วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 15:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2021, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8578


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตานุปัสสนา

ในขณะที่นักปฏิบัติกำลังกำหนดนามรูปลักษณะสภาวะที่เป็นจริงอยู่ก็จะเห็นว่า นามรูปไม่เป็นไปอย่สงที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างท่องแท้ว่า นามรูปนี้ไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา ที่แท้เป็นเพียงสภาวะธรรม ที่มีความเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา ก็ญาณที่รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้เช่นนี้ ท่านเรียกว่า อนัตตานุปัสสนา

คำว่า อัตตา ในที่นี้ มิได้หมายถึงรูปกาย นามกาย หรือทัพพะ วัตถุสิ่งของแต่อย่างใดแท้จริงแล้วหมายถึง ชีวะ อัตตา หรืออาตมันที่พาลปุถุชนพากันหลงยึดมั่นว่าเป็นสามี นิวาสี การกะ เวทกะ อธิฏฐายกะ และสยํวสี สำหรับขั้นตอนหรือลักษณะความยึดมั่นนั้น พึงดูที่อุทยัพพญาณ ตอนที่ว่าอุปกิเลส ที่ ๑๐ คือ นิกันติ

อาตมัน นั้นไม่ใช่ทั้งขันธ์ ๕ (นามรูป) ทั้งไม่มีอยู่ในขันธ์ ๕ เหล่านั้นด้วย และตามความเป็นจริงแล้วก็ไม่ได้อยู่ในที่อื่นๆเลย เป็นเพียงบัญญัติล้วนๆ ทีพาลปุถุชนพากันยึดมั่นถือมั่นด้วยความหลงผิดเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ นามรูปหรือขันธ์ ๕ จึงได้ชื่อว่าอนัตตา(มาจากรูปวิเคราะห๋ศัพท์ว่าน อตฺตา อนตฺตา, นตฺถิ อตฺตา เอตสฺส ขนฺธปญจกสฺสาติ วา อนตฺตา=ไม่ใช่อัตตา ชื่อว่า อนัตตา หรือว่าขันธ์ ๕ นี้ไม่มี อัตตา เพราะเหตุนั้น ขันธ์ ๕ จึงได้ชื่อว่า อนัตตา) หมายความว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นอาตมัน ผู้เป็นเจ้าชีวิต และเป็นธรรมที่ไม่มีอาตมัน ผู้เป็นเจ้าชีวิต และเป็นธรรมที่ไม่มีอาตมันผู้เป็นเจ้าชีวิตเช่นกัน

หากจะถามว่า เพราะเหตุไรจึงชื่อว่า อนัตตา ?
ตอบว่า ถ้าหากรูปนามนี้พึงเป็นอัตตาแล้วไซร้ อัตตาก็พึงบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนต้องการการได้ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ ด้วยเหตุนี้ขันธ์ ๕ กล่าวคือนามรูปนี้จึงเป็น อนัตตา แน่นอน

สำหรับลักษณะอาการที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของตนนั้น ท่านเรียกวาาอนัตตลักษณะ นักปฏิบัติผู้กำหนดนามรูปตามที่เกิดขึ้นนั้นจะเห็น อย่างประจักษ์แจ้งก็เฉพาะที่ธรรมกำลังเกิด-ดับอยู่ตามสภาพปกติของตนเท่านั้น ไม่มีการเห็นอัตตาหรืออาตมันที่เชื่อกันว่าเป็นเจ้าชีวิตแต่อย่างใด ดังนั้น นักปฏิบัติผู้นั้นจึงเกิดความเข้าใจถูกต้องว่า นามรูปที่กำหนด เห็นนั้นเป็นสภาวธรรมเท่านั้น ไม่มีทางที่ใครๆที่จะบังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ และญาณที่เกิดความรู้ความเข้าใจดังที่กล่าวนี้ ท่านเรียกว่าอนัตตานุปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2021, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8578


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตาติ ปน วจนโต ตเทว ขนฺธปญฺจกํ อนตฺตา, กสฺมา ? อวสวตฺตนโต อวสวตฺตนากาโร อนตฺตลกฺขณํ
(วิสุทฺธิ. ๒/๓๑๓)

เพราะมีพระดำรัสว่า "สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" ดังนั้น ขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ขันธ์นั้นแหละเป็นอนัตตา เพราะเหตุว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ และอาการที่ไม่เป็นไปตามอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ

อนึ่งผู้ที่ไม่กำหนดอารมณ์ตามที่เกิดขึ้นในทวาร ๖(ประสาท ๖) นั้นย่อมไม่สามารถที่จะเห็นธรรมอันเป็นอารมณ์เหล่านั้นแตกต่างกันโดยขณะ สภาพกิจและอารมณ์ได้เลย ธรรมเหล่านั้นจะปรากฏแก่เขาผู้นั้นโดยความเป็นกลุ่มเป็นก้อนอย่างเดียวเท่านั้น เช่นในขณะที่เห็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น แทนที่จะปรากฏเฉพาอาการเห็นอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับปรากฏเหมือนกับว่าทั้งอาการ อยากดู อาการดู อาการเห็นแลัวต่อด้วยอาการนึกคิดก็เกิดขึ้นเป็นกลุ่มเป็นก้อน ปรากฏราวกับว่าเป็นสิ่งเดียวกัน การปรากฏโดยลักษณะเช่นนี้ท่านเรียกว่า
ฆนบัญญัติ ซึ่งเป็นตัวปกปิดหรือบดบัง ไม่ให้อนัตตลักษษะปรากฏ ดังนั้น ผู้ที่ไม่กำหนดอารมณ์ตามที่เกิดขึ้นจึงมองไม่เห็นอนัตตลักษณะ เพราะถูกฆนบัญญัติปกปิดไว้นั่นเอง แลัวเมื่ออนัตตลักษณะไม่ปรากฏแล้ว อนัตตานุปัสสนาญาณตัวจริงจะปรากฏแก่เขาผู้นั้นได้อย่างไร

แต่สำหรับผู้กำหนดธรรมซึ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทางทวาร ๖ หรือประสาท ๖ ได้นั้น ธรรมที่เขากำหนดได้ จะปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะเฉพาะเป็นอย่างๆไป ในลักษณะที่แตกต่างโดยขณะ สภาพ กิจ และอารมณ์ แต่ทั้งนี้ผู้นั้นจะต้องได้ สติ สมาธิ และญาณที่แก่กล้าเสียก่อน เช่นในขณะที่เห็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น เขาผู้นั้นจะแยกอาการที่เห็นนั้นให้เป็นส่วนต่างหากจาดอาการอื่นๆได้อย่างชัดเจน คือจะปรากฏเพียงอาการเห็นอย่างเดียวเท่านั้น นี้ก็แสดงว่า ฆนบัญญัติได้ถูกทำลายลงแล้วด้วยอำนาจของการกำหยดอารมณ์ตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้อนัตตลักษณะปรากฏขึ้นเองโดยธรรมชาติและตามสภาพตามความเป็นจริงได้ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผล ให้นักปฏิบัติผํนั้นบรรลุ อนัตตานุปัสสนาตัวจริง ดังที่ท่านได้อธิบายไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2021, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8578


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
อนตฺลกฺขณํ นานาธาตุวินิพฺโภคสฺส อมนสิการา ฆเนน ปฏิจฺฉนฺนตฺตา น อุปฏฺฐาติ. นานธาตะโย วินิพฺชิตฺวา ฆนวินิพฺโภเค กเต อนตฺตลกฺขณํ ยาถาวสรสโต อุปฏฺฐาติ.
(วิสัทฺธิ.๒/๓๑๒-๓)

เพราะเหตุที่ไม่ได้กำหนดรู้ถึงความแตกต่างในการ แยกแยะเป็นส่วนแต่ละอย่างของธาตุต่างๆ จึงถูก ฆนบัญญัติปกปิดมิให้อนัตตลักษณะปรากฏแต่เมื่อได้แยกแยะธาตุต่างๆจนทำให้ฆนบัญญัติสลายตัวได้แล้ว อนัตตลักษณะย่อมปรากฏตามสภาะความเป็นจริงของตน

ฆนบัญญัติที่เป็นตัวปกปิดอนัตตลักษณันั้น มี ๔ ประการด้วยกันคือ
๑) สันตติฆนะ
๒) สมูหฆนะ
๓) กิจจฆนะ
๔) อารัมมณฆนะ
ซึ่งจะได้อธิบายตามลำดับในหัวข้อกระทู้จะไปตั้งขึ้นใหม่ ข้อแรกคือสันนตติฆนันั้น ได้เคยกล่าวไว้แล้วในเรื่องของอนิจจานุปัสสนา ผู้ปรารถนาจะรู้พึงไปตามดูกระทู้อนิจจานุปัสสนาได้ ทุกอย่างเหมือนกันหมด จะขออธิบายเฉพาะบางส่วนที่เห็นว่าแตกต่างกันโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอาการปกปิดและอาการปรากฏของอนัตตลักษณะเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร