วันเวลาปัจจุบัน 16 ต.ค. 2024, 09:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2013, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้

ผัสสะ = กระทบอารมณ์, ประสาน อารมณ์-ทวาร-วิญญาณ, ประชุมพร้อมกัน, อารมณ์เฉพาะหน้า

เวทนา = เสวยอารมณ์, เสวยรสอารมณ์, มีสุข มีทุกข์, ผัสสะ

สุข = มีการสัมผัสกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ดี, มีการทำให้สัมปยุตธรรมเจริญ,
มีความยินดีทางกาย, มีกายปสาท

ทุกข = มีการสัมผัสกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่ดี, มีการทำสัมปยุตตธรรมให้เศร้าหมอง,
มีอาพาธทางกาย, มีกายปสาท

โสมนัส = มีการเสวยอารมณ์ที่ดี, มีการประจวบกับอาการที่ไม่น่าปราถนา,
มีความแช่มชื่นยินดีทางใจ, มีความสงบกายใจ

โทมนัส = มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี, มีการประจวบกับอาการที่ไม่น่าปราถนา,
มีความอาพาธทางใจ, มีหทัยวัตถุ

อุเบกขา = มีการเสวยอารมณ์ที่ปานกลาง, รักษาสัมปยุตธรรมไม่ให้เจริญ-เศร้าหมอง,
มีความสงบ, มีจิตที่ไม่มีความปีติยินดี


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้


สัญญา = ความจำ, การทำเครื่องหมายเพื่อให้รู้ต่อ, มีความจำเครื่องหมายที่กำหนดไว้,
อารมณ์ที่ปรากฏ

เจตนา = ความตั้งใจ, มีการประมวลมา, มีการจัดแจง,
นามขันธ์ที่เหลือทั้ง 3 (เวทนาขันธ์-สัญญาขันธ์-วิญญาณขันธ์)

เอกัคคตา = ไม่ฟุ้งซ่าน, รวบรวมสหชาตธรรม, ความสงบ, สุขเวทนา

ชีวิตินทรีย = รักษาสหชาตธรรม, ตั้งอยู่ เป็นไป ของสัมปยุตธรรม, ดำรงอยู่ได้ ของสัมปยุตธรรม,
นามขันธ์ที่เหลือ 3

มนสิการ = ทำสัมปยุตธรรมแล่นไปในอารมณ์, ประกอบไว้กับอารมณ์, มุ่งตรงต่ออารมณ์,
มีอารมณ์ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต-กาลวิมุตติ

วิตก = ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์, ทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ, มีจิตที่นำเข้าไว้ในอารมณ์,
นามขันธ์ที่เหลือ 3

วิจาร = เคล้าคลึงอารมณ์, ประกอบสหชาตธรรมไว้ในอารมณ์, มีการตามผูกพันจิตไว้ในอารมณ์,
นามขันธ์ที่เหลือ 3

อธิโมกข = ตัดสินใจเด็ดขาด, ตั้งมั่นในอารมณ์, มีการตัดสิน, มีอารมณ์ที่ตัดสินใจ

วิริยะ = อดทนต่อสู้กับความลำบาก, อุดหนุนธรรมที่เกิดพร้อมกัน ไม่ให้ถอยหลัง, ไม่ท้อถอย,
สลดใน สังเวควัตถุ 8 และ วิริยารัมภวัตถุ 8

ปีติ = แช่มชื่นในอารมณ์, ทำให้อิ่มกาย-ใจ ซาบซ่านทั่วกาย-ใจ, มีความฟูใจ,
นามขันธ์ที่เหลือ 3

ฉันทะ = มีความปราถนาเพื่อกระทำ, มีการแสวงหาอารมณ์, มีความปรารถนาอารมณ์,
มีอารมณ์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้


โมหะ = ไม่รู้ความจริงของสภาวธรรม, มีการปกปิดสภาวะแห่งอารมณ์,
มีความมืดมน, ใส่ใจในอารมณ์โดยไม่แยบคาย

อหิริกะ = มีความไม่ละอายในกายทุจริต, มีการกระทำบาป,
มีความไม่ท้อถอยต่อบาปธรรม, มีความไม่เคารพตน

อโนตตัปปะ = มีความไม่หวาดเสียวในกายทุจริต, มีการกระทำบาป,
มีความไม่ท้อถอยต่อบาปธรรม, มีความไม่เคารพผู้อื่น

อุทธัจจะ = มีความไม่สงบ, มีความไม่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว,
มีความพล่านไปในอารมณ์, มีความใส่ใจอันไม่แยบคาย

โลภะ = มีการยึคอารมณ์, มีความข้องติดในอารมณ์,
มีความไม่ยอมละ, มีการเห็นความสำราญในสังโยชนธรรม

ทิฏฐิ = ยึคมั่นโดยไม่มีปัญญา, มีความถือผิดจากสภาวธรรม,
มีการยึคถือความเห็นที่ผิด, ไม่อยากเห็นพระอริยะ

มานะ = มีการทะนงตน, มีการยกย่องตนและสัมปยุตตธรรม,
มีความปรารถนาสูง, มีความโลภที่ปราศจากทิฏฐิ

โทสะ = มีความดุร้ายหยาบกระด้าง, มีการเผาที่อาศัยของตน,
มีการประทุษร้าย, มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต

อิสสา = มีความริษยาสมบัติของผู้อื่น, มีความไม่ยินดีในสมบัติผู้อื่น,
มีการเบือนหน้าหนีจากสมบัติผู้อื่น, มีสมบัติผู้อื่น

:b8: :b8: :b8:
:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8216


 ข้อมูลส่วนตัว




vclub-2012-11-22-1353549232-1141672017569725015.jpg
vclub-2012-11-22-1353549232-1141672017569725015.jpg [ 148.45 KiB | เปิดดู 14327 ครั้ง ]
แผนผังเจตสิก ๕๒

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2013, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุค่ะลุงที่ส่งภาพเจตสิกมาให้ดูประกอบกับลักขณาทิจตุกะ

:b44: :b44: :b44:

:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้


มัจฉริยะ = มีความหวงแหนสมบัติของตน, ไม่ชอบให้สมบัติของตนเป็นสาธารณะแก่ผู้อื่น,
มีการบูดเบี้ยวหน้า, มีสมบัติของตน

กุกกุจจะ = เดือดร้อนใจในภายหลัง, เศร้าโศกในกรรมที่ทำและยังไม่ได้ทำ,
มีความร้อนใจ, มีอกุศลกรรมที่ทำและกุศลกรรมที่ยังไม่ได้ทำ

ถีนะ = มีการไม่อุตสาหะ, มีการทำลายความเพียร,
มีความท้อถอย, มีการกระทำในใจต่ออารมณ์ไม่แยบคาย

มิทธะ = มีความไม่ควรแก่การงาน, มีการกั้นกำบังสัมปยุตธรรม,
มีความท้อถอย, มีการกระทำในใจต่ออารมณ์ไม่แยบคาย

วิจิกิจฉา = มีความสงสัย, มีความหวั่นไหวในอารมณ์ ,
มีความไม่สามารถตัดสินใจได้, มีการกระทำในใจต่ออารมณ์ไม่แยบคาย

สัทธา = มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ, มีการยังสัมปยุตธรรมให้ผ่องใส,
มีความไม่ขุ่นมัว, มีวัตถุที่ตั้งแห่งความเชื่อ

สติ = มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ, มีความไม่หลงลืม,
มีความจดจ่อต่ออารมณ์, มีความจำอันมั่นคง

หิริ = มีความเกลียดต่อบาป, มีการไม่ทำบาป,
มีความละอายต่อบาป, มีความเคารพตนเอง

โอตตัปปะ = มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป, มีการไม่ทำบาป,
มีความละอายต่อบาป, มีความเคารพผู้อื่น

อโลภ = ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ ไม่กำหนัดยินดี, ไม่หวงแหน,
ไม่ยึคมั่นในอารมณ์ฺ, มีการกระทำในใจต่ออารมณ์อันแยบคาย

อโทส = ไม่ดุร้าย ไม่แค้นเคือง, กำจัดความอาฆาต ความเร่าร้อน,
มีความร่มเย็นผ่องใส, มีการกระทำในใจอย่างแยบคาย

ตัตตรมัชฌัตตตา = สม่ำเสมอ ไม่ยิ่ง-หย่อน, ตัดขาดการตกไปในความยิ่ง-หย่อนของจิต,
เป็นกลาง โดยเพ่งเฉย, มีสัมปยุตธรรม

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2013, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้


ปัสสัทธิ = สงบจากความเร่าร้อน เป็นภาวะสงบ ปลอดโปร่ง, กำจัดความเร่าร้อน,
เยือกเย็นไม่ดิ้นรน, มีจิตและเจตสิก

ลหุตา = บรรเทาจากความหนัก เป็นภาวะที่เบา, กำจัดความหนัก,
มีความไม่หนัก, มีจิตและเจตสิก

มุทุตา = สงบจากความกระด้าง เป็นภาวะที่อ่อน, กำจัดความกระด้าง,
มีความไม่โกรธ ไม่อาฆาต, มีจิตและเจตสิก

กัมมัญญตา = สภาวะเหมาะความแก่การงาน, กำจัดความไม่ควรแก่การงาน,
ทำอารมณ์ให้สมควรแก่จิต-เจตสิก, มีจิตและเจตสิก

ปาคุญญตา = มีความไม่อาพาธของจิต-เจตสิก, มีการกำจัดความอาพาธ,
มีความปราศจากโทษ, มีจิตและเจตสิก

อุชุกตา = มีความซื่อตรง, มีการกำจัดความไม่ซื่อตรง,
มีความซื่อตรงของจิต-เจตสิก, มีจิตและเจตสิก

สัมมาวาจา = มีการป้องกันวจีทุจริต, เว้นจากมิจฉาวาจา,
ประหาณมิจฉาวาจา, มีคุณธรรม คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ...

สัมมากัมมันตะ = มีการป้องกันกายทุจริต, มีการเว้นจากมิจฉากัมมันตะ,
มีการประหาณมิจฉากัมมันตะ, มีคุณธรรม คือ สัทธา....

สัมมาอาชีวะ = มีความผ่องแผ้ว, มีความเป็นไปแห่งกายและวาจาอันบริสุทธิ์,
มีการประหาณมิจฉาชีพ, มีคุณธรรม คือ สัทธา....

กรุณา = มีการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์, มีการกำจัดทุกข์ของผู้อื่น,
มีความไม่เบียดเบียน, มีการเห็นสัตว์ถูกทุกข์ครอบงำ

มุทิตา = มีความพลอยยินดีในสมบัติของผู้อื่น, มีความไม่ริษยา,
มีการกำจัดความไม่ยินดี, มีการเห็นสมบัติของผู้อื่น

ปัญญินทรีย์ = มีการรู้แจ้งสภาวธรรม, มีการกำจัดความมืด เห็นความเป็นจริง,
มีความไม่หลงจากความจริง, มีสมาธิ

จบ ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก
:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

สหชาตกัมมปัจจัยของข้าพเจ้าในวันนี้ จงเป็นพลวนานักขณิกกัมมปัจจัยโดยเร็ววันเทอญ สาธุ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุในกุศลจิตทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ :b8:

:b47: :b47: :b47:

ความรู้พัฒนาปัญญา

ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้

สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี สุตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ
ปญฺญาย อตฺถํ ชานาติ ญาโต อตฺโถ สุขาวโห
(๒๖/๒๖๘)
(คัดจากหนังสือพุทธศาสนาสุภาษิต หมวดการศึกษา หน้า ๙๓)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2013, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ของการได้เรียนรู้วิเสสลักขณะ หรือ ลักขณาทิจตุกะ

ธรรมที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเปลี่ยนแปลง คือ ปรมัตถธรรม นั้นมีลักษณะอยู่ ๒ ประการ
เรียกชื่อตามบาลีว่า สามัญญลักขณะ ๑ และ วิเสสลักขณะ ๑

๑. สามัญญลักขณะ เป็นลักษณะสามัญทั่วๆ ไป เป็นลักษณะตามธรรมดา ตามธรรมชาติ ตามปกติที่
ปรมัตถธรรมทั้งหลาย (เว้น นิพพาน) จะต้องมีต้องเป็นเหมือนๆ กันอยู่ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง และ
อนัตตตา จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ไตรลักษณ์

๒. วิเสสลักขณะ เป็นลักษณะพิเศษประจำตัว เป็นลักษณะพิเศษจำเพาะของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง
ซึ่งไม่เหมือนกันเลย ผิดแผกแตกต่างกันทั้งนั้น วิเสสลักขณะนี้มี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน
และ ปทัฏฐาน

:b50: ลักษณะ คือ คุณภาพ หรือ เครื่องแสดงหรือสภาพโดยเฉพาะที่มีประจำสำหรับธรรมนั้นๆ

:b49: รสะ คือ หน้าที่ หรือ กิจการงาน ที่ธรรมนั้นๆ พึงกระทำไปตามลักษณะของตน

:b47: ปัจจุปัฏฐาน คือ ผลของรสะ หรือ อาการปรากฏ ที่เกิดจากธรรมนั้นๆ ได้กระทำกิจการงานตาม
หน้าที่ของตน

:b46: ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น

เพราะเหตุว่า วิเสสลักขณะ มี ๔ ประการดังที่ได้กล่าวมา จึงได้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ลักขณาทิจตุกะ ซึ่งแปล
ความว่า ธรรมหมวด ๔ มีลักษณะ เป็นต้น

ถ้าได้เรียนรู้ วิเสลักขณะ หรือ ลักขณาทิจตุกะ ซึ่งแสดงสภาวะประจำตัวโดยเฉพาะแห่งปรมัตถธรรม
แต่ละอย่างนั้นด้วยแล้ว ก็จะทำให้มีความเข้าใจซึ้งถึงสภาพแห่งปรมัตถธรรม

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ ลักขณาทิจตุกะ แห่ง ปรมัตถธรรม
รวบรวมโดย ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร)
มูลนิธิปริญญาธรรม วัดสังเวชวิศยาราม

:b8: :b8: :b8:

ผู้ทำกระทู้ขอเพิ่มเติมว่าทำไมต้องเข้าใจลักขณาทิจตุกะ
การตามดูนามรูปนั้น คือ ญาณที่๑ และ ๒ ส่วนตั้งแต่ญาณที่ ๓ เป็นต้นไปนั้นจึงเรียกได้ว่าอยู่ใน
ขั้นของวิปัสสนา การจะไปให้ถึงขั้นวิปัสสนาได้นั้นต้องผ่านการดูรูปนามจนได้ญาณ ๑ และ ๒ ก่อน
และ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน นั้นหากเข้าใจดีแล้วจะสามารถเข้าถึงญาณที่ ๑ คือ
นามรูปปริจเฉทญาณ ส่วน ปทัฏฐานนั้น จะสามารถเข้าถึง ญาณที่ ๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณได้ค่ะ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:
:b8: ขออนุโมทนาสาธุในกุศลจิตทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2013, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์ อันบุคคลพึงได้แสนยาก

:b42: กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลพึงได้แสนยาก

:b42: กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
ความได้ฟังพระสัทธรรม อันบุคคลพึงได้แสนยาก

:b42: กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันบุคคลพึงได้แสนยาก


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2013, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8216


 ข้อมูลส่วนตัว




575441_317150855082710_45424020_n.jpg
575441_317150855082710_45424020_n.jpg [ 28.62 KiB | เปิดดู 14073 ครั้ง ]
:b42: กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์ อันบุคคลพึงได้แสนยาก

:b42: กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลพึงได้แสนยาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2013, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
:b42: กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
ความได้เป็นมนุษย์ อันบุคคลพึงได้แสนยาก

:b42: กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลพึงได้แสนยาก


เกิดมาเป็นคนก็ยากแล้วนะ เกิดมาแล้วก็ลำบากอีก
ต้องดิ้นรนต่อสู้ชีวิตเพียงลำพังแม้แต่เสื้อผ้ายังหนีหาย ทิ้งให้ล่อนจ้อน

:b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b49: ลักขณาทิจตุกะ ของ เจตสิก :b49:

ลักษณะ, กิจ, ผลปรากฏ, เหตุใกล้


ปัสสัทธิ = สงบจากความเร่าร้อน เป็นภาวะสงบ ปลอดโปร่ง, กำจัดความเร่าร้อน,
เยือกเย็นไม่ดิ้นรน, มีจิตและเจตสิก

ลหุตา = บรรเทาจากความหนัก เป็นภาวะที่เบา, กำจัดความหนัก,
มีความไม่หนัก, มีจิตและเจตสิก

มุทุตา = สงบจากความกระด้าง เป็นภาวะที่อ่อน, กำจัดความกระด้าง,
มีความไม่โกรธ ไม่อาฆาต, มีจิตและเจตสิก

กัมมัญญตา = สภาวะเหมาะความแก่การงาน, กำจัดความไม่ควรแก่การงาน,
ทำอารมณ์ให้สมควรแก่จิต-เจตสิก, มีจิตและเจตสิก

ปาคุญญตา = มีความไม่อาพาธของจิต-เจตสิก, มีการกำจัดความอาพาธ,
มีความปราศจากโทษ, มีจิตและเจตสิก

อุชุกตา = มีความซื่อตรง, มีการกำจัดความไม่ซื่อตรง,
มีความซื่อตรงของจิต-เจตสิก, มีจิตและเจตสิก


เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรเราทำกุศลแล้ว เกิดกุศลขึ้นได้จริง
ดูได้จากสภาวธรรมเหล่านี้จะต้องมีเกิดขึ้นมาในจิตคือ ยุคลธรรม ๖ คู่ ดังต่อไปนี้

๑. กายปัสสัทธิ, จิตตปัสสัทธิ
๒. กายลหุตา, จิตตลหุตา
๓. กายมุทุตา, จิตตมุทุตา
๔. กายกัมมัญญตา, จิตตกัมมัญญตา
๕. กายปาคุญญตา, จิตตปาคุญญตา
๖. กายุชุกตา, จิตตุชุกตา

ธรรมเหล่านี้เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส (อภิธัมมาวตาร)

คู่ที่๑ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีอุทธัจจะ เป็นต้นที่ทำความไม่สงบแก่นามขันธ์และจิต
คู่ที่๒ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีถีนะมิทธะ เป็นต้นที่กระทำความหนักแก่นามขันธ์และจิต
คู่ที่๓ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีทิฏฐิและมานะ เป็นต้นที่กระทำความแข็งแก่นามขันธ์และจิต
คู่ที่๔ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีนิวรณ์ เป็นต้นอื่น(จากอุทธัจจะและถีนมิทธะ)ซึ่งทำให้นามขันธ์และจิต
ไม่เหมาะสมในกิริยา
คู่ที่๕ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีความไม่ศรัทธา เป็นต้นอื่นที่ทำให้นามขันธ์และจิตไม่สบาย
คู่ที่๖ นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีมารยาและสาไถยเป็นต้นที่ทำความคดโกงแก่นามขันธ์และจิต

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:57 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร