วันเวลาปัจจุบัน 04 ต.ค. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2020, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


เวไนยสัตว์แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. อุคฺฆฏิตญฺญู ๒. วิปญฺจิตญฺญู ๓. เนยฺย
(ส่วน ปทปรม ไม่ถือว่าเป็นเนยฺย)

ปฏิปทา ๔
๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญญา สำหรับเนยยบุคคล
๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญญา สำหรับวิปัญจิตัญญูบุคคล
๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญญา สำหรับวิปัญจิตัญญูบุคคล
๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญญา สำหรับอุคฆฏิตัญญูบุคคล

บุคคล ๔ ก็คือ บุคคลผู้ปฏิบัติ หมายถึงบุคคลผู้ภาวนา
ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือวิปัสสนา ก็คือผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น
บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ปฏิบัติด้วยปฏิปทา ๔

มนฺโท เป็นผู้ไม่ปราศเปรื่อง(มีโมหะมากไม่มีปัญญา)
ตณฺหาจริโต มีอุปนิสัย ค่อนข้างโลภ นิยฺยาติ ย่อมออกจากวัฏฏทุกข์
(ทุกฺขาย ปฏิปทา ทนฺธาภิญญาย ด้วยการปฏิบัติที่ยากลำบาก และบรรลุก็เชื่องช้า

อนึ่การนับช่วงความห่างของระยะเวลาระหว่างปฏิปทากับอภิญญา
นับอย่างไร ขอให้ดูรูปภาพประกอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2020, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว




1588375049325.jpg
1588375049325.jpg [ 74.46 KiB | เปิดดู 2907 ครั้ง ]
สมมุติว่า ในกรณีของคนที่เข้าฌานหรือได้ฌาน
การปฏิบัติเริ่มต้นตั้งแต่การบริกรรมกสิณ ไปจนใกล้จะบรรลุฌาน
ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า อุปจารฌาน ก็ช่วงนี้แหละเรียกว่าปฏิปทา
นั่นหมายความว่าตั้งแต่เริ่มต้นกำหนดกสิณ กำหนดภาวนา
อะไรก็แล้วแต่จนถึงช่วงที่ใกล้จะได้ฌาน ช่วงนี้เรียกปฏิปทา

ส่วน อภิญญา หมายถึงช่วงได้ฌานแล้ว คือนับตั้งแต่อุปจาระ
จนถึงอัปปนา ช่วงนี้แหละท่านเรียกว่า"อภิญญา" อภิญญานี้ไม่ได้หมายถึง
"อภิญญา ๖"ตามที่เข้าใจโดยทั่วไป แต่ในที่นี้หมายถึงการบรรลุ
จึงจะสามารถอธิบายแนวนี้ได้ ถ้าถือเอาโดยไม่แยกแยะมันก็จะเกิดขัดกัน
เพราะ"อภิญญา ๖ นั้น" จะต้องเข้าจตุตถฌานก่อน

อภิญญาในที่นี้แปลว่า "การเข้าถึง" ถ้าเป็นฝ่ายฌาน ก็หมายถึงการได้ฌาน
ถ้าเป็นสายวิปัสสนา ก็หมายถึ การบรรลุมรรคผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2020, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิปทา ๔/ ปฏิปทา ๒

๑. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา เรียกว่า สมถปุพพังคมปฏิปทา
(ผู้ปฏิบัติยาก(เนยฺย)
๒. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา เรียกว่า สมถปุพพังคมาปฏิปทา
(ผู้ปฏิบัติยาก)(วิปญฺจิตญฺญู)
๓. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา เรียกว่า วิปัสสนาปุพพังคมปฏิปทา
(ผู้ปฏิบัติง่าย)(วิปญฺจิตญฺญู)
๔. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา เรียกว่าวิปัสสนาปุพพังคมปฏิปทา
(ผู้ที่ปฏิบัติง่าย)(อุคฺฆฏิตญฺญู)

ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา และทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สมถปุปพพังคมา ปฏิปทา คือ ปฏิปทาที่มีสมถะนำหน้า
พวกที่ทุกขาปฏิปทา ปฏิบัติบาด ท่านให้เจริฐสมาธิก่อน เพราะฉะนั้น
บุคคลใดที่ปฏิบัติยาก ปฏิบัติไปก็มีแต่อุปสรรคต่างไ อย่างเช่น ในขณะปฏิบัติ
อาจมีนิวรณ์อะไรต่างๆ อาขมีหลายเหตุหลายปัจจัย เช่นอาขมีเวทนากล้า หรืออะไรต่างๆ
ที่มารบกวนจิตไม่ให้มีสมาธิได้ อันนี้เรียกว่า ทุกขา ปฏิปทา มี ๒ นัย คือ
ทนฺธาภฺญา, ขิปฺปาภิญฺญา, ทั้งสองนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สมถปุพพังคมาปฏิปทา
ฉะนั้น ปฏิปทาสมารถแบ่งออกเป็น ๒ คือ

(๑) สมถปุพพังคมา ปฏิปทา
(๒) วิปัสสนาปุพพังคมา ปฏิปทา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2020, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนักศึกษานำฝ่ายสมถะ กับวิปัสสนา ไปเปรียบเทียบข้อความ
แปลเมื่อสักครู่ โดยเอาบุคคลมาจับอีก ก็จะเห็นว่าบุคคลใดย่อมออกจากสัฏฏทุกข์
ด้วยสมถปุพพังคมา ปฏิปทา บุคคลนั้นก็คือผู้ที่ออกจาดทุกข์ด้วย
ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา หมายถึงนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่ เนยยบุคคล
และ ด้วย ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ซึ่งก็หมายถึง วิปัญจิตัญญูบุคคล

ส่วนบุคคลใดย่อมออกจากวัฏฏทุกข์ ด้วย สมถปุพพังคมา ปฏิปทา
ด้วย สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา บุคคลนั้นได้แก่ วิปัญจิตัญญูบุคคล
ส่วนผู้ที่ออกจากวัฏฏทุกข์ด้วย สัขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา หมายถึง อุคฆฏิตัญญูบุคคล
นี้เป็นการแบ่งตามบุคคล เนยยบุคคลจะไปอยู่ใน สมถปุพพังคม ปฏิปทา

ซึ่งการเจริญวิปัสสนาได้ต้องเจริญสมถะก่อน (เจริญสมาธิก่อน)
เพราะฉะนั้น เขาจึงถือว่า สมาหิโต ภิกฺขเว ยถาภูตา ปชานาติ
เมื่อมีจิตมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเห็นตามความเป็นจริง (หมายความว่าจะเกิดวิปัสสนาญาณ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2020, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว




images (4).jpeg
images (4).jpeg [ 21.58 KiB | เปิดดู 2805 ครั้ง ]
ในกรณีของอุคฆฏิตัญญู
เขาไม่ไปเจริญสมถะก็สามารถบรรลุได้
เพราะปัญญาเฉียบแหลมอยู่แล้ว
ท่านบอกว่าในบรรดาบุคคลประเภทเหล่านี้
ข้างบนสองจำพวกนนั้น (เนยยบุคคล วิปัญจิตัญญูบคคล)

ให้สั่งสอนหรือแนะนำด้วยนันทิยาวัฏฏนัย
นนฺทิ เป็นชื่อดอกไม้ เขาเรียกว่า "ดอกเซ่ง" มีลักษณะ
ซ้อนกันไปซ้อนกันมา อาวัฏฏะ แปลว่า หมุน
ฉะนั้น นันทิยาวัฏฏะ จึงแปลว่า หมุนสลับซับซ้อนดุจดอกเซ่ง
ด้วยว่า ตัณหากับอวิชชา จะหมุนไปโดยหาจุดจบ
และจุดเริ่มต้นไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2020, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


นนฺทิ แปลตามศัพท์ว่า ตัณหา อาวัฏฏ หมุน
นันทิยาวัฎฎนัย จึงหมายถึงนัยที่แสดง
การหมุนเวียนของตัณหา ที่แปลไปนี้เป็นการแปล
ไปตามศัพท์ ความจริงแล้ว นันทิยาวัฏฏนัยนี้ หมายถึง


นัยที่ต้องการสั่งสอน เช่นอบรมสั่งสอนดังนี้ คือ
ถ้าเป็นตัณหาให้ละด้วยสมถะ ถ้าเป็นอวิชชาให้ละด้วย
วิปัสสนา นัยที่แสดงการประกอบนี้แลท่านเรียก
นันทิยาวัฏฏนัย ก็หมายความว่า ก็ต้องบุคคลประเภทนี้
ด้วยสมถะ และวิปัสสนา

กล่าวคือให้บุคคลสองจำพวกนี้(เนยยบุคคล และวิปัญจิตัญญูบุคคล)
ประเภทนี้ให้ใช้ นันทิยาวัฏฏนัย คำว่า นันทิยาวัฏฏนัย
นั้นหมายความว่า ถ้าประสงค์จะให้ละตัณหาก็ให้สอนสมถะ
และถ้าประสงค์ให้ละอวิชชาก็สอนวิปัสสนา
ซึ่งถ้าสอนได้ตรงก็จะสะดวกที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2020, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริงจะสอนด้วยนัยอื่นก็ได้ แต่การสอนแบบ นันทิยาวัฏฏนัย นี้
เป็นการสอนที่สะดวกกว่าอย่างอื่น ท่านจึงให้สอนด้วยนันทิบาวัฏฏนัย
จริง ๆ แล้วไม่ใช่ว่าจะสินนัยอื่นไม่ได้ แต่เนื่องจากว่าถ้าสอนด้วย
นันทิยาวัฏฏนัยแล้วจะทำให้สอนได้ง่าย ฉะนั้นท่านจึงแนะนำว่าควรสอน
ด้วยนันทิยาวัฏฏนัย ตือการสอนให้ละตัณหาด้วยสมถะภาวนา
ละอวิชชาด้วยวิปัสสนา นั่นหมายความว่าให้เจริญสมถะ

แล้วก็เจริญวิปัสสนาตามหลัง
(สมถปุพฺพงคม ปฏิปทา ให้เจริญสมถะก่อนแล้วมาเจริญวิปัสสนาตามหลัง)
อันนี้สำหรับเนยยบุคคลกับวิปัญจิตัญญูบุคคล แต่ในส่วนของ
วิปัญจิตัญญูบุคคลนั้นต้องแบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกแรก คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา อยู่ในสมถปุพฺพงฺคมปฏิปทา
พวกที่ ๒ คือ สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา อยู่ในวิปสฺสนาปุพฺพงคมปฏิปทา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2020, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาชนกับวิปัสสนาปุพพังคมปฏิปทา
เบ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมาหิ ปฏิปทาหิ นิยฺยนฺติ บุคคลทั้งหลายเหล่าใด
ที่ออกจากวัฏฏทุกข์ด้วยปฏิปทาที่มีวิปัสสนานำหน้า

พระธรรมกถึกควรสอนบุคคลเหล่านั้นด้วยสีหวิกกีฬิตนัย
(สีห-ราชสีห์,ผู้ประเสริฐ วิกฺกีฬิต-ความงามเยื้องกาย
ของราชสีห์(ของผู้ประเสริฐ หมายถึงพระพุทธเจ้า)
การอยู่ของพระพุทธเจ้าเหมือนการอยู่ของราชสีห์

คำว่า สีหวิกฺกีฬิตนย นี้ ก็คือวิธีการอยู่ของพระพุทธเจ้า
เรียกว่า "สีหวิกฺกีฬิตน" พระอริยเจ้า เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น
ทรงอยู่แบบไหน เช่นทางเจริญโพชฌงค์ เข้าสมาบัติมีผล
หรือมีนิพพานเป็นอารมณ์ และละสิ่งที่ควรละ

วิธีการอยู่อย่างนี้เรียกว่า วิธีการอยู่แบบพระพุทธเจ้า
หรือที่เรียกว่า การอยู่แบบ สีหวิกกีฬิตนัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2020, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


หากจะถามว่า ทำไมจึงต้องสั่งสอนด้วย สีหวิกกีฬิตนัย
คำตอบก็คือ เพราะ สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ข้อนี้
มี อุคฺฆฏิญฺญู ซึ่งเป็นผู้ตรัสรู้เร็วรวมอยู่ด้วย เรียกว่า
ไม่จำเป็นจะต้องสอนสมถะ แต่สอนวิปัสสนาเลย

ดูตามนี้จะเห็นว่า ปฏิปทาเป็นเหตุให้สั่งสอนแบบนี้
ผู้ออกจากวัฏฏทุกข์ด้วยปฏิปทานี้ หากได้รับการสั่งสอน
ด้วยสีหวิกกีฬิตนัยเช่นนี้ก็จะบรรลุได้โดยไม่ยาก
นิยฺยนฺติ ออกจากวัฏฏะด้วยปฏิปทานี้ กล่าวคือ ให้สั่งสอน
ด้วยนัยนี้

พึงสั่งสอนพึงนำไปด้วยนัยนี้ พึงสั่งสอนด้วย สีหวิกกีฬิตนัย
นั่นหมายความว่า ผู้มีปัญญาย่อมออกจากวัฏฏะทุกข์
ด้วยวิปัสสนา ปุพพังคมา ปฏิปทา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2020, 02:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8199


 ข้อมูลส่วนตัว


นี้ถือว่าเป็นอุคฆฏิตัญญู และวิปัญจิตัญญู เป็นผู้มีปัญญา
เฉียบแหลมกว่าบุคคลข้างต้น ๒ พวกนั้น เพราะฉะนั้น
เวลานำไปประกอบกับนัย ก็ให้นำนัยที่เรียกว่า ของผู้มีปัญญา
(คือ สีหวิกกีฬิต) มาแสดงเป็นนัยของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าอยู่ด้วยการเจริญโพชฌงค์ โดยมีผล
หรือนิพพานเป็นอารมณ์ ละสิ่งที่ควรละ ฉะนั้น
ผู้มีปัญญาก็ควรอยู่อย่างนี้ อย฿อย่างอารมณ์ที่ไม่มีกิเลส
เป็นการเทีบบกันกับนัยโดยการนำเอานัยมาประกอบกัน
กับบุคคล คือ บรรดานัยที่ในเนตติมี ๕ นัย

นั้นพึงทราบว่า นันทิยาวัฏฏนัยและสีหวิกกีตนัย
ก็เป็นอย่างหนึ่งซึ่งนัย ๕ ประการนี้ ท่านแสดงไว้ในหน้า ๕
ของ เนตฺติ เปฏโก ฉบับ มจร. ใน นยสังเขป ท่านจะบอก
ว่านัยทั้ง ๕ มี นันทิยาวัฏฏนัย เป็นต้น นั้นก็คือ

การนำเอานัยมาจับคู่กับบุคคล หรือเทสนา ซึ่งจะได้รับ
การกล่าวไว้ ณ ที่นี้โดยสังเขป นันทิยาวัฏฏนัย
พึงทราบตามบาฬีต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:56 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร