วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 23:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2025, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




1680054650962.jpg
1680054650962.jpg [ 109.7 KiB | เปิดดู 758 ครั้ง ]
"ความเชื่อมั่นสื่อมใส[ในพระรัตนตรัย กรรม และผลกรรม] ที่ประกอบกับอินทรีย์
๔ นี้ เป็นศรัทธินทรีย์
ในอินทรีย์ ๕ เหล่านั้น ความตั้งมั่นแห่งจิตที่มีศรัทธาเป็นใหญ่นี้ชื่อว่า ฉันทสมาธิ
(สมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่)
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว[ด้วยวิปัสสนาสมาธิ] การละกิเลสหัวยกำลังแห่งการพิจารณาหรือ
กำลังแห่งภาวนาเพื่อข่มกิเลสไว้ ชื่อว่า ปหานะ (การละ)
ลมหายใจเข้าออก วิตก วิจาร สัญญา เวทนา อันธรรมที่ควรระลึกใคร่ครวญ
[โดยมีกิจอย่างเดียวกัน] ทั้งหมดนี้ชื่อว่า สังขาร
โดยประการดังนี้ ฉันทสมาธิ (สมาธิที่มีฉันทะเป็นไหญ่) ข้างตัน การละด้วยการข่ม
กิเลส และสังขารหล่านี้ (ย่อมปรากฎในวิปัสสนาขณะและมรรคขณะ) ผู้ปฏิบัติธรรรมย่อมเจริญ
อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและความเพียรอันประเสริฐทั้งสองอย่างนั้น อันอาศัยความ
สงัดจากกิเลส อาศัยการสำรอกกิเลส อาศัยความดับกิเลส น้อมไปเพื่อความสละกิเลส
ในข้อนั้น ความตั้งมั่นแห่งจิตที่มีวิริยะเป็นใหญ่นี้ชื่อว่า วิริยสมาธิ (สมาธิที่มีวิริยะ
เป็นใหญ่)..ความตั้งแห่งจิตที่มีควานตั้งใจเป็นใหญ่นี้ชื่อว่า จิตตสมาธิ(สมาธิที่มีความตั้งใจ
เป็นใหญ่)..ความตั้งมั่นแห่งจิตที่นี่ความใคร่ครวญเป็นใหญ่นี้ชื่อว่า วิมังสาธิ(สมาธิที่มี
ความใคร่ครวญเป็นใหญ่)
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว(ด้วยวิปัสสนาสมาธิ) การละกิเลสด้วยกำลังแห่งการพิจารณาหรือ
กำลังแห่งภาวนาเพื่อข่มกิเลสไว้ ชื่อว่า ปหานะ (การละ)
ลมหายใจเข้าออก วิตก วิจาร สัญญา เวทนา อันเป็นธรรมที่ควระลึกใคร่ครวญ
[โดยมีกิจอย่างเดียวกัน] ทั้งหมดนี้ชื่อว่า สังขาร
โดยประการดังนี้ วีมังสาวมาธิ (สมาธิที่มีความใคร่ครวญเป็นใหญ่) การละด้วยการ
ข่มกิเลส และสังขารเหล่านี้ ก่อนปรากฎในวิปัสสนาและมรรคขณะ) ผู้ปฏิบัติธรรมย่อม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2025, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยด้วยฉันทสมาธิและควานเพียรกันประเสร็จทั้งสองอย่างนั้น อันอาศัย
ความสงัด(จากกิเลส) อันอาศัยความดับ(กิเลส] อันน้อมไปเพื่อการสละ(กิเลส)

(อิทธิบาท ๔ ที่มีมูลเหตุคืออินทรีย์ ๔ ดังที่กล่าวมาแลัวนั้น ยังมีมูลเหตุลำคัญอีกอย่างหนึ่ง
คือ ศรัทธา เมื่อบุคลมีศรับธาแล้วจึงตั้งใจปฏิบัติธรรมประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ ได้ดังพระทุธพุทธ-
พจน์"" ว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ (บุคคลย่อมข้ามหัวงน้ำด้วยศรัทธา)

คำว่า ฉนฺทสมาธิ แปลว่า "สมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่" มาจาก ฉนฺท ศัพท์ + อธิบติ ศัพท์+
สมาธิ ศัพท์ มีรูปวิเคราะห์ว่า ฉนฺทาธิปติ สมาธิ ฉนฺทสมาธิ ลบ อธิปติ ศัพท์ในท่ามกลางสมาสัย ตาม
หลักภาษาเรียกว่า มัชเฌโลปสมาส คือ สมาสที่ลบศัพท์กลาง

ในเรื่องนี้ท่านกล่าวถึงสมาธิ ๔ ประเภท คือ
๑.ฉันทสมาธิ สมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่
๒. วิริยสมาธิ สมาธิที่มีวิริยะเป็นใหญ่
๓. จิตตสมาธิ สมาธิที่มีความตั้งใจเป็นใหญ่
๔. วิมังสาสมาธิ สมาธิที่มีความใคร่ครวญเป็นใหญ่
ฉันทะ คือ ความต้องการจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทางกาย วาจา หรือใจ ความต้องการดังกล่าว
อาจประกอบร่วมกับโลภะก็ได้ จัดเป็นอกุศลฉันทะ คือ ฉันทะที่เป็นอกุศล หรือประกอบร่วมกับอโลภะก็ได้
จัตเป็นกุศลฉันทะ คือ ฉันทะที่เป็นกุศล (ฉันทะในการอธิษฐานปรารถนาพระนิพพานก็จัดเป็นกุศลฉันทะ
เช่นเดียวกัน) เพราะฉันทะเป็นปกิณณกเจตสิกที่ประกอบกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ได้ ในที่นี้หมาย
ฉันทะที่ประกอบกับศรัทธา จึงมีความเชื่อมั่นต้องการจะละกิเลสในวิปัสสนาขณะและมรรคขณะ
คำว่า สังขาร แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ
๑. กายสังขาร
สภาพที่ร่างกายทำให้เกิดขึ้น หมายถึง ลมหายใจเข้าออกที่เนื่อง
ด้วยร่างกาย เมื่อมีร่างกาย ลมหายใจเข้าออกจึงเกิดขึ้น
๒. วจีสังขาร
สภาพปรุงแต่งถ้อยคำ หมายถึง วิตกและวิจาร ซึ่งทำหน้าที่
ปรุงแต่งถ้อยคำให้มีประการต่างๆ
๓. จิตตสังขาร
สภาพที่ถูกจิตทำให้เกิดขึ้น หมายถึง เวทนาและสัญญา กล่าว คือ
เวทนาและสัญญาเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยจิต เมื่อมีจิต เวทนาและสัญญาจึงเกิดขึ้น เพราะมีจิตเป็นประธาน
แม้ในที่นี้จะกล่าวถึงสังขาร ๓ ประการ ก็หมายถึงวิริยะที่ยังสังขารเหล่านั้นให้เกิดขึ้น
จวบจนบรรลุความสำเร็จแห่งภาวนา การใช้คำในลักษณะนี้เรียกว่า ผลูปจาระ คือ ความหมายแฝงที่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร