วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 22:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2024, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1731482131290-removebg-preview (1).png
ei_1731482131290-removebg-preview (1).png [ 177.95 KiB | เปิดดู 4893 ครั้ง ]
๗. อัญญมัญญปัจจัย

๑. อัญญมัญญะ หมายความว่า ต่างต้องอาศัยพึ่งพิงอิงกันจึงได้จึงตั้งอยู่ได้
เปรียบ เหมือนไม้ ๓ อันตั้งอิงพิงกันไว้
๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจยุบบัน
๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรมนั้นเกิด
ร่วมพร้อมกัน
๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน คือปัจจัยธรรมยังไม่ได้ดับไป
๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ
๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ มหา-
ภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ กับปฏิสนธิหทยวัตถุ
องค์ธรรมของปัจจุบบัน ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหา-
ภูตรูปที่เกิดสมุฏฐานทั้ง ๔
ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ กับ ปฏิสนธิหทยวัตถุ
องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อุปาทายรูป ๒๓ (เว้นหทยวัตถุ)
๗. ความหมายโดยย่อ อัญญมัญญปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแกุ่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยก
เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์
ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบัน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลใด ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่
จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คืออกุสลนามขันธ์
ที่เหลือ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจยุบบัน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔
กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยกเอาขันธ์ใดเป็นอัญญมัญปัจจัย วิบาก-
จิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ที่เหลือ กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็น
อัญญมัญญูปัจจยุบบัน ตามลำดับ
วิบากนามขันธ์ ๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิ ๔) ในปฏิสนธิขณะ กับ
หทยวัตถุ แล้วแต่ยกจิตหรือทยวัตถุเป็นอัญญมัญญปัจจัย จิต หรือหทยวัตถุที่เหลือก็
เป็นอัญญมัญญปัจยุบบัน
มหาภูตรูป ๔ ที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแค่จะยกเอารูปให้เป็นอัญญมัญญปัจจัย
รูปที่เหลือในสมุฏฐานนั้น ก็เป็นอัญญมัญปัจจยุบบัน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ
๑. อัญญมัญญปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย
๓. สหชาตนิสสยปัจจัย ๔. วิปากปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖.สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๗. สหชาตัตถิปัจจัย ๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2025, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกย่างหนึ่ง อัญญมัญญปัจจัย มีทั้งปัจจัย ปัจจุบัน และ ปัจจนิก
ส่วน สหชาตปัจจัยมีแต่ปัจจัย และปัจจยุบบัน ไม่มีปัจจนิก
อัญญมัญญปัจจัย เป็นประเภทนามรูป --> นามรูป เกิดในปัจจุบัน
กาลคือ ปัจจัยกับปัจจยุบบันต่างอาศัยซึ่งกันและกัน จึงเกิดพร้อมกัน มี
อำนาจทำให้เกิดขึ้น และอุปถัมภ์ให้ตั้งอยู่ด้วย เหมือนกับสหชาตปัจจัย คือ
นาม ---> นาม. รูป ---> รูป และ นามรูป --> นามรูป

พระบาลีนิทเทสของอัญญมัญญปัจจัย มีเพียง ๓ ข้อ
เหมือนกับ ๓ ข้อแรกของสหชาตปัจจัยทุกประการ
๑. จตฺตาโร ขนฺธา อรูปิโน อญฺญมญฺญญปจฺจเยน ปจฺจโย
นามขันธ์ ๔ ต่างก็เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอัญญมัญญญูปัจจัย
จิต ๘๙ เจ.๕๒ <---> จิต ๘๙ เจ.๕๒
๒. จตฺตาโร มหาภูตา อญฺณมญฺญปจฺจเยน ปจฺจโย.
มหาภูตรูป ๔ ต่างก็เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอัญญมัญญปัจจัย
มหาภูตรูป ๔ <---> มหาภูตรูป ๔
๓. โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูปํ อญฺญมญฺญปจฺจเยน ปจฺจโย.
ในขณะปฏิสนธิของสัตว์ที่มีขันธ์ ๕ นามและรูปต่างก็เป็นปัจจัย
แก่กันและกัน โดยอัญญมัญญปัจจัย
ปัญจ.ปฏิ. ๑๕ เจ.๓๕ <---> ปฏิ.หทยวัตถุ
องค์ธรรมอัญญมัญญูปัจจัย

ปัจจัย จิต ๘๙ เจ.๕๒ มหาภูตรูป ๔ ปฏิ.หทยวัตถุ
ปัจจยุบบัน จิต ๘๙ เจ.๕๒ มหาภูตรูป ๔ ปฏิ.หทยวัตถุ
ปัจจนิก อุปาทายรูป ๒๔ (เว้นปฏิ.หทยวัตถุ)

วจนัตถะของอัญญมัญญปัจจัย
อญฺญมญฺญํ หุตฺวา ปจฺจโย = อญฺญมญฺญปจฺจโย. (สภาวธรรม
แต่ละอย่างที่ต่างต้องอาศัยพึ่งพิงซึ่งกันละกัน จึงเกิดขึ้นได้ ตั้งอยู่ได้ชื่อว่า
อัญญมัญญปัจจัย)
อัญญมัญญปัจจัยเป็นประเภทสหชาดชาติ. ปัจจัยที่เกิดร่วมกันก็หา
ในสหชาตชาติ

ปัญหาวาระของอัญญัญญปัจจัยมี ๓ วาระ คือ
๑. กุ ---> กุ. ๒.อกุ ---> อกุ. ๓. อัพ. ---> อัพ.
๑. บาลีวิธี กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส อญฺญมญฺญปจฺจเยน
ปจฺจโย. (กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอัญญมัญญปัจจัย)
ก.→ กุ.คือ กุ.๒๑ เจ.๓๘ <---> กุ.๒๑ เจ.๓๘

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2025, 18:30 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2536

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร