วันเวลาปัจจุบัน 11 ก.ย. 2024, 12:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2023, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




1698266279017.jpg
1698266279017.jpg [ 186.46 KiB | เปิดดู 2949 ครั้ง ]
มัคคปัจจัย
มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยที่ ๑๘ ในปัจจัย ๒๔ และเป็นปัจจัยที่ ๓๑ ในปัจจุ ๕๒

อุทฺเทส มคฺคปจฺจโย เพราะมีองค์มัคเป็นปัจจัย
ว่า มัคค แปว่าหนทาง หมายถึงเป็นทางเดินของจิตที่นำผู้
เดินทางไปสู่สุคติ ทุคติ และอคติ หรือ มัคค แปลว่า ไป หรือแปลความ แสวง
หาก็ได้ เพราะตามธรรมดาหนทางนั้น
ย่อมนำผู้เดินทางให้ไปสู่จุดหมายปลายทาง
มัคคปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือย่อมนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อม
กับตนไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตนให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ
ในปวัตติกาล เท่านั้น อันเป็นกิจธรรมดาที่เป็นปกติของมัคคปัจจัย
อย่างหนึ่งเช่นองค์มัคที่เกิดกับวิบาก และกิริยาก็เกิดขึ้นเพื่อ
และทำกิจในหน้าที่ของตน ๆ โดยอาศัยเจตสิกที่เป็นองค์มัคคปัจจัยนี้ ทำหน้าที่
นำจิตเจตสิกที่เหลือให้ไปสู่อารมณ์เหล่านี้ได้ และมัคคปัจจัยยังมีกิจพิเศษ
อีกอย่างหนึ่ง คือ มีอำนาจช่วยอุดหนุนนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับ
ตนให้ไปสู่สุคติ ทุคติ และอคติคือพระนิพพานได้อีก องค์มัคนี้จะต้อง
เกิดกับกุศลหรือ อกุศลเท่านั้น เพราะให้ผลเกี่ยวกับปฏิสนธิ เช่น องค์
มัคที่เกิดในโลกิยกุศล ก็นำไปสู่สุคติ ถ้าเกิดในโลกุตตรกุศลก็นำไปสู่อคติ
คือ พระนิพพาน แต่ถ้าเกิดกับอกุศลก็นำไปสู่ทุคติ

มัคคปัจจัยจึงคล้ายกับนานักขณิกกัมมปัจจัยต่างกันแต่ว่า
นานักขณิกกัมมปัจจัยนั้น เป็นเหตุให้เกิดขึ้นโดยตรง

ส่วนมัคคปัจจัยนั้น
เป็นเหตุให้ถึง เพราะว่าเป็นหนทางหรือเป็นยานพาหนะที่จะพาผู้
โดยสารไปให้ถึงที่หมาย มัคคปัจจัยจึงได้ชื่อว่า สัมปาปกเหตุ คือเหตุ
ที่ทำให้ถึงที่หมาย ไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิด เพราะไม่ได้ไปสร้างสถานที่นั้นให้เกิดขึ้น
มัคคปัจจัยเป็นประเภทนาม --> นามรูป โดยการเกิดพร้อมกัน
จึงเป็นปัจจุบันกาล เป็นประเภทสหชาตชาติ ทำได้ ๒ กิจคือ ซนกกิจ และ
อุปถัมภกกิจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2023, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1698445717542-removebg-preview.png
ei_1698445717542-removebg-preview.png [ 95.88 KiB | เปิดดู 2685 ครั้ง ]
มัคคปัจจัยต้องเกิดกับจิตที่มีเหตุเท่านั้น
เพราะการจะไปสู่สุคติ ทุคติ
และอคติได้ จะต้องเป็นจิตที่มีกำลัง
คือต้องประกอบด้วยเหตุ มัคคปัจจัย ซึ่งชื่อว่า มีเหตุเป็นที่สุด

พระบาลีนิทเทสมัคคปัจจัย
มคฺคงฺคานิ มคฺคสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมา ตํสมุฏฺฐานานญฺจ รูปานํ
มคฺคปจฺจเยน ปจฺจโย
(องค์มัค ๘ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกับองค์มัค และแก่รูป
ทั้งหลายที่มืองค์มัค และธรรมที่ประกอบกับองค์มัคนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วย
อำนาจมัคคปัจจัย)

วจนัตถะของมัคคปัจจัย

มคฺโค วิยาติ = มคฺโค (
ธรรมที่เป็นประดุจหนทางชื่อว่า มัคคะ)
สุคติทุคฺคตีนํ นิพฺพานสฺส จ อภิมุขํ ปาปนโต = มคฺโค (ธรรมที่
ชื่อว่ามัคคะ ก็เพราะเหตุว่าเป็นธรรมที่นำไปสู่สุคติ ทุคติ และพระนิพพาน)

มคฺคภาเวน อุปการโก ธมฺโม = มคฺคปจฺจโย
(ธรรมที่เป็น
ผู้อุปการะโดยความเป็นมัค คือนำไปสู่สุคติ ทุคติ และพระนิพพานชื่อว่า มัคคปัจจัย

องค์ธรรมมัคคปัจจัย

ปัจจัย
องค์มัค ๙ คือ ปัญญา วิตก วิรตี ๓ วิริยะ สติ
เอกัคคตา และทิฏฐิ

ปัจจยุบบัน
สเหตุกจิต ๗๑ เจ.๕๒ สเหตุกจิตตช. ๑๗
สเหตุกปฏิ.กํ. ๒๐

ปัจจนิก
อเหตุกจิต ๑๘ เจ ๑๒ ( เว้นฉันทะ ) อเหตุจิตตช. ๑๗
อเหตุกปฏิ.กํ. ๒๐ และรูป ๕ หมวดที่เหลือ คือ อุตุชรูป
อาหารชรูป ปวัตติ.กํ. อสัญญ.กํ. พาหิรรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2023, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1699235533805-removebg-preview (9).png
ei_1699235533805-removebg-preview (9).png [ 419.88 KiB | เปิดดู 2384 ครั้ง ]
มัคคปัจจัย หมายถึงทางเดินของจิตใจ ที่พาผู้เดินทางไปสู่
สุคติ ทุคติ และอคติ

มัคคปัจจัย แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ
ส้มมามัค ๘ และมิจฉามัค ๘

สัมมามัค ๘ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา
กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ส้มมาวายามะ ส้มมาสติ ส้มมาสมาธิ ถ้าไป
สู่สุคติก็เจริญกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น
ถ้าไปสู่อคติก็เจริญสติปัฏฐาน

มิจฉามัค ๘ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉา
กัมมันตะ มิจฉาาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
เป็นทางเดินไปสู่ทุคติ
มิจฉาวาจา มิจฉาก้มมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสติ องค์ธรรมไม่มี
หมายเอาอกุศลจิตตุปบาทที่ทำผิด ไม่ได้หมายเอาเจตสิก

องค์ธรรมมัคคปัจจัย คือ
องค์มัค ๙ สเหตุกจิด ๗๑ เจ.๕๒ สเหตุกจิตตช. ๑๗ สเหตุกปฏิ.ก๋. ๒๐
(องค์มัค ๙ คือ ปัญญา วิตก วิรตี ๓ วิริยะ สติ เอกัคคตา ทิฏฐิ)
คำว่า สัมมา (โดยชอบ) ในองค์มัค ๘
ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา
คำว่า ชอบ หมายเอาความไม่วิปริตเปลี่ยนแปลง คือผู้ปฏิบัติมัค ๘ ที่เป็น
มัชฌิมาปฏิปทา จะเป็นทางให้ถึงพระนิพพานแน่นอน อันเป็นทางให้พ้น
จากวัฏฏทุกข์ ดังนั้นอารมณ์ของมัด ๘ ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา จะต้องมีทั้ง
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดร่วมพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน ส่วนผู้ที่ทำมาหากิน
มีอาชีพสุจริต มีความเพียรชอบ ก็ปฏิบัติสัมมามัคที่ไปสู่สุคติ ไม่ใช่ปฏิบัติ
สัมมามัค ๘ ที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน

ส่วนอเหตุกจิต ไม่จัดว่าเป็นองค์มัค เพราะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน
ไม่ประกอบด้วยเหตุ ไม่เป็นทางให้เข้าถึง สุคติ ทุคติ และอคติ
ถ้านับองค์มัค ๑๒ นับสัมมามัค ๘ และมิจฉามัค ๔ คือ มิจฉาทิฏ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:58 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร