วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 09:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2023, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




61681-1329137346-492ac86ed2a54bff815f9d37e861496c.gif
61681-1329137346-492ac86ed2a54bff815f9d37e861496c.gif [ 321.11 KiB | เปิดดู 1091 ครั้ง ]
อุเบกขา ๑๐ ประเภท

อนึ่ง อุเบกขามี ๑๐ ประเภท คือ
๑. ฉฬังคุเปกขา อุเบกขามืองค์ ๖ ของพระขีณาสพ คือตัตรมัชฌัตตตา
๒. พรหมวิหารุเปกขา อุเบกขาในพรหมวิหาร คือตัตรมัชผัตตตา
๓. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือตัตรมัชฌัตตตา
๔. วิริยุเปกขา อุเบกขาคือความเพียรที่เป็นกลางไม่หย่อนไม่ยิ่ง
๕. สังขารุเปกขา ความวางใจเป็นกลางในสังขาร คือ ปัญญา
๖. เวทนุเปกขา ความวางเฉยไม่ตกไปในฝ้ายสุขหรือทุกข์ คือ อุเบกชา
เวทนา
๗. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา คือปัญญา
๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ความวางใจเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ คือ ตัตร-
มัชฌัตตตา
๙. มานุเปกขา อุเบกขาในฌาน คือตัตรมัชฌัตตตา
๑๐. ปาริสุทธิอุเปกขา อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์ คือตัตรมัชฌัตตตา

ข้อสังเกตองค์ธรรมจะไม่เหมือนกันจะอธิบายในกาลข้างหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2023, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1673068659536.jpg
1673068659536.jpg [ 143.57 KiB | เปิดดู 1052 ครั้ง ]
คำอธิบายฉพังคุเปกขา

ในอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเปกชา คือ อุเบกขาของพระขีณาสพอันเป็นสักษณะ
ไม่สละสภาพเดิม [คือความหมดจดจากกิเลส]ของพระอรหันต์ในขณะที่อารมณ์ ๖ ซึ่งเป็น
อิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์มาปรากฏทางทวาร ๖ ปรากฏอย่างนี้ว่า

อิธ ขีณาสโว ภิกขุ จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เนว สุมโน โหติ, น ทุมฺมโน. อุเปกขโก จ
วิหรติ สโต สมฺปชาโน

"ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ
รู้จริง วางใจเป็นกลางอยู่"

องค์ธรรม คือ ตัตตรมัชฌัตตาเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2023, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




1677720075680.jpg
1677720075680.jpg [ 139.35 KiB | เปิดดู 1048 ครั้ง ]
คำอธิบายพรหมวิหารุเปกขา

พรหมวิหารุเปกขา คือ อุเบกขาที่มีลักษณะวางใจเป็นกลางในเหล่าสัตว์[ว่ามีกรรม
เป็นสมบัติของตน] ปรากฏอย่างนี้ว่า
อุเปกฺขาสหคเตน เจตสา เอกํ ทิสํ ผริตวา วิหรติ *^.
"ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่"

อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา
คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์
ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจ
ฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขา
รับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับ
ผิดชอบของตน

คำอธิบายโพชฌังคุเปกขา

โพชมังคุเปกขา คือ อุเบกขาที่มีลักษณะวางใจเป็นกลางไนสหธาตธรรม (ธรรม
ที่เกิดร่วมกัน) ปรากฏอย่างนี้ว่า
อุเปกุขาสมฺโพชฺฌงค์ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ
"ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก"

คำว่า “โพชฌงค์” เมื่อนำเอาชื่อธรรมแต่ละข้อมาเรียกรวมกัน นิยมใช้เป็น “สัมโพชฌงค์” โดยมีชื่อธรรมข้อนั้นๆ นำหน้า เช่นในที่นี้คือ “อุเบกขา” ชื่อข้อธรรมเต็มๆ ก็จะเป็น “อุเบกขาสัมโพชฌงค์”

“อุเบกขาสัมโพชฌงค์” เป็นโพชฌงค์ข้อที่ 7 ในโพชฌงค์ 7

เมื่ออธิบายความหมายของธรรมหมวดนี้ คำหลักก็คือคำว่า “โพชฌงค์”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

“โพชฌงค์ : ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มี ๗ ข้อ คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปีติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“โพชฌงค์ : (คำนาม) องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2023, 17:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว




1678082211586.jpg
1678082211586.jpg [ 130.92 KiB | เปิดดู 670 ครั้ง ]
onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร