วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 03:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2025, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20241103_184211_Google.jpg
Screenshot_20241103_184211_Google.jpg [ 404.53 KiB | เปิดดู 1618 ครั้ง ]
อธิบาย ภาวนากิจ ๒ อย่าง

[๘๕๓] ข้อว่า ภาวนารู้กันโดยเฉพาะว่ามี ๒ ความว่า ก็ภาวนาประสงค์เอาแล้ว
ว่ามี ๒ เท่านั้น คือ : โลกิยภาวนา ๑ โลกุตตรภาวนา ๑.
ในบรรดาภาวนาทั้ง ๒ นั้น การยังศีล สมาธิ และปัญญา ที่เป็นโลภียะให้เกิดขึ้น
และการอบรมสันดานด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะนั้น เป็นโลกียภาวนา
การยังศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นโลกุตตระให้เกิดขึ้น และการอบสันดานด้วยศีล
สมาธิ ปัญญา นั้น เป็นโลกุตตรภาวนา

ในบรรดาภาวนาทั้ง ๒ นั้น โลกุตตรภาวนาท่านประสงค์เอาในญาณทัสสนวิสุทธินี้
เพราะว่าญาณทั้ง ๔ อย่างนั้น ย่อมทำศีลเป็นต้นที่เป็นโลกุตตระให้เกิดขึ้นได้ และอบรม
สันดานด้วยศีลเป็นต้นอันเป็นโลกุตตระนั้น เพราะความที่ญาณทั้ง ๔ นั้น เป็นปัจจัยมี
สหชาตปัจจัยเป็นต้น เหตุนั้น โลกุตตรภาวนาอย่างเดียวจึงเป็นกิจแห่งมรรคญานนั้น

ด้วยประการฉะนี้
กิจเหล่าใดมีปริญญากิจเป็นต้น ที่ตรัสไว้ในกาลที่
ตรัสรู้ ก็กิจเหล่านั้นควรทราบตามสภาพทุกประการแล ฯ

และโดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ คำใดที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า "โยคีครั้นยังวิสุทธิ
๒ อันเป็นผู้ให้ถึงพร้อมแล้ว เมื่อยังวิสุทธิ ๕ อันเป็นตัว (ปัญญา) ให้ถึงพร้อม พึงเจริญ
ต่อไป" ดังนี้ เพื่อแสดงอุบายแห่งวิธีเจริญปัญญาอันมาแล้วโดยสรูปอย่างนี้ว่า

"สีเล ปติฏฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ"
"ภิกษุผู้เป็นนระ มีปัญญา ตั้งอยู่ในศีล อบรมจิตและปัญญาอยู่"
ดังนี้
คำนั้นเป็นอันข้าพเจ้าได้ให้พิสดารแล้ว และปัญหานี้ว่า "ปัญญาพึงเจริญทางใจ "
ก็เป็นอันข้าพเจ้าวิสัชชนาแล้ว.

ปริจเฉทที่ ๒๒ ชื่อ ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส
ในอธิการแห่งปัญญาภาวนา 'ในวิสุทธิมัคท์ที่ได้รจนาแล้ว
เพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ของสาธุชน ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2025, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย ภาวนากิจ ๒ อย่าง

[๘๕๓] บทว่า อภิมตา แปลว่า ท่านประสงค์แล้ว. การทำให้เกิดขึ้นและการอบรม
สันดาน ชื่อว่า ภาวนา เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงภาวนาทั้ง ๒ นั้น จึงกล่าว
คำว่า ยังศีล สมาธิ และปัญญาที่เป็นโลกิยะ ดังนี้เป็นต้น. ก็ธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นตันที่
เป็นโลกิยะ อันโยคีให้เกิดแล้วและเจริญแล้วโดยส่วนใด สีลภาวนา กายภาวนา จิตตภาวนา
และปัญญาภาวนา ย่อมเป็นอันโยคีนั้นให้สำเร็จเป็นโลกิยะโดยส่วนนั้น และแม้สันดานก็
เป็นอันโยคือบรมแล้วด้วยการภาวนานั่นแล. ตาสุ โยค โลกิยโลกุตรภาวนาสุ อิธ โยค
ญาณทุสฺสนวิสุทฺธิกถายํ แปลรวมความว่า บรรดาโลกิยภาวนาและโลกุตตรภาวนานั้น ใน
ญาณทัสสนวิสุทธิกถานี้ ท่านประสงค์เอาโลกุตตรภาวนา มิใช่โลกิยภาวนานอกนี้ เพราะ
โลกุตตรภาวนานั้นเป็นองค์. คำว่า ญาณทั้ง ๔ อย่างนั้น ความว่า อริยมรรคญาณทั้ง ๔
อย่างนั้น ย่อมยัง ศีลเป็นต้น อันต่างด้วยสัมมาวาจาเป็นต้น อันเป็นโลกุตตระ ให้เกิดขึ้น.
ข้อนี้อย่างไร ? เพราะความที่ญาณทั้ง ๔ เป็นปัจจัย มีสหขาตปัจจัยเป็นต้น.

ด้วย อาทิ ศัพท์ ในบทว่า สีลาทีนิ ท่านถือเอาสมาธิ มิใช่ถือเอาปัญญา. ก็ญาณ
ทั้ง ๔ นั้นนั่นแหละ ย่อมไม่ยังปัญญานั้นให้เกิดขึ้น แต่จิตตุปบาทอันประกอบด้วยมรรค
ย่อมยังปัญญาให้เกิดขึ้น สัมมาสังกัปปะก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะเป็นธรรมหยั่งลงภายในปัญญา
นั้น อาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะนั้นสงเคราะห์เข้าในปัญจขันธ์."

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2025, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง ท่านถือเอาแม้ศีลในผลเป็นต้นว่า สีลาทีนิ เพราะเหตุนั้น การถือเอา
แม้ปัญญาก็ควรเหมือนกัน ด้วย อาทิ ศัพท์ ในบทว่า สหชาจปจฺจยาทิตาย นี้ พึงเห็นการ
สงคราะห์แม้ความเป็นสนันตรปัจจัยเป็นด้วย. คำว่า และอบรมด้วยสันดานด้วยศีลเป็นต้น
อันเป็นโลกุตตระนั้น ความว่า พระอริยบุคคลย่อมอบรมสันดานของตน ซึ่งท่านอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นที่อาศัยเวียนมาเบื้องหน้า ด้วยธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้นอันเป็น
โลกุตตระ ที่เป็นไปด้วยอำนาจการตัดได้เด็ดขาดและการระงับนั้น. ปริญญาทั้ง ๓ ปหานะ
ทั้ง ๓ ท่านกล่าวโดยปริยายว่า เป็นกิจแห่งมรรคญาณ ฉันใด ในที่นี้หากล่าวเหมือนฉันนั้น
ไม่ ก็ในที่นี้โลกุตตรภาวนาอย่างเดียวจึงเป็นกิจแห่งมรรคญาณนั้น. ก็คำเป็นปริยายใน
การภาวนาไม่ได้ในที่นี้ เหตุนั้น ท่านจึงลงอวธารณะ. ด้วยอวธารณะนั้น ท่านอาจารย์ย่อม
ห้ามโลกิยภาวนา.

คำว่า อันมาแล้วโดยสรูปอย่างนี้ ความว่า ปัญญาอันมาแล้วโดยสรูปนั่นเที่ยวอย่าง
นี้ว่า ปญฺญํ ภาวยํ อบรมปัญญาอยู่ มิได้มาโดยยกจิตเป็นประธาน เหมือนอย่างสมาธิว่า
จิตฺตํ ภาวยํ อบรมจิตอยู่. คำใดที่ท่านอาจารย์กล่าวไว้แล้วตามอุทเทส โดยลำดับแห่ง
คำเพียงเท่านี้ คำนั้นเป็นอันข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว. เชื่อมความว่า และปัญหานี้ก็เป็นอัน
ข้าพเจ้าวิสัชชนาแล้ว.
พรรณนาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส จบ
พรรณนาปริจเฉทที่ ๒๒ จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร