วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 02:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าทางจริยธรรม

๑. อายตนะ เป็นจุดเริ่มต้น และเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของทางแยกระหว่างกุศลกับอกุศล ทางสายหนึ่ง
นําไปสู่ความประมาทมัวเมา ความชั่ว และการหมกติดอยู่ในโลก อีกสายหนึ่งนําไปสู่ความรู้เท่าทัน
การประกอบกรรมดีและความหลุดพ้นเป็นอิสระ

ความสําคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หากไม่มีการฝึกฝนอบรมให้เข้าใจและปฏิบัติในเรื่องอายตนะอย่างถูก
ต้อง แล้ว ตามปกติมนุษย์ทั่วไปจะถูกชักจูงล่อให้ดําเนินชีวิตในทางที่มุ่งเพื่อเสพเสวยโลก เที่ยวทํา
การต่างๆ เพียงเพื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ชอบใจ และความสนุกสนานบันเทิง
ต่างๆ มาปรนเปรอตา หู จมูก ลิ้นผิวกาย และใจอยากของตน พอกพูนความโลภ โกรธ หลง แล้ว
ก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น

พอจะเห็นได้ไม่ยากว่า การเบียดเบียนกัน การขัดแย้งแย่งชิง การกดขี่บีบคั้น เอารัดเอาเปรียบกัน
ตลอดจนปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดเพิ่มขึ้น และที่แก่ไขกันไม่สําเร็จ โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็สืบเนื่อง
มาจากการดําเนิน ชีวิตแบบปล่อยตัว ให้ถูกล้อถูกชักจูงไปในทางที่จะปรนเปรออายตนะอยู่เสมอ
จนเคยชินและรุนแรงยิ่งขึ้นๆ นั่นเอง

คนจํานวนมาก บางทีไม่เคยได้รับการเตือนสติให้สํานึกหรือยั้งคิด ที่จะพิจารณาถึงความหมายแห่ง
การ กระทําของตน และอายตนะที่ตนปรนเปรอบ้างเลย และไม่เคยปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือ
สังวรระวัง เกี่ยวกับอายตนะหรืออินทรีย์ของตน จึงมีแต่ความลุ่มหลงมัวเมายิ่งๆ ขึ้น

การแก้ไขทางจริยธรรมในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งอยู่ที่การสร้างความเข้าใจให้รู้เท่าทันความหมายของ
อายตนะและสิ่งที่เกี่ยวข้องวาาควรจะมีบทบาทและความสําคัญในชีวิตของตนแค่ไหน เพียงไร และ
อีกส่วนหนึ่ง ให้มีการ ฝึกฝนอบรมด้วยวิธีประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุม การสำรวมระวังใช้งาน
และรับใช้อายตนะเหล่านั้นในทางที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ชีวิตของตนเองและแก่
สังคม

๒. อายตนะเป็นแหล่งที่มาของความสุขความทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งการดําเนินชีวิตทั่วไปและ
ความ เพียรพยายามเฉพาะกิจแทบทุกอย่างของปุถุชน ด้านสุขก็เป็นการแสวงหา ด้านทุกข์ก็เป็นการ
หลีกหนี

นอกจากสุขทุกข์จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความประพฤติดีประพฤติชั่วที่กล่าวในข้อ ๑ แล้ว
ตัวความสุข ทุกข์นั้น ก็เป็นปัญหาอยู่ในตัวของมันเอง ในแง่ของคุณค่า ความมีแก่นสาร และความ
หมายที่จะเข้าพึ่งพาอาศัย มอบกายถวายชีวิตให้อย่างแท้จริงหรือไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


คนไม่น้อย หลังจากระดมเรี่ยวแรงและเวลาแห่งชีวิตของตนวิ่งตามหาความสุขจากการเสวย
โลกจนเหนื่อยอ่อนแล้ว ก็ผิดหวัง เพราะไม่ได้สมปรารถนาบ้าง เมื่อหารสอร่อยหวานชื่น ก็
ต้องเจอรสขื่นขมด้วย บางทียิ่งได้สุขมาก ความเจ็บปวดเศร้าแสบกลับยิ่งทวีล้ําหน้า เสียค่า
ตอบแทนในการได้ความสุขไปแพงกว่าได้มา ไม่คุ้มกันบ้าง ได้สมปรารถนาแล้ว แตรไม่ชื่น
เท่าที่หวัง หรือถึงจุดที่ตั้งเป้าหมายแล้ว ความสุขกลับวิ่งหนีออกหน้าไปอีก ตามไม่ทันอยู่ร่ํา
ไปบ้าง บางพวกก็จบชีวิตลงทั้งที่กําลังวิ่งหอบ ยังตามความสุขแท้ไม่พบหรือยังไม่พอ

ส่วนพวกที่ผิดหวังแล้ว ก็เลยหมดอาลัยปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อยไปตามเรื่อง อยู่อย่างทอดถอน
ความหลังบ้าง หันไปดําเนินชีวิตในทางเอียงสุดอีกด้านหนึ่ง โดยหลบหนีตีจากชีวิตไปอยู่
อย่างทรมานตนเองบ้าง

การศึกษาเรื่องอายตนะนี้มุ่งเพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันสภาพความจริง และประพฤติปฏิบัติ
ด้วยการวางท่าทีที่ถูกต้อง ไม่ให้เกิดเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นมากนัก อย่างน้อยก็ให้
มีหลัก พอรู้ทางออกที่จะแก้ไขตัว นอกจากจะระมัดระวังในการใช้วิธีการที่จะแสวงหาความ
สุขเหล่านี้แล้ว ยังเข้าใจขอบเขตและขั้นระดับต่างๆ ของมัน แล้วรู้จักหาความสุขในระดับที่
ปราณีตยิ่งขึ้นไปด้วย ความประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับสุขทุกข์นี้ ย่อมเป็นเรื่องของจริยธรรมไป
ด้วยในตัว

๓. อายตนะในแง่ที่เป็นเรื่องของกระบวนการรับรู้และการแสวงปัญญา ก็เกี่ยวข้องกับจริย
ธรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น เพราะถ้าปฏิบัติในตอนเริ่มแรกไม่ถูกต้อง การรับรู้ก็จะไม่บริสุทธิ์แต่
จะกลายเป็นกระบวนการรับรู้ที่รับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือเป็นส่วนประกอบของ
กระบวนธรรมแบบสังสารวัฏไปเสีย ทําให้ได้ความรู้ที่บิดเบือน เอนเอียง เคลือบแฝง มีอคติไม่
ถูกต้องตรงตามความจริง หรือตรงกับสภาวะตามที่มันเป็น การปฏิบัติในทางจริยธรรมที่จะ
ช่วยเกื้อกูลในเรื่องนี้ ก็คือวิธีการที่จะรักษาจิตให้ดํารงอยู้ในอุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง
มีจิตราบเรียบเที่ยงตรงไม่เอนเอียง ไม่ให้ถูกอํานาจกิเลส มีความชอบใจไม่ชอบใจเป็นต้น
เข้าครอบงํา

๔. การปฏิบัติทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับอายตนะโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง มีหลายอย่าง
บางอย่างก็ มีไว้เพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆ กัน ทั้งนี้สุดแต่ว่าปัญหามักจะเกิดขึ้นที่จุดใด ทุกข์
และบาปอกุศลมักได้ช่องเข้ามาที่ช่วงตอนใด

อย่างไรก็ตาม ท่านมักสอนย้ําให้ใช้วิธีระวังหรือป้องกันตั้งแต่ช่วงแรกที่สุด คือ ตอนที่อายตนะ
รับอารมณ์ทีเดียว เพราะจะทําให้ปัญหาไม่เกิดขึ้นเลย จึงเป็นการปลอดภัยที่สุด

ในทางตรงข้าม ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแล้ว คือ บาปอกุศลได้ช่องเข้ามาแล้ว มักจะแก้ไขยาก เช่น
เมื่อปล่อยให้อารมณ์ที่ล่อเร้าเย้ายวนครอบงําใจ จิตถูกปรุงแต่งจนราคะหรือโลภะ โทสะ
โมหะ เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่รู้ผิดชอบชั่วดี มีความสํานึกในสิ่งชอบธรรมอยู่ แต่ก็ทนต่อความเย้า
ยวนไม่ได้ลุอํานาจกิเลส ทําบาปอกุศลลงไป ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงย้ำวิธีระมัดระวังป้องกันให้
ปลอดภัยไว้ก่อนตั้งแต่ต้น

องค์ธรรมสําคัญที่ใช้ระมัดระวังตั้งแต่ต้น ก็คือ สติ ซึ่งเป็นตัวควบคุมจิตไว้ให้อยู่กับหลัก หรือ
พูดอีกนัยหนึ่ง เหมือนเชือกสําหรับดึงจิต สติที่ใช้ในขั้นระมัดระวังป้องกันเกี่ยวกับการ
รับอารมณ์ของอายตนะแต่เบื้องต้นนี้ใช้หลักที่เรียกว่า อินทรียสังวร ซึ่งแปลว่า การสํา
รวมอินทรีย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การคุ้มครอง หมายถึง การมีสติพร้อมอยู่ เมื่อรับอารมณ์มี
รูป เป็นต้น ด้วยอินทรีย์มีตาเป็นอาทิก็ไม่ปล่อยใจถือไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2021, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามนิมิตหมายต่างๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความติดพันขุ่นเคืองชอบใจไม่ชอบใจ แล้วถูกอกุศล
ธรรมเข้าครอบงําจิตใจ การปฏิบัติตามหลักนี้ช่วยได้ทั้งด้านป้องกันความชั่วเสียหาย ป้องกัน
ความทุกข์และป้องกันการสร้างความรูความคิดที่บิดเบือนเอนเอียง

อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติให้ได้ผล มิใช่ว่าจะนําหลักมาใช้เมื่อไรก็ได้ตามปรารถนา เพราะ
สติจะตั้ง มั่นเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จําต้องมีการฝึกฝนอบรม อินทรีย์สังวรจึงตีองมีการซ้อม
หรือใช้อยู่เสมอ การฝึอบรม อินทรีย์มีชื่อเรียกว่า อินทรีย์ภาวนา (แปลตามแบบวาการเจริญ
อินทรีย์)

ผู้ที่ฝึกอบรมหรือเจริญอินทรีย์แล้ว ย่อมปลอดภัยจากบาปอกุศลธรรม ความทุกข์ และความรู้ที่
เอนเอียงบิดเบือนทั้งหลาย เพราะป้องกันไว้ได้ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้น หรือแม้หากความชอบ
ใจไม่ชอบใจจะหลุดรอดเกิดขึ้นมา ก็สามารถระงับ หรือสลัดทิ้งไปได้เร็วพลัน

อินทรีย์สังวรนี้จัดว่าเป็นหลักธรรมในขั้นศีล แต่องค์ธรรมสําคัญที่เปนแกนคือสตินั้นอยู่ในจําพวก
สมาธิ ทําให้มีการใช้กําลังจิตและการควบคุมจิตอยู่เสมอ จึงเป็นการฝึกอบรมสมาธิไปด้วยในตัว

หลักธรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านแนะนําให้เป็นข้อปฏิบัติในเรื่องนี้เป็นหลักในระดับปัญญา เรียกว่า
โยนิโสมนสิการ หลักนี้ใช้ในช่วงตอนที่รับอารมณ์เข้ามาแล้ว โดยให้พิจารณาอารมณ์นั้นเพื่อ
เกิดความรู้เท่าทัน เช่น พิจารณาคุณ โทษ ข้อดีข้อเสียของอารมณ์นั้น พร้อมทั้งภาวะอันเป็น
อิสระปลอดภัยอยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอารมณ์นั้น ในแง่ที่จะต้องให้คุณและโทษของ
มันเป็นตัวกําหนดความสุข ความทุกข์และชะตาชีวิต

ข้อปฏิบัติที่กล่าวถึงเหล่านี้มีแนวปรากฏอยู่ในพุทธพจน์ข้างต้นบ้างแล้ว และบางหลักก็จะอธิบาย
ต่อไปข้างหน้าอีก จึงพูดไว้โดยย่อเพียงเท่านี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร