วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เทียบกามสุขต่ำไว้ เพื่อให้เร่งพัฒนาความสุข จะได้มีสุขที่เลือกได้และก้าวขึ้นไปให้ถึงสุขที่สูงสุด
เมื่อมีความสุขที่ประณีตกว่าเข้ามาเทียบ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่กามสุขจะตกต่ำ มีค่าน้อย ดังคำที่
ท่านใช้เรียกกามสุขโดยเปรียบเทียบกับฌานสุขว่า กามสุข เป็นปุถุชนสุข (สุขของปุถุชน) เป็นมิฬ
หสุข (สุขเลอะเทอะ หรือสุขหมักหมม) เป็นอนริยสุข (สุขของผู้ยังไม่เป็นอริยะ) พร้อมทั้งบรรยาย
โทษว่า เป็นสิ่งที่มีทุกข์ มีความอึดอัด ข้องขัด คับแค้น และเร่าร้อน เป็น มิจฉาปฏิปทาคือทาง
ดำเนินที่ผิด

ทั้งนี้ ตรงข้ามกับ ฌานสุข หรือสุขด้านใน (อัชฌัตตสุข) ซึ่งเป็นเนกขัมมสุข (สุขปลอดจากกาม) เป็น
ปวิเวกสุข (สุขอิงความสงัด) เป็นอุปสมสุข (สุขที่ช่วยให้เกิดความสงบ หรือช่วยให้บรรลุนิพพาน)
เป็นสัมโพธิสุข (สุขที่ช่วยให้ตรัสรู้) และมีลักษณะที่เป็นคุณ คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีความอึดอัดขัด
ข้องคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน และเป็นสัมมาปฏิปทา คือทางดำเนินหรือข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งจะ
นำไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้น หรือนิพพาน

อย่างไรก็ตาม การที่ท่านมักพูดกด และแสดงโทษของกามสุข อย่างมากมาย และบ่อยครั้งนี้ ไม่พึง
มองเป็นว่าท่านตั้งหน้าตั้งตาจะประณาม หรือมุ่งเหยียดหยามกามสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในแง่หนึ่ง อาจจะมองว่า ท่านพยายามชี้ให้เห็นความจริงตามสภาวะที่มันเป็นอยู่นั่นเอง แต่ใจ
ปุถุชนมีกิเลสลุ่มหลงมันอยู่ จึงเห็นเป็นว่าท่านว่ารุนแรง

อีกแง่หนึ่ง มองได้ว่า ในการเปรียบเทียบกันนั้น เมื่อกามสุขที่คนนิยมกันอยู่ ท่านยังว่าต่ำด้อย
ค่าถึงเพียงนี้ ก็ย่อมเป็นการเชิดชูสุขอย่างประณีตที่ท่านนำมาวางเทียบ ให้เห็นสูงเด่นชัดเจน
ยิ่งขึ้น

แต่แง่แท้ที่ควรมอง ก็คือ เพราะเหตุที่กามสุขเป็นบ่วงรัด หรือเป็นกับดักที่เหนียวแน่น คนทั้งหลาย
ลุ่มหลงกันนัก ยากที่จะปลีกตัวออกได้ ท่านจึงระดมตีกามสุขให้หนัก พร้อมกับยกย่องแสดงคุณ
ของสุขที่ประณีตขึ้นไป เพื่อเป็นการเร่งเร้าชักชวนให้คนพากันขมีขมันปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงความ
สุขที่ประณีตนั้น โดยไม่นิ่งนอนใจ

อนึ่ง ในทางปฏิบัติ ก็มิใช่ว่า ท่านที่บรรลุสุขประณีตแล้ว จะละทิ้งเลิกราจากกามสุขทันทีเสมอ
ไป หลายท่านก็ยังดำเนินชีวิตโดยเสพเสวยสุขควบกันไปทั้งสองอย่าง หรือทั้งสองระดับ

ในกรณีนี้ ก็เท่ากับว่า ท่านที่บรรลุความสุขประณีตอย่างสูงแล้ว มีทางเลือกในการเสวยสุขมาก
ขึ้น เป็นผู้ได้กำไร หรือได้เปรียบในเรื่องความสุข เหนือกว่าคนทั่วไป

รวมความแล้ว จุดมุ่งของท่านอยู่ที่ต้องการให้ไม่ประมาท และให้ตระหนักว่า ถึงอย่างไรๆ ไม่ว่า
จะละเลิกกามสุขหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่จะทำก็คือ จะต้องพยายามทำความสุขที่ประณีต
ให้เกิดขึ้นแก่ตนให้ได้ หรือจะต้องหาทางรู้จักมัน ได้ประสบมันประจักษ์กับตัวบ้างให้ได้ และ
พัฒนาสุขที่สูงขึ้นไป จนถึงความสุขที่สูงสุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร