วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 17:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2025, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. โดยความต่างแห่งคัมภีรภาพ

[๖๕๙] อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ดูกรอานนท์ ก็แลปฏิจจจ-
สมุปบาทนี้ลึกซึ้งด้วย ที่ปรากฏออกมาก็ลึกซึ้งด้วย" ดังนี้ ทรงหมายถึงคัมภีรภาพโดย
อรรถบ้าง โดยธรรมบ้าง โดยพระธรรมเทศนาบ้าง โดยปฏิเวธบ้าง ของพระผู้มีพระภาค
ฉะนั้น ภวจักรนี้ พึงทราบตามควรแม้ โดยความต่างแห่งคัมภีรภาพ.

อธิบาย คัมภีรภาพโดยอรรถ

เพราะเหตุที่ในบรรดาคัมภีรภาพเหล่านั้น อรรถว่า ชรา มรณะ เพราะมีชาติเป็น
ปัจจัยจึงมีขึ้นเกิดขึ้นได้ เป็นอรรถที่ลึกซึ้ง เพราะความที่อรรถว่า มีชาติเป็นปัจจัยจึงมีขึ้น
เกิดขึ้นได้ เป็นอรรถพึงหยั่งรู้ได้ยากอย่างนี้ว่า "ชราและมรณะไม่มีมาแต่ชาติก็หามิได้ และ
เว้นชาติเสียแล้วมันจะมีมาแต่เหตุอื่นก็หามิได้ และมันย่อมเกิดขึ้นแต่ชาติ ด้วยประการฉะนี้
ดังนี้ เป็นอรรถที่ลึกซึ้ง เช่นเดียวกัน อรรถว่า ชาติ มีภพเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ฯลฯ
อรรถว่า สังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ ก็เป็นอรรถที่พึงรู้ได้ยาก เป็นอรรถที่ลึกซึ้ง
ฉะนั้น ภวจักรนี้จึงลึกซึ้งโดยอรรถ.

เบื้องต้น ในภวจักรนี้มี คัมภีรภาพโดยอรรถ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้
ก็ผลแห่งเหตุเรียกว่า อรรถ ดังพระบาลีที่พระผู้มีพระกาศตรัสไว้ว่า
"ความรู้ในผลอันเกิดแต่เหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2025, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย คัมภีรภาพโดยธรรม

อนึ่ง เพราะหตุที่อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารถหล่านั้นๆ โดยอาการใด และที่กำหนด
ลงโดยสถานะใด อรรถว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง เพราะความที่แห่ง
อาการนั้น แห่งสถานะนั้น เป็นเรื่องที่รู้ได้ยาก เช่นเดียวกัน อรรถว่า สังขารเป็นปัจจัยแก่
วิญญาณ ฯลฯ อรรถว่า ชาติ เป็นปัจจัยแก่ชรา มรณะ ก็เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง
เพราะเหตุนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยธรรม
ที่ว่ามานี้เป็น ธรรมคัมภีรภาพ ในภวจักรนี้
ก็คำว่า ธรรม เป็นชื่อแห่งเหตุ ดังพระบาลีที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
"ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา"

อธิบาย คัมภีรภาพโดยพระธรรมเทศนา

อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระธรรมเทศนาก็ลึกซึ้ง เพราะความที่แห่งปฏิจสมุปบาทนั้น
อันพระผู้มีพระภาคพึงทรงให้เป็นไปโดยประการนั้นๆ โดยเหตุนั้นๆ ในประการแห่งการ
แสดงนั้น ญาณอื่นจากพระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่ได้ที่ตั้งเลย
จริงอย่างนั้น ภวจักรนี้ในบางพระสูตรทรงแสดงโดยอนุโลม ในบางพระสูตรทรง
แสดงโดยปฏิโลม ในบางพระสูตรทรงแสดงทั้งอนุโลมและปฏิโลม ในบางพระสูตรทรง
แสดงโดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้าง ตั้งแต่ตอนกลางมา ในบางพระสูตรทรงแสดง
ทั้ง ๓ สนธิ ๔ สังเขป ในบางพระสูตรทรงแสดง ๒ สนธิ ๓ สังเขป ในบางพระสูตรทรง
สนธิเดียว ๒ สังเขป เพราะเหตุนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยพระธรรมเทศนา
ที่ว่ามานี้เป็น คัมภีรภาพโดยพระธรรมเทศนา

อธิบาย คัมภีรภาพโดยปฏิเวธ

อนึ่ง เพราะเหตุที่ในปฏิจจสปปบาทนี้ สภาวะแห่งธรรรมมือวิชชาเป็นต้นนั้นใด
อนึ่ง ธรรมทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ย่อมเป็นอันโยคาวจรย่อมแทงตลอดแล้ว
โดยลักษณะของตนอย่างถูกต้อง สภาวะนั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะหยั่งลงได้ยาก
เพราะเหตุนั้น ภวจักรนี้ จึงชื่อว่า ลึกซึ้งโดยปฏิเวธ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2025, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


๖๑๕
จริงอย่างนั้น ในบรรดาปฏิจจสมุปบาทนี้ :-
๑) อรรถคือ ควานไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่แทงตลอดด้วยดีซื่อสัจจะ ของอวิชชา ลึกซึ้ง,
๒) อรรถคือ ปรุงแต่ง พอกพูนขึ้น เป็นสราคะ เป็นวิราคะ แห่งสังขาร ลึกซึ้ง,
๓) อรรถคือ เป็นความว่างเปล่า ความไม่ขวนขวาย ความไม่เคลื่อนไป ความปรากฏ
โดยปฏิสนธิ แห่งวิญญาณ ลึกซึ้ง,
๔) อรรถคือ เกิดพร้อมกัน ความแยกกัน ความไม่แยกกัน ความน้อมไป ความแปรผัน
แห่งนามรูป ลึกซึ้ง,
๕) อรรถคือ ความเป็นอธิบดี เป็นโลก เป็นทวาร เป็นเขต รับอารมณ์ได้ แห่งสฬายตนะ ลึกซึ้ง,
๖) อรรถคือ ความถูกต้อง ความกระทบ ความถึงกัน ความประชุมกัน แห่งผัสสะ
ลึกซึ้ง,
๗) อรรถคือ ความเสวยรสอารมณ์ ความเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกลางๆ ความเสวย
อย่างไม่มีชีวะ แห่งเวทนา ลึกซึ้ง,
๘) อรรถคือ ความเพลิดเพลินยิ่ง ความจอดใจ เป็นควานอยากเหมือนลำธาร
เครือเถา แม่น้ำ เต็มยากเหมือนทะเล แห่งตัณหา ลึกซึ้ง,
๙) อรรถคือ ความยึด ความถือ ความปักใจ ความจับไว้ ความก้าวล่วงได้ยาก
แห่งอุปาทาน ลึกซึ้ง,
๑๐) อรรถคือ ความประมวลมา ความปรุงแต่ง ความชัดไปในกำเนิด คติ ฐิติ นิวาส
แห่งภพ ลึกซึ้ง,
๑๑) อรรถคือ ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลงในครรภ์ ความบังเกิด
และความปรากฏแห่งชาติ ลึกซึ้ง,
๑๒) อรรถคือ ความสิ้นไป ความเลื่อนไป ความแตกไป และความแปรปรวน
แห่งชราและมรณะ ลึกซึ้ง.
ที่ว่ามานี้ คือ คัมภีรภาพโดยปฏิเวธ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2025, 17:02 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2931


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร