วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 00:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2025, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20250313_191139_YouTube.jpg
Screenshot_20250313_191139_YouTube.jpg [ 61.97 KiB | เปิดดู 765 ครั้ง ]
๑. คำวินิจฉัยโดยความต่างแห่งเทศนา

ในบรรดาข้อวินิจฉัยเหล่านั้น ข้อว่า โดยความต่างแห่งเทศนา อธิบายว่า ก็การ
แสดงปฏิจจสมุปบาทแห่งพระผู้มีพระภาคมี ๔ อย่าง คือ ทรงจับเอาตั้งแต่เบื้องต้น หรือ
ตั้งแต่ท่ามกลาง ไปจนถึงที่สุด อนึ่ง ทรงแสดงแต่ที่สุดหรือแต่ท่ามกลาง ไปจนถึงเบื้องต้น
อุปมาชาย ๔ คน ผู้ชักเถาวัลย์จับเถาวัลย์ ฉะนั้น.
ทรงแสดงแต่เบื้องต้นไปถึงปลาย

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท ตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงแม้ที่สุดว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ฯลฯ
ชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ" ดังนี้ อุปมาเหมือนในชาย ๔ คน ผู้หาเถาวัลย์ ชาย
คนหนึ่งเห็นเฉพาะโคนของเถาวัลย์ก่อน ชายคนนั้นตัดเถาวัลย์นั้นที่ราก ชักเอามาทั้งหมด
ถือเอาไปใช้ในการงาน ฉะนั้น.
ทรงแสดงแต่ท่ามกลางไปจนถึงปลาย

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงตั้งแต่ท่านกลางไปจนถึงที่สุดบ้างว่า "เมื่อกุมารนั้น
ตั้งหน้ายินดีเวทนานั้นอยู่ พร่ำชมเชยเวทนานั้นอยู่ ยึดเวทนานั้นติดอยู่ ย่อมเกิดมันที่
ความเพลิดเพลิน นันทิความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายอันใด อันนั้นเป็นอุปาทาน
เพราะปัจจัยคืออุปาทานของเขาจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ" ดังนี้ อุปมา
หนือนในบรรดาชาย ๔ คน ชายคนหนึ่งเห็นท่านกลางแห่งเถาวัลย์ก่อน เขาจึงตัดตรง
กลาง เขาตัดตรงกลางแล้วดึงเอาส่วนเบื้องบนมาใช้ในการงานเท่านั้น ฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2025, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ทรงแสดงแต่เบื้องปลายไปจนถึงต้น

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงปฏิจจสมุปบาท แม้ตั้งแต่เปลายจนถึงตันว่า
"ก็แล คำที่เรากล่าวว่า 'พราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ" นี้ ดูกษุทั้งหลาย
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ หรือมิใช่ หรือความสำคัญของเธอทั้งหลายใน
ข้อนี้เป็นอย่างไร ? " "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีขราและมรณะ"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสำคัญในข้อนี้ของข้าพระองค์ทั้งหลายมีอย่างนี้ว่า เพราะชาติ
เป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ" "อนึ่ง เราได้กล่าวไว้ว่า 'เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร" ตรัสต่อไปว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพรระอวิชชา
เป็นปัจจัยจึงมีสังขาร หรือมิใช่ หรือความสำคัญของเธอทั้งหลายในข้อนี้เป็นอย่างไร ?
ดังนี้ อุปมาเหมือนในบรรดาชายเหล่านั้น คนหนึ่งเห็นยอดเถาวัลย์ก่อน เขาจึงจับที่ยอด
สาวเอาหมดจนถึงโคน โดยสาวลงไปตามยอด นำไปใช้ในงานได้ ฉะนั้น
ทรงแสดงตอนกลางจนถึงต้น

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดงแต่ตอนกลางไปจนถึงต้นว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อาหารทั้ง ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร
เป็นแดนเกิด ? อาหารทั้ง ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหา
เป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด. ตัณหามีอะไรเป็นต้นเหตุ... เวทนา... ผัสสะ... สฬาย-
ตนะ... นามรูป... วิญญาณ... สังขารมีอะไรเป็นต้นเหตุ ฯลฯ สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ
ฯลฯ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด" ดังนี้ อุปมาเหมือนในบรรดาชายเหล่านี้ คนหนึ่งเห็นตอน
กลางเถาวัลย์ก่อน เขาตัดตรงกลางสาวไปข้างล่างจนถึงโคน เอาไปใช้ในงานได้ ฉะนั้น.
(๕๘๒) (๑๑๕) บทว่า เทสนาเภทโต แปลว่า โดยความต่างแห่งเทศนา. โดย
อรรถ โดยลักษณะเป็นต้น และโดยอย่างต่าง ๆ มีอย่างเดียวเป็นต้น ชื่อว่า อตฺถลกฺขเณก-
วิธาทิโต. คำว่า และโดยกำหนดองค์ทั้งหลาย คือ โดยแสดงการกำหนดองค์ทั้ง ๑๒ มี
อวิขชาเป็นต้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2025, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็อวิชชาชื่อว่าเป็นมูลแห่งปฏิจจ สมุปบาท เพราะความเป็นเหตุต้นเดิมแห่งกัมมวัฏ
วิปากวัฏ และกิเลสวัฏ และเพราะความที่ตรัสไว้แต่ต้น. ในข้อนั้นเมื่อได้เห็นมูลแห่งปฏิจจะ
แล้ว การแสดงปฏิจจสมุปบาทจำเดิมแต่มูลนั้น ก็เหมือนกันกับเมื่อเห็นโคนของเถาวัลย์
แล้ว ก็จะดึงเอาเถาวัลย์แต่โคนนั้นไป เพราะฉะนั้น จึงควรกระทำการเทียบเคียงโดย
อุปมา ด้วยว่าสิ่งที่จะพึงจำแนกว่า สิ่งนี้ได้ทรงเห็นแล้ว สิ่งนี้มิได้ทรงเห็นแล้ว ดังนี้ หามี
แก่พระผู้มีพระภาคไม่ เพราะพระองค์ทรงเห็นทั้งหมด. แต่ในข้อนี้ท่านประสงค์เอาความ
เสมอกัน ดังนี้ว่า ทรงทำการแสดงปฏิจจสมุปบาทจำเดิมแต่มูล เหมือนการดึงเอาเถาวัลย์
มาจำเดิมแต่โคน. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบความเสมอกัน ในการทรงแสดงมูลเป็นต้น
โดยภาวะที่จะพึงให้ตรัสรู้เกี่ยวกับอัธยาศัยของสัตว์ที่จะพึงให้ตรัสรู้ได้. บทว่า ตสฺส ความ
ว่า เมื่อกุมารที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นแล อาศัยความเจริญและความเติบโตแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยกามคุณ ๕ ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความยินดี กุมารนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อม
ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง และย่อมเป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งสติในกาย และมีจิตเป็นอกุศล
อยู่ ย่อมไม่รู้ขัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ
หมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามก เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่าง
นี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขบ้างป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อม
ตั้งหน้ายินดี พร่ำชมเชยยึดเวทนานั้นติดอยู่.

แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็อย่างนี้.
ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ตั้งหน้ายินดีอยู่ คือ เพลิดเพลินด้วยความเป็นผู้มีหน้า
เฉพาะต่อตัณหาอันประกอบด้วยปีติ. คำว่า พร่ำชมเชย คือ พร่ำขมเชยว่า เรา ของเรา
ด้วยตัณหามีกำลัง อันเป็นไปด้วยการเปล่งวาจาว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ. ชื่อว่า ยึด
ติดอยู่ เพราะไม่พึงสามารถจะปลดเปลื้องจากตัณหาอันมีกำลังกว่านั้นได้. อนึ่ง ตัณหาซึ่ง
เป็นอุปาทานอันมีกำลังแม้กว่านั้น ก็ชื่อว่า นันทิ. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ตัณหา ท่าน
กล่าวไว้ด้วยคำว่า ตั้งหน้ายินดี เป็นต้น. อุปาทานซึ่งมีตัณหานั้นเป็นปัจจัย ท่านกล่าวไว้ด้วย
คำว่า นันทิ. อุปาทานแม้ทั้ง ๔ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ด้วยความเป็นผู้มีนันที และความ
ไม่พรากจากนันทินั้น และด้วยความเป็นผู้ตั้งหน้ายินดีด้วยตัณหาและทิฏฐิ

(๑๑๖) ก็คำว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ เป็นต้น พนะผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ใน มหตัณหาสังขยสูตร นั้นแหละ

คำว่าอาหาร ๔ มีปัญหา​น็อกเอาต์ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ทรงหมายถึงธรรมมี
ปฏิสนธิ ปัตตนยา และวัฒนธร เป็นต้น อันเป็นวิปากวัฏและโอชา อันมีธรรมอันเป็นสมุฏฐาน
ส่วนอาหารที่ยังเป็นอุปถัมภ์วัฏฏะแม้นอกนี้ มีตัณหาเป็นแดนเกิดนั้นไม่มีอยู่ ก็ย่อม
ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวได้ว่า มีตัณหาเป็นต้นเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร