วันเวลาปัจจุบัน 09 พ.ค. 2025, 11:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2025, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




1739173585177.jpg
1739173585177.jpg [ 224.91 KiB | เปิดดู 1284 ครั้ง ]
รู้แจ้งอริยสัจโดยอาการ ๑๖

[๘๔๒] ก็ในกาลที่ตรัสรู้อริยสัจอย่างนี้ สัจจะทั้ง ๔ ด้วยอรรถ คือ ความเป็นอย่าง
นั้นแห่งมรรคนั้น มีญาณอันเป็นไปแล้วด้วยอำนาจกิจ ๔ อย่าง ในขณะเดียวกันย่อมเป็น
สัจจะเป็นอาการพึงแทงตลอดร่วมกันด้วยอาการ ๑๖ อย่าง เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า.
- สัจจะทั้ง ๔ ด้วยอรรถ คือ ความเป็นอย่างนั้น เป็นอาการพึงแทงตลอด
ร่วมกัน เป็นอย่างไร ?
สัจจะทั้ง ๔ ด้วยอรรถ คือ ความเป็นอย่างนั้น เป็นอาการพึงแทงตลอด
ร่วมกันด้วยอาการ ๑๖ อย่าง คือ :-

ทุกข์ มีอรรถคือ บีบคั้น (๑) อรรถคือ ถูกปรุงแต่งขึ้น (๒) อรรถ คือ เร่า
ร้อน (๓) อรรถคือ แปรปรวน (๔) เป็นอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้น.

สมุทัย มีอรรถคือ ประมวลเข้าไว้ (๑) อรรถคือ ก่อเหตุ (๒) อรรถคือ ผูก
เข้าไว้ (๓) อรรถคือ ขัดขวางไว้ (๔) เป็นอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้น.

นิโรธ มีอรรถคือ สลัดออกไป (๑) อรรถคือ ทิ้งไป (๒) อรรถคือ ไม่ถูก
ปรุงแต่ง (๓) อรรถคือ เป็นสิ่งไม่ตาย (๕) เป็นอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้น.

มรรค มีอรรถคือ นำออกไป (๑) อรรถคือ เป็นเหตุ (๒) อรรถคือ เห็น
(๓) อรรถคือ ความเป็นอธิบดี (๕) เป็นอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้น.
สัจจะทั้ง ๔ โดยอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้น โดยอาการ ๑๖ เหล่านี้ สงเคราะห์
เข้าเป็นหนึ่ง สิ่งใดสงเคราะห์เข้าเป็นหนึ่ง สิ่งนั้นก็เป็นหนึ่ง สิ่งใดเป็นหนึ่ง โยคาวจจรย่อม
แทงตลอดสิ่งนั้นด้วยญาณหนึ่ง เหตุนั้น สัจจะทั้ง ๔ จึงเป็นอาการพึงแทงตอดร่วมกัน"

รู้แจ้งอริยสัจโดยอาการ ๑๖

(๘๔๒] ญาณเป็นไปแล้วแก่มรรคนั้น เหตุนั้น มรรคนั้นชื่อว่า ปวตฺตญาโณ แปล
ว่า มีญาณอันเป็นไปแล้ว. อสฺส โยค มคฺคสฺส. คำว่า ด้วยอรรถ คือ ความเป็นอย่างนั้น
คือ ด้วยสภาพอย่างนั้น อธิบายว่า ด้วยสภาพที่ไม่วิปริตมีความบีบคั้นเป็นต้น. บทว่า เอก-
ปฏิเวธานิ แปลว่า เป็นอาการพึงแทงตอดร่วมกัน.
คำใดที่พึงกล่าวในคำว่า ทุกข์ มีอรรถคือ บีบคั้น เป็นต้น คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าว
แล้วใน วรรณนาแห่งพุทธานุสสติ ในหนหลังนั่นเทียว. คำว่า สงเคราะห์เข้าเป็นหนึ่ง คือ
รวมเข้าไว้ด้วยข้อเดียวนั้นเอง. โดยอรรถคือ ความเป็นอย่างนั้นอะไร อธิบายว่า โดยอรรถ
คือสัจจะ. คำว่า สิ่งใดสงเคราะห์เข้าเป็นหนึ่ง เป็นต้น เป็นคำแสดงเอกปฏิเวธของญาณ.
จริงอยู่ มรรคญาณแม้กระทำนิโรธอย่างเดียวให้เป็นอารมณ์ ก็ย่อมแทงตลอดนิโรธนั้นตาม
ความเป็นจริง ด้วยการกำจัดสัมโมหะอันปกปิดอรรถแห่งสัจจะ กล่าวคือความเป็นของแท้
ไม่วิปัลลาสในสัจจะมีทุกข์เป็นต้นนั้น กระทำให้ประจักษ์ทีเดียวเป็นไป. เพราะอรรถทั้ง ๑๖
มีความเบียดเบียนเป็นต้น ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงแก่พระอริยะ เหมือนอย่างมะขาม
ป้อมในมือในกาลอื่น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2025, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความอริยสัจโดยอาการ ๑๖

[๔๙๓] ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า เมื่อใดสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์เป็นต้น ก็มีอรรถแม้
อย่างอื่นมีโรคเป็นฝีเป็นต้นอยู่ เมื่อนั้น เพราะเหตุไรท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงกล่าว
อรรถไว้ ๔ อย่าง เท่านั้นเล่า? ในปัญหานี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอแก้ดังนี้ คือ เพราะปรากฏชัด
ได้ด้วยอำนาจการเห็นสังเอื่น จริงอยู่ ท่านพระธรรมเสนาบสารีบุตรได้กล่าวสัจจญาณ
ไว้ แม้ด้วยอำนาจมีสัจจะแต่ละข้อเป็นอารมณ์โดย์มีอาทิว่า ในญาณเหล่านั้น ญาณเป็น
ทุกข์เป็นไฉน ? คือ ปัญญาความรู้ทั่วอันใดเกิดขึ้นปรารภทุกข์" ดังนี้ พระผู้มีพระภาคก็ได้
ตรัสไว้แม้ด้วยอำนาจทำสัจจะหนึ่งให้เป็นอารมณ์ ก็สำเร็จกิจแม้ในสัจจะที่เหลือด้วย โดยนัย
มีอาทิว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้เห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัยด้วย" ดังนี้

ในการเห็นสัจจะ ๒ นัยนั้น เมื่อใดโยคาวจรย่อมกระทำสัจจะแต่ละข้อให้เป็นอารมณ์
เมื่อนั้น ทุกข์สัจ แม้ความบิบคั้นเป็นลักษณะโดยสภาพในเบื้องต้น เพราะหตุที่ทุกข์นั้นถูก
สมุทัยอันมีลักษณะประมวลไว้ ได้ประมวลไว้ ปรุงแต่งไว้ ทำให้เป็นกองไว้ ฉะนั้น อรรถคือ
ถูกปรุงแต่งนั้นของทุกขสัจนั้น จึงปรากฎแก่โยคาวจรนั้นด้วยการเห็นสมุทัยสัจ อนี่ง เพราะ
เหตุที่มรรคนำไปเสียซึ่งความเร่าร้อนคือกิเลส เป็นธรรมเย็นสนิท ฉะนั้นอรรถคือ ความ
เร่าร้อนแห่งทุกขสัจนั้น ย่อมปรากฏชัดด้วยการเห็นมรรคสัจ เหมือนกับนางที่สวยงามกลาย
เป็นไม่งามเลย ด้วยการที่ท่านพระนันทะได้เห็นนางอัปสร ฉะนั้น อนึ่ง อรรถคือ ความ
แปรปรวนแห่งทุกขสัจนั้น ย่อมปรากฏด้วยการเห็นนิโรธสัจ ซึ่งมีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็น
ธรรมดา ฉะนั้น ในข้อนี้จึงไม่มีคำจะต้องกล่าวแก้เลย.

อนึ่ง สมุทัยสัจ แม้มีลักษณะประมวลไว้โดยสภาพ ย่อมปรากฏโดยอรรถที่เป็นต้น
เหตุได้ชัดโดยการเห็นทุกข์ เหมือนความที่โภชนาหารเป็นต้นเหตุแห่งโรคภัย ก็ด้วยการเห็น
โรคภัยที่เกิดเพราะบริโภคของที่ไม่เป็นสัปปายะเข้าไป ฉะนั้น สมุทัยสัจมีอรรถว่า ผูกเข้า
ไว้ ก็ปรากฏด้วยการเห็นนิโรธสัจอันเป็นธรรมปราศจากเครื่องผูก และสมุทัยสัจมีอรรถว่า
ขัดขวางไว้ ก็ปรากฏด้วยการเห็นมรรคสัจซึ่งเป็นธรรมนำออกไป.

อนึ่ง นิโรธสัจ แม้เป็นธรรมมีลักษณะสลัดออกไป มีอรรถว่า ทิ้งไป ก็ปรากฏด้วย
การเห็นสมุทัยซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ทิ้งไป มีอรรถว่า เป็นธรรมไม่ถูกปรุงแต่ง ก็ปรากฏด้วย
เห็นมรรคสัจ เพราะมรรคเป็นธรรมที่โยคาวจรผู้นี้ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยในสงสาร อันมี
เบื้องต้น เบื้องปลาย ที่บุคคลไปตานอยู่รู้ไม่ได้ อนึ่ง แม้มรรคนั้นก็เป็นสังตธรรมแท้ เพราะ
เป็นธรรมที่ยังมีปัจจัย เหตุนั้น ความที่นิโรธอันเป็นธรรมหาปัจจัยมิได้ เป็นอสังขตธรรม
จึงเป็นธรรมปรากฏยิ่ง อนึ่ง นิโรธนั้นเป็นอมตธรรม ย่อมปรากฏด้วยการเห็นทุกข์ เพราะ
ทุกข์เป็นพิษ นิพพานเป็นอมตะแล.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2025, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง มรรคสัจ แม้เป็นธรรมมีลักษณะนำออกไป มีอรรถว่า เป็นเหตุ ย่อมปรากฏ
ด้วยการเห็นสมุทัยสัจว่า "สมุทัยนี้ไม่ใช่เป็นเหตุเพื่อการบรรลุนิพพาน มรรคนี้เป็นเหตุ" ดังนี้
มรรคสัจมีอรรถว่า เห็น ก็ย่อมปรากฏด้วยการเห็นนิโรธ เหมือนความใสแห่งจักขุปรากฏแก่
คนที่ดูรูปที่ละเรียดยิ่งว่า "ตาของเราใสหนอ" มรรคสัจมีอรรถคือ ความเป็นอธิบดี ด้วย
การเห็นทุกข์ เปรียบเหมือนความโอฬารแห่งอิสรชน ปรากฏขัดด้วยการเห็นคนเข็ญใจผู้
อาดูรด้วยโรคมากมาย ฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้นในญาณทัสสนวิสุทธินิทเทสนี้ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้กล่าว
อรรถอย่างละ ๔ๆ แห่งสัจจะแต่ละอย่างๆ เพราะอรรถอันหนึ่งปรากฏด้วยอำนาจลักษณะ
ของตน และเพราะอรรถอย่างละ ๓ นอกนี้ปรากฏด้วยอำนาจการเห็นสัจจะข้ออื่น แต่ใน
ขณะแห่งมรรค อรรถเหล่านี้ทั้งหมดย่อมถึงการแทงตลอดด้วยญาณอันมีกิจ ๔ อย่าง ใน
สัจจะมีทุกข์เป็นต้นเฉพาะอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนเจ้าลัทธิเหล่าใดต้องการ (นานาภิสมัย)
ความตรัสรู้ด้วยญาณต่างๆกัน การตอบเจ้าลัทธิเหล่านั้นได้กล่าวไว้แล้วทีเดียวในกถาวัตถุ
ในพระอภิธรรม.
(๔๔๓) คำว่า อรรถได้แก่ อาการซึ่งได้ชื่อว่า อรรถ เพราะพึงดำเนินไปด้วยญาณ.
คำว่า ด้วยอำนาจการเห็นสัจจะอื่น คือ ด้วยอำนาจการเห็นสัจจะอื่นมีสมุทัยเป็นต้น คำว่า
เพราะปรากฏชัด คือ เพราะแจ่มแจ้ง. ข้อนี้มีอรรถาธิบายว่า อาการเหล่าใดย่อมปรากฏ
ชัดด้วยอำนาจสภาวะในสัจจะมีทุกข์เป็นต้น และด้วยอำนาจการเห็นสัจจะอื่น. อรรถเหล่า
นั้นเป็น ๔ ข้อ มีความเบียดเบียนป็นตันดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ๑๖ ข้อนั้น
เอง มิใช่อรรถอย่างอื่น และความข้อนี้ท่านประสงค์เอาในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์
จึงกล่าวว่า ในญาณเหล่านั้น ญาณในทุกข์เป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น เพื่อเลี่ยงความสงสัยว่า
ข้อนี้จะรู้ได้อย่างไร. ตัวเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงแสดงหวนข้อนี้ว่า เพราะในพระบาลีตรัส
สัจจญาณไว้ด้วยอำนาจการทำให้เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจความสำเร็จกิจบ้าง ฉะนั้น
จึงรู้ได้ว่า อาการแห่งสัจจะทั้งหลายย่อมปรากฏชัดโดยสภาวะ และโดยการเห็นสัจจะอื่น.
การเห็นด้วยอำนาจการสำเร็จกิจ ก็เหมือนกับการเห็นเพราะปรากฏชัด เพราะเหตุ
นั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงเฉพาะการเห็นด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์นอกนี้ มิได้ระบุ
ไว้ถึงการเห็นด้วยอำนาจความสำเร็จกิจนั้น จึงกล่าวคำว่า ตตุถ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร