วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวมทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลัก
การที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาตอนใดตอน
หนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป

ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้ทราบว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้ง
หมดเพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ ร่างกายและพฤติกรรมของมัน ๑ เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ ๑
ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ ๑ ความคิดนึกไตร่ตรอง ๑ ถ้าดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่นี้แล้ว
ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้ง
อริยสัจธรรม

จากข้อความในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า ในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียง
อย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือสมาธิ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อย
ในขั้นอ่อนๆ พอใช้สำหรับการนี้ ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วยเป็นประจำ ได้แก่

๑. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ ๖ คือ สัมมาวายามะซึ่งหมายถึงเพียรระวังและ
เพียรละความชั่ว กับเพียรสร้างและเพียรรักษาเสริมทวีความดี)

๒. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ปัญญา)

๓. สติมา = มีสติ (หมายถึง สตินี้เอง)

ข้อพึงสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ เป็นธรรม
ที่มักปรากฏคู่กับสติ สำหรับที่นี่คือบอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา
ปัญญานั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2021, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ความเข้าใจตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการ
กระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พึงปฏิบัติต่อมันอย่างไร
และไม่เกิดความหลงหรือความเข้าใจผิดใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ

ข้อความต่อไปที่ว่า “ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก” แสดงถึงท่าทีที่เป็นผลจากการมีสติสัม
ปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจ
ในกรณีนั้นๆ

ข้อความต่อท้ายเหมือนๆ กันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป แสดงถึง
การเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์ จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือการมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่า
นั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นที่ว่า “มีกายอยู่” เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็น
อย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติและยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็น
ตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าทีของความเป็นอิสระ ไม่อิง
อาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอก และไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

เพื่อให้มองเห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกคำบาลีที่สำคัญมาแปล และแสดงความหมายไว้โดย
ย่อดังนี้

กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า “พิจารณาเห็นกายในกาย” นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆ กัน ซึ่งต้องระ
วังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหา
ถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก

ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็นโดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะหรือตลอดเวลา เห็นกายใน
กาย คือ มองเห็นในกายว่าเป็นกาย หมายความว่า มองเห็นกายตามสภาวะซึ่งเป็นที่ประชุมหรือประ
กอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่
ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนางนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผมในขนใน
หน้าตา เห็นเป็นชายนั้นหญิงนี้ เป็นต้น

เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือดูกาย ก็เห็นกาย
ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชังบ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบอยาก
ชมบ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู, เมื่อไม่
เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”

อาตาปี สมฺปชาโน สติมา แปลว่า “มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ” ได้แก่ มี สัมมาวายามะ สัมมา
ทิฏฐิ และ สัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ ๓ ข้อ ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์
มรรคทั้งหลายทุกข้อ

ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอ ล้า หรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศล
ธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรงเร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร