วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 03:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2021, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ในขณะที่กำลังกำหนดรูปนามตามความเป็นจริงอยู่นั้น ญาณอันใดที่เห็นความเกิดดับแล้วกำหนดว่าไม่เที่ยง ญาณนั้นชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา ในกรณีนี้พึงแบ่ง ๓ ประเด็น คือ
๑) อนิจจธรรม ธรรมที่ไม่เที่ยง
๒) อนิจจลักษณะ ลักษณะความไม่เที่ยง
๓) อนิจจานุปัสสนา ญาณที่กำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง

ในประเด็นทั้ง ๓ นั้น ประเด็นแรก นามรูปหรือขันธ์ ๕ มีความเกิดดับปรากฏในทวาร ๖ เป็นสภาวธรรมที่ไม่เที่ยงแท้ คือมีความเกิดขึ้น แปรเปลี่ยนดับไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น นามรูปเหล่านั้นจึงได้ชิ่อว่า อนิจจธรรม อีกนัยหนึ่ง ที่ลื่อว่า อนิจจธรรม เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป

ส่วนอาการที่เกิดขึ้นแล้วแปรเปลี่ยน-แตกสลาย(ดับ) มีชื่อว่า อนิจจลักษณะ อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่า อนิจจลักษณะ เพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับทันที

สำหรับ อนิจจานุปัสสนา นั้นเป็นชื่อของญาณที่ได้เห็นอนิจจลักษณะแล้วกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
โค้ด:
อนิจฺจนฺติ ขนฺธปญฺจกํ, กสฺมา ? อุปฺปาทาวยญฺญถตฺภาวา, หุตฺวา อภาวโตวา.
อุปฺทวยญฺญถตฺตํ อนิจฺจลกฺขณํ หุตฺวาอภาวสงฺขาโต วา อาการวิกาโร.
(วิสุทฺธิ.๒/๓๑๓)
โค้ด:
อนิจฺจตาติ เตสํเยว อุปฺปาทาวยญฺญถตฺตํ, หุตฺวา อภาโว.
นิพฺพตฺตานํ เอเตเนวากาเรน อฏฺฐตฺวา ขณภงฺเคน เภโทติ อตฺโถ.
อนิจฺจานุปสฺสนาติ ตสฺสา อนิจฺจาตาย วเสน รูปาทีสุ อนิจฺจนฺติ อนุปสฺสนา.
(วิสุทฺธิ.๑/๓๑๖)
ข้อที่ว่า"อนิจจธรรม" นั้นหมายถึงกองขันธ์ ๕ เพราะเหตุไรขันธ์ ๕ จึงได้ชื่อว่าอนิจจธรรม ? เพราะเป็นสิ่งที่มีความเกิดขึ้น ดับไป และแปรเปลี่ยน(แปรเปลี่ยนหมายถึงความชรา เป็นคำอธิบายของคัมภีร์มหาฎีกา)อีกนัยหนึ่งเพราะมีความเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันที ความเกิด ความดับ และความแปรเปลี่ยน ชื่อว่า อยิจจลักษณะ อีกนัยหนึ่ง อาการที่แปรเปลี่ยน ซึ่งหมายถึงความเกิดแล้วก็ดับ ซื่อว่าอนิจจลักษณะ

ข้อที่ว่า "อนิจจลักษณะ"ความไม่แน่นอน นั้นก็คือความเกิดความดับ ความแปรเปลี่ยนไปของกองขันธ์ ๕ เหล่านั้นนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง ความเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทันที หมายความว่าขันธ์ ๕ นั้นไม่มีความดำรงค์อยู่โดยลักษณะที่เกิดขึ้นนั้น แต่ได้แตกดับไปโดยภังคขณะ(นี้เป็นการขยายความของบทว่า หุตฺวาอภาว)

ข้อที่ว่า"อนิจจานุปัสสนา"นั้นหมายถึงการกำหนดรู้อารมณ์มีรูปเป็นต้นว่าสิ่งนั้นไม่เที่ยงตามอำนาจแห่งอนิจจลักษณะ

บาลีที่ยกมานี้ เป็นการแสดงอนิจจลักษณะ ๒ ประการ โดยมีลักษณะที่ ๒ คือ หุตฺวา อภาว เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นลักษณะค่อนข้างชัด และเด่นกว่าลักษณะที่หนึ่ง เพราะเป็นลักษณะที่ปรากฏในญาณเบื้องสูงเช่นภังคญาณเป็นต้น ถ้านักปฏิบัติสามารถกำหนดรู้ลักษณะความแตกดับที่ว่านี้ได้ดีแล้ว อนิจจานุปัสสนาญาณก็ยิ่งยะแก่กล้าเป็นทวีคูณ ดังนั้น ในคัมภีร์ชั้นฎีกาทั้งหลายต่างก็ให้คำอธิบายไว้ว่า
โค้ด:
หุตฺวา อภาวฏฺเฐนาติ อิทํ อิตเรสํ จตุนฺนํ อาการานํ สงฺคหกตฺนา วิสุํ วุตฺตํ.
(มูลฎี.๒/๔๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2021, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถาจารย์ ท่านแยกคำว่า "หุตฺวา อภาวฏฺเฐน" นี้มากล่าวต่างหากเพราะเป็นบทที่สามารถจะสงเคราะห์เอาอาการทั้ง ๔ ที่เหลือได้

อธิบายว่า ในคัมภีร์อรรถกถาอันมีชื่อว่า สัมโมหทวิโนทนี ได้แสดงเหตุที่ได้ชื่อว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงไว้ว่า ที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไปถัดจากนั้นก็ได้แสดงเหตุอย่างอื่นไว้ต่างหากอีกจำนวน ๔ อย่างซึ่งที่จริงน่าจะแสดงเหตุเหล่านั้นมารวมกัน แต่ท่านก็ไม่ได้แสดงเช่นนั้น สาเหตุก็เนื่องจากว่าท่านมีความประสงค์ว่า เมื่อนักปฏิบัติสามารถรู้แจ้วอาการ "หุตฺวา อภาว" เกิดแล้วดับ ได้แล้วก็ชื่อว่าได้รู้แจ้วอาการอีก ๔ อย่างที่เหลือได้โดยปริยาย เพราะฉะนั้น อนิจจลักษณะ คือหุตฺสา อภาว เกิดแล้วดับนี้สามารถสงเคราะห์โดยรวมอนิจจลักษณะอาการอีก ๔ อย่างเข้ามาได้ด้วย ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงไม่กล่าวรวมกันไว้ อนิจจลักษณะอาการ ๔ อย่างที่ว่านั้นได้แก่อุปฺปาทวยนฺตตา=ลักษณะความเกิด-ดับ วิปริณาม=ลักษณะความแปรเปลี่ยนจากสภาพเดิม ตาวกาลิก=ลักษณะเป็นสิ่งชั่วขณะไม่ยั่งยืน นิจฺจปฏิกฺเขป=ลักษณะปฏิเสธความเที่ยงแท้

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านได้อธิบายเกี่ยวกับอนิจจลักษณะไว้ดังนี้ว่า
โค้ด:
กิญฺจาปิ อุปฺปาทาทิติวิธมฺปิ สงฺขตลกฺขณตาย อนิจฺจลกฺขณํมตถาปิ ชาติชราทีสุ ทิฏฺฐาสุ น ตถา อนิจฺจลกฺขณํ ปากฏํ หุตฺวา อุปฏฺฐาติ ยถา วยกฺขเณติ อาห "ภงฺโค นาม อนิจฺจตาย ปรมา โกฏึ"ติ.
(วิสุทฺธิ. ฎี. ๒/๔๘๖)
แม้ว่าอุปาทะ ฐีติ และภังคะ ทั้ง ๓ จะได้ชื่อว่าเป็นนิจจลักษณะ จามหลักแห่งสังขตธรรมก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้น อนิจจลักษณะก็ไม่ปรากฏ ในขณะที่กำลังเกิดกำลังแก่เป็นต้น ซึ่งเห็นๆกันอยู่เหมือนอย่างที่ปรากฏในขณะที่กำบังเสื่อม(ดับ)ได้ ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า ซื่อว่าความดับนี้เป็นจุดเด่นสุดแห่ง อนิจจลักษณะ ดังนี้

อธิบายว่า สิ่งที่เหตุปัจจัยสร้างขึ้นมานั้น เรียกว่า สังขตธรรมหรือสังขาร ชื่อว่าสังขตธรรมแล้วล้วนมีลักษณะ ๓ คือ อุปาทะ ฐีติ และภังคะ หรือเรียกว่า ชาติ ชรา มรณะ ไม่มีสังขารไหนที่ปราศจากขณะทั้ง ๓ นี้ไปได้ ด้วยเหตุนี้ จึงถือได้ว่าขณะทั้ง ๓ นี้เป็นเสมือนสัญญลีกษณ์ของสังขตธรรมโดยมีชื่อเรียกว่าสังขตลักษณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2021, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง แม้อนิจจลักษณะ กล่าวคือความไม่เที่ยงนั้น ก็จัดเป็นสังขตธรรม ดังนั้น สังขตลักษณะทั้ง ๓ ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของงความไม่เที่ยง จึงมีชื่อเรียก อนิจจลักษณะ ด้วย

ตามความเป็นจริงแล้ว เพียงแต่การได้รู้สังขตลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยมีภังคขณะอยู่ด้วยนั้น ลักษณะความไม่เที่ยงจะยังมีปรากฏชัดให้เห็นได้ ต่อเมื่อได้รู้ภังคขณะแล้วจึงจะรู้ได้ว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เนื่องจาดมีบักษณะอุปาทะและฐีติเกิดขึ้นแก่ธรรมใเ เราก็สามารุสันนิษฐานได้ว่า ธรรมนั้นจะต้องมีภังคะขณะเกิดขึ้นด้วยอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่รู้ภังคะอัรเป็นธรรมสุดยอดแห่งความเป็นอนิจจลักษณะก็ตามก็ถือได้ เราสามารถรู้แจ้งธรรมนั้นเป็นธรรมที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน

สรุปว่าในกลุ่มขณะทั้ง ๓ อุปาทะ ฐีติ และภังคะ ซึ่งล้วนเป็นสัญญลักณ์ของอนิจจัง ส่วนอุปาทะและฐีติเป็นสัญญาลักษณ์ที่ไม่ค่อยชัดเจน และภังคะเป็นสัญญลักษณ์ที่ชัดเจนมาก การที่นักปฏิบัติจะสามารถรู้ถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขารให้ได้ชัดเจนนั้น จะต้องผ่านภังคขณะไปก่อน ด้วยเหตุนี้เอง พระอรรถกถาจารย์ท่านจึงได้กล่าวไว้ดังที่ยกมาข้างต้นว่า ภังคะเป็นระดับสุดยอดแห่งอนิจจลักษณะ

ตามที่ได้อธิบายมานี้ ถึงแม้ความแตกต่างระหว่าง อนิจธรรมและอนิจลักษณะจะมีความปรากฏชัดก็จริง แต่นักปฏิบัติมัวแจ่กำหนดอนิจจลักษณะแบบลอยๆโดยมิได้กำหนดรู้สภาวลักษณะคือลักษณะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของรูปนามแล้วถือว่าอนิจจานุปัสสนาญาณตัวจริงยังไม่เกิด ต่อเมื่อได้กำหนดรู้ลักษณะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของร฿ปนามแล้วสามารุมองเห็นอนอจจลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งในนามรูปนั้นแล้ว จึงจะถือว่า อนิจจานุปัสสนาตัวจริงได้เกิดขึ้นแล้วแก่นักปฏิบัติผู้นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร