วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 14:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2013, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕)
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 623&Z=7798

[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์
ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม
มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดใน
สกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต ฯ

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ

ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดม
ผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ
ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ
แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ

พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน
โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ

[๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้
มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา
วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน
สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ

[๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ
ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป
เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน
หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ

[๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย
ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น
มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย
และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่
โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ
ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ
แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ
ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ

[๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ
นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ
ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ
เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ-
*โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา
ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ

[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี
โภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ

[๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน
เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน
กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่
สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

[๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน
ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร
แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน
ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น
อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

[๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไป
สู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน
มีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไป
เพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี
โภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน
สกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน
สกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา
ทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว
พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ

จบ จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 21 ก.ย. 2013, 06:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

[๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน
เขาตายไป จะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม
ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ

:b8: :b8: :b8:

คำว่า เสพ นี้คือ ชวนะที่อยู่ในวิถีจิตทุกวิถีค่ะซึ่งอยู่ในอนันตรชาติ เป็นอาเสวนปัจจัย เป็นต้น
มีความสำคัญมากค่ะ เพราะมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายกระทำกรรมดีกรรมชั่วกันตรงที่ชวนะนี้ค่ะ
เสพสิ่งดีๆ ก็มีประโยชน์ เสพสิ่งไม่ดีๆ ก็มีโทษ เจอสิ่งไม่ดีก็ให้รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี หากจะเข้าใกล้
ก็ขอให้มีสติ มีโยนิโสมนสิการด้วยค่ะ


:b8: ขอบพระคุณค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2013, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านพุทธฏีกา
ขอบพระคุณค่ะท่าน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2013, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

เหตุให้เกิดปัญญา ๗ คือ

1. ปริปุจฺฉกตา ชอบสอบสวนทวนความถามปัญหาต่างๆ

2. วตฺถุวิสทกริยตา ชอบสะอาดทั้งกายและใจ ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ

3. อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนตา หมั่นรักษาอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
ให้ทรงไว้และให้สม่ำเสมอเป็นกิจวัตร

4.ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนา เว้นจากการคบหากับคนที่ไม่มีปัญญา

5. ปญฺญวนฺตุปุคฺคลเสวนา ชอบสมาคมกับคนฉลาด(บัณฑิต) ผู้มีปัญญา

6. คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา ชอบพิจารณาปัญหาที่ลึกซึ้งเสมอ

7. ตทธิมุตฺตตา ชอบน้อมจิตแสวงหาความรู้อันทำให้เกิดปัญญา

ปกิณณกภาค หน้า25
ลักขณาทิจตุกกะ และ กรรมในเชิงลึก 29

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

เหตุให้เกิดปัญญา ๗ คือ

1. ปริปุจฺฉกตา ชอบสอบสวนทวนความถามปัญหาต่างๆ

2. วตฺถุวิสทกริยตา ชอบสะอาดทั้งกายและใจ ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ

3. อินฺทริยสมตฺตปฏิปาทนตา หมั่นรักษาอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
ให้ทรงไว้และให้สม่ำเสมอเป็นกิจวัตร

4.ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนา เว้นจากการคบหากับคนที่ไม่มีปัญญา

5. ปญฺญวนฺตุปุคฺคลเสวนา ชอบสมาคมกับคนฉลาด(บัณฑิต) ผู้มีปัญญา

6. คมฺภีรญาณจริยปจฺจเวกฺขณา ชอบพิจารณาปัญหาที่ลึกซึ้งเสมอ

7. ตทธิมุตฺตตา ชอบน้อมจิตแสวงหาความรู้อันทำให้เกิดปัญญา

ปกิณณกภาค หน้า25
ลักขณาทิจตุกกะ และ กรรมในเชิงลึก 29


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 12:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ค. 2012, 14:53
โพสต์: 9

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ เหตุให้เกิดปัญญา ๗ ให้ได้ในชีวิตจริงๆๆ ขอบคุณมากครับ

.....................................................
พระเครื่อง
ประเพณีไทย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b27: ขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ เชิญอ่านอาเสวนปัจจัยกันค่ะ
ปัจจัย ๒๔ อุปมา และการศึกษาปฏิบัติ
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง เรียบเรียงเนื้อหา
:b42: จากหนังสือในงาน พิธีประสาทปริญญา ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

๑๒.
อาเสวนปัจจัย
อาเสวนปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ

อาเสวนปัจจัย หมายถึง ชวนจิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ชวนจิตที่เกิดหลังๆ
(ชวนจิต อ่านว่า ชวนะจิต)

อาเสวนปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัยตรงที่จิตดวงก่อนที่ดับไปเป็นปัจจัยให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นตามลำดับ
แต่ต่างกันที่อาเสวนปัจจัยหมายเฉพาะจิตที่ทำหน้าที่ชวนะ และจิตที่เกิดต่อกันนั้นต้องเป็นชาติเดียวกัน
จะเป็นกุศล อกุศล กิริยาก็ตาม ทั้งนี้ ชวนจิตจะต้องเกิดดับต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า ๔-๕ ขณะ
จึงจะเป็นอาเสวนปัจจัย

อุปมาเหมือน
บุคคลที่เคยผ่านการศึกษาในวิชาอย่างหนึ่งมาแล้ว เมื่อจะต้องการศึกษาในวิชาอย่างเดียวกันนั้นต่อไป
ก็ย่อมจะเรียนได้ง่ายและเข้าใจได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะอาศัยความรู้ที่ตนได้เคยผ่านมาแล้วในวิชานั้น
เป็นเครื่องอุดหนุนส่งเสริมให้เรียนได้ง่ายขึ้นและรู้เร็วขึ้นจนกระทั่งสำเร็จการเรียนในวิชานั้นๆ

การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอาเสวนปัจจัย
:b53: พึงตัดความต่อเนื่องของอกุศลชวนะ และยังกุศลชวนะให้เกิดต่อเนื่องให้มาก เพื่อจะได้อุดหนุนให้
กุศลธรรมเจริญยิ่งขึ้นๆ ไปจนถึงโลกุตตรกุศล

ข้อควรระวัง คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้

" ถ้ามีความเห็นผิด ก็สามารถทำ กุศล ให้เป็น อกุศล ได้
เช่น ถ้าไม่เห็นชาติทุกข์ ชราทุกข์... พอทำกุศลแล้ว ก็ไปหวังลาภ ยศ...

วัฏฏคามินีกุศลยังสามารถทำให้เกิดอกุศลเช่น ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
เพราะผลที่เราหวังเป็นอามิส มิใช่นิรามิส

แม้แต่ธัมมารมณ์ - หวังจะได้เกิดเป็นพรหม อรูปพรหม เจริญฌานแล้วยินดีในภพนั้นๆ

ถ้าเราไม่รู้ กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ ทำให้ค่าของกุศลที่เราทำหมดไป
ฉะนั้น เวลาเราจะทำอะไร ต้องฝ่าด่านอกุศลไปให้ได้ ทำแล้วอกุศลต้องไม่ตามมา

เพราะได้พบพระพุทธเจ้า ได้ศึกษาธรรมของพระองค์ จึงรู้ที่จะทำวิวัฏฏคามินีกุศล - กุศลที่เป็นไป
เพื่อดับวัฏฏทุกข์ กุศลชนิดนี้เรียกว่า บารมี เพราะไม่เจือด้วยอำนาจทิฏฐิ - ความเห็นผิด ความโลภ
เป็นต้น

พระโพธิสัตว์ปรารถนาพระสัมมาสัมพุทธญาณ ด้วยหวังเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ด้วยอำนาจของความกรุณา
การกระทำของท่านเป็นไปเพื่อวิวัฏฏะทั้งหมด "(พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก)

มุญฺจ ปุเร จงปล่อยเถิดปล่อยวางในข้างหน้า
มุญฺจ ปจฺฉโต ปล่อยเถิดหนาปล่อยวางในข้างหลัง
มชฺเฌ มุญฺจ ปล่อยเสียเถิดท่ามกลางวางระวัง
ภวสฺส ปารคู ถึงเสียเถิดถึงยังฝั่งของภพ
(ธัมมบท คาถาที่ ๓๔๘)
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2013, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: ขอบคุณค่ะคุณพลอยและทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่าน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

การอ่านธรรมะนั้นหากเป็นผู้ไม่มีพื้นฐานจะไขว่เขว่กับการอธิบายธรรมะที่ผิดพลาดของผู้อื่นได้ค่ะ
เป็นการเสพสิ่งที่ผิด ดังนั้นท่านจะต้องอ่านในหลายๆ ที่ โดยเฉพาะในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่า
เพราะการเสพสิ่งที่ผิดเข้าไปแล้วจะยึคเอาสิ่งที่ผิดนั้นว่าถูก จะแก้ไขได้ยากในภายหลัง เพราะยึคเสียแล้ว
จึงต้องรีบแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ คือรู้เห็นหรือฟังมาแล้วก็ตรวจทานค้นคว้า กับแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือกว่า

มีอย่างหนึ่งที่จะทำให้ท่านไม่หลง กับการอธิบายของคนอื่นค่ะ คือเมื่ออ่านธรรมะที่ใครก็ตามเขียนมา
ท่านสามารถอ่านแล้วตีความนั้นให้หาสภาวะ หรือ องค์ธรรม ให้ได้

ถ้าท่านไม่รู้องค์ธรรม ก็ค้นหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ค่ะ ท่านจะรู้ทันทีว่าใครพูดผิดหรือถูก
แม้แต่การอ่านธรรมะจากหนังสือ ถ้าท่านเข้าใจสภาวะ ท่านก็จะอ่านได้เข้าใจกว่าท่านไม่รู้สภาวะค่ะ
ดังนั้น จึงมีคนจำนวนหนึ่งได้อาศัยการเรียนพระอภิธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการอ่านพระธรรมค่ะ

สรุปคืออยากจะเตือนกันว่า อ่านแล้วตรวจสอบด้วย อย่าเพิ่งเชื่อให้คำพูดของใครทันทีค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
22 พฤษภาคม
วิธีอยู่เป็นสุขในภพหนึ่ง

วิธีที่ทำให้เราอยู่เป็นสุขในภพหนึ่ง คือ การมีจิตสำนึกที่ดี ด้วยการไม่ริษยาคนอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว และอบรมบ่มเมตตาในจิตของเราเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ จะอยู่ในที่ไหนๆ ก็ปราศจากอุปสรรคอันตราย ประสบความราบรื่นตลอดไป

จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอินทร์ไว้ในสักกปัญหสูตรว่า "ชาวโลกแม้ปรารถนาความสุขก็ไม่ได้รับความสุขตามต้องการด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ ความริษยา และความตระหนี่"

คนที่ริษยาคนอื่นจะคิดปองร้ายคนอื่นอีกด้วย ส่วนคนตระหนี่จะขาดเมตตาแก่บุคคลอื่น ทั้งสองประเภทจะปราศจากความซื่อสัตย์สุจริต ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


wink วันก่อนดิฉันว่า ดิฉันเห็นหิ่งห้อยบินหลงมาอยู่ในสวนหลังบ้านตัวหนึ่ง
เห็นแสงของมันเปรียบเทียบกับดวงจันทร์แล้ว
มันเทียบกันไม่ได้เลยค่ะ มีแสงเหมือนกันแต่ก็ไม่เหมือนกัน

วัดท่ามะโอ มีโครงการแปลคัมภีร์พุทธศาสตร์ มีหนังสือให้เลือกอ่าน
ใครสนใจก็ติดต่อไปนะคะ มีหนังสือเก็บไว้อ่านจะได้มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แปลเรื่องอะไรบ้างครับ ส่งมาให้สักเล่มสิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แปลเรื่องอะไรบ้างครับ ส่งมาให้สักเล่มสิครับ :b1:

มีอภิธัมมาวตาร อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี และยังมีอีกหลายๆเล่ม
สนใจ โทร. ๐๘๖-๓๖๓๑๗๘๑ พระมหาประวัติ ถาวรจิตโต
วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สอบถามรายละเอียดได้ครับ
เป็นหนังสือหนา ๑๐๒๐ หน้า น่าอ่านหาความรู้เพิ่มเติมครับ...
แจกถึงบ้านครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แปลเรื่องอะไรบ้างครับ ส่งมาให้สักเล่มสิครับ :b1:

มีอภิธัมมาวตาร อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี และยังมีอีกหลายๆเล่ม
สนใจ โทร. ๐๘๖-๓๖๓๑๗๘๑ พระมหาประวัติ ถาวรจิตโต
วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สอบถามรายละเอียดได้ครับ
เป็นหนังสือหนา ๑๐๒๐ หน้า น่าอ่านหาความรู้เพิ่มเติมครับ...
แจกถึงบ้านครับ


ลุงหมาน ศิษย์ท่ามะโอเหมือนหรือครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2013, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แปลเรื่องอะไรบ้างครับ ส่งมาให้สักเล่มสิครับ :b1:

มีอภิธัมมาวตาร อภิธัมมัตถสังคหะ และปรมัตถทีปนี และยังมีอีกหลายๆเล่ม
สนใจ โทร. ๐๘๖-๓๖๓๑๗๘๑ พระมหาประวัติ ถาวรจิตโต
วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง สอบถามรายละเอียดได้ครับ
เป็นหนังสือหนา ๑๐๒๐ หน้า น่าอ่านหาความรู้เพิ่มเติมครับ...
แจกถึงบ้านครับ


ลุงหมาน ศิษย์ท่ามะโอเหมือนหรือครับ


วัดท่ามะโอค่ะ ถ้าคราวหน้าจะเอ่ยถึงวัดท่ามะโอ อย่าลืมใส่คำว่า วัด ด้วยนะคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร