วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 17:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2020, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




20191130_084712.jpg
20191130_084712.jpg [ 165.74 KiB | เปิดดู 1912 ครั้ง ]
ปญจินนฺทฺริยานิ :- จัดอินทรีย์ ๕ หมายเอา สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สมาธินทรีย์, สตินทรีย์, ปัญญินทรีย์,
อินทรีย์ในมิสสกสังคหมี ๒๒ กล่าวถึงความเป็นใหญ่ ความเป็นผู้ปกครอง
สภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน ไม่ว่าสภาวธรรมนั้นจะเป็น
กุศล อกุศล หรืออพยากตะ นั้นตามสมควร
ส่วนอินทรีย์ ๕ นี้ จะเป็นส่วนในโพธิปักขิยธรรม ที่เป็นธรรมที่เป็นปัจจัยในการหลุดพ้น

พระอเสกขบุคคล หลุดพ้นจากเบื้องบนเบื้องล่างทั้งหมด ไม่ยึดมั่นว่านี่คือตัวเรา
ผู้ที่หลุดพ้นอย่างนี้แล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ยังไม่เคยข้ามได้ และเข้าถึงพระนิพพาน
อันปราศจากการสร้างภพสร้างชาติ

ปุคฺคโล - บุคคล วิปฺปมุตฺโต - ผู้หลุดพ้นแล้ว อุทฺธํ - จากธาตุเบื้องบน
สพฺพธิ - ธาตุทั้งปวง อนานุปสฺสิ - ผู้ไม่พิจารณาเห็น อยํ อหํ อสฺสมิ อิติ
- ว่า อัตตภาพนี้เป็นเรา [หรือ] อหํ เรา อยํ เป็น อัตตภาพนี้ อสฺมิ ย่อมเป็น

ผู้ไม่เห็นว่านี้คือตัวเรา โส บุคคลนั้น เอวํ วิมุตฺโต ผู้หลุดพ้นอย่างนี้แล้ว โอฆํ ซึ่งห้วงน้ำ
อติณฺณปุพฺพํ ที่ยังไม่เคยข้าม อปุนพฺภวาย เพื่อยิพพานอันไม่สามารถก่อให้เกิดภพขึ้นได้อีก,
ข้ามห้วงน้ำเพื่อไปสู่พระนิพพานอันไม่สามารถก่อให้ก่อภพอีก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2020, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


"อุทฺธนฺ" ติ รูปธาตุ จ อรูปธาตุ จ.
คำว่า "อุทํธํ" (ธาตุเบื้องบน) หมายถึง รูปธาตุ และอรูปธาตุ หรือ
รูปภพ และอรูปภพ ก็การใช้คำว่า ธาตุ เพื่อให้ตรอบคลุม ธาตุก็คือสภาวะ (ไม่ใช่ตัวตน)
ดังนั้น คำว่า ผู้หลุดพ้นจากเบื้องบน ก็คือผู้ที่หลุดจากรูป อรูป

"อโธ" ติ กามธาตุ คำว่า อโธ (ธาตุเบื้องล่าง) ได้แก่ กามธาตุ หมายความว่า
บุคคลนั้นเป็นผู้หลุดพ้นทั้งรูปอรูปและกาม นั่นก็คือ บุคคลนั้นจะไม่ไปเกิด
ในรูปธาตุ อรูปธาตุ และกามธาตุ

"สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต" ติ เตธาตุเก อยํ อเสกฺขาวิมุตฺติ.
บทว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตโต (พ้นจากธาตุทั้งปวง) เตธาตุเก = ธาตุทั้ง ๓ (รูปธาตุ, อรูปธาตุ, กามธาตุ)

ก็การหลุดพ้นจากธาตุทั้ง ๓ นี้ ท่านเรียกว่า อเสกฺขาวิมุตฺติ
เป็นการหลุดพ้นของพระอเสกขะ ตานิเยว อเสกฺขานิ การหลุดพ้น
แบบอเสกขะทั้งหลายเหล่านั้นนั่นและ ปญฺจินฺทฺริยานิ จัดเป็นอินทรีย์ ๕
ปญจินนฺทฺริยานิ :- จัดอินทรีย์ ๕ หมายเอา สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สมาธินทรีย์, สตินทรีย์, ปัญญินทรีย์,
อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่มีอุปการะที่จะให้หลุดพ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2020, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ในที่นี้ อุทฺธํ สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต
จึงไม่เกี่ยวกับอินทรีย์อื่นๆ
อนึ่ง เนื่องจากอินทรีย์ ๕ นี้มีอุปการะแก่วิชาการตรัสรู้
เพราะฉะนั้น จึงสงเคราะห์เป็นอินทรีย์ ๕ อยํ อินฺทฺริเยหิ โอตรณา นี้

เป็นการสงเคราะห์เข้าในอินทรีย์ หมายความว่า บาทคาถาว่า
อุทฺธํ อโธ สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต นี้ถ้าอ่านผิวเผิน ก็จะรู้คำแปลว่า
"ผู้หลุดพ้นเบื้องบน เบื้องล่าง ในธาตุทั้งปวง" แต่ถ้าเราศึกษาวิธีสงเคราะห์
ธรรมให้เข้าในตัวธรรมที่เป็นแก่นธรรมจริงๆ เราก็จำเป็นต้อง
ศึกษากฎเกณฑ์การสงเคราะห์ว่า "คำนี้ควรจะสงเคราะห์เข้าแบบไหน"

ท่านให้เหตุผลว่าเนื่องจากมีคำว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต ผู้หลุดพ้น
จากธาตุทั้งปวง ประกอบอยู่จึงทำให้ทราบว่านอกจาก พระอเสกขะแล้ว
ก็ไม่มีใครที่จะหลุดพ้นจากธาตุทั้งปวงได้ ฉะนั้น ในที่นี้จึงหมายถึง
การหลุดพ้นของพระอเสกขะเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2020, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็การหลุดพ้นของพระอเสกขะนี้ ท่าน (อรรถกถาจารย์) ชี้แจงว่า
เมื่อจะจัดเป็นอินทรีย์นั้น ก็จัดอยู่ในอินทรีย์ ๕ โดยให้เหตุผลว่า
วิชฺชาย อุปการกตฺตา "เพราะมีการเกื้อกูลแก่วิชชา" ฉะนั้น
อเสกขวิมุตจึงจัดเป็นอินทรีย์ ๕ เหมือนกับที่สัมมาสังกัปปะ
"ความดำริชอบ" ถูกจัดเข้าปัญญาขันธ์ เนื่องจากมีอุปการะแก่สัมมาทิฏฐิ ฉันนั้น

อนึ่ง ในที่นี้ บางครั้งผู้บรรยายอาจจะใช้สำนวนคำแปลว่า
"นับสงเคราะห์เข้า เพราะเห็นว่า คำว่า "นับสงเคราะห์" ไม่ใช่การนับโดยตรง
เช่นกรณีของโอตรณาหาระ ซึ่งเป็นการสงเคราะห์ธรรมที่ไม่ได้
มาในพระบาฬีโดยตรง เพียงแต่ว่าอาศัยแล้วก็สงเคราะห์ธรรมเข้าในสิ่งนั้นๆ

อันนี้คือความหมายของคำว่าสงเคราะห์ ฉะนั้น จึงใช้สำนวนว่า
"สัมมาสังกัปปะถูกสงเคราะห์เข้าในปัญญาในฐานะเป็นสิ่งมีความเกื้อกูล แก่สัมมาทิฏฐิ"
ลักษณะเช่นนี้ท่านเรียกว่าการสงเคราะห์ธรรม
การจัดธรรมให้เข้าในธรรมนี้ โดยอาศัยหลักการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2020, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ตานิเยว อเสกฺขานิ ปญฺจินฺทฺริยานิ วิชฺชา

อินทรีย์ ๕ ที่เป็นอเสกขะทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอวิชชา
สงเคราะห์เข้าในปัญญา ในอรรถกถาท่านให้เหตุผลว่าความจริงแล้ว
อินทรีย์ ๕ ที่เป็นปัญญา ก็คือปัญญินทรีย์ ซึ่งจัดเป็นปัญญาโดยตรง
ส่วนอินทรีย์ ๕ ประการ คือ สัทธา วิริยะ สมาธิ สติ ไม่ใช่ปัญญา
แต่ถึงไม่ใช่ปัญญา ท่านก็ยืนยันว่าเนื่องจากอินทรีย์ ๔ ประการเหล่านั้น
มีอุปการะแก่ปัญญามากจึงสงเคราะห์เข้าเป็นปัญญาไปด้วย

ครั้นเป็นอินทรีย์แล้ว ก็เชื่อมโยงให้มาเป็นปฏิจจสมุปบาทด้วย
ว่าอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สามารถที่จะนำมาเกี่ยวโยงกับปฏิจจสมุปบาทอย่างไร
โดยพิจารณาองค์ธรรมของอินทรีย์ ๕ ก็จะเห็นว่า ณ ที่นั้นมีองค์ปฏิจจสมุปบาท
ที่เป็นวิชชาอยู่ จากนั้นก็ให้เน้นไปที่วิชชาว่า จะสามารถเข้าปฏิจจสมุปบาทอย่างไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร