วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 11:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2025, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1744243967518-removebg-preview.png
ei_1744243967518-removebg-preview.png [ 507.82 KiB | เปิดดู 709 ครั้ง ]
ว่าโดยสังเขป โดยพิสดาร
[๕๑๕] คำว่า โดยสังเขป โดยพิสดาร ความว่า ก็เมื่อ ว่าโดยสังเขป อายตนะ
ทั้ง ๑๒ ก็เป็นเพียงรูปปนามเท่านั้น เพราะสงเคราะห์มนายตนะและเอกเทศแห่งธัมมายตนะ
เข้าด้วยนาม และสงเคราะห์อายตนะที่เหลือจากนั้นเข้าด้วยรูป ก็เมื่อ ว่าโดยพิสดาร ใน
บรรดาอายตนะภายในทั้งหลาย เบื้องตัน จักขายตนะ โดยชาติก็เป็นเพียงจักขุประสาท
เท่านั้น แต่ว่าโดยความต่างแห่งปัจจัย คติ นิกาย และบุคคล มีประเททเป็นอนันต์ อายตนะ
๔ มีโสตายตนะเป็นต้น ก็เหมือนกัน มนายตนะมีประเภทเป็น ๘๙ ดวง โดยจำแนกเป็น
กุสลวิญญาณ อกุศลวิญญาณ วิบากวิญญาณ และกิริยาวิญญาณ และจิตมีประเภทเป็น
๑๒๑ ดวง แต่เมื่อว่าโดยจำแนกเป็นวัตถุและปฏิปทาเป็นต้น ก็มีประเภทเป็นอนันต์

รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ และรสายตนะ มีประเภทเป็นอนันต์โดยความ
ต่างกันแห่งวิสภาคและปัจจัยเป็นต้น โผฏฐัพพายตนะมี ๓ ประเภท คือ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ
และวาโยธาตุ มีประเภทเป็นอเนก โดยความต่างแห่งปัจจัยเป็นต้น ธัมมายตนะมีประเภท
เป็นอเนก โดยแยกความต่างของสภาวธรรมแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารยันธ์
สุขุมรูป และนิพพาน.

วินิจฉัยโดยสังเขป โดยพิสดาร พึงทราบอย่างนี้

(๕๑๕) (๖๓) คำว่า เพราะสงเคราะห์เข้า ได้แก่ เพราะสงเคราะห์เข้าด้วยอำนาจ
การสงเคราะห์ คือการนับ. คำว่า โดยชาติ คือ โดยความเป็นธรรมชาติเสมอกัน ได้แก่
ความเป็นจักขุ. ความต่างแห่งปัจจัย ได้แก่ ความต่างแห่งปัจจัยมีกรรมเป็นต้น. จริงอยู่
ว่าโดยประเภทแห่งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ซึ่งต่างโดยประเภทมีการให้ทานเป็นต้น
และกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น และว่าโดยประเภทแห่งปัจจัยภายใน และภายนอก ซึ่ง
เป็นเหตุทำร่วมกันแห่งกรรมนั้น จักขายตนะก็ย่อมเป็นธรรมชาติต่างกัน คือไม่เหมือนกัน.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2025, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




16136405_IMG_captureImage.png
16136405_IMG_captureImage.png [ 941.38 KiB | เปิดดู 651 ครั้ง ]
อบายมีนรกเป็นต้น และเหตุต่างกันของคติแห่งสัตว์ มีสัตว์ที่ไม่มีเท้าเป็นต้น ชื่อว่า ความ
ต่างกันแห่งคติ เพราะอธิบายว่า ความต่างกันแห่งคติทั้งหลาย หรือในคติทั้งหลาย ๒ ชื่อว่า
ความต่างกัน แห่งคติ หรือในคติ หมู่ของสัตว์เดียรัจฉานมี ช้าง ม้า เป็น และหมู่ของ
มนุษย์มีกษัตริย์เป็นต้น ชื่อว่า ความต่างแห่งนิกาย. ความต่างแห่งสันดานของสัตว์นั้น ๆ
ชื่อว่า ควานต่างแห่งบุคคล. ความที่วัตถุทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น มีประเภทเป็นอนันต์อันใด
ที่ท่านกล่าวไว้แล้ว อันนั้นแหละเป็นความต่างแห่งหทัยวัตถุ เพราะไม่เป็นไปล่วงซึ่งความ
ต่างเช่นนั้นไปได้ เพราะเหตุนั้น จึงควรประกอบความที่มนายตนะมีประเภทเป็นอนันต์ไว้
เพราะเหตุที่โลกตตระชื่อว่า เว้นจากฌาน ไม่มี ฉะนั้น โลกุตตระ ๘ ดวง จึงรวมเป็น
๔๐ ดวง ด้วยอำนาจฌานทั้ง ๕. เพราะหตุนั้น ท่านอาจารย์เพิ่มโลกุตตรจิตเหล่านั้นเข้า
ไปในโลกับจัด ๘๑ ดวง กล่าวว่า จิตมีประเภทเป็น ๑๒๑ ดวง. คำว่า วัตถุ ได้แก่ วัตถุมี
จักขุเป็นต้น. วิญญาณ ชื่อว่า มีประเภทเป็นอนันต์ ก็โดยประเภทแห่งวัตถุมีจักขุเป็นต้น
นั้น. ปฏิปทา ได้แก่ ทุกขาปฏิปทาเป็นต้น. ด้วย อาทิ ศัพท์ พึงเห็นการสงเคราะห์ ฌาน
อธิบดี ภูมิ และอารมณ์ เป็นต้นเข้าด้วย. รูปสีเขียวเข้ากันได้กับรูปสีเขียว สีอื่นเป็นวิสภาค
กัน. ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยมีกรรมเป็นต้น. แม้ในปัจจัยมีกรรมเป็นต้นนั้น ก็พึงทราบความ
ต่างกัน คือความที่มีกุศลเป็นสมุฏฐานเป็นต้น และความที่อายตนะมีความเย็นและอุตุเป็น
สมุฏฐานเป็นต้น. ด้วย อาทิ ศัพท์ พึงทราบความต่างกันแห่งคติและนิกาย. คำว่า โดยแยก
ความต่างของสภาวธรรม ได้แก่ การแยกมีอาทิอย่างนี้ คือ สุข ทุกข์ อทุกขมสุข ชื่อว่า เป็น
ควมจำแนกสภาวะ. ความต่างมีอาทิอย่างนี้ คือ เกิดจากจักขุสัมผัส เกิดจากโสตสัมผัส
ชื่อว่า ความต่าง.
ว่าโดยเป็นสิ่งที่พึงเห็น
[๕๑๖] ก็ในข้อว่า โดยเป็นสิ่งที่พึงเห็น นี้ มีวินิฉัยดังต่อไปนี้.
อายตนะทั้งหลายที่เป็นสังขตะทั้งหมดทีเดียว พึงเห็นโดยความไม่มาและโดยความ
ไม่จากไป เพราะก่อนเกิดขึ้น อายตนะเหล่านั้นก็มิได้มาจากไหน ๆ หลังจากเสื่อมไปก็มิได้
ไปที่ไหน โดยที่แท้ ก่อนเกิดก็ยังมิได้สภาวะ หลังจากเสื่อมไป ก็มีสภาวะแตกทำลายไป
ท่ามกลางส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลายก็ย่อมไม่มีอำนาจเป็นไป เพราะมีความเป็นไป
เนื่องด้วยปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงพึงเห็นโดยความไม่มาและโดยความไม่จากไป.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2025, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พึงเห็นโดยไม่มีควาเพยายามและโดยไม่มีความขวนขวายทางความคิด เพราะ
อายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูปเป็นต้น ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า "โอหนอ เมื่อเรามีความ
พร้อมเพรียงกัน ก็จะพึงเกิดชื่อว่า วิญญาณ ขึ้นได้" และอายตนะเหล่านั้นย่อมไม่พยายาม
ย่อมไม่ถึงความขวนขวาย ด้วยความเป็นทวาร ด้วยความเป็นวัตถุ และด้วยความเป็น
อารมณ์ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ โดยที่แท้ ข้อที่อายตนะมีจักขุและรูปเป็นต้น
สามัคคีกัน ก็ย่อมเกิดจักขุวิญญาณเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พึงเห็นโดยไม่มีความพยายา
และโดยไม่มีความขวนขวายทางความคิด.

อีกอย่างหนึ่ง อายตนะภายใน พึงเห็นเหมือนบ้านร้าง เพราะเว้นจากความเป็นของ
ยั่งยืน ความงาม เป็นสุข และความเป็นตัวตน อายตนะภายนอก พึงเห็นเหมือนโจรฆ่า
ชาวบ้าน เพราะเป็นตัวกระทบอายตนภายใน ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีตรัสไว้ว่า "ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย จักขุถูกรูปที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจเบียดเนียน" ดังนี้ พึงทราบความ
พิสดารต่อไป

อีกอย่างหนึ่ง อายตนะภายใน พึงเห็นเหมือนสัตว์ ๖ จำพวก อายตนะภายนอก
พึงเห็นเหมือนที่โคจรของสัตว์ ๖ จำพวกนั้น.
วินิจฉัยในอายตนะเหล่านี้ พึงทราบโดยเป็นสิ่งที่พึงเห็นอย่างนี้.
นี้กถามุขโดยพิสดารแห่งอายตนะทั้งหลายเท่านี้

(๕๑๖) (๖๔) ท่านอาจารย์ประสงค์จะเปิดเผยเนื้อความ ที่กล่าวไว้โดยสังเขป
ว่า โดยความไม่มา โดยความไม่จากไป จึงกล่าวคำว่า น หิ เป็นต้น. ก่อนเกิดขึ้นอายตนะ
ทั้งหลายก็มิได้มาจากไหน ๆ และหลังจากเสื่อมไปก็มิได้ไปในที่ไหนๆ เพราะความที่อายตนะ
ทั้งหลายมีสภาพไม่มีอยู่ในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย. เพราะความที่มีเวลานิดหน่อยแม้
ในขณะที่มีอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา. ด้วยเหตุนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า โดยที่แท้ เป็นต้น. ความพยายาม ชื่อว่า อีหา ด้วยอำนาจที่มีความ
ดิ้นรน. ความขวนขวาย ชื่อว่า พยาปาระ ด้วยอำนาจความคิด. ใน ๒ อย่างนั้น ท่าน
อาจารย์เมื่อจะแสดงความขวนขวาย จึงกล่าวว่า เพราะอายตนะทั้งหลายมีจักขุและรูป
เป็นต้น ย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้. เมื่อจะแสดงความพยายาม จึงกล่าวคำว่า น จ ตานิ
เป็นต้น. ก็ทั้งสองคำเป็นคำสับลำดับกันว่า อีหา จ โหติ พฺยาปาโร จ. บทว่า ธมฺมตาว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2025, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้แก่ สภาวะนั่นอง, อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นธรรมที่สามารถในเหตุ คือความที่อายตนะ
เว้นจากความพยายามและความขวนขวาย เป็นธรรมมีทวารเป็นต้น ชื่อว่า ธรรมดา ก็
ในอรรถนี้ความของบทว่า ยํ นี้เท่ากับ ยสฺมา. ในอรรถก่อน ยํ ศัพท์ เป็นคำที่ทำความมีให้
ต่างออกไป. อายตนะทั้งหลาย พึงเห็นเหมือนบ้านร้าง เพราะมีพระบาลีว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย คำว่า บ้านร้าง นี้ เป็นชื่อของอายตนะในทั้ง ๖. ภาชนะใด ๆ นั่นเองในบ้าน
ร้าง ที่ถือเอาว่าประกอบด้วยข้าวและน้ำอันเขายึดถืออยู่ ภาชนะนั้น ๆ ก็เป็นของว่างเปล่า
ทั้งนั้นที่เขายึดถือเอาไว้ ฉันใด อายตนะเหล่านี้ที่ยึดถือเอาโดยความเป็นของยั่งยืนเป็นต้น
ก็เหมือนฉันนั้น เมื่อพิจารณาโดยแยบคายก็ปรากฎเป็นของร่างเปล่าทั้งนั้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เพราะเว้นจากความเป็นของยั่งยืน ความงาม เป็นสุข และความ
เป็นตัวตน.

อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น ท่านกล่าว่าเป็นตัวกระทบ ด้วยภาวะที่ทำให้เกิด
อภิชฌาและโทมนัสขึ้นในทวารมีจักขุเป็นต้น. งู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก และลิง
ชื่อว่า สัตว์ ๖ จำพวก. ที่ไม่เสมอ วังน้ำ อากาศ บ้าน ป้าช้า และป่า เป็นที่โคจรของสัตว์
ทั้ง ๖ จำพวกนั้น. ในบรรดาทีโคจรเหล่านั้น พึงประกอบความที่อายตนะภายนอกมีรูป
เป็นต้น เป็นเหมือนที่ที่ไม่เสมอเป็นต้น เพราะอายตนะภายในมีจักขุเป็นต้น ซึ่งชอบที่ที่ไม่
เสมอเป็นต้น ยินดีแล้วโดยความเป็นที่ที่ไม่เสมอ ๑ ความเป็นวังน้ำ ๑ ความเป็นอากาศ
๑ ความเป็นบ้าน ๑ ความเป็นป่าข้า ๑ และความเป็นป่า ๑.
พรรณนากถามุขโดยพิสดารแห่งอายตนะ จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร