วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 02:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




862971.jpg
862971.jpg [ 53.12 KiB | เปิดดู 1453 ครั้ง ]
รู้กรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยจุติและปฏิสนธิ
(๖๙๐] เมื่อภิกษุนั้น ครั้นทำการกำหนดจับปัจจัยด้วยอำนาจกรรมวัฏ
และวิปากวัฏอย่างนี้แล้ว ละความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ได้ ธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบันทั้งหมด ก็ย่อนเป็นอันเธอรู้ได้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ ความรู้ของเธอนั้นเป็น
ญาตปริญญา.
เธอรู้อย่างนี้ว่า ขันธ์เหล่าใดบังเกิดเพราะกรรมในอดีตเป็นปัจจัย ขันธ์เหล่านั้น
ก็ดับไปแล้วในอดีตนั้นเอง, ก็ขันธ์เหล่าอื่นมือดีตกรรมเป็นปัจจัยขึ้นในนี้ จากภพ
อดีตแม้ธรรมสักอย่างหนึ่งที่มาสู่ภพนี้ย่อมไม่มี แม้ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิดเพราะกัมมปัจจัย
ในภพนี้ก็จักดับไป, ขันธ์เหล่าอื่นจักบังเกิดในภพใหม่จากภพนี้, แม้ธรรมอย่างเดียวจักไม่
ไปสู่ภพใหม่.
อีกอย่างหนึ่งแล เปรียบเหมือนการสาธยายจากปากของอาจารย์ ย่อมไม่เข้าไปสู่
ปากของอันเตวาสิก การสาธยายจะไม่เป็นไปในปากของอันเตวาสิกนั้น เพราะข้อนั้นเป็น
ปัจจัย ก็หามิได้ ข้อนี้ฉันใด.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


น้ำมนต์ที่ตัวแทนดื่ม ไม่เข้าไปสู่ท้องของคนมีโรค โรคของคนมีโรคนั้นจะไม่หาย
เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ก็หามิได้ ข้อนี้ฉันใด.
วิธีแต่งที่หน้า ย่อมไม่ไปสู่เงาหน้าในเครื่องสองหน้าทั้งหลาย มีหน้าแว่นเป็นต้น
แต่ว่าวิธีแต่งจะไม่ปรกฏในเครื่องส่องหน้าหล่านั้น เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ก็หามิได้ ฉันใด

เปลวประทีปของไส้อันหนึ่ง ย่อมไม่ข้ามไปสู่ไส้อันอื่น แต่ว่าเปลวประทีปจะไม่
บังเกิดในไส้อันอื่นนั้น เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ก็หามิได้ ข้อนี้ฉันใด.
ธรรมอะไร ๆ ย่อมไม่ข้ามมาสู่ภพนี้จากอดีต หรือธรรมอะไร ๆ ย่อมไม่ช้ามสู่
ภพใหม่จากภพนี้ และขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในอดีตภพ ย่อมไม่บังเกิดในภพนี้ เพราะขันธ์
อายตนะ ธาตุ ในอดีตภพเป็นปัจจัย หรือขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในภพใหม่ย่อมไม่เกิด เพราะ
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในภพนี้เป็นปัจจัย ก็หามิได้ ก็มีอุปไมยเหมือนฉันนั้นทีเดียว ฉะนี้แล.

จักขุวิญญาณในลำดับแห่งมโนธาตุ แต่มันมิได้มา
ทั้งมันไม่ได้เกิดในลำดับแห่งมโนธาตุ ก็หามิได้ ข้อนี้ฉันใด
สันตติแห่งจิตย่อมเป็นไปในปฏิสนธิ เหมือนฉันนั้น
จิตดวงก่อนแตก ต่อนั้นจิตดวงหลังก็เกิด.
สิ่งที่อยู่ระหว่างจิตทั้งสองนั้นย่อมไม่มี ลูกคลื่น
ไม่มีแก่จิตทั้งสองนั้น จิตอะไร ๆ มิได้ไปแต่จุติจิตนี้ แต่
ปฏิสนธิจิตก็เกิดได้แล ฯ


รู้กรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยจุติและปฏิสนธิ

(๖๙๐] (๒๒๗) คำว่า ก็ย่อมเป็นอันอันเธอรู้ได้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ ความ
ว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่า ย่อมเป็นอันเธอรู้ได้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ
เพราะเธอได้กระทำการกำหนดปัจจัยด้วยอำนาจกรรมวัฏและวิปากวัฏ. ก็ธรรมทั้งหลาย
ที่นับเนื่องด้วยกาลทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันภิกษุผู้ละความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ด้วยการเห็นนามรูป
พร้อมทั้งปัจจัยตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว รู้ได้ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ ในอดีตภพ ปัจจุบัน-
ภพ และอนาคตกาล, มิใช่เป็นอันเธอรู้ได้เพราะมิได้กระทำการกำหนดจับอย่างนั้น ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านาจธรรมไปตามบท. คำว่า ความรู้ของเธอนั้นเป็นญาตปริญญา ความว่า เธอย่อมทำ
การกำหนด และกำหนดจับปัจจัยของนามรูปนั้น ด้วยความรู้ใด ความรู้นั้นของ
เธอคือของโยคี ชื่อว่าเป็นญาตปริญญา เพราะทำคำอธิบายว่า เป็นปัญญาที่มีความรู้ด้วย
อำนาจการกำหนด โดยนัยเป็นต้นว่า "นี้เป็นนาม, นามมีเท่านี้" และโดยนัยเป็นต้นว่า นาม
นั้นมีปัจจัยนี้, มีปัจจัยเท่านี้" ดังนี้.

บัดนี้ ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงอาการที่เป็นหตุให้ภิกษุรู้ธรรมที่นับเนื่องด้วย
กาลทั้ง ๓ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เธอรู้อย่างนี้. ด้วยคำนั้น ท่าน
อาจารย์ย่อมแสดงว่า ชื่อว่าการข้ามไปสู่กพอื่นแห่งธรรมทั้งหลาย หามีอยู่แม้ในกาลไหนๆ
ไม่ เพราะดับไปในภพนั้น ๆ นั่นเอง. ท่านอาจารย์ประสงค์จะยังความไม่มีการข้ามไปแห่ง
ธรรมทั้งหลายนั้นเองให้แจ่มแจ้ง ด้วยคำอุปมา ด้วยการสาธยาย การอื่นน้ำมนต์ การแต่ง
หน้า และเปลวประทีป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อีกอย่างหนึ่งแล.

(๒๒๘) คำว่า ในลำดับแห่งมโนธาตุ ความว่า จักขุวิญญาณที่ได้ในลำดับแห่ง
กิริยามโนธาตุ. คำว่า แต่มันมิได้มา ความว่า แต่มันมิได้มาจากกิริยามโนธาตุ เพราะจักขุ
วิญญาณไม่มีในกิริยามโนธาตุ.

คำว่า ทั้งมันไม่ได้เกิดในลำดับแห่งมโนธาตุ ก็หามิได้ ความว่า แม้มิได้มาจากกิริยา
มโนธาตุ ทั้งมันไม่เกิดในลำดับจากกิริยามในธาตุนั้น ก็หามิได้ คือบังเกิดนั้นด้วยอ่านาจ
ความพร้อมแห่งปัจจัย. ความเป็นไปแห่งจิตในปวัตติกาลนี้ ฉันใด สันตติคือความสืบต่อ
แห่งจิต ย่อมเป็นไปในปฏิสนธิกาลฉันนั้นแหละ ปฏิสนธิจิตแม้มิได้มาจากจุติจิต แม้จะว่าไม่
เกิดในลำดับจากจุตินั้นก็หามิได้ อธิบายว่า เกิดมั่นอง ด้วยอำนาจความพร้อมแห่งปัจจัย

ก็ด้วยศัพท์ว่า สันตติ (ความสืบต่อ) ในคาถานี้ ท่านอาจารย์ย่อมยังความไม่มีการ
มาจากที่ไหน ๆ ให้แจ่มแจ้ง. จริงอยู่ ความสัมพันธ์กันก็ด้วยความเป็นเหตุและผล เพราะ
เหตุนั้น ความเป็นไปแห่งสภาวธรรมจึงชื่อว่า สันตติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า
จิตดวงก่อนแตก เป็นต้น. คำว่า จิตดวงก่อน ได้แก่ จุติจิต. คำว่า แตก คือ ดับ คำว่า
จิตดวงหลัง ได้แก่ ปฏิสนธิจิต. คำว่า ต่อนั้น คือ เกิดในลำดับต่อจากจุตินั่นเอง

จริงอยู่ ปฏิสนธิจิตที่เกิดอยู่แม้ไกล แม้ในกาลอื่นจากจุติจิตในภพโด ท่านก็เรียกว่า
เกิดในลำดับนั่นเอง. สิ่งที่อยู่ระหว่างจิตทั้งสองนั้นย่อมไม่มี เพราะไม่มีอะไรที่ขัดขวาง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


จุติจิตและปฏิสนธินั้น. คำว่า ลูกคลื่นไม่มีแก่จิตทั้งสองนั้น เป็นไวพจน์ของคำว่า สิ่งที่อยู่
ระหว่างจิตทั้งสองนั้นไม่มีนั้นแหละ.
คำว่า แต่จุติจิตนี้ คือ และจิตอะไร ๆ ไม่ไปในลำดับต่อจากจุติจิต. เพราะว่าจุติจิต
นั้นพร้อมทั้งสัมปยุตตธรรมดับไปอย่างนั้นนั่นเอง.
คำว่า แต่ปฏิสนธิจิต ความว่า แต่ปฏิสนธิวิญญาณดวงอื่นนั่นเอง ก็เกิด คือบังเกิด
ได้ตามปัจจัย เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะยังความไม่มีการข้ามไปแม้อีกให้แจ่มแจ้ง
จึงย้ำการเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย.

สรุปความ
[๖๙๑] ญาณกำหนดจับปัจจัยของนามรูปโดยอาการทั้งปวงของผู้รู้ธรรมทั้งปวง
ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ ย่อมเป็นญาณถึงความมีกำลัง ความสงสัย ๑๖ ประการ เธอ
ก็ละได้อย่างดียิ่ง และมิใช่ความสงสัย ๑๖ ประการนั้นเท่านั้น ความสงสัย ๔ ประการที่
เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า "ย่อมสงสัยในพระศาสดา" เธอก็ละได้ทีเดียว ทิฏฐิ ๖๒ ย่อมระงับไป
ญาณข้ามพ้นความสงสัยในอัทธาทั้ง ๓ ด้วยการกำหนดจับปัจจัยของนามรูปโดยนัยต่าง ๆ
ตั้งอยู่อย่างนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ.

คำว่า ธรรมฐิติญาณ ก็ดี คำว่า ยถาภูตญาณ ก็ดี คำว่า สัมมาทัสสนะ ก็ดี เป็นชื่อ
ของคำว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ นี้แหละ ข้อนี้ สมด้วยพระบาลีที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
กล่าวไว้ดังนี้ว่า.
"อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายเป็นปัจจยสมุปบัน ธรรมทั้ง ๒ นี้เป็น
ปัจจยสมุปบัน ปัญญาในการกำหนดจับปัจจัยอย่างนี้ ชื่อว่า ธรรมฐิติญาณ"
คำถามว่า ภิกษุมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อมเห็นตาม
ความเป็นจริงซึ่งธรรมเหล่าไหน, เป็นสัมมาทัสสนะอย่างไร, สังขารทั้งหลายทั้ง-
ปวงย่อมเป็นอันเธอเห็นดีแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยง ตามแนวความรู้ความเห็น
ตามความเป็นจริงนั้นอย่างไร, ความสงสัยเธอย่อมละได้ที่ไหน? ภิกษุมนสิการโดย
ความเป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุมนสิการโดยควานเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความความ
เป็นจริงซึ่งธรรมเหล่าไหน ฯลฯ เธอย่อมละความสงสัยได้ที่ไหน ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2025, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบว่า ภิกษุมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อมเห็นตาม
ความเป็นจริงซึ่งนิมิต ด้วยความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงนั้น จึงเรียกว่า
สัมมาทัสสนะ สังขารทั้งหลายทั้งปวงย่อมเป็นอันเธอเห็นดีแล้วโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ตามแนวความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงนั้น ความสงสัยเธอย่อมละ
ได้ที่นี่ ภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริงซึ่ง
ปวัตตะ ฯลฯ ภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เธอย่อมรู้ย่อมเห็นตามความ
เป็นจริงซึ่งนิมิตด้วย ซึ่งปวัตตะด้วย ด้วยความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงนั้น
เรียกว่า สัมมาทัสสนะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมเป็นอันเธอเห็นดีแล้ว โดย
ความเป็นอนัตตา ตามแนวความรู้ความเห็นตามความเป็นจริงนั้น ความสงสัย
เธอย่อมละได้ที่นี่.
คำถามว่า ยถาภูตญาณอันใดด้วย สัมมาทัสสนะอันใดด้วย กังขาวิตรณะ
อันใดด้วย ธรรมเหล่านี้มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง
เดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ?
คำตอบว่า ยถาภูตถูาณใดด้วย สัมมาทัสสนะใดด้วย กังยาวิตรณะใดด้วย
ธรรมเหล่านี้มีอรรถอย่างเดียว ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น" ดังนี้.
ก็ผู้เจริญวิปัสสนาประกอบด้วยญาณนี้ ได้ความโล่งใจ ได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนา
มีคติแน่นอน ได้ชื่อว่าเป็น จูฬโสดาบัน.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้มีความต้องการความพัน
ความสงสัย พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ กำหนดจับปัจจัยแห่ง
นามรูปโดยประการทั้งปวงเถิด ฉะนี้แล ฯ

ปริจเฉทที่ ๑๙ ชื่อ กังขาวิตรณวิสุทธินิทเทส
ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในวิสุทธิมัคค์ที่ได้รจนาแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ของสาธุชน ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร