วันเวลาปัจจุบัน 10 ก.ย. 2024, 14:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2016, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ


ยมกะสรูปัตถนิสสยะ

วจนัตถะ และคำอธิบายในคำว่า ยมกะ
เกนฏฺเฐน ยมกนฺติ ยุคฬฏฺเฐน ยุคฬญฺหิ ยมกนฺติ วุจฺจติ (ยมกอรรถกถา)

วจนัตถะของ ยมกะ
ยมสฺส ราชสฺส วิสยํ กมติ อติกมติ เอเตนาติ = ยมกํ

ยมกปกรณ์ มี ยมกะ ๑๐ อย่าง คือ
๑. มูลยมกะ
๒. ขันธยมกะ
๓. อายตนยมกะ
๔. ธาตุยมกะ
๕. สัจจยมกะ
๖. สังขารยมกะ
๗. อนุสสยยมกะ
๘. จิตตยมกะ
๙. ธัมมยมกะ
๑๐. อินทริยยมกะ

มูลยมกะ

มูลยมกะ มี ๒ อย่าง คือ
๑. อุทเทส
๒. นิทเทส ติกมาติกานิทเทส มีติกะ ๒๒ คือ กุสลติกะ - สนิทัสสนติกะ
กุสลติกะนิทเทส มี ๑๐ วาระ
๑.มูลวาระ ๒.เหตุวาระ ๓.นิทานวาระ ๔.สัมภววาระ ๕.ปภววาระ
๖.สมุฏฐานวาระ ๗.อาหารวาระ ๘.อารัมมณวาระ ๙.ปัจจยวาระ ๑๐.สมุทยวาระ

ในวาระ ๑๐ อย่างนี้ พระองค์ทรงแสดง มูลวาระก่อน
(อ่านรายละเอียดและท่องส่วนสำคัญอื่นๆในหนังสือเรียนกันด้วยนะคะ)

กระทู้นี้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายวิธีคิด วิธีจำ จึงขออนุญาติไม่พิมพ์รายละเอียดมากค่ะ

ในมูลวาระ มี ๔ บท
กุสลบท อกุศลบท อพยากตบท นามบท

ในแต่ละบทมี ๔ นัย
มูลนัย มูลมูลนัย มูลกนัย มูลมูลกนัย

ในแต่ละนัยมี ยมกะ ๓
มูลยมกะ เอกมูลยมกะ อัญญมัญญมูลยมกะ

(จำสอบด้วยค่ะ 4 4 3)

ในมูลยมกะ มี ๒ อย่าง คือ อนุโลม ปฏิโลม
ในอนุโลม มี ๒ อย่าง คือ ปุจฉา วิสัชนา
ในปุจฉา มี ๒ อย่าง คือ สันนิฉฐานบท สังสยบท

ในยมกปกรณ์มีปัญหาอยู่ ๔ อย่าง
๑. ปุเรปัญหา คู่กับ ปาฬิคติวิสัชนา
๒. ปัจฉาปัญหา คู่กับ ปฏิวจนสัชนา
๓. ปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวิสัชนา
๔. โมฆปัญหา คู่กับ ปฏิเสธวิสัชา หรือ ปฏิกเขปวิสัชนา

มูลวาระ มี ปริปุณณปัญหา ที่ต้องตอบอยู่ ๔ ปุจฉาหลักๆ จำ ๔ ปุจฉาไว้เป็นหลักในการตอบ
และต้องเขียนโครงสร้างของมูลวาระนี้ให้ได้ แล้วจะช่วยเช็คการตอบของเราได้ค่ะ

๔ ปุจฉาหลักที่เป็น ปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวิสัชนาที่มีวิภังค์โดยตรง/โดยอ้อม อยู่ที่ไหนบ้าง
อยู่ที่ มูลยมกะ เอกมูลยมกะ อัญญมัญญมูลยมกะ
๑. อนุโลมปุจฉา ในมูลยมกะ ๒ แรก กุสลมูลา และ กุสลมูลมูลา เป็น-----------ชื่อว่า
๒. อนุโลมปุจฉา และ ปฏิโลมปุจฉา ในมูลยมกะ ๒ หลัง และ เอกมูลยมกะ 4------มีมูล
๓. อนุโลมปุจฉา ในอัญญมัญญมูลยมกะ 4------------------------------------ชื่อว่า2 , มีมูล2

ความยากจะอยู่ที่ต้องท่องคำแปลให้ได้ จำองค์ธรรมให้ได้ และคิดให้เป็นด้วย

ก่อนอื่น หาความต่างกันของคำพูดให้ได้ เพราะเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมนั้น การใช้โวหารอาจจะต่างกันไปตามแต่อัธยาศรัยของผู้ฟัง แต่ว่าองค์ธรรมจะเหมือนกันไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ

ในมูลวาระ มี ๔ บท
กุสลบท อกุศลบท อพยากตบท นามบท ทั้ง ๔ บทนี้จะเรียงเหมือนกันคือ
ในวงเล็บ (....) นี้ใส่คำ... กุสล , อกุสล , อพฺยากต , นาม
เป็น กุสลบท ก็ใส่ กุสล ลงไปหมดทั้งชุด แล้วก็แปลเหมือนกัน จะต่างกันก็ตรงว่าเป็นบทอะไร

1..(กุสล)..มูลา [ชื่อว่า (กุศล)มูล ]...........มูลนัย
2..(กุสล)..มูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็น(กุศล)มูล ] .........มูลมูลนัย

3..(กุสล)..มูลกา [ มีมูลที่เป็น(กุศล)]..........มูลกนัย
4..(กุสล)..มูลมูลกา [มีมูลที่เป็น(กุศล)มูล]..........มูลมูลกนัย
1..(กุสล)..มูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับ(กุศล)มูล ]..........มูลนัย
2..(กุสล)..มูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ(กุศล)มูล ]..........มูลมูลนัย
3..(กุสล)..มูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับ(กุศล)มูล ]..........มูลกนัย
4..(กุสล)..มูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับ(กุศล)มูล ]..........มูลมูลกนัย

1..(กุสล)..มูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับ(กุศล)มูล]..........มูลนัย
2..(กุสล)..มูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับ(กุศล)มูล]..........มูลมูลนัย
3..(กุสล)..มูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับ(กุสล)มูล]..........มูลกนัย
4..(กุสล)..มูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับ(กุสล)มูล]..........มูลมูลกนัย

มูลยมกะ เอกมูลยมกะ อัญญมัญญมูลยมกะ
มีอย่างละ 4 ตามลำดับ มองแยกกันออกแน่นอนเพราะชื่อก็กำกับบอกกันอยู่แล้วค่ะ

:b54: ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มแบบนี้เพราะ แต่ละกลุ่มจะมีองค์ธรรมเดียวกันค่ะ

จะเอาวงเล็บออก แต่เป็น นามบท เพราะมี ต่างจากบทอืี่นอยู่ ๑ ตำแหน่ง

นามมูลา [ชื่อว่า นามมูล ]
นามมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นนามมูล ]

นามมูลกา [ มีนามมูล].......ต้องจำให้ได้นะคะ
นามมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นนามมูล ]
นามมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล ]
นามมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ]
นามมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล]
นามมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ]

นามมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
นามมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
นามมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
นามมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]

:b47: ท่องจำพระบาลี และคำแปลของ ทั้ง ๔ บทให้ได้ให้คล่องค่ะ
นำกระดาษ A4 ,F4 มาสร้างตารางเอง ไว้สำหรับสะดวกในการท่ององค์ธรรม และคำแปล
วางกระดาษเป็นแนวนอน แล้วตีตารางแบ่งเป็น 4 ช่องตามแนวตั้ง
ใส่่หัวข้อไว้แต่ละช่อง l กุสลบท l อกุศลบท l อพยากตบท l นามบท l
แบ่งตามแนวนอน 3 ช่อง ให้พอ ตามที่เห็นแบ่งเป็น 3 กลุ่มด้านบน ช่องจะเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน
ใส่พระบาลีของแต่ละบทลงไปในตารางนะคะ แล้วเว้นช่วงล่างๆของแต่ละช่องไว้เยอะๆ
ไว้สำหรับเขียนองค์ธรรม และคำวิสัชนาย่อๆ ของปริปุณณปัญหา

ถ้าท่องทุกอย่างให้คล่องๆ ไว้แล้ว
เวลาใกล้สอบนะคะ แทบจะไม่ต้องเปิดหนังสือดูเลย แค่มีตารางแผ่นนี้แผ่นเดียว ไว้ทบทวนค่ะ

:b36: ตัวอย่างตารางมีให้ดูในโพสด้านล่างในกระทู้นี้ค่ะ

:b53: สิ่งสำคัญมากที่ควรรู้ ต้องเข้าใจ และต้องท่อง
:b51: ข้อ ๑. ท่องพระบาลี และคำแปล ของนัยทั้ง ๔ นัย ของ ทั้ง ๔ บท และ องค์ธรรม
เช่น กุสลมูลา ชื่อว่า กุศลมูล องค์ธรรม ได้แก่ กุศลมูล ๓

:b51: ข้อ ๒. เรียนแล้วต้องตั้ง ปุจฉา จากคำสั่งที่ให้มาเป็น และ วิสัชนา ได้ถูกต้อง
เช่น

:b51: ข้อ ๓. หาองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทให้ได้ก่อน ต่อมาก็หาองค์ธรรมของสังสยบท จะหาได้ก็ต้องจำได้ด้วย
และ จะต้องรู้ด้วยว่า
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท จะต้องมากกว่า หรือ เท่ากันกับ องค์ธรรมของสังสยบท
( หรือ องค์ธรรมของสังสัยจะมากกว่า องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทนั้น ไม่ได้เลย)
ดังนั้น ถ้าองค์ธรรมของสังสยบท มากกว่า องค์ํํธรรมของสันนิฏฐานบทเมื่อไร
ไม่ต้องแสดงในส่วนที่มากกว่า เช่น
อนุปุ) เยเกจิ กุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลาติ?
แปล ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม?

กุศลจิต๒๑ เจตสิก๓๘ / / , กุศลจิต๒๑ เจตสิก๓๘ / /

วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ถ้าจะเขียนองค์ธรรมที่มีทั้งหมดในปุจฉา ทั้งสันนิฏฐานบท และสังสยบท จะได้ดังนี้
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้แก่ กุ. ๒๑ เจ. ๓๘
องค์ธรรมของสังสัยบทได้แก่ กุ. ๒๑ เจ. ๓๘ และ กุศลจิตตชรูป ๑๗
และ กุศลจิตตชรูป ๑๗ เกินสันนิฏฐานบทไม่ต้องนำมาแสดง
เมื่อเกินแล้วไม่ต้องนำมาแสดงดังในตัวอย่างที่ให้มานี้ จึงทำให้องค์ธรรมของสันและสัง เท่ากัน จึงเป็นปัจฉาปัญหา

เมื่อเวลาแสดงองค์ธรรมในอนุโลมปุจฉานี้ จึงต้องแสดงดังต่อไปนี้

องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
องค์ธรรมของสังสัยบท เหมือนกัน
(ส่วน กุศลจิตตชรูป ๑๗ ไม่นำมาแสดง )

เพราะฉะนั้น องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท เท่ากันกับ องค์ธรรมของสังสยบท วิสัชนา อามนฺตา

:b51: ข้อ ๔. ต้องรู้ว่าควรคิดหาคำวิสัชนาได้จากส่วนใดของสันนิฏฐานบท โดยสังเกตุดูองค์ธรรมของสังสยว่าคืออะไร องค์ธรรมของสังสยบทนั้นเป็นส่วนใดขององค์ธรรมของสันนิฏฐานบท เช่น
อนุปุ) เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต อกุสลมูลมูลาติ?
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ อกุศลมูล ๓ เท่านั้น

อย่าลืมใส่คำว่า เท่านั้นด้วย เป็นการเน้นว่าองค์ธรรมมีได้เท่านี้จริงๆ (สอบไม่ใส่เท่านั้นโดนหักคะแนน)
จะเห็นได้ว่า อกุศลมูล ๓ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก
อกุศลมูล ๓ นี้เป็น ตัวเจตสิก ดูที่องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทที่เป็นตัวเจตสิก ที่เป็นพวกเดียวกัน
ดังนั้น เราจะต้องไปมองที่ เจตสิก ๒๗ .....มีอกุศลมูล ๓ รวมอยู่ในเจตสิก ๒๗ นี้
จะต้องแยก เจตสิก ๒๗ ออก เป็น..... เจตสิก ๒๔ และ อกุศลมูล ๓
ดังนั้น เจตสิกส่วนที่เหมือนกันคือ อกุศลมูล ๓ ของสันนิฏฐานบท และสังสยบท จะเหมือนกันแล้ว
แต่ส่วนที่ไม่เหมือนกันนั้นคือ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๔ (เว้น อกุศลมูล ๓)

มูลวาระ อกุสลบท ก.มูลนัย ข.มูลมูลนัย ๑.มูลยมกะ

อนุปุ)
ก. เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต อกุสลมูลาติ?
ข. เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต อกุสลมูลมูลาติ?
แปล
ก. ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่เป็นอกุศล มีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่า อกุศลมูล ใช่ไหม?
ข. ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่เป็นอกุศล มีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ามูลที่เป็นอกุศลมูล ใช่ไหม?

อกุศลจิต 12 เจตสิก 27 ..........................อกุศลมูล 3 / / เท่านั้น

อกุ. 12 เจ. 24[-3].............. / X
อกุศลมูล 3................................. / /

วิสัชนา)
ก. ตีเณว อกุสลมูลานิ , อวเสสา อกุสลา ธมฺมา น อกุสลมูลา.
ข. ตีเณว อกุสลมูลมูลานิ , อวเสสา อกุสลา ธมฺมา น อกุสลมูลมูลา.
แปล
ก. โลภะ โทสะ โมหะ เพียง ๓ เท่านั้น ชื่อว่า อกุศลมูล , อกุศลธรรม ที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่า อกุศลมูล
ข. โลภะ โทสะ โมหะ เพียง ๓ เท่านั้น ชื่อว่า มูลที่เป็นอกุศลมูล , อกุศลธรรม ที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่า มูลที่เป็นอกุศลมูล

:b51: ข้อ ๕. ต้องจำแนกโกฏฐาสะให้ได้ถูกต้องในทุกปัญหา (ปัจฉา ปริปุณณ ปุเร โมฆะ)
ในการจำแนกโกฏฐาสะนั้น ในปริปุณณปัญหา จะนำส่วนที่เหลือมาจำแนกค่ะ เช่นจากตัวอย่างในข้อ ๔ ด้านบนนี้ จะนำ อกุ. 12 เจ. 24[-3].......... / X ในตรงนี้มาจำแนกโกฏฐาสะ
จากตัวอย่างที่แสดงในข้อ ๔ ก. จะนำมาจำแนกโกฏฐาสะ

แสดงองค์ธรรมและการจำแนกโกฏฐาส
ในอนุโลมปุจฉา เยเจกิ อกุสลา ธมฺมา เป็นสันนิฏฐานบท
สพฺเพ เต อกุสลมูลา เป็นสังสยบท

องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ อกุศลมูล ๓ เท่านั้น

ฉะนั้นคำถามบทนี้ เป็น ปริปุณณปัญหา ถามว่า ธรรมเหล่าใน เหล่าหนึ่ง ที่เป็นอกุศลมีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าอกุศลมูลใช่ไหม?
พระองค์จึงทรงแก้ ด้วยการยกเอา ..อกุศลมูล ๓.. ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทและสังสยบทได้ทั้งสอง ขึ้นไว้ใน ปุริมโกฏฐาส ไม่มีการปฏิเสธสังสยบท ดังแสดงว่า ..ตีเณว อกุสลมูลานิ ..
แล้วทรงยกเอา .. อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๔(เว้นอกุศลมูล ๓).. ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้บทเดียว ขึ้นไว้ใน ปัจฉิมโกฏฐาส มีการปฏิเสธสังสยบท ดังแสดงว่า ..อวเสสา อกุสลา ธมฺมา น อกุสลมูลา..
คำวิสัชนาใน อนุโลมปุจฉา นี้ เป็น สรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยอ้อม
(โดยอ้อม ยก / / ขึ้นตอบก่อน ในปุริมโกฏฐาสะ)
------------------------
:b47: แม้ว่าองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และ องค์ธรรมสังสยบท แสดงองค์ธรรมไว้แล้วจริงตามนั้น
แต่เมื่อมาหาองค์ธรรมที่ในคำวิสัชนา ที่แบ่งเป็น ๒ ส่วนนั้น คือปุริมโกฏฐาสะ และ ปัจฉิมโกฏฐาสะ
จะต้องหาองค์ธรรมของแต่ละส่วนนั้นได้ด้วย เช่น ตัวอย่างในข้อ.๔

วิสัชนา) ตีเณว อกุสลมูลมูลานิ , อวเสสา อกุสลา ธมฺมา น อกุสลมูลมูลา.
ตีเณว อกุสลมูลมูลานิ , -------ในปุริมโกฏฐาสะนี้ องค์ธรรมได้แก่ อกุศลมูล ๓
อวเสสา อกุสลา ธมฺมา น อกุสลมูลมูลา.------ในปัจฉิมโกฏฐาสะนี้ องค์ธรรมได้แก่
อกุศลจิต ๑๒ , เจตสิก ๒๔(เว้นอกุศลมูล๓)

ถ้ามีการแยกเอาปุริมโกฏฐาสะมาถาม หรือแยกเอาปัจฉิมโกฏฐาสะมาถาม ต้องพิจารณาจากวิสัชนา
ไม่ใช่ไปดึงจากปุจฉา
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท และองค์ธรรมของสังสยบทมาตอบทันที อันนี้จะผิด
ต้องพิจารณาด้วยว่าองค์ธรรมที่แท้จริงในวิสัชนานั้น จะไม่เท่ากับองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทและสังสยบทเสมอไป อาจจะเหมือนและอาจจะไม่เหมือนก็ได้ จะต้องดูจากวิสัชนา และการจำแนกโกฏฐาสะเป็นหลัก

:b51: ข้อ ๖. ในทั้ง ๔ บทนั้น คือ กุสลบท อกุสลบท อพยากตบท นามบท
ในส่วนที่เป็นอัญมัญญมูลยมกะ จะเหมือนกันทั้ง ๔ บท
คือปฏิโลมปุจฉาไม่ย้อนสลับด้านกันเหมือนอนุโลมปุจฉาทั้งหมด
เช่นในคำถามคู่แรก กุสลบท จะจับคู่กันกับ กุสลมูลยมกะ ดังนี้
อนุโลมปุจฉา เยเกจิ กุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต กุสลมูลาติ?
ปฏิโลมปุจฉา เย วา ปน กุสลมูลา , สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลาติ?

ใน อัญญมัญญยมกะ ในทุกๆ บท คือ กุสลบท อกุสลบท อพยากตบท นามบท
อนุโลมปุจฉา ตั้งจาก เอกมูลยมกะ + อัญญมัญญมูลยมกะ ?
ปฏิโลมปุจฉา ตั้งจาก อัญญมัญญมูลยมกะ + กุสลบท ?
แต่จะนำ กุสลบท ซึ่งมีพระบาลีว่า กุสลา ธมฺมา ซึ่งเป็นนามกุศลทั้งหมดได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘
เมื่อมีการให้แต่งปุจฉาเอง ที่เป็นปฏิโลมปุจฉา จะได้แต่งได้ถูกต้องค่ะ

อนุปุ) เยเกจิ กุสลมูเลน เอกมูลา ธมฺมา , สพฺเพ เต กุสลมูเลน อญฺญมญฺญมูลาติ?
ปฏิปุ) เย วา ปน กุสลมูเลน อญฺญมญฺญมูลา , สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลาติ?

:b51: ข้อ ๗. ตัวมูล เป็น เจตสิก
กุศลมูล ๓ = อโลภะ + อโทสะ + อโมหะ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับกุศลจิต
อกุศลมูล ๓ = โลภะ + โทสะ + โมหะ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิต
อพยากตมูล ๓ = อโลภะ + อโทสะ + อโมหะ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับวิปากจิตและกริยาจิต
นามมูล ๙ = กุศลมูล ๓ + อกุศลมูล ๓ + อพยากตมูล ๓ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับ สเหตุกจิต 71 เจตสิก 52 (เว้นโมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต2)

:b51: ข้อ ๘.จำปุจฉาและวิสัชนา เป็นหลักไว้ ๔ คู่ ท่องให้คล่อง เพื่อใช้เป็นหลักในการใช้ตอบ
จะนำมาให้ดูในโพสด้านล่างค่ะ เลื่อนลงไปดูได้ค่ะ

:b51: ข้อ ๙. ในอพยากตบท ต้องท่อง อเหตุกํ ๑๐ แสะ สเหตุกํ ๔
นามบท นั้น ก็มีท่อง อเหตุกํ และ สเหตุกํ เช่นเดียวกันด้วย จำเป็นอย่างยิ่งต้องท่องให้ได้ทั้งหมดค่ะ

:b53: ระวังการตอบ องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ในอนุโลมปุจฉา ท้ายสุดของเนื้อหานี้ด้วย ๔ คู่นี้ค่ะ
จะยกตัวอย่างให้ทราบคู่แรก และอีก ๓ คู่ ก็มีองค์ธรรมเหมือนกันแต่สำนวนต่างกัน เช่นมูลมูลา เป็นต้น
ตัวอย่างนี้เป็น ปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์ โดยอ้อม

อนุปุ) เยเกจิ นามมูเลน เอกมูลา ธมฺมา , สพฺเพ เต นามมูเลน อญฺญมญฺญมูลาติ?
วิสัชนา) มูลานิ ยานิ เอกโต อุปปชฺชนฺติ นามมูลานิ เอกมูลานิ เจว อญฺญมญฺญมูลานิ จ,
อวเสสา นามมูลสหชาตา ธมฺมา นามมูเลน เอกมูลา น จ อญฺญมญฺญมูลา.

:b49: องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่
- สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๔๖ ( เว้น นามมูล ๙)
- สเหตุกจิตตชรูป ๑๗ ที่เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในปัญจโวการภูมิ
- ปัญจโวการสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป
และ นามมูล ๙ (เว้น โมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต ๒)

:b50: องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ นามมูล ๙ (เว้น โมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต ๒)

จะเห็นได้ว่า ตรงนี้ต้องตอบแยกเจตสิก เป็น เจตสิก ๔๖ ( เว้น นามมูล ๙) แล้วนำตัวที่เว้นมาแยกเขียนแยกท่องต่างหากในสันนิฏฐานบท.......และ นามมูล ๙ (เว้น โมหเจตสิกที่ในโมหมูลจิต ๒)

:b51: ข้อ ๑๐. อย่าลืมท่ององค์ธรรมของบทเหล่านี้ให้คล่อง ต้องจำให้ได้แม่นๆ นะคะ
- กุสลา ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ กุศลจิต ๒๑ , เจตสิก ๓๘
- อกุสลา ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ , เจตสิก ๒๗
- อพฺยากตา ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ วิปากจิต ๓๖ , กิริยาจิต ๒๐, เจตสิก ๓๘ , รูป ๒๘ , นิพพาน
- นามา ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ , เจตสิก ๕๒ , นิพพาน

มูลยมกะ ยังมีต่อ ที่โพสด้านล่างในกระทู้นี้ค่ะ


:b53: ต้องท่องเยอะมาก อย่าประมาทคิดว่าง่ายนะคะ เพราะกว่าจะท่องให้ติดปาก จนพูดได้คล่อง ยังต้องเขียนให้คล่องอีก คือ เวลาท่องท่องออกเสียงมาให้ตัวเองได้ยินด้วยเลยค่ะ และฝึกเขียนบ่อยๆ ทั้งพระบาลีและคำแปล บางท่านเอาแต่ท่องในห้องเรียน ท่องรวมกับเพื่อนๆ ท่องได้ ก็คิดว่าท่องได้แล้ว จะเขียนได้สบายมาก พอเข้าห้องสอบ ไม่สามารถเขียนออกมาได้เลยก็มีมาแล้วค่ะ อย่าคิดว่าท่องได้แล้วจะต้องเขียนได้ ต้องฝึกทั้งท่องด้วยปาก ทั้งเขียนให้คล่องด้วยมือ ให้ทุกอย่างติดอยู่ในใจไม่ลืม บางท่านเห็นว่าง่าย แต่ท่านลองมาจำดู รับรองว่า ข้ามไปวันเดียว ที่คิดว่าท่องจนคล่องแล้ว จะท่องแบบติดขัด ผิดตลอด ดิฉันเคยมาแล้วค่ะ ท่องการบ้านปุจฉา-วิสัชนา พร้อมจำแนกโกฏฐาสะในวันเสาร์ วันจันทร์ต้องท่องปากเปล่า(ห้ามดูหนังสือ) ส่งอาจารย์ ดิฉันก็ท่องในวันเสาร์ จนคล่องมาก วันอาทิตย์ไม่หยิบมาท่องเลย เพราะท่องได้แล้ว วันจันทร์ก็ไม่ทวน พอไปถึงห้องเรียน ท่องปากเปล่าส่งอาจารย์ที่ห้องเรียน ดิฉันท่องได้แบบติดขัดมาก เหมือนคนเพิ่งฝึกท่อง ทั้งๆ ที่วันเสาร์นั้น ดิฉันท่องได้คล่องมาก ยิ่งถ้าห่างหายไม่ท่องไปหลายๆ วัน จะจำที่ท่องไว้ไม่ได้เลย แต่ถ้ากลับมาท่องใหม่อีกครั้งจะท่องได้ง่ายและจำได้ง่ายขึ้นกว่าการฝึกท่องครั้งแรก เพราะจิตเราได้บันทึกไว้แล้ว เมื่อกลับมาท่องใหม่จะจำได้เร็วขึ้น ดังนั้น อย่าคิดว่าท่องคล่องแล้วไม่ทบทวน ต้องทบทวน มนต์ไม่ท่องบ่นก็เป็นมลทิน ค่ะ

อรรถกถา ยมกปกรณ์ ภาค ๑
ขันธยมก ปวัตติวาร อุปปาทวารเป็นต้น
อรรถกถาขันธยมก
อรรถกถาปวัตติวาระ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=38&i=117



:b8: :b8: :b8:

ยังมีต่อ ที่เป็นตารางสีส้มด้านล่าง ของวันที่ 13 ก.พ. ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2016, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธยมกะ
ปัณณัติวาระ


ในขันธยมกะ นี้ มีวาระ ๓ อย่าง คือ
๑. ปัณณัตติวาระ
๒. ปวัตติวาระ
๓. ปริญญาวาระ

ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และ ปริญญาวาระ ในทุกๆ วาระดังกล่าวนี้มี อุทเทส และ นิทเทส
ปัณณัตติวาระ มีวาระ ๔ อย่าง คือ
๑. ปทโสธนวาระ (ปท)
๒. ปทโสธนมูลจักกวาระ (ปทมูล)
๓. สุทธขันธวาระ (สุทธ)
๔. สุทธขันธมูลจักกวาระ (สุทธมูล)

ทั้ง ๔ นี้ แต่ละอย่างก็มี อนุโลมนัย และ ปัจจนิกนัย
ทั้ง อนุโลมนัย และ ปัจจนิกนัย ต่างก็มี ยมกะ ๕ อย่าง คือ
๑. รูปักขันธยมกะ
๒. เวทนากขันธยมกะ
๓. สัญญากขันธยมกะ
๔. สังขารักขันธยมกะ
๕. วิญญารณักขันธยมกะ

แต่ละยมกะ มี ๒ อย่าง คือ อนุโลม และ ปฏิโลม
อนุโลมนี้มี ๒ อย่าง คือ ปุจฉา และ วิสัชนา
ปุจฉา นี้ มี ๒ อย่าง คือ สันนิฏฐาน และ สังสย

องค์ธรรมในปัณณัตติวาระนิทเทส ทั้งอนุโลมนัย และ ปัจจนิกนัย ต้องจำให้ได้ค่ะ
ท่องจำทำความเข้าใจในส่วนอื่นของบทเรียนด้วยค่ะ เช่น ในขันธยมกะมีวาระกี่อย่าง คืออะไรบ้าง เป็นต้น
องค์ธรรมของ รูปํ ดูจะจำยากสักหน่อย อ่านทำความเข้าใจหลายๆ รอบและท่องให้ได้ก่อน
แล้วก็สรุปจำไว้ย่อๆ แล้วมาขยายเอา ย้ำว่าย่อแล้วต้องนำมาขยายให้ได้ด้วยนะคะ

ท่ององค์ธรรมในปัณณัตติวาระนิทเทสให้ได้ ทั้งอนุโลมนัยและปัจจนิกนัย( มี น นำหน้า)
รูปํ รูปกฺขนฺโธ
เวทนา เวทนากฺขนฺโธ
สญฺญา สญฺญากฺขนฺโธ
สงฺขารา สงฺขารกฺขนฺโธ
วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ
ขนฺธา

รูปํ องค์ธรรมได้แก่
-ปิยรูป สาตรูป คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ที่รวมกันอยู่
ซึ่งเป็นที่น่ารักน่ายินดีและเป็นเป็นอารมณ์ของตัณหา
-รูปขันธ์ คือ รูป ๒๘ ที่อยู่โดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเสื่อมสิ้นแปรผันไป(รุปปนลักขณะ)
ย่อ
- ๘๑, ๕๒ , ๒๘ รวมฯ
- ๒๘ เฉพาะฯ


หรืออีกนัยหนึ่ง
รูปํ องค์ธรรมได้แก่
- ปิยรูป สาตรูป คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ ซึ่งเป็นที่น่ารักน่ายินดีและเป็นอารมณ์ของตัณหาได้
- รูปขันธ์ คือ รูป ๒๘ ที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นแปรผันไป (รุปปนลักขณะ)
ย่อ
- ๘๑,๕๒
- ๒๘

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

รูปกฺขนฺโธ องค์ธรรมได้แก่ รูปขันธ์ คือ รูป ๒๘ ที่อยู่โดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเสื่อมสิ้นแปรผันไป(รุปปนลักขณะ)

หรืออีกนัยหนึ่ง
รูปกฺขนฺโธ องค์ธรรมได้แก่ รูปขันธ์ คือ รูป ๒๘ ที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นแปรผันไป(รุปปนลักขณะ)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

แล้วถ้าเป็นปัจจนิก
น รูปํ องค์ธรรมได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน บัญญัติ
หาได้จาก ปรมัตถธรรม ๔ - ๘๑, ๕๒, ๒๘ = ๘, ๓๖ นิพพาน บัญญัติ
หาปัจจนิกของอะไร ก็ให้เอา ปรมัตถธรรม ๔ ตั้ง แล้วหักตัวที่ต้องการหาออก ก็จะได้ปัจจนิกของตัวนั้นค่ะ

น รูปกฺขนโธ องค์ธรรมได้แก่
- ปิยรูป สาตรูป คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ที่รวมกันอยู่
ซึ่งเป็นที่น่ารักน่ายินดีและเป็นอารมณ์ของตัณหา
และ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน บัญญัติ

หรืออีกนัยหนึ่ง
น รูปกฺขนฺโธ องค์ธรรมได้แก่
- ปิยรูป สาตรูป คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ ซึ่งเป็นที่น่ารักน่ายินดีและเป็นอารมณ์ของตัณหาได้
และ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน บัญญัติ

:b53: จะเห็นว่า หรืออีกนัยหนึ่ง จะไม่มีรูป ๒๘ และสำนวนตัดทิ้งบางช่วง


จะขอไม่แสดงรายละเอียดนะคะ เพราะนักศึกษาทุกท่านก็มีตำราอยู่ในมือกันแล้ว ก็เป็นที่ทราบกันแน่นอนแล้วว่า ท่านต้องท่ององค์ธรรม และเข้าใจวิธีการหา เมื่อเห็นคำถามก็หาคำตอบให้เป็น ด้วยการเรียนกันตามปกติจากพระอาจารย์และอาจารย์ของท่านมาแล้ว และถ้ามีเวลาว่างอาจจะมีเพิ่มเติมให้ค่ะ

การที่ทำกระทู้นี้เพื่อให้ท่านได้เข้าใจในประเด็นหลักย่อสุดเพื่อให้จำได้ง่ายๆ เป็นแนวทางในการจำเท่านั้น
แต่ความเข้าใจต่างๆ ท่านจะต้องทำความเข้าใจอย่างละเอียดด้วย ไม่เช่นนั้นท่านก็หาคำตอบไม่ได้และอีกทั้งยังไม่มีพื้นฐานความชำนาญในการตอบ ถึงแม้ท่านจะได้หลักสำคัญแล้วก็จริง ท่านไม่ท่ององค์ธรรม ท่านก็ไม่สามารถเขียนองค์ธรรมได้ และท่านไม่สามารถตอบองค์ธรรมด้วยปากเปล่าได้ สำคัญที่สุดคือต้องเรียนให้ละเอียดด้วยค่ะ

ในการตอบนี้ จะมีปัญหาอยู่ ๒ อย่างคือ ปัจฉาปัญหา กับ ปริปุณณปัญหา ทั้งสองปัญหาจะมี ๓ คำตอบ คือ
๑. อามนฺตา (ปัจฉา)
๒. โดยตรง (ปริปุณณ)
๓. โดยอ้อม (ปริปุณณ)

คำปุจฉาที่ในปัณณัติวาระนี้จะ คล้ายๆ กันจนท่านไม่สามารถแยกคำถามออก แม้ว่าท่านจะเรียนจนชำนาญ
แต่เมื่อเรียนเรื่องอื่นด้วยเข้าไปมากๆ จะย้อนมากลับมาจำลำบาก ถ้าไม่มีหลักให้เข้าใจได้ย่อยสุดไว้

หลักสำคัญคือ ให้จำปุจฉา ทั้ง ๔ ปุจฉานี้ให้ได้เป็นต้นแบบ ที่ต้องตอบเป็นปริปุณณปัญหา
แล้วท่านจะสามารถแยกออกว่า ท่านควรตอบ อามนฺตา ในรูปแบบคำถามที่นอกเหนือจาก ๔ ข้อนี้ค่ะ
และตอบโดยตรง หรือโดยอ้อม กับคำถามใด

๑.(อนุโลมนัย ) อนุ.ปุ.) รูปํ, รูปกฺขนฺโธติ? วิ.)โดยตรงได้ ๓ คือ รูปํ สญฺญา สงฺขารา

๒.(ปัจจนิกนัย) ปฏิ.ปุ.) รูปกฺขนฺโธ, รูปนฺติ? วิ.) โดยตรงได้ ๓ (เหมือนข้อ๑)

๓.(ปัจจนิกนัย) อนุ.ปุ.) รูปํ, ขนฺโธติ? วิ.) โดยตรงได้ ๔ (ยกเว้น สงฺขารา)

๔.(อนุโลมนัย) ปฏิ.ปุ.) ขนฺธา, รูปกฺขนฺโธติ? วิ.) โดยอ้อม ได้ทั้งหมด ๕ ขันธ์


ทำความเข้าใจกับคำอธิบายข้างล่างนี้ :b47: และคำปุจฉาที่นอกจากกฏเกณฑ์เหล่านี้ให้วิสัชนา อามนฺตา

:b47: ทำความเข้าใจกันก่อนว่า ปุจฉาทั้ง ๔ นี้คือต้นแบบของปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์ โดยตรง / โดยอ้อม
อย่างข้อ๑. ใน ๕ คู่นี้ เราวิสัชนา โดยตรงได้ ๓ คู่เท่านั้น อีก ๒ คู่วิสัชนา อามนฺตา
รูปํ รูปกฺขนฺโธ ---------------วิสัชนาโดยตรง (ปิยรูปํ สาตรูปํ ฯ)
เวทนา เวทนากฺขนฺโธ ------------------------------------------------------อามนฺตา
สญฺญา สญฺญากฺขนฺโธ -------วิสัชนาโดยตรง (ทิฏฺฐิสญฺญา ฯ)
สงฺขารา สงฺขารกฺขนฺโธ ------วิสัชนาโดยตรง (สงฺขารกฺขนฺโธ ฐเปตฺวา อวเสสา)
วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ --------------------------------------------------อามนฺตา

ข้อ ๒ นี้ จับข้อ๑. สลับที่ เติม น แสดงว่าข้อนี้เป็นปัจจนิก มี นะ นำหน้า
ง่ายมั้ย แยกปริปุณณปัญหามาได้ ๒ ข้อแล้ว แล้วโดยตรง ได้ ๓ คู่เหมือนข้อ๑
ส่วนคำที่นำหน้าในการตอบ ก็เหมือนข้อ ๑ อีกด้วย เช่น วิสัชนา ปิยรูปํ สาตรูปํ ....ฯ

ข้อ ๓ นี้ก็ น รูปํ เริ่มด้วย รูปํ เหมือนข้อ๑ แต่เป็นปัจจนิกในข้อนี้
ข้อนี้ -----,น ขนฺโธติ?จะไม่เปลี่ยน จะเป็นตัวยืนพื้นในคำถาม ตัวที่ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือ น รูปํ
เว้นสงฺขารา จะวิสัชนา อามนฺตา ( น สงฺขารา,น ขนฺโธติ? วิสัชนา อามนฺตา ใช่)

ข้อ ๔ นี้ ขนฺธา,----? เป็นตัวยืนพื้นไม่เปลี่ยน เปลี่ยนแต่ตัวหลังเท่านั้น ถามได้ครบ ๕ ขันธ์
ปุจฉานี้จะ ใช้องค์ธรรมเป็นแบบเดิมไม่ได้แล้ว เช่น
ปฏิ.ปุ.) ขนฺธา รูปกฺขนฺโธติ?
ขนฺธา องค์ธรรมได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด
รูปกฺขนฺโธ องค์ธรรมได้แก่ รูปขันธ์ เท่านั้น

ฝึกเขียนปุจฉาที่ใช้เป็นต้นแบบคำถาม มี ๓ คำที่ใช้ รูปํ รูปกฺขนฺโธ ขนฺธา เอาลงในปุจฉาทั้ง ๔ ข้อ
เขียนข้อ๑ ถึง ๔ ไว้ ..แล้วเขียน น รอไว้เลยในข้อ ๒และ๓ ที่สำคัญจำคำปุจฉาข้อ ๑ให้ได้ก่อน
ข้อ ๑ จับ รูปํ รูปกฺขนฺโธ ใส่เป็นคำปุจฉาข้อ ๑ รูปํ , รูปกฺขนฺโธติ?
ข้อ ๒ นั้นจับสลับคำข้อ๑ ใส่หลัง น
จับขนฺธา ใส่ ข้อ ๓ ข้อ๔
น----,น ขนฺโธติ?
ขนฺธา,---------?
ช่องว่างที่เหลือก็ใส่ รูปํ รูปกฺขนฺโธ ตามลำดับ

ฝึกเขียนทั้ง ๔ ปุจฉานี้ไว้บ่อยๆ จนกว่าจะสอบ
เขียนให้เหมือนตัวอย่างที่เขียนให้ดูทั้ง ๔ ข้อ ๔ บรรทัดพร้อมวิสัชนาโดยตรง/อ้อม ได้/ ยกเว้น
เมื่อเจอคำถามสั้นๆ ที่คล้ายๆ กัน ก็จะแยกออกว่าคำถามใดเป็นปริปุณณปัญหาค่ะ
ถ้าไม่ลงแบบฟอร์มที่ให้มา ๔ ข้อนี้ ให้ตอบ อามนฺตา ใช่ แสดงว่าปุจฉานั้นเป็นปัจฉาปัญหานะคะ

ฝึกวิธีคิด ท่ององค์ธรรม แยกปุจฉาได้ จะทำให้ทำข้อสอบได้ค่ะ
อนุปุ) รูปํ , รูปกฺขนฺโธติ?
รูป องค์ธรรมได้แก่
- ๘๑, ๕๒ , ๒๘ รวมฯ...../ X
- และ ๒๘ เฉพาะฯ....................../ /
รูปขันธ์ องค์ธรรมได้แก่
- ๒๘ เฉพาะฯ...................../ /
(หรืออีกนัยหนึ่งก็คิดตามนี้ด้วย และเวลาตอบต้องตอบทั้งสองนัย)
เพราะฉะนั้น ปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวัสัชนา ที่มีวิภังค์โดยตรง จะยก / X ขึ้นตอบก่อน

อนุปุ) สญฺญา , สญฺญากฺขนฺโธติ?
สัญญา องค์ธรรมได้แก่ สัญญาคือ ทิฏฐิเจตสิก / X ... และ สัญญาเจตสิก / /
สัญญาขันธ์ องค์ธรรมได้แก่ สัญญาเจตสิก....................../ /

อนุปุ) สงฺขารา , สงฺขารกฺขนฺโธติ?
สังขารา องค์ธรรมได้แก่
- 89 ,เวทนา , สัญญา , 28.........../ X
- และ เจตสิก 50 ที่เป็นสังขารขันธ์................/ /
สังขารขันธ์ องค์ธรรมได้แก่
- เจตสิก 50 ที่เป็นสังขารขันธ์................/ /
เราต้องแยกองค์ธรรมของสังขารา ตรงเจ.๕๒ แยกสังขารขันธ์ ออกไว้ต่างหากเพราะเป็นตัวร่วม

ปฏิปุ) ขนฺธา , รูปกฺขนฺโธติ?
ขันธา องค์ธรรมได้แก่ ขันธ์ 5 ทั้งหมด จับแยกขันธ์๕ เป็น
- ขันธ์ 4 ที่เหลือ...................../ X
- และ รูปขันธ์................................/ /
รูปขันธ์ องค์ธรรมได้แก่ รูปขันธ์............./ /
เราต้องแยกองค์ธรรมของขันธ์๕ ให้เอาของตัวที่ถาม จับแยกออกมาไว้ต่างหาก
(อย่าลืมว่า ปุจฉานี้เป็น ปริปุณณฯ โดยอ้อม ให้เอา / / ขึ้นตอบในปุริมะฯ ก่อนค่ะ)

:b53: ขอบอกว่า พระบาลีที่เป็นการวิสัชนา ไม่ได้ง่ายๆ เลย
ท่องและทำความเข้าใจในคำวิสัชนาให้ดี บางวิสัชนาก็มีพระบาลีในจุดที่ต่างกัน แยกความต่างกันให้ได้เวลาท่อง จะทำให้จำได้ง่ายขึ้นค่ะ

เพื่อนกัลยาณมิตรในต่างจังหวัด ถ้าหาแล้วมาเจอกระทู้นี้ได้ ก็ค่อยๆ อ่านทำความเข้าใจดีๆ ไม่ยากค่ะ


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

เรามาดูกันว่า ทำไม--- น สงฺขารา,น ขนฺโธติ? จึง วิสัชนาว่า อามนฺตา ใช่
อนุปุ) น สงฺขารา ,น ขนฺโธติ?
แปล ธรรมที่ไม่ชื่อว่า สังขาร , ไม่ชื่อว่า ขันธ์ ใช่ไหม? ....วิสัชนา) อามนฺตา ใช่
สังขารา องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙,เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘
น สังขารา องค์ธรรมได้แก่ นิพพาน บัญญัติ (ธรรมที่ไม่ชื่อว่าสังขารได้แก่ นิพพาน บัญญัติ)
ดังนั้น นิพพาน กับ บัญญัติ ไม่ใช่ขันธ์๕ ใช่ไหม? ก็ต้องตอบว่า ใช่
เวลาฟังพระพุทธองค์แสดงธรรม จะไม่มีเวลามานั่งแจกแจงนานนะคะต้องมนสิการ วิตก วิจารณ์ ปัญญาฯต้องตามให้ทันเสียงพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมอยู่ ก็ต้องสั่งสมไปเรื่อยๆ ของการเกิดมาเจอพระธรรมค่ะ หากเกิดมาในยุคที่พระธรรมยังมีอยู่ แต่ไม่ศึกษา ถือว่าเกิดมาในชาตินั้นเกิดโทษ เพราะไม่รู้ถึงประโยชน์ที่มีอยู่ในเวลานั้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2016, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ขันธยมกะ ปวัตติวาระ

โอกาสวาระ ทั้ง ๖ กาล
กาล ๑ ถึง กาล ๖
จะคิดไม่แตกต่างกัน มีหลักให้เข้าใจง่ายๆ คือ จะมีองค์ธรรมเพียง ๓ ตัวเท่านั้น คือ
๑. ปัญจโวการภูมิ ๒๖ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งขันธ์ ๕
๒. อสัญญสัตตภูมิ ๑ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งรูปขันธ์อย่างเดียว
๓. อรูปภูมิ ๔ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งนามขันธฺ ๔

เวลาเราหาองค์ธรรม จะเขียนย่อๆ 26.... 1..... 4
26-----มีทั้ง รูป และ นาม เกิดได้ ดับได้
1-------มี รูป เกิดได้ ดับได้เท่านั้น (แต่นามไม่มีให้เกิด ไม่มีให้ดับในภูมินี้)
4-------มี นาม เกิดได้ ดับได้เท่านั้น (แต่รูปไม่มีให้เกิด ไม่มีให้ดับในภูมินี้)

:b53: ขอให้ศึกษาให้เข้าใจว่า มีปัญหา ๔ อย่างคืออะไรบ้าง
อะไรคู่กันกับอะไร เช่น ปริปุณณปัญหา คู่กับ สรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยตรง/โดยอ้อม
โดยตรงยก / X ขึ้นตอบก่อนในปุริมโกฏฐาสะ
ส่วนโดยอ้อมยก / / ขึ้นตอบก่อนในปุริมโกฏฐาสะ
จะขอเน้นวิธีหาองค์ธรรม วิธีคิดนะคะ เพื่อความกระชับของเนื้อหาในจุดสำคัญที่ต้องบอกกันค่ะ
/ = ถูก
X = ผิด


ขันธยมกะ ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ กาล ๑ อนุโลมนัย รูปักขันธะมูละ - เวทนากขันธะมูลียมกะ

อนุ.ปุ.) ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ , ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชตีติ?
แปล รูปขันธ์กำลังเกิดในภูมิใด , เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดในภูมินั้นใช่ไหม?

( 26 ) / / ......( 1 ) / X


วิสัชนา) อสญฺญสตฺเต ตตฺถ รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ โน จ ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ,
ปญฺจโวกาเร ตตฺถ รูปกฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ เวทนากฺขนฺโธ จ อุปฺปชฺชติ.

แปล ในอสัญญสัตตภูมิ(1)นั้น รูปขันธ์กำลังเกิด(/ )แต่เวทนาขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิด(X )ในภูมินั้น,
ในปัญจโวการภูมิ(26)นั้น รูปขันธ์ก็กำลังเกิด/ เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิด.(/)

วิธีคิด คือ รูปขันธ์กำลังเกิดในภูมิใดได้บ้าง ใน 26... 1.... 4
รูปขันธ์กำลังเกิดได้ในปัญจะ 26 และอสัญ 1 คือเป็นภูมิที่รูปขันธ์เกิดได้
ตั้ง (26) / ..( 1) / .....ใส่เครื่องหมายถูก
ตั้งองค์ธรรมไว้ได้แค่ไหน ก็คิดต่อไปเฉพาะตัวที่ได้ตั้งองค์ธรรมไว้แล้วเท่านั้น
เวทนาขันธ์ก็กำลังเกิดได้ในปัญจะ 26 เพราะมีเกิดได้ทั้งรูปและนาม ใส่เครื่องหมายถูก /
แต่อสัญนั้นนามเกิดไม่ได้ ใส่เครื่องหมายผิด X
เพราะฉะนั้น ( 26 ) / / ......( 1 ) / X เป็นปริปุณณปัญหา (ตรง)
นิรุชฺฌติ แปลว่า กำลังดับ ก็มีวิธีเดียวกับการหากำลังเกิด เพียงคำพูดเปลี่ยนไปเท่านั้น จากเกิดเป็นดับเพราะว่าต้องมีการเกิดก่อนแล้วจึงจะมีการดับได้ ก็แสดงว่าในภูมินั้น รูปเกิดได้ นามเกิดได้ จึงมีการดับได้ตามมา หาเหมือนกันค่ะ

ให้สังเกตุ ว่าปุจฉาที่ขึ้นต้นด้วย ยตฺถ (ยัตถะ) เป็นคำถามของโอกาสวาระ (ภูมิ) เราจะเอาภูมิเป็นหลักว่า ภูมิใดมีอะไรเกิดอะไรดับได้บ้าง อะไรเกิดดับไม่ได้บ้าง เอาภูมิเป็นหลัก ไม่ว่าจะกาลไหนค่ะ
ที่จะยากในเรื่องภูมินี้ ความยากอยู่ตรงปัจจนิก คือคนจะงง หากันไม่ถูกว่าองค์ธรรมคือภูมิใด

ปัจจนิก นุปฺปชฺชติ แปลว่า ไม่ใช่กำลังเกิด ขออธิบายเป็นภาษาไทยเลยนะคะ
อนุปุ) รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด , เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นใช่ไหม?
วิธีคิดง่ายๆ ให้ดูตรงจุดนี้ค่ะ ตรงคำพูดที่ว่า ไม่ใช่ ของขันธ์ใด เป็นการตั้งองค์ธรรม
ในที่นี้ รูปขันธ์ไม่ใช่ แสดงว่าปฏิเสธรูปขันธ์ ภูมิที่ปฏิเสธรูปคือภูมิไม่มีรูปขันธ์ได้แก่ อรูปภูมิ๔
ตั้ง ---(4 ) และใส่เครื่องหมายถูก /
เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดใช่ไหม? ในอรูปภูมิ๔ นั้น เวทนาขันธ์เกิดได้ เพราะฉะนั้นต้องปฏิเสธคำถามไป เพราะเวทนาขันธ์กำลังเกิดได้ในภูมินี้ ใส่เครื่องหมายผิด X
ก็จะเป็น (4 ) / X

ขันธยมกะ ปวัตติวาระ อุปปาทวาระ กาล ๑ ปัจจนิกนัย รูปักขันธะมูละ - เวทนากขันธะมูลียมกะ

อนุปุ.) ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ , ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชตีติ?
รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด , เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นใช่ไหม?

(4 ) / X


วิสัชนา) อุปฺปชฺชติ กำลังเกิด
แสดงองค์ธรรมและการจำแนกโกฏฐาส
ในอนุโลมปุจฉา ยตฺถ รูปกฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ เป็นสันนิฏฐานบท
ตตฺถ เวทนากฺขนฺโธ นุปฺปชฺชติ เป็นสังสยบท
องค์ธรรมของสันนิฏฐานบทได้แก่ อรูปภูมิ๔ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งนามขันธ์๔
องค์ธรรมของสังสยบท ไม่มี
ฉะนั้นคำถามบทนี้เป็น ปุเรปัญหา ถามว่า รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด , เวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้นใช่ไหม? พระองค์จึงทรงแก้โดย ปาฬิคติวิสัชนาว่า อุปฺปชฺชติ ซึ่งเป็นคำวิสัชนา ตรงกันข้ามกับบทถาม เพราะว่า อรูปภูมิ๔ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งนามขันธ์๔ ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทเหล่านั้น แม้ว่า รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิด แต่เวทนาขันธ์กำลังเกิด


ต่อไปนี้ จะขอยกตัวอย่างในนิโรธวาระ กาล ๓ ปัจจนิกนัยบ้างค่ะ
อนุปุ) เวทนาขันธ์ จักไม่ดับ ในภูมิใด , สัญญาขันธ์ ก็จักไม่ดับ ในภูมินั้นใช่ไหม?
คิดเหมือนเดิมค่ะคือ เวทนาขันธ์จักไม่ดับ นี้คือปฏิเสธนามขันธ์แล้ว
จักไม่ บอกที่ตัวเวทนาขันธ์ ถ้าไม่นาม ก็ต้องเอาภูมิที่มีรูปล้วนๆ มาตั้ง ภูมิที่มีรูปล้วนๆ คือ อสัญญสัตตภูมิ๑ ค่ะ ก็ตั้ง ( 1 ) / ใส่เครื่องหมายถูกไว้ แล้วถามต่อว่า สัญญาขันธ์ก็จักไม่ดับใช่ไหม? ก็ต้องใช่ เพราะเป็นนามขันธ์เหมือนกันกับเวทนาขันธ์ นามขันธ์จักไม่เกิด จักไม่ดับในภูมิที่มีแต่รูปอย่างเดียว ( 1 ) / /

จับหลักได้มั้ยคะ ถ้าไม่รูป ภูมิที่มีนามล้วนๆ มาเป็นองค์ธรรม คือ 4
ถ้าไม่นาม ภูมิที่มีรูปล้วนๆ มาเป็นองค์ธรรม คือ 1
ปัจจนิก จะเหลือตัวเลือกแค่ ๒ เท่านั้นคือ 1 กับ 4 คือ อสัญญสัตตภูมิ๑ และ อรูปภูมิ๔

เวลาเจอปุจฉาที่เป็นปัจจนิก ก็จะ ไม่งง กันแล้วนะคะ
ตอนที่ดิฉันเรียน เพื่อนจะหาปัจจนิกกันไม่ค่อยได้ ดิฉันก็บอกหลักนี้แก่เพื่อน ก็getกันเลยค่ะ
มาดูการถามตอบกันอย่างเป็นทางการกันค่ะ

ขันธยมกะ ปวัตติวาระ นิโรธวาระ กาล ๓ ปัจจนิกนัย เวทนากขันธะมูละ - สัญญากขันธะมูลียมกะ

อนุปุ.) ยตฺถ เวทนากฺขนฺโธ น นิรุชฺฌิสฺสติ , ตตฺถ สัญญากฺขนฺโธ น นิรุชฺฌิสฺสตีติ?
เวทนาขันธ์จักไม่ดับในภูมิใด , สัญญาขันธ์ก็จักไม่ดับในภูมินั้นใช่ไหม?

( 1 ) / /


วิสัชนา) อามนฺตา ใช่

ไม่ยากใช่มั้ยคะ เพราะจริงๆ เราก็รู้อยู่แล้วว่าภูมิใดมีรูปมีนาม หรือมีแต่รูปอย่างเดียว นามอย่างเดียว
แต่เราจะเมาในสำนวนของคำปุจฉา ทำให้งง หาไม่ได้ในเวลาทำ ยิ่งเรียนเนื้อหาเข้าไปเยอะมาก
ยิ่งจะต้องกระชับในลำดับความคิดในแต่ละเรื่องที่เรียน ทำความเข้าใจในเนื้อหาและเทคนิคการคิด ก็จะทำให้รู้สึกสนุกขึ้นในเวลาเรียนค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2016, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ปริญญาวาระ
กาล ๑-๖


รายละเอียดต่างๆ ที่ต้องท่อง ต้องอ่านทำความเข้า ดูในหนังสือหรือคู่มือที่เรียนกันนะคะ
ในปริญญาวาระนี้พระองค์ทรงแสดงแต่ปุคคลวาระอย่างเดียว (อ่านรายละเอียดด้วยสำคัญมากค่ะ)

วิภังคบาลีในปริญญาวาระ มี ๖ ประเภท (จำให้ได้ค่ะ)
๑. อรหา = อรหัตตผลบุคคล๑

๒. อคฺคมคฺคสมงฺคี = อรหัตตมัคคบุคคล๑

๓. เย มคฺคํ ปฏิลภิสฺสนฺติ เต = บุคคลเหล่าใด จะได้มรรค บุคคลเหล่านั้น
องค์ธรรมได้แก่ ภัพพปุถุชน๑ , มัคคบุคคลเบื้องต่ำ๓ , ผลบุคคลเบื้องต่ำ๓

๔. อคฺคมคฺคสมงฺคี , เย จ ปุถุชฺชนา มคฺคํ น ปฏิลภิสฺสนฺติ เต = อรหัตตมัคคบุคคลก็ดี และ
ปุถุชนเหล่าใดจะไม่ได้มรรค ปุถุชนเหล่านั้นก็ดี
องค์ธรรมได้แก่ อรหัตตมัคคบุคคล๑ , อภัพพปุถุชน๑

๕. อรหา , เย จ ปุถุชฺชนา มคฺคํ น ปฏฺิลภิสฺสนฺติ เต = อรหัตตผลบุคคลก็ดี และ
ปุถุชนเหล่าใดจะไม่ได้มรรค ปุถุชนเหล่านั้นก็ดี
องค์ธรรมได้แก่ อรหัตตผลบุคคล๑ , อภัพพปุถุชน๑

๖. อคฺคมคฺคสมงฺคิญฺจ อรหันฺตญฺจ ฐเปตฺวา อวเสสา ปุคฺคลา = ยกเว้นอรหัตตมัคคบุคคล และ
อรหัตตผลบุคคลเสียแล้ว บุคคลที่เหลือนอกนั้น
องค์ธรรมได้แก่ อภัพพปุถุชน๑ ภัพพปุถุชน๑ มัคคบุคคลเบื้องต่ำ๓ ผลบุคคลเบื้องต่ำ๓

บุคคลมีทั้งหมด ๑๐ ได้แก่ อรม.๑ อรผ.๑ ภัพพ๑ ม.ต่ำ๓ ผ.ต่ำ๓ อภัพพ๑
(อ่านรายละเอียดในหนังสือด้วยค่ะ บุคคล๑๐ โดยกาล๓)

องค์ธรรม (อธ.)

:b49: อนุโลมนัย
กาล๑ ปริชานาติ = กำลังรู้รอบ อธ. อรหัตตมัคคบุคคล๑
กาล๒ ปริชานิตฺถ = เคยรู้รอบ อธ. อรหัตตผลบุคคล๑
กาล๓ ปริชานิสฺสติ = จักรู้รอบ อธ. บุคคล๗ = ภัพพ๑ , ม.ต่ำ๓ , ผ.ต่ำ๓

:b50: ปัจจนิกนัย
กาล๑ น ปริชานาติ = ไม่ใชกำลังรู้รอบ อธ. ได้แก่ บุคคล๙ (เว้น อรหัตตมัคคบุคคล๑)
กาล๒ น ปริชานิตฺถ = ไม่เคยรู้รอบ อธ. ได้แก่ บุคคล๙ (เว้น อรหัตตผลบุคคล๑)
กาล๓ น ปริชานิสฺสติ = จักไม่รู้รอบ อธ. ได้แก่ บุคคล๓ = อภัพพ๑ , อรม.๑ , อรผ.๑
กาล ๑ , ๒ , ๓ ทั้งอนุโลมนัย และ ปัจจนิกนัย เป็น ปัจฉาปัญหา - ปฏิวจนวิสัชนา "อามนฺตา "

:b49: อนุโลมนัย
กาล๔ [1+2]ปริชานาติ + ปริชานิตฺถ = กำลังรู้รอบ + เคยรู้รอบ
กาล๕ [1+3]ปริชานาติ + ปริชานิสฺสติ = กำลังรู้รอบ + เคยรู้รอบ
กาล๖ [2+3]ปริชานิตฺถ + ปริชานิสฺสติ = เคยรู้รอบ + จักรู้รอบ
กาล ๔ , ๕ , ๖ เป็น โมฆปัญหา - ปฏิเสธวิสัชนา " โน "

:b50: ปัจจนิกนัย
กาล๔ [1+2] น ปริชานาติ + น ปริชานิตฺถ = ไม่ใช่กำลังรู้รอบ + ไม่ใช่เคยรู้รอบ
กาล๕ [1+3] นปริชานาติ + น ปริชานิสฺสติ = ไม่ใช่กำลังรู้รอบ + ไม่ใช่เคยรู้รอบ
กาล๖ [2+3] น ปริชานิตฺถ + น ปริชานิสฺสติ = ไม่ใช่เคยรู้รอบ + ไม่ใช่จักรู้รอบ
กาล ๔ , ๕ , ๖ เป็น ปริปุณณปัญหา - สรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยตรง

:b48: อภัพพปุถุชน = ไม่ใช่กำลังรู้รอบ ไม่ใช่เคยรู้รอบ และ ไม่ใช่จักรู้รอบ รูปนามขันธ์ ๕
( น ปริชานาติ , น ปริชานิตฺถ , น ปริชานิสฺสติ)

เอกพจน์ ----> พหูพจน์(สองคนขึ้นไป)
ปริชานาติ ---> ปริชานนฺติ
ปริชานิสฺสติ --> ปริชานิสฺสนฺติ
(ส่วนปริชานิตฺถ ใช้เหมือนเดิม)

ปริญญาวาระ ปัจจุบันนวาระ (กาล๑) ปุคคลวาระ อนุโลมนัย
อนุปุ) โย รูปกฺขนธํ ปริชานาติ , โส เวทนากฺขนธํ ปริชานาตีติ?
แปล บุคคลใด กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็กำลังรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?

อรหัตตมัคคบุคคล ๑ ....../ /

วิสัชนา อามนฺตา ใช่
แสดงองค์ธรรมและการจำแนกโกฏฐาส
ในอนุโลมปุจฉา โย รูปกฺขนธํ ปริชานาติ เป็นสันนิฏฐานบท
โส เวทนากฺขนธํ ปริชานาติ เป็นสังสยบท

องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่ อรหัตตมัคคบุคคล ๑
องค์ธรรมของสังสยบท เหมือนกัน
ฉะนั้นคำถามบทนี้เป็น ปัจฉาปัญหา ถามว่า
บุคคลใด กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็กำลังรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?
พระองค์จึงทรงแก้โดย ปฏิวจนวิสัชนา ว่า อามนฺตา
ซึ่งเป็นคำวิสัชนา รับรององค์ธรรมของสันนิฏฐานบท เพราะว่า อรหัตตมัคคบุคคล ๑
ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทเหล่านั้น ก็กำลังรู้รอบเวทนาขันธ์ด้วย

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

:b48: อธิบาย บุคคลใด กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็กำลังรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?
บุคคลที่กำลังรู้รอบมีบุคคลเดียวคือ อรหัตตมัคคบุคคล ๑
กำลังรู้รอบรูปขันธ์ ก็เท่ากับว่า กำลังรู้รอบเวทนาขันธ์ด้วย เพราะรู้รอบรูปขันธ์ ก็เท่ากับรู้อีก ๔ ขันธ์ด้วย

ส่วนปัจจนิกก็ไม่ยากค่ะ ไม่ใช่กำลังรู้รอบ ก็เหลือ บุคคล ๙ (เว้นอรหัตตมัคคบุคคล๑) วิ. อามนฺตา

ต่อไปเป็นกาล ๔
ปริญญาวาระ ปัจจุบันนาตีตวาระ (กาล๔) ปุคคลวาระ อนุโลมนัย
อนุปุ) โย รูปกฺขนธํ ปริชานาติ , โส เวทนากฺขนธํ ปริชานิตฺถาติ?
แปล บุคคลใด กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?

อรหัตตมัคคบุคคล ๑ ....../ X

วิสัชนา โน ไม่ใช่
แสดงองค์ธรรมและการจำแนกโกฏฐาส
ในอนุโลมปุจฉา โย รูปกฺขนธํ ปริชานาติ เป็นสันนิฏฐานบท
โส เวทนากฺขนธํ ปริชานิตฺถ เป็นสังสยบท

องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่ อรหัตตมัคคบุคคล ๑
องค์ธรรมของสังสยบท ไม่มี
ฉะนั้นคำถามบทนี้เป็น โมฆปัญหา ถามว่า
บุคคลใด กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?
พระองค์จึงทรงแก้โดย ปฏิเสธวิสัชนา ว่า โน
ซึ่งเป็นคำวิสัชนา ปฏิเสธองค์ธรรมของสังสยบท เพราะว่า อรหัตตมัคคบุคคล ๑
ซึ่งเป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบทเหล่านั้น
แม้ว่า กำลังรู้รอบรูปขันธ์ แต่ ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์

:b48: อธิบาย บุคคลที่กำลังรู้รอบคือ อรม.๑ ส่วนบุคคลที่เคยรู้รอบคือ อรผ.๑
จึงต้องตอบปฏิเสธเพราะ อรผ.๑ ไม่ใช่บุคคลที่กำลังรู้รอบค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

คราวนี้ถึงจุดที่เนื้อหายากขึ้นนิดหน่อยและคำวิสัชนาที่เป็นพระบาลีก็ต้องท่องกันอย่างหนัก

ปริญญาวาระ ปัจจุบันนาตีตวาระ (กาล๔) ปุคคลวาระ ปัจจนิกนัย
อนุปุ) โย รูปกฺขนธํ น ปริชานาติ , โส เวทนากฺขนธํ น ปริชานิตฺถาติ?
แปล บุคคลใด ไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ , บุคคลนั้น ก็ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?

อรหัตตผลบุคคล ๑ ............./ X
ภัพพ๑ , อภัพพ๑ , ม.ต่ำ๓ , ผ.ต่ำ๓................/ /

วิสัชนา) อรหา รูปกฺขนธํ น ปริชานาติ โน จ เวทนากฺขนธํ น ปริชานิตฺถ ,
อคฺคมคฺคสมงฺคิญฺจ อรหันฺตญฺจ ฐเปตฺวา อวเสสา ปุคฺคลา
รูปกฺขนธญฺจ น ปริชานนฺติ เวทนากฺขนธญฺจ น ปริชานิตฺถ
แปล
อรหัตตผลบุคคล ไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ แต่ เคยรู้รอบเวทนาขันธ์
ยกเว้นอรหัตตมัคคบุคคลและอรหัตตผลบุคคลเสียแล้ว
บุคคลที่เหลือนอกนั้นไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ และไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์

แสดงองค์ธรรม
ในอนุโลมปุจฉา โย รูปกฺขนธํ น ปริชานาติ เป็นสันนิฏฐานบท
โส เวทนากฺขนธํ น ปริชานิตฺถ เป็นสังสยบท

องค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ได้แก่ อรหัตตผลบุคคล ๑
และ ภัพพปุถุชน๑ , อภัพพปุถุชน๑ , มัคคบุคคลเบื้องต่ำ๓ , ผลบุคคลเบื้องต่ำ๓
องค์ธรรมของสังสยบท ได้แก่ องค์ธรรมหมวดหลัง เท่านั้น

:b48: อธิบาย ถ้าจะให้ดี สันนิฏฐานบทให้หาตรงกันข้ามก่อนค่ะ
บุคคลใดไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ ก็หาตรงกันข้าม
หาบุคคลกำลังรู้รอบรูปขันธ์ก่อน ได้แก่ อรหัตตมัคคบุคคล ๑
เพราะฉะนั้นบุคคลไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ก็หาได้จาก
บุคคล 10 ลบด้วย อรหัตตมัคคบุคคล 1 ก็จะเหลือ บุคคล 9 (เว้น อรหัตตมัคคบุคคล๑)
บุคคลทั้ง9 นี้เป็นบุคคลที่ไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์
กระจายบุคคลทั้ง 9 ออกมาได้

อรผ.๑ , ภัพพ๑ , ม.ต่ำ๓ , ผ.ต่ำ๓ , อภัพพ๑

คราวนี้ก็จะมาหาตรงกันข้ามของสังสยบทอีกเหมือนกัน
สังสยบทถามว่า บุคคลนั้น ก็ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?
หาตรงกันข้ามกัน คือหาบุคคลที่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ ได้แก่ อรหัตตผลบุคคล๑

เราหา อรหัตตผลบุคคล๑ ตรงนี้ได้ เพื่อมาแบ่งบุคคล 9 ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

อรหัตตผลบุคคล ๑ ......................../ X
ภัพพ๑ , อภัพพ๑ , ม.ต่ำ๓ , ผ.ต่ำ๓ ............./ / (=8บุคคล)

เมื่อแบ่งได้แล้ว เราก็ใส่เครื่องหมายถูกไว้ เพราะว่าเราหามาได้นี้เป็นองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท
สังสยบทถามว่าบุคคลนั้น ก็ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ใช่ไหม?
บุคคล 9 ที่เราหามาได้นั้น มีบุคคลก็เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ คือ อรหัตตผลบุคคล๑
เราก็ต้องปฏิเสธองค์ธรรมของสันนิฏฐานบท ใส่เครื่องหมาย X ที่ อรหัตตผลบุคคล๑
ส่วนที่เหลืออีก 8 บุคคลเป็นบุคคลที่ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์ ยอมรับจริงตามสังสยบทใส่เครื่องหมาย /
เพราะฉะนั้น 8 บุคคลนี้จึงเป็นบุคคลที่ไม่ใช่กำลังรู้รอบรูปขันธ์ และก็ไม่ใช่เคยรู้รอบเวทนาขันธ์

:b50: ระวังการใช้คำว่า ไม่ใช่
ปัจจนิกของ กาล ๔ , ๕ , ๖ ----> จะใช้ไม่ใช่นำหน้าหมด ไม่ใช่กำลัง ไม่ใช่เคย ไม่ใช่จัก
ปัจจนิกของ กาล ๑ , ๒ , ๓ ----> ไม่ใช่กำลัง ไม่เคย จักไม่

:b53: กาล ๔ , ๕ , ๖ ปัจจนิก ใช้รูปแบบการคิดหาแบบนี้นะคะ ทั้งอนุโลมปุจฉาและปฏิโลมปุจฉา
หลักการคิดนี้ใช้กับชั้น มหาโท ด้วยค่ะ ไม่เหมือนกันเพียงคำว่า ขันธ์ เปลี่ยนเป็น อายตนะ
การเปลี่ยนคำจากขันธ์เป็นอายตนะ ก็ยังคงคิดเหมือนเดิมทุกอย่างค่ะ เมื่อเข้าใจเรื่องนี้ในชั้นมหาตรี
ก็สามารถใช้ได้ในชั้นมหาโทด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2016, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




มหาตรี.jpg
มหาตรี.jpg [ 83.72 KiB | เปิดดู 8096 ครั้ง ]
:b8: สาธุค่ะลุง ลุงหมานช่วยทำตารางให้ค่ะ
ตามภาพที่แสดงด้านบนนี้ เป็นการย่อแบบเหลือแค่ตัวเลข กับส่วนอื่นๆ อีกนิดหน่อยเท่านั้น
เหมาะสำหรับคนที่จำได้ทั้งหมดแล้ว เรียกว่าชี้ไปที่ตัวเลขใด จุดใด ทราบถึงเนื้อหาหมดแล้ว
ส่วนใครจะใส่อะไรเข้าไปในตาราง ก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะลงรายละเอียดมากน้อย ตามถนัดได้เลยค่ะ

มูลวาระ
ในตารางแต่ละช่องนั้น เราจะใส่พระบาลีอย่างตัวเลข ข้อ1-4 ที่จัดกลุ่มไว้ให้ ๓ กลุ่มตามลำดับ
และ อธ. คือใส่องค์ธรรมกำกับไว้ด้วย ส่วนคำว่า ชื่อ และ มี นั้นให้เห็นความแตกต่างของคำแปล
กลุ่มที่ ๑ ชื่อ ....กลุ่มที่ ๒ มี......กลุ่มที่ ๓ ชื่อ , มี

ใครสะดวกจะใส่พระบาลีลงไป แล้ววงเล็บปีกกาไว้ว่า ชื่อ , มี ก็ได้นะคะ
หรือจะใส่อะไรที่ท่านสามารถเข้าใจได้ จะเป็นคำแปลก็ได้ สุดแต่การกำหนดของแต่ละท่านค่ะ
เขียนย่อๆ ไว้ในตารางอย่างที่ท่านเข้าใจก็ได้


กุสลบท
กุสลา ธมฺมา
(องค์ธรรมได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘)

1. กุสลมูลา [ชื่อว่า กุศลมูล ]
2. กุสลมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นกุศลมูล ]
(องค์ธรรมได้แก่ กุศลมูล ๓)

3. กุสลมูลกา [ มีมูลที่เป็นกุศล]
4. กุสลมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นกุศลมูล ]
1. กุสลมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ]
2. กุสลมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล ]
3. กุสลมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล]
4. กุสลมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล ]
(องค์ธรรมได้แก่ กุ.๒๑ เจ.๓๘ กุ.จิรุ. ๑๗)

1. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
2. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
3. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
4. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
(องค์ธรรมได้แก่ กุศลมูล ๓)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อกุสลบท
อกุสลา ธมฺมา
(องค์ธรรมได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗)

1. อกุสลมูลา [ชื่อว่า อกุศลมูล ]
2. อกุสลมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นอกุศลมูล ]
(องค์ธรรมได้แก่ อกุศลมูล ๓)

3. อกุสลมูลกา [ มีมูลที่เป็นอกุศล]
4. อกุสลมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นอกุศลมูล ]
1. อกุสลมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล ]
2. อกุสลมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล ]
3. อกุสลมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล]
4. อกุสลมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอกุศลมูล ]
(องค์ธรรมได้แก่ กุ.๒๑ เจ.๒๗(เว้นโมในโม๒) กุ.จิรุ. ๑๗)

1. อกุสลมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอกุศลมูล]
2. อกุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอกุศลมูล]
3. อกุสลมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับอกุศลมูล]
4. อกุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอกุศลมูล]
(องค์ธรรมได้แก่ กุศลมูล ๓)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อพยากตบท
อพฺยากตา ธมฺมา
(องค์ธรรม ได้แก่ วิ. ๓๖ , กิ. ๒๐, เจ ๓๘ รูป๒๘ นิพพาน)

1. อพฺยากตมูลา [ชื่อว่า อพยากตมูล ]
2. อพฺยากตมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นอพยากตมูล ]
(องค์ธรรม ได้แก่ อพยากตมูล ๓)

3. อพฺยากตมูลกา [ มีมูลที่เป็นอพยากตมูล]
4. อพฺยากตมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นอพยากตมูล ]
1. อพฺยากตมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอพยากตมูล ]
2. อพฺยากตมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอพยากตมูล ]
3. อพฺยากตมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอพยากตมูล]
4. อพฺยากตมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับอพยากตมูล ]
(องค์ธรรม ได้แก่ สเห.วิ.๒๑ ,สเห.กิ.๑๗ , เจ.๓๘ , สเห.วิ+กิ.จิรุ.๑๗ , สเห.ปฏิ.กํ-->ปัญจ.)
[จะย่อให้จำง่าย ก็ได้นะคะว่า สเห.4 ]

1. อพฺยากตมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอพยากตมูล]
2. อพฺยากตมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอพยากตมูล]
3. อพฺยากตมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับอพยากตมูล]
4. อพฺยากตมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอพยากตมูล]
(องค์ธรรม ได้แก่ อพยากตมูล ๓)


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นามบท
นามา ธมฺมา
(องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน)

1. นามมูลา [ชื่อว่า นามมูล ]
2. นามมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นนามมูล ]
(องค์ธรรม ได้แก่ นามมูล ๙)

3. นามมูลกา [ มีนามมูล].......ต้องจำให้ได้นะคะ
4. นามมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นนามมูล ]
1. นามมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล ]
2. นามมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ]
3. นามมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับนามมูล]
4. นามมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับนามมูล ]
(องค์ธรรม ได้แก่ สเห..๗๑ , เจ. ๕๒(เว้นโมในโม๒) , สเห.จิรุ.๑๗-->ปัญจ. , ปัญจ.สเห.ปฎฺิ.กํ)
[จะย่อให้จำง่าย ก็ได้นะคะว่า สเห.3(-โม2)]


1. นามมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
2. นามมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
3. นามมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
4. นามมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับนามมูล]
(องค์ธรรม ได้แก่ นามมูล ๙(เว้นโมในโม๒)

:b47: :b47: ย่อ อะไรไว้ ก็ต้องขยายได้ด้วยนะคะ :b47: :b47:

:b53: โครงสร้างในตารางทั้งหมดนี้สำคัญมาก
(จะถ่ายรูปที่เคยทำไว้ท่อง มาให้ดูเป็นตัวอย่าง อาจจะดูยุ่งเหยิง แต่สะดวกดีค่ะ)

อนุโลมปุจฉา ส่วนบนนี้คืออนุโลมปุจฉา
ปฏิโลมปุจฉา ส่วนล่างนี้คือปฏิโลมปุจฉา


อ้อม---ส่วนบนนี้คืออนุโลมปุจฉา=ปริปุณณปัญหาคู่กับสรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยอ้อม
อา ------------ส่วนล่างนี้คือปฏิโลมปุจฉา=ปัจฉาปัญหาคู่กับปฏิวจนวิสัชนา (อามนฺตา ใช่)

ตารางด้านบนและล่างสุด ทั้งแถวตามแนวนอนนั้น

ตารางด้านบน ในส่วนของทั้ง ๔ บท ที่เป็น มูลยมกะ มีข้อ
1. มูลนัย
2. มูลมูลนัย
เช่น
1. กุสลมูลา [ชื่อว่า กุศลมูล ]
2. กุสลมูลมูลา [ชื่อว่า มูลที่เป็นกุศลมูล ]
ไม่ว่าจะเป็น กุศลบท อกุศลบท อพยากตบท นามบท ทั้ง ๔ บทนี้ ทั้ง อนุโลมปุจฉาและปฏิโลมปุจฉา
เป็นไปในแนวเดียวกัน เหมือน อ้อม/อา ล่างสุดของตารางที่มีลูกศรชี้ไปด้านซ้ายและขวา

และ ในตารางล่างสุด ทั้งแถวตามแนวนอนของทั้ง ๔ บท ที่เป็น อัญญมัญญมูลยมกะ ทั้ง ๔ นัย
1. มูลนัย
2. มูลมูลนัย
3. มูลกนัย
4. มูลมูลกนัย
เช่น
1. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลา [ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
2. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลา [ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
3. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลกา [มีมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
4. กุสลมูเลน อัญญมัญญมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับกุศลมูล]
ของทั้ง ๔ บทนั้น มีปัญหาและวิสัชนา เป็นอย่างเดียวกันคือ อ้อม/อา ดังลูกศรข้างล่างชี้ไปทางซ้ายและขวา บอกให้รู้ว่า ตามแนวนอนทั้งซ้ายขวา เป็นอย่างนั้นทั้งหมด

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ส่วน อา/ตรง ....ตรง/ตรง......ตรง/อา.......ตรง/ตรง นั้นเป็นได้เฉพาะของแต่ละช่องนั้นทั้ง ๔ บท
ที่เป็นเอกมูลยมกะ

ตรง----ส่วนบนนี้คืออนุโลมปุจฉา=ปริปุณณปัญหาคู่กับสรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยตรง
ตรง----ส่วนล่างนี้คือปฏิโลมปุจฉา=ปริปุณณปัญหาคู่กับสรูปทัสสนวิสัชนา ที่มีวิภังค์โดยตรง

เช่น อา/ตรง (ปัจฉา/ปริปุณณ)
3. กุสลมูลกา [ มีมูลที่เป็นกุศล]
4. กุสลมูลมูลกา [มีมูลที่เป็นกุศลมูล ]
1. กุสลมูเลน เอกมูลา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ]
2. กุสลมูเลน เอกมูลมูลา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล ]
3. กุสลมูเลน เอกมูลกา [มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล]
4. กุสลมูเลน เอกมูลมูลกา [มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล ]

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ในส่วนของกุศลบทที่ยกตัวอย่างมานี้ ในส่วนของบทอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันค่ะ

ต่อไปเป็นปุจฉา-วิสัชนา ต้นแบบซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะนำมาให้ท่องเป็นหลัก เพื่อใช้เลียนแบบในการตอบของ ปริปุณณปัญหาทั้งหมด องค์ธรรมและวิธีคิดของแต่บทนั้น ต่างกัน แต่แบบฟอร์มของคำปุจฉาและวิสัชนานั้นคล้ายกันค่ะ

ทุกปุจฉา - วิสัชนาในทุกๆ บท ใช้เป็นคำถามในข้อสอบได้ทั้งหมดค่ะ
จึงต้องเข้าใจวิธีการหา และการตอบ ไว้ให้เข้าใจ อาศัยการจำแบบไม่เข้าใจนั้น จะไม่สามารถทำได้ค่ะ

:b53: จำรูปแบบปุจฉา-วิสัชนาไว้ค่ะ ซึ่งจะถนัดยกบทไหนก็แล้วแต่ท่านถนัดนะคะ
ในที่นี้จะยก กุศลบท อกุศลบท
และสังเกตุเมื่อเรียนถึง นามบท ด้วยค่ะเพราะจะมีข้อแตกต่างจากบทอื่นหลายจุดค่ะ
รูปแบบปุจฉา-วิสัชนา ที่ให้นี้ ท่องให้คล่องนี้ จะใส่ x นี้ให้ทราบว่า นะ จะอยู่ตรงไหน
เวลาเขียนจริงๆ แล้วจะไม่มี xค่ะ และวิสัชนา จะล้อตามคำปุจฉา ตามสีที่ใส่มานี้ค่ะ
คือ จะทำให้เข้าใจและท่องจำได้ง่ายขึ้น

อนุปุ) เยเกจิ กุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต x กุสลมูลาติ?
ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่า กุศลมูล ใช่ไหม?
วิสัชนา) ตีเณว กุสลมูลานิ , อวเสสา กุสลา ธมฺมา กุสลมูลา.
อโลภะ อโทสะ อโมหะ เพียง ๓ เท่านั้น ชื่อว่า กุศลมูล ,
กุศลธรรมที่เหลือนอกนั้น ไม่ชื่อว่า กุศลมูล
(อ้อม)
คือที่ย่อไว้ในตารางว่า อนุ.ปุ.-วิ. ตีเณว / อวเสสา

------------------------------------------
อนุปุ) เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา , สพฺเพ เต อกุสลมูเลน x เอกมูลาติ?
ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ที่เป็นอกุศล มีอยู่ , ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล ใช่ไหม?
วัสัชนา) อเหตุกํ อกุสลํ อกุสลมูเลน เอกมูลํ , สเหตุกํ อกุสลํ อกุสลมูเลน เอกมูลํ.
อกุศลที่เป็นอเหตุกะ ไม่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล ,
อกุศลที่เป็นสเหตุกะ มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล.
(ตรง)
คือที่ย่อไว้ในตารางว่า อนุ.ปุ.-วิ. อเห / สเห


ปฏิปุ) เย วา ปน อกุสลมูเลน เอกมูลา , สพฺเพ เต ธมฺมา x อกุสลาติ?
หรือว่า ธรรมเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุสลมูล มีอยู่ ,ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นอกุศล ใช่ไหม?
วิสัชนา) อกุสลสมุฏฺฐานํ รูปํ อกุสลมูเลน เอกมูลํ อกุสลํ ,อกุสลํ อกุสลมูเลน เอกมูลญฺเจว อกุสลญฺจ.
รูปซึ่งมีอกุศลเป็นสมุฏฐาน มีมูล เป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล แต่ไม่ใช่เป็นอกุศล ,
อกุศลธรรม มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล ก็ใช่ เป็นอกุุศลก็ใช่.
(ตรง)
คือที่ย่อไว้ในตารางว่า ปฏิ.ปุ.-วิ. อกุ.สมุฏฺ. / อกุสลํ

-----------------------------------------------
อนุปุ) เยเกจิ อกุสลมูเลน เอกมูลา ธมฺมา, สพฺเพ เต อกุสลมูเลน x อญฺญมญฺญมูลาติ?
ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล มีอยู่ ,
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันกับอกุศลมูล ใช่ไหม?
วิสัชนา) มูลานิ ยานิ เอกโต อุปฺปชฺชนฺติ อกุสลมูลานิ เอกมูลานิ เจว อญฺญมญฺญมูลานิ จ ,
อวเสสา อกุสลมูลสหชาตา ธมฺมา อกุสลมูเลน เอกมูลา น จ อญฺญมญฺญมูลา.
อกุศลมูลเหล่าใดเกิดขึ้นคราวเดียวกัน อกุศลมูลเหล่านั้น มีมูลเป็นอันเดียวกันก็ใช่ ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกันก็ใช่,
ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับอกุศลมูลที่เหลือนอกนั้น มีมูลเป็นอันเดียวกันกับอกุศลมูล แต่ไม่ ชื่อว่าเป็นมูลซึ่งกันและกัน.
(อ้อม)
คือที่ย่อไว้ในตารางว่า อนุ.ปุ.-วิ. มูลานิ / อวเสสา


:b53: ๔ ปุจฉา-วัสัชนา นี้ฝึกท่องให้คล่อง และจำให้ได้ด้วยนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2016, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็เหมือนกันกับตึกที่สวยหรู คอนโดสูงๆที่น่าอยู่นั่นแหละค่ะ การก่อสร้างขึ้นมาได้นั้น
ไม่ใช่สั่งคนงานผสมปูน หยิบเหล็กไปผูก เท่านั้น ถ้าเรามีความรู้แค่ผสมปูน ผูกเหล็ก ติดกระจกเป็น
เรายังทำตึกที่แข็งแรงไม่ได้ ก่อนจะลงมือแม้แต่จะหาแนวที่จะขุดดินสักแห่งในพื้นที่ก่อสร้างตรงบริเวณนั้น
มันก็มีเบื้องหลัง สถาปนิก วิศวกร นั่งเขียนกระดาษ นั่งใช้คอมพิวเตอร์ นั่งตัดกระดาษฯประกอบโมเดล
ไม่ใช่ไปถึงขุดๆๆดิน ผูกเหล็ก ผสมปูน ก่ออิฐ ติดกระจก

แต่เราไปขูดข้างฝาตึกดู ไม่ยักกะเจอตัวเลข ไม่ยักกะเห็นโมเดล ใช่มั้ยคะ
เพราะงานเหล่านั้นมันอยู่เบื้องหลัง ส่วนตึกที่เรายืนดูนั้น มันสำเร็จออกมาให้เห็นแล้ว
ใครอยากจะรู้งานเบื้องหลัง ก็ต้องลงทุนเรียนให้รู้ ทำให้เป็นในสาขาวิชาเหล่านั้น
และถ้าให้เก่งก็ต้องเรียนรู้การผสมปูน ก่ออิฐ เป็นต้น ไว้ด้วย เพื่อจะได้ควบคุมดูแลการทำงานได้

พระอภิธรรมก็คล้ายๆ กันค่ะ
เราเห็นพระธรรม ที่เป็นกลอนบ้าง เป็นบทความ เป็นปุจฉา-วิสัชนาบ้าง
ในเนื้อหาเหล่านั้นได้ซ่อนองค์ธรรม หรือ สภาวธรรมไว้มากมาย
เราจะอ่านเข้าใจได้แค่ไหน เราต้องทราบสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคำพูดเหล่านั้นด้วย
ซึ่งการเรียนในคัมภีร์ยมกก็เช่นกัน พระพุทธองค์ทรงแสดง ปุจฉา และ วิสัชนา
แต่ปุจฉา และคำวิสัชนา เป็นข้อความที่เขียนแล้ว ได้ไม่กี่บรรทัด

มีสภาวธรรม หรือองค์ธรรม ซ่อนอยู่ในบางคำของคำถามและคำตอบ(ปุจฉาและวิสัชนา)
ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย เราจะไม่เข้าใจว่า ทำไมพระพุทธเจ้าทรงแสดงปุจฉาและแสดงวิสัชนาว่าอย่างนั้น

พระอรหันต์ท่านได้สังคายนา และแสดงองค์ธรรมพร้อมทั้งจำแนกเป็นส่วนๆ ให้เราสามารถเข้าใจได้
มันต้องมีการจัดกลุ่มจัดประเภทของเนื้อหาต่างๆ ไว้ เพื่อเชื่อมโยงสภาวธรรมต่างๆ ให้เราสามารถเข้าใจ
และเข้าถึงเนื้อหา จะเห็นเป็นตัวเลข มีการบวกลบ ซึ่งการบวก การลบ นั้น ก็ไม่เหมือนการบวกการลบของการเรียนทางโลก

บางท่านก็ว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนแบบนี้ จริงค่ะพระพุทธองค์ไม่ได้สอนแบบนี้
แต่วิธีการเหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงให้เราเข้าถึงพระธรรมที่พระพุทธองค์สอนได้
(ผู้คนในสมัยพุทธกาลนั้นมีปัญญาสั่งสมมามาก บางท่านฟังแค่หัวข้อ ไม่กี่พยางค์ก็บรรลุทันที
แต่สำหรับพวกเราล่ะ แม้จะนั่งฟังพระสวดพระอภิธรรมในงานศพมาตลอดชีวิต ฟังอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องถึงขนาดบรรลุธรรมหรอก แค่ถามว่ารู้เรื่องหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่รู้เรื่องเลย แล้วถ้ามีการอธิบายให้เข้าใจล่ะ จะดีขึ้นใช่มั้ย ก็จะต้องเข้าใจได้บ้าง ไม่มากก็น้อย แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน)
และผู้ที่ค้นหาองค์ธรรมขึ้นมาสอนเราได้นั้น ก็ไม่ใช่คนธรรมดา แต่มีปัญญาระดับบรรลุมรรค ผล นิพพานได้
ผู้ซึ่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงมาแล้ว สามารถนำมาจำแนกออกมา สอนเราได้
ให้เรารู้ซึ้งถึงเรื่องต่างๆ ได้เข้าใจ ก็เป็นการสะสมของเราในแต่ละชาติที่เกิดมาเจอ
ซึ่งท่านก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า คำตอบที่หามาได้นั้น ลงตัวกับคำวิสัชนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

ถ้าไม่ทำแบบนี้ ก็ท้าให้ท่านพิสูจน์ ให้ท่านเปิดอ่านคัมภีร์นี้ เฉพาะคำปุจฉาและวิสัชนา
และให้ท่านพูดอธิบายออกมาให้ได้ ว่าอะไรเป็นอะไร
แล้วท่านลองมาเรียนพระอภิธรรมดู ท่านจะรู้ว่า องค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นคำบ้าง ที่เป็นตัวเลขบ้าง
จะเปิดเผยถึงสิ่งที่อยู่ภายในคำถาม และ คำตอบให้ท่านกระจ่างในเนื้อหาได้ค่ะ

ตึก คอนโด ส่ิ่งก่อสร้างต่างๆ มันก็มีการกระทำที่อยู่เบื้องหลัง ก่อนที่สิ่งนั้นจะสำเร็จออกมาให้เรามองเห็นได้ สัมผัสได้ ฯ
คำปุจฉา และ วิสัชนา ก็เช่นกัน ย่อมมีสภาวธรรมหรือองค์ธรรม ที่เป็นบัญญัติสื่อปรมัตถ์ ให้ท่านได้ทราบที่มาที่ไปของคำถามและคำตอบค่ะ

จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ
พูดย่อๆ ก็คือ ปรมัตถ์ และ บัญญัติ เรียนในชั้นปริจเฉท เรียนรู้ตรงนี้แค่พื้นฐานนะคะ
เรียน จิต เจตสิก รูป นิพพาน บัญญัติ เรียนในชั้นปริจเฉท เพื่อไปอ่านคัมภีร์ต่างๆ ให้เข้าใจนั่นเอง

พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ค่ะ จุดมุ่งหมายการเรียนพระอภิธรรม เพื่อให้ไปรู้ไปเข้าใจในคัมภีร์ต่างๆ นะคะ

แต่ถามว่าจะอ่านกันรู้เรื่องหรือ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ถ้าไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องสภาวธรรม ปรมัตถ์ บัญญัติ ไปเปิดอ่านคัมภีร์จะรู้เรื่องมั้ย ขนาดมีความรู้พื้นฐานมา ยังยากเลยนะคะ ขอบอก

เฉกเช่นเดียวกันกับจะไปเรียนคณะวิศวะ แต่ไม่รู้เรื่องคณิตศาสตร์และฟิสิกซ์มาก่อนฯลฯ แล้วเข้าไปนั่งฟังในมหาวิทยาลัย ถามว่าจะรู้เรื่องมั้ย

นักอภิธรรม เรียนกัน ๗ ปีครึ่งคือระยะเวลาของหลักสูตร กว่าจะเรียนจบ
จบแล้วก็จริง แต่เรียนมาทั้งหมดนี้ แค่ส่วนเล็กๆเล็กมากๆ ด้วย เมื่อเทียบกับพระธรรมในพระไตรปิฎกที่มีอยู่ค่ะ แต่ส่วนเล็กๆ ที่เรียนมานี่แหละ จะสามารถฉายส่องเข้าไปในส่วนที่กว้างขวางนี้ ทำให้ส่วนใหญ่ที่กว้างขวางที่มืดมนได้สว่างกระจ่างแจ้งในใจเรา สุดแท้แต่เราจะมีความพยายามแค่ไหน สั่งสมปัญญามาได้แค่ไหน ก็สว่างได้แค่นั้น ทำเหตุไว้อย่างไร ก็ได้ผลเท่านั้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2016, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


มูลยมกะ

อันนี้เอามาให้ดูเป็นแนว คล้ายๆ กับที่แนะนำให้ทำนะคะ
ใครสะดวกดัดแปลงทำอย่างไร เอาตามที่ถนัดเลยค่ะ
ในภาพนี้เอามาให้ดูเป็นแนวทาง มันยุ่งเหยิงสักหน่อย แต่ใช้งานได้ดีค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.พ. 2016, 12:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:44
โพสต์: 173

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุนะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:56 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร