วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 13:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




20181227_100149.jpg
20181227_100149.jpg [ 52.49 KiB | เปิดดู 6825 ครั้ง ]
มัคคมีองค์ ๘ นี้สงเคราะห์ลงเป็นสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล ได้แก่ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอชีวะ,
สมาธิ ได้แก่ สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ,
ปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ,
ที่ว่ามีความเกี่ยวพันกัน ต้องอาศัยโดยความพร้อมมูล จึงจะสำเร็จให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ คือ

ต้องมีศีล มีความปกติแห่งกายวาจาใจ จึงจะเกิดความสงบ
ไม่กระวนกระวายคิอมีสมาธิได้ ต่อเมื่อมีความสงบระงับ จึงจะเกิดปัญญาได้
ถ้ายังวุ่นวายไม่มีความสงบระงับแล้ว ปัญญาจะเกิดก็เกิดไม่ได้
เมื่อไม่มีปัญญาเห็นผิดชอบชั่วดี การรักษาศีลเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สงบ
ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย เกี่ยวเนื่องกันดังนี้
มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียะและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็ส่วนสำคัญ
ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ

๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นโลกียะนั้น จะไม่ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ๘ องค์
เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วีรตี ๓ นี้เป็นอนิตโยคีเจตสิก
ประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราวและประกอบได้ทีละดวง

แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วีรตี ๓ เป็นนิยเอกโต คือต้องประกอบ
พร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ เป็นฝ่ายโลกุตตระ
จึงต้องประกอบพร้อมกันถึง ๘ องค์

๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนที่เป็นฝ่ายที่เป็นโลกียะนี้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์
กล่าวโดยเฉพาะวีรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือ วัตถุพึงเว้นที่มาปรากฏเฉพาะหน้า
ส่วนโลกุตตระวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีเป็นองค์แห่งมัคค
มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นการทุจริต

๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วขณะ อย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน
อย่างมากก็ข่มไว้ได้นายหน่อย แต่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 19:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
มัคคมีองค์ ๘ นี้สงเคราะห์ลงเป็นสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล ได้แก่ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอชีวะ,
สมาธิ ได้แก่ สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ,
ปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ,
ที่ว่ามีความเกี่ยวพันกัน ต้องอาศัยโดยความพร้อมมูล จึงจะสำเร็จให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ คือ

ต้องมีศีล มีความปกติแห่งกายวาจาใจ จึงจะเกิดความสงบ
ไม่กระวนกระวายคิอมีสมาธิได้ ต่อเมื่อมีความสงบระงับ จึงจะเกิดปัญญาได้
ถ้ายังวุ่นวายไม่มีความสงบระงับแล้ว ปัญญาจะเกิดก็เกิดไม่ได้
เมื่อไม่มีปัญญาเห็นผิดชอบชั่วดี การรักษาศีลเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สงบ
ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย เกี่ยวเนื่องกันดังนี้
มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียะและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็สาวนสำคัญ
ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ

๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นโลกียะนั้น จะไม่ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ๘ องค์
เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วีรตี ๓ นี้เป็นอนิตโยคีเจตสิก
ประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราวและประกอบได้ทีละดวง

แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วีรตั ๓ เป็นนิยเอกโต คือต้องประกอบ
พร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ เป็นฝ่ายโลกุตตระ
จึงต้องประกอบพร้อมกันถึง ๘ องค์

๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนที่เป็นฝ่ายที่เป็นโลกียะนี้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์
กล่าวโดยเฉพาะวีรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือ วัตถุพึงเว้นที่มาปรากฏเฉพาะหน้า
ส่วนโลกุตตระวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีเป็นองค์แห่งมัคค
มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นการทุจริต

๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วขณะ อย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน
อย่างมากก็ข่มไว้ได้นายหน่อย แต่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น


ผมเข้าใจว่า ความหมายควรจะเป็น มรรคสมังคี มรรคทั้งหมดมารวมกันแล้วทำลายความมืดของอวิชชาคือความไม่รู้จริงให้เปลี่ยนเป็น วิชชา ความรู้ ได้เกิดขึ้นแล้วแสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว ความพ้นทุกข์ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
มัคคมีองค์ ๘ นี้สงเคราะห์ลงเป็นสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล ได้แก่ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอชีวะ,
สมาธิ ได้แก่ สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ,
ปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ,
ที่ว่ามีความเกี่ยวพันกัน ต้องอาศัยโดยความพร้อมมูล จึงจะสำเร็จให้ถึงความพ้นทุกข์ได้ คือ

ต้องมีศีล มีความปกติแห่งกายวาจาใจ จึงจะเกิดความสงบ
ไม่กระวนกระวายคิอมีสมาธิได้ ต่อเมื่อมีความสงบระงับ จึงจะเกิดปัญญาได้
ถ้ายังวุ่นวายไม่มีความสงบระงับแล้ว ปัญญาจะเกิดก็เกิดไม่ได้
เมื่อไม่มีปัญญาเห็นผิดชอบชั่วดี การรักษาศีลเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำให้สงบ
ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย เกี่ยวเนื่องกันดังนี้
มัคคมีองค์ ๘ นี้มีได้ทั้งโลกียะและโลกุตตร มีสิ่งที่แตกต่างกันอันเป็สาวนสำคัญ
ดังจะกล่าวต่อไปโดยย่อ คือ

๑. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นโลกียะนั้น จะไม่ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ๘ องค์
เพราะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ วีรตี ๓ นี้เป็นอนิตโยคีเจตสิก
ประเภทนานากทาจิ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราวและประกอบได้ทีละดวง

แต่ว่ามัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตรนั้น วีรตั ๓ เป็นนิยเอกโต คือต้องประกอบ
พร้อมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง ๓ อย่างแน่นอน ดังนั้นมัคคมีองค์ ๘ เป็นฝ่ายโลกุตตระ
จึงต้องประกอบพร้อมกันถึง ๘ องค์

๒. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนที่เป็นฝ่ายที่เป็นโลกียะนี้น ไม่ได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่มีอย่างอื่นเป็นอารมณ์
กล่าวโดยเฉพาะวีรตี ๓ นี้ก็ต้องมีวิรมิตัพพวัตถุ คือ วัตถุพึงเว้นที่มาปรากฏเฉพาะหน้า
ส่วนโลกุตตระวิรตีไม่ต้องมีวัตถุอันพึงเว้น เพราะโลกุตตรวิรตีเป็นองค์แห่งมัคค
มีหน้าที่ประหารกิเลส ไม่ใช่มีหน้าที่เว้นการทุจริต

๓. มัคคมีองค์ ๘ ที่เป็นฝ่ายโลกุตตระประหารกิเลสได้เด็ดขาดอย่างที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
แต่โลกียมัคคประหารกิเลสได้เพียงชั่วขณะ อย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน
อย่างมากก็ข่มไว้ได้นายหน่อย แต่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เท่านั้น


ผมเข้าใจว่า ความหมายควรจะเป็น มรรคสมังคี มรรคทั้งหมดมารวมกันแล้วทำลายความมืดของอวิชชาคือความไม่รู้จริงให้เปลี่ยนเป็น วิชชา ความรู้ ได้เกิดขึ้นแล้วแสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว ความพ้นทุกข์ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา


ก็เหมือนความสามัคคี ย่อมจะเป็นกำลังที่ยิ่งใหญ่ แรง และทำงาน
ได้ผลดีแน่นอนนั้นเอง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเข้าใจว่า ความหมายควรจะเป็น มรรคสมังคี มรรคทั้งหมดมารวมกันแล้วทำลายความมืดของอวิชชาคือความไม่รู้จริงให้เปลี่ยนเป็น วิชชา ความรู้ ได้เกิดขึ้นแล้วแสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว ความพ้นทุกข์ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อ้างคำพูด:
ก็เหมือนความสามัคคี ย่อมจะเป็นกำลังที่ยิ่งใหญ่ แรง และทำงาน
ได้ผลดีแน่นอนนั้นเอง


สาธุครับ ที่มีความเข้าใจอย่างนั้นก็ถูกต้องแล้วครับ
แต่ในส่วนที่จะทำให้มรรคสมังคีย๋นั้นก็ยังต้องอาศัยเครื่องมือ
อีกอย่างหนึ่งคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ หรือย่อๆ ก็คือ โพชฌงค์ ๗
ที่เรียกว่าองค์แห่งการตรัสรู้ ดังจะแสดงต่อไปในกระทู้นี้แหละครับ
ติดตามอ่านหรือร่วมสนทนากันนะครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นกองแรกของโพธิปักขิยสังคหะนี้ก็แสดงว่า
เป็นไปเพื่อแจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้จะปรารถนาจะบรรลุพระนิพพาน
ต้องประพฤติดำเนินไป ในสติปัฏฐาน ๔ นี้
และ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ อันเป็นกองสุดท้ายของโพธิปักขิสังคหะนี้
ก็ว่าเป็นไปเพื่อความเห็นแจ้งพระนิพพาน โดยอธิบายว่า ผู้จะบรรลุพระนิพพานต้องดำเนิน
ทางสายกลางคือมัคคมีองค์ ๘ นี้ ความทั้งสองข้อนี้สงเคราะห์เข้ากันได้ มีอธิบายไว้ว่า

ใน อริยมัคค หรือ อัฏฐังคิกมัคค คือ มัคคมีองค์ ๘ นั้น มีองค์หนึ่งชื่อว่า สัมมาสติ
ก็คือสติปัฏฐานนี่เอง ดังนั้น เมื่อเห็นสติปัฏฐานก็ว่าเห็นชอบ ดำริในสติปัฏฐานก็ชื่อว่าดำริชอบ
พูดเรื่องสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าพูดชอบ การงานของใจเป็นไปในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าการงานชอบ
มีความเป็นอยู่การเจริญสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่า เป็นอยู่ชอบ เพียรในสติปัฏฐาน ก็ชื่อเพียรชอบ
ระลึกในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นในสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าตั้งมั่นชอบ ดังนี้จะเห็นได้ว่า
เป็นการดำเนินสติปัฏฐานกับเจริญอัฏฐังคิกมัคคพร้อมกันเลยที่เดียวแล้ว
แม้สติปัฏฐานเป็นจุดเริ่มต้น และอัฏฐังคิกมัคคก็เป็นจุดที่สำเร็จผล แต่ในขณะที่รู้แจ้งพระนิพพานนั้น
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้นย่อมประกอบพร้อมกัน ซึ่งจะกล่าวในข้างหน้า ต่อไป

พระธรรมคำสอนมีมากมาย ธรรมทั้งหลายเปรียบเถาวัลย์ขึ้นพันต้นไม้ บุคคลจะจับตรงไหน
และฉุดกระชาก ย่อมกระเทือนไหวตลอดทั้งเถา ดังนั้นจึงทรงแสดงว่า สติปัฏฐานเป็นไป
เพื่อนิพพานให้แจ้ง ชื่อว่าไม่แย้งไม่ขัดต่ออริยมัคคซึ่งเป็นมัคคาทางแห่งพระนิพพาน
ตามนัยแห่งอริยสันั้นแต่ประการใดเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึงมีองค์ธรรม ๑๔ องค์
และจะได้แสดงฐานของ ๑๔ องค์ นั้น
ปัญญา ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สติ ๑ อุเปกขา ๑
ปัสสัทธิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ เอกัคคตา ๑ สัทธา ๑ จิตตะ ๑

ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง หรือตำแหน่ง จึงมีความหมายว่า องค์ธรรม ๑๔ องค์นี้
แต่ละองค์เป็นโพธิปักขิยธรรมใน ๓๗ ประการนั้นได้กี่ตำแหน่ง หรือมีที่ตั้งกี่ตำแหน่ง
คือเป็นได้กี่ฐาน ฐานใดบ้าง ในส่วนที่มีฐานเดียวมี ๙ องค์ คีอ
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ อุเปกขา ๑
ปัสสัทธิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ ปีติ ๑ ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑

ส่วนวิริยะมี ๙ สติมี ๘ ฐาน สมาธิมี ๔ ฐาน ปัญญามี ๕ ฐาน สัทธามี ๒ ฐาน
เป็นการจำแนกโดยละเอียดแห่งธรรม ๓๗ ประการอันอุดม

๑. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก มีฐานเดียว คือ สัมมาสังกัปปะ
๒. ปัสสัทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัสสัทธิเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๓. ปิติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก มีฐานเดียว คือ ปีติสัมโพชฌงค์
๔. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ ตัตรมัชฌัตตาเจตสิก มีฐานเดียว คือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
๕. ฉันทะ องค์ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก มีฐานเดียว ฉันทธิบาท
๖. จิตตะ องค์ธรรมได้แก่ จิต มีฐานเดียว คือ จิตติทธิบาท
๗. วีรตี ๓ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ๑ สัมมากัมมันตะเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวะเจตสิก ๑
มีฐานเดียว คือ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ตามลำดับ

๘. วิริยะ องค์ธรรมได้แก่ วิริยะเจตสิก มี ๙ ฐาน คือ สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑
วิริยะพละ ๑ วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาวายามะ ๑
๙. สติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก มี ๘ ฐาน คือ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ ๑ สติพละ ๑
สติสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาสติ ๑
๑๐. สมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกคคตาเจตสิก มี ๔ ฐาน คือ สมาธินทรีย์ ๑ สมาธิพละ ๑
สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ และสัมมาสมาธิ ๑
๑๑. ปัญญา องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก มี ๕ ฐาน คือ วิมังสิทธิบาท ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑
๑๒. สัทธา องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก มี ๒ ฐาน คือ สัทธินทรีย์ ๑ สัทธาพละ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6248.jpg
Image-6248.jpg [ 29.24 KiB | เปิดดู 6897 ครั้ง ]
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็มาจาก ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งในวิสุทธิมัคค สงเคราะห์ไว้ดังนี้

ในหมวด ศีลขันธ์ ได้แก่
ฉันธิบาท ๑ สัทธินทรีย์ ๑ สัทธาพละ ๑ สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ทั้ง ๖ นี้สงเตราะห์ลงใน ศีลขันธ์

นี่นำมากล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะให้เข้าใจว่า ในองค์ของศึลนั้น ที่จะประกอบในองค์มัคค ๘
ก็ยังมีโพธิปักขิยธรรม อีก ๖ องค์ ซึ่งจะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ถึงความสำเร็จผล

ศีลขันธ์ มีองค์มรรค อยู่ ๓ องค์คือ
(สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4768.jpg
Image-4768.jpg [ 33.3 KiB | เปิดดู 6895 ครั้ง ]
ในหมวดของสมาธิขันธ์
จะมีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ นี้ ที่ประกอบร่วมด้วยมีจำนวน ๒๕ องค์ด้วยกันดังนี้
สติปัฏฐาน ๔ สัมปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท ๑ จิตติทธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑ วิริยะพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ สติสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยะสัมโพชฌงค์ ๑
ปิติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑
สัมมวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ธรรมทัั้ง ๒๕ องค์นี้ สงเคราะห์ลงใน สมาธิขันธ์

สมาธิขันธ์ มีองค์อยู่ ๓ องค์ดังนี้

(สัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ,)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9267.jpg
Image-9267.jpg [ 34.55 KiB | เปิดดู 6880 ครั้ง ]
ในหมวด ปัญญาขันธ์
มีโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เกิดร่วม ๖ องต์ มีดังนี้ คือ
วิมังสิทธิบาท ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑
สัมมาทิฎฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ รวม ๖ องค์

ในปัญญาขันธ์มีองค๋อยู่ ๒ องค์ดังนี้

(สัมมาทิฏฐิ,สัมมาสังกัปปะ)

ปัญญา ทำหน้า ๕ อย่างดังนี้

๑. อิทธิบาท (วิมังสิทธิบาท)
๒. อินทรีบ์ (ปัญญินทรีย์)
๓. พละ (ปัญญาพละ)
๔. สัมโพชฌงค์ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์)
๕. มรรค (สัมมาทิฎฐิ)

วิตก ทำหน้าที่ ๑ อย่างดังนี้

๑.มรรค (สัมมาสังกัปปะ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็มาจาก ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งในวิสุทธิมัคค สงเคราะห์ไว้ดังนี้

ในหมวด ศีลขันธ์ ได้แก่ ฉันธิบาท ๑ สัทธินทรีย์ ๑ สัทธาพละ ๑ สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ทั้ง ๖ นี้สงเตราะห์ลงใน สมาธิขันธ์

นี่นำมากล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะให้เข้าใจว่า ในองค์ของศึลนั้น ที่จะประกอบในองค์มัคค ๘
ก็ยังมีโพธิปักขิยธรรม อีก ๖ องค์ ซึ่งจะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ถึงความสำเร็จผล


รบกวนแก้ไขด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนี้ ก็มาจาก ศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งในวิสุทธิมัคค สงเคราะห์ไว้ดังนี้

ในหมวด ศีลขันธ์ ได้แก่ ฉันธิบาท ๑ สัทธินทรีย์ ๑ สัทธาพละ ๑ สัมมาวาจา ๑
สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ทั้ง ๖ นี้สงเตราะห์ลงใน สมาธิขันธ์

นี่นำมากล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะให้เข้าใจว่า ในองค์ของศึลนั้น ที่จะประกอบในองค์มัคค ๘
ก็ยังมีโพธิปักขิยธรรม อีก ๖ องค์ ซึ่งจะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้ถึงความสำเร็จผล


รบกวนแก้ไขด้วยครับ


ขอบคุณครับ ที่ช่วยเตือนให้แก้ไข
ตัวอักษรผิดนิดหน่อยทุกอย่างจะเปลี่ยนหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม ย่อมประกอบพร้อมันทั้ง ๓๗ องค์
แต่ในบางกรณีก็เว้น ดังปรากฎในคาถาสังคหะที่ ๙ ว่า
๙. สพพฺ โลกุตฺตร โหนฺติ น วา สงฺกปฺปปีติโย
โลกิเยปิ ยถาโยคํ ฉพฺพิสุทฺธิปวตฺติยํฯ
แปลความว่า ในโลกุตตรจิต มี(โพธิปักขิยธรรม)ครบทั้งหมดทั้ง ๓๗ แต่ว่า
สังกัปปะกับปีติ บางที่ก็ไม่ประกอบ แม้ในโลกียวิสุทธิ ๖ (โพธิปักขิยธรรม)
ก็ประกอบเท่าที่ควรประกอบได้

มีความหมายว่า
๑. โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น โพธิปักขิยธรรมประกอบพร้อมกันครบทั้งหมดทั้ง ๓๗ องค์
๒. โลกุตตรจิตโดยพิสาร ๔๐ ซึ่งเป็นโลกุตตรจิตที่มีฌานประกอบด้วยนั้น

ก. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌาน ๘ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบครบหมดทั้ง ๓๗ ประการ
ข. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบกับตติยฌานอีก ๘ ดวง รวมเป็น ๑๖ ดวง
มีโพธิปักขิยธรรมประกอบครบหมดทั้ง ๓๖ ประการ โดยต้องเว้นสัมมาสังกัปปะ คือ วิตกเจตสิกเสีย ๑
ค. โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ๘ ดวง และที่ประกอบด้วยปัญจมฌาน ๘ ดวง
รวมเป็น ๑๖ ดวง มีโพธิปักขิยธรรมประกอบครบหมดทั้ง ๓๕ ดวงเท่านั้น ต้องเว้น ปีติ เพิ่มขึ้นอีก ๑ ดวง
รวมเว้นทั้ง วิตกและปีติ

๓. โลกียจิต มีรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง (เว้นปฐมฌาน ๓) และอรูปาวจรจิตทั้ง ๑๒ ดวง รวมเป็น ๒๔ ดวงนี้
วิตกเจตสิกไม่เข้าประกอบ
๔. โลกียจิตที่เป็นจตุตถฌาน ๓ และปัญจฌาน ๑๕ รวมเป็น ๑๘ ดวงนี้ ปีติ ไม่เข้าประกอบ
ก็ต้องเว้นปีติออกเสียอีก ๑ ด้วย
๕. แม้ในขณะที่โยคีบุคคลเจริญวิสุทธิ ๖ ประการ ซึ่งเป็นโลกียวิสุทธิอยู่นั้น โพธิปักขิธรรมเกิดได้ตามสมควร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว




coach-3070303_960_720.png
coach-3070303_960_720.png [ 269.96 KiB | เปิดดู 6842 ครั้ง ]
ลักษณะการต่อ การดำเนิน การเดินทางไป เรียกว่า อยู่บนมรรค (อยู่บนทาง) ซึ่งการต่อมาตามทางในลักษณะที่ต่อ ๆ มาด้วยรถหลาย ๆ ต่อ ได้มีการอธิบายไว้โดยพระปุณณมันตานีบุตร ใน รถวินีตสูตร(อ่านเพิ่มเติมในส่วนพระสูตร/เรื่องที่เกี่ยวข้อง)ว่า การที่เราจะไปถึงนิพพานมันเหมือนการต่อรถจากจุดนี้ ไปอีกต่อหนึ่ง ต่อจากจุดนี้ก็ยังต่อไปอีกต่อหนึ่ง ๆ จนให้มันถึงที่หมาย หรือที่ ๆ เราต้องการจะไปการต่อ ๆ ตรงนี้ได้กล่าวไว้ใน วิสุทธิ ๗ (อ่านเพิ่มเติมในส่วนพระสูตร/เรื่องที่เกี่ยวข้อง)

วิสุทธิ ๗ คือ การทำความบริสุทธิ์หมดจดที่จะเป็นขั้น ๆ ไปจนทำให้มรรคสมบูรณ์ขึ้น ทำให้ไตรสิกขาเต็มเปี่ยมขึ้น ทำให้อินทรีย์มีความแก่กล้าขึ้น ทำให้ถึงขั้นที่เป็นผล ทำให้บรรลุถึงนิพพานได้ แต่ละขั้นประกอบด้วย

ขั้นที่ ๑. สีลวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งศีล)- ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ หรือศีลตามสภาวะที่เราเป็นอยู่ รวมถึงศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิด้วย เช่น การสำรวมอินทรีย์ การรู้ประมาณในโภชนะที่ได้มา มีความสันโดษ มีการประกอบอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นต้น

ศีลถ้าเผื่อว่ายังทำไม่สมบูรณ์พอเพียง ก็จะไม่สามารถทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ สมาธิที่ถ้ายังตั้งไม่ได้ ไม่พอเพียง ปัญญามันก็จะไม่พอเพียง พอปัญญาไม่พอเพียงก็ยังไม่สามารถตัดกิเลส ตัดเครื่องร้อยรัดได้ ดังนั้นศีลต้องเต็มที่ สมาธิพอประมาณ และปัญญามีพอประมาณด้วย

ขั้นที่ ๒. จิตตวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งจิต) เป็นเรื่องของสมาธิในการที่จะทำจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ทำจิตให้บริสุทธิ์ ในช่องทางคือใจที่มีจิตอยู่นี้ ทุกอย่างจะไหลรวมมาอยู่ในใจของเรา

ศีลเป็นการรักษากาย และรักษาวาจา ตั้งแต่จิตตวิสุทธิไปเป็นส่วนของทางใจทั้งหมด ส่วนช่องทางทางใจเริ่มต้นรักษาที่จิตก่อน โดยฝึกตั้งสติสัมปชัญญะเอาไว้ ละนิวรณ์เครื่องกางกั้นต่าง ๆ ให้ได้ เข้าสู่เสนาสนะอันสงัด ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิทำมาดีพร้อม สำรวมอินทรีย์ สันโดษในเรื่องบริขารแห่งชีวิต อยู่หลีกเร้น

สมาธิทุกขั้นตั้งแต่ฌาน ๑ จนถึงฌาน ๔ จนถึง อรูปสัญญาสมาบัติในแต่ละขั้น ๆ จัดอยู่ในเรื่องของจิตตวิสุทธิ เป็นสมถะนั่นเอง


ขั้นที่ ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งทิฏฐิ)เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอริยสัจ ๔ นั่นเอง พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นทุกข์, เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ก็คือการวิปัสสนานั่นเอง

ให้เห็นตามความเป็นจริง เห็นเหตุเกิด เห็นความดีและความไม่ดีของมัน ให้มีความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง

ขั้นที่ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้) ข้ามพ้นความสงสัย (สงสัยในเรื่องกุศลธรรม สงสัยในเรื่องความดีความชั่ว สงสัยในเรื่องของผลกรรม) คือ การเข้าสู่โสดาบันในขั้นมรรค และถ้าก้าวข้ามผ่านพ้นความสงสัยนี้ไปได้แล้ว ก็จะเป็นโสดาปัตติผลนั่นเอง

คนที่จะข้ามพ้นตรงนี้ได้ จะต้องเริ่มมีความศรัทธาเต็มที่ เริ่มต้นนี้ที่จะข้ามพ้นได้ วิจิกิจฉามันจะละไปได้ คือ เริ่มมีคุณธรรมของโสตาปัตติยังคะ ๔ แล้ว

ขั้นที่ ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่จะให้รู้ว่า อะไรคือใช่ทาง อะไรคือมิใช่ทาง)ทางซ้ายที่จะเป็นสีลพัตตปรามาส การปฏิบัติชนิดที่ลูบคลำ ผิด ๆ ถูก ๆ มึน ๆ งง ๆ อ้อนวอนขอร้อง บนบานศาลกล่าวอย่างไม่มีเหตุไม่มีผล ศรัทธาแบบหัวเต่า หรือ ศรัทธาแบบงมงาย มันไม่ใช่ทางอย่าไป ให้ไปทางขวา คือ มรรค (ทาง)

ขั้นที่ ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนินไป)รู้ว่าอะไรเป็นทาง หรือไม่ใช่ทางแล้ว ก็ดำเนินตามทางนั้นไป การดำเนินไปตรงนี้คือ ได้ทำความเพียรแล้ว ในเรื่องศีล ศรัทธา ที่ข้ามพ้นความสงสัยนี้แล้ว

คนที่ปฏิบัติจามศีลจากไม่เต็มที่ ทำ ดำเนินให้มันเต็มที่ คือ ทำให้เต็มที่ในทุก ๆ ด้านในชีวิตของเรา เป็นอาชีวะของเรา ดำเนินให้บริสุทธิ์หมดจดครบทุกด้าน

ขั้นที่ ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ)จะทำให้เกิดผลได้ คือ โสดาปัตติมรรคก็ตาม โสดาปัตติผลก็ตาม มีคุณธรรมเดียวกันคือ โสตาปัตติยังคะ ๔ แต่ในความที่เป็นโสดาปัตติมรรค ยังตัดเครื่องร้อยรัด (สังโยชน์) ๓ อย่างไม่ได้ ยังกับกำเริบได้ เช่น มีศรัทธาแล้วก็เสื่อมศรัทธา มีศีลแล้วบางทีก็ไม่มีศีล ยังสามารถถูกกิเลสดึงกลับไปได้

เพราะฉะนั้นในวิสุทธิ สามารถแก้สีลพัตตปรามาสด้วยสีลวิสุทธิ, สักกายทิฏฐิก็แก้ด้วยการทำทิฏฐิวิสุทธิให้เกิดขึ้น, วิจิกิจฉาก็แก้ด้วยการทำกังขาวิตรณวิสุทธิให้เกิดขึ้น จึงสามารถเปลี่ยนจากมรรคมาเป็นผลได้ ไม่ใช่แค่โสดาปัตติมรรค ยังรวมถึงสกิทาคามีมรรค อนาคามีมรรค และอรหัตตมรรคด้วย ซึ่งมีเครื่องร้อยรัดที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ มาเป็นผลคืออนุปาทาปรินิพพาน (นิพพานที่ยังมีขันธ์อยู่) เป็นที่จุดจบตรงนี้ในการปฏิบัติในธรรมวินัยนี้อยู่ที่นิพพาน

เราทำให้มีการปฏิบัติมีความบริสุทธิ์เป็นขั้นเป็นตอนไป ประเด็นที่จะชี้ให้เห็นตรงนี้คือ ในขั้นที่จะเปลี่ยนจากมรรคมาเป็นผล ไม่ได้มีพุทธพจน์อะไรที่จะอธิบายจึงใช้ข้อความตรงนี้ที่พระสารีบุตรและพระปุณณมันตานีบุตรได้พูดคุยกัน เพื่อให้เห็นถึงความบริสุทธิ์เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งรายละเอียดที่มันละเอียดแล้ว ยังสามารถที่จะละเอียดลงไปได้อีก แยกแยะแจกแจงจากแค่ริมฝั่ง ให้มาถึงกลางกระแสแม่น้ำ ว่ามันมีรายละเอียดถึง ๗ ขั้นอย่างนี้ พอเรารู้อย่างนี้แล้วจะได้ไม่ท้อใจ จะได้รู้ขั้นตอน รู้เส้นทาง รู้ทางดำเนินแล้วเราก็ดำเนินไป ในการดำเนินไปของเรานี้ด้วยกำลังของศรัทธา ด้วยกำลังของศีลที่เรามี จะทำให้เรามีความก้าวหน้าขึ้นเป็นไปตามลำดับได้

เส้นทางมีอยู่ ไม่ยากเกินความสามารถขอให้เรามีความศรัทธามีความมั่นใจ ดำเนินไปตามเส้นทางนี้แล้ว จะสามารถทำความบริสุทธิ์ คือ วิสุทธิในแต่ละขั้นให้เกิดขึ้นได้

เวลาเราขึ้นรถ ต้องซื้อตั๋ว เขาไม่ให้ขึ้นรถฟรี ๆ ตั๋วที่เราต้องซื้อนั้น ทางที่จะไปให้ถึงนิพพาน คุณต้องซื้อด้วยอริยทรัพย์ ให้เรามีอริยทรัพย์ ศีล ศรัทธา หิริโอตัปปะ สมาธิ ปัญญา พวกนี้เป็นอริยทรัพย์ทั้งสิ้น ให้เราสร้างสมคุณธรรมเหล่านี้ให้มีเกิดขึ้นในใจ อย่าเป็นคนจนกระจอกเข็ญใจ แต่ให้เป็นคนที่มีทรัพย์อยู่ภายใน เป็นอริยทรัพย์ จะสามารถทำให้การดำเนินตามเส้นทางที่จะไปสู่นิพพานนั้นเกิดขึ้นได้แน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยสังคหะ
โพธิ แปลว่า รู้ มีความหมายถึง รู้การให้สิ้น อาสวะ คือรู้อรยสัจจ์ ๔
ในโพธิปักขิยสังคหะนี้ รวมหมายถึง รู้การทำจิตให้สงบ ถึงฌานด้วย
ปักขิยะ แปลว่า ที่เป็นฝ่าย
โพธิปักขิยธรรม จึงมีความหมายว่า ธรรมที่เป็นฝ่ายให้รู้ถึงฌาน และให้รู้ถึ งมรรค ผล
เลยแปลกันสั้นๆว่า ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้

โพธิปักขิยสังคหะ เป็นการรวบรวมธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้มาแสดงโดยย่อ
ดังมีคาถาสังคหะคาถาที่ ๖ และที่ ๗ ดังนี้
๖. ฉนฺโทจิตฺตมุเปกฺขา จ สทฺธา ปสฺสทฺธิปีติโย
สมฺมาทิฏฺฐิ จ สงฺกปฺโป วายาโม วิรติตฺตยํ ฯ
๗. สมฺมาสติ สมาธีติ จุทฺทเสเต สภาวโต
สตฺตตึสปฺปเภเทน สตฺตธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า ฉันทะ ๑ จิตตะ ๑ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ สัทธา ๑ ปัสสัทธิ ๑ ปีติ ๑
สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ วีรตี ๓ สัมมาสติ ๑ และสัมมาสมาธิ ๑
รวมสภาวธรรม(หรือ องค์ธรรม) ๑๔ นี้ มีธรรม ๓๗ ประการด้วยกัน และรวมได้เป็น ๗ กอง
นี้แหละเรียกว่า โพธิปักขิยสังคหะ

มีอธิบายว่า โพธิปักขิยธรรมสังคหะนี้ รวบรวมกล่าวถึง โพธิปักขิยธรรม ๗ กอง
เป็นธรรม ๓๗ ประการ จึงเรียกว่าโพธิขิยธรรม ๓๗ ในธรรม ๓๗ ประการนี้ เมื่อนับ
เฉพาะองค์ธรรม(ที่ซ้ำไม่นับ) ก็ได้องค์ธรรมหรือสภาวธรรม ๑๔ องค์

อีกนัยแสดงว่า องค์ธรรมมี ๑๕ โดยแยกปัสสัทธิ ๑ ออกเป็น ๒ คือ กายปัสสัทธิ ๑ และจิตปัสสัทธิ ๑
เมื่อนับแยกดังนี้จึงได้ ๑๕ ดังนี้
โพธิปักขิยสังคหะ ๗ กอง เป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ได้แก่
๑. สติปัฏฐาน มี ๔ ประการ
๒. สัมมัปปธาน มี ๔ ประการ
๓. อิทธิบาท มี ๔ ประการ
๔. อินทรีย์ มี ๕ ประการ
๕. พละ มี ๕ ประการ
๖. โพชฌงค์ มี ๗ ประการ
๗. มัคค มี ๘ ประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2019, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8206


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัปปธาน ๔ ที่เป็นโพธิปักขิยะ
สมฺมา ปทหนฺติ เอเตนาติ สมฺมปฺปธานานิ ฯ
ธรรมชาติที่เป็นความเพียรพยายามกระทำชอบนั้น ชื่อว่า สัมมัปปธาน
สัมมัปปธานกล่าวโดยความหมายที่ง่ายกว่าความจดจำก็ว่า ตั้งหน้าทำชอบ
คือ เพียรพยายามกระทำการงานที่ชอบธรรม


ความเพียรพยายามทำชอบที่ว่าจะจัดเข้าถึงสัมมัปปธานนั้น ต้องประกอบด้วย

ก. ต้องประกอบด้วยความเพียรอันยิ่งยวด แม้ว่า เนื้อจะแห้งไป คงเหลือแต่ หนัง เอ็น
กระดูกก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่บรรลุถึงธรรมอันพึงได้ ก็จะไม่ท้อถอยจากความเพียรนั้นเป็นอันขาด

ข. ต้องมีความเพียรพยายามอันยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า
ตั้งหน้าทำในโพธิปักขิยธรรมนี้ ธรรม ๔ ประการนี้ได้แก่ :-

๑. อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ปหานาย วายาโม ฯ เพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
๒. อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อนุุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามไม่ให้อกุศลที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น
๓. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ อุปฺปาทาย วายาโม ฯ เพียรพยายามให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ภิยฺโย ภาวาย วายาโม ฯ เพียรพยายมให้กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
ด้วยเหตุว่า ต้องเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในธรรม ๔ ประการ จึงได้ชื่อว่า สัมมัปปธาน ๔

จริงอยู่ อกุศลที่ดับไปแล้ว ย่อมดับไปแล้ว การที่จะลบล้างอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้สูญสิ้นไป
ย่อมไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้ การเพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปนั้น ในที่นี้มีความหมายว่า
อกุศลใดๆ ที่เคยได้กระทำแล้วก็จงอย่าไปนึกไปคิดถึงอกุศลนั้นๆอีก เพราะว่าการคิดการนึกขึ้นมาอีก
ย่อมทำจิตใจให้เศร้าหมอง อันก่อให้เกิดโทมนัส เดือดร้อนกระวนกระวายใจไม่มากก็น้อย
เมื่อจิตใจเศร้าหมองเดือดร้อน นั่นแหละได้ชื่อว่าจิตใจเป็นอกุศลแล้ว

ฉะนั้นประการต้น จะต้องไม่คิดไม่นึกถึงอกุศลที่เคยได้กระทำมาแล้ว คือ ละเสีย ลืมเสีย
ไม่เก็บมานึกคิดอึก จิตใจก็จะไม่เศร้าหมอง ประการต่อมาเมื่อจิตใจผ่องแผ้วไม่เศร้าหมองแล้ว
ก็ตั้งใจให้มั่นว่าจะไม่กระทำการอันใดที่เป็นอกุศลอีก ดังนี้จึงได้ชื่อว่าเพียรพยายามละอกุศล
ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ทั้งนี้มีมาใน วิภังคอรรถกถา แห่ง สัมโมหวิโนทนี

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อกุศลที่ได้กระทำมาแล้วนั้นที่ได้ผลมาแล้วก็มี ที่ยังไม่ให้ผล
เพราะยังไม่มีโอกาสให้ผลก็มี ที่จะอันตรธานสูญสิ้นไปเองไม่มีเลย แต่ชาติใด
มีความสามารถประหารสักกายทิฏฐิได้ด้วยสัมมัปปธาน ๔ นี้แล้ว ชาตินั้นแลได้
ได้ประหารได้ละอกุศลที่เคยทำมาแล้วโดยสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร