วันเวลาปัจจุบัน 09 ก.ย. 2024, 12:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2018, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4799.jpg
Image-4799.jpg [ 139.18 KiB | เปิดดู 9991 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

คัมภีร์มหาปัฏฐานนี้ ดิฉันจะขอแนะนำเฉพาะวิธีจดจำเป็นระบบให้จำได้เร็วขึ้นสะดวกขึ้นเท่านั้น
เพราะเนื้อหาที่มากมายที่จะใช้สอบนั้นเอง จึงต้องหาวิธีจำ

ปัจจยุทเทส 24 ปัจจัย

1. เหตุปัจจัย
2. อารัมมณปัจจัย
3. อธิปติปัจจัย
4. อนันตรปัจจัย
5. สมนันตรปัจจัย
6. สหชาตปัจจัย
7. อัญญมัญญปัจจัย
8. นิสสยปัจจัย
9. อุปนิสสยปัจจัย
10. ปุเรชาตปัจจัย

11. ปัจฉาชาตปัจจัย
12. อาเสวนปัจจัย
13. กัมมปัจจัย
14. วิปากปัจจัย
15. อาหารปัจจัย
16. อินทริยปัจจัย

17. ฌานปัจจัย
18. มัคคปัจจัย
19. สัมปยุตตปัจจัย
20. วิปปยุตตปัจจัย
21. อัตถิปัจจัย

22. นัตถิปัจจัย
23. วิคตปัจจัย
24. อวิคตปัจจัย

วิธีจำให้ได้ ๒๔ ปัจจัยนั้น เราจะใช้วิธีจำย่อสั้นๆ เป็นจังหวะไป จะจำตามที่อาจารย์ที่ท่านสอนอยู่ก็ได้ เช่น เห อา ธิ เป็นต้น

ต่อมาก็จำ อนันตระ สมนันตระ ก็จำไม่ยากเพราะชื่อเกือบจะเหมือนกันย่อว่า นํ สนํ
สหชาตะ กับอัญญะนั้นเกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว จำไม่ยากเช่นกัน
นิสสยะ อุปนิสสยะ ก็จำไม่ยากอีกเหมือนกันเพราะชื่อคล้ายๆ กันอีกเช่นเคย
ปุเร กับปัจฉา ก็ย่อว่า ปุ ฉา จำกันแบบง่ายๆ

แต่มีช่วงกลางๆ คนมักจะสับสนจำกันไม่ค่อยได้ ให้จำว่า อาเสวนปัจจัยอยู่ลำดับที่ 12 ให้ได้ก่อน แล้วผู้ที่เรียนมาถึงขั้นนี้ก็จะจำไม่ยากแล้วว่า วิถีจิตนั้นมีอาเสวปัจจัยคืออยู่ตรงที่ชวนะ ตรงนี้เป็นการกระทำกรรม เมื่อเข้าใจดังนี้ก็จำได้ไม่ยากกับประโยคที่จะให้จำต่อไปนี้ แต่อย่าเพิ่งไปคิดมากเอาเรื่องราวเอาความหมายของประโยคให้ยืดให้ยาว เอาแค่จำปัจจัยได้เป็นประโยคที่คล้องจองไปแค่นั้นก็พอ คือ

" อเสวนะก็ทำกรรมจึงได้รับวิปากเป็นอาหารดีอินทรีย์แข็งแรงทำฌานทำมัคได้ "
(เส กำ ปา หา อิน ฌา มัค)

แค่จำประโยคนี้ได้ก็ได้ตั้งแต่ปัจจัยที่ 12 - 18 โดยไม่สับสน

ต่อจากนั้นเราก็จำอีกจังหวะ คือ 19 - 20 สัม วิป
21 - 24 ก็จำไม่ยากแล้วเหลือแค่ ๔ ปัจจัย คือ อัตถิ นัตถิ ...วิคต วิคต (ถิ นัต วิ อะ)
ให้จำไว้ว่า 21 และ 24 นั้นเริ่มต้นคำด้วย อ

ย่อให้ดูเป็นตัวอย่่าง
เห อา ธิ
นํ สนํ
สะ อัญ นิส อุป
ปุ ฉา
เส กำ ปา หา อิน ฌา มัค
สัม วิป
ถิ นัต วิ อะ

บางครั้งตัวย่อนั้นก็ใช้เฉพาะตรงหัวข้อนั้น
ตัวย่ออาจเปลี่ยนตามเนื้อหาของหัวข้อก็ได้แล้วแต่ว่าช่วงนั้นเราจะย่ออย่างไรให้จำได้

เวลาจำนั้นไม่ใช่ว่าเรียงได้เท่านั้น แต่เมื่อถามด้วยหมายเลขขึ้นมาต้องจำได้แบบตอบได้ทันทีด้วย เช่น ถามปัจจัยที่ 14 ชื่อปัจจัยอะไรก็ต้องตอบได้ทันทีว่า วิปากปัจจัย
ถามปัจจัยที่ 8 ก็ต้องตอบได้ทันทีว่า นิสสยปัจจัย เป็นต้น

เมื่อท่องได้ครบ 24 ปัจจัยแล้ว

24 ปัจจัยนี้ยังมีปัจจัยพิศดารอีก ๑๐ ปัจจัย ดังที่ทำไว้เป็นสีแดงด้านบนนั้น
วิธีจำให้ครบปัจจัยพิศดาร 47 ปัจจัย ดังนี้ค่ะ

เริ่มแรกให้จำตัวเลขตรงนี้ให้แม่นยำก่อนว่า
ปัจจัยทีี่มีมากกว่า ๑ ปัจจัยมี ๑๐ ปัจจัย จำเฉพาะตัวเลขเท่านั้นให้ได้ก่อน คือ

3........8........9........10
13......15......16.......20 ... / 21......24

วิธีจำก็ไม่ยาก คือ จำเลข 3 ให้ได้ แล้วเขียนลงในกระดาษอย่างนี้ก่อน

3.......3
3


:b49: :b49: :b49:

แล้วก็จัดการ ต่อเติมเลขที่ตามหลัง 3 ตัวเริ่มต้น ต่อเติมอีกสองตัวหลังดังนี้ค่ะ
เลข 3 ที่อยู่บรรทัดเดียวกันก็ เติมเส้นให้เป็นเลข 8 (เลข 3 กับเลข 8 นั้นมีส่วนที่คล้ายกัน)
เลข 3 ที่อยู่บรรทัดล่างก็เติมเลข 1 ข้างหน้าให้เป็นเลข 13
(ดังนั้นการจำของเราจึงเริ่มต้นด้วยการจำเลข 3 ให้ได้)

3.......8
13

:b49: :b49: :b49:

ต่อมาก็เติมเลขรันกันต่อไปได้เลย คือ

3...8....9....10
13 ..............................เป็นอันว่าได้ตัวเลขมาแล้วถึง ๕ ปัจจัย

:b49: :b49: :b49:

ต่อจากนั้นก็ลงมาที่ข้างล่างเลข 10 เป็น 20 ดังนี้ค่ะ

3...8....9....10
13 ............20

เมื่อมาถึง 20 แล้ว ก็ขยับต่อไปง่ายๆ เลยคือเลข 21.....24

3...8....9....10
13 ............20 ... / 21......24

:b49: :b49: :b49:

ต่อจากนั้นก็ให้จำเลข 13 เป็นหลักว่า เราต้องข้ามตัวเลขไปจังหวะ
คือข้าม 14 ไปไม่เอา 14
แต่เอาเลขถัดไปคือ 15...แล้วก็ต่อด้วย..16

ทีนี้เติม 15.....16 ได้ก็เต็มจำนวน ๑๐ ปัจจัยที่ต้องการ

ค่อยๆ ไล่จำดูนะ ถ้าสอนกันตัวต่อตัว แป๊บเดียวรับรองว่าจำได้ไม่ยาก


3........8........9........10
13......15......16.......20 ... / 21......24



(กระทู้นี้อาจจะไม่ตรงกับจริตผู้เรียนท่านอื่น แต่ผู้ทำนั้นทำกระทู้นี้ไว้ทบทวนเองด้วย)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2018, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ในชั้นมหาเอกนี้ เราจะเรียน ปัจจัยพิศดาร ๔๗ ปัจจัย
จึงต้องท่อง ๒๔ ปัจจัยให้ได้ และทราบว่าปัจจัยใดบ้างที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัย ซึ่งก็มีอยู่ ๑๐ ปัจจัย
ดังที่ได้แนะนำวิธีท่องจำไปแล้วนั้น และจะมาดูว่าที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัยนั้นมีกันกี่ปัจจัยบ้าง
3........8........9........10
13......15......16.......20 ... / 21......24

ตัวเลขเหล่านี้ ปัจจัยที่ 3 คือ อธิปติปัจจัย เป็นต้น
ใน 24 ปัจจัยนั้น ห้ามเรียงสับกันเด็ดขาด ให้เรียงตามที่บทเรียนสอนอย่างเคร่งครัด
แล้วต้องจำให้ได้ด้วยว่า เลขใดคือปัจจัยใด

ปัจจัยที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัย มี ๑๐ ปัจจัย คือ
3. อธิปติปัจจัย
8. นิสสยปัจจัย
9. อุปนิสสยปัจจัย
10. ปุเรชาตปัจจัย
13. กัมมปัจจัย
15. อาหารปัจจัย
16. อินทริยปัจจัย
20. วิปปยุตตปัจจัย
21. อัตถิปัจจัย
24. อวิคตปัจจัย


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ทีนี้เราจะมาจำเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก คือ

3. อธิปติปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตาธิปติปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย

8. นิสสยปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

9. อุปนิสสยปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๒. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย

10. ปุเรชาตปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๒. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย

13. กัมมปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตกัมมปัจจัย
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย

15. อาหารปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. นามอาหารปัจจัย

16. อินทริยปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตินทริยปัจจัย
๒. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
๓. รูปชีวิตินทริยปัจจัย

20. วิปปยุตตปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

21. อัตถิปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตัตถิปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตัดถิปัจจัย
๓. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตัดถิปัจจัย
๕. อาหารัตถิปัจจัย
๖. อินทริยัตถิปัจจัย

24. อวิคตปัจจัย มี ปัจจัย คือ
๑. สหชาตอวิคตปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๓. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
๕. อาหารอวิคตปัจจัย
๖. อินทริยอวิคตปัจจัย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ทีนี้มาเรียงให้ท่องจำใหม่ ฝึกเขียนดังนี ( ฝึกเขียนเองไม่ต้องใส่ จุด...)

3(2).......8(3)........9(3)........10(2)

13(2)......15(2)......16(3).......20(4)... / 21(6)......24(6)

ใจร่มๆ อย่าเพิ่งกังวลเรื่องท่องชื่อปัจจัย
มาเขียนใส่จำนวนตัวเลขให้ได้ก่อนดีกว่า ดังตัวอย่างที่เป็นตัวเลขทั้งหมดด้านบนนี้
เดี๋ยวได้ท่องชื่อปัจจัยทั้งหมดนี้แน่นอนค่ะ :b4:

ลงมือเขียนฝึกซ้อมให้ชำนาญว่า ทั้ง ๑๐ ปัจจัยนี้ มีกี่ปัจจัย
เขียนสั้นๆแบบนี้ 3(2) แทนว่าปัจจัยที่ 3 มี 2 ปัจจัย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2018, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8167


 ข้อมูลส่วนตัว




15036171_1011940735602224_522324957351235050_n.jpg
15036171_1011940735602224_522324957351235050_n.jpg [ 172.9 KiB | เปิดดู 9993 ครั้ง ]
ภาพด้านบนนี้ คือ ปัจจัยพิศดาร ๕๒ ปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2018, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณลุงหมาน สำหรับภาพ ปัจจัยพิศดาร ๕๒ ปัจจัยค่ะ


ตอนนี้จะมาใส่ตัวย่อสำหรับตัวเลขใน( ) ให้จำตัวย่อไปก่อน อย่าเพิ่งใจร้อนนะคะ
แล้วคิดว่า ยังไม่เข้าใจอะไรแล้วจะให้มาจำได้อย่างไร
อย่าไปคิดเยอะ เพราะ
๑.พระอภิธรรมนั้นเรียนด้วยความขยันท่องก่อนความเข้าใจก็ได้
ขยันท่องจดจำ แล้วไปฟังคำอธิบาย จะเข้าใจแบบกระจ่างชัดเจน
(หรือบางครั้งท่องไปท่องมา ก็เกิดความเข้าใจขึ้นมาได้เองโดยไม่ต้องมีใครมาอธิบายให้ฟัง)
๒.หรือเรียนให้เข้าใจแล้วมาท่องจำในภายหลังก็ได้
อย่างไรก็ได้ขอให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามถนัดก็แล้วกัน
แต่ถ้าคิดจะเรียนแล้วไม่ขยันท่องจำ ก็อย่าหวังว่าจะจำอะไรได้ง่ายๆ

:b49: มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=3983&Z=3997

3(2).......8(3)........9(3)........10(2)

13(2)......15(2)......16(3).......20(4)... / 21(6)......24(6)


วิธีเขียนตัวเลขในวงเล็บ
เริ่มเขียน(2)ที่สามตัวแรก บรรทัดแรกและที่สอง คือเลข
3........10
13

ต่อมาเขียน (2)... (3).....(4)ที่บรรทัดที่สอง ตรงที่เลข
15....16.....20

แล้วก็เขียน (3) ที่บรรทัดแรก ตรงที่เลข
8.....9

ที่เหลือคือ (6) ที่บรรทัดสุดท้าย
21....24

หัดเขียนตามนี้ การจำทุกอย่างอย่างเป็นระบบ ฝึกมือไปเรื่อยๆ ก็จำได้แม่นยำไม่ลืมง่ายๆ ค่ะ

อาจจะมีคำถามเกี่ยวกับตัวเลขในวงเล็บเป็นข้อสอบ จำเป็นต้องรู้และจำได้ด้วย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

เพิ่มเติมรายละเอียดให้จำอีก คือตัวย่อของปัจจัย

3(2)สะ อา.....8(3)สะ วัตุ วัต....9(3)ณู รู ตู......10(2)วัตุ อา

13(2)สะ นา...15(2)รูป นาม....16(3)สะ ปุ รูป...20(4)สะ วัตุ วัต ปัจ

21(6)-24(6)สะ วัตุ อา ปัจ หา อิน

------------------------------
ปัจจัยที่ 3 และปัจจัยที่ 13 จำคล้ายๆ กัน คือ สะ อา ...สะ นา
ปัจจัยที่ 8 และปัจจัยที่ 20 นั้นจำคำย่อสามตัวแรกเหมือนกัน ให้จำไว้ว่าปัจจัยที่ 20 เพิ่ม ปัจ
ปัจจัยที่ 21และ 24 นั้นใช้คำย่อตัวเดียวกัน


หลักการจำ คือการเชื่อมโยงอะไรที่เหมือนกัน คล้ายกัน จับมาจำเชื่อมโยงกันให้ได้เพื่อสะดวกในการจำ
ถ้าคิดว่าจะท่องจำแบบเรียงไปตรงๆ แยกจากกัน จะจำยากมากๆๆๆๆๆๆ
เพราะเนื้อหานั้นมีให้จำมากมาย การจำได้ก็จะเรียนได้เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ


คำย่อนี้คืออะไร ยกตัวอย่างให้ดู เช่น
3(2)สะ อา

3. อธิปติปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตาธิปติปัจจัย .........สะ
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย........อา

เอาคำย่อเหล่านี้ไปเทียบดูตามหนังสือ หรือที่โพสที่ ๒ ข้างบนก็ได้ค่ะ

แต่ตรงนี้ยังไม่ต้องไปรีบจำชื่อเต็ม ให้จำชื่อย่อให้ได้ก่อนให้คล่อง จำแค่ชื่อย่อ สะ อา เป็นต้น
เพราะสำหรับคนที่เพิ่งเรียนใหม่ๆ รับรองว่าท่องชื่อเต็มจะยาก

และเมื่อท่องทั้งหมดนี้ได้แล้ว
3(2)สะ อา.....8(3)สะ วัตุ วัต....9(3)ณู รู ตู......10(2)วัตุ อา
13(2)สะ นา...15(2)รูป นาม....16(3)สะ ปุ รูป...20(4)สะ วัตุ วัต ปัจ
21(6)-24(6)สะ วัตุ อา ปัจ หา อิน

:b53: ตรงนี้ดิฉันจะจงใจย่อให้มีคำว่า รูป ถึง ๒ ปัจจัย
เพื่อสะดวกในการจำง่ายๆ อยู่กับปัจจัยใด ก็ขยายให้ตรงกับปัจจัยนั้น คือ
15 อาหารปัจจัย ก็เป็น รูปอาหารปัจจัย
16 อินทริยปัจจัย ก็เป็น รูปชีวิตินทริยปัจจัย

แล้วแต่ท่านจะย่อกันนะคะ ไม่ต้องย่อตามดิฉันก็ได้ จะใช้ตัวย่อใดตามแต่ถนัดจะจำกัน
แต่ถ้าใครยังไม่มีแนวทาง ก็จะเอาแนวนี้ไปใช้หรือไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับท่านก็ได้ ก็แล้วแต่นะคะ

------------------------------------------------------------------

ต่อจากนี้ให้ไปท่องที่ ชาติ ๙ อย่างให้คล่องก่อน
แล้วจะกลับมาแกะคำย่อเหล่านี้ได้เองโดยอัตโนมัติ


ปัจจัย ๒๔ หรือ พิศดาร ๔๗ ปัจจัย ได้แบ่งเป็น ชาติ มี ๙ ชาติดังนี้

๑. สหชาตชาติ
๒. อารัมมณชาติ
๓. อนันตรชาติ
๔. วัตถุปุเรชาตชาติ
๕. ปัจฉาชาตชาติ
๖. อาหารชาติ
๗. รูปชีวิตินทริยชาติ
๘. ปกตูปนิสสยชาติ
๙. นานักขณิกกัมมชาติ

ท่องจำ ๙ ชาตินี้ให้ได้ และจำนวนปัจจัยในแต่ละชาติ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2018, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ หรือ พิศดาร ๔๗ ปัจจัย ได้แบ่งเป็น ชาติ มี ๙ ชาติดังนี้

๑. สหชาตชาติ มี 15 ปัจจัย
๒. อารัมมณชาติ มี 8 ปัจจัย
๓. อนันตรชาติ มี 7 ปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตชาติ มี 6 ปัจจัย
๕. ปัจฉาชาตชาติ มี 4 ปัจจัย
๖. อาหารชาติ มี 3 ปัจจัย
๗. รูปชีวิตินทริยชาติ มี 3 ปัจจัย
๘. ปกตูปนิสสยชาติ มี 2 ปัจจัย
๙. นานักขณิกกัมมชาติ มี 1 ปัจจัย

(หาคำท่องย่อเอาเองด้วย เช่น สะ อา นํ วัตุ ปัจ หา รูป ปะ นา
หรือจะย่อว่า สะ อา นํ ถุ ฉา หา ชี ตู นา
จะย่ออะไรก็ได้ ตามแต่จะทำให้ท่านเองนั้นจำได้ค่ะ)


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

๑. สหชาตชาติ มี 15 ปัจจัย

การที่จะจำได้ครบทั้ง 15 ปัจจัยนั้น ควรจะไปสนใจตรงนี้ก่อนว่า
ใน 15 ปัจจัยนั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- ใหญ่ มี 4 ปัจจัย
- กลาง มี 4 ปัจจัย
- เล็ก มี 7 ปัจจัย

เริ่มท่อง ๑๕ ปัจจัยให้ได้ โดยท่องชื่อปัจจัยเต็มทั้งหมดให้ได้ก่อน
แล้วก็ท่องคำย่อไว้ด้วย


:b53: สหชาตชาติใหญ่ มี 4 ปัจจัย คือ
1. สหชาตปัจจัย................สะ
2. สหชาตนิสสยปัจจัย..........นิ
3. สหชาตัตถิปัจจัย..............ถิ
4. สหชาตอวิคตปัจจัย...........อะ

สังเกตให้ดี จะเห็นว่ามีคำว่า สหชาต นำหน้าทั้ง 4 ปัจจัย
ทั้ง ๔ ปัจจัยนี้จัดให้เป็นกลุ่มใหญ่เพราะมีองค์ธรรมครบ ๕ ข้อ
(ท่องย่อ คือ.... ใหญ่ 4 สะ นิ ถิ อะ)

-----------------------------------------

:b53: สหชาตชาติกลาง มี 4 ปัจจัย คือ
1. อัญญมัญญปัจจัย.............อัญ
2. วิปากปัจจัย...................ปา
3. สัมปยุตตปัจจัย...............สัม
4. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย................วิป

ไม่มีสหชาตะนำหน้า มี ๓ ปัจจัย
ทั้ง ๔ ปัจจัยนี้ มีองค์ธรรมไม่ครบ ๕ ข้อ
อย่างเช่น อัญญมัญญะ มีองค์ธรรมแค่ ๓ ข้อแรกเท่านั้นในองค์ธรรมทั้งหมด ๕ ข้อ เป็นต้น
(ท่องย่อ คือ.... กลาง 4 อัญ ปา สัม วิป)

-------------------------------------------

:b53: สหชาตชาติเล็ก มี 7 ปัจจัย คือ
1. เหตุปัจจัย....................เห
2. สหชาตาธิปติปัจจัย..........ธิ
3. สหชาตกัมมปัจจัย...........กํ (หรือใช้ย่อแค่ กัม ก็ได้)
4. นามอาหารปัจจัย............หา (อ่านว่า นามะอาหาระ)
5. สหชาตินทริยปัจจัย..........อิน
6. ฌานปัจจัย...................ฌา
7. มัคคปัจจัย...................มัค

บางปัจจัยก็มีคำว่า สหชาต นำหน้า
กลุ่มนี้จะมีองค์ธรรมเพียงบางส่วนเล็กน้อยปะปนอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของ ๕ ข้อนั้น
(ท่องย่อ คือ.... เล็ก 7 เห ธิ กํ หา อิน ฌา มัค)

----------------------------------------

ส่วนใหญ่ปัจจัยพิศดารจะเป็นอย่างนี้ คือ หน้าบอกชาติ หลังบอกปัจจัย
เช่น สหชาตาธิปติปัจจัย
หน้าบอกชาติ คือ สหชาตะ
หลังบอกปัจจัย คือ อธิปติ

การนำมาเรียงให้ครบสหชาตชาติ 15 ปัจจัยนั้น
ใช้เรียงตามลำดับตามแบบอย่างใน 24 ปัจจัย ทั้ง ๙ ชาติ

1. เหตุปัจจัย .....................1.เหตุปัจจัย
2. อารัมมณปัจจัย
3. อธิปติปัจจัย ...................2.สหชาตาธิปติปัจจัย
4. อนันตรปัจจัย
5. สมนันตรปัจจัย
6. สหชาตปัจจัย...................3. สหชาตปัจจัย...........(ปัจจัยที่เป็น ชื่อชาติ)
7. อัญญมัญญปัจจัย...............4. อัญญมัญญปัจจัย
8. นิสสยปัจจัย.....................5. สหชาตนิสสยปัจจัย
9. อุปนิสสยปัจจัย
10. ปุเรชาตปัจจัย
11. ปัจฉาชาตปัจจัย
12. อาเสวนปัจจัย
13. กัมมปัจจัย ....................6. สหชาตกัมมปัจจัย
14. วิปากปัจจัย ...................7. วิปากปัจจัย
15. อาหารปัจจัย...................8. นามอาหารปัจจัย
16. อินทริยปัจจัย..................9. สหชาตินทริยปัจจัย
17. ฌานปัจจัย ...................10. ฌานปัจจัย
18. มัคคปัจจัย ...................11. มัคคปัจจัย
19. สัมปยุตตปัจจัย ..............12. สัมปยุตตปัจจัย
20. วิปปยุตตปัจจัย ..............13. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
21. อัตถิปัจจัย ...................14. สหชาตัตถิปัจจัย
22. นัตถิปัจจัย
23. วิคตปัจจัย
24. อวิคตปัจจัย...................15. สหชาตอวิคตปัจจัย

นี่แค่เป็นการปูพื้นฐานให้ท่องจำเพื่อไปใช้ในการเรียน ยังมีให้ท่องจำอีกมากมายซะเหลือเกิน
นี่แหละหนาชีวิตนักอภิธรรมที่ไม่ค่อยมีใครกล้าย้ำกรายไปเรียน
ก่อนที่จะวิจารณ์นักอภิธรรมแบบเสียๆ หายๆ ลองสำรวจตัวเองดูก่อนว่าตนเองนั้น
มีอิทธิบาท ๔ แรงพอที่จะไปเรียนและสอบหรือไม่ ถามใจเธอดู

-------------------------------------------------

๒. อารัมมณชาติ มี 8 ปัจจัย คือ

1. อารัมมณปัจจัย ...............(ชื่อชาติ)
2. อารัมมณาธิปติปัจจัย
3. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
4. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
5. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
6. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
7. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
8. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

การจำได้ทั้ง ๘ ปัจจัย เรียงให้ถูกต้องนั้นไม่ใช่ง่ายๆ สำหรับอารัมมณชาติ
ไม่เชื่อลองจำดูทีละข้อเรียงไป จะรู้ว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าหาวิธีจำก็ได้จะจำได้ดีขึ้น
นี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีจำที่จะแนะนำ

:b53: วิธีท่อง ให้จำตรงนี้ก่อน
1. อา
2. อา
3. วัต
4. อา
5. อา
6. วัต
7. อา
8. อา


:b53: ข้อ 3 และข้อ 6 นั้นจำชื่อหน้าคู่นี้ให้ได้ก่อนว่า วัตถารัมมณปุเรชาตะ (เป็นทั้งวัตถุ, อารมณ์ และเกิดก่อน)
จำชื่อให้ได้ แล้วเปลี่ยนแค่ ชื่อปัจจัยหลังสุดเท่านั้น คือ นิสสยะ และ วิปปยุตตะ
เท่านี้ก็จำได้ถึงสองปัจจัยแล้ว

1. อา (ชื่อชาติ)
2. อา....................................ธิ
3. วัต..............ปุ / นิส
4. อา....................................ณู
5. อา..............ปุ
6. วัต...............ปุ / วิป
7. อา.............................ถิ
8. อา.............................อะ

:b53: จะต้องจำตำแหน่ง ข้อ 2 ว่าคือ ธิ ... ข้อ 4 คือ ณู ****จำชื่อย่อคู่นี้ไว้ให้แม่นยำ ธิ ณู
ธิ ก็เป็น..... อารัมมณาธิปติ , ส่วน ณู ก็เป็น.... อารัมมณูปนิสสยะ
หัดเขียนตามนี้ แล้วรับรองว่าจำได้ค่ะ
ข้อ 5 อา ก็ดึง ปุ ข้อ 3 มาใช้ ก็เป็น .......อารัมมณปุเรชาตะ
ข้อ 7 ,8 ก็เอา ข้อ 5 มาใช้ต่อ ก็เป็น ......อารัมมณปุเรชาตัตถิ
....................................................อารัมมณปุรชาตอวิคตะ

ฝึกหัดเขียนให้คล่อง เขียนไปท่องไป แล้วท่องออกเสียงดังให้ตัวเองได้ยินด้วย
รับรองว่าถ้าตั้งใจทำอย่างจริงจัง ท่องได้สบายมากค่ะ

----------------------------------------------

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2018, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมต้องมาแจกแจงวิธีการจำ

เพราะจากประสบการณ์ของตัวเองที่ติวให้เพื่อนๆ ปรากฏว่ายังมีหลายๆคนหาหลักการจำไม่ได้
การที่จะฟังได้เข้าใจ ต้องท่องจำเนื้อหาเหล่านี้ให้ได้ก่อนหรือท่องให้ได้พร้อมๆ กับเรียนไปด้วย
และถึงแม้จะจำได้แล้วก็ตาม แต่ก็พร้อมจะลืมได้ในเวลาอันรวดเร็วถ้าไม่ทบทวนบ่อยๆ ค่ะ

3. อนันตรชาติ มี ๗ ปัจจัย คือ

1. อนันตรปัจจัย
2. สมนันตรปัจจัย
3. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
4. อาเสวนปัจจัย
5. ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย
6. นัตถิปัจจัย
7. วิคตปัจจัย

---------------------------------
1. อนันตรปัจจัย ..........(ชื่อชาติ)
2. สมนันตรปัจจัย
3. อนันตรูปนิสสยปัจจัย...................................รู
4. อาเสวนปัจจัย............................เส
5. ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย......................ตู
6. นัตถิปัจจัย
7. วิคตปัจจัย

:b53: จำ ข้อ 1 และ 2 ควบไปเลย เพราะอนันตรชาติ ขึ้นข้อแรกก็ อนันตรปัจจัย
จำควบไปเลยคือ อนันตร สมนันตร

:b53: จำสองข้อสุดท้าย ข้อ 6 และ 7 คือ นัตถิ วิคตะ
ใน ๒๔ ปัจจัยนั้น สองข้อสุดท้ายนี้จะอยู่ติดกัน นัตถิ วิคตะ ชื่อปัจจัยทั้งสองมีแค่ตรงชาตินี้เท่านั้น

:b53: ที่นี้ก็มาจำตรงกลางชาติ คือ ข้อ 3 , 4 , 5 คือ รู เส ตู
ก็พยายามท่องชื่อปัจจัยทั้งสามนี้ให้ได้

5. ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ หมายเอาเฉพาะ มรรคเจตนาที่เป็นผู้อุปการะแก่ผลจิต ดังนั้น
ตรงนี้ไม่เอาวิถีจิตอื่นเลยนอกจากมรรควิถีเท่านั้น และต้องในส่วนที่เป็นชวนะ ได้แก่มรรคเจตนา--->ผลจิต...........ดังนั้นในการท่องปัจจัยนี้ก็ให้นึกถึง มรรคและผล ไว้ด้วยขณะท่อง

การท่องก็ท่องแบ่งเป็น ๓ ช่วงไปก่อน คือ ปกตูปนิสสยะ จำให้ได้ก่อน แล้วตามด้วย นานักขณิกกะ แล้วท่อง กัมมปัจจัย ต่อท้าย คือ ปกตูปนิสสย/นานักขณิก/กัมมปัจจัย

--------------------------------------------------

4. วัตถุปุเรชาตชาติ มี 6 ปัจจัย คือ

1. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
2. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
3. ปุเรชาตินทริยปัจจัย
4. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
5. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
6. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

----------------------------------

1. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย..............................นิส
2. วัตถุปุเรชาตปัจจัย.....................(ชื่อชาติ)
3........ ปุเรชาตินทริยปัจจัย.............อิน
4. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
5. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
6. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

:b53: จะเห็นว่าขึ้นต้นด้วย วัตถุปุเรชาตะ ๕ ปัจจัย ยกเว้นปัจจัยที่ ๓ ปุเรชาตินทริยะ
เวลาฝึกเขียนก็ให้เขียนข้อ ๓ เยื้องออกมาให้ตรงกับคำว่า ปุเรชาตะ ดังตัวอย่าง

:b53: วิธีท่อง ให้จำข้อ ๑ วัตถุปุเรชาตนิสสยะ ให้ได้แม่นยำก่อน
ข้อ ๒ ตัด นิสสยะ ออก เป็น วัตถุปุเรชาตะ
ข้อ ๓ ตัด วัตถุ ออก เป็น ......ปุเรขาตินทริยะ

:b53: ส่วนข้อที่เหลือ ถ้าท่องชาติที่ผ่านมาได้แล้ว อีก ๓ ข้อที่เหลือก็ไม่ยาก
เพราะ วิปปยุต อัตถิ อวิคตะ ทั้ง ๓ ปัจจัยนี้พ่วงกันมาเป็นชุดจนเสพคุ้นมามากพอสมควรแล้ว
และ วิปปยุต อัตถิ อวิคตะ ยังจะมากันเป็นชุดแบบนี้อีก ดังนั้นจำ ๓ ปัจจัยนี้ให้ได้แม่นๆ

การเรียนนัั้น ไม่ใช่ว่าจะใช้วิธีท่องๆๆ ให้คล่องปากอย่างเดียว ต้องหมั่นฝึกเขียนด้วยให้คล่องมือด้วย
คือ ต้องทำให้ได้หมด พูดได้แต่เขียนไม่ได้ ก็ยังไม่ได้เรื่อง
ต้องทั้งพูดได้เขียนได้ ถึงจะเรียกว่า ได้เรื่องได้ราวแล้ว

-------------------------------------------------

5. ปัจฉาชาตชาติ มี ๔ ปัจจัย คือ

1. ปัจฉาชาตปัจจัย
2. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
3. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
4. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

----------------------------
:b53: พอมาถึงตรงนี้ก็งานเบาลงแล้ว เพราะว่าที่ต้องจำแค่ชื่อชาติ ก็ได้ข้อ ๑ ด้วยทันที
และอีก ๓ ปัจจัยที่เหลือก็เสพคุ้นมาเยอะจนจำกันได้แล้วใช่หรือไม่ สำหรับ วิปปยุต อัตถิ อวิคตะ

1. ปัจฉาชาตปัจจัย ...................(ชื่อชาติ)
2. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
3. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
4. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

----------------------------------------------------------

6. อาหารชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

1. รูปอาหารปัจจัย
2. อาหารัตถิปัจจัย
3. อาหารอวิคตปัจจัย

------------------------------

:b53: ข้อ ๑ นี้คือ รูปอาหารปัจจัย
ที่ผ่านมาในชาติที่ ๑ คือ สหชาตชาติ นั้น สหชาตชาติเล็ก ๗ ปัจจัย มี นามอาหารปัจจัย
จึงต้องจำให้ดีว่า นามอาหารปัจจัย เป็นสมาชิกในสหชาตชาติ
ส่วน รูปอาหารปัจจัย เป็นสมาชิกในอาหารชาติ

:b53: อาหารชาติมี ๓ ปัจจัย ปัจจัยแรกเป็น รูปอาหารปัจจัย
ส่วนทีีเหลือก็ปัจจัยคุ้นเคยกันดีแล้วแต่มาแค่สอง คือ อัตถิ กับ อวิคตะ
คู่นี้ อัตถิ กับ อวิคตะ จำไว้แม่นๆ ว่า มีอีกในชาติที่ ๗ ต่อจากนี้ค่ะ
จำไปทีเดียวเลย ชาติที่ ๖ และ ๗ เพราะลักษณะการจำคล้ายๆ กัน คือ
ข้อ ๑ ชื่อชาติ ....ข้อ ๒ และ ๓ เป็นคู่นี้ อัตถิ กับ อวิคตะ ( 2อ )
( ย่อลงอีกก็ได้ ชาติที่ 6,7.. ชื่อชาติกับ2อ )

--------------------------------------------------------------

7. รูปชีวิตินทริยชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

1. รูปชีวิตินทริยปัจจัย
2. อินทริยัตถิปัจจัย
3. อินทริยอวิคตปัจจัย

---------------------------------------------------------------

8. ปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย คือ

1. สุทธปกตูปนิสสยปัจจัย
2. มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย

---------------------------------

:b53: ท่องย่อลงหน่อยก็คือ สุทธะ และ มิสสกะ
ข้อ ๑ มีเพิ่มจากชื่อชาติข้างหน้าคือ สุทธะ เหมือนเดิมที่เคยเห็น คือจำชื่อชาติได้ก็จะจำข้อ ๑ ได้
และข้อ ๒ ถ้าจำได้จะเห็นว่า ปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย คุ้นชื่อกันแล้วเพราะเป็นชื่อปัจจัยที่อยู่ในชาติที่ ๓ คือ อนันตรชาติ เพียงแต่ในปกตูปนิสสยชาตินี้จำเพิ่มขึ้นมาอีกคำ คือ มิสสกะ เป็น มิสสกปกตูปนิสสยนานักขณิกกัมมปัจจัย

----------------------------------------------------------------------

9. นานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย คือ

๑. นานักขณิกกัมมปัจจัย

:b53: แทบจะไม่ต้องท่องมากมายเพราะชื่อเดียวกับชื่อชาติ
และคำๆ นี้ก็ถูกท่องมาอย่างคล่องแล้วในการท่องปัจจัยที่ผ่านๆ มา

จบนะคะ การจดจำชื่อ ๙ ชาติ
มีอยู่ ๒ ปัจจัยใน ๙ ชาตินี้ ที่มีการนับรวมไปอยู่กับปัจจัยที่เป็นพวกเดียวโดยปริยาย
ตอนนี้ท่องไปก่อน เมื่อเรียนกับอาจารย์ที่ท่านเรียนอยู่ท่านจะเข้าใจได้เองค่ะ

เมื่อท่อง ๙ ชาติได้แล้ว จะพากลับไปที่ ปัจจัยที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัย มี ๑๐ ปัจจัย คือ

3(2)สะ อา.....8(3)สะ วัตุ วัต....9(3)ณู รู ตู......10(2)วัตุ อา
13(2)สะ นา...15(2)รูป นาม....16(3)สะ ปุ รูป...20(4)สะ วัตุ วัต ปัจ
21(6)-24(6)สะ วัตุ อา ปัจ หา อิน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2018, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลามีใครตาย เราก็ไปนั่งฟังสวดพระอภิธรรมตอนหัวค่ำที่วัด
นั่งฟังกันไปนั้น พระท่านสวดไม่กี่นาทีก็จบ ๑ ครั้ง ฟังกันไป พระที่สวดก็สวด คนฟังก็ฟัง มีเพียงศรัทธาจะหาคนมีปัญญาแปลได้ทันคำสวดนั้น ก็คงหายากยิ่งนัก
เมื่อเราอยากจะทราบเนื้อหาที่อยู่ข้างในบทสวดทั้งหมดจริงๆ อย่างละเอียด เอาแค่เรียนครั้งเดียวผ่าน
เราต้องเรียนไปหลายชาติ ตายแล้วเกิดใหม่มาเรียนต่อไปอีก ชาติแล้วชาติเล่า
ขนาดเรียนแค่เศษเสี้ยวเล็กๆ ของบทสวดพระอภิธรรม ที่เรียนกันอยู่นี้ ก็เรียนกัน ๗ ปีครึ่ง
และยังเรียนไม่ครบทุกคัมภีร์ในบทสวดพระอภิธรรมด้วยค่ะ
สำหรับคัมภีร์ปัฏฐาน ต่อให้เกิดมาแล้วเริ่มเรียนคัมภีร์นี้ หมดอายุมนุษย์ก็ยังเรียนไม่จบ
ที่พวกเราได้เรียนกันนี้ในหลักสูตร ๗ ปีครึ่งนั้นเป็นแค่เพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ ของคัมภีร์นี้เท่านั้นค่ะ

บทสวดพระอภิธรรมที่ฟังกันในงานสวดศพนั้นมีอยู่มาเนิ่นนานแล้ว
แต่เนื้อหาในบทสวดนั้นมีใครอยากจะรู้อยากจะเข้าใจบ้างเอ่ย หรือจะฟังกันต่อไปแบบไม่รู้อะไรเลย
แม้ได้รู้ในเศษเสี้ยวเล็กๆ ก็ยังดี ดีกว่าตายไปอย่างคนไม่เคยรู้เลยใช่หรือไม่คะ
ถ้าตอบว่าใช่ ขอเชิญไปเรียนพระอภิธรรมกันค่ะ รับรองว่าจะเกิดความดีใจว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นคน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

การท่องจำแบบย่อๆ เพื่อไปขยาย และเมื่อท่องจำ ๙ ชาติได้แม่นยำ ก็จะไม่ยากแล้วกับการขยายคำย่อใน ๑๐ ปัจจัยเหล่านี้

ปัจจัยที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัยมี ๑๐ ปัจจัย (แบบย่อ)

3(2)สะ อา.....8(3)สะ วัตุ วัต....9(3)ณู รู ตู......10(2)วัตุ อา
13(2)สะ นา...15(2)รูป นาม....16(3)สะ ปุ รูป...20(4)สะ วัตุ วัต ปัจ
21(6)-24(6)สะ วัตุ อา ปัจ หา อิน

ชื่อปัจจัยพิศดาร โดยส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ คือ ชื่อปัจจัยหน้าบอกชาติ ชื่อปัจจัยหลังบอกปัจจัย

:b53: ปัจจัยที่มีมากกว่า ๑ ปัจจัยมี ๑๐ ปัจจัย
(๑.)
3. อธิปติปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตาธิปติปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

(๒.)
8. นิสสยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตนิสสยปัจจัย ........................เป็นสหชาตชาติ
๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

(๓.)
9. อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ
๑. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
๒. อนันตรูปนิสสยปัจจัย........................เป็นอนันตรชาติ
๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย........................เป็นปกตูปนิสสยชาติ

(๔.)
10. ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. วัตถุปุเรชาตปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๒. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

(๕.)
13. กัมมปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตกัมมปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย........................เป็นนานักขณิกกัมมชาติ

(๖.)
15. อาหารปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
๑. รูปอาหารปัจจัย........................เป็นอาหารชาติ
๒. นามอาหารปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ

(๗.)
16. อินทริยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตินทริยปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
๒. ปุเรชาตินทริยปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๓. รูปชีวิตินทริยปัจจัย........................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

(๘.)
20. วิปปยุตตปัจจัย มี ๔ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
๒. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
๔. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นปัจฉาชาตชาติ

(๙.)
21. อัตถิปัจจัย มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตัตถิปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
๒. วัตถุปุเรชาตัดถิปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๓. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
๔. ปัจฉาชาตัดถิปัจจัย........................เป็นปัจฉาชาตชาติ
๕. อาหารัตถิปัจจัย........................เป็นอาหารชาติ
๖. อินทริยัตถิปัจจัย........................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

(๑๐.)
24. อวิคตปัจจัย มี ๖ ปัจจัย คือ
๑. สหชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
๒. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
๓. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย................เป็นอารัมมณชาติ
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นปัจฉาชาตชาติ
๕. อาหารอวิคตปัจจัย.......................เป็นอาหารชาติ
๖. อินทริยอวิคตปัจจัย.......................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

---------------------------------------------------------------
ปัจจัย ๒๔
1. เหตุปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
2. อารัมมณปัจจัย .......................เป็นอารัมมณชาติ
3. อธิปติปัจจัย
4. อนันตรปัจจัย .......................เป็นอนันตรชาติ
5. สมนันตรปัจจัย .......................เป็นอนันตรชาติ
6. สหชาตปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
7. อัญญมัญญปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
8. นิสสยปัจจัย
9. อุปนิสสยปัจจัย
10. ปุเรชาตปัจจัย

11. ปัจฉาชาตปัจจัย .......................เป็นปัจฉาชาตชาติ
12. อาเสวนปัจจัย.......................เป็นอนันตรชาติ
13. กัมมปัจจัย
14. วิปากปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
15. อาหารปัจจัย
16. อินทริยปัจจัย

17. ฌานปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
18. มัคคปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
19. สัมปยุตตปัจจัย.......................เป็นสหชาตชาติ
20. วิปปยุตตปัจจัย
21. อัตถิปัจจัย
22. นัตถิปัจจัย ...........................เป็นอนันตรปัจจัย
23. วิคตปัจจัย ...........................เป็นอนันตรปัจจัย
24. อวิคตปัจจัย
---------------------------------------------------------

ปัจจัยพิศดาร 47 ปัจจัย
(ตัวเลขไทย ๑ - ๒๔ ที่อยู่ในช่วงกลางแต่ละบรรทัดนั้นคือ ๒๔ ปัจจัย และ ๙ ชาติ)

1. เหตุปัจจัย ...........๑.........เป็นสหชาตชาติ
2. อารัมมณปัจจัย ........๒........เป็นอารัมมณชาติ

...............................(๓. อธิปติปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ)
3. สหชาตาธิปติปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
4. อารัมมณาธิปติปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

5. อนันตรปัจจัย ..........๔.............เป็นอนันตรชาติ
6. สมนันตรปัจจัย ...........๕............เป็นอนันตรชาติ
7. สหชาตปัจจัย ................๖.......เป็นสหชาตชาติ
8. อัญญมัญญปัจจัย ...............๗......เป็นสหชาตชาติ

...............................(๘. นิสสยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ)
9. สหชาตนิสสยปัจจัย ........................เป็นสหชาตชาติ
10. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
11. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

.................................(๙. อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ)
12. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
13. อนันตรูปนิสสยปัจจัย........................เป็นอนันตรชาติ
14. ปกตูปนิสสยปัจจัย........................เป็นปกตูปนิสสยชาติ

.................................(๑๐. ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ
15. วัตถุปุเรชาตปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
16. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ

17. ปัจฉาชาตปัจจัย ..........๑๑.............เป็นปัจฉาชาตชาติ
18. อาเสวนปัจจัย................๑๒.......เป็นอนันตรชาติ

...................................(๑๓. กัมมปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ)
19. สหชาตกัมมปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
20. นานักขณิกกัมมปัจจัย........................เป็นนานักขณิกกัมมชาติ

21. วิปากปัจจัย ..............๑๔.........เป็นสหชาตชาติ

................................(๑๕. อาหารปัจจัย มี ๒ ปัจจัย คือ)
22. รูปอาหารปัจจัย........................เป็นอาหารชาติ
23. นามอาหารปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ

.................................( ๑๖. อินทริยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย คือ)
24. สหชาตินทริยปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
25. ปุเรชาตินทริยปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
26. รูปชีวิตินทริยปัจจัย........................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

27. ฌานปัจจัย ...............๑๗........เป็นสหชาตชาติ
28. มัคคปัจจัย .................๑๘......เป็นสหชาตชาติ
29. สัมปยุตตปัจจัย...............๑๙........เป็นสหชาตชาติ

.................................( ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย มี ๔ ปัจจัย คือ)
30. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
31. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
32. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
33. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย........................เป็นปัจฉาชาตชาติ

....................................(๒๑. อัตถิปัจจัย มี ๖ ปัจจัย คือ)
34. สหชาตัตถิปัจจัย........................เป็นสหชาตชาติ
35. วัตถุปุเรชาตัดถิปัจจัย........................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
36. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย........................เป็นอารัมมณชาติ
37. ปัจฉาชาตัดถิปัจจัย........................เป็นปัจฉาชาตชาติ
38. อาหารัตถิปัจจัย........................เป็นอาหารชาติ
39. อินทริยัตถิปัจจัย........................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

40. นัตถิปัจจัย ............๒๒...........เป็นอนันตรชาติ
41. วิคตปัจจัย ..............๒๓.........เป็นอนันตรชาติ

...............................(๒๔. อวิคตปัจจัย มี ๖ ปัจจัย คือ)
42. สหชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นสหชาตชาติ
43. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ
44 . อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย................เป็นอารัมมณชาติ
45. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย .......................เป็นปัจฉาชาตชาติ
46. อาหารอวิคตปัจจัย.......................เป็นอาหารชาติ
47. อินทริยอวิคตปัจจัย.......................เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

-------------------------------------------------------------------------------

ทีนี้เราจะมาดูว่า เวลาเราสวดคัมภีร์ปัฏฐานนั้น ปัจจัยพิศดารเหล่านี้อยู่ในพระบาลีข้อใดบ้างในบทสวด
ขอยกตัวอย่างแค่ปัจจัยเดียว เช่น ปัจจัยที่ ๓. อธิปติปัจจัย
- พระบาลีข้อ ๑ - ข้อ ๔ เป็น สหชาตาธิปติปัจจัย
- พระบาลีข้อ ๕ เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย
เป็นต้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2018, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของทั้ง ๔๗ ปัจจัย
มีมากมายตั้ง ๔๗ ปัจจัย จะจำกันอย่างไรดีให้จำได้
ถ้าดูๆ แล้วยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ตรงนี้ก็เรียนแล้วมาดูใหม่อีกทีก็ได้
แต่ถ้าขยันจะจำก่อนก็ได้ เพราะก็เคยเรียนผ่านมาแล้วทั้งนั้นแหละ

การที่จะจำได้นั้น ต้องจัดระเบียบในการจำสักเล็กน้อย จับที่เหมือนกันมาจำด้วยกันทีเดียวพอ

ให้จำองค์ธรรมแบบแบ่งเป็นชาติในแต่ละชาติไป ดังนี้
(ย่ออีกตามเคยนะคะ)

เทียบดูกับหนังสือแบบเรียนกันนะคะ เห็นย่อก็จะเข้าใจกันได้
เพราะก็เคยเรียนกันมาแล้วตอนมัช-โท

๑ สหชาตชาติ

:b53: จำสหชาตชาติใหญ่ 4 ก่อน (สะ นิ ถิ อะ)
มีองค์ธรรม 5 ข้อ

1. 89.52 <---> 89.52
2. ม.4 <---> ม.4
3. 15.35 หัวใจ <---> 15.35 หัวใจ
4. 75.52 ---> จิรุ , ปกํ
5. ม. 4 ----> อุป.24

---------------------------------------------------

:b53: จำสหชาตชาตกลาง 4 (อัญ ปา สัม วิป)
ก็จะได้แค่องค์ธรรมบางข้อในสหชาตชาติใหญ่ด้านบน

- อัญ ข้อ 1, 2, 3
- ปา ข้อ 1, 3, 4
- สัม ข้อ 1
- วิป ข้อ 3 , 4

:b53: อย่านึกว่า ปา นั้นมาเต็มๆ ข้อนะคะ
ปา ย่อมาจาก วิปากปัจจัย ชื่อก็บอกแล้วว่าคือ วิปากจิต
ดังนั้น ข้อ 1 จะเอามาทั้งหมดคือ จิต 89 ไม่ได้
วิปาก ก็ต้องยกวิปากจิตออกมาโชว์เป็นปัจจัย ถึงจะได้อำนาจปัจจัย คือ วิปากปัจจัย
ถ้ายก วิปากจิต 36.38 เป็นปัจจัย ถึงจะได้อำนาจปัจจัย คือ วิปากปัจจัย
ข้อ 3 ไม่มีปัญหา เพราะ 15.35 เป็นวิปากปฏิสนธิจิต ไม่มีปัญหาอะไร โชว์วิปากอยู่แล้ว
ข้อ 4 นั้น ก็เหมือนข้อ 1จะต้องยกวิปากจิตออกมาเป็นปัจจัยก่อน ถึงจะได้อำนาจปัจจัย คือ วิปากปัจจัย

องค์ธรรมของวิปากปัจจัย อยู่ใน ๓ บ้อนี้
และในส่วนของจิตแต่ละข้อ ให้ยกมาเฉพาะส่วนที่เป็นวิปากจิต เท่านั้น
1. 89.52 <---> 89.52 ...................ยก วิ.36.38
3. 15.35 หัวใจ <---> 15.35 หัวใจ..........จิตเป็นวิปากจิตอยู่แล้ว
4. 75.52 ---> จิรุ , ปกํ.................ยกได้แค่ วิ.22 (เพราะ 75 ได้เว้น ทวิ.10,อรูปวิ.4 แล้ว)


:b53: ในบทนิทเทสนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดง วิปากปัจจัย คือ นาม ช่วย นาม องค์ธรรมได้แก่
วิ.36.38 <---> วิ.36.38
เป็นการแสดงโดย สาวเสสนัย คือ เทสนานัยที่ยังมีเนื้อความเหลืออยู่
ดูหนังสือแบบเรียนหน้าที่ ๑๐๘
(อ่านว่า สา-วะ-เส-สะ-นัย)

:b53: ส่วนในปัญหาวารวิภังค์ พระพุทธองค์ทรงแสดง วิปากปัจจัย คือ นาม ช่วย นามรูป องค์ธรรมได้แก่
วิ.36.38 <----> วิ.36.38
..............-----> จิรุ , ปกํ

องค์ธรรมของวิปากปัจจัย ที่เป็นส่วนของปัญหาวารวิภังค์ นั้น หทยวัตถุ(หัวใจ) หายไปไหน
หทยวัตถุ ไม่ได้หายไปไหน แต่รวมอยู่ใน ปฏิสนธิกัมมชรูป หรือที่ย่อว่า ปกํ
เพราะหทยวัตถุ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม

ไหนก็พูดมาจนเกือบหมดแล้วในปัญหาวารวิภังค์ก็โดดมาพูดกันต่อเลยก็ได้ว่า
ในปัญหาวารวิภังค์นั้น อพฺ - อพฺ ได้แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ปวัตติกาล และ ปฏิสนธิกาล

------------------------------------------------------------

:b53: วิป ตรงจุดนี้ย่อมาจาก สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
พระบาลีข้อที่ ๑ และ ๒ ของวิปปยุตตปัจจัยนั้น ได้อำนาจปัจจัย คือ สหชาตวิปปยุตตปัจจัยทั้งสองข้อ
ทำความเข้าใจเรื่ององค์ธรรมเสียแต่เนิ่นๆ ตรงนี้เลยคือ

พระบาลีข้อ ๑ นั้น คือ รูป ช่วย นาม ดังนั้นจึงได้องค์ธรรมในข้อ3 เพียงแค่ครึ่งเดียว คือ
( ข้อ 3. ) หัวใจ ----> 15.35
ส่วนอีกครึ่งข้อ คือ 15.35 ----> หัวใจ องค์ธรรมส่วนนี้เป็น นาม ช่วย รูป จะต้องไปอยู่พระบาลีข้อที่ ๒ ของวิปปยุตตปัจจัย

พระบาลีข้อ ๒ นั้น คือ นาม ช่วย รูป จึงมีองค์ธรรมของสหชาตชาติใหญ่ ข้อ 3 มารวมอยู่ด้วยครึ่งข้อหลัง
( ข้อ 3.) 15.35 ----> หัวใจ
( ข้อ 4.) 75.52 ---> จิรุ , ปกํ

----------------------------------------

:b53: สหชาตชาติเล็ก 7 ปัจจัย ( เห ธิ กํ หา อิน ฌา มัค )

เห...........ธิ.............กํ..............หา............อิน...........ฌา............มัค

วิธีการจำองค์ธรรม

- จับคู่ เห มัค มาจำพร้อมกัน.....................จำปัจจัยแรกสุด และหลังสุดก่อน
จะมีองค์ธรรมของปัจจยุปบันเกือบๆจะเหมือนกัน ต่างกันนิดเดียวตรงที่ เห มีเว้น โม--->โม2

เหตุ6 ----------> สเห. 71 . 52 (-โม--->โม2) , สเห.จิรุ, สเห.ปกํ
องค์มรรค 9 ---> สเห. 71 . 52 , ....................สเห.จิรุ, สเห.ปกํ

----------------------------------------

- จำรวมไปพร้อมๆ กันอีก ๓ ปัจจัย คือ กํ หา อิน

เจตนา89 --------------> 89 . 51 (-เจตนา) จิรุ, ปกํ
นามอาหาร อธ.3 -------> 89 . 52............ จิรุ, ปกํ
นามอินทรีย์ อธ.8 -------> 89 . 52 ........... จิรุ, ปกํ
--------------------------------------------
องค์ฌาน 5 ------------> 79 . 52 ............. จิรุ, ปกํ

อธิบดี อธ.4 ------------> สาธิ .ชวนะ 52 (-โม2,หสิ1) เจ.51 , สาธิ.จิรุ

- ที่เหลือ คือ ธิ ฌา ที่แสดงองค์ธรรมไว้ด้านบน เพื่อให้จำต่อเนื่องจาก กํ หา อิน

อธิบดีองค์ธรรม 4
- ฉันทาธิปติ -------> สาธิ .ชวนะ 52 เจ.50 (-โม2,หสิ1/ฉันทะ,วิจิ) , สาธิ.จิรุ
- วิริยาธิปติ --------> สาธิ .ชวนะ 52 เจ.50 (-โม2,หสิ1/วิริยะ,วิจิ) , สาธิ.จิรุ
- จิตตาธิปติ -------> ..................เจ.51 (-วิจิ) , ................. สาธิ.จิรุ
- วีมังสาธิปติ ------> ติเหตุกชวนะ 34 เจ.37 (-ปัญญา) ,............ สาธิ.จิรุ

-----------------------------------------------------------

ทุกองค์ธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปท่องพระบาลีและคำแปล ต้องท่องสำนวนไทยของแต่ละปัจจัยให้ได้ด้วย เมื่อแปลได้ก็จะได้องค์ธรรมด้วย เช่น
พระบาลีและคำแปลของ เหตุปัจจัย

เหตู --> เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฺฐานานญฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย.

เหตุ ๖ เป็นปัจจัยคือช่วยอุปาระแก่สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับเหตุ๖ (เว้นโมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต๒)และ สเหตุกจิตตชรูป สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป ที่มี เหตุ๖ และ สเหตุกจิตตุปบาท เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย
---------------------------------------------------------------------

เหตุ ๖ ---> สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับเหตุ๖ (เว้นโมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต๒)
และ สเหตุกจิตตชรูป สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป ที่มี เหตุ๖ และ สเหตุกจิตตุปบาท เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย

อย่าลืมคำเหล่านี้
ที่ประกอบกับ........
และ.......(รูป)....ที่มี.............เป็นสมุฏฐาน

ตัวปัจจัยต้องรู้ว่ามีอะไรบ้าง เช่น เหตุ๖ ก็ต้องรู้และท่องได้ว่าเหตุ ๖ มีอะไรบ้าง
อธิบดีองค์ธรรม ๔ มีอะไรบ้าง
นามอาหารองค์ธรรม ๓ มีอะไรบ้าง เป็นต้น







:b53: ที่แนะนำมาทั้งหมดนี้ ทำให้ท่องจำ และ ฝึกเขียนได้จริง
และเมื่อทำครบ ๙ ชาติแล้ว นำทั้งหมดมาเขียนอยู่ในกระดาษ A4 แผ่นเดียวพอ เพื่อสะดวกในการทบทวน






-----------------------------------------------------------------------------------------

เป็นไงบ้างคะ ไม่เข้าใจ หยิบหนังสือมาดูประกอบ แล้วก็อ่านวนไปค่ะ


ถ้าตอนที่ยังทำไม่จบ ดูแล้วงงๆ ให้กลับมาดูใหม่เมื่อโพสนั้นทำเสร็จแล้วอีกครั้งนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2018, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อารัมมณชาติ มี ๘ ปัจจัย จำองค์ธรรมแบบย่่อให้ได้เพื่อสะดวกในการท่องจำ
ย่อแล้วขยายให้ถูกต้องด้วยนะคะ

อา.
89.52 , 28 นิพ บัญ -----> 89.52

ธิ , ณู
อิฏฐนิป 18 , 84.47 นิพ------> 8, 8,4,8.45

ปุ.3
นิป 18 ------------> 54 , 2.50 (-อัป)

วัตถา2
หทย ---------------> 1, 29, 11, 2 .44


---------------------------------------------------------------------

๓. อนันตรชาติ มี ๗ ปัจจัย (เรียน ๖ ปัจจัย)

นํ5
89.52 ก่อน----------->89.52 หลัง

อาเส
โลกียช. 47.52----------->ช. 51 (-ผล4).52 หลัง

-----------------------------------------------------------------------

๔. วัตถุปุเรชาตชาติ มี ๖ ปัจจัย

วัตถุ (กลุ่ม5)
วัตถุ 6 ก่อน+ตั้ง --------------> 85.52( -อรูปวิ.4) หลัง

ปุเร
ปสาทรูป 5 -----------------> ทวิ.10 .7

------------------------------------------------------------------------

๕ . ปัจฉาชาตชาติ มี ๔ ปัจจัย

85.52 ( -อรูปวิ.4) หลัง ---------------> จตุสมุฏฐานิกรูป ก่อน+ตั้ง

------------------------------------------------------------------------

๖. อาหารชาติ มี ๓ ปัจจัย

คำๆ / ของกิน --------------> จตุสมุฏฐานิกรูป (รูปที่เหลือกลาปเดียวกันและรูปกลาปอื่น)

จตุสมุฏฐานิกโอชา(อัชฌัตตะ) ------> จตุสมุฏฐานิกรูป (รูปที่เหลือกลาปเดียวกันและรูปกลาปอื่น)
อุตุชโอชา(พหิทธะ)

---------------------------------------------------------------------

๗. รูปขีวิตินทริยชาติ มี ๓ ปัจจัย

รูปชีวิตินทรีย์ --------------> กํชรุ.ที่เหลือ 9 หรือ 8 ในกลาปเดียวกัน

----------------------------------------------------------------------

๘. ปกตูปนิสสยชาติ มี ๒ ปัจจัย

สุทธะ
89.52 ก่อน 28 บัญ. -------------->89.52 หลัง

------------------------------------------------------------------------

๙. นานักขณิกกัมมชาติ มี ๑ ปัจจัย

เจตนา 33 --------------> วิ.36.38 กํชรุ.


(ยังไม่ได้ตรวจทาน)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2024, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร