสดชื่นเสมอ
เพราะเขาตระหนักในผลของกรรม และระมัดระวังการกระทำอยู่ตลอดเวลา
ความผิดพลาดโดยจงใจไม่มีแก่เขา เรื่องยุ่งยากก็ไม่เกิด
ชีวิตจึงมีความสดชื่นเบิกบานเสมอ
ผลของกรรมที่เกิดแก่ผู้กระทำนั้น เกิดขึ้นเองเพราะแรงดันของกรรม
ไม่มีอะไรสิ่งใดมาอยู่เหนือกฏของกรรมอีก
เช่นเราจับก้อนดินขว้างไปในอากาศ มันก็พุ่งไปตามกำลังขว้างของเราเอง
และไปตกในที่ใดๆ ตามที่กำลังจักส่งไปได้
ผลที่เกิดมีปรากฏอยู่ที่ตัวของมันเองแล้ว
ความคิด การพูด การกระทำทางกาย
ย่อมมีแรงงานในตัวเองและสร้างผลแก่ผู้กระทำเสมอ
เหมือนการขว้างแกลบไปทางเหนือลม
เป็นการแน่นอนที่มันจักกลับมาตกบนหัวบ้าง ตามตัวของผู้ขว้างไปบ้าง
ฉันใดก็ฉันนั้น ชาวพุทธผู้ฉลาดในเหตุผลจึงเชื่อเพียงเท่านี้
และไม่คิดอะไรมากไปกว่านี้อีก
จึงมีความเชื่อมั่นในหลักนี้ และคิดถึงหลักนี้อยู่เสมอๆ ว่า


:b48: ๑.กรรมที่เรากระทำ สร้างเราให้เป็นคนดีคนชั่วได้

:b48: ๒.ถ้าเราทำบาป เราก็เศร้าหมอง ถ้าเราทำบุญ เราก็บริสุทธิ์

:b48: ๓.ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
ใครจักทำใครให้เป็นนอย่างใดไม่ได้
ทำได้อย่างมาก เพียงชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น

:b48: ๔.คนโง่ย่อมเดือดร้อนเพราะการกระทำของตนเสมอ

:b48: ๕.อย่าสำคัญผิดว่าการกระทำจักไม่ได้ผล ในเมื่อผลยังไม่ปรากฏ
เพราะเมื่อปรากฏออกมาแล้ว ตนจักเดือดร้อน

:b48: ๖.ชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ หาได้ทำตนให้ดีชั่วไม่
แต่การกระทำด้วยกายวาจา ใจ เท่านั้น จักทำคนให้เป็นอย่างนั้น

:b48: ๗.เรามีการกระทำเป็นของเราเอง มีการกระทำก่อให้เกิดตัวเรามา
มีการกระทำสืบเชื้อสายต่อไป มีการกระทำเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
เหมือนการหว่านพืชชนิดใด ก็จักเก็บเกี่ยวผลชนิดนั้น

:b48: ๘.ถ้าเรากลัวทุกข์ ไม่รักความทุกข์ ก็ไม่ควรแส่หาความทุกข์
ทั้งในที่ลับที่แจ้ง เพราะความร้อนใจย่อมเกิดจากการกระทำเสมอ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่สงสัย

ชาวพุทธจึงควรนำหลักนี้มาคิดค้น และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเสมอ
ความคิดอย่างนี้เป็นความคิดที่ถูกต้อง
อันผลิตจากความเห็นถูกในเรื่องของการกระทำ
จัดเป็นความเห็นถูกประการหนึ่งในชั้นต้น
ความเห็นที่ตรงกันข้ามจากความเห็นนี้ เป็นความเห็นที่ผิด
ความเห็นผิดตั้งอยู่ในใจของใครก็ทำให้ผู้นั้นเสียหายยิ่งกว่าโจร
และคนมีเวรต่อกันทำให้แก่กันเสียอีก จึงควรสร้างความเห็นชอบไว้เสมอ
จักได้ให้ความคุ้มครองตนได้ทุกกาลทุกสถานที่

เพื่อให้เห็นเหตุผลของกรรมชัดเจนขึ้นไปอีกสักหน่อย
ขอยกเอาข้อความในจูฬกัมมวิภังคสูตร
อันเป็นสูตรที่แสดงถึงเหตุผลของเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ
ให้เห็นได้ว่า ความเป็นอยู่ของชีวิตของแต่ละบุคคลนั้น
เนื่องจากกรรมอย่างไร
ดังนี้ คือ

:b48: ๑.คนมีอายุน้อย เพราะการฆ่าสัตว์
คนมีอายุยืน เพราะการไม่ฆ่าสัตว์

:b48: ๒.มีโรคน้อย เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์
มีโรคมาก เพราะเบียดเบียนสัตว์

:b48: ๓.มีผิวพรรณงาม เพราะไม่โกรธแค้นพยาบาท
มีผิวพรรณทราม เพราะโกรธแค้นพยาบาท

:b48: ๔.มีความเป็นผู้สูงศักดิ์ เพราะไม่ริษยา
มีศักดิ์ต่ำ เพราะริษยา

:b48: ๕.มีทรัพย์มาก เพราะทำทาน
มีทรัยย์น้อย เพราะตระหนี่

:b48: ๖.เกิดในตระกูลสูง เพราะไม่กระด้างถือตัว รู้จักอ่อนน้อม
เกิดในตระกูลต่ำ เพราะกระด้างถือตัว ไม่รู้จักอ่อนน้อม

:b48: ๗.มีปัญญาดี เพราะรู้จักไต่ถาม และแสวงหาความรู้
มีปัญญาทราม เพราะไม่รู้จักไต่ถาม และไม่แสวงหาความรู้

นี่เป็นหลักเกณฑ์ ควรนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับความเป็นอยู่ได้
เห็นอริยสัจสี่ ภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อนก็ตามในบัดนี้ก็ตาม
เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์
และความดับสนิทไม่เหลือของความทุกข์เท่านั้น
คำที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นคำตรัสของพระบรมศาสดาผู้รู้ความจริง
และดับทุกข์ได้แล้ว เป็นการประกาศสิ่งที่ทรงนำมาสอนแก่ชาวโลก
ว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นแก่ชีวิต
พระองค์มิได้ตรัสว่า ทรงรู้แต่เพียงเท่านี้ แต่ตรัสว่า ทรงสอนแต่เพียงเท่านี้
ในทางตรงกันข้าม คราวหนึ่งทรงประทับใต้ต้นไม้ประดู่ลาย
ทรงกำใบไม้เต็มพระหัตถ์ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจักสำคัญความเป็นไฉน
ใบไม้ที่อยู่ในมือของเรา กับใบไม้ที่อยู่บนต้น ข้างไหนจักมากกว่ากัน
ภิกษุได้กราบทูลว่า ใบไม้ที่อยู่บนต้นมีมากกว่า ใบไม้ที่อยู่ในมือมีประมาณน้อย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ฉันใด ความรู้ที่เรามีนั้นมีมาก
แต่เรานำมาสอนแต่เพียงความทุกข์ และการดับทุกข์เสียได้ เท่านั้น
เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่จักต้องรู้ ต้องทำตาม
เพื่อความหลุดพ้นไปจากความทุกข์ นอกจากนี้เป็นสิ่งไม่จำเป็น
ข้อความที่ยกมากล่าว เป็นการแสดงถึงหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา
ว่ามีหลักเกณฑ์สำคัญที่ตรงไหน ทรงย้ำหนักในเรื่องใดเป็นข้อสำคัญ
พุทธศาสนาพูดเรื่องปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ปัญหาอันใดอื่น

เช่นปัญหาเรื่องโลก ว่าใครสร้างมาอย่างไร
มิใช่เป็นเรื่องจำเป็น มิใช่ทางของการพ้นทุกข์
แม้มีใครไปทูลถามก็ไม่ทรงแสดง เพราะทรงเห็นว่าเป็นการก้าวไปไกลเกินไป
เป็นการทำสมองให้ยุ่งยาก ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ที่แท้จริง
เป็นอจินไตย คือเรื่องไม่ควรคิด
ทรงสอนให้คิดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่การดับทุกข์ถ่ายเดียว
ชาวพุทธจึงควรศึกษาเรื่องเช่นนี้ จักได้นำมาใช้เป็นหลักดำเนินชีวิต
ให้เป็นไปตามทำนองคลองธรรม


:b48: อริยสัจ คืออะไร
อริยสัจ เป็นคำภาษาบาลี แต่คนไทยเราได้ยินบ่อยจากการเทศนาของพระตามวัด
โดยมากมันเทศน์คู่ ถามตอบในเรื่องอริยสัจ
คนฟังมักจำได้แต่เพียงชื่อ และกล่าวกันว่าเป็นของสูง
ยากที่จะปฏิบัติตามได้ ความสนใจก็มีน้อย
ว่าที่จริงอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรเรียนควรสนใจ จึงขอนำมากล่าว
โดยให้เห็นก่อนว่ามีอะไรบ้าง ขอพูดตามหลักก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละ คือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์
คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์
ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์ (นี่คือ ทุกขอริยสัจ)

ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละ คือ ความจริงอันประเสริฐ
เรื่องแดนเกิดของความทุกข์คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ
ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (นี่คือ สมุทัย เหตุให้เกิดความทุกข์)

ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละ คือ ความจริงอันประเสริฐ
เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิท
เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง
คือความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย
ความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น(นี่คือ นิโรธ ความดับทุกข์)

ภิกษุทั้งหลาย นี่แหละ คือความจริงอันประเสริฐ
เรื่องปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์
คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นเสมือนหนทางอันประเสริฐ
อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่


:b48: ๑.ความเห็นที่ถูกต้อง

:b48: ๒.ความดำริที่ถูกต้อง

:b48: ๓.การพูดจาที่ถูกต้อง

:b48: ๔.การทำการงานที่ถูกต้อง

:b48: ๕.การอาชีพที่ถูกต้อง

:b48: ๖.ความพากเพียรที่ถูกต้อง

:b48: ๗.ความรำลึกที่ถูกต้อง

:b48: ๘.ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง
นี่คือ มรรคา อันประกอบด้วยองค์แปด

เมื่อทรงทราบถึงความจริงสี่ประการ ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
ได้เกิดแก่พระองค์ทำให้เป็นผู้เบิกบานเต็มที่เสมือนดอกบัวรับแสงอาทิตย์ในยามเช้า
จึงได้ทรงพระนามว่า อรหัง สัมมาสัมพุทโธ แท้
ความจริงที่ได้ยกมากล่าว เป็นการยกมาจากรูปคำแปล
จากภาษาบาลีทุกตัวอักษร ผู้ที่ไม่คุ้นกับการอ่านก็อาจงงบ้าง
เพื่อให้เป็นการเข้าใจง่าย ขอจัดให้เห็นง่าย ๆ ดังนี้ คือ

:b48: ๑.ทุกข์อริยสัจ ความจริงเรื่องทุกข์
ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การพบกับสิ่งที่ไม่น่ารัก
การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
ต้องการสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมหมาย รวมยอดกล่าวว่า ขันธ์ ๕
คือ ร่างกาย จิตใจ ที่เราเข้าไปยึดถือเอา
ว่าเป็นของเรานี่แหละ เป็นก้อนทุกข์ละ

:b48: ๒.ทุกข์สมุทัยอริยสัจ ความจริงเรื่องเหตุเกิดแห่งทุกข์
อันได้แก่ความอยากที่มีลักษณะ ๓ ประการ
คือ ทำให้ต้องมาเกิดอีก มีความกำหนัดไม่จบ
เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น มีชื่อเป็น ๓ อย่าง
คือ อยากในกาม ชื่อ กามตัณหา อยากในความมีความเป็น ชื่อ ภวตัณหา
อยากในความไม่มีไม่เป็น ชื่อ วิภวตัณหา ตัณหา แปลว่า ความอยาก

:b48: ๓.ทุกข์นิโรธอริยสัจ ได้แก่ความจริง
คือ การดับทุกข์ได้ การดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง ดับสนิท
โดยไม่เหลือเชื้อความอยากไว้อีก การสลัดทิ้ง ปล่อยคืนไป
ทำลายที่ตั้งอาศัยของความอยากได้หมด ทุกข์ดับหมด ไม่ก่อเกิดอีก

:b48: ๔.ทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ได้แก่ข้อปฏิบัติอันประกอบด้วยองค์แปดประการ
คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ความคิดที่
ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง
การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง
ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง
เหล่านี้ เป็นวิชชาที่พระพุทธองค์ทรงค้นคว้า
พบด้วยปรีชาสามารถของพระองค์แล้วนำมาประกาศแก่ชาวโลก
สิ่งนี้คือ เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา
การศึกษาพุทธศาสนาก็ต้องศึกษาเรื่องนี้
การปฏิบัติพุทธศาสนาต้องปฏิบัติเรื่องนี้
การประกาศพุทธศาสนาก็ต้องประกาศเรื่องนี้ การบำรุงพุทธศาสนา
ก็ต้องบำรุงกิจการที่ทำให้คนได้ศึกษาได้ปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้
จึงจักเป็นการกระทำที่ถูกต้องแท้จริง
อริยสัจเป็นเรื่องควรเรียน
บางคนกล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องความทุกข์
เป็นการสอนให้มองโลกและชีวิตในแง่ร้าย เป็นการสอนที่ทำให้จิตใจหดหู่
เบื่อชีวิตตนเอง คำกล่าวเช่นนี้ เป็นคำกล่าวที่ผิดพลาด
ของผู้ที่มิได้คิดค้นให้เข้าใจความจริงของชีวิต ความจริงของชีวิตมีอย่างใด
เขามิได้สนใจศึกษาให้เข้าใจเพราะมัวหลงใหลอยู่ในสิ่งที่เป็นมายา
เป็นของหลอกลวงจึงมิได้พบความจริงได้

พระพุทธเจ้าทรงเตือนสาวกของพระองค์
ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง
เพราะความเห็นตามเป็นจริงนั้น จักทำให้ผู้เห็นเป็นไทได้
แต่ถ้ายังไม่เห็นจริงแล้ว เขาจักเป็นไทไม่ได้เลย
ในโลกนี้ยังไม่มีครูคนใด กล้ากล่าวความจริงเท่าองค์พระพุทธเจ้า
จะเป็นเพราะเหตุไรไม่ทราบ แต่พระพุทธองค์ทรงมีความกล้า
พอที่จะกล่าวความจริงออกมาได้

เรามาลองคิดดูสักเล็กน้อยว่า
โลกและชีวิตนี้ มีความทุกข์จริงหรือไม่
ขอให้มองด้วยความเป็นไท ก็พอมองเห็นว่า การมีชีวิตอยู่ในโลก
ช่างเต็มไปด้วยการต่อสู้ การแข่งขัน การชิงดีชิงเด่นกันระหว่างชีวิต
เราต้องพบกับความไม่สมหวังบ่อย ๆ บางทีเราจักมองเห็นได้
แต่มักก็หายไปเสียอีก เราต้องนั่งเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น
คนที่เรารักเราพอใจ บางทีก็มาจากเราไปเสียโดยมิได้คาดฝัน
ชีวิตบางคนกำลังรุ่งโรจน์ก้าวหน้าไปสู่ความดี ความยิ่งใหญ่
แต่เขาได้ลาโลกไปเสียแล้ว โดยอุบัติเหตุทางรถยนต์
บ้านเรือนถูกไฟไหม้ เกิดโรคร้ายไข้เจ็บระบาด
เกิดการข้าวยากหมากแพง เกิดภูเขาไฟระเบิด เกิดแผ่นดินไหว
อันเป็นภัยธรรมชาติ โดยธรรมชาติก็เหลือทนอยู่แล้ว
ยังมีความทุกข์ที่เหล่ามนุษย์สร้างขึ้นอีก
โดยความไม่รู้เท่าถึงการณ์อีกมากมาย
โลกนี้ต้ิองมียารักษา ต้องมีโรงพยาบาล
ต้องมีหมอคอยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
ต้องมีโรงหนังโรงละคร เพื่อให้มนุษย์ไปหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันบ้าง เพื่อบรรเทาความทุกข์บ้าง มิใช่หรือ
ถ้าโลกนี้มีความสุข มีความดีพอแล้ว
เราจักนั่งประชุมกันทำไม่ในปัญหายุ่งยากนานาประการ
เพราะโลกนี้ไม่สมบูรณ์ ชีวิตนี้ไม่เรียบร้อย จึงต้องมีอะไรหลายอย่าง
ช่วยบำบัดความทุกข์ยากของโลก

ความทุกข์จึงเป็นความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในโลกเสมอ
เหมือนนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกนี้มีความร้อนอย่างเดียว
ความเย็นเป็นแต่การลดน้อยลงของความร้อนเท่านั้น
อาการที่ความร้อนน้อยลงนั่นแหละ เราเรียกว่า เย็น
แต่ที่ถูกควรกล่าวว่า ร้อนน้อย ร้อนมาก จึงจะสมกับความเป็นจริง
พระพุทธองค์ตรัส ความทุกข์ก็เป็นไปในแนวเดียวกัน
โลกนี้มีแต่ทุกข์เต็มร้อย แต่ที่เรารู้สึกว่าสุข
ก็เพราะความทุกข์ลดลง ไปนิดหน่อย
ฉะนั้น ความสุขก็คือความทุกข์น้อยนั่นเอง
พูดได้ตามภาษาวิทยาศาสตร์ว่า ทุกข์มากคือทุกข์เต็มร้อย
ทุกข์น้อยก็เบาลงมาหน่อย สภาพนี้เป็นความจริง


นางวชิราภิกขุณีได้กล่าวไว้ว่า ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่
ทุกข์เท่านั้นดับไป นอกจากทุกข์หามีอะไรเกิดอะไรดับไม่
พระพุทธองค์ตรัสว่า
สัตว์โลกตั้งอยู่ในกองทุกข์และความทุกข์เป็นภัยใหญ่ของชาวโลก
ถ้าหากว่าพระพุทธองค์ตรัสแต่เพียงความทุกข์
แล้วหยุดเสียก็เรียกว่าเพ่งในแง่ร้ายได้
แต่หาได้ทรงหยุดเพียงนั้นไม่ ยังตรัสต่อไปว่า ทุกข์เกิดจากเหตุ
ได้ทรงชี้เหตุของความทุกข์ให้เข้าใจชัดเจน
เหมือนหมอที่ฉลาด ได้พบคนป่วยแล้วก็บอกให้เขาทราบว่า
เขาเป็นคนป่วย และบอกต่อไปอีกว่า เขาป่วยด้วยโรคอะไร
แถมอีกหน่อยว่า โรคอย่างนี้รักษาได้โดยวิธีปฏิบัติอย่างนั้นๆ
พระพุทธองค์ทรงเป็นนายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่
ทีทำการรักษาโรคทางใจ โดยใช้ตำราอริยสัจ เป็นเครื่องมือรักษา
คนได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก อริยสัจ
จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การศึกษาโดยแท้

อริยสัจ คือ เรื่องเหตุผล
สิ่งทั้งปวงเกิดจากเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ สิ่งทั้งปวงก็เกิดมาไม่ได้
คำกล่าวอันเป็นสัจจะเช่นนี้ เป็นคำที่มีความหมาย
ถึงเรื่องความเป็นไปของชีวิตของทุกคน
การเกิดมาก็มีเหตุ ความทุกข์ก็มีเหตุการดับทุกข์ได้ก็มีเหตุ
สิ่งทั้งปวงทั้งที่เป็นธรรมะและอธรรมย่อมอาศัยเหตุผลเกิดขึ้นทั้งนั้น
ความจริง ๔ ประการ นี้ พระศาสดาทรงประกาศให้เข้าใจเหตุผล
แต่ทรงยกเหตุขึ้นพูดก่อน คือ สอนให้เข้าใจว่าทุกข์มีอยู่เป็นอย่างไร
เพราะผู้มีชีวิตอยู่ในโลกล้วนแต่มีความทุกข์และใคร่จะพ้นทุกข์กันทั้งนั้น
ไม่ว่าใครจักทำอาชีพ ทำงานการประเภทไหน
เขามุ่งเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ ชั้นที่สุดพวกขโมยเขาทำการลัก
ก็เพื่อขจัดความทุกข์ยากของเขา
หมู่สัตว์ทั้งมวลมีใจโน้มเอียงไปสู่ความพ้นทุกข์
นี่เป็นเครื่องยืนยันว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
แต่ชาวโลกไม่เข้าใจว่าทุกข์มาจากไหน จักดับได้โดยวิธีใด กันแน่
พระบรมศาสดาจึงทรงบอกผลให้เข้าใจก่อน ว่าอยู่อย่างไร
อย่างนี้เรียกว่าพบผล แล้วก็สาวไปหาเหตุต่อไป
เมื่อแสดงผลให้เห็นแล้ว ก็ทรงแสดงเหตุของทุกข์
ว่าเกิดมาจากความอยาก มีประการต่าง ๆ
เป็นการชี้ไปยังตัวผู้เป็นทุกข์ทุกคนให้เข้าใจว่า
ทุกข์นั้นเกิดขึ้นภายในตัวของท่านเอง
ทุกข์ไม่ได้มาจากภายนอก
ถึงแม้จักมีเรื่องภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง
ความสำคัญตัวทุกข์ก็อยู่ที่ใจของตนอันถูกความอยากครอบงำมากกว่า
ต่อนั้นทรงพูดถึงเหตุผลให้ผู้ฟังเบาใจว่า
ไม่ต้องวิตกดอก ทุกข์มีก็หาเหตุได้แล้ว
ถ้าดับเหตุก็หมดทุกข์ เป็นการทรงรับรองว่าดับได้แน่
การดับได้เป็นลักษณะเย็น ไม่วูบวาบเผ็ดร้อน
เป็นการถอนรากออกได้หมด ไม่มีอะไรเหลือ
เหมือนนายแพทย์กล่าวปลอบโยนคนป่วยว่า
ไม่เป็นอะไร รักษาให้หายได้
แล้วทรงประกาศทางสำหรับรักษาให้หายได้เด็ดขาด
เรื่องอริยสัจจึงเป็นเรื่องของเหตุผลโดยแท้ และเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้
มิใช่เหตุผลที่เป็นไปไม่ได้ ขอเขียนให้เห็นง่ายดังนี้ คือ
ทุกข์ เป็นตัวผล
สมุทัย เป็นตัวเหตุ
นิโรธ เป็นตัวผล
มรรค เป็นตัวเหตุ
ทุกข์และนิโรธ เป็นผล
สมุทัยและมรรค เป็นเหตุ
สมุทัย เป็นเหตุฝ่ายเกิด
มรรค เป็นเหตุฝ่ายดับ
อริยสัจ ๔ ประการ
จึงย่นกล่าวไว้ว่าเรื่องทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น
เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอน
เป็นเรื่องที่พวกเราควรฟังและจำไว้นำไปปฏิบัติได้
โดยพยายามตัดเหตุข้างฝ่ายเกิด พอกพูนเหตุข้างฝ่ายดับไว้เสมอ
วันหนึ่งก็จักถึงจุดหมายปลายทางได้
ควรนำหลักอริยสัจมาใช้ในชีวิตประจำวัน
ในชีวิตของเราทุกคนทุกเพศทุกวัย มีความสับสนอยู่เสมอ
บางวันก็เป็นทุกข์ บางวันก็เป็นสุข บางวันก็หนักใจ บางวันเบาใจ
อย่างนี้เป็นหลักธรรมดาชีวิตของผู้เกิดมาอยู่ในโลก
ถ้าหากไม่มีอุบายแก้ไขความทุกข์ยาก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้น
ถ้าแก้ไขเสียบ้าง ความทุกข์คงหายไป
ชาวพุทธเราควรจักพยายามนำหลักความจริงนี้
มาใช้เป็นอุบายแก้ไขความทุกข์ของตนเอง
ในการแก้ไขนั้นต้องใช้หลักเหตุผลแบบนี้ และต้องเข้าใจอย่างแน่วแน่
ความทุกข์เกิดเพราะการกระทำของตนเอง
ตนเองเป็นตัวทุกข์ เป็นต้นเหตุของความทุกข์
และเป็นผู้ดับทุกข์ได้โดยการทำตนเป็นเป็นทางเดินสำหรับแก้ทุกข์
เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ การพยายามค้นหาเหตุของทุกข์
และตัดออกไปโดยปัญญาคิดค้นให้เข้าใจนั้น เป็นการกระทำดีมาก


คัดลอกจาก... http://www.panya.iirt.net/

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณลูกโป่งด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.พ. 2009, 02:06
โพสต์: 811

อายุ: 0
ที่อยู่: มหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ ครับ

:b8: :b1: :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด (หลวงพ่อชา สุภัทโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณลูกโป่ง :b8:
ด้วยความเคารพ :b46: :b46: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร