วันเวลาปัจจุบัน 12 ก.ย. 2024, 00:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230330_070413.png
PhotoRoom-20230330_070413.png [ 372.7 KiB | เปิดดู 3317 ครั้ง ]
การศึกษาสงฆ์สมัยพุทธกาล
พระราชปริยัติกวี, ศาสตราจารย์ ดร.
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ

คันถธุระและวิปัสสนาธุระ
“การศึกษาสงฆ์” ในสมัยพระพุทธเจ้าเรียกว่า“ธุระ”มี ๒ อย่าง1
คือ คันถธุระ เรียนคัมภีร์
และวิปัสสนาธุระ เรียนหลักการปฏิบัติแล้วลงมือปฏิบัติกรรมฐาน แต่หลังจากมีการเขียนคัมภีร์
พระพุทธศาสนาแล้ว คำว่า “การศึกษาสงฆ์” มีนัยหมายถึงการศึกษาพระปริยัติธรรม(ปริยัติสัทธรรม)
หรือปริยัติศึกษาเป็นหลักซึ่งก็คือคันถธุระนั่นเอง ในขณะที่ “วิปัสสนาธุระ” หมายถึง พระปฏิปัตติสัทธรรม
(ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นการศึกษาอบรมกล่อมเกลาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้มีความเรียบร้อย
ดีงาม
พระพุทธเจ้าทรงกำหนดธุระ(การศึกษา)สำหรับพระสงฆ์ไว้ ๒ อย่าง เพื่อให้เหมาะกับวัยวุฒิและ
คุณวุฒิของพระสงฆ์ซึ่งมีความหลากหลายด้านวัยและพื้นฐานความรู้เดิม ท่านที่บวชในขณะเป็นหนุ่ม
มีพื้นฐานความรู้ดีก็ควรทำทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ดังที่สมัยหนึ่ง กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีชื่อว่า
มหาปาล2

บวชเมื่อตอนแก่ พอบวชได้ ๕ พรรษาก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลถามว่า “ในพระพุทธศาสนามีธุระอยู่กี่อย่าง”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “มีธุระอยู่ ๒ อย่าง คือ คันถธุระกับวิปัสสนาธุระ
การเรียนนิกาย(คัมภีร์)หนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็คือ ตามสมควรแก่ปัญญา
ของตนแล้วจำไว้ได้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า คันถธุระ ส่วนการที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมจนคล่องแคล่ว
ยินดีอย่างยิ่งในที่เงียบสงบ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญต่อเนื่องกัน
ไปจนกระทั่งบรรลุอรหัตผล ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบ พระมหาปาลก็กราบทูลทันที
ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชตอนแก่ ไม่สามารถบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ แต่จักบำเพ็ญ
วิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์ได้ ขอพระองค์ตรัสบอกกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด”
คันถธุระคือวิชาการ วิปัสสนาธุระคือวิชาชีวิต เหตุที่คนบวชตอนแก่ไม่นิยมบำเพ็ญคันถธุระ
ก็เพราะ (๑) บางคนเรียนมามากแล้ว มีประสบการณ์มากแล้วจากทำงานตอนอยู่ครองเรือน บางคน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230408_142611.png
PhotoRoom-20230408_142611.png [ 230.79 KiB | เปิดดู 3255 ครั้ง ]
อาจจบศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ มาแล้ว วิชาการทางโลกบางเรื่องก็เหมือนวิชาการทางพระพุทธศาสนา
คงไม่จำเป็นต้องเรียนอีก เพราะไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์มากนัก (๒) คันถธุระหรือวิชาการทาง
พระพุทธศาสนาลึกซึ้ง ละเอียดซับซ้อน โดยเฉพาะปรมัตถธรรมคือเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน ยากที่
จะเรียนจบ คนมีอายุมากเรียนวิชาการนี้อาจทำให้ตัวเองลำบากโดยไม่จำป็น
๑) คันถธุระ
คันถธุระ แปลว่าธุระฝ่ายคัมภีร์ ธุระคือการเรียนคัมภีร์ หมายถึงการศึกษาพระปริยัติธรรม
ในสมัยพุทธกาลก็คือนวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ อย่าง3
ประกอบด้วย
๑) สุตตะ พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิเทศ
๒) เคยยะ ข้อความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด
๓) เวยยากรณะ ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และ
พระสูตรที่ไม่มีคาถา เป็นต้น
๔) คาถา ข้อความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถาเป็นต้น
๕) อุทาน ได้แก่พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร
๖) อิติวุตตกะ พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร
๗) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง
๘) อัพภูตธรรม เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ
๙) เวทัลละ พระสูตรแบบถาม-ตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น
ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระสาวกผู้เชี่ยวชาญในคันถธุระมีหลายรูป เช่น
สายพระวินัย ประกอบด้วย พระอุบาลีเชี่ยวชาญพระวินัยอย่างยิ่งในยุคต้น ต่อมาก็มีพระทาสกะ
พระโสณกะ พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตรสืบทอดพระวินัยในอินเดียในยุคต่อมาเรื่อยมาจนถึง
ยุคพระจูฬภยะ พระติสสะ พระจูฬเทวะ และพระสิวะสืบทอดในเกาะลังกา สายพระสูตรและ
พระอภิธรรม ประกอบด้วย พระอานนท์ผู้เชี่ยวชาญพระสูตรและพระอภิธรรมอย่างยิ่งในยุคต้น ต่อมา
ก็มีพระเถระอีกหลายรูปสืบทอดจากยุคสู่ยุค ในสมัยพระพุทธเจ้า พระทัพพมัลลบุตร ได้รับแต่งตั้ง
ให้เป็นผู้จัดที่นั่งที่นอนและจัดภัตตาหารถวายภิกษุ วิธีการจัดสถานที่รองรับพระสงฆ์ก็คือ จัดแจง
เสนาสนะสำหรับหมู่ภิกษุที่มีคุณสมบัติเสมอกันไว้ที่เดียวกัน คือ จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรง
พระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักซักซ้อมพระสูตรกัน” จัดแจงเสนาสนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230408_165957.png
PhotoRoom-20230408_165957.png [ 252.25 KiB | เปิดดู 3217 ครั้ง ]
สำหรับภิกษุผู้ทรงพระวินัยรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักวินิจฉัยพระวินัยกัน”
จัดแจงเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้น
จักสนทนาพระอภิธรรมกัน” เหล่านี้คือหลักฐานแสดงถึงความรุ่งเรืองของคันถธุระในสมัยพุทธกาล
๒. วิปัสสนาธุระ
วิปัสสนาธุระก็คือกรรมฐานในพระพุทธศาสนา คำว่า “กรรมฐาน” แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน
มีนัยตรงกับคำว่า “ภาวนา” เป็นคำที่หมายถึงการปฏิบัติธรรมหรือการฝึกอบรมจิตใจและอบรมปัญญา
ตามหลักพระพุทธศาสนา กรรมฐานหรือภาวนาในพระพุทธศาสนามี ๒ ประการ คือ
๑) สมถกรรมฐาน หรือสมถภาวนา การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ หรือการฝึกสมาธิ
๒) วิปัสสนากรรมฐานหรือวิปัสสนาภาวนา การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตาม
เป็นจริง หรือการเจริญปัญญา
๒.๑ สมถกรรมฐาน เป็นวิธีการสร้างสมาธิอย่างที่โบราณาจารย์ได้ปฏิบัติสืบๆ กันมา ตามที่
ท่านอธิบายไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นวิธีการที่ปฏิบัติกันอย่างเอาจริงเอาจังเป็นงานเป็นการ มุ่งฝึก
จำเพาะสมาธิแท้ๆ กำหนดวางกันไว้เป็นรูปแบบ มีขั้นตอนที่ดำเนินไปตามลำดับ คือ
๑) เตรียมการ โดยการตัดปลิโพธ คือข้อติดข้อง ข้อกังวล หรือเหตุกังวล เช่น ลาภ หมู่คณะ
ญาติ4
๒) เลือกเข้าหากัลยาณมิตรคือครูอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเหมาะที่จะให้กรรมฐานโดยต้องเป็น
บุคคลที่มีธรรม(กัลยาณมิตตธรรม)
๓) การเลือกกรรมฐานที่เหมาะกับจริตรับเอากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๐ อย่าง
ที่เหมาะกับจริยาของตนโยคีผู้ปฏิบัติกรรมฐานต้องพินิจพิเคราะห์ดูว่าตัวเองมีจริตแบบไหน และอาจารย์
ผู้ควบคุมการปฏิบัติก็ต้องช่วยพินิจตรวจสอบดูว่าศิษย์ผู้นั้นๆ มีจริตแบบไหน เพื่อให้สามารถ
เลือกประเภทกรรมฐานให้เหมาะกับจริตนั้นๆ เช่น ราคจริต ผู้มีลักษณะนิสัยหนักไปทางราคะ คือ
รักสวยรักงาม ควรใช้อสุภกรรมฐานและกายคตาสติ โมหจริต ผู้มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา
เหงาซึม เงื่องงง งมงาย ควรใช้อานาปานสติกรรมฐานควบคู่กับไปกับการสนทนากับอาจารย์
๔) เข้าอยู่ในวัด ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ปฏิบัติซึ่งเหมาะแก่การเจริญสมาธิ พร้อมกันนั้นก็ตัด
ปลิโพธคือข้อกังวลเล็กๆ น้อยๆ เสียให้หมด
๕) ปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธิ อุปกรณ์ในการสร้างสมาธิ คือ กรรมฐาน ซึ่งแปลว่า ที่ตั้งแห่ง
การทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน หมายถึงสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา เป็นอุปกรณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




1680952298369.jpg
1680952298369.jpg [ 43.84 KiB | เปิดดู 3192 ครั้ง ]
ในการฝึกอบรมจิต เป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตมีที่เกาะจะได้สงบนิ่งไม่ฟุ้งซ่านไปอย่าง
ไร้จุดหมาย กรรมฐานนั้นกล่าวโดยสรุปในที่นี้ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ มีวิธี
ปฏิบัติทั้งหมด ๔๐ อย่าง ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกศึกษาและปฏิบัติตามความถนัดของตัวเองอย่างใด
อย่างหนึ่ง เช่น วิธีแผ่เมตตา
ตัวอย่างวิธีปฏิบัติสมถกรรมฐานโดยใช้พรหมวิหารกรรมฐานข้อ “เมตตา” มีลำดับขั้น คือ
๑) พิจารณาให้เห็นโทษของความโกรธ(โทสะ) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ สรุปความว่า “บุคคล
ผู้มักโกรธนั้น มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์ ได้ความเจริญแล้วก็ยังถึงความเสื่อม ทำการเข่นฆ่า
ทางกาย วาจา ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์ ถึงความเสื่อมยศ ญาติมิตรและสหายหลีกหนี ผู้ถูก
ความโกรธครอบงำย่อมไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ทำกรรม(ไม่ดี)ที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ต่อเมื่อหายโกรธแล้ว
ย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้” เป็นต้น และพิจารณาให้เห็นประโยชน์(อานิสงส์)ของความอดทน(ขันติ)
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้สรุปความว่า “ความอดทนมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ ๑) เป็นที่รักเป็นที่พอใจ
ของคนหมู่มาก ๒) เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๓) เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๔) เป็นผู้ไม่หลงลืมสติตาย ๕) หลังจาก
ตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
๒) พิจารณาดูบุคคลที่อาจเป็นอุปสรรค ผู้ประสงค์จะสร้างสมาธิโดยเมตตาภาวนา ควรพิจารณา
ดูโทษ (ข้อเสีย) อันอาจเกิดขึ้นจากทำเมตตาภาวนาไปในบุคคล ๖ ประเภท คือ คนที่เกลียดกัน
ย่อมลำบากใจทำให้เสียเวลาในการปรับความคิดให้หลีกเว้นจากความเกลียดแล้วหันมาสู่ความรัก
เป็นการเพิ่มภาระให้ตัวเองคนที่เป็นสหายรักกันมาก อาจมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติกรรมฐานได้ยาก
เพราะไม่มีแรงจูงใจทั้งด้านลบและด้านบวก ย่อมลำบากเช่นเดียวกันคนที่อยู่ในฐานะกลางๆ ไม่เกลียด
ไม่รักกัน ก็อาจลำบากเช่นเดียวกัน เพราะเหตุว่าการตั้งคนประเภทนี้ไว้ในฐานะเป็นครูและเป็นคน
รักกันย่อมสำเร็จได้ยากคนที่เป็นศัตรูกัน อาจทำให้เกิดอุปสรรคได้ เพราะเหตุว่าเมื่อระลึกถึงคนที่เป็น
ศัตรูกัน ความโกรธย่อมเกิดขึ้นคนที่มีเพศตรงข้าม อาจทำให้เกิดอุปสรรคได้เช่นเดียวกัน เพราะเหตุว่า
เมื่อระลึกถึงเจาะจงคนที่มีเพศตรงข้าม ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้นคนที่ตายแล้ว ย่อมเป็นการเสียเวลาโดย
ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้น เพราะเหตุว่าถึงจะทำเมตตาภาวนา ก็ไม่มีอานิสงส์ให้เข้าถึงแม้แต่อุปจารสมาธิได้
๓) ทำเมตตาภาวนาตามลำดับเมื่อรู้ชัดว่าควรงดทำเมตตาภาวนาในบุคคลประเภทไหนและทำ
เมตตาภาวนาในบุคคลประเภทไหน ก็ลงมือปฏิบัติโดยเริ่มทำเมตตาภาวนาไปในบุคคลประเภทต่างๆ
ตามลำดับ คือ ในตนเอง ในเบื้องต้น โยคีผู้ปฏิบัติพึงทำเมตตาภาวนาด้วยการกำหนดใจหรือกล่าวเพียง
เบาๆ ว่า “ขอเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีความสุขบริหารตนไปเถิด” ดังนี้ ก็ได้
เหตุที่ต้องเจริญเมตตาภาวนาไปในตนก่อนนั้น ก็เพราะต้องการให้เป็นพยานว่า “ตนเองรักสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230407_115743.png
PhotoRoom-20230407_115743.png [ 607.86 KiB | เปิดดู 3191 ครั้ง ]
เกลียดทุกข์ ฉันใด คนหรือสัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น” ในคนที่เป็นสหายรักหรือคนที่เคารพกัน
ในลำดับต่อมา โยคีผู้ปฏิบัติพึงระลึกถึงคุณความดีของคนอื่นที่ทำให้เป็นที่รักและเคารพกันแล้วทำ
เมตตาภาวนาโดยนัยว่า “ขอท่านผู้นั้นจงถึงความสุข ไม่มีทุกข์เถิด” เป็นต้น ในบุคคลที่อยู่ในฐานะกลางๆ
และในบุคคลที่เป็นศัตรูกัน(ถ้ามี)
๒.๒ วิปัสสนากรรมฐาน การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง หรือการเจริญ
ปัญญาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมี ๒ แบบคือ
แบบที่ ๑ สมถยานิก เมื่อเตรียมการด้านพื้นฐานและรากเหง้าของปัญญา(วิปัสสนา)
ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เพื่อจะทำลำต้นของปัญญา(วิปัสสนา) คือทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้นให้สมบูรณ์ โยคีผู้เป็น
“สมถยานิก” เมื่อจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อพัฒนาปัญญา พึงออกจากรูปฌานและอรูปฌาน
ฌานใดฌานหนึ่งก่อน เว้นไว้แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะเพื่อใช้เป็นฐาน พึงกำหนดองค์ฌานมีวิตก
เป็นต้น และธรรมที่ประกอบด้วยองค์ฌานมีเวทนาเป็นต้นโดยลักษณะและหน้าเป็นต้น ครั้นแล้ว
พึงกำหนดลงว่า “ทั้งหมดนั่นเป็นนาม” เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น้อมไปได้ เพราะมุ่งหน้าโน้มไปสู่อารมณ์
สำรวจนามนั้นหาดูไปว่า “นามนี้อาศัยอะไร ?” ก็จะพบว่า “หทัยรูปเป็นที่อาศัยของนาม” ต่อจากนั้น
พึงกำหนดจับรูปคือภูตรูป(ดิน น้ำ ไฟ ลม)ซึ่งเป็นที่อาศัยของหทัยรูป และอุปาทายรูปที่เหลือก็อาศัย
ภูตรูป โยคีพึงกำหนดลงว่า “ทั้งหมดนั่นเป็นรูป” เพราะเป็นสิ่งเสื่อมสลายได้ ต่อจากนั้นพึงกำหนด
นามรูปด้วยกันโดยสรุปว่า “นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ รูปมีการเสื่อมสลายเป็นลักษณะ” เมื่อมีความ
คล่องแคล่วชัดเจนในการกำหนด ชื่อว่าได้ทำทิฏฐิวิสุทธิให้ถึงพร้อมสมบูรณ์ เมื่อทิฏฐิวิสุทธิสมบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นพื้นฐานแก่การทำกังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
และญาณทัสสนวิสุทธิให้สมบูรณ์ตามลำดับเป็นแนวทางไปสู่การตัดกิเลสตัณหาได้เช่นเดียวกัน ดังที่
พระอานนท์ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เมื่อเธอ
เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอ
เสพคุ้น เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหมดย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป”
พระพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการพัฒนาปัญญาแบบสมถยานิกไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานั้นแล สงัดจากกามทั้งหลาย
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนะ ... เนวสัญญานาสัญญายตนะ
... บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะทั้งหลายก็ได้ถึงความสิ้นไป”
แบบที่ ๒ วิปัสสนายานิก โยคีผู้เป็น “วิปัสสนายานิก” เมื่อจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อ
พัฒนาปัญญา กำหนดพิจารณารูปคือมหาภูตรุป ได้แก่ ธาตุ ๔ (ดิน น้ำไฟ ลม) โดยในเบื้องต้น กำหนด
พิจารณาธาตุดินและธาตุน้ำแยกย่อยเป็นอาการ ๓๒ เริ่มจากผมเป็นต้นไป เมื่ออาการ ๓๒ ปรากฏชัด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




297980_1457062002197_1702796301_724032_6329765_n.jpg
297980_1457062002197_1702796301_724032_6329765_n.jpg [ 97.46 KiB | เปิดดู 3191 ครั้ง ]
ส่วนที่เป็นธาตุไปและธาตุลมซึ่งแยกย่อยเป็นอาการอีก ๑๐ อย่าง ก็ปรากฏชัดตามมาโยคีผู้ปฏิบัติ
ครั้นรวมรูปทั้งหมดนั้นเข้าด้วยโดยลักษณะคือความเสื่อมสลาย ก็จะเห็นว่า “นั่นเป็นรูป” เมื่อโยคีกำหนด
เห็นรูปอย่างนั้นแล้ว อรูปธรรมทั้งหลาย(นาม)ก็ปรากฏ โยคีรวมอรูปธรรมทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยลักษณะ
คือความน้อมไปได้ ก็จะเห็นว่า “นั่นเป็นนาม” วิปัสสนายานิกถือเป็นวิธีการพัฒนาปัญญาอีกแบบหนึ่ง
ที่นำไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงทั้งระดับโลกิยะและโลกุตตระพระพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการพัฒนาปัญญาแบบ
วิปัสสนายานิกตอนหนึ่งว่า “เมื่อใด เรารู้ชัดความเกิด(สมุทัย) ความดับ(อัสดง) คุณ(อัสสาทะ)
โทษ(อาทีนพ) และเครื่องสลัดออก(นิสสรณะ)อินทรีย์ ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)ตามความเป็นจริง
เมื่อนั้นเราจึงยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า
วิมุตติ(ความหลุดพ้น)ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์กัลยาณมิตรเพื่อความงอกงามแห่งวิชา
กระบวนการศึกษาในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล (สมัยที่พระพุทธเจ้ายังพระชนม์อยู่)
ให้ความสำคัญแก่สายสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์ คือ พระอุปัชฌาย์(ผู้บวชให้)กับพระสัทธิวิหาริก
(ผู้รับการบวช-ศิษย์) และพระอาจารย์(ผู้เป็นเจ้าสำนักแต่ไม่ได้บวชให้)กับพระอันเตวาสิก (ผู้มาอยู่กับ
เจ้าสำนักโดยที่ท่านไม่ได้เป็นพระอุปัชฌาย์-ศิษย์) โดยเฉพาะใน ๕ พรรษาแรกต้องให้มีความสัมพันธ์
แน่นแฟ้นมากที่สุดองค์ประกอบที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับพระสัทธิวิหาริกแน่นแฟ้น
เรียกว่า อุปัชฌายวัตรกับสัทธิวิหาริกวัตร องค์ประกอบที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระอาจารย์กับ
พระอันเตวาสิกแน่นแฟ้นเรียกว่า อาจริยวัตรกับอันเตวาสิก วัตรเป็นการเอาใจใส่ต่อกันและกันด้วยความ
เอื้อเฟื้อเกื้อกูลทุกเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การปลูกศรัทธาในกันและกันเป็นเบื้องต้น
ก่อนที่จะนำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกันในเรื่องอื่นๆ ต่อไปสาระสำคัญบางตอนของวัตรต่างๆ เช่น
อุปัชฌายวัตร5
(วิธีที่สัทธิวิหาริกประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์) ... เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว
ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ(สุ่มเสี่ยงจะเป็นอาบัติ) พึงห้ามเสีย
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม อุปัชฌาย์
อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความเห็นผิด
สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมแก่อุปัชฌาย์...

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230409_075852.png
PhotoRoom-20230409_075852.png [ 230.94 KiB | เปิดดู 3122 ครั้ง ]
สัทธิวิหาริกวัตร6
(วิธีที่อุปัชฌาย์ประพฤติโดยชอบในสัทธิวิหาริก) ... อุปัชฌาย์พึงสงเคราะห์
อนุเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วยอุทเทส (การเรียนการสอน) ปริปุจฉา (สืบค้นหาความรู้) โอวาท (แนะนำ
ตักเตือน) และอนุศาสน์ (สั่งสอน) ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความเห็นผิด อุปัชฌาย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอก
ภิกษุอื่นให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมแก่สัทธิวิหาริก
สาระของอาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร7
ก็มีเหมือนกับอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตร
โดยสรุป วัตรทั้งหมดนี้มีสาระเพื่อให้ความเอื้อเฟื้อต่อกัน สร้างความอบอุ่น ความเป็นกัลยาณมิตร
สร้างสายสัมพันธ์ต่อกันทั้งด้ายภาพและจิตภาพ ซึ่งเมื่อผู้เป็นศิษย์มีอายุพรรษาเกิน ๕ ไปแล้ว แม้จะ
แยกย้ายกันไปอยู่ต่างถิ่นที่ แต่ก็ยังคงความเป็นศิษย์-อาจารย์กันอยู่อย่างเหนียวแน่น ความงอกงาม
ของวิชาที่ได้เรียนมาจากพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์อย่างใกล้ชิดจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ ยิ่งใช้วิชา
ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณแตกฉานขยายต่อเนื่องเรื่อยไป เพราะได้อาศัยหน่อแห่งความงอกงามคือศรัทธา
ดังพุทธภาษิตว่า “สทฺธา พีชํ ตโป วุฏฺิ- ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน 8

อานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่ได้จากวัฒนธรรมการศึกษาแบบนี้ก็คือ ทั้งอาจารย์ทั้งศิษย์ได้เรียนรู้จากกัน
และกัน เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่กันและกัน เกิดศรัทธาในกันและกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
สร้างกระบวนการจัดการความรู้ร่วมกัน
หลักคิดหลักครูจากบทเรียนการศึกษาสงฆ์สมัยพุทธกาล
ประเพณีอันดีงามเกี่ยวกับการศึกษาสงฆ์ในสมัยพุทธกาล พอสรุปเป็นหลักคิดหลักครูอันจะเป็น
แนวปฏิบัติสำหรับครูและนักเรียนในสังคมยุคใหม่ได้ดังนี้
ขั้นที่ ๑ สร้างศรัทธา ครูอาจารย์ผู้ทำหน้าที่สอนต้องมีหลักคิดคือ ศรัทธาเป็นฐานของการเรียน
การสอนสรรพวิชา ดังพุทธภาษิตว่า “สทฺธาย ตรติ โอฆ”ํ
9
แปลว่า ข้ามพ้นหุบเหวหล่มเลนได้ด้วยศรัทธา
เบื้องต้นแห่งความสำเร็จในการสอนคือศรัทธา ผู้สอนต้องมีศรัทธา ผู้เรียนก็ต้องมีศรัทธา โดยเฉพาะ
ผู้เรียนนั้นเกิดศรัทธาขึ้นได้มาเพราะผู้สอนมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์
คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้สอนมี ๒ ส่วนคือส่วนที่ ๑ จรณะ คือ คุณสมบัติด้านความประพฤติ
พระพุทธศาสนาแสดงคุณสมบัติของผู้เป็นครูอาจารย์ไว้ เรียกว่า กัลยาณมิตตธรรม มี ๗ประการ10 ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230409_161607.png
PhotoRoom-20230409_161607.png [ 158.29 KiB | เปิดดู 2991 ครั้ง ]
๑) น่ารัก ๒) น่าเคารพ
๓) น่ายกย่อง ๔) รู้จักพูดรู้จักชี้แจง
๕) รับฟังคำแนะนำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ๖) พูดเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้
๗) ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล
ส่วนที่ ๒ วิชา คือ คุณสมบัติด้านวิชาการ คนที่เป็นครูอาจารย์ต้องมีความโดดเด่นทางวิชาการ
จนเป็นที่สังเกตได้ นั่นคือเป็นคนที่มีคุณสมบัติเรียกว่า “พาหุสัจจะ” แปลว่า ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมา
มาก เรียนรู้มามาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ประกอบซึ่งเป็นตัวชี้วัด ๕11 คือ
๑) พหุสสุตา เรียนมาก ๒) ธตา จำได้
๓) วจสา ปริจิตา ใช้คล่อง ๔) มนสานุเปกขิตา ขึ้นใจ
๕) ทิฏฺิยา สุปฏิวิทธา เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักวิชานั้นๆ
ทั้งที่เป็นต้นฉบับ(Original) และคำอธิบายรวมทั้งความเห็นของคนยุคต่อมา
ความรู้ที่จำเป็นต้องถ่ายทอดเพื่อให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม มี ๒ ส่วน คือ ความรู้ด้านวิชาการ
เฉพาะสาขากับความรู้เรื่ององค์ประกอบพื้นฐานแห่งชีวิต นอกจากจะรู้ว่าปรัชญาคืออะไร ศาสนา
คืออะไร ตรรกศาสตร์คืออะไร วัฒนธรรมคืออะไรเป็นต้นแล้ว ผู้สอนยังต้องรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
ด้วยว่า ชีวิตคืออะไร ประกอบด้วยอะไร ชีวิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอย่างไร ? ชีวิตเป็นอย่างไร ?
อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต ? เพื่อนำมาประกอบการจัดกระบวนวิชาและวิธีการถ่ายทอด
ความรู้ให้มีผลต่อการพัฒนาชีวิตมนุษย์
คุณสมบัติทั้ง ๒ ส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในศิษย์ ถ้าผู้สอนไม่มีคุณสมบัติ
ดังกล่าว ศิษย์ไม่มีศรัทธา การเรียนการสอนก็สักแต่ว่าสอน วิชาการไม่เจริญงอกงาม จิตใจก็ไม่มีเจริญ
งอกงาม แม้จะจบเป็นบัณฑิต ความเป็นบัณฑิตก็ไม่เจริญงอกงาม ใช้วิชาความรู้ไปประกอบหน้าที่
การงานก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร
ขั้นที่ ๒ การปลูกฝังผู้เรียน กรอบในการปลูกฝังผู้เรียนคือไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา ซึ่งเป็นหลักกรรมฐานในพระพุทธศาสนานั่นเอง การปลูกฝังผู้เรียนให้มีศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นองค์ประกอบสำคัญเบื้องต้นในการเรียนการสอนยุคใหม่ คนไม่ดีคือคนที่มีศีล สมาธิ ปัญญา คนไม่ดี
ทำอะไรก็มีปัญหาไปหมด เรียนหนังสือไป วิชาที่ได้มาก็กลายเป็นวิชามาร คนไม่มีสมาธิเรียนหนังสือ
ไม่จำ เรียนไปหงุดหงิดไป คนไม่มีปัญญาเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง นี่คือสิ่งที่นักบริหารการศึกษาต้องรู้และ
ใส่ใจให้มาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230410_130328.png
PhotoRoom-20230410_130328.png [ 350.53 KiB | เปิดดู 2913 ครั้ง ]
หลักคิดในการจัดการเรียนการสอนก็คือ ดีต้องมาก่อนเก่ง นั่นคือต้องสร้างคนดีก่อนสร้างคนเก่ง
ความดีเป็นเครื่องมือสร้างความเก่ง คนดีเมื่อได้รับการศึกษาไปจะกลายเป็นคนเก่งได้ไม่ยาก ศีล สมาธิ
ปัญญามีลักษณะเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายไปในขณะเดียวกัน นั่นคือในบางกรณี ถ้าประสงค์จะให้คน
มีศีล สมาธิ ปัญญา ก็ใช้วิธีการประกอบพิธีทำบุญ ให้ทาน สมาทานศีลถือปฏิบัติอยู่เป็นประจำนานไป
ก็จะมีอัธยาศัยเป็นคนมีศีล หมั่นฝึกปฏิบัติกรรมฐานกล่อมเกลาจิตใจอยู่เป็นประจพโดยวิธีการต่างๆ
นานไปกลายเป็นคนมีสมาธิดี ฝึกคิดฝึกใคร่ครวญอยู่เสมอ นานไปกลายเป็นคนสติปัญญาดี อย่างนี้
เรียกว่าเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมาย
ในบางกรณี ศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ในลักษณะเป็นเป้าหมาย เช่น ประสงค์จะให้คนมีศีล สมาธิ
ปัญญาต้องทำกิจกรรมหรือพิธีกรรม บางโรงเรียนใช้วิธีการให้เด็กไหว้พระสวดมนต์นั่งกรรมฐานฝึกสมาธิ
ก่อนเรียน สังคมบางท้องที่มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอยู่เป็นประจำ แล้วให้ถือเป็นโอกาสที่ผู้คน
ในสังคมนั้นจะได้มารวมกันทำสาธารณประโยชน์และพูดคุยกันแต่เรื่องดีงาม หรือถือโอกาสอบรม
สั่งสอนกัน ไม่นานจะกลายเป็นคนมีศีล หรือบริกรรม(ท่องบ่น) หัวใจอิติปิโส (อิ, สวา, สุ) หรือหัวใจ
อริยสัจ ๔ (ทุ, ส, นิ, ม) อยู่เป็นประจำไม่นานก็จะกลายเป็นคนมีสมาธิดี และท้ายที่สุดย่อมมีผลทำให้
เกิดปัญญา
ขั้นที่ ๓ กรอบในการถ่ายทอดความรู้ กรอบในการถ่ายทอดความรู้ควรดำเนินตามธรรมเนียม
พระพุทธศาสนาคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธปริยัติก็คือ เรียนทฤษฎี ปฏิบัติคือฝึกปฏิบัติตามทฤษฎีที่ได้
เรียนมา ปฏิเวธคือการบรรลุผลของการปฏิบัติ ว่าตามหลักพระพุทธศาสนาจริงๆ ปริยัติก็คือพระพุทธพจน์
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สรุปลงมาเป็นแนวปฏิบัติในกรอบ
ไตรสิกขา ปฏิเวธคือผลของการปฏิบัติระดับต้นคือสุข สงบ เยือกเย็น ระดับสูงคือมรรค ผล นิพพาน
การถ่ายทอดเนื้อหาให้ครอบคลุมกระบวนวิชาต้องประยุกต์ตามหลักพระพุทธศาสนานี้
วิชาการอื่นๆ ก็มีกรอบในการถ่ายทอดความรู้ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาศาสตร์
สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นั่นคือต้องมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะให้น้ำหนักใน
ส่วนไหนมากกว่ากันขึ้นอยู่กับลักษณะของวิชา
กรอบในการถ่ายทอดวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมควรได้รับการเน้นในด้านไหน ?
มีคำสพคัญอยู่ ๒ ชุดที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการจัดการเรียนการสอน คือ (๑) รู้ดี ทำได้ ใช้เป็น
และ (๒) สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น
“รู้ดี ทำได้ ใช้เป็น” เป็นเป้าหมายด้านวิชาการ “รู้ดี” คือรู้ปริยัติ รู้ทฤษฎี “ทำได้” คือปฏิบัติได้
ตามที่รู้ รู้อย่างไร ทำได้อย่างนั้น “ใช้เป็น” คือปฏิเวธ เมื่อเรียนจบมาแล้วไม่ได้เอาความรู้มาใส่บ่า
แบกหาม แต่เมื่อถึงสถานการณ์ที่จำเป็น สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2023, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8168


 ข้อมูลส่วนตัว




PhotoRoom-20230330_073521.png
PhotoRoom-20230330_073521.png [ 324.45 KiB | เปิดดู 3302 ครั้ง ]
“สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น” เป็นกรอบในการสร้างจรณะหรือวิชาชีวิต ครูอาจารย์ต้องการ
ให้ศิษย์เป็นมนุษย์สมบูรณ์ เป็นคนดีมีศีลธรรม ต้องสอนเขาให้รู้วิธีการที่จะเป็น ต้องทำให้ดู อยู่ให้เห็น
เป็นตัวอย่างที่ดี (Role Model) สถาบันการศึกษายุคใหม่ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรผลิตบัณฑิตก็ด้วย
วัตถุประสงค์ ๒ อย่าง คือ (๑) สร้างบัณฑิตที่มีลักษณะเฉพาะทาง (๒) สร้างนักปฏิบัติ
มีข้อสังเกตเพื่อให้พิจารณาในประเด็นความเป็นนักทฤษฎีกับความเป็นนักปฏิบัติ ทฤษฎีเกิดจาก
ความคิดของคนแล้วเอาไปบรรจุไว้ในตำรา วิธีปฏิบัติเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับมาจากสถานการณ์
จริงซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายไปตามกาละ เทศะ บุคคล และสภาพแวดล้อม
การเป็นคนดีกับการเป็นคนมีความรู้ทางศาสนามีความสัมพันธ์กันแต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกันเสียทีเดียว
ความเป็นคนดีเกิดจากการปฏิบัติตามหลักศาสนาและกฎเกณฑ์ทางสังคม การมีความรู้เชี่ยวชาญวิชาการ
ด้านศาสนาเป็นหลักประกันว่าจะทำให้เป็นคนดีได้ส่วนหนึ่ง กล่าวคือเป็นพื้นฐานได้ แต่จะเป็นคนดี
ได้จริงก็ต่อเมื่อมีการนำหลักศาสนานั้นไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ดังนั้นจัดให้เรียนวิชาพระพุทธศาสนา
ผลที่ได้คือมีความรู้เข้าใจหลักพระพุทธศาสนา
ความพยายามของหลายคนที่จะให้มีการเรียนการสอนวิชาศาสนาในโรงเรียน ในวิทยาลัย หรือ
ในมหาวิทยาลัย ด้วยหวังว่าจะทำให้ผู้เรียนเป็นคนดีจึงเป็นไปตามที่หวังบ้าง ไม่เป็นไปตามที่หวังบ้าง
เพราะความจริงก็คือว่า มีการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ผลที่ได้ก็คือความรู้ความเข้าใจวิชา
พระพุทธศาสนา แต่ความเป็นคนดีต้องเป็นอีกขั้นหนึ่ง ความเป็นคนดีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้นำเอา
ความรู้วิชานั้นๆ มาปฏิบัติ
บทสรุป
วิชาการทั้งหลายก็เหมือนกัน เรียนจบแล้ว สิ่งที่ได้คือความรู้ แต่ไม่แน่ว่าจะมีความเป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าขบคิด ประเด็นที่นักการศึกษาต้องรู้ในเบื้องต้นคือ หลักวิชาการทั้งหลาย
จะเจริญงอกงามและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตใดๆ ต้องมีการปฏิบัติและเกิดผลของการปฏิบัติ ซึ่งจะก่อ
ผลสืบเนื่องคือ “ปีติ” แปลว่าความอิ่มใจที่จะย้อนกลับไปหล่อเลี้ยงชีวิตให้สดชื่นดื่มด่ำไปกับ
หลักวิชาการนั้น ดังนั้น เรื่องของการศึกษานี้ องค์ประกอบแห่งความงอกงาม คือ (๑) อาจารย์ผู้เป็น
กัลยาณมิตร (๒) ศิษย์ผู้มีศรัทธา (๓) ปริยัติคือศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติคือศึกษาอบรมควบคู่กันไป
02. ( ) 29-40.indd 38 17/5/2562 10:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2024, 15:29 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร