วันเวลาปัจจุบัน 08 พ.ย. 2024, 14:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2024, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-16-074531372watermark.png (1).jpg
2024-10-16-074531372watermark.png (1).jpg [ 143.24 KiB | เปิดดู 936 ครั้ง ]
[๕๖๑]l คำว่า เพราะมีความถูกต้องตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ท่านอาจารย์กล่าว
หมายถึงเหตุที่ตนได้กล่าวไว้ว่า เพราะไม่มีแดนเกิด ก็ความที่นิพพานนั้น ไม่มีแดนเกิด
บัญฑิตพึงเห็นได้ด้วยภาวะที่นิพพานนั้นไม่มีปัจจัย เพราะภาวะที่นิพพานนั้นไม่มีปัจจัยนั้น
นิพพานนั้นจึงไม่มีที่สุดเบื้องต้น ด้วยคำว่า เพราะก้าวล่วงเสียซึ่งสภาวะแห่งรูป นี้ ท่าน
อาจารย์ย่อมแสดงว่า รูปธรรมทั้งหลายมีสภาวะแปรผันและมีภาวะที่สัมพันธ์กับถิ่นฐาน
เพราะมีความเป็นโดยกลาป โดยหตุที่มีความกระทบได้ ข้อนี้ฉันใด นิพพานไม่มีความ
กระทบในที่ไหน ๆ และความเป็นธรรมชาติที่มีถิ่นฐานก็ไม่มี เหมือนฉันนั้น เพราะว่านิพพาน
จะชี้ว่าอยู่ทิศโน้น หรือว่าอยู่ถิ่นโน้น ดังนี้ หาได้ไม่ เพราะนิพพานนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัยนั่นเอง
ฉะนี้แล

ด้วยคำว่า เพราะนิพพานจะพึงบรรลุได้ด้วยญาณวิเศษที่สำเร็จด้วยความบากบั่น
อันไม่ย่อหย่อนนี่ ท่านอาจารย์ย่อมแสคงความที่นิพพานเป็นธรรมชาติที่พระอริยะทั้งหลาย
รู้ด้วยประจักษ์

ด้วยคำว่า เพราะพระดำรัสของพระสัพพัญพัญญู นี้ ท่านก็แสดงถึงความที่คนเหล่า
อื่นจากพระสัพพัญญูนั้นรู้ได้โดยอนุมาน (คือการคาดคะเนเอา)

ด้วยคำทั้งสองนั้น ท่านแสดงถึงความที่บทว่า เพราะมิพพานเป็นธรรมชาติที่หาไม่
ได้ เป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้โดยเหตุ นิพพานจึงไม่ใช่ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ก็คือมีอยู่นั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงย้ำเนื้อความตามที่ได้เริ่มเข้าไว้ แล้วแสดงพระบาลีอันเป็นที่มาซึ่ง
เป็นตัวอย่างของความข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วุตฺตเญหตํ ดังนี้.

(๙๗) ในบรรดาคำเหล่านั้น บททั้ง ๔ คือ อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ ต่างก็เป็น
ไวพจน์ของกันและกัน อีกประการหนึ่ง นิพพานชื่อว่า อซาตํ เพราะว่าไม่เกิด คือไม่บังเกิด
เพราะความพร้อมแห่งเหตุ กล่าวคือความพร้อมเพรียงแห่งเหตุปัจจัย เหมือนอย่างเวทนา
เป็นต้น. นิพพานเว้นจากเหตุก็ไม่เป็น คือไม่ปรากฏ ไม่เกิดขึ้นเอง เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อภูตํ แปลว่า ไม่เป็น เพราะไม่เกิตอย่างนี้และเพราะไม่เป็นอย่างนี้ นิพพานจึง
ไม่ได้ถูกเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทำขึ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกตํ แปลว่า อันเหตุไร ๆ
มิได้ทำขึ้น ท่านกล่าวว่า อสงฺขตํ เพื่อจะแสดงว่า อันชื่อว่า ความเป็นธรรมชาติเกิตเป็น
และเหตุอะไร ๆ กระทำขึ้น ย่อมมีได้แก่สังขตธรรมทั้งหลายมีนามรูปเป็นต้น แต่หามิแก่
นิพพานซึ่งมีสภาวะเป็นอสังขตะไม่. อีกนัยหนึ่ง ว่าโดยปฏิโลม คือย้อนลำดับธรรมชาติ
ชื่อว่า สงฺขตํ เพราะปัจจัยทั้งหลายมาประชุม คือรวมกันแต่งขึ้น แต่นิพพานชื่อว่า เป็น
อสงฺขตํ แปลว่า อันปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้น เพราะอรรถว่า มิได้ถูกปัจจัยอะไรแต่งขึ้น
อย่างนั้น และเพราะอรรถว่า เว้นจากสังขตลักษณะ เพราะเหตุนั้น เมื่อเข้าใจว่านิพพาน
เป็นธรรมชาติที่เหตุเป็นอันมากทำให้บังเกิดอย่างนี้ พระสัพพัญญูจึงได้ตรัสว่า อกตํ เพื่อ
จะแสดงว่า มิได้ถูกอะไร ๆ กระทำขึ้น ในเมื่จะมีข้อสงสัยว่า นิพพานนี้ควรจะมีเหตุสัก
อย่างหนึ่งที่เดียวทำขึ้น เหมือนอย่างประกฤติของพวกลัทธิประกฤติทั้งหลายเขียวหนอ.
นิพพานแม้เป็นธรรมชาติไม่มีปัจจับอย่างนี้ พระสัพพัญญัญก็ตรัสว่า อภูตํ เพื่อจะทรงปฏิเสธ
นิพพานนั้น ในเมื่อมีข้อสงสัยว่า "นิพพานป็นแป็นแล้วปรากฎแล้วเองทีเดียวหรือหนอ" ยัง
ตรัสว่า อชาตํ ไม่เกิด เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็ภาวะที่นิพพานนี้มิได้ถูกปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2024, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-18-072809509watermark.png.jpg
2024-10-18-072809509watermark.png.jpg [ 137.52 KiB | เปิดดู 804 ครั้ง ]
ขึ้น มิได้ถูกอะไรๆทำขึ้นและไม่เป็น นี้ ก็เพราะนิพพานไม่เกิดเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
เป็นธรรมดา

พระศาสดาทรงประกาศความที่นิพพานมีอยู่โดยปามัตถ์ในอธิการนี้อย่างนี้ และ
เมื่อจะทรงประกาศ ก็มิได้ทรงประกาศโดยเพียงใช้อำนาจของพระองค์ว่า เราเป็นใหญ่
ในธรรม เป็นเจ้าของธรรมเหล่านั้น ก็แต่ว่า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์หมู่สัตว์ชั้นปทปรมะ
จึงได้ทรงประกาศแม้ตามความเหมาะสม ดังที่ได้ตรัสไว้ว่า,

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น อันเหตุอะไร ๆ มิได้ทำให้เกิดขึ้น
ปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้นนี้ จัก มิได้มีไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมดาก็เกิด
ที่เป็น ที่เหตุอะไร ๆ ท่าขึ้น ที่ปัจจัยอะไร ๆ แต่ขึ้น ก็จะไม่พึงปรปรากฎในโลกนี้เลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะธรรมชาติที่ไม่เกิด ที่ไม่เป็น อันเหตุอะไร ๆ มิได้ทไขึ้น
อันปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้น อยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น
ที่เหตุอะไร ๆ ทำขึ้น ที่ปัจจัยอะไร ๆ แต่งขึ้น จึงปรากฏ ดังนี้

ความ ห่งพระบาลีนั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอสังขตธาตุมีสภาวะที่ไม่เกิด
เป็นต้น จักไม่ได้มีแล้ว หรือจักไม่พึงมีไซร้ การสลัดออก คือการเข้าไปสงบมิได้มีส่วนเหลือ
ซึ่งธรรมชาติอันเป็นปัจจัยอะไร ๆ แต่งขึ้น กล่าวคือขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ซึ่งมีภาวะที่
เกิดแล้วเป็นตัน ก็จะไม่พึงปรากฎ คือพึงพาไม่ได้ ได้แก่ไม่พึงมีอยู่ในโลกนี้เลย
ธรรม คืออริยมรรค มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์เป็นไป ย่อมตัด
สังกิเลสได้เด็ดชาดมิได้มีส่วนเหลือ ด้วยเหตุนั้น การบำราศ คือการสลัออกซึ่งวัฏฏทุกข์
ทั้งหมดจึงปรากฏ. พระศาสดาครั้นทรงแสดงความที่นิพพานมี โดยเป็นความที่พิเศษออก
ไปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ประสงค์จะทรงแสดงย้ำนิพพานนั้น แม้โดยตรง คล้อยตาม จึงได้
ตรัสพระพุทธวจนะ มีคำว่า ยสฺมา จ โย เป็นต้น เนื้อความแห่งพระพุทธวจนะนั้น บัณฑิต
พึงทราบตามที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ

ก็ในอธิการนี้ เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งปวง ทรง
ประกาศสภาวะโดยปรมัตถ์แห่งนิพพานธาตุไว้ ด้วยบทพระสูตรเป็นอันมาก เป็นต้นว่า
อปฺปจฺจยา ธมฺมา อสงฺขตา ธมฺมา
ธรรมที่หาปัจจัยไม่ได้ ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2024, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-18-093520093watermark.png.jpg
2024-10-18-093520093watermark.png.jpg [ 403.34 KiB | เปิดดู 784 ครั้ง ]
.............

ว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ยตฺถ เนว ปฐวีํ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีดินมีอยู่.
ว่า อิทมฺปิ โข ฐานํ สุทุทฺทสํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
ฐานะที่บุคคลจะพึงเห็นได้แสนยากแม้นี้แล คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ
คืออุปธิทั้งปวง.
ว่า อสงฺขตญฺจ โว ภิกฺขเว ธมฺมํ เทเสสฺสามิ อสงฺขตคามิญฺจ ปฏิปทํ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรมและปฏิปทาอันให้ถึงอสังขตธรรม.
และด้วยบทพระสูตรนี้ว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิดมิอยู่
ฉะนั้น วิญญูชนผู้เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา แม้ยังมิได้ทำได้ประจักษ์ในนิพพานนั้น
ไม่มีความสงสัยเลยทีเดียวแม้โดยแท้ ถึงกระนั้น เพื่อจะบรรเทาความเคลือบแคลงของ
บุคคลผู้ที่มีความรู้อันบุคคลอื่นจะพึงแนะนำได้ จึงมีคำวิจารณ์ที่สมควร โดยนำอธิบายออก
มาขยายในนิพพานนั้น ดังต่อไปนี้

เพราะกามและรูปพร้อมทั้งสิ่งที่เหนือขึ้นไป เป็นธรรมชาติที่จะพึงกำหนดรู้ได้ จึง
ปรากฏการสลัดออก ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกามและรูป มีสภาพผิดกันกับกามและรูปนั้น ฉันใด
สังขตธรรมแม้ทั้งหมดซึ่งมีสภาพเหมือนฉันนั้น จำต้องมีการสลัดอออก ซึ่งมีสภาพผิดกันกับ
สังขตธรรมนั้นอันเป็นปฏิปักษ์กัน ก็การสลัดออกนั้นใด อสังขตธาตุก็อันนั้น. จะกล่าวให้
ยิ่งขึ้นไปอีกหน่อย
วิปัสสนาญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และอนุโลมญาณย่อมละกิเลสได้โดย
เป็นตทังคปหาน ย่อมไม่อาจละได้ไดยสมุจเฉทปหานโดยเด็ดขาด. อนึ่ง ญาณในปฐมฌาน
เป็นต้น ซึ่งมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสได้ไดยเป็นวิกขัมภนปหานเท่านั้น หาใช่
เป็นสมุจเฉทปหานไม่. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เพราะญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์
มิสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ไม่สามารถในอันละกิเลสได้โดยเด็ดขาด อริยมรรคญาณ
ซึ่งทำหน้าที่ละกิเลสเหล่านั้นได้เด็ดขาด จึงต้อมีอารมณ์ซึ่งมีภาพตรงกันข้ามกับญาณ
ทั้งสองนั้น อสังขตธาตุก็คืออันนั้นแหละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2024, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-18-093352413watermark.png.jpg
2024-10-18-093352413watermark.png.jpg [ 139.28 KiB | เปิดดู 768 ครั้ง ]
อนึ่ง คำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูรูปภิกษุทั้งหลาย ธรรรรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น อันเหตุ
อะไร ๆ มิได้ทำขึ้นอันปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้นมีอยู่ เป็นคำส่องความที่พระนิพพานมีอยู่โดย
ปรมัตถ์ ชื่อว่ามือรรถอันไม่วิปริต เพราะเป็นคำอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ จริงอยู่ คำใด
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ คำนั้นมิอรรถไม่ผิด เหมือนอย่างคำว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตน์ตา. อนึ่ง นิพพาน ศัพท์ เป็นอารมณ์ของ
ปรมัตถ์ตามที่เป็นจริงในอารมณ์บางอย่าง เพราะมีความเป็นไปโดยอุปจารโวหาร บัณฑิต
พึงทราบความที่อสังขตธาตุมีอยู่โดยปรมัตถ์ แม้โดยข้อยุตติโดยนัยทั้งหลาย มีอาทิอย่าง
นี้ว่า เหมือนกับ สีห ศัพฟ์

อีกนัยหนึ่ง ถ้านิพพานจะพึงเป็นไปเพื่อความไม่มีเท่านั้นไซร้ นิพพานนั้นก็ไม่ควร
จะกล่าวว่าเป็นธรรมชาติที่ลึกซึ้ง เป็นต้นว่า ธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ
ประณีต ไม่ใช่วิสัยที่จะพึงถือเอาได้ เป็นธรรมที่ละเอียด บัณฑิตจะพึงรู้ได้ ไม่ชอบที่จะกล่าว
ว่าเป็นอสังขตธรรมเป็นต้น โดยนัยมีอาทิวา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม
แก่เธอทั้งหลาย และไม่ชอบที่จะกล่าวว่าเป็นอัพยากตธรรมเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ธรรม
ทั้งหลายเป็นอัพยากฤต ธรรมทั้งหลายหาปัจจัยมิได้ ก็ความไม่มีสภาวะอะไร ๆ ที่จะเป็น
เหตุให้พึงรู้ ความไม่มีนั้นโดยอาการมีความเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง และเป็นอสังขตธรรมเป็นต้น
หามิได้เลย. เพราะว่าความไม่มีก็เป็นความไม่มีอยู่นั่นเอง ความไม่มีนั้นจะมีความเกี่ยวข้อง
กับภาวะที่เป็นธรรมลึกซึ้ง และเป็นอสังขตธรรมเป็นต้นจากไหนได้เล่า ?

กิเลสทั้งปวงที่อยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งปวง ควรจะมีความไม่มีนี้แต่อย่างเดียวก็ได้
หรือหลายอย่างก็ได้ ถ้ามีอย่างเดียวก็ใช้มรรคเดียวเท่านั้น ทำกิเลสทั้งปวงให้ไม่มีได้ และ
ทำให้แจ้งได้ เพราะฉะนั้น มรรคอื่นและมรรคเหล่าอื่นก็เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น
จึงไม่ต้องมีมรรคมากมาย และสัตว์ทั้งปวงก็จะถึงการบรรลุนิพพานร่วมกันได้ ก็ถ้าจะพึง
เป็นอย่างนี้ ความไม่มีกิเลสที่รู้กันว่านิพพานนั้น ก็มีอย่างเดียวเท่านั้น ก็ความไม่มีกิเลสนั้น
ไม่ต้องไย้มรรคสร้างขึ้น ก็จะพึงทำให้แจ้งได้ไดยแท้แล ดังนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ ว่าโดยพิเศษ
มรรคก็จะต้องเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ เพราะมิได้ละกิเลสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม้มรรค
เดียวก็ไม่จำต้องมี ก็เมื่อไม่มีการละกิเลส ก็เข้าไปตัดเสียซึ่งทุกข์ไม่ได้ ฉะนั้น การทำได้
แจ้งซึ่งความไม่มีกิเลสจะพึงมีประโยชน์อะไรเล่า ? อนึ่ง เมื่อเป็นอย่างนั้น มรรคทั้งหลาย
มีหน้าที่แน่นอน โดยเฉพาะต่อการละสังถังไปทั้ง ๓ เป็นกัน อันอยู่ในชั้นดาน ฉะนั้น ใน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2024, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-18-072804764watermark.png.jpg
2024-10-18-072804764watermark.png.jpg [ 126.3 KiB | เปิดดู 758 ครั้ง ]
มรรคทั้ง ๔ เฉพาะแต่ละอย่าง ๆ ก็ไม่มีกิเสสเลย เมื่อเป็นอย่างนี้ เว้นจากการจำแนก
สภาวะก็ไม่มีมรรคหลายอย่าง เพราะฉะนั้น ความไม่มีนั้นก็ควรจะเป็นสภาวธรรมที่กล่าวถึง
โดยบรรยายถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสนั่นเอง

หากจะมีคำท้วงว่า ธรรมเหล่าใดมีความไม่มี ก็จะเป็นการพูดพาดพิงถึงความจำแนก
ในความไม่มีตามประเภทแห่งธรรมนั้นไป ?

ตอบว่า ธรรมเหล่าใดมีความไม่มี ธรรมเหล่านั้นก็เป็นธรรมชาติที่ยังมีสภาวะอยู่
ฉะนั้น แม้การพูดพาดพิงถือสภาวะของความไม่มีนั้น ก็ควรจะมีได้ ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น
แม้การพูดพาดพิงถึงความเป็นสังกิเลสและความเป็นสังขตธรรมเป็นต้น ไตยความที่ธรรม
เหล่านั้น เป็นกิเลสและเป็นสังขตธรรมเป็นต้น ก็ควรจะมีได้ หากแต่ไม่ปรารถนาธรรม
เหล่านั้น จึงไม่ต้องปรารถนา แม้การพูดพาดพิงถึงการจำแนก ด้วยประเภทของธรรม
เหล่านั้น และความเป็นสิ่งมากมายที่พูดพาดพิงถึง ก็ไม่สามารถจะเป็นสิ่งที่มากมายตาม
ความหมายได้. ก็สิ่งที่พูดพาดถึง คือ น้ำ ลม ย่อมจะไหม้ หรือย่อมจะหุงต้มไป ก็หามิได้.
ก็ปัญหาคือความเป็นหนึ่ง คือความไม่มีนี้ ไม่สามารถเพื่อจะเป็นสภาวะ เพราะฉะนั้น จึง
ไม่อาจพูดได้ว่า การบัญญัติถึงการไม่จำแนกไปเป็นการสมควรแล้ว โดยที่เป็นความเสมอ
กันกับความไม่มี. อนึ่ง ในความเป็นหนึ่ง ได้มีข้อขัดแย้งที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นทีเดียว
แต่เมื่อมีความเป็นมาหลายอย่างเข้า ความเป็นสภาวธรรมเข้าใจได้ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว
นั่นแหละ.

หากมีคำท้วงว่า ก็แม้ในความเป็นสภาวะธรรม นิพพานก็ควรจะมิความเกี่ยวข้องกับ
ความเป็นสิ่งมาก เพราะแม้ความมิ ก็ไม่ควจะขัดแย้งกับความเป็นสิ่งมาก เหมือนกับความ
เป็นสิ่งมาก ไม่ควรจะขัดแย้งกับความมี ?
ตอบว่า หามิได้ เพราะความเป็นสิ่งมากนั่นเอง ไม่เกี่ยวข้องกับความไม่มี.
ก็ถ้าว่า แม้ความมีจะไม่พึงขัดแย้งกับความแข้นแข็ง ไม่พึงขัดแย้งกับความมี เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ความมีจะเป็นสิ่งมากได้จากไหน เพราะความมีทั้งปวงก็จะต้องถึงความเป็น
ปฐวีไป เพราะฉะนั้น แม้ความเป็นสิ่งมากจะเล็งถึงความมี โดยที๋โวหารของชาวโลกมี
ความแตกต่างกันก็ตาม ถึงกระนั้น ภาวะคือความมี ก็หาใช่เล็งถึงความเป็นสิ่งมากไม่
เพราะฉะนั้น นิพพานซึ่งเป็นความมี มีอยู่ จะเป็นสิ่งมากก็หามิได้ โดยพระบาลีว่า สิ่งใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2024, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




2024-10-18-093408309watermark.png.jpg
2024-10-18-093408309watermark.png.jpg [ 134.82 KiB | เปิดดู 707 ครั้ง ]
สำเร็จแล้ว ไม่ใช่หลายสิ่งสำเร็จ และในนิพพานที่งเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ย่อมมีทัสสนะ และ
ภาวนาทั้งสองอย่าง
ความเป็นนิพพานเฉพาะแต่ละอย่างของผู้ที่ปรินิพพานแล้ว ควรจะมีนิพพานที่
ชื่อว่าแน่นอนต่อสันดานของสัตว์ และเมื่อเป็นอย่างนั้น นิพพานนั้นก็จะไม่พ้นข้อขัดแย้ง
มีความเป็นสังขตธรรมเป็นต้นทีเดียว อีกนัยหนึ่ง การละก็เลสอันเป็นกิจของมรรค ก็จะ
เป็นความไม่มีกิเลสทั้งหลาย และในข้อที่นิพพานนั้นเป็นอย่างเดียว ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นมรรค
มีหลายอย่าง เพราะกิจอื่นที่จะต้องกระทำไม่มี. และภาวะที่มรรคมีหลายอย่าง ก็ย่อมมี
โดยการจำแนกถึงการละกิเลสทั้งหลาย โดยความต่างแห่งการกระทำให้แจ้ง ด้วยความที่
อินทรีย์ทั้งหลายเป็นธรรมชาติไม่ฉลาด ฉลาดธรรมดา ฉลาดกว่า และฉลาดที่สุด
ข้อเดียวกันที่มรรคทั้งหลายจะพึงกระทำให้แจ้ง เพราะฉะนั้น จึงควรจะมีได้ในเพราะความ
มีนิพพานเป็นสภาวธรรมนั่นเอง และความไม่มีแห่งกิเลสทั้งหลาย ก็ชอบที่จะเป็นเรื่องที่
มรรคจะพึงสร้างขึ้น โดยความเป็นหน้าที่ของตนนั่นเอง ไม่ใช่จะพึงกระทำให้แจ้ง

ก็สภาวะของความไม่มีเป็นอย่างไรเล่า ?
ธรรมใดที่ควรทำให้แจ้ง หากธรรมนั้นเป็นนิพพาน ก็ต้องเป็นธรรมที่มรรคเดียว
เท่านั้น พึงกระทำให้เป็นความไม่มีแห่งกิเลสทั้งปวง เป็นธรรมเอก แยกออกไปไม่ได้. เมื่อ
จะถึงความเป็นอย่างอื่นไป ในข้อที่นิพพานเป็น ๔ อย่าง ด้วยอำนาจของมรรค ก็จะต้อง
ไม่เกี่ยวกับความเป็น ๔ อย่าง และไม่เกี่ยวข้องกับความต่างของนิพพาน เพราะฉะนั้น
ความที่มรรคมีมาก ก็ควรจะมีได้ โดยความที่หน้าที่ของมรรคเป็นอย่างเดียว. แต่ในความ
ที่มรรคเหล่านั้นมีมาก ความไม่มีนั้น ก็โดยความต่างกันแห่งการกระทำให้แจ้งในธรรมอัน
เดียว ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชี้ขัดลงไปได้ว่า นิพพานเป็นสภาวธรรม.
อนึ่ง นิพพานนี้ท่านเรียกว่า ขโย ความสิ้นไป ก็เพราะความเป็นธรรมชาติที่จะพึงบรรลุ
โดยความสิ้นไป. เพราะว่าอริยมรรคก็ชื่อว่า ขโย ความสิ้นไป โดยมีพระบาลีว่า ขเย ญาณํ
ความรู้ในความสิ้นไป. ก็ด้วยเหตุนี้ นิพพานนี้จึงเป็นธรรมชาติที่จะพึงบรรลุ พึงทำให้แจ้ง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ขโย ความสิ้นไป ฉะนี้แล
พรรณนานิโรธนิทเทสกถา จบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร