วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 01:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2025, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20250403_063100_Google (1).png
Screenshot_20250403_063100_Google (1).png [ 370.91 KiB | เปิดดู 966 ครั้ง ]
ก็เพราะศัพท์ทั้ง ๔ นี้ พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นตัน ย่อม
แทงตลอด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจ เหมือนดั่งพรระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ
๔ เหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยริยสัจ ๔ เหล่านี้ เพราะหตุนั้น จึง
เรียกว่าอริยสัจ ดังนี้

อนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของพระอริยะ เหมือนพระบาลีที่
ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่
สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ" ดังนี้

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะสำเร็จความเป็นพระอริยะ เหตุที่สัจจะเหล่านี้
พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เหมือนดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสัจ ๔
เหล่านี้แล ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงได้นามว่า พระอริยะ" ดังนี้.
ก็อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะอรรถว่า สัจจะอันเป็นอริยะ คำว่า
เป็นอริยะ หมายความว่า แท้จริง ไม่เท็จ ไม่ลวง เหมือนดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล แท้จริง ไม่เท็จ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น จึงเรียก
ว่า อริยสัจ" ดังนี้
พึงทราบวินิจฉัยไตยคำวิเคราะห์ในอริยสัจนี้ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.
[๕๓๑] ในคำว่า พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมแทง
ตลอด นี้ ท่านอาจารย์กล่าวว่า มิพระพุทธเจ้าเป็นต้น ดังนี้ เพราะยกเอาโวหารว่า พุทธะ
เป็นต้น ที่ได้เป็นไปแล้ว ในกาลที่ได้แทงตลอดแล้ว แม้ในกาลก่อนได้ตรัสรู้ เพราะเป็น
อุปจารโวหาร บัญญัติเรียกในท่านที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างที่ได้เป็นแล้ว เช่น
อย่างในพระบาลีว่า อคมา ราชคหํ พุทฺโธ แปลความว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่เมือง
ราชคฤห์ จริงอยู่ พระอริยบุคลลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเเทงตลอดด้วยมรรค
ทั้ง ๔ แล ในความเป็นจริง ตสฺมา อริยสจฺจานีติ อุจฺจนฺติ นี้ บัณฑิตพึงเห็นการลบเบื้องปลาย
ในบทเบื้องต้นว่า อริยปฏิวิชฺฌิตพฺพานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ แปลว่า สัจจะทั้งหลายอันพระ
ัอริยะพึงแทงตลอดชื่อว่า อริยสจฺจานิ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะความที่พระตถาคต
เป็นพระอริยะ ท่านจึงเรียกว่าอริยสัจ เพราะเป็นสัจจะพระตถาคตนั้น จริงอยู่ สัจจะ
เหล่านั้น ย่อมเป็นของตถาคตนั้น เพราะเป็นความสัจจะที่พระตถาคตได้บรรลุด้วย
พระองค์เอง เพราะความเป็นอริยสัจที่พระตถาคตได้ทรงประกาศด้วยพระองค์เอง และ
เพราะอริยะนั้นเอง อันบุคคลเหล่าอื่นจะพึงบรรลุได้ ฉะนี้แล ในคำว่า แม้เพราะสำเร็จ
ความเป็นพระอริยะ นี้ บัณฑิตก็พึงเห็นการลบบทเบื้องปลาย เหมือนอย่างในบทก่อนว่า
อริยสาธกานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ แปลว่า สัจจะทั้งหลายที่ให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ
ชื่อว่า อริยสัจ. ในสองบทว่า อริยานิ สจฺจานีติปิ นี้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะอันบุคคล
พึงถึง คือพึงบรรลุโดยภาวะที่แท้จริง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยะ บัณฑิตพึงเห็นว่าใช้ติด
ปาก ในความหมายว่า ไม่คลาดเคลื่อน คือในความหมายว่า จริงแท้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2025, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าโดยประเภทแห่งลักษณะเป็นต้น
[๕๓๒] ว่า โดยประเภทแห่งลักษณะเป็นต้น เป็นอย่างไร ? คือ :-
ทุกขสัจ มีความเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความทำให้เดือดร้อนเป็นรส มีความ
เป็นไปเป็นปัจจุปัฏฐาน.
สมุทัยสัจ มีความก่อให้เกิดเป็นลักษณะ มีการกระทำไม่ให้ขาดสายเป็นรส มี
ความกังวลเป็นปัจจุปัฏฐาน.
นิโรธสัจ มีความสงบเป็นลักษณะ มีความไม่เคลื่อนเป็นรส มีความไม่มีนิมิตเป็น
ปัจจุปัฏฐาน.
มรรคสัจ มีการนำออกไปเป็นลักษณะ มีการกระทำการละกิเลสเป็นรส มีความ
นำออกไปเป็นปัจจุปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง อริยสัจ ๔ นี้ มีความเป็นไป เหตุให้เป็นไป และความหมุนกลับ เหตุ
ให้หมุนกลับ เป็นลักษณะโดยลำดับ.
อนึ่ง มีสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่ง) ตัณหา และอสังขตะ (ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้)
ทัสสนะ (ความเห็น) เป็นลักษณะโดยลำดับอย่างนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยโดยประมาทนห่งลักษณะเป็นต้นในอริยสัจนี้ ด้วยประการดังการดังกล่าว
มานี้
(๕๓๒] ในคำว่า มีความเบียดเบียนเป็นป็นลักษณะ นี้ ความเป็นทุกย์แท้ และความ
เป็นเหตุแห่งความเป็นทุกข์แท้ ๆ นั้นก็ดี ความที่ถูกควานเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น
อยู่ก็ดี ชื่อว่า ความเบียดเบียน. ควานเกิดแห่งความทุกข์หลายประการ โดยมีชาติเป็นต้น
ในภพเป็นต้น และโดยมีโรคตาเป็นต้น ชื่อว่า ความทำบุคคลให้เดือดร้อน ความที่เดือดร้อน
นั้นเป็นกิจ คือเป็นรวของทุกขสัจนั้น เหตุนั้น ทุกขสัจนั้น ชื่อว่า มีความทำให้เดือดร้อน
เป็นรส ทุกขสัจบัณฑิตย่อมถือเอาไว้ได้ โดยเป็นธรรมธาติเป็นในควานเกิดและความดับ
คือในสังสารวัฏ และในวืโมกข์คือนิพพาน เพราะเหตุนั้น ทุกขสัจนั้นจึงชื่อว่า มีความเป็นไป
เป็นปัจจุปัฏฐาน. ทุกขํ ชื่อว่า เป็นตัวก่อให้เกิด เพราะมีความหมายว่า ทุกข์ย่อมก่อให้เกิด
ขึ้น คือเกิดจากสมุทัยนี้ คือเกี่ยวเกาะภพหลังกับภพก่อนเป็นไป. การเกิดขึ้นปอย ๆ อย่าง
นี้ว่า มื่อตัณหาสัยยังไม่เกิดขึ้น ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นบ่อย ๆ แม้เหมือนอย่างนั้นดังนี้ ชื่อว่า
การกระทำไม่ให้ขาดสาย. การห้ามการออกไปจากภพ ชื่อว่า ความกังวล. ความเป็น
ธรรมชาติสงบทุกข์ทั้งปวง ด้วยความเป็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ชื่อว่า ความสงบ
บทว่า อจฺจุติรสํ แปลว่า มีความไม่เคลื่อนเป็นสมบัติ หรือแปลว่า มีความไม่เคลื่อนเป็นกิจ.
คำว่า กิจ ท่านกล่าวไว้โดยเป็นคำปริยาย เพราะกระทำความไม่มีความเคลื่อนให้เป็นเหมือน
ดังว่ากิจ. และความไม่เคลื่อนของนิโรธสัจนั้น ก็คือความไม่ละสภาพ พึงเห็นว่าเป็นความ
ไม่เปลี่ยนแปลง. นิโรธสัจนั้นบัณฑิตย่อมถือเอาโดยเป็นธรรมชาติไม่มีรูปร่าง เพราะเป็น
ธรรมชาติว่างเปล่าจากนิมิต คือขันธ์ ๕ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีความไม่มีนิมิตเป็น
ปัจจุปัฏฐาน. ภาวะที่เป็นอุบายออกไปจากคุก คือสังสารวัฏ ด้วยการตัดอนุสัยได้เด็ดขาด
ชื่อว่า การนำออกไป. การดับกิเลสทั้งปวงโดยไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า การกระทำการละกิเลส.
มรรคสัจอันบัณฑิตย่อมถือเอาโดยความเป็นธรรมชาติออกไปแห่งจิต จากนิมิตและปวัตตะ
เพราะหตุนั้น มรรคสัจนั้นจึงชื่อว่า มีความออกไปเป็นปัจจุบัฏฐาน.
ว่าโดยความหมายและขยายความ
(๕๓๓) ก็ใน ๒ ข้อนี้ว่า โดยความหมายและโดยขยายความ นี้ เบื้องต้น ว่าโดย
ความหมาย หากมีคำถามว่า ความหมายของสัจจะเป็นอย่างไร ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2025, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖. อินทรียสัจจนิทเทส
ถามว่า :- ความหมายของสัจจะเป็นอย่างไร

ตอบว่า :- สภาวะใด เมื่อโยคาวจรทั้งหลายเข้าไปพิจารณาอยู่ ด้วยปัญญาก็
ไม่เป็นสิ่งที่วิปริตเหมือนกล ไม่ลวงเหมือนพยับแดด และไม่เป็นสภาวะที่หาไม่ได้ เหมือน
อาตมันของเดียรถีย์ทั้งหลาย โดยที่แท้ ย่อมเป็นโคจรแห่งอริยญาณ ด้วยภาวะที่แท้ ไม่
ไม่วิปริต และเป็นความจริง ซึ่งมีประการคือ เบียดเบียน ก่อให้เกิด สงบ และนำออกไปเท่า
นั้น สภาวะนี้เป็นภาวะที่แท้ ไม่วิปริต และเป็นความจริง เหมือนลักษณะของไฟและปรกติ
ของโลก พึงทราบว่า เป็นความหมายของสัจจะ เหมือนด้วยพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ทุกขํ นี้แท้ ทุกขํ นี้ไม่แปรผัน คำว่า ทุกขํ นี้ไม่เป็นอย่าง
อื่น" ดังนี้ ว่าไปอย่างพิสดารเถิด.

อีกอย่างหนึ่ง
● เพราะทุกข์ที่จะไม่เบียดเบียนไม่มี สิ่งอื่นนอก
จากทุกข์เบียดเบียนก็ไม่มี ฉะนั้น ทุกข์นี้จึงเรียกว่า สัจจะ
เพราะแน่นอนในความเป็นธรรมชาติที่เบียดเบียน

เพราะเว้นตัณหานั้น ทุกข์จะเกิดจากเหตุอื่น ก็
ไม่มี และทุกข์นั้นก็ไม่มี เพราะเหตุนั้น ตัณหาอันเป็นตัว
กระสับกระสายจึงจัดเป็นสัจจะ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์
แน่นอน

เพราะความสงบอื่นจากนิพพานไม่มี และนิพพาน
นั้นไม่สงบก็ไม่มี ฉะนั้น นิพพานนี้ ท่านจึงกล่าวว่าเป็น
สัจจะ เพราะความแน่นอนว่าเป็นธรรมสงบ

เพราะสิ่งยื่นจากมรรคที่จะนำออกไม่มี และแม้
มรรคนั้นที่จะไม่นำออกก็ไม่มี ฉะนั้น มรรคนั้นจึงจึงได้ยก
ว่าเป็นสัจจะ เพราะความเป็นธรรมเครื่องนำออกแน่แท้

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความแน่แท้ ความไม่คลาด.
เคลื่อน และความเป็นจริงในสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์เป็นต้น
ว่าเป็นอรรถแห่งสัจจะ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร