วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


4. อวิชชาสวะ

อวิชชาสวะ แปลว่า อาสวะ คือ อวิชชา

อวิชชา ความ หมายตรงๆที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
หมายถึงความไม่รู้อริยสัจ 4 โดยถูกต้องครบถ้วน
ที่เรียกว่าไตรปริวัตร คือ 3 รอบ ทวาทสา การ คือ 12 อาการ
ได้แก่ ญาณ 3 ในอริยสัจ 4 แล้ว 3x4 ก็ 12 อาการ
ก็ไม่สามารถจะกล่าวรายละเอียดในที่นี้ได้ในเรื่องญาณ 3 ไตรปริวัตร
และทวาทสาการ กล่าวโดยย่อในที่นี้ว่า

คือให้รู้จักทุกข์โดยความ เป็นทุกข์
ถ้าเผื่อไพล่ไปเห็นเป็นสุขเสีย ก็เรียกว่าไม่รู้จักทุกข์
อย่างที่ท่านกล่าวว่า ปุถุชนมีความเห็นอย่างใด
พระอริยะก็เห็นไปอีกอย่างหนึ่ง
เช่น สิ่งใดที่ปุถุชนเห็นว่าเป็นความสุข พระอริยะเห็นว่าเป็นความทุกข์
สิ่งใดที่ปุถุชนเห็นว่าเป็นความทุกข์ สิ่งนั้นพระอริยะเห็นว่าเป็น ความสุข



ความไม่รู้อริยสัจ ก็เป็นไปในทำนองนั้น
คือ ไพล่ไปเห็นกลับกันเสีย เห็นทุกข์โดยความเป็นสุข
เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ ไม่รู้จักสมุทัยว่าเป็นสิ่งที่ควรละ
ไพล่ไปส่งเสริมเพิ่มพูนสมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์
สมุทัยตามตัวตรงๆ ก็คือตัณหาหรือกิเลส
คนส่วนมากก็ชอบไปเพิ่มพูนกิเลส ส่งเสริมกิเลส
แทนที่ว่าจะชวนกันละกิเลสหรือลด กิเลสให้น้อยลง
ซึ่งจะเป็นเหตุให้สังคมที่เราเป็นอยู่นี้ดีขึ้น ไม่รู้จัก
นิโรธว่าควรทำให้แจ้ง ก็ไพล่ไปทำให้มืดยิ่งขึ้น
เดินสวนทางกับนิพพาน ก็ไม่มีทางที่จะไปถึงนิพพานได้
เพราะเหตุที่ไม่รู้จักมรรคว่าเป็นสิ่งที่ควรดำเนินให้บริบูรณ์
ไพล่ไปเดินออกนอกมรรคนอกทางกันเสีย
สิ่งใดที่เป็นทางก็เห็นเป็นไม่ใช่ทาง สิ่งที่ไม่ใช่ทางก็เห็นว่าเป็นทาง
เมื่อเป็นอย่างนี้ ความทุกข์ในชีวิตก็เพิ่มพูนขึ้น
เพราะความไม่รู้หรือรู้ผิด รู้ไม่ตรง ตามความเป็นจริง


อวิชชาที่หมักหมมพอกพูนอยู่ทุกวัน คืออวิชชาสวะ
เครื่องหมักดองจิตคืออวิชชา


เมื่อเกิดความเคยชินขึ้น มันก็ยิ่งมีมากขึ้นในสันดานของบุคคล
ก็มีอวิชชามากขึ้น ทำให้เป็นคนเบาปัญญา
ทำให้จิตของเราโง่เขลาเบาปัญญา



เมื่อจิตโง่ คนก็โง่ เพราะสิ่งสำคัญในตัวคนก็คือจิต
จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน อย่างที่ท่านกล่าวว่า
มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐ
คนสมัยใหม่ได้เรียนรู้วิชาการต่างๆมามากมาย
อาจจะฉลาดขึ้นในหลายๆเรื่อง แต่ถ้ายังโง่เขลาในการดำเนินชีวิต
ก็ไม่อาจจะลดความทุกข์ลงได้ ยิ่งถ้าเรียนมาก รู้มาก ความทุกข์ก็มากขึ้นด้วย
ก็ต้องถือว่าความรู้นั้นเป็นวิชชา
แต่ในอวิชชา เพราะยิ่งรู้มากก็ยิ่งเครียดมาก ยิ่งมีความทุกข์มาก
มีความเดือดร้อนมาก ก็ไม่เป็นวิชชาสักทีหนึ่ง


คุณลักษณะของชีวิตที่ดี

ชีวิตของคนเรา ควรให้ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญสัก 3 ประการ
ก็จะเป็นชีวิตที่ดี คือ

1. ให้เข้าถึงความจริง อันนี้เราก็ต้องใช้ปัญญา

2. ให้เข้าถึงความดีงาม ซึ่งจะต้องใช้คุณธรรมต่างๆมากมาย

3. ให้เข้าถึงความสุข หรือภาวะที่ไร้ทุกข์
เราทำได้โดยให้ใจมีเสรีภาพ หรือบรรลุถึงอิสรภาพ



1. ปัญญารู้ตามความเป็นจริง

ขอขยายความว่า คนเราจะต้องมีปัญญาจึงจะรู้ความจริง
รู้สิ่งต่างๆตามที่มันเป็นจริง ที่ท่านเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ
แปลว่า เราเข้าถึงความจริงได้ด้วยปัญญา
อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้ว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว
ญาณปัญญาวิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
เกี่ยวกับ เรื่องอริยสัจ 4 อวิชชาคือความไม่รู้
หรือความมืดก็ดับไปเหมือนเมื่อแสง สว่างเกิดขึ้น ณ ที่ใด
ความมืดในที่นั้นก็หายไป


ในความมืดเราจะมองไม่เห็นอะไร แม้สิ่งต่างๆจะมีอยู่ก็ตาม
แต่เราก็ไม่อาจที่จะรู้ ได้ว่ามันตั้งอยู่ตรงไหน ตั้งอยู่อย่างไร
นอกจากเราจะเคยเห็นมาก่อน แล้ว สิ่งนั้นๆยังไม่ถูกย้ายที่
แต่ถ้าเราสาดแสงสว่างเข้าไปก็จะมองเห็นสิ่ง ต่างๆ ตามที่เป็นจริง


ข้อนี้ฉันใด เมื่อจิตของเราถูก ห่อหุ้มด้วยอวิชชาสวะ
จิตก็จะมองอารมณ์หรือสิ่งต่างๆไม่เห็นตามเป็นจริง
แต่เมื่อปัญญาเกิดขึ้น ความจริงย่อมจะปรากฏ
สิ่งที่อยู่ในกะลาครอบ ก็จะไม่เห็นโลกภายนอก
แสงสว่างภายนอกก็ไม่อาจจะเข้าไปได้
แต่พอยกกะลาออกก็จะได้สัมผัส โลกภายนอกตามความเป็นจริงทันที

ด้วยเหตุนี้ องค์ประกอบของชีวิตที่ดี
ประการแรกก็คือปัญญา เพื่อจะให้เราได้รู้ความจริง


2. คุณธรรมเพื่อความดีงาม


ต่อมาก็คือ เราจะเข้าถึงความดีงามได้ก็ด้วยคุณธรรม
เพื่อความดีงามของชีวิต เรา จึงต้องมีคุณธรรม
คุณธรรมจะมีได้ก็ต้องศึกษาเรียนรู้อบรมบ่มและปลูกฝังจนเคยชิน
ความเคยชินในทางที่ดีเป็นสิ่งที่ดีมาก คล้ายๆเชือกที่ฝั้นกันเป็นเกลียว
วันละเกลียวๆ นานวันก็จะเป็นเชือกเส้นใหญ่ที่ยากที่จะตัดได้
นั่นคือ เคยชินในทางที่ดี เคยชินในทางที่ชั่วก็เหมือนกัน
นี่กล่าวถึงความเคยชินที่ดี มันก็เป็นนิสัยสันดานที่ดี
เป็นระบบคุณธรรมความดีงาม เราจะต้องเรียนรู้ อีกต่างหาก
ไม่ใช่จะเหมาเอาว่า คนได้เรียนชั้นสูงๆ มีปริญญาสูงๆ
มีตำแหน่งทางวิชาการสูงๆ มีฐานะสูงๆ แล้วจะมีคุณธรรมไปด้วย
นั่นเป็นการตีขลุมเอาเป็น การว่าเอาคิดเอา ไม่ใช่ความเป็นจริง


ความเชื่ออย่างนี้ ทำให้เราผิดพลาดมามากเกี่ยวกับการศึกษา
และการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์
เพราะเราคิดแต่ว่าคนที่ได้เรียนวิชาการต่างๆสูงแล้ว
จะเป็นคนดีมี คุณธรรม แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏในสังคมมันฟ้องเราอยู่ทุกวัน
ว่าสิ่งที่เราเชื่อ นั้นไม่เป็นความจริง


ระบบคุณธรรมจะต้องเรียนอีกต่างหาก จะต้องประพฤติปฏิบัติ
จะต้องอบรมปลูกฝังกันอีกต่างหาก


ยกตัวอย่างเปรียบเทียบว่า คนที่มีการศึกษามากในระบบคุณธรรม
ย่อมจะไม่สามารถ ให้เขารู้วิทยาศาสตร์แขนงต่างๆไปด้วย
ข้อนี้ฉันใด คนที่เรียนมากเรียนสูงใน แขนงวิชาอื่นๆ
เช่น วิชา วิทยาศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาอะไรต่างๆมากมาย
ก็จะไม่สามารถให้เขารู้ระบบคุณธรรมไปด้วย ฉันนั้นเหมือนกัน


จึงต้องหาเวลาต่างหากสำหรับเรียนรู้สิ่งเหล่านี้
เพื่อความสมบูรณ์แห่ง ชีวิต และก็ ‘ต้อง’ ทีเดียวนะครับ
ไม่ใช่ว่าเรียนก็ได้ ไม่เรียนก็ได้ รู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้
ไม่ใช่อย่างนั้น ‘ต้องรู้’ ทีเดียว

คล้ายๆ เรื่องการทำบุญ ‘ต้อง’ ทำทีเดียว
อย่าคิดว่ามีโอกาสก็ทำ ไม่มีโอกาสก็ไม่ทำ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
คิดอย่างนั้นไม่ได้ ‘ต้อง’ ทำทีเดียว


3. ให้เข้าถึงความสุข

องค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งคือความสุข

ความสุขนี้เราจะเข้าถึงได้ ก็โดยจิตใจที่มีอิสรภาพ มีเสรีภาพ ไม่ถูกบีบคั้น
เราจะพบความจริงอยู่เสมอว่า บางคนมีวิชาความรู้ มีปัญญา แต่ไม่เป็นคนดี
บางคนเป็นคนดีมีคุณธรรมแต่ไร้ปัญญา
บางคนเป็นคนดี มีปัญญา แต่ไร้ความสุข

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะหาคำอธิบายอย่างไร

คนมีปัญญา แต่ไร้คุณธรรม ไม่เป็นคนดี ก็ไม่ดี
คนดีมีคุณธรรม แต่ขาดปัญญา ก็กลายเป็นคนดีที่โง่เขลา งมงาย ถูกหลอก
เป็นเหยื่อของคนที่มีปัญญาแต่ขี้ โกง คนมีปัญญาแต่ไร้คุณธรรม
เป็นคนขี้โกง โกงเพื่อน โกงบ้านโกงเมือง โกงทุกอย่างที่จะโกงได้
มีปัญญาเป็น Cunning เป็นคนมีปัญญา แต่ไร้คุณธรรม
เป็น คนขี้โกง ไม่ดีเหมือนกัน


คนที่มีปัญญา มีคุณธรรม แต่ ไร้ความสุข ก็ไม่ดีที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร
เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะ ว่าตามธรรมดาแล้วคนที่มีปัญญามีคุณธรรม
น่าจะเป็นคนที่มีความสุขโดยไม่มีเงื่อนไข


แต่เท่าที่ปรากฏแก่เรา ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป
คนมีปัญญาดี มีคุณธรรมดี ทำหน้าที่การงานได้ใหญ่โตกว้างขวาง
เป็นที่ยกย่องให้เกียรติของคนทั้งหลาย
แต่ชีวิตจริงๆของเขาไม่มีความสุขก็มีอยู่ ท่านเคยเห็นไหมครับ


ที่เป็นเช่นนี้ เราวิเคราะห์ ได้ว่า
ปัญญาและคุณธรรมที่เขามีอยู่นั้น ยังไม่สมบูรณ์
ยังเป็นปัญญาและ คุณธรรมขั้นต้นอยู่ ยังไม่เป็นของแท้
เช่น ปัญญาก็ยังเป็นปัญญาอย่าง โลกๆ ที่ท่านเรียกว่าโลกียปัญญา
คุณธรรมก็ยังเป็นคุณธรรมแบบที่ชาวโลกมี
คุณธรรมแบบเด็กๆ ไม่ใช่ปัญญาทางธรรม
และไม่ใช่คุณธรรมที่มั่นคง ยังเป็น Relative เป็นสัมพัทธ์อยู่
เขาดีก็ดีด้วย เขาไม่ดีก็ฆ่าก็ฆ่ากัน เกลือ กับเกลือ ฟันต่อฟัน ทำนองนี้
เบียดเบียนประหัตประหารกันไป ยังวอกแวกหวั่นไหว


ถ้าเป็นปัญญาทางธรรมที่ลึกซึ้งแท้จริง และคุณธรรม นั้นมั่นคงแล้ว
จะต้องตามมาด้วยอิสรภาพทางใจ หรือเสรีภาพทางใจ
เป็นภาวะที่ ไร้ทุกข์ คราวใดที่มีทุกข์เข้ามาก็สามารถจะสปริงทุกข์ออกไปได้
และได้เสมอที เดียว จนเป็นผู้ที่เป็นทุกข์ไม่เป็น
อยู่เหนือทุกข์ เรียกง่ายๆว่าเป็นคนที่ มีความสุข

ท่านลองดูพระคุณสำคัญ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กล่าวโดยย่อมี 3 ประการ คือ

1. พระปัญญาคุณ

2. พระกรุณาคุณ คือพระคุณธรรมต่างๆ ยกพระกรุณาขึ้นมาเป็นตัวนำ

3. พระบริสุทธิคุณ คือสภาพที่พระทัยของพระองค์ปราศจากกิเลส
เครื่องเศร้าหมอง เครื่องหมักดอง มีอิสรภาพทางพระทัยเต็มเปี่ยมบริบูรณ์
จึงเป็นผู้มีความสุขไร้ทุกข์ ไม่มีทุกข์ใดๆบีบคั้นพระทัยได้

พระคุณทั้ง 3 นี้ ถ้ากล่าวอย่างสามัญก็คือ ปัญญาความรู้จริง
คุณธรรม ความดีงาม และความสุข ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ชีวิตที่ประกอบด้วยองค์ธรรมทั้ง 3 ประการดังกล่าวนี้
เป็นชีวิตที่ไร้ปัญหา เมื่อ ไม่มีปัญหาก็ไม่มีความทุกข์เข้ามาครอบงำ
หรือแม้จะมีปัญหาบ้าง ก็มักจะแก้ปัญหานั้นได้ด้วยปัญญาและคุณธรรม
อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยเจ้าทั้งหลายได้แก้มาแล้ว
มีชีวิตที่สงบสุขให้ดูเป็นตัวอย่าง


แม้เพียงพระโสดาบันก็อยู่เหนือทุกข์เป็นอันมากแล้ว
คือมีความทุกข์น้อยที่สุด คือมีความทุกข์อยู่ แต่มีความทุกข์น้อย
พระพุทธเจ้าทรงเปรียบว่า เหมือนกับเอาใบหญ้าจุ่มลงในสระใหญ่
แล้วก็ดึงขึ้นมา หยาดน้ำที่ติดอยู่กับใบหญ้า นั้นแหละ คือทุกข์ของโสดาบัน
แล้วก็เปรียบทุกข์ของปุถุชนทั้งหลาย เหมือนกับ น้ำในสระใหญ่


เห็นได้ว่าบุคคลที่มีชีวิตซึ่งประกอบด้วยคุณเช่นนี้ มีชีวิตที่มีทุกข์น้อย
นี่ขนาดพระโสดาบัน ซึ่งเป็นอริยบุคคลขั้นต้น
ถ้าเป็นพระอริยะระดับสูงขึ้นไป จะมีความสุขมากแค่ไหน
จะมีความทุกข์น้อย แค่ไหน คือจะไม่มีทุกข์เลย


ปัญญาในทางธรรมเมื่อเกิดขึ้นก็จะกำจัดอวิชชาให้ดับไป



จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะถูกอวิชชาห่อหุ้มเอาไว้
สิ่งใด เกิดขึ้นกับจิต อวิชชาก็จัดการกับสิ่งนั้นแทนปัญญา
เรียกว่าจัดการไปทำไป ทำไปด้วยความโง่เขลาตามอำนาจของอวิชชานั่นเอง


แต่เนื่องจากจิตตกอยู่ภายในอำนาจของอวิชชาสวะ เป็นจิตเขลา
จึงไม่รู้ว่าทำไปด้วยความเขลา เข้าใจผิดว่าทำไปด้วยความฉลาด

อวิชชา เห็นตัวเองซึ่งเป็นความมืดว่าเป็นความสว่างนี่สำคัญ
ขอให้จำไว้เหมือนคนโง่ สำคัญว่าตนเองฉลาด
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าบรมโง่ ถ้าคนฉลาดสำคัญตนว่าเป็นคนโง่ก็ยังดีกว่า
เห็นคำเตือนของคนฉลาดเห็นความโง่เขลา
ไม่ยอมทำตามและยังเย้ยหยันเสียอีก


เพื่อความหลุดพ้นจากอาสวะดังกล่าวมานี้ อาสวะทั้ง 4
กามาสวะ ทิฏฐาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ผู้ปฏิบัติต้องอาศัย ศีล สมาธิ และปัญญา


จิตที่ปัญญาอบรมดีแล้ว ก็จะหลุดพ้น จากอาสวะทั้งปวง
ดังคำที่ว่า ปญฺ าปริภาวิตํ จิตตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจ ติ
จิตที่ปัญญาอบรมแล้ว ก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง


นี่คือเรื่องของอวิชชาสวะ


ขอทบทวนอีกนิดหนึ่ง


เป็นผู้ที่ละอาสวะทั้งหลาย เช่น กามาสวะ สงบอยู่ หรือว่าสงัดอยู่
เป็นผู้มีศีล ละความทุศีล ห่างไกลจากความเป็นผู้ทุศีล
เป็นสัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิ เป็น ผู้ห่างไกลจากมิจฉาทิฏฐิ
เป็นผู้สิ้นอาสวะ ละอาสวะได้แล้ว ห่างไกลจากอาสวะนั้น


สำหรับเรื่องปวิเวกกถา การชักชวนกันไปในทางสงบสงัด ความเงียบ
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับชีวิตมาก ผมขอจบลงเพียงเท่านี้

ขอความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม มีแด่ท่านทั้งหลายโดยทั่วกัน สวัสดีครับ


ภาคผนวก
พลังแห่งความเงียบ

“ความเงียบ
เป็นแหล่งพลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์
เป็นความลับที่แท้จริง
ของชีวิตทางจิตวิญญาณ”



ภาคผนวก : พลังแห่งความเงียบ


ผมจะคุยกับท่านผู้ฟังในเรื่องพลังแห่งความเงียบ
หรือ The Power of Silence ให้ถือว่าเป็นส่วนผนวกของกถาวัตถุ
ข้อที่ว่าด้วย วิเวก หรือปวิเวกกถา
ชักนำกันสนทนากันให้พอใจในวิเวก ในความเงียบสงัด


เรื่องพลังแห่งความ เงียบ หรือ Power of silence
เนื้อหาส่วนมากเอามาจาก หนังสือ The essence of spiritual philosophy
ของท่านหริทาส เชาธุลี บทที่ 27 ว่าด้วยเรื่อง
the power of silence ในนั้นมี หลายเรื่อง แต่เรื่องนี้น่าสนใจมาก


ท่านพูดถึงความเงียบ เป็นแหล่งพลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์
เป็นความลับที่แท้จริงของชีวิต ทางจิตวิญญาณ หรือ Spiritual living
อยู่ที่การสะสมพลังแห่งความ เงียบ ซึ่งมีลักษณะให้แสงสว่างสร้างสรรค์


สมัยปัจจุบัน คนเราไม่ค่อยตระหนักถึงความสำคัญแห่งความเงียบ
เราชอบอยู่กับความวุ่นวาย แม้เราอยู่คนเดียว
และมีพลังแห่งความเงียบอยู่แล้ว ก็ยังนำเสียงรบกวนติดตัวไปด้วย
เช่น วิทยุติดตัว เป็นต้น


ในคัมภีร์อุปนิษัทได้กล่าวว่า พระเจ้าคือความเงียบ (God is silence)
ทางพุทธศาสนา (อันนี้ผมเติมเองนะครับ)
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สุโข วิเล โก ตุฏฐสฺส
ความวิเวกของผู้พอใจในวิเวกเป็นความสุข


มีเด็กหนุ่ม 4 คนไปแสวงหาครูผู้ยิ่งใหญ่
ให้สั่งสอนความจริงอันยิ่งใหญ่คือ พรหม เมื่อได้พบครูแล้ว
พวกเขาก็ได้ขอให้ครูสอนธรรมชาติอันยิ่งใหญ่คือ พรหม ครูเงียบ
เมื่อเด็กพวกนั้นขอร้องหลายครั้ง ครูเงียบในที่สุด ครูก็ได้พูดขึ้นว่า
ข้าพเจ้าได้ให้คำตอบไปเรียบร้อยแล้ว
ความเงียบอันยิ่งใหญ่ นั่นแหละคือพระเจ้า God is the great silence
เธอจะรู้จักพระเจ้าก็ด้วย การเข้าถึงความเงียบอันยิ่งใหญ่


ท่านจะพบความจริงข้อ หนึ่งว่า นักคิดผู้ยิ่งใหญ่
และผู้ทำงานเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ของมวลชน
ล้วนแต่เป็นผู้พอใจในความเงียบ
ตัวอย่างที่เห็นท่านหนึ่งคือ มหาตมะคานธี


ท่านมหาตมะ คาน ธี วันจันทร์เป็นวันเงียบ อยู่ในที่ประชุมก็ไม่พูด
ถ้าจำเป็นต้องพูด ก็ใช้เขียนเอา ให้เลขาอ่านให้ที่ประชุมฟัง
ความสงบเงียบและความกรุณาในตัวท่านนั้น
ทำให้ท่านมีเสน่ห์ในตัวมาก ใครเข้าใกล้ก็ต้องรัก
จนถึงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งเมื่อส่งใครมาปกครองอินเดีย
ต้องสั่งไว้ว่าถ้าไม่อยากรักคานธี ก็อย่าไปเข้าใกล้ท่าน
ทั้งๆที่รูปร่างท่านก็ไม่ได้สวยงาม แต่ประการใดเลย
แต่ความจริงใจความเมตตากรุณาและความสงบเงียบ
ทำให้ท่านคานธี มีเสน่ห์มาก พูดจาไพเราะ
ซึ่งออกมาจากใจที่อ่อนโยนเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูด
คนให้เข้าหาและรักใคร่ ทำให้คนเข้าใกล้รู้สึกชุ่มเย็นและสบายใจ
บุคคลประเภทนี้มีอำนาจดึงดูดคนได้สูง
ที่เรียกในภาษาอังกฤษ ว่า Human magnetism
โดยทั่วไปก็หมายถึงแม่เหล็ก แต่ว่านำมาใช้กับคน

เราทุกคนมีโอกาส

รูปภาพรูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: 3.ความเพียร (วิริยารัมภกถา)

“บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
มีปัญญา มีใจตั้งมั่นคือสมาธิอยู่เสมอ
มีความเพียรเสมอต้นเสมอปลาย
นี่คือวิริยารัมภะ”



ความเพียร


สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพทุกท่าน ทุกวันอังคาร
เวลาประมาณ 2 ทุ่ม เศษๆ ผม-วศิน อินทสระ
จะมาพบกับท่านผู้ฟังในรายการวิเคราะห์ธรรม
ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย


ตอนนี้กำลังคุยกันถึงเรื่อง กถาวัตถุ 10
มาถึงข้อที่ 5 ว่าด้วยเรื่องวิริยารัมภกถา

ความหมายของวิริยารัมภะ

วิริยารัมภะ นี่แปลว่าปรารภความเพียร
แต่ในความหมาย จะหมายถึง ความเพียรสม่ำเสมอ
ความเพียรเสมอต้นเสมอปลาย ความเพียรไม่ย่อท้อ
ความเพียรเป็นไปติดต่อ อันนี้คือวิริยารัมภะ
วิริยารัมภกถา ก็คือชวนกันสนทนาถึงความเพียร
ชักชวนกันให้มีความเพียรไม่เป็นคนเกียจคร้าน


พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนไว้ว่า
ท่านทั้งหลายเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย
เห็นความเพียรเป็นธรรมที่เกษมหรือปลอดภัย
จงเป็นผู้มีความเพียรสม่ำเสมอเถิด
นี่เป็นพุทธานุสาสนี คือการพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า
นี่เป็นข้อความ จากคัมภีร์จริยาปิฎก ขุททกนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม 33



ท่านจะเห็นว่าความเกียจคร้านเป็นภัยอย่างยิ่งทีเดียว
เพราะว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความหายนะหลายประการ
บรรดาสิ่งที่น่ากลัวและควรขับออกไปจากตัวของคนเรา
ก็เห็นจะไม่มีอะไรมากเท่ากับความเกียจคร้าน
สำหรับผู้ที่หวังความเจริญให้แก่ชีวิต


ความเกียจคร้านควรจะเป็นสิ่งแรกที่จะต้องขับให้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้


นักเรียนที่เกียจคร้านไม่เป็นที่ต้องการของครู
ครูที่เกียจคร้านไม่เป็นที่ต้องการของนักเรียน
และก็ไม่เป็นที่ต้องการของโรงเรียน คนงานที่เกียจคร้าน
พ่อแม่ที่เกียจคร้าน ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆทั้งนั้น
และเป็นโจรปล้นเวลาที่สำคัญที่สุด


รวมความว่าความขี้เกียจเป็น ความไม่ดีอย่างยิ่งของตัวคน
เป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นภัย เป็นหายนะที่ควร ขับออกไปจากตัวบุคคล


เมื่อยอมให้ความเกียจคร้านเข้าครอบงำแล้ว
ความเสื่อมต่างๆก็จะคืบคลานเข้ามาในชีวิตของคนอย่างแน่นอน



ส่วนความเพียร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเพียรชอบ คือสัมมาวายามะ
เป็นธรรมที่ เกษม คำว่าเกษมแปลว่าปลอดภัย
เช่น ปลอดภัยจากการถูกติเตียนจากบัณฑิต
ปลอดภัยจากความล่มจม ความเสื่อมเสีย ต่ำทราม
ความเพียรเป็นเกราะเป็นที่พึ่ง ที่ช่วยส่งเสริมยกฐานะของคนต่ำต้อยให้สูงศักดิ์
ยกคนเลวให้ เป็นคนดี หนุนผู้บกพร่องทางสติปัญญาให้สมบูรณ์ขึ้น



ผมขอยกตัวอย่างสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
นักปราชญ์ที่สำคัญของเมืองไทย ได้ทรงนิพนธ์ไว้ มีใจความว่า

“ถ้าเขาเป็นคนมีปัญญาใหญ่ ความเพียรจะช่วยให้เขาดีขึ้น
ถ้าเขามีปัญญาพอสถานประมาณ ความเพียรจะหนุนความบกพร่องของเขา
ถ้ากำลังปัญญาของเขาจำกัดมากนัก ความต้องการอุตสาหะก็มากขึ้น
ปัญญาแต่พอปานกลาง จำต้องขยายออกโดย ความตั้งใจ กล้าหาญ
อุตสาหะไม่หยุดหย่อน คนต่อยุทธ์ (คือคนที่สู้รบกัน)
ร้องว่า กระบี่ของตนสั้นนัก
ควรจะได้คำบอกให้สาวก้าวต่อกระบี่เข้าไป
คือย่างเท้าก้าวไป เพื่อจะเป็นการต่อกระบี่ให้ยาวขึ้น
คือให้ก้าวกระชั้นเข้าไป
ปัญญาที่มีจำกัด ก็เป็นคุณที่ให้เจริญด้วยอุตสาหะทวีคูณ
และมุ่งกระตือรือร้นมากขึ้น”


พระพุทธเจ้าได้ทรงเตือนให้เป็นผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ
ใช้คำเป็นคุณศัพท์ อารัทธวิริโย
เรียกเป็นหัวข้อธรรมว่าวิริยารัมแปลว่าปรารภความเพียร
คือนึกถึงความเพียรจดจ่ออยู่ในการทำความเพียร
ไม่เปิดโอกาสให้ความเกียจคร้านเข้ามาได้
จะทำอะไรก็ทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่จืดจางเร็ว
มีความอดทนในการทำ อดทนรอคอยผล
อย่างสุภาษิตที่ว่า อปิ อตรมานานํ ผลาสา ว สมิชฺฌติ
ความหวังผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ที่รู้จักรอคอย
มีความมั่นใจว่าเมื่อทำดีแล้ว จะต้องมี ผลดี ไม่เป็นคนใจร้อนด่วนได้

ความเพียรที่สม่ำเสมอเช่นนี้ ย่อมจะมีผลจริงและมีผลยั่งยืน
งานที่แท้จริงย่อมไม่ไร้ผล


บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร


อีกข้อหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า
บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
ให้สังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 15


พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้เพราะมีผู้มาถามว่า
บุคคลจะล่วงทุกข์ได้อย่างไร
ก็ตรัสตอบว่า บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ตัวอย่างเช่น


ความทุกข์เพราะความยากจน ก็ล่วงพ้นได้ด้วยความเพียรในการทำงาน
ขยันทำมาหากิน ในทางสุจริต ความทุกข์เพราะความโง่เขลา
ล่วงพ้นได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษาเล่าเรียน
แสวงหาวิชาความรู้อยู่เสมอ ให้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ
ไม่รู้จักหยุดในการแสวงหาความรู้นั้น ผู้มีปัญญาหรือบัณฑิต
รู้สึกตนเสมือนว่าจะไม่แก่ไม่ตาย ในการรีบทำความดี
บัณฑิตจะ รู้สึกตนเสมือนว่าจะมีชีวิตอยู่อีกเพียงวันเดียว คือรีบทำ
ตามพระพุทธ โอวาทที่ว่า ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ทีเดียว
ใครจะรู้ได้ว่าความตายจะมา ถึงในวันพรุ่งนี้หรือไม่
อันนี้จากข้อความในภัทเทกรัตตสูตร


พูดถึงเรื่อง ความทุกข์เพราะถูกกิเลสเบียดเบียน
เราสามารถจะล่วงพ้นได้ ก็ด้วยรู้จักควบคุมตนเอง
และรู้จักอดกลั้น ซึ่งเป็นตบะธรรม ตบะแปลว่า เผา
เผากิเลส คือธรรมดาคนเราถูกกิเลสเผาแทบทุกวัน ก็เผากิเลสเสียบ้าง
คือความเพียรเครื่องเผากิเลสให้เหือดแห้ง
ความทุกข์ในสังสารวัฏบุคคล จะล่วงพ้นเสียได้
ก็ด้วยความเพียรในการปฏิบัติธรรม


บุคคลผู้มีความเพียร ย่อมจะรู้แจ้งด้วยตนเองว่า
ตนได้ล่วงพ้นความทุกข์นั้นๆ มาด้วยความเพียรอย่างไร
พระพุทธเจ้ายังตรัสสอนอีกว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญา
มีใจตั้งมั่นคือสมาธิอยู่เสมอ มีความเพียรเสมอต้นเสมอปลาย
นี่ก็คือวิริยารัมภะ บากบั่นอย่างไม่คิดอาลัยในชีวิต
ย่อมจะสามารถข้ามโอฆะที่ข้ามได้โดยยากเสียที


คำว่าบากบั่นอย่างไม่คิดอาลัยในชีวิตนี้
แปลมาจากคำบาลีว่า ปหิตัสโต แปลตามตัวว่า มีตนส่งไปแล้ว
นักเรียนบาลีก็แปลอย่างนี้
แต่โดยใจความก็คือ ทำความเพียรแบบมอบกายมอบชีวิต
ไม่เห็นแก่ชีวิต ถึงจะต้องตายเพราะการทำความเพียร
เพื่อบรรลุจุดประสงค์นั้นๆก็ยอม


อย่างเช่นองค์พระพุทธเจ้าของเรา
เมื่อทรงทำความเพียรเพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้ทรงตั้ง จตุรงคมหาปธาน
แปลว่าความเพียรซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 ว่า
เลือดและเนื้อใน สรีระของเราจะเหือดแห้งไป
เหลือแต่เอ็นและกระดูกก็ช่างเถิด
ถ้ายังไม่ บรรลุผลที่ต้องการ คือพระสัพพัญญุตญาณ
จะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด


อย่างนี้เรียกว่าทรงทำความเพียรแบบมอบกายมอบชีวิต
ไม่ทรงอาลัยในชีวิต ในที่สุด พระองค์ก็ได้บรรลุผลสมความมุ่งหมาย
คือได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผลแก่โลกมาจนถึงทุกวันนี้


ในกาลต่อมา พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงเตือนพุทธบริษัทให้มั่นในความเพียรว่า
ผู้ใด เกียจคร้าน มีความเพียรเลว คือความเพียรต่ำ
มีชีวิตอยู่ร้อยปี ชีวิตของผู้นั้นก็ไม่ประเสริฐ
ส่วนผู้ที่มีความเพียรสม่ำเสมอ แม้ชีวิตจะอยู่เพียงวันเดียว ก็ยังประเสริฐกว่า
หมายความว่าใช้ชีวิตอยู่วันเดียวของผู้มีความเพียร
ดีกว่า มีชีวิตอยู่ร้อยปี แต่ยังเกียจคร้าน
ผลาญทรัพยากรของสังคมหมดไป เปล่าๆ แก่ไปเปล่าๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไร


เพราะคนเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ทำความดี ไม่ทำความเพียร
ไม่ทำประโยชน์ ก็ผลาญทรัพยากรของ สังคมให้สิ้นไป
พวกนี้มักจะกินมากด้วย เพราะขี้เกียจ
เมื่อขี้เกียจก็ใช้ เวลาในการกินการเที่ยวเปลืองมาก


คนที่มีความเพียรมาก ขยันมาก เวลาก็หมดไปกับการงาน
การทำอะไรต่ออะไร ไม่ค่อยจะมีเวลาที่จะผลาญทรัพย์สินอะไรเท่าไหร่


เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้มีความเพียร ก็เรียกว่าเป็นผู้มีชีวิตไม่เสียเปล่า
ส่วนผู้ที่มีชีวิตอย่างเกียจคร้าน ก็ทำตนให้เป็นหมัน
เป็นภาระหนักแก่คนอื่น อยู่เปลืองข้าวสุก เปลืองเสื้อผ้า
ยาแก้โรคของสังคม ผู้สิ้นความเพียรก็ควรจะ สิ้นชีิวิตเสียเลย
หรือสิ้นชีวิตเสียยังดีกว่าอยู่อย่างผู้สิ้นความเพียร
รวมความว่า การตายดีกว่าการมีชีวิตอยู่อย่างเกียจคร้าน


บางคนก็มีความเพียรบ้างเหมือนกัน แต่ว่าความเพียรเลวเต็มที่
เพียรน้อย เพียรย่อหย่อน พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า หินวิริโย
คือมีความเพียรหย่อน ความเพียรต่ำ ความเพียรแบบไฟไหม้ฟาง
ลุกขึ้นวูบหนึ่งแล้วก็ดับไป พบอุปสรรคเข้าก็ท้อถอยง่าย
เหมือนไฟเชื้ออ่อน ถูกลมพัดนิดหน่อยก็ดับแล้ว

ความเพียรที่ทรงสรรเสริญนั้น ต้องเป็นความเพียรที่มั่นคง
ถึงจะพบอุปสรรคบ้างก็ ไม่ท้อถอย เห็นอุปสรรคเป็นกำลังใจ
อุปสรรคเป็นยากำลัง เป็นเครื่องทดสอบกำลังใจ
ทดสอบความเพียรของคน

เมื่อเห็นว่ามีอุปสรรค ไม่ท้อถอย
เมื่อเห็นว่าทิศทางนี้เป็นทางที่ถูกต้องแล้ว ก็บากบั่นอย่างมั่นคง


รูปภาพรูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระพุทธเจ้าทรงชักชวนพุทธบริษัทให้เห็นคุณของความเพียรไม่ถอยหลัง
อย่างที่ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า


ภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญธรรม 2 อย่าง
ความไม่ท้อถอยในความเพียร 1 อปฺปปฏิวาณิ ตา ปธานสมิ
และความไม่สันโดษในกุศลธรรม 1 อสนฺตุฏฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ


เราได้เคยตั้งความเพียรอันไม่ท้อถอยมาแล้วว่า
เลือดเนื้อในร่างกายเราจะเหือดแห้งไป เหลือแต่เอ็นและกระดูกก็ตามที
ถ้ายังไม่บรรลุสิ่งที่บุคคลพึงบรรลุ ได้ด้วยเรี่ยวแรงกำลังแล้ว
เราจะไม่หยุดความเพียรเป็นอันขาด


ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็จงตั้งความเพียรอันไม่ถอยกลับเช่นนั้นเถิด
เพื่อบรรลุธรรมอันประเสริฐ ที่กุลบุตรผู้ออกบวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์มุ่งหมาย

พระพุทธเจ้าท่านเตือนภิกษุ แต่ฆราวาสก็ใช้ได้
หมายถึงฆราวาสด้วย ผมเคยพูด ว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถึงภิกษุทั้งหลาย หมายถึงผู้ปฏิบัติธรรม



ภิกษุผู้คลายความเพียร

ในสมัยพระพุทธเจ้า มีภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่ง
เรียนกัมมัฏฐานในสำนัก พระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไปทำความเพียรอยู่ในป่าถึง 3 เดือน
ก็ไม่สามารถจะให้ บรรลุผลใดๆได้ พอไม่บรรลุผลแล้ว ก็กลับมา
คิดว่าในบรรดาบุคคล 4 จำพวกเราคง เป็นปทปรมะบุคคล
คือเป็นพวกที่อาภัพในศาสนา ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลได้
อยู่ป่าต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ เราควรจะกลับไปอยู่ในเมือง
ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะ ของพระพุทธเจ้าดีกว่า
คิดอย่างนี้แล้วก็กลับมาที่วัดเชตวัน เล่าเรื่องนั้น ให้ภิกษุพรหมจารี
หรือผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันทราบ


ภิกษุทั้งหลาย ก็ได้นำเธอไปยังสำนักของพระศาสดา
กราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบว่า ภิกษุรูปนี้เป็นผู้คลายความเพียรเสียแล้ว


พระพุทธเจ้าตรัสว่า เธอบวชในศาสนาของเรา ผู้สรรเสริญความเพียร
ไฉนจึงเป็นผู้คลายความเพียรเสียเล่า เธอไม่ควรทำตนให้คนทั้งหลายรู้จัก
ว่าเป็นผู้คลายความเพียร
แต่ควรทำตนให้เขารู้จักในฐานะเป็นผู้มีความเพียรสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย
ครั้งก่อนเธอเป็นผู้มีความเพียรมาอย่างดีแล้ว
คนจำนวนมากได้อาศัย ความเพียรของเธอแต่ผู้เดียว
ได้ดื่มน้ำในทะเลทรายที่กันดาร คนเหล่านั้นก็ ได้รับความสุข
เพราะความเพียรไม่ท้อถอยของเธอ


พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ตรัสเพื่อจะเร้าใจให้มีความเพียรและทรงตรัส
เล่าเรื่องในอดีตของภิกษุรูปนั้น มีใจความสำคัญดังนี้


ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียนในกรุงพาราณสี
เที่ยวค้าขาย ด้วยเกวียน 500 เล่ม
ส่วนมากก็จะเป็นสำนวนคือจำนวนร้อย ท่านก็จะใส่ ว่า 500 ลงไป


มาถึงทะเลทรายกันดารแห่งหนึ่ง ระยะทางกันดารยาวถึง 60 โยชน์
(เท่าที่ทราบ 1 โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร)


ทะเลทรายนี้ ทรายละเอียดอ่อน ขนาดว่ากำแล้วไม่ติดอยู่ในมือเลย
ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นร้อนเหมือนกองเพลิง
เพราะฉะนั้น พวกพ่อค้าเกวียนพวกนี้จึงบรรทุกเสบียงอาหาร
เช่นฟืน น้ำ น้ำมัน ข้าวสาร เป็นต้น เดินทางเฉพาะกลางคืนเท่า นั้น


แม้ในสมัยปัจจุบันนี้ ที่อินเดีย
พ่อค้าเกวียนก็นิยมเดินทางกลางคืนเหมือนกัน กลางวันร้อน


พอรุ่งอรุณก็จะทำปะรำ หยุดพัก พอตกเย็นบริโภคอาหารเย็นแล้ว
แผ่นดินแผ่นทรายค่อยๆเย็นลง แล้วก็ชวนกันเดินทางต่อไป


พระโพธิสัตว์ ก็คือพระพุทธเจ้าของเราในอดีต
ขณะที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่ พระโพธิสัตว์ในเวลานั้น ก็เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน
เดินทางผ่านทางกันดารในทะเล ทราย เดินทางไปได้ 59 โยชน์แล้ว
เหลืออีกราตรีเดียวก็จะพ้นทางกันดาร
ถึงได้สั่งให้บริวารเทน้ำหรือสิ่งที่ไม่จำเป็นเสีย เพื่อจะให้เกวียนเบาลง


พ่อค้าเกวียนก็นั่งอยู่ที่เกวียนคันหน้า คอยดูดวงดาวและบอกทางว่า
จะหันเกวียน ไปทางนี้ ขับเกวียนไปทางนั้น ไม่ได้นอนหลับเป็นเวลานาน
รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย จึงหลับไป


พอคนคอยบอกทางหลับไปแล้ว โคที่ลาก เกวียนก็ได้เวียนกลับมาทางเดิม
พอรุ่งเช้าก็ถึงที่ที่พวกเขาออกเดินทางมา เมื่อวันวาน
เกวียนได้เวียนกลับมาที่เดิม


ตัวผมเอง-ผู้ บรรยาย-ก็เคยเดินทางทางเรือ
และโดนพายุหนักในทะเลสาบ ทั้งคืนเลย ไม่ทราบว่า เรือไปไหนบ้าง
มันมืดมิดไปหมด พอสว่างขึ้นก็ได้เห็นว่าเรือห่างจากที่ออก เดินทางนิดเดียว


คนนำทางก็ตื่นขึ้นเวลารุ่งเช้า บอกให้ ชาวเกวียนกลับเกวียน
แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเสียแล้ว พ่อค้าเกวียนเสียใจมาก
เมื่อรู้ว่าพวกตนเดินทางทั้งคืนมาหยุดอยู่ที่เดิม


ก็บ่นกันอู้ไปหมดว่า น้ำของพวกเราก็หมดแล้ว
พวกเราพากันวอดวายในคราวนี้อย่างแน่นอน
แล้วก็พากันนอนอยู่ใต้เกวียนของตนๆ


พระโพธิสัตว์ไม่ยอมงอมืองอเท้า เป็นผู้ที่มีความเพียร
เที่ยวเดินตรวจตรา พื้นที่บริเวณนั้น ได้เห็นกอหญ้าแพรกกอหนึ่ง
ก็เกิดความคิดขึ้นว่า เมื่อมี หญ้าอย่างนี้ น่าจะมีน้ำอยู่ข้างใต้แน่นอน
ให้บริวารช่วยกันขุดลึกลงไป ถึง 60 ศอก ก็ไม่พบน้ำเลย
ได้เจอแต่หินแผ่นหนึ่ง พ่อค้าเกวียนทั้งหมดก็หมด สิ้นความพยายาม
พากันนอนรอความตายอยู่


พระโพธิสัตว์คิดว่า ภายใต้แผ่นหินน่าจะมีน้ำก็ได้ จึงกระโดดลงไป
เงี่ยหูฟัง ได้ยินเสียงน้ำ ไหล จึงกระโดดขึ้นมาแล้วบอกคนใช้ของตนว่า
เมื่อเจ้าจะละความพยายามเสียแล้ว พวกเราจะพากันฉิบหายหมด
เจ้าจงเอาฆ้อนเหล็กตอกแผ่นหินให้แตก
คนใช้ได้ทำตามคำสั่งของพระโพธิสัตว์ แผ่นหินแตกเป็น 2 ซีก
กันกระแสน้ำไว้สองข้าง เกลียวน้ำพุ่งขึ้นสูงเท่าลำตาล
พ่อค้าทั้งหมดได้ดื่มได้อาบตามประสงค์


นี่เป็นเรื่องในอดีต พระพุทธเจ้าได้ทรงนำเรื่องนี้มาเล่า
จบแล้วตรัสต่อไป ว่า คนผู้ไม่เกียจคร้านทั้งหลาย
ช่วยกันขุดแผ่นดินอยู่กลางทะเลทราย
ได้น้ำในทะเลทรายอันเป็นที่ดอนฉันใด
มุนีคือผู้ที่มีความรู้ มีความสงบ ผู้ไม่เกียจคร้าน ฉันนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งความเพียร
จึงจะได้ประสบความสงบแห่งใจ


พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ทรงประกาศ อริยสัจ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
เทศน์ต่อให้ภิกษุรูปนั้นได้ฟัง ภิกษุ รูปนั้นได้รับอุปถัมภ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว
ประคองความเพียร เจริญ วิปัสสนา
ปรากฏว่าได้บรรลุอรหัตผล ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ต้องการ



พระ พุทธเจ้าตรัสเล่าให้ฟังว่า แม้ท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์
ยังได้กล่าวกับ สุวีระเทพบุตร ผู้เป็นลูกน้องว่า
บุคคลเกียจคร้าน ไม่ใช่ความเพียรพยายามเลย ประสบความสุข ณ ที่ใด
เจ้าจงไป ณ ที่นั้น แล้วก็มาพาเราไปด้วย


คำของท้าวสักกะนี้ กล่าวเยาะเย้ยสุวีระเทพบุตร
ผู้เกียจคร้าน ไม่กล้าหาญ ไม่ทำกิจที่ควรทำ


แปลความตามพระดำรัสของท้าวสักกะว่า
ในโลกนี้จะหาที่ไหนไม่ได้เลย ที่คนที่จะประสบความสุข
โดยการอยู่อย่างเกียจคร้าน ไร้ความพยายาม


พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องนี้ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วทรงสรุปว่า
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพชั้นดาวดึงส์เสวยผลบุญของตน
ครองความเป็นใหญ่กว่าเทพ ทั้งหลายชั้นดาวดึงส์
ยังสรรเสริญความเพียรพยายามถึงขนาดนี้ จะเป็นความงามหาน้อยไม่
ถ้าพวกเธอผู้บวชในธรรมวินัยนี้ หรือพุทธบริษัทก็ตาม
พึงเป็นผู้ขยันลุกขึ้น มีความเพียรพยายามบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่แจ้ง หรือเพื่อได้บรรลุสิ่งที่ประสงค์
คือ คนเรานี่ ประสงค์สิ่งใด
ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามพึ่งตนเอง ใช้ความเพียรให้มาก



พระมหาชนก

เรื่อง พระมหาชนก ที่ท่านเล่าไว้ในคัมภีร์ชาดก
ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่มีความ เพียรพยายาม
คือท่านถือเอาความเพียรเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ
แม้ว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นฝั่งเลย
เมื่อยังมีกำลังอยู่ ก็ต้องว่ายต่อไป คนอื่นๆก็ พากันยอมตาย
โดยมิได้ทันพยายาม เพราะท้อถอยเสียก่อนว่า
พยายามไปก็คงไร้ผล มหาสมุทรกว้างใหญ่ไพศาล จะว่ายพ้นหรือ
แต่ท่านมหาชนกยังคงว่ายต่อไป เท่าที่กำลังของท่านมีอยู่

ท่านถือคติว่า เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าจะสำเร็จผลที่มุ่งหมาย

ในตำนานเล่าว่า นางเมขลา เทพธิดาประจำสมุทร มาช่วยนำขึ้นฝั่งได้
ต่อมาได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองๆหนึ่ง


ผมคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเราเชื่อตามนี้ทั้งหมดก็แล้วไปไม่เป็นไร
ถ้าเราไม่เชื่อตามนี้ แต่เชื่อว่า
ท่านเล่าไว้เพื่อเป็นตัวอย่างของผู้มีความเพียร ก็อาจจะ ถอดความได้ว่า

มหาสมุทรนั้น เปรียบด้วยสังสารวัฏ
หรือ เปรียบด้วยทะเลแห่งความหวัง หรืออะไรก็แล้วแต่
พระมหาชนกก็คือบุคคลผู้มี ความเพียร การว่ายคือความเพียร
เมขลาคือเทพธิดาแห่งความสำเร็จ กล่าวให้สั้นลงก็คือความสำเร็จนั่นเอง
การได้ครองราชย์ก็คือการได้บรรลุถึงฝั่งของความสำเร็จ

เมื่อบุคคลมีความพยายามจริง ความสำเร็จก็ย่อมจะปรากฏให้เห็น
เหมือนเมขลาปรากฏให้พระมหาชนกเห็นและช่วยให้สำเร็จ

คนที่ท้อถอยเสียตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มพยายาม
ไม่มีทางประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ได้
เหมือนคนที่ยอมตายในมหาสมุทร ยังไม่ทันได้ลองว่ายน้ำเลย


คุณของความเพียรชอบ
ในหมวดธรรมที่ว่าด้วยบาทแห่งความสำเร็จ เรียกว่าอิทธิบาท
ท่านแสดงวิริยะ ความเพียรไว้ข้อหนึ่งด้วยเป็นข้อที่ขาดไม่ได้

คุณของความพยายามชอบอีกอย่างหนึ่ง
ก็คือช่วยทำลายความทุกข์ ความวิตกหมกมุ่นให้ หมดไป ไม่มีเวลาสำหรับทุกข์
เพราะต้องทำความเพียรพยายาม
ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา จนไม่มีเวลาว่างสำหรับทุกข์


ยอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
นักแต่งบทละครผู้มีชื่อเสียงโด่งดังชาวไอริช ได้กล่าวไว้ว่า

“เวลาว่างท่านมักจะปล่อยให้ความคิดมารบกวนใจท่าน
ท่านมีความสุขดีอยู่หรือ นั่นแหละคือสาเหตุแห่งความทุกข์”


ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังรุนแรงอยู่ วินสตัน เชอร์ชิล
นายกรัฐมนตรี อังกฤษ ผู้มีนามอุโฆษ ต้องทำงานวันละ 18 ชั่วโมง
มีคนถามท่านว่า รู้สึกหนัก ใจไหมในความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่นั้น
ท่านเชอร์ชิลตอบว่า

“ฉันมีภาระมากเลย จนฉันไม่มีเวลาสำหรับทุกข์”

I am too busy, I have no time for worry.

เพราะฉะนั้น คนที่อยู่ว่าง ไม่ทำอะไรให้เป็นประโยชน์
ก็มักจะต้องตกเป็นทาสของความวิตกหมกมุ่น ทุกข์ร้อน
ส่วนนักทำงาน นักค้นคว้า เวลาต้องหมดไปกับการหาความรู้
และหาความจริงใหม่ๆ โรควิตกกังวลไม่อาจจะกล้ำกรายมาในชีวิตของท่านได้
เพราะไม่มีเวลาพอจะคิดอะไรอย่างฟุ่มเฟือย
แม้แต่งานของท่านก็ไม่มีเวลา จะจ่ายให้พออยู่แล้ว


ทำไมการทำงาน การทำความเพียรชอบ อย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงสามารถจะทำลายความวิตกกังวลเสียได้ คำตอบก็คือ

ธรรมชาติ ของจิตใจของคนเรา มีกฎอันแน่นอนตายตัวอยู่อย่างหนึ่ง
ก็คือว่าไม่อาจจะคิดอะไรได้คราวละ 2 อย่าง
ไม่อาจมีอารมณ์ 2 อารมณ์ในขณะเดียวได้
มันต้องเกิด ขึ้นทีละอย่าง จิตไม่อาจจะคิดสิ่ง 2 สิ่งในขณะจิตเดียว

เมื่อเป็นอย่างนี้ ขณะที่เราคิดเรื่องงาน
ทำงานอย่างเอาใจใส่จดจ่ออยู่ อารมณ์ อย่างอื่นก็ไม่สามารถจะเข้ามาได้
ความทุกข์ความกังวล หนี้สินต่างๆก็ไม่มารบกวนเรา
ขณะที่เราทำงานจิตใจจดจ่อ

การทำงานด้วย วิริยะอุตสาหะจึงมีอุบายที่ดี
ที่จะขับไล่อารมณ์ร้ายออกไป หรือไล่ความทุกข์
ร้อนออกไปจากใจของเราเมื่อนานเข้า จิตก็ได้พลังเพิ่มมากขึ้นๆ
จนบุคคลผู้ นั้นเป็นผู้ทุกข์ไม่เป็น ไม่มีเวลาสำหรับทุกข์
หรือความทุกข์เข้ามาก็สปริงออกไป เป็นคนทุกข์ไม่เป็น
หรือเป็นคนทุกข์ยาก เป็นสุขง่าย

การงานที่ไม่มีโทษ คือสัมมาวายามะ หรือความเพียรชอบ
จึงเป็นยารักษาโรคชนิด หนึ่ง ซึ่งเรียกในภาษาทางจิตแพทย์ว่า
occupational therapy การรักษาโรค ด้วยวิธีทำงาน
นายแพทย์ชาวกรีก สมัยก่อนพระเยซูกำเนิด ถึง 500 ปี
ได้เคยใช้วิธีนี้รักษาคนป่วย ซึ่งเป็นโรคทางจิตมาแล้ว
และแม้ในสมัยปัจจุบันนี้ วิธีการนี้ก็เป็นที่นิยมของแพทย์ทั่วไป
ในการรักษาคนป่วยที่เป็นโรควิตกกังวล



ตบะ คือความเพียร

มีอีกคำหนึ่งที่ใช้แทนคำว่า ความเพียร หรือมีความหมายเท่ากับความเพียร
คือคำว่าตบะ ตบะคือความเพียร ท่านแปลว่าความเพียรสำหรับเผาบาป
เช่นมักจะพูดถึง ฤาษีว่าเป็นผู้มีตบะกล้า คือมีความเพียรในการเผาบาปแรงกล้า


ความเพียรคือตบะ ผู้ใดมีมาก มีอยู่อย่างสม่ำเสมอก็ย่อมจะทำให้ท่านผู้นั้น
มีเรี่ยวแรงกำลัง ในการทำกิจต่างๆ ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
มีความพอใจที่จะทำก่อน คือมีฉันทะแล้วก็ลงมือทำ
เมื่อทำไปๆก็เกิดรสในการทำ และทำได้สำเร็จ


การทำสำเร็จจะเป็นกำลังใจ เป็นแรงบันดาลใจให้ทำยิ่งขึ้นไป
และทำสำเร็จมากขึ้น ความสำเร็จผลตามที่ต้องการนี่เอง
เป็นการบรรลุถึงความสามัคคีในสิ่งที่ทำ
และสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยปัญญาและความเพียร


ตบะนี้จะเป็นสิ่งที่ทำลายบาป หรือเผาผลาญบาปอกุศลกรรม
กิเลสเมื่อเกิดขึ้นในใจ แล้วก็เผาใจให้เร่าร้อน
เหมือนไฟที่เกิดที่ฟืนหรือหญ้า ก็จะเผาไม้หรือหญ้า นั้นให้ร้อน


ตบะสามารถเผากิเลสให้วอดวายไป
ธรรมดาใจเรา จะถูกกิเลสเผาอยู่ให้ร้อน
อาศัยตบะคือความเพียรเผากิเลสให้วอดวาย ใจของเรา ก็จะสงบเยือกเย็น
เพราะว่าสิ้นสิ่งที่เผาใจให้ร้อน



ตามความเป็นจริง กุศลธรรมหรือบุญกุศลทั้งปวงเป็นตบะทั้งนั้น
สำหรับผู้ที่มีความเพียรเพื่อการทำงานที่เป็นหน้าที่
หรือมีความเพียรเพื่อเผากิเลสก็ตาม ขอให้มีความตั้งใจให้มั่นคง
บากบั่นพยายามให้เป็นไปติดต่อสม่ำเสมอ
นี่คือความหมายที่แท้ของ วิริยารัมภะ
เป็นเหมือนเข็มทิศที่ชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ
พยายามยกจิตให้อยู่เหนือความเกียจคร้าน เหนือความชั่ว
ที่เป็นเหตุนำ ทุกข์มาให้ภายหลัง
ทำการอย่างสงบ หนักแน่น เหมือนรากไม้งัดภูเขา
อย่ากลัว ความไม่สำเร็จ ขอให้ทำ
จะสำเร็จหรือไม่สำเร็จเป็นเรื่องที่บัณฑิต
จะต้องพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมในภายหลัง


ผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้ บ้านเรือนของท่านก็จะเป็นเหมือนป่า
สำหรับบำเพ็ญตบะแม้จะอยู่ในเรือนยังครองเรือน
บ้านเรือนก็จะเป็นเสมือนป่าสำหรับบำเพ็ญตบะ
เพราะมีความเพียรที่จะเผาบาปอยู่เสมอ



สัมมาวายามะ

ผมจะพูดถึงความเพียรอีกอย่างหนึ่ง ที่กล่าวถึงในสัมมาวายามะ
ที่เป็นหนึ่งใน มรรคมีองค์ 8 ซึ่งปรากฏใน มรรควิภังคสูตร
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงบทขยายสัมมา วายามะไว้ 4 อย่าง คือ

1. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

2. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

3. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้ดำรงอยู่
และให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

รวมความว่า พระพุทธเจ้าทรงหนุนให้ระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น
เพียรละความชั่ว ที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรให้ความดีเกิดขึ้น
เพียรรักษาความดีให้คงอยู่ และ เจริญยิ่งๆขึ้นไป


ผมขอขยายความแต่ละข้อเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น


ประการที่ 1 สังวรปธาน

ขอพูดว่า บาปอกุศลหรือความชั่ว ความทุจริต จะกล่าวถึงส่วนภายใน
คือสิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง
ความริษยา ความพยาบาท เป็นต้น


สิ่งเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจ หรือเกิดขึ้นกับจิต
ก็จะทำให้จิตเศร้าหมอง เสียปกติภาพของตนไป
เพราะปกติภาพของจิตจะสะอาดผ่องแผ้ว เรียกว่าเป็น ประภัสสร
กล่าวโดยโทษที่ตามมาภายหลัง บาปอกุศลจะให้ผลเป็นความทุกข์
ความเดือดร้อนแก่ผู้กระทำเอง เป็นสภาพเผาให้ร้อน


นอกจากนั้น ผู้ร่วมในการกระทำ
ก็จะให้ผลเป็นความเศร้าหมองแก่จิตทุกครั้ง ที่บาปอกุศลเกิดขึ้น
เมื่อระลึกถึงบาปอกุศลที่ตนทำในภายหลัง จิตก็จะเศร้าหมอง
อีกทุกครั้งที่ระลึกถึง เป็นความทุกข์ที่ยืดเยื้อเรื้อรังตลอดชีวิต


ตรงกันข้ามกับบุญกุศล ซึ่งโดยสภาพแล้ว ช่วยชำระดวงจิตให้ผ่องแผ้ว
ต่อมาภายหลัง เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมครั้งใด ก็มีความสุขใจ
เป็นความสุขที่ยืดเยื้อไป ตลอดชีวิตเหมือนกัน


บาปอกุศล นอกจากจะให้ความเศร้าหมอง แก่ดวงจิตแล้ว
ยังทำให้ชื่อเสียงวงศ์สกุลเศร้าหมองอีกด้วย
คนใกล้ชิดเช่นลูกเมียเพื่อนฝูงก็พลอยเศร้าหมองไปด้วย
ว่าเป็นลูกเมียเพื่อนฝูงของคนบาป
ใครยกย่องก็พลอยเศร้าหมองไปถึงผู้ยกย่อง
บาปอกุศลเป็นสิ่งที่ให้ความเศร้าหมองอย่างนี้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ระวังอย่าให้เกิดขึ้น


รูปภาพรูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิธีระวังทำอย่างไร วิธีป้องกันบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

คนเราควรมีวิธีระวัง เหมือนเจ้าของบ้านระวังโจรไม่ให้เข้าบ้าน
ด้วยอาวุธหรือเครื่องมือ เช่น มีด พร้า
ในที่นี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงสังวร ไว้ 5 อย่าง
ปรากฏใน ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 9

1. ปาติโมกขสังวร

ระวังกีดกันบาป ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรมทางศาสนา
เคารพในจารีตประเพณี ที่ดีงาม เคารพกฎหมายบ้านเมือง
เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้หลักผู้ใหญ่
ผู้มีประสบการณ์ในเรื่องบาปบุญคุณโทษมามาก อันนี้เรียกว่า ปาติโมกขสังวร



2. อินทรียสังวร

ระวังกีดกันบาป ด้วยความมีสติ ระวังทวารทั้ง 6
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้ เกิดความกำหนัดพอใจ
หรือโทมนัสเสียใจ ในเมื่อได้เห็นรูป ฟังเสียง ดม กลิ่น ลิ้มรส
ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้อารมณ์ พยายามรักษาใจให้เป็นกลางไว้ด้วย สติ รู้เท่าทัน
ไม่เผลอสตินี้เรียกว่าสติสังวร สำรวมด้วยสติ
หรืออินทรีย สังวร หมายถึงการสำรวมอินทรีย์ 6



การสำรวมอินทรีย์มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรมมาก

ถามว่าอะไรเป็นอุปนิสัยของอินทรียสังวร
ตอบว่า หิริโอต ตัปปะ คือความ ละอาย ความเกรงกลัวต่อบาปอกุศล
เกรงกลัวต่อผลของบาปอกุศล ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์
อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 23 ตรัสไว้ดัง นี้

เปรียบด้วยต้นไม้ เมื่อกิ่งและใบวิบัติแล้ว กะเทาะก็ไม่ถึงความบริบูรณ์
เมื่อกะเทาะไม่บริบูรณ์ เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ ดี ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด


เมื่อหิริโอตตัปปะไม่ มี อินทรียสังวรก็ไม่มี ฉันนั้น
เมื่อหิริโอตตัปปะไม่มี ธรรมที่เป็น เครื่องอาศัยของอินทรียสังวรก็วิบัติ
เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลก็ไม่ มี เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิก็ไม่มี
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัส สนะ (หมายถึงปัญญา) ก็ไม่มี
นิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะ ความ คลายกำหนัดก็ไม่มี
วิมุตติก็ไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะก็ไม่มี


เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรก็มี
เมื่ออินทรียสังวรมี ศีลก็มี เมื่อศีลมี สัมมาสมาธิก็มี


อินทรียสังวรนี้ ท่านเรียกว่าสติสังวร
เพราะต้องใช้สติเป็นเครื่อง ระวัง ศีล สมาธิ ปัญญาจึงเกิดขึ้นได้
ด้วยอาศัยอินทรียสังวรเป็นแดนเกิด


อินทรีย สังวร อาศัยหิริโอตตัปปะ กลัวต่อบาป ความละอายต่อบาป
ความเกรงกลัวต่อผลของ บาป การสำรวมอินทรีย์ 6
เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการพัฒนาจิต
จิตของคนจะ สูงต่ำแค่ไหน ก็สุดแล้วแต่บุคคลผู้นั้น จะสำรวมอินทรีย์ได้เพียงใด



3. ญาณสังวร

การระวังกีดกันบาป เพื่อญาณคือความรู้
ได้แก่ การรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของบาป หรือเหยื่อของโลก
ที่มีรูปแบบต่างๆ ทำให้กำหนัดขัดเคือง ลุ่มหลงและมัวเมา
ผู้ไม่มีญาณหยั่งรู้ย่อมจะกำหนัดเมื่อมีอารมณ์มายั่วยวนให้กำหนัด
ขัดเคืองเมื่อมีอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
ลุ่มหลงมัวเมาในอารมณ์เป็น ที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมัวเมา


ส่วนผู้ที่มีญาณหยั่ง รู้ ย่อมหยั่งรู้ตามความเป็นจริง
ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นหลุมพราง เป็นมาร ยั่วยวนให้จิตเศร้าหมอง
ทำให้จิตเสียปกติภาพ และตกอยู่ภายใต้อำนาจของมัน
เมื่อตกอยู่ภายใต้อำนาจของมันแล้ว
มันก็ใช้ให้ทำบาปก็ทำสร้างเวรสร้างกรรมต่างๆ
ตามอำนาจของกิเลสหรืออารมณ์ ที่บังคับบัญชาจิตอยู่

ความรู้ระวังตัวดังกล่าวนี้ ท่านเรียกว่าญาณสังวร



4. ขันติสังวร

ระวังกีดกันบาปด้วยความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อดทนต่ออารมณ์ที่มายั่วยวนให้ โลภ ให้โกรธ ให้หลง
ท่านเรียกความอดทนชนิดนี้ว่า ตีติกขาขันติ จัดเป็นตบะ
ธรรมอย่างที่พระพุทธเจ้า มีพระโอวาทไว้ใน โอวาทปาติโมกข์ว่า

ขันตี ปรมํ ตโป ตีติกขา

ขันติ คือความอดทนต่ออารมณ์ที่มายั่วยวนให้โลภ โกรธ หลง เป็นตบะอย่างยิ่ง
ตบะคือ คุณเครื่องเผาผลาญบาปให้เหือดแห้ง
ความอดทนนี้เป็นกำลังสำคัญของนักพรตหรือ นักบวช
ผู้ปฏิญาณตนว่าเป็นนักพรต ถ้าไม่มีขันติดังนี้แล้ว
ความเป็นนักพรต ของตนก็มีความหมายน้อย

ความระวังกีดกันบาปด้วยความอดทนดังกล่าวมานี้ ท่านเรียกว่า ขันติสังวร



5. วิริยสังวร

ระวัง กีดกันบาปด้วยความเพียร
ท่านเรียกว่า วิริยสังวร กล่าวคือ เพียรระวังบาปที่ ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้สิ้นไปหมดไป นี่เป็นวิริยสังวร

นี่คือสังวรปธานคือเพียรระวัง ระวังด้วยสังวร 5 อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้ว


ประการที่ 2 ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

ถ้าเปรียบด้วยวิชาการที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การระวังป้องกันบาป
เปรียบเหมือนการระวังตัว ไม่ให้โรคเกิดขึ้นแก่ร่างกาย
ด้วยการปฏิบัติตนตามหลักอนามัย เช่น บริโภคอาหารแต่พอประมาณ
อาหารมีคุณภาพและมีปริมาณเท่าที่ร่างกายต้องการออกกำลังกายพอสมควร
อยู่กลางแจ้งให้ร่างกายถูกแดดอ่อนตอน เช้า เปลี่ยนอิริยาบถเหมาะสม

แต่ถึงอย่างไร ในชีวิตหนึ่ง บุคคลย่อมต้องมีโรคเกิดขึ้นบ้างเป็นธรรมดา
เราต้องการบำบัดโรคด้วยยา ตามหมอสั่ง การพยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เหมือนการพยายามบำบัดโรคที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการปฏิบัติตามธรรม
ที่พระพุทธเจ้าหรือบัณฑิต ปราชญ์ทั้ง หลายท่านได้สั่งสอนไว้

ในการปฏิบัติบำบัดโรคนั้น เมื่อหมอได้ตรวจคนไข้แล้ว
เห็นตามความรู้อันชำนาญของตนว่า คนไข้เป็นโรคใด
แล้วก็สั่งยาให้รับประทานหรือยาฉีดตามควรแก่โรคนั้น
พร้อมด้วยห้ามของแสลง หรือให้เว้นการกระทำที่เป็นเหตุให้เป็นโรค
ถ้าคนไข้ปฏิบัติตามอาการแห่งโรคก็จ ระงับไปโดยเร็ว
แต่ถ้าคนไข้ปฏิบัติตนไม่ถูกต้องตามหมอสั่ง
อาจรับประทานยา ให้เสียเปล่า เช่นคนไข้เป็นหวัดมีอาการไอ
หมอให้ยาแล้ว สั่งให้หยุดรับ ประทานน้ำแข็ง
ห้ามอาบน้ำเย็น เพราะแสลงแก่โรค แต่คนไข้ไม่เชื่อฟัง
รับประทานยาเข้าไประงับโรค แต่ยังคงรับประทานน้ำแข็ง
อาบน้ำเย็นต่อไป โรคก็ กำเริบขึ้นอีก ยาเข้าไประงับโรค
แต่ของแสลงเข้าไปทำให้โรคกำเริบ
เมื่อเป็นอย่างนี้ โรคก็คงเบียดเบียนบุคคลผู้นั้นต่อไป

ข้อนี้ ฉันใด ในการละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อย่างนั้น
บุคคลที่ปฏิบัติ หวังความสุข ความสงบแก่ตัวเอง ต้องเว้นสิ่งที่ควรเว้น
และทำตามคำแนะนำพร่ำสอนของบัณฑิต มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น


ตัวอย่างเช่น บาปคือความ คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่นเกิดขึ้นในใจแล้ว
บุคคลผู้นั้นต้องสำนึกรู้ว่าบัดนี้บาปชนิดนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
บาปนี้มีโทษแก่จิตใจ มีผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อน
เราต้องเว้นการสมาคมกับบุคคลผู้พอใจในการเบียดเบียน
เว้นการ อ่าน การฟัง หรือการดู ยั่วยุให้เราพอใจในการเบียดเบียน
แล้วควรเจริญเมตตา กรุณาในบุคคลและสัตว์ต่างๆ
โดยน้อมนึกเสมอว่า เรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่นสัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น จึงไม่ควรเบียดเบียนกัน
แผ่เมตตากรุณาให้แก่กัน คือมีความปรารถนาดีต่อกัน
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การทำ อย่างนี้ทำให้ใจเราเป็นสุข
ทำให้หน้าตาเบิกบานแจ่มใส


ในบาปอกุศลอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน
เมื่อเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาให้เห็น โทษของบาปนั้น
แล้วก็หาธรรมะที่บัณฑิต มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ทรงสั่งสอนไว้ และนำมาปฏิบัติเพื่อละบาปนั้นเสีย
ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศล
บุคคลผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างเหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉันนั้น


เกี่ยวกับการติดยาเสพติดให้โทษนั้น ทางจิตวิทยาบอกเราว่า
ผู้ที่เคยติดแล้ว พยายามละทิ้งเสียได้นั้น
แสดงถึงกำลังใจที่เข้มแข็งอย่างยิ่ง
เข้มแข็งกว่าผู้ที่ไม่เคยติดยามาเลย เพราะเป็นสิ่งที่ละได้โดยยาก

การละบาปหรือความชั่ว ความไม่ดีต่างๆ
จึงเป็นคุณสมบัติของบุคคลผู้ที่รักดี ผู้ก้าวหน้าในชีวิต
ทั้งชีวิตส่วนตัว และชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคม
ทั้งคนชั้นสูงและคนชั้นต่ำย่อมเหมือนกันทั้งนั้น
กล่าวคือความเคยชิน ย่อมสามารถกลืนมนุษย์ได้
ฉะนั้นขอให้เราคิดดูให้ดี และละทิ้งความเคยชินที่ชั่วร้ายเสีย
ยิ่งมีความรู้สึกเคยชินขึ้นมากเพียงใด
ข้าพเจ้า (มหาตมะ คานธี นี่เป็น วาทะของมหาตมะ คานธี)
ก็ยิ่งประจักษ์แจ้งขึ้นเพียงนั้นว่า
เรานี่แหละคือ สาเหตุแห่งความทุกข์และความสุขของตนเอง



ผมมีความรู้สึก ว่า ตามความเป็นจริงแล้ว
มนุษย์เราทุกคนย่อมจะต้องเคยทำความชั่ว
หรือสิ่งที่เป็นบาปมาบ้างไม่มากก็น้อย ก็เป็นธรรมดาของสามัญชน
แต่คนที่รู้ว่าสิ่ง นั้นเป็นความชั่วหรือความผิด และพยายามกลับตัว
เลิกการกระทำอย่างนั้นเสีย จัดเป็นบุคคลที่น่านับถือไม่ใช่น้อยเลย

การพยายามละความชั่วหรือความเคยชินที่ชั่วร้าย
ถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของมนุษย์ที่ดี
พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัสสอนพุทธศาสนิกชนว่า
ถ้าบาปอกุศลเป็นสิ่งที่ละไม่ได้ ละแล้วเป็นไปเพื่อทุกข์
พระองค์ก็ไม่ทรงสอนให้ละ แต่เพราะเหตุที่ ว่า
บาปอกุศลเป็นสิ่งที่ละได้ เมื่อละแล้วก็เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข
พระองค์จึงตรัสสอนให้ละบาปอกุศลนั้นเสีย



ในพระสูตร หนึ่งเรียกว่า กรณียสูตร
แปลว่าสูตรที่ว่าด้วยสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เป็นอกรณียกิจ คือ สิ่งที่ไม่ควรทำ ส่วนสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ
เป็นกรณียกิจ คือสิ่งที่ ควรทำ ทรงแสดงโทษของทุจริต 5 ประการ
และคุณของสุจริต 5 ประการ

โทษของทุจริต 5 ประการ คือ

1. ตนเองติเตียนตนเองได้

2. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียน

3. ชื่อเสียงทางเสียย่อมจะฟุ้งขจรไป

4. หลงทำกาลกิริยา คือ หลงตาย

5. เมื่อตายแล้ว ไปสู่ทุคติวินิบาตนรก


ส่วนคุณของสุจริต 5 ประการ คือ

1. ตนเองติเตียนตนเองไม่ได้

2. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ

3. ชื่อเสียงในทางดีย่อมฟุ้งขจรไป

4. ไม่หลงตาย

5. เมื่อตายแล้ว ไปสู่สุคติโลกสวรรค์


เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นอกุศล ควรเว้นทุจริต สั่งสมแต่กุศลสุจริต
การที่จะเป็นเช่นนั้นได้ ก็ต้องอาศัยคุณสมบัติ
คือความพยายามชอบ ความเพียรชอบ และพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
และพยายามที่จะให้กุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น

[color=#FF0000]นี่คือปหานปธาน เพียรในการละบาปอกุศล



ประการที่ 3 ภาวนาปธาน คือเพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น

ข้อนี้หมายถึงเพียรทำความดี เริ่มต้นต้องให้กุศลจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ
เมื่อกุศลจิต เกิดขึ้นแล้ว ในเรื่องใดก็อย่ารีรอ
ให้รีบทำความดีเรื่องนั้นทันที
เพราะว่า ถ้ารีรอ กุศลจิตก็จะเสื่อมไป อกุศลจิตเกิดขึ้นมาแทนที่


ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า ควรรีบขวนขวายทำความดี
ห้ามจิตเสียจากบาป ถ้าทำความดีช้าๆ ใจก็ย่อมจะหันไปยินดีในบาป
และตรัสไว้อีกว่า ถ้าจะทำ ความดี ให้ทำความดีนั้นบ่อยๆ
พึงทำความพอใจในบุญ หรือความดีนั้น
เพราะการสั่งสมบุญเป็นทางแห่งความสุข

กุศลจิตที่เกิดแล้ว ย่อมจะทิ้งร่องรอยของมันไว้ทุกครั้ง
อกุศลจิตก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดก็ควรจะละอกุศลจิต
ให้โอกาสแก่กุศลจิต เมื่อกุศลจิตเกิดบ่อยๆ และทำความดีบ่อยๆ
ก็ย่อมจะกลายเป็นความเคยชินในทางดี
ความเคยชินในทางดีนี้เมื่อมากเข้า ก็จะกลายเป็นอุปนิสัย
หรือ Charactor หรืออัตลักษณ์ คือลักษณะเฉพาะตัวของคน
บุคคลเรามีอุปนิสัยอย่างไร อนาคตของเขาก็จะเป็นอย่างนั้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่สร้างความเคยชินในทางเลว อุปนิสัยเลว อนาคตจึงเลว
ผู้ที่สร้างความเคยชินที่ดี อุปนิสัยดี อนาคตก็สดใสรุ่งเรือง



ไม่มีใครสามารถให้ใครรุ่งเรืองได้เท่ากับตัวของตัวเอง ทำให้กับตัวเอง
ไม่มีใครทำให้ใครเสื่อมได้เท่ากับตัวของตัวเองทำให้กับตัวเอง
เมื่อตนทำลายตัวเองเสียแล้ว ก็หาสิ่งป้องกันได้ยาก
เมื่อผู้อื่นคิดทำลาย ตัวเราเองยังคิด ป้องกันได้
ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ทางบ้านเมือง ยังช่วยอารักขาได้ ป้องกันได้
แต่เมื่อตัวเองทำลายตัวเอง ด้วยการกระทำของตนเองแล้ว ใครจะป้องกันได้
เพราะว่าไม่มีใครจะมาอยู่กับเราได้ตลอดเวลา
คนที่อยู่กับตัวเรามากที่ สุดก็คือตัวเราเอง

เพราะฉะนั้น อนาคตของคน จะมืดมนหรือ สดใส ก็อยู่ที่ตนของตน
สั่งสมอาสวะหรือสั่งสมบารมี สั่งสมส่วนชั่วเรียก ว่าอาสวะ
สั่งสมส่วนดีเรียกว่าบารมี ผู้ฉลาดจึงควรพยายามที่จะให้กุศล
ที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น จะได้เป็นการเพิ่มพูนบารมีให้ยิ่งๆขึ้นไป


ประการที่ 4 อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อม และรักษาไว้ให้ยิ่งๆขึ้นไป

ข้อนี้หมายถึงการเพียรรักษาความดีที่เราทำให้เกิดขึ้น
และให้ดำรงอยู่ และให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

เปรียบไปก็เหมือนคนที่มุ่งสะสมทรัพย์ภายนอก
ต้องอุดรูรั่วของทรัพย์เสียก่อน อุดรูรั่วของทรัพย์ที่ไม่ให้เกิดประโยชน์
เช่นอบายมุข การพนันเป็นต้นเสียก่อน
แล้วใช้ความหมั่นเพียรในการหาทรัพย์
เมื่อได้มาแล้วก็แบ่งเป็น ส่วนๆ บริโภคใช้สอยบ้าง
สงเคราะห์ญาติพี่น้องบ้าง ทำบุญบ้าง เก็บไว้สร้างอนาคตบ้าง
สะสมไว้เพื่อบำบัดทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวบ้าง
เช่นคราวป่วยไข้ เป็นต้น

ผู้ที่มุ่งสะสมทรัพย์ ก็จะเห็นการเสื่อมทรัพย์
ทำนองเดียวกับความสิ้นไปของยาหยอดตา
คือสิ้นไปทีละน้อยก็หมด สิ้นได้
เมื่อไม่หามาเพิ่ม ก็เห็นการสั่งสมทรัพย์ทีละน้อย
เหมือนการสั่งสมมูลดินของตัวปลวก ทีละน้อยก็ได้มากเป็นกองใหญ่


การสั่งสมบุญกุศลหรือความดี ก็ทำนองเดียวกัน
ต้องปิดรูรั่วคือ ทางเสื่อมของ ความดีเสียก่อน
สิ่งใดทำให้คุณธรรมเสื่อม ก็ควรจะเว้นสิ่งนั้น
ไม่ดูหมิ่น ความชั่วหรือบาปกรรมว่าน้อยนิด
เพราะมันอาจจะพอกพูนมากขึ้นได้ตามวันเวลาที่ล่วงไป

เหมือนกับคนที่เป็นหนี้ เดือนละนิดเดือนละหน่อย
เดือนละร้อย สิบเดือนก็เป็นพัน
ตรงกันข้าม การสั่งสมเงินเดือนละร้อย สิบ เดือนก็เป็นพัน
เป็นหมื่น เป็นแสน ได้มากหรือเสียมาก
ก็ไปจากได้น้อยหรือ เสียน้อยมาก่อน
ข้อนี้ก็ควรระวังกันอย่างยิ่งเลยทีเดียว

การ สั่งสมบุญทีละน้อย กับการสั่งสมบาปทีละน้อย
ก็ทำนองเดียวกัน การสั่งสมบาป ขาดทุนเป็นหนี้
ส่วนการสั่งสมบุญเป็นกำไรเป็นเจ้าหนี้
ผู้มีปัญญารู้จักคิด ก็จะมองได้ทันทีว่า
สั่งสมบุญดีกว่าสั่งสมบาป พอกพูนบุญดีกว่าพอกพูนบาป



ในด้านทรัพย์สินกล่าวกันว่า แสวงหาทรัพย์สินหรือการทำให้ทรัพย์สินเกิดขึ้น
ง่ายกว่าการรักษาทรัพย์สิน ส่วนการทำให้ทรัพย์สินเสื่อมไปนั้น
ถ้ามีความตั้งใจแล้ว ก็สามารถจะทำให้กองทรัพย์มหึมาเสื่อมสิ้นไปได้ในวันเดียว


ในทำนองเดียวกัน การสร้างคุณงามความดีง่ายกว่าการรักษาความดี
ส่วนการทำลายคุณความดี ถ้ามีความตั้งใจกันแล้ว
ก็สามารถจะทำลายคุณความดีที่สั่งสมมา
ด้วยความยากลำบากเป็นเวลานานๆ เป็นสิบๆปี ให้เสื่อมสิ้นในวันเดียวก็ได้
เพราะ ฉะนั้นผู้ที่จะรักษาความดีให้มั่นคง
ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติคือเป็นผู้ไม่ประมาท
ไม่วางใจว่าเรื่องร้ายจะไม่บังเกิดขึ้น
ความบกพร่องย่อมจะเกิดขึ้น แก่ผู้ไม่ประมาท
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ปมาโท รักขโต มลัง
ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา



ลองคิดดูนะครับว่า ไม่ว่า เราจะรักษาอะไร
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาวัว ควาย ช้าง ม้า ทรัพย์สมบัติอย่างอื่น
ตลอดจนการรักษาคุณความดี ที่จัดเป็นอริยทรัพย์
เมื่อผู้คุ้มครองรักษานั้นประมาท
ก็จะเปิดโอกาสให้ความเสื่อมเสียหายบังเกิดขึ้นแก่สิ่งที่ตนรักษา นั้น


ได้มีตัวอย่างให้ดูอยู่ถมเถไป เช่นคนเลี้ยงโค
เมื่อประมาทนอนหลับเสีย โคหาย
คนเฝ้าบ้านประมาทไปเที่ยวเตร่เสีย โจร เข้าบ้านขนเอาทรัพย์ไปหมด
คนรักษาคุณความดี ประมาทว่าความชั่วเล็กน้อยไม่เป็นไร
อาศัยความชั่วเล็กน้อยนั้น ความชั่วใหญ่ๆก็จะค่อยๆแทรกซึมเข้ามา
ทำให้เสียหายใหญ่หลวงได้


เปรียบไปก็เหมือนเรือมีรูรั่วเล็กน้อย
เจ้าของเรือไม่รีบอุดเสียปล่อยให้น้ำเข้าไม่วิดออก
เจ้าของเรือนอนใจและนอนหลับเสียด้วย
ในที่สุดเรือก็จมลงทั้งลำ สรุปว่า ความประมาทเป็น มลทินของผู้รักษา
ความไม่ประมาทก็เป็นทางปลอดภัยของผู้รักษา
กล่าวคือผู้ รักษาคุณความดีนะครับ


การที่จะรักษาคุณความดีให้ดำรง อยู่และก็เจริญยิ่งๆขึ้นไปนั้น
ก็ขอให้ดูตัวอย่างมารดา บิดา ผู้ที่คุ้มครอง รักษาบุตรธิดา
บำรุงให้เติบใหญ่ด้วยการป้องกันสิ่งที่ไม่สมควร
น้อมนำสิ่งที่สมควรเข้าไปให้
เมื่อนานเข้าบุตรธิดาก็เจริญเติบใหญ่พึ่งตัวเองได้
ไม่ต้องรอการอุดหนุนของมารดาบิดา
กลับจะเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาเสียอีก
ข้อนี้ฉันใด คนเราทำความดีก็ฉันนั้น เมื่อนานเข้าจนอยู่ตัว
ความดีก็เจริญพอกพูนเต็มที่
ความดีก็จะกลับมาเป็นที่พึ่งของบุคคลผู้นั้นขอพึ่งความดีได้
แล้วก็พึ่งตนเองได้มีความเป็นสุขสบาย
อยู่เป็นสุขสบายเหมือนคนที่ปลูกต้นไม้ไว้
เริ่มแรกทีเดียวต้นไม้ก็ต้องพึ่งเขา
เขาต้องรดน้ำพรวนดิน กำจัด ศัตรูพืช ศัตรูของต้นไม้ ให้ปุ๋ย


พอต้นไม้ใหญ่เจริญ เติบโตเต็มที่แล้วก็เริ่มจะกลับเป็นที่พึ่งของบุคคลผู้นั้น
ให้ดอกให้ผลและ ร่มเงายั่งยืนไปนานปีจนแก่ตาย
หรือผู้เป็นเจ้าของอาจจะตายไปก่อนก็ได้ ดอกผล และร่มเงาของต้นไม้
ยังให้ความสุขแก่ลูกหลานหรือผู้รับมรดกของผู้นั้นต่อไปอีก


ท่านผู้ฟังจะเห็นว่าความดีเป็นสิ่งน่าทำ น่าถนอม น่าปลูกฝังให้แก่ตัวและคนอื่น
ทำให้มีความนิยมชมชอบ ความดีเป็นสิ่งที่หวานใจ
นึกถึงแล้วให้รื่นรมย์มีความสุขไม่จืดจาง
ผู้ใหญ่ต้องอบรมเด็กให้ เป็นคนรักความดี
หนีความชั่ว กลัวความผิด คิดทำประโยชน์ตนและก็ชาติบ้านเมือง
ชีวิตที่มีประโยชน์จึงจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์




การเปลี่ยนแนวคิดของร็อคกี้ เฟลเลอร์

คนเราจะมั่งมีศรีสุขสักเท่าไหร่ก็ตาม
ถ้ารู้สึกตนว่าความมั่งมีของตนไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร
ก็หามีความสุขแท้จริงไม่
คือไม่มีความสุขที่แท้จริง คนทั้งหลายอื่นก็ไม่สรรเสริญ
ตรงกันข้ามไปที่ไหนก็จะพบแต่คนเกลียดชัง
แต่พอเขาเปลี่ยนแนวคิดใหม่
ใช้ความมั่งคั่งของเขาให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่น
ความสุขอันแท้จริงก็จะเกิดขึ้นแก่เขา
คนทั้งหลายอื่นก็จะมองดูเขาด้วยความนิยมรักใคร่
มีตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเรื่องที่กล่าวมานี้
คือ เรื่องราวของมหาเศรษฐี ร็อคกี้ เฟลเลอร์
มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เป็นตัวอย่าง
ยอห์นดี ร็อคกี้ เฟลเลอร์ ผู้เป็นบิดามีเงินถึงหนึ่งล้านเหรียญ
เมื่ออายุเพียง 34 ปี แล้วก็เมื่ออายุ 43 ปี
ได้เป็นผู้ตั้งบริษัทผูกขาดในการค้าน้ำมันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
คือบริษัทน้ำมัน สแตนดาร์ด ออยส์ (Standard oil)
แต่พออายุ 53 ปีสุขภาพของเขาเสื่อมโทรมลงมาก
เพราะว่ามีนิสัยชอบทุกข์ร้อน เคร่งเครียด


ผู้เขียนประวัติของท่าน ร็อคกี้ เฟลเลอร์ คนหนึ่งได้กล่าวว่า
เมื่ออายุ 53 ปี รูปร่างหน้าตาของเขาเหมือนมัมมี่
เมื่ออายุได้ 53 ปี เป็นโรคเครื่องย่อยอาหารพิการอย่างรุนแรง
จนผมร่วง ขนตาและอื่นๆ ก็ร่วง ขนคิ้วยังเหลืออยู่เพียงหยอมแหยม


แพทย์บอกว่าที่เขาหัวล้านเช่นนี้สืบเนื่องมาจาก ประสาทอ่อนกำลัง
เขาสะดุ้งกลัวมาก จนเขาต้องสวมฝาครอบผ้าบางๆปิดศีรษะอยู่ตลอดเวลา
ต่อมาเขาซื้อผมปลอมชนิดสีเงินมาสวม ราคาชุดละ 500 เหรียญ
และก็สวมผมปลอมต่อมาจนตลอดชีวิต


เดิมทีเดียว ร็อค กี้ เฟลเลอร์ เป็นผู้ที่มีอนามัยดี แข็งแรงปราดเปรียว
ครั้นเมื่อ อายุ 53 ปี ไหล่ของเขาตก เดินกระย่องกระแย่ง
ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากทำงาน หักโหมหนัก วิตกทุกข์ร้อนไม่รู้จักสิ้นสุด
โมโหโทโสดุว่าไม่เว้นแต่ละวัน กลางคืนนอนไม่หลับ
ขาดการบริหารร่างกาย และพักผ่อนหย่อนใจ
ดูเถิด มหาเศรษฐีแท้ๆ ทำไมจึงกลายเป็นผู้ไร้ความสุขไปได้


แม้ว่า ขณะนั้นเขาจะเป็นมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
แต่เขาก็ดำรงชีวิตอยู่ด้วย อาหารที่คนยากจนไม่อยากจะแตะต้อง
รายได้ของเขาเวลานั้นตกสัปดาห์ละหนึ่งล้านเหรียญ
แต่ค่าอาหารประจำวันของเขาทุกมื้อตกสัปดาห์ละสองเหรียญเท่านั้นเอง


ตอนที่ท่านยังไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมของท่าน
ท่านต้องการให้คนทั้งหลายรักท่าน
แต่ก็ปรากฏว่ามีคนชอบท่านเพียงไม่กี่คน
คนส่วนมากก็เกลียดชังไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับท่าน
ไม่ว่าในทางธุรกิจหรือทางใดๆ


แม้แต่น้องชายของท่านเองก็เกลียด
จนถึงกับพาลูกๆ ออกจากบ้านประจำตระกูล
ซึ่ง ท่านร็อคกี้ เฟลเลอร์สร้างขึ้น
น้องชายของท่านพูดว่า ไม่ยอมให้สายเลือดของฉัน
อาศัยในแผ่นดินที่เป็นของยอห์นดี ร็อคกี้ เฟลเลอร์


เกี่ยวกับเรื่องการต้องการความรัก เป็นเรื่องที่คนทุกคนต้องการ
แต่ก็มีน้อยคนที่จะมีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความรัก
ก็ต้องการจะเรียนรู้เรื่องของความรักให้แจ่มกระจ่างในใจ
คนส่วนมากจึงรู้แต่ความรัก พอใจที่จะรัก
ไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อคนที่ตนรักให้ถูกต้องเหมาะสม


ความรักที่แท้จริง ต้องการความเสียสละอยู่มาก
มีความสุขใจที่ได้เสียสละ
ความเสียสละนี่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความรักที่แท้จริง
และเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
เป็นนิมิตหมายว่า ความรักของเขาเป็นความรักที่เสียสละ
เป็น ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว
ความเป็นที่รักของคนอื่นก็เป็นที่ต้องการของคนทุกคน


เราจะรู้สึกอบอุ่นและเป็นสุข เมื่อแน่ใจว่าได้อยู่
ใกล้กับคนที่รัก หรืออยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่รักเรา
หรือคนที่เรารัก พร้อมที่จะให้อภัยในความบกพร่องผิดพลาด
พร้อมที่จะสนับสนุนส่วนที่ดีเด่นของเรา ไม่มีความริษยา


ในโลกของเรานี้ จะหาคนที่ยินดีกับความสำเร็จของเราจริงๆ ค่อนข้างยาก
เมื่อบอกว่ายินดีกับเรา ก็มักจะมีความริษยาแฝงเร้นเข้ามาด้วย
ตรงกันข้าม เมื่อเขาบอกว่าเสียใจด้วยในความวิบัติของเรานั้น
ก็มักจะมีแววของความปีติปราโมทย์ฉาบฉายออกมาเช่นเดียวกัน


ในโลกนี้ จะหาคนที่รักเรา เคารพเราจริงๆแสนจะยาก
ส่วนมากก็เป็นความรักปลอม เคารพเพราะได้ประโยชน์
หมายถึงว่าเป็นความเห็นแก่ตัว ที่แฝงเร้นเข้ามา ในรูปของความรัก
จะเห็นได้จากการที่เมื่อไม่สมใจหวัง
ก็มักจะเกลียดชังและ คิดทำลาย สิ่งที่ตนเคยบอกว่ารักนั้นเสีย


ในลักษณะ นี้ ความรักจึงกลายเป็นเพียงการต่อสู้ชนิดหนึ่งบนเวทีชีวิต
ซึ่งมุ่งเอาแพ้ ชนะกัน ปราบฝ่ายหนึ่งให้แพ้ราบคาบไป
ตนก็เป็นสุขอยู่ในฐานะผู้ชนะ ฝ่ายแพ้ก็ พยายามแก้แค้น
เพื่อจะแก้อิสรภาพคืนมา จึงต่อสู้ชิงชัยกันอยู่ตลอดชีวิต


ความรักอย่างนี้ไม่มีความเข้าใจ มีความเสียสละ
ในที่สุดก็พ่ายแพ้ทั้งคู่ คือครองใจกันไม่ได้


ทำไมบางคนจึงสามารถครองใจคนอื่นได้เป็นอันมาก
มีคนห้อมล้อมรุมกันรัก โดยปกติคน ประเภทนี้
จะมีความรักโดยไม่เห็นแก่ตัว คือ หลั่งความรักให้โดยไม่หวังว่า
ตัวจะได้อะไรจากผู้อื่น มีจิตใจเผื่อแผ่โอบอ้อมอารี
หวั่นใจต่อความทุกข์ร้อนของผู้อื่น วางเฉยได้เมื่อถึงกาลที่ควรจะวางเฉย
ดีใจจริงๆ ต่อความสุข ความสำเร็จของผู้อื่น
พูดจาอ่อนหวานให้กำลังใจ บำเพ็ญประโยชน์ให้
ไม่ใช่คอยฉกฉวยประโยชน์ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย
ไม่ใช่ 3 วันดี 4 วันร้าย วางตนเหมาะสมแก่ฐานะ

คุณสมบัติเหล่านี้ ล้วนเป็นปิยกรณธรรม
คือหลักที่ทำให้เป็นที่รักของผู้อื่น ทั้งผู้ที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล



สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย
เมื่อจะดับก็เพราะเหตุดับไป ความรักเป็นสิ่งหนึ่งในโลก
ย่อมจะอยู่ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
ถ้าต้องการความรักที่มั่นคง ต้องการให้เป็นที่รักของผู้อื่น
ก็ต้องกระทำอย่างมีหลัก จึงจะประสบผลสำเร็จได้


ยอห์นดี ร็อคกี้ เฟลเลอร์ ในระยะแรกๆ ต้องการความรักจากผู้อื่นก็จริง
ท่านไม่มีศิลปะในการที่จะทำให้ผู้อื่นรัก
เพราะฉะนั้นแม้แต่เสมียนพนักงาน ก็ไม่ชอบท่าน หวาดกลัวไปตามๆกัน
เพราะท่านร็อค กี้ เฟลเลอร์ เป็นคนขี้ระแวง
เป็นคนที่ไว้วางใจมนุษย์ด้วยกันน้อยที่สุด


ปรากฏ ว่าในบริเวณบ่อน้ำมันต่างๆ ในรัฐเพนซิลวาเนีย
ร็อค กี้ เฟลเลอร์ เป็นคนที่ถูกเกลียดชังมากที่สุดในโลก
คู่แข่งขันของท่านซึ่งถูกทำลายย่อยยับไปแล้ว
ด้วยวิธีการต่างๆ ต่างเคียดแค้นชิงชังและอยากจะแขวนคอท่านเป็นที่สุด
จดหมายแช่งชักหักกระดูก รวมทั้งขู่เข็ญเอาชีวิตไหลมาสู่สำนักงานของท่าน
นับไม่ถ้วน ท่านต้องการองครักษ์จำนวนหนึ่งเพื่อป้องกันชีวิต


ลงท้ายท่านก็ได้ประจักษ์ความจริงว่า ท่านหนีความเป็นมนุษย์ไปไม่พ้น
ไม่สามารถ ทนทานต่อความเกลียดชังของคนหมู่มากที่อยู่รอบตัวได้
และไม่สามารถจะทนต่อความทุกข์ร้อน ซึ่งมีอยู่ประจำได้
ผลก็คือสุขภาพเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ต้องเผชิญกับศัตรูใหม่คือความเจ็บป่วย


อาการของท่านคือนอนไม่หลับ เครื่องย่อยอาหารพิการ
สุมอยู่ด้วยความทุกข์ร้อนกระสับกระส่าย
แพทย์ได้บอกความจริงกับท่านว่าขอให้เลือกเอาอย่างหนึ่ง
คือ ธุรกิจ การเงินหรือชีวิต จะต้องตัดสินใจเลือกอย่างรวดเร็วด้วย
ถ้าท่านเลือกเอาชีวิตไว้ ขอให้เลิกงานธุรกิจทุกอย่างอย่างเด็ดขาด
มิฉะนั้นจะต้องตายอย่างแน่นอน ท่านเลือกเอาชีวิต


แพทย์ได้วางกฎ 3 ข้อ ให้ปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด
คือ อย่าวิตกทุกข์ร้อนในสิ่งหนึ่งสิ่งใดทุกๆกรณี
ข้อสองพักผ่อนด้วยการออกกำลังกายขนาดเบากลางแจ้ง
ข้อสามระวังเรื่องอาหารประจำวัน อย่ากินเมื่อไม่หิว
ท่านปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ผลก็คือรอดตาย


ท่านหยุดงานด้านธุรกิจ แต่หันมาสนใจเรื่องของเพื่อนบ้าน
และเล่นกีฬาในร่มเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างที่ท่านทรมานจากโรคนอนไม่หลับ
ท่านได้มีเวลาเหลือเฟือในการที่ จะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ
ท่านได้เริ่มคิดถึงผู้อื่น เลิกคิดถึงเรื่องการกอบโกย เงินทอง
แต่ท่านกลับคิดว่าจะต้องใช้เงินสักเท่าไหร่
จึงจะสามารถสร้างความสุขให้ปวงมนุษย์ในโลกได้


ด้วยเหตุผลดังกล่าว ท่านเริ่ม บริจาคเงินจำนวนล้านๆ
เพื่อสาธารณกุศล วิทยาลัยเล็กๆแห่งหนึ่ง บนฝั่งทะเลสาบมิชิแกน
กำลังจะถูกธนาคารยึด แต่ได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก
เพราะการช่วยเหลือของท่าน โดยการบริจาคเงินหลายล้านเหรียญ
ท่านบริจาคเงินช่วยเหลือการศึกษาของชาวนิโกร
บริจาคเงินหลายล้านเหรียญในการปราบพยาธิปากขอ
จนหมดไปจากภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา


ท่านได้ตั้งมูลนิธิอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่โลก
นั่นคือ ร็อค กี้ เฟลเลอร์ มูลนิธิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ
เพื่อความสุขสวัสดีของปวงมนุษย์ทั่วโลก
ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ ว่า จะมีองค์การใด
ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์กว้างขวางใหญ่โตไพศาล
เหมือนกับร็อคกี้ เฟลเลอร์มูลนิธิ เป็นสิ่งแปลกและใหม่ของโลก
ให้ทุนการศึกษาไว้ค้นคว้าสิ่งต่างๆ มากมาย รวมทั้งในวงการแพทย์ด้วย


ต้องขอบคุณท่านในเรื่องยาหลายชนิด เช่น เพนนิซิลิน
ยาในการรักษาเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ
ท่านร่วมมือบริจาคในการทำลายโรคมาลาเรีย วัณโรค
ไข้หวัดใหญ่ โรคคอ ตีบ โรคอื่นๆอีกมากซึ่งระบาดอยู่ทั่วโลก


สำหรับท่าน ร็อคกี้ เฟลเลอร์ เอง
ได้รับผลจากการปฏิบัติเช่นนั้นของท่านอย่างดีจริง
คือ ได้รับสันติสุขทางใจอย่างล้นเหลือ ได้รับการยกย่องนับถือไปทั่วโลก


ยอห์น ดี ร็อคกี้ เฟลเลอร์ ผู้ซึ่งกำลังจะตายเมื่ออายุ 53 ปี
แต่ท่านกลับมีอายุ ยืนถึง 98 ปี น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง
นี่ก็เพราะว่าท่านได้เปลี่ยนวิถีชีวิต ของท่านจากการเห็นแก่ตัว
เห็นแก่ได้เอารัดเอาเปรียบ มาเป็นผู้เสียสละ
มาเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อความสุขของมนุษย์ด้วยกัน

ตัวของท่านเองก็กลายเป็นคนที่มีความสงบสุข มีจิตใจที่สงบเยือกเย็น
ท่านเปลี่ยนคนที่เกลียดชังให้รักใคร่
เพราะว่าได้เปลี่ยนแปลงแนวคิด และการกระทำของท่านก่อน


รวมความว่า เราเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ทำตัวของเรา
ให้เป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ทำความดีและเพิ่มพูนความดีอยู่เรื่อยๆ
ความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริงของคนทั้งหลาย
เช่นท่านร็อคกี้ เฟลเลอร์ เป็นต้น อยู่ตรงนี้เอง



เรื่องของท่านร็อคกี้ เฟลเลอร์ นี้ ผมได้เก็บความจากหนังสือ
How to Stop Worring and Start Living
ซึ่ง เขียนโดยท่านเดล คาเนกี
ฉบับแปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า วิธีชนะทุกข์และสร้างสุข โดยอาษา ขอจิตเมตต์
ผมขอขอบพระคุณผู้แต่งคือเดล คาเนกี และอาษา ขอจิตเมตต์
ที่ได้ให้มรดกที่มีค่าอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ไว้ในวงวรรณกรรมไว้ใน โอกาสนี้ด้วย



คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

ผมย้ำให้เห็นถึงความเพียรพยายามที่จะละนิสัยไม่ดี ละความชั่ว
และเพิ่มพูนความดีให้มากขึ้น ทำให้ชีวิตของบุคคลผู้นั้นมีคุณค่ามากขึ้น
มีความสุขมากขึ้น จากการที่เกือบจะตายเมื่ออายุ 53 ปี
มาทำให้เป็นคนอายุยืน และมีความสงบสุข
อายุยืนอยู่ถึง 98 ปี เกือบร้อยปี

วิริยารัมภะ หรือความเพียร เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความเพียรที่จะประกอบคุณธรรมความดี

นอกจากนี้ทางพุทธศาสนาได้มีพระพุทธภาษิตและพุทธศาสนสุภาษิตมากมาย
ที่แสดงถึงคุณค่าของความเพียร ยกตัวอย่างข้อหนึ่งที่ว่า
วิริเยน ทุกขมจฺเจติ บุคคลจะ ล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร



ความทุกข์อะไรบ้าง ที่เราจะล่วงพ้นได้ด้วยความเพียร


1. ความทุกข์จากความยากจน หรือเพราะความเกียจคร้าน
หลายคนยากจนเพราะความเกียจ คร้าน ฝักใฝ่อบายมุข ทำให้ชีวิตตกต่ำ
แต่พอรู้สึกตัว เปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ กลับหาทรัพย์ได้มั่งมีขึ้น
พระพุทธภาษิตที่ว่า ปฏิรูปการี ทุรวา อุฏฐา กา วินนเตธนํ
แปลว่าผู้มีความเพียร ขยันลุกขึ้น มีธุระอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง
ทำการงานให้เหมาะสม ย่อมจะหาทรัพย์ได้


มีพระพุทธศาสนสุภาษิตอีกตอนหนึ่งว่า กาลาคตญฺจ นหาเปติ อตฺถํ
แปลว่าคนขยันย่อมไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงเข้าแล้วให้เสื่อม
เมื่อทำกิจโดยเบื่อหน่าย ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบ
แต่เมื่อทำกิจโดยไม่เบื่อหน่าย ประโยชน์ย่อมจะสำเร็จโดยชอบ
พึงได้ประโยชน์ใดประการใด บุคคลก็พึงบากบั่นในที่นั้นโดยประการนั้น
มีคนยากจนไม่น้อยในบ้านเมืองของเรา
กลายเป็นคนมั่งมีเพราะความขยัน การงานเหมาะสม


2. ความทุกข์จากความเจ็บป่วย บางคนเกียจคร้าน
เอาแต่นั่งๆนอนๆ จนป่วยทั้งทางกายและทางจิตคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ
ทำให้มีความเครียด ร่างกายเจ็บป่วย
สืบเนื่องมาจากความป่วยทางจิตก่อน
ซึ่งท่าน เรียกว่า Scychoplatic illness
ซึ่งหมาย ถึง Suffering from mental dicease
คือความเจ็บไข้ได้ป่วยที่สืบเนื่องมาจากความวิตกกังวล
ความทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากโรคทางจิต และทำให้ตื่นเต้นง่าย
ตกใจง่าย กระวนกระวายไม่มีความสุข ไม่สงบ


ถ้าเขาใช้ความเพียรไปในทางหนึ่งทางใดให้สม่ำเสมอ เป็นระบบ
ก็จะหายจากความเจ็บป่วยนี้ได้ หรือทำให้บรรเทาลงได้


ส่วนความป่วยทางกายจริงๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับจิตเลย
ก็มีความเพียร ความบากบั่น มั่นคงในการรักษาตัวเอง
ดูแลตัวเองให้ดี ประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอาหารและยา
เว้นของแสลงแก่โรค หรือโภคอาศัยแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะ
คือ สิ่งที่เหมาะกับตัว อาจไม่ต้องไปหาหมอเลยก็ได้ หรือหาแต่น้อยที่สุด


คนป่วยต้องมีกำลังใจในการควบคุมตัวเอง ดูแลตัวเอง
ความทุกข์จากความเจ็บป่วยเช่นนี้ ก็ล่วงพ้นได้ด้วยความเพียรเหมือนกัน


3. ความทุกข์ในอบายภูมิ และความทุกข์ในสังสารวัฏ

ความทุกข์ในอบายภูมิ คือการต้องเกิดในนรก เปรต อสุรกาย
หรือสัตว์เดรัจฉาน มีบาป เป็นแดนเกิด ผู้ใดเพียรพยายามในการเว้นบาป
เพียรในการบำเพ็ญบุญกุศล ผู้นั้น ก็จะพ้นจากความทุกข์ในอบายภูมิ


ถ้าถึงขั้นก้าวเข้าสู่ อริยภูมิ ตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไป
อบายภูมิ 4 ก็เป็นอันปิดสนิท ถ้าเพียรพยายามต่อไปจนถึงอรหัตผลแล้ว
ในสังสารวัฏอันยืดเยื้อยาวนาน ก็เป็นอันสิ้นสุดลง



นี่เป็นเรื่องอานิสงส์ของความเพียร
เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะคุยกันในเรื่องความเพียรในการที่จะละความชั่ว
ประพฤติความดี ความเพียรในการทำดีให้สม่ำเสมอ
ความเพียรในการรักษาความดีให้คงอยู่ และให้เจริญ ยิ่งๆขึ้นไป


วิริยารัมภกถากถาที่ชักชวนกันให้มีความเพียรในกถาวัตถุ 10
เป็นข้อที่ 5 ก็ขอจบเพียงเท่านี้ครับ

รูปภาพรูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: 4. วิมุตติกถาและวิมุตติญาณทัสสนะกถา

วันนี้เป็นวันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2541 พอดีตรงกับวันลอยกระทง
พระจันทร์เต็มดวงสวยเชียว เสียงพลุดังเต็มไปหมด


เรื่องที่จะคุยกับท่านผู้ฟังวันนี้ ก็เป็นเรื่องวิมุตติกถา กับ วิมุตติญาณทัสสนะกถา
ในกถาวัตถุ 10 ก็พูดรวมกันไปเลยนะครับ วิมุตติกถา
กถาที่ว่าด้วยความ หลุดพ้น วิมุตติญาณทัสสนะกถา
ก็แปลว่า กถาที่ว่าด้วยความรู้เห็นในการ หลุดพ้นนั้น


ความหลุดพ้นที่ใช้คำว่าวิมุตตินี้ ใช้คำ อื่นแทนได้หลายคำ
ที่เป็นไวพจน์เช่น ปหานะ, นิโรธ, โวสสัคคะ, รวมทั้ง นิพพานด้วย



ทางพุทธศาสนาถือว่าวิมุตติเป็นแก่นแท้ของพุทธศาสนา
ตามนัย มหาสาโรปมสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง
แก่นของพระพุทธ ศาสนาคือวิมุตติ
ปัญญานั้นเป็นกระพี้ สมาธิเป็นเปลือก ศีลเป็นสะเก็ด
ถ้า มีลาภสักการะที่เป็นผลพลอยได้ก็เป็นกิ่งใบ
เปรียบพุทธศาสนาเหมือนต้นไม้ ทั้งต้น
วิมุตติคือความหลุดพ้นเป็นแก่นของต้นไม้
แก่นของพรหมจรรย์ แก่นของพระธรรมวินัย


มีบางแห่งที่ตรัสถึงความอัศจรรย์ของ วินัย 8 ประการ
ซึ่งเปรียบด้วยมหาสมุทร อย่างในพระไตรปิฎกเล่ม 25 ตรัสถึง
ความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย 8 ประการ ซึ่งเปรียบด้วยมหาสมุทร

มหาสมุทร มีรสเดียวคือรสเค็ม
น้ำที่ไหลไปจากที่ต่างๆ เมื่อลงไปสู่มหาสมุทรแล้ว
ก็ ปลี่ยนเป็นรสเค็มทั้งหมดเลย
ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีรสเดียวคือวิมุตติ รส คือการหลุดพ้น

นี่จะเห็นว่าท่านให้ความสำคัญแก่ความหลุดพ้นจากกิเลสไม่ใช่น้อย



เมื่อพูดถึงวิมุตติ โดยทั่วไปกล่าวถึง 3 อย่างก็มี 5 อย่างก็มีดังนี้


1. ตทัง ควิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นด้วยองค์นั้นๆ
แปลว่าเอา คุณธรรมมาถ่ายถอน หรือมาเอาชนะกิเลส

เช่น เอาเมตตา มาชนะความโกรธ ละความโกรธได้ด้วยเมตตา
ละความเบียดเบียนได้ด้วยความกรุณา
อย่างนี้ก็หลุดพ้นไปชั่วคราว แต่ว่าความโกรธเกิดขึ้นได้อีก
ความคิดเบียดเบียนเกิดขึ้นได้อีก ก็เป็นความหลุดพ้นของปุถุชน
ปุถุชนเราอยู่ได้ด้วยการหลุดพ้นอันนี้
คือว่าหลุดพ้นกันเป็น คราวๆ ไม่ได้เด็ดขาด
บางคราวก็แบบที่ชาวบ้านว่า เอาธรรมะมาข่มเอาไว้
สุดขีดแล้ว ก็เอาเมตตาความเห็นอกเห็นใจ การให้อภัยมาช่วยเอาไว้
ความโกรธก็ค่อยๆดับไป ค่อยๆระงับไป


ถึงเราจะไม่เอาอะไรมาดับ มันก็ค่อยๆดับไปเอง
เพราะมันเป็นสังขารธรรม เป็นสังขารมันไม่เที่ยง
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป


นี่ก็เป็น วิมุตติของปุถุชน ทำให้เราไม่เป็นบ้ากันไป
ไม่เป็นโรคประสาทกันไป ก็ด้วยวิมุตติข้อนี้
เวลานี้ก็ฆ่าตัวตายกันเยอะมีข่าวทุกวัน
ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ ผมคิดว่าจะบรรเทาได้บ้าง
อย่างน้อยก็ชะลอการคิดที่จะฆ่าตัวตายเอาไว้ก่อน
ให้เกียรติแก่ความเปลี่ยนแปลง
ในที่สุดมันต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีอะไรอยู่ยั่งยืน
ความทุกข์ความสุขผ่านไปผ่านมา ชีวิตเราก็ต้องผ่านสุข ผ่านทุกข์ไป


เหมือนต้นไม้ มันเติบโตได้ แข็งแรงได้
เพราะมันผ่านหน้าร้อน หน้าฝน หน้าหนาว
ถ้ามันมีอยู่หน้าเดียวต้นไม้ อยู่ไม่ได้
ถ้ามีหน้าฝนหน้าเดียว ฝนตกเอาๆไม่มีหยุด รากเน่าหมด

ถ้ามีหน้าร้อนอย่างเดียวต้นไม้ก็แห้งตายหมด อยู่ไม่ได้
หน้าหนาวก็แห้งเหมือนกัน ฝนไม่ตก แต่ไม่ร้อนเท่าไหร่
บางคราวต้นไม้มันจะผลัดใบ มันสลัดเอาส่วนที่ไม่จำเป็นออก
เวลานั้นมันขาดแคลนอาหารไม่สามารถจะเลี้ยงต้นไม้ได้หมด ทั้งต้น
มันก็ต้องสละส่วนที่จำเป็นต้องสละไปก่อน
ต้องเอาลำต้นไม้ พออาหาร สมบูรณ์ขึ้นมา
ก็เกิดใบใหม่เป็นใบอ่อนแล้วก็สวยใหม่

คนเราก็ทำนองนั้น บางทีก็จำเป็น
ถึงคราวคับขันคราวจำเป็นคราวลำบาก
ก็จะต้องสละอะไรบางอย่างจะเอาไว้หมดไม่ได้
ไม่อย่างนั้นเรารักษาลำต้นไว้ไม่ได้

ตามพุทธภาษิตทางศาสนาที่ว่า สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เพื่อเห็นแก่ความถูกต้อง
เห็นแก่ธรรม เห็นแก่ความดี สละได้ทุกอย่าง
ทั้งทรัพย์ทั้งอวัยวะทั้งชีวิต

อันนี้คือ ตทังควิมุตติ หรือ ตทังคปหาน ตทังคนิโรธ



2. วิกขัมภน แปลว่าข่มไว้

ความหมายจริงๆ ท่านหมายถึงข่มกิเลสไว้ได้ด้วยอำนาจของฌาน
ด้วยกำลังฌาน อย่างผู้ที่ได้ฌานก็ข่มกิเลสไว้ได้
มีอาการเหมือนหนึ่งคนไม่มีกิเลส กิเลสยังมีอยู่
แต่มันไม่ออกมาอาละวาด ยังมีอยู่สงบอยู่
ที่ท่านเปรียบเหมือนเอาหิน มาทับหญ้า แต่หญ้ายังอยู่ยังไม่ตาย
รื้อหินออกเมื่อไหร่หญ้าก็ขึ้นเมื่อนั้น อาจจะขึ้นสวยกว่าเดิม

นี่เป็นการละหรือข่มกิเลส ของผู้ที่ได้ฌาน
ฌานลาภีบุคคล บางท่านก็มีอาการเหมือนหนึ่งว่าเป็นผู้ไม่มีกิเลส
แต่เพียงแต่ข่มไว้ยังไม่เด็ดขาด

ฉะนั้น เรื่อง ราวต่างๆในชาดก จะพบว่าฤาษีชีไพรได้ฌาน
พอต่อมาก็ฌานเสื่อม เพราะพบกับอารมณ์ที่ทำให้ฌานเสื่อม
แล้วก็กลายเป็นคนธรรมดา ยังละกิเลสไม่ได้

พระบางรูปก็ทำนองนั้น คือท่านได้เพียงฌาน ยังละกิเลสไม่ได้
แต่ชาวบ้านไม่ ข้าใจ คิดว่าท่านละได้แล้ว ก็ตั้งให้ท่านเป็นพระอริยะ
และมีพระอริยะที่ชาวบ้านตั้งเยอะแยะไปหมด
เราก็ไม่รู้ว่าท่านเป็นหรือไม่เป็น ท่านนั่นแหละ รู้ หรือผู้ที่สูงกว่าท่านจึงจะรู้



3. สมุจเฉทวิมุตติ หลุดพ้นโดยเด็ดขาดด้วยการตัดขาด
อันนี้เป็นความหลุดพ้นของอริยบุคคล อย่างเช่นพระโสดาบัน


พระโสดาบันตัดกิเลสได้ 3 อย่าง
กิเลสข้อใดตัดได้แล้ว ก็เป็นอันตัดขาดไปเลย ไม่เกิดขึ้นอีก
พระโสดาบันตัดได้ 3 อย่าง และก็มีอะไรอีก
ไม่สามารถจะนำมาคุยในที่นี้ได้
ถ้านำมาในที่นี้ ก็จะต้องยืดออกไปอีกเยอะเลย
พระอริยบุคคล 4 จำพวก จะละกิเลสได้ไม่เท่ากัน
แต่ว่าท่านละได้ขาด ก็สลายไป
เป็นพระโสดาบันแล้วสบายไป 7 ชาติ ไม่เกิดในอบาย
มีคติที่ดีตลอด มีแต่สุคติอย่างเดียว ไม่มีทุคติตลอดเวลา 7 ชาติ
ที่เวียนว่ายตายเกิด อยู่ เป็นมนุษย์บ้าง ในสวรรค์บ้าง ไม่เกิดในชาติที่ 8

นี่ก็เป็นการตัดกิเลสได้เด็ดขาดเป็นข้อๆ



4. ปฏิปัตสัทธิวิมุตติ แปลตามตัวแปลว่า หลุดพ้นด้วยการสงบระงับ
อันนี้ท่านหมายถึงในขณะของอริยผล


สมุจเฉทวิมุตติ เป็นขณะของอริยมรรค อริยมรรคไปตัดกิเลส

ปฏิปัตสัทธิวิมุตติ ขณะของอริยผล
แปลตามตัวว่าหลุดพ้นด้วยการสงบระงับ
ความหมายคือขณะของอริยผล



5. นิพพาน ซึ่งเป็นนิสสรณวิมุตติ
แปลตามตัวว่า หลุดพ้นด้วยการสลัดออก ความหมายก็คือนิพพาน


เพราะฉะนั้น 3 ข้อหลังนี้

สมุจเฉทวิมุตติ เป็น ขณะของอริยมรรค

ปฏิปัตสัทธิ เป็น ขณะของอริยผล

นิสสรณะ ก็คือ นิพพาน

เปรียบให้ดูง่ายก็เหมือนคนป่วย คนกินยาเข้าไปตัดโรค
ในขณะที่ยากำลังทำงานอยู่ ที่จะตัดโรค นั่นคือ สมุจเฉท
เมื่อโรคระงับไปก็เป็นปฏิปัตสัทธิ
แล้วก็สบายไปตลอดไม่เกิดโรคขึ้นอีก ก็เป็นนิพพาน


หรือขณะที่ เรากินข้าว เราหิว ความหิวเปรียบเหมือนโรค
เราก็กินอาหารเข้าไป ในขณะ ที่กินอาหารอยู่ นั่นคืออริยมรรค
ทำงานอยู่เพื่อจะบำบัด เข้าไปตัดความหิว
ค่อยๆตัดความหิวทีละน้อยๆจนอิ่ม

พออิ่มแล้ว ความหิวก็สงบระงับ นั่นคือปฏิปัตสัทธิ

แล้วก็สบายไป คือนิพพาน นิสสรณะ

แต่เราอิ่มแล้วหิวอีก ถ้าไม่หิวอีกมันก็สบายไปตลอด
ทีนี้กิเลสของท่าน เมื่อตัดตัวใดแล้วก็ตัดขาดไปเลย ไม่เกิดขึ้นอีก
แต่เราไม่ได้เป็นอย่างนั้น ความหิวมันเกิดขึ้นอีก
บางคนก็ต้องกินบ่อยๆ หลายครั้ง

นี่เรื่องของวิมุตติ


ทีนี้ผู้หลุดพ้น วิมุตโตหมายถึงผู้หลุดพ้น
วิมุตติคือความหลุดพ้น ท่านแบ่งเป็น 3 จำพวกด้วยกัน


1. เจ โตวิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นด้วยกำลังใจ
หรือเอาความหมาย ก็คือ หลุดพ้นด้วย กำลังสมาธิ
ได้ฌาน ระงับกิเลส หลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว
ตลอดเวลาที่ ฌานยังอยู่ เป็นฌานลาภีอยู่ ก็ได้เป็นเจโตวิมุตติ
หลุดพ้นด้วยอำนาจของ สมาธิ อำนาจของฌาน


2. ปัญญาวิมุตติ ผู้ที่เป็นปัญญา วิมุตติหลุดพ้นด้วยอำนาจของปัญญา
นี่คือท่านที่เดินตามสายของวิปัสสนา
คือ เจริญวิปัสสนาล้วน แต่ถึงจะเจริญวิปัสสนา สมาธิก็เกิดขึ้น เหมือนกัน
เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ ไม่ได้แปลว่าวิปัสสนาและสมาธิ
แปลว่า สมาธิที่ได้จากการเจริญวิปัสสนา
ผู้เจริญทางสายนี้เรียกว่า วิปัสสนาญานิก มีวิปัสสนาเป็นญาณ
ถ้าหลุดพ้นจากกิเลส ตัดกิเลสได้ก็เป็นปัญญาวิมุตติ
แต่ท่านเหล่านี้ไม่ได้ฌาน และไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดช ไม่ได้ อภิญญา
เรียกว่าพระสุขวิปัสสโก เป็นพระอริยประเภทสุขวิปัสสก
แปลว่าสุข แห้งๆ ไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดช แต่ว่าหมดกิเลสเหมือนกัน

พวก ที่ 3 เรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ แปลว่าหลุดพ้นทั้งสองโดยส่วนทั้งสอง
คือ ท่านได้ฌานมาก่อน ได้สมาธิได้ฌานมาก่อน
และต่อมาก็มาเจริญวิปัสสนา หลุด พ้นจากกิเลส
เพราะว่าท่านได้ 2 คือได้ทั้งฌาน ได้ทั้งปัญญา
หลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจของปัญญา

มีรายละเอียดในพระไตรปิฎก ผม ไม่ได้เอามาอ้างในที่นี้
เพราะว่าดูแล้วก็ยากเกินไปสำหรับจะพูดทางวิทยุ
ตามแนวพระพุทธพจน์มีหลายแห่ง ผมได้บันทึกเป็นหนังสือเอาไว้

วิมุตตายตนะ

ผมจะพูดถึงวิมุตตายตนะ แปลว่าบ่อเกิดของวิมุตติ
ท่านกล่าวเอาไว้ 5 อย่าง ในวิมุตตายตนสูตร



1. ฟังธรรม
ผู้ที่ตั้งใจฟังธรรม สนใจในธรรมก็หลุดพ้นได้
เป็นพระอรหันต์ได้ เพียงแต่ตั้งใจฟังอย่างเดียว


2. คิดไตร่ตรองใคร่ครวญธรรม
บางท่านใคร่ครวญธรรมแล้วก็ได้ปีติปราโมทย์
แตกฉาน ขบธรรมะแตก ก็ได้บรรลุก็มี


3. แสดงธรรม แสดงไปๆ ได้ปีติปราโมทย์จากการแสดงธรรม
เพราะรู้สึกว่าเรื่องนี้เราก็มี เรื่องนี้เราก็มี ก็เกิดปีติปราโมทย์ขึ้น
ก็บรรลุธรรมในขณะแสดงธรรม ตัวอย่างคือพระนาคเสน
ได้แสดงธรรมให้อุบาสิกาฟัง อุบาสิกาได้บรรลุ
ท่านก็ได้บรรลุด้วย เป็นเรื่องประหลาด
เวลาแสดงธรรม ใจมันเป็น สมาธิกว่าปกติ
ถ้าเผื่อได้พูดถึงคุณสมบัติที่ผู้แสดงมี บำเพ็ญอยู่ กระทำอยู่
ปีติปราโมทย์มันก็เกิดขึ้นมา
อันนี้เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงให้เขามีกำลัง ใจในการทำงานแสดงธรรมต่อไป


4. สาธยายธรรม คือสวดร้อง ท่องบ่น
บางท่านสวดอิติปิโส ภควา สำรวมใจให้ดี
เวลาไม่สบายใจให้สวดมนต์ จำอะไรได้ให้เอามาสวดให้หมดเลย
ประมาณ 10-20 นาที บางทีหัวเราะออกเลย
หรือจำได้น้อยสวดกลับไปกลับมาก็ได้
เวลาที่ไม่สบาย อย่างนี้ก็ได้ บรรลุธรรมเหมือนกัน


5. เจริญสมถวิปัสสนา ซึ่งคนทำกันอยู่
ต้องทำไปด้วยกัน ทำสมถะบ้าง ทำวิปัสสนาบ้าง สลับกันไป
ถ้าทำสมถะ อย่างเดียวก็เพียงแต่ระงับไว้ได้เท่านั้น

นี่คือ วิมุตตายตนะ บ่อเกิดของวิมุตติ 5 อย่าง
เพราะฉะนั้น ก็ขอให้รู้ว่าคนสามารถบรรลุธรรมด้วยวิธีต่างๆ

วิมุต ติญาณทัสสนะ ความรู้เห็นในความหลุดพ้น
ก็คือเมื่อได้หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณทัสสนะ มีความรู้เห็นในความหลุดพ้น
มีในพระสูตรบางสูตรที่กล่าวถึงว่า
บางท่านหมดกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหมดกิเลสเพราะไม่มีญาณทัสสนะ
เพราะฉะนั้นเมื่อหมดแล้วต้องมีญาณทัสสนะด้วย
เหมือนคนที่หายโรค ต้องรู้ว่าตัวหายโรคแล้ว จะได้เลิกกินยา

ขอจบเรื่องกถาวัตถุลงไว้เพียงเท่านี้นะครับ
ขอความสุขสวัสดี ขอความเจริญรุ่งเรืองในธรรม
และในสิ่งที่ท่านทั้งหลายปรารถนา
ประสบผลที่ดีในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ สวัสดีครับ
ขอเชิญฟัง การบรรยายธรรมโดยอาจารย์ วศิน อินทสระ
ที่วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู ทุกเช้า วันอาทิตย์
เวลา 10.15 น. เว้นวันอาทิตย์ต้นเดือน

รูปภาพรูปภาพ

คัดลอกจาก...
http://www.ruendham.com/book_detail.php ... 9%A1%B6%D2)%20%E1%C5%D0%A4%C7%D2%C1%CA%D1%B9%E2%B4%C9%20(%CA%D1%B9%B5%D8%AF%B0%D4%A1%B6%D2)

:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร