วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 20:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




33050322_IMG_captureImage.png
33050322_IMG_captureImage.png [ 540.54 KiB | เปิดดู 1394 ครั้ง ]
๒๐. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส
กถาว่าด้วยสัมมสนญาณ

[๖๙๒] ก็ญาณอันรู้ธรรรมที่เป็นทางและธรรมที่มีไปทางอย่างนี้ว่า "นี้ทาง นี้มิไช่
ทาง" ตั้งอยู่ ชื่อว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.
โยคาวจรผู้ใคร่จะทำมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์นั้นให้ถึงพร้อม พึงทำโยคะใน
นยวิปัสสนา ที่เรียกว่า กลาปสัมมสนะ ก่อน.
เพราะเหตุไร ?
เพราะสำหรับผู้ลงมือทำวิปัสสนาแล้ว ในเมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลสมีโอภาสเป็นต้น
มีขึ้น มัคคามัคคญาณจึงมี แท้จริง เมื่อวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว
มัคคามัคคญาณจึงมีแก่โยคาวจรผู้ลงมือทำวิปัสสนา ก็กลาปสัมมสนะเป็นเบื้องตันแห่ง
วิปัสสนา เพราะหตุนั้น มัคคามัคคญาณนี้ท่านจึงยกขึ้นแสดงไว้ในลำดับแห่งกังขาวิตรณ
ญาณ อีกอย่างหนึ่ง เหตุใด ที่เมื่อตีรณปริญญาเป็นไปอยู่ มัคคามัคคญาณะเกิดขึ้น
และตีรณปริญญาก็มีในลำดับแห่งญาตปริญญา แม้เพราะหตุนั้น โยคาวจรผู้ประสงค์จะ
ทำมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินั้นให้ถึงพร้อม พึงกระทำโยคะในกลาปสัมมสนะก่อน.

๒๐. พรรณนามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส
พรรณนากถาว่าด้วยสัมมสนญาณ

(๖๙๒] (๒๓๐) คำว่า ญาณอันรู้ธรรมที่เป็นทางและธรรมที่มิใช่ทางอย่างนี้
ตั้งอยู่ ความว่า ญาณอันกำหนดธรรมที่เป็นทางและธรรมที่มิใช่ทาง ตามความเป็นจริง
อย่างนี้ว่า วิปัสสนาปัญญาที่ดำเนินไปตามวิถีพ้นจากอุปกิเลสนี้ เป็นทางส่วนเบื้องต้นแห่ง
อริยมรรค อุปกิเลส ๑๐ ประการ มีประเภทโอภาสเป็นต้น ไม่ใช่ทาง ดังนี้แล้ว ตั้งอยู่.
การพิจารณาสังเขปธรรมทั้งหลายอันต่างโดยประเภทมิใช่น้อย เกี่ยวกับเป็นอดีต
เป็นต้น เข้าเป็นกลาป (ป็นกลุ่มกัน) ชื่อว่า กลาปสัมมสนะ. นัยว่า โวหารนี้เป็นคำเรียกของ
ชาวชมพูทวีป. ก็การเจริญวิปัสสนาพิจารนาธรรมทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า รูปเอย่างใด
อย่างหนึ่ง ดังนี้ ชื่อว่า นยวิปัสสนา. นัยว่า โวหารนี้เป็นคำเรียกของชาวตัมพปัณณิทวีป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2025, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยเหตุนั้่นแหละ ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ในนยวิปัสสนาที่เรียกว่า กลาปสัมมสนะ. ตาว
ศัพท์ มีความหมายว่า ลำดับ, ด้วย ตาว ศัพท์นั้น ท่านอาจารย์ย่อมแสดงความที่
แห่งสัมมสนะ (การพิจารณา) มีประเภทมากมาย. ก็เพราะความที่ประการแห่งสัมมสนะ
มีประเภทมากมาย. ก็เพราะความที่ประการแห่งสัมมสนะเหล่านั้นมีมาก ท่านอาจารย์จืง
พร่ำสอนการเริ่มโยคะในนยวิปัสสนาก่อนว่า พึงทำโยคะในนยวิปัสสนาก่อน คำว่า เพาระ
เหตุไร เป็นคำของอาจารย์ผู้ท้วง. คำนั้นมือธิบายดังนี้ ถ้าว่ามัคคามัคคญาณวิสุสุทธิ
อันโยคาจรฟังให้ถึงพร้อมไซรั เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวว่า โยคาวจร
ควรทำโยคะแต่ต้นในนยวิปัสสนาเล่า? อารย์นอกนี้เนื้อจะแสดงว่า ข้อนี้เป็นอุบาบรรลุ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินั้น จึงกล่าวว่า สำหรับผู้ลงมือทำวิปัสสนาแล้ว ดังนี้เป็นต้น
ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า เมื่อมีการเจริญวิปัสสนา อุทยัทยัพพญาณ
จึงเกิดขึ้น เมื่ออุทยัพพยญาณมี จึงมีอุปกิเลส มีโอภาสเป็นต้น ต่อจากนั้น จึงกำหนดธรรม
ที่เป็นทางและธรรมที่ไม่ใช่ทาง เพราะเหตุนั้น โยคาวจรจึงต้องเริ่มการเจริญวิปัสสนาก่อน.

ท่านอาจารย์กล่าวว่า ก็กลาปสัมมสนะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา ดังนี้ เพื่อเฉลย
คำถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุไรโยคาวจรจึงต้องเริ่มนยวิปัสสนาเท่านั้น
ก็กลาปสัมมสนะนั้น ชื่อว่า เบื้องตัน เพราะการพิจารนาจะทำได้ง่ายสำหรับโยคาววผู้เริ่ม
กัมมฐาน เหตุที่ธรรมทั้งหลายอันต่างโดยประเภทเป็นอดีตเป็นต้น เป็นไปด้วยอำนาจการ
กำหนดสังเขปไว้.

คำว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะเหตุที่กลาปสัมมสนะเป็นเบื้องต้น. อีกอย่างนึง
คำว่า เพราะเหตุนั้น ความว่า เพราะสำหรับผู้ลงมือทำวิปัสสนาแล้ว ในเมื่อวิปัสสนูปกิเลส
มีโอภาสเป็นต้นมีขึ้น มัคคามัคคญาณทัสสนะจึงมี. แท้จริง เมื่อวิปัสสนุปกิเลสทั้งหลายมี
โอภาสเป็นตันเกิดขึ้นแล้ว มัคคามัคญานะจึงมีแก่โยคาวจรผู้ลงมือทำวิปัสสนา ก็เพราะ
กลาปสัมมสนะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา. บทว่า เอตํ โยค กลาปสมฺมสนํ แปลว่า กลาป-
สัมมสนะนี้ คำว่า อีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น เป็นคำแสดงเหตุก่อตัวในความที่กลาปสัมมสน
อย่างเดียวเป็นบื้องต้นของวิปัสสนา. ตีรณปริญญามีอุทยัทยัพยญาณเป็นที่สุด, ก็เมื่อยัง
ไม่ถึงอุทยัพพยญาณนั่นเอง จึงมีการกำหมดธรรมที่เป็นทางและธรรมที่เป็นทาง เพราะ
หตุนั้น ท่านอาจารจึงกล่าวว่า เมื่อตีรณปริญญาเป็นไปอยู่. แม้ในค่าว่า พึงกระทำโยคะ
ในกลาปสัมมสนะก่อน นี้ บัณฑิตพึงทราบเหตุในการเริ่มกลาปสัมมสนะนั้นแหละก่อน ตาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2025, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


นัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. เพราะชื่อว่า กลาปสัมมสนะ ไม่หยั่งลงภายในแม้ในวิสุทธิเดียว
และอาจารย์บางพวกก็มิได้ระบุถึงกลาปสัมมสนะนั้นเลย พรรณนาวาระแห่งวิปัสสนา. แม้
เมื่อเป็นอย่างนี้ กลาปสัมมสนะนั้นท่านก็ได้แสดงไว้โดยเอกเทศและโดยสิ้นเชิง ในพระสูตร
ทั้งหลาย. ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทา ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ตั้งไว้ด้วยความเป็น
เบื้องต้นแห่งวิปัสสนา เพราะความที่เป็นการกระทำได้ง่ายแก่การมนสิการของท่านผู้เริ่ม
กัมมัฏฐานทั้งหลาย. และเมื่ออุปกิเลสทั้งหลายมีโอภาสเป็นต้น เกิดแกโยคาวจรผู้กำลัง
เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็จะมีมัคคานัคคญาณขึ้น เพราะระหตุนั้น พึงเห็นว่าอวิจารณ์นี้ ท่าน
อาจารย์ได้กระทำแล้วด้วยคำเป็นต้นว่า โยคาวจรผู้ใคร่จะทำมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
นั้นให้ถึงพร้อม ดังนี้.

อธิบาย ปริญญา ๓
[๖๙๓] ในบรรดาปริญญา ๓ นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ก็โลกิยปริญญามี ๓
คือ ญาตปริญญา ๑ ตีรณปริญญา ๑ ปหานปริญญา ๑ ที่ท่านพระธรรมเสนาบดี
หมายถึง ได้กล่าวไว้ว่า "อภิญญาปัญญา จัดเป็นญาณ เพราะอรรถคือรู้ ปริญญาปัญญา
เป็นญาณ เพราะอรรถคือพิจารณา ปหานปัญญา จัดเป็นญาณ เพราะอรรถคีอสละได้
บรรดาปริญญาเหล่านั้น ปัญญาที่เป็นไปด้วยอำนาจการกำหนดลักษณษณะเฉพาะตัว
แห่งธรรมนั้น ๆ อย่างนี้ว่า "รูปมีความสลายไปเป็นลักษณะ เวทนามีความเสวยอารมณ์
เป็นลักษณะ" ดังนี้ ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ส่วนปัญญาคือวิปัสสสนา มีลักษณะเป็นอารมณ์ที่เป็นไปยกขึ้นสู่สามัญญลักษณะแห่ง
ธรรมเหล่านั้นแหละ โดยนัยมีอาทิว่า "รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง" ดังนี้ ชื่อว่า ตีรณปริญญา.

ส่วนปัญญาคือวิปัสสนา มีลักษณะเป็นอารมณ์ที่เป็นไปด้วยอำนาจละสัญญา มี
นิจจสัญญาเป็นต้นในธรรมเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ปหานปริญญา.

ภูมิแห่งปริญญา
ในบรรดาปริญญาทั้ง ๓ นั้น ภูมิของญาตปริญญาเริ่มแต่สังขารปริจเฉท คือการ
กำหนดสังขารไปจนถึงปัจจยปริคคหะ การกำหนดจับปัจจัยได้ ด้วยว่าในระหว่างนี้ ความ
เป็นใหญ่ย่อมมีแก่ความแทงตลอดลักษณะเฉพาะตัวแห่งธรรมทั้งหลายเท่านั้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2025, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนภูมิของตีรณปริญญา ตั้งแต่กลาปสัมมสนะ พิจารณากลาปไปจนถึงอุทกังอุทยัพพ-
ยานุปัสสนา ความเห็นตามความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ด้วยว่าในระหว่างนี้ ความเป็น
ใหญ่ย่อมมีแก่ความแทงตลอดสามัญญลักษณะเท่านั้น.
ภูมิของปหานปริญญา เริ่มต้นแต่ภังคานุปัสสนา การตามเห็นแต่ความดับสูงขึ้นไป
ด้วยว่าตั้งแต่นั้นไป ความเป็นใหญ่ย่อมมีแก่อนุปัสสนา ๗ อย่าง ซึ่งให้สำเร็จละปหา-
ตัพพธรรม มีนิจจสัญญาเป็นต้นอย่างนี้ คือ โยคาวจร :
๑) เห็นตามโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้.
๒) เห็นตามโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้.
๓) เห็นตามโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้.
๔) เมื่อหน่ายอยู่ ย่อมละนันทิได้.
๕) เมื่อคลายกำหนัดอยู่ ย่อมละราคะได้.
๖) เมื่อดับอยู่ ย่อมละสมุทัยได้.
๗) เมื่อสละคืนอยู่ ย่อมละความยึดถือได้.
ในบรรดาปริญญาทั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ ญาตปริญญาอย่างเดียวย่อมเป็นอันโยคีนี้
บรรลุแล้ว ส่วนปริญญานอกนี้ ก็ย่อมเป็นอันโยคีพึงบรรลุได้เพราะสังขารปริจเฉท ความ
กำหนดตัดสังขาร และปัจจยปริคคหะ ความกำหนดถือเอาปัจจัย เพราะทำให้สำเร็จแล้ว
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงทำไว้ว่า "้เพราะเมื่อตีรณปริญญาเป็นไปอยู่ มัคคามัคคญาณย่อม
เกิดขึ้น และตีรณปริญญาก็เกิดในลำดับแห่งญาตบริญญา แม้เพราะเหตุนั้น โยคีผู้ประสงค์
จะทำมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิให้ถึงพร้อม ต้องทำโยคะในกลาปสัมมสนะก่อน ดังนี้

(๖๙๓) บทว่า ตตฺร ความเท่ากับ ตสฺมิํ โยค ตีรณปริญญาย ญาตปริญญานนฺ
ตรภาเว แปลว่า ในความที่ตีรนณปริญญาอยู่ในลำดับแห่งญาตปริญญานั้น หรือความเท่ากับ
ตาสุ โยค ปริญญาสุ แปลว่า ในบรรดาปริญญาเหล่านั้น.

คำว่า วินิจฉัย ได้แก่ การสันนิษฐานโดยสรูป โดยกิจ และโดยภูมิ. ปริญญาทั้ง ๓
อย่าง อันประกอบด้วยมรรคในสัจจะ ๒ ข้างต้น แม้เป็นโลกุตตระท่านได้ด้วยอ๋านาจกิจ
เพราะหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวให้ต่างออกไปว่า โลกิยปริญญา. ปัญญาอันมุ่งหน้าต่อ
โญยธรรม เพราะกำหนดลักษณะแห่งสภาวธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า อภิญญาปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2025, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เพราะอรรถคือรู้ คือ เพราะมีภาวะคือรู้เป็นนิมิต. ที่เรียกว่า ญาณ เพราะ
เหตุคือรู้อภิญโญยธรรรม. คำว่า ปริญญาปัญญา ได้แก่ ปัญญากำหนดรู้ลักษณะมีความ
เที่ยงเป็นต้น. คำว่า เพราะอรรถคือพิจารณา ได้แก่ เพราะมีภาวะคือการพิจารณาเป็น
เหตุ. คำว่า ปหานปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่ละปหาตัพพธรรม.

ท่านกล่าว รูปมีความสลายไปเป็นลักษณะ ว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัว เพราะความ
ที่แยกกันจากลักษณะมีความเสวยอารมณ์เป็นต้น. แห่งธรรมที่ท่านถือเอาด้วยอำนาจการ
กำหนดลักษณะเฉพาะตัว นั้นแหละ. ลักษณะมีความแข้นแข็งและความถูกต้องเป็นต้น
แห่งปฐวีธาตุและธรรมคือผัสสะเป็นต้น พึงกำหนดได้ในขณะทั้ง ๓ เป็นธรรมชาติที่สำเร็จ
โดยสภาวะนั่นเอง ถือเอาได้เพราะเป็นธรรมชาติที่มีรูปแน่นอนโดยเฉพาะฉันใด ลักษณะมี
ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นเหมือนฉันนั้นหามิได้. ก็ลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น ท่านถือเอาเหมือนรูปที่ยกขึ้น เพราะพึงถือเอาโดยหัวข้อคืออาการ คือ แตก เกิดขึ้น
เสื่อมไป และไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยกขึ้นสู่สามัญลักษณะ
ดังนี้. วิปัสสนาที่มีลักษณะเป็นอารมณ์นั่นแหละ ท่านเรียกว่า ปหานปริญญา เพราะท่าน
ประสงค์เอา โลกิยปริญญานั่นเอง.

(๒๓๑) คำว่า แต่สังขารปริจเฉท คือการกำหนดสังขาร คือแต่การกำหนดแยก
นามรูปได้ ซึ่งท่านเรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ. แต่อาจารย์บางพวกย่อมกล่าวว่า การพิจารณาธรรม
มีขันธ์เป็นต้นทั้งหมด ชื่อว่า สังขารปริจเฉท (การกำหนดสังขาร) เพราะความเป็นภูมิแห่ง
การเจริญวิปัสสนาเห็นธรรมมีขันธ์เป็นต้น. ด้วยคำว่า ความเป็นใหญ่ย่อมมีแก่ความแทง
ตลอดลักษณะเฉพาะตัวเท่านั้น นี้ ท่านอาจารย์ย่อมแสดงสมรรถภาพแห่งตีรณะ (การ
พิจารณา) และปหาน (การละ) ของปัญญาที่กำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป. ก็แม้ปัญญา
ที่กำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูปเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นตีรณะ คือพิจารณาโดยอาการอันหนึ่ง
แห่งความเป็นไปด้วยอำนาจการกำหนดอาการทั่วไป แห่งอรูปและรูปว่า นามมีการน้อมไป
เป็นลักษณะ ดังนี้ก็ได้ จะเปลี่ยนเป็นปหานะ คือการละด้วยการระงับทิฏฐิและความสงสัย
ก็ได้ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ความเป็นใหญ่จะพึงมีแม้ในตีรณะ
และปหานะ. แต่โดยนิทเทสอย่างสูง ความที่ทิฏฐิวิสุทธิเท่านั้นเป็นสังขารปริจเฉท (การ
กำหนดสังขาร) ฉันใด พึงทราบความที่วิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์เท่านั้น มีตีรณะ
อละปหานะเป็นกิจ เหมือนฉันนั้น. ก็ปริญญาทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันแยกกัน ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2025, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อถือเอาความโดยประการอื่นก็จะพึงปะปนกัน ชื่อว่า ภูมิของตีรณปริญญา เพราะใน
ตีรณปริญญานั้น ปัญญาพิจารณาลักษะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ด้วยว่าในระหว่างนี้ ความเป็นใหญ่แก่ความแทงตลอด
สามัญญลักษณะเท่านั้น แม้อุทยัพพยญาณย่อมละความยึดมั่นอย่างผิด ๆ บางอย่างได้
ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เพราะความที่อุทยัพพยญาณนั้นยังไม่มีกำลัง จึงไม่ใช่เป็นการละได้
อย่างยอดเยี่ยม เพราะหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ภูมิของปหานปริญญาเริ่มต้นแต่
ภังคานุปัสสนา (เห็นแต่ความดับ) สูงขึ้นไป.

คำว่า เห็นตามโดยความเป็นของไม่เที่ยง ความว่า เห็นตาม คือพิจารณาเห็นสังขาร
โดยอาการไม่เที่ยง คำว่า นิจจสัญญา ได้แก่ ความสำคัญผิดที่เป็นไปว่า สังขารเหล่านั้น
เที่ยง ยั่งยืน ดังนี้. บัณฑิตพึงเห็นการถือเอาแม้ ทิฏฐิและจิตด้วยศัพท์อันเป็นประธานคือ
สัญญา แม้ในบทอื่นจากนี้ก็มีนัยนี้แหละ. คำว่า หน่ายอยู่ คือเห็นด้วยอำนาจความหน่าย
ซึ่งสังขารทั้งหลาย ด้วยนิพพิทานุปัสสนาอันเกิดแต่อนิจจานุปัสสนาเป็นเบื้องต้น. คำว่า
นนฺทิ ได้แก่ ตัณหามีปิติ. คำว่า คลายกำหนัดอยู่ ความว่า ความเห็นโดยประการที่ความคลาย
กำหนัดในสังขารทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความคลายกำหนัดด้วยวิราคานุปัสสนา.
จริงอยู่ ท่านผู้เป็นอย่างนั้นท่านเรียกว่า ย่อมละราคะได้. คำว่า ดับอยู่ ความว่า ตามเห็น
โดยประการที่สังขารทั้งหลายย่อมดับไปอย่างเดียว ไม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจภพใหม่ต่อไปด้วย
นิโรธานุปัสสนา.

จริงอยู่ ท่านผู้เป็นอย่างนั้น ชื่อว่าย่อมละสมุทัยแห่งสังขารทั้งหลายได้ เพราะให้
ถึงความที่มีความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา. คำว่า สละคืนอยู่ ความว่า สละลงโดยประการ
ที่ไม่ยึดสังขารต่อไปด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ย่อม
ละความยึดถือได้, อธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสละความถือด้วยอำนาจว่าเป็นของเที่ยง
เป็นต้น. คำว่า เพราะทำให้สำเร็จแล้ว คือ เพราะทำให้ถึงพร้อมแล้ว. คำว่า ปริญญานอก
นี้ได้แก่ ตีรณปริญญาและปหานปริญญา. ท่านอาจารย์ครั้นอธิบายปริญญาอย่างนี้แล้ว
เมื่อหวนกลับนำเอาเนื้อความที่ท่านได้กล่าวดังนี้ว่า พึงทำโยคะในกลาปสัมมสนะดังนี้ ใน
ลำดับแห่งการข้ามความสงสัยแม้ด้วยอำนาจลำดับแห่งปริญญานั้น มากล่าวอำนาจ
เป็นคำย้ำ จึงกล่าวทำเป็นต้นว่า ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ ก็คำนั้นมีเนื้อความได้
กล่าวแล้วทีเดียว.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร