วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 05:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2014, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
คำว่า ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ ก็เพราะปกรณ์นี้จะเป็นเครื่องมือและเป็นที่พึ่งที่อาศัยของนักศึกษาทั้งหลาย ในอันที่จะสรุปเนื้อหาในคัมภีร์ธาตุกถาได้โดยสะดวก ฉะนั้นจึงให้ชื่อว่า ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
(จากหนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า๒ ขอให้ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ หรือหนังสือคู่มือเล่มอื่นที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ธาตุกถา อ่านรายละเอียดในส่วนอื่นๆที่สำคัญอย่างมาก ประกอบด้วยค่ะ ในกระทู้นี้่จะขออธิบายเฉพาะวิธีทำเพื่อให้ท่านที่ศึกษาอยู่ได้เข้าใจเพิ่มเติม และเพื่อให้ท่านที่ไม่ได้ศึกษาจะได้เข้าใจว่าคำตอบนั้นมาได้อย่างไร เป็นการอธิบายของอาจารย์ท่านเมตตากรุณาอธิบายไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างพวกเราได้พอเข้าใจได้ว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีขั้นตอนการคิดอย่างไร ซึ่งคนที่มีปัญญาสั่งสมมามากจะฟังปุ๊บรู้ปั๊บทันที แต่คนที่ยังสั่งสมมาน้อยก็ต้องแจกแจงเพื่อให้ทราบที่มาที่ไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน ตามแนวทางแห่งพระอภิธรรมที่เชื่อมโยงสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะไปพูดในเรื่องใด สอบสวนทวนกันไปมาแล้วเชื่อมโยงถึงกัน สอดคล้องลงตัวกันอย่างน่าอัศจรรย์ นี่แหละคือพระปัญญาของพระพุทธองค์ที่ได้ทรงสั่งสอนไว้ และท่านอรรถกถาจารย์ที่เป็นพระอริยะท่านเห็นสภาวธรรมแล้วจึงได้แจกแจงไว้ให้คนรุ่นหลังเช่นพวกเราได้มีโอกาสเข้าถึงด้วยความเข้าใจเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้เข้าใจกันเป็นเหตุเป็นผลกันค่ะ หลักการคิดนี้ ดิฉันก็ได้เรียนรู้มาจากการอธิบายของอาจารย์ค่ะ ซึ่งพวกเราขณะนี้ก็ต้องอาศัยอาจารย์มาอธิบายขยายอีกครั้ง อ่านเองไม่สามารถเข้าใจกันได้ง่ายๆ หรอกค่ะ เราจึงต้องเริ่มจากทำความเข้าใจแบบแจกแจงไปเรื่อยๆ ก่อนค่ะ)

ปฐมนยสงฺคหิตาสงฺคหิตปทนิทฺเทส (สัง + อสัง) ๓๗๑ บท (โกสลา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมนยนิทเทส

ขนฺธาทิ อินฺทริยนฺตานิ เอกสฏฺฐีติ วุจฺจเร
อฏฺฐวีส สมุปฺปาเท โสฬเสว ตโต ปเร
พาหิรโต ติกทุเก ปกฺขิปิตฺวาน โกสลา ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า๒๗)

นัยที่ ๑ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ สังคหิตา อสังคหิตา
การลงท้ายด้วยตา โต ตํ ตานิ ขึ้นอยู่กับบทนิทเทสค่ะ
(สัง + อสัง) นั้นย่อมาจาก สังคหิตา อสังคหิตา
สังคหิตา การสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ
อสังคหิตา การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ
มีวิธีคิดหา ขันธ์ อายตนะ ธาตุ คือ ทุกนัยนั้นต้องหาองค์ธรรมหรือสภาวธรรมของบทนิทเทสให้ได้ก่อน
เช่นบทนิทเทสนี้ค่ะ... วิปากา ธมฺมา องค์ธรรมคือ วิปากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘

เราจะมาหาสังคหิตา ก่อนค่ะ... สัง พูดง่ายๆ ก็คือองค์ธรรมนั้นเป็นอะไรบ้างนั่นเอง
สภาวธรรมเหล่านี้นั้นเป็นขันธ์ได้เท่าไรในขันธ์ ๕
เป็นอายตนะได้เท่าไรในอายตนะ ๑๒ เป็นธาตุได้เท่าไรในธาตุ ๑๘
คือสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร

วิธีหาขันธ์
วิปากจิต ๓๖ เป็นวิญญาณขันธ์
เจตสิก ๓๘ นี้มีทั้งหมด ๓ ขันธ์ คือ เวทนาเจตสิก ๑ เป็นเวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก ๑ เป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์

วิธีหาอายตนะ
วิปากจิต ๓๖ เป็น มนายตนะ
เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมายตนะ

วิธีหาธาตุ
วิปากจิต ๓๖ เป็น วิญญาณธาตุ ๗
หาได้จากวิปากมาทั้งหมด จะมีอเหตุกวิปากจิต ๑๕ ดวงมา
O O O O O O O
O O O O O O O O
จักขุ๒ โสต๒ ฆาน๒ ชิวหา๒ กาย๒ สัม๒ สัน๓


เราจะดูที่อเหตุกวิปากจิต ๑๕ ดวงนี้เป็นหลัก ถ้าวิปากจิตมาหมด
หรือในฝ่ายโลกียะมาหมดแบบนี้ จะต้องมีอเหตุกวิปากมาด้วยเสมอ
เพราะที่อเหตุกวิปากจิตทั้ง ๑๕ ดวงนี้มีวิญญาณธาตุ ๗ มาครบ
เรามาดูกันว่า มีวิญญาณธาตุอะไรบ้าง
ใน ๑๕ ดวงนี้มี จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็น จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณจิต ๒ เป็น โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็น ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณจิต ๒ เป็น กายวิญญาณธาตุ
สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็น มโนธาตุ
สันตีรณจิต ๓ เป็น มโนวิญญาณธาตุ
และวิปากที่เหลือจาก อเหตุกจิต ๑๕ ดวงนี้คือ ๓๖-๑๕ เท่ากับ อีก ๒๑ ดวง คือ มโนธาตุ(ปัญจทวาราวัชนจิต๑) และมโนวิญญาณธาตุ. ซึ่งมีทั้ง๒ธาตุนี้แล้วใน อเหตุกวิปากจิต๑๕ ดวงที่แจกแจงมา
เพราะฉนั้น วิปากจิต ๓๖ จึงได้ วิญญาณธาตุ ๗ ครบค่ะ

ส่วนเจตสิก ๓๘ นั้นเป็น ธัมมธาตุ

บทนิทเทสนี้คือ วิปากา ธมฺมา จึงสงเคาะห์ได้ด้วย นามขันธ์ ๔...อายตนะ ๒...ธาตุ ๘
................................................

ต่อไปเป็น อสังคหิตา บ้าง... อสัง ก็คือ สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร

วิธีหาขันธ์
อสัง พูดง่ายๆ ก็คือส่วนที่เหลือของขันธ์ ที่เหลือของอายตนะ ที่เหลือของธาตุ จากที่สงเคราะห์หาไปได้แล้ว
ส่วนที่เหลือจึงเป็น อสัง คือสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
สัง ได้ นามขันธ์ ๔ ไปแล้ว ที่เหลือจึงเป็น อสังฯ......(5-4=1)
ขันธ์ทั้งหมด มี ๕ ขันธ์ สงเคราะห์ได้นามขันธ์ ๔ ไปแล้ว
ดังนั้นส่วนที่เหลือ คือ ๑...อสังฯ ได้แก่ รูปขันธ์ ๑

วิธีหาอายตนะ
อายตนะ มี ๑๒ เราสัง ได้ไปแล้วคือ ๒ ที่เป็นมนายตนะ ๑ และ ธัมมายตนะ ๑....(12-2=10)
ดังนั้นส่วนที่เหลือ คือ ๑๐....อสัง ได้แก่ โอฬาริกายตนะ ๑๐

วิธีหาธาตุ
ธาตุ มี ๑๘ เราสัง ได้ไปแล้วคือ ๘ ที่เป็นวิญญาณธาตุ ๗ และ ธัมมธาตุ ๑....(18-8=10)
ดังนั้นส่วนที่เหลือ คือ ๑๐....อสัง ได้แก่ โอฬาริกธาตุ ๑๐

ดังนั้น วิปากา ธมฺมา จึงสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์ ๑... โอฬาริกายตนะ ๑๐... โอฬาริกธาตุ ๑๐
................................................

เราจะมาปุจฉา และ วิสัชชนากันค่ะ ทั้งบาลีและคำแปล

ปุจฉา... วิปากา ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตนเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?
วิปากธรรม นี้ นับสงเคราะได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... วิปากา ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ ทวีหายตนเนหิ อฎฺฐหิ ธาตูหิ สงฺคหิตาฯ
วิปากธรรม นี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยนามขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑ ธาตุ ๘ คือ วิญญาณธาตุ๗ ธัมมธาตุ๑
................................................
ปุจฉา... วิปากา ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?
วิปากธรรม นี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... วิปากา ธมฺมา เอเกน ขนฺเธน ทสหายตเนหิ ทสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตาฯ
วิปากธรรม นี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยรูปขันธ์๑ โอฬาริกายตนะ๑๐ โอฬาริกธาตุ๑๐

:b8: :b8: :b8:

จะต้องรู้ก่อนค่ะว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุมีเท่าไร, อะไรบ้าง และความรู้พื้นฐานอื่นๆ ที่ควรจะรู้
ดังนั้นควรอ่านทำความเข้าใจได้ที่กระทู้นี้ค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47582
ส่วนในกระทู้นี้จะขอเน้นเฉพาะวิธีคิดหาขันธ์ อายตนะ ธาตุค่ะ

บทนิทเทสคือ รูปภโว องค์ธรรมได้แก่ รูปาวจรวิปากจิต ๕, จักขุวิญญาณจิต ๒, โสตวิญญาณจิต ๒,
สัมปฏิจฉนจิต ๒, สันตีรณจิต ๓, เจตสิก ๓๕, กัมมชรูป ๑๕

สังฯ วิธีหาขันธ์
รูปาวจรวิปากจิต ๕, จักขุวิญญาณจิต ๒, โสตวิญญาณจิต ๒,
สัมปฏิจฉนจิต ๒, สันตีรณจิต ๓, ทั้งหมดนี้คือ จิต เป็นวิญญาณขันธ์
เจตสิก ๓๕ มีเวทนาเจตสิก ๑ เป็นเวทนาขันธ์, สัญญาเจตสิก ๑ เป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์
กัมมชรูป ๑๕ เป็น รูปขันธ์..........ครบ ขันธ์ ๕

วิธีหาอายตนะ
รูปาวจรวิปากจิต ๕, จักขุวิญญาณจิต ๒, โสตวิญญาณจิต ๒,
สัมปฏิจฉนจิต ๒, สันตีรณจิต ๓ ทั้งหมดนี้คือ จิต เป็นมนายตนะ

กัมมชรูป ๑๕ (เว้น ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท ภาวรูป ๒)
ใน กัมมชรูป ๑๕ นี้มีทั้ง โอฬาริกรูป และ สุขุมรูป ปนกันอยู่
เราจึงต้องแยกก่อนค่ะว่าส่วนใดเป็นโอฬาริกรูป แล้วที่เหลือจึงเป็นสุขุมรูป
กัมมชรูป ๑๕ มีอะไรบ้าง มี คือ มหาภูตรูป ๔, จักขุปสาท, โสตปสาท, รูปารมณ์, คันธารมณ์, รสารมณ์, หทย, ชีวิตรูป, โอชา (อาหาร), ปริจเฉทรูป, อุปจย สันตติ/ชรตา อนิจจตา.......ตรงนี้มีโอฬาริกรูปได้ ๓ เท่านั้นที่คิดได้ คือ
จักขุปสาท เป็นจักขายตนะ
โสตปสาท เป็นโสตายตนะ
รูปารมณ์ เป็นรูปายตนะ
(ส่วน คันธารมณ์ รสารมณ์ นั้น อนุโลมเป็นสุขุมรูปไป เพราะรูปพรหมไม่มีฆานปสาท ชิวหาปสาท จึงไม่สามารถรับรู้กลิ่นและรสได้ แต่ในตัวรูปพรหมก็ยังคงมีคันธารมณ์ รสารมณ์ให้แก่ผู้อื่นที่มีฆานปสาท ชิวหาปสาทให้รับรู้กลิ่นและรสได้)

เจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เหลืออีก ๑๒ คือสุขุมรูป ทั้งหมดนี้เป็น ธัมมายตนะ

อายตนะได้ ๕ คือ
โอฬาริกายตนะ ๓...จักขายตนะ โสตายตนะ รูปายตนะ
มนายตนะ ๑, ธัมมายตนะ ๑

วิธีหาธาตุ
รูปาวจรวิปากจิต ๕ และสันตีรณจิต ๓ เป็นมโนวิญญาณธาตุ
จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ
สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ

กัมมชรูป ๑๕ นี้มีโอฬาริกธาตุ ๓ คือ
จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ
โสตปสาท เป็นโสตธาตุ
รูปารมณ์ เป็นรูปธาตุ

เจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เหลืออีก ๑๒ เป็น ธัมมธาตุ

ธาตุ ได้ ๘ คือ
โอฬาริกธาตุ ๓....จักขุธาตุ โสตธาตุ รูปธาตุ
วิญญาณธาตุ ๔ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
ธัมมธาตุ ๑
................................................

อสัง
ขันธ์สงเคราะห์ไม่ได้นั้น...ไม่มี (นเกฯ) เพราะสงเคราะห์ได้ครบขันธ์ ๕ แล้ว
อายตนะ 12-5=7 คือ โอฬาริกายตนะที่เหลืออีก ๗....ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์
ธาตุ 18-8=10 คือ โอฬาริกธาตุที่เหลืออีก ๗....ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฎฐัพพธาตุ วิญญาณธาตุอีก ๓....ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ
................................................

ปุจฉา... รูปภโว กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตนเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต?
รูปภวะนี้ นับสงเคราะได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... รูปภโว ปญฺจหิ ขนฺเธหิ ปญฺจหายตนเนหิ อฎฺฐหิ ธาตูหิ สงฺคหิโตฯ
รูปภวะนี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๕ คือ จักขายตนะ๑ โสตายตนะ๑ รูปายตนะ๑ มนายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑ ธาตุ ๘ คือ จักขุธาตุ๑ โสตธาตุ๑ รูปธาตุ๑ จักขุวิญญาณธาตุ๑ โสตวิญญาณธาตุ๑ มโนธาตุ๑ มโนวิญญาณธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑
................................................

ปุจฉา... รูปภโว กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิโต?
รูปภวะนี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... รูปภโว นเกหิจิ ขนฺเธหิ สตฺตหายตเนหิ ทสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิโตฯ
รูปภวะนี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย โอฬาริกายตนะ ๗ คือ
ฆานายตนะ๑ ชิวหายตนะ๑ กายายตนะ๑ สัททายตนะ๑ คันธายตนะ๑ รสายตนะ๑ โผฏฐัพพายตนะ๑ ธาตุ ๑๐ คือ โอฬาริกธาตุ ๗ (เว้น จักขุธาตุ๑ โสตธาตุ๑ รูปธาตุ๑) ฆานวิญญาณธาต๑ ชิวหาวิญญาณธาตุ๑ กายวิญญาณธาตุ๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นัยที่ ๑ นั้น จะมี มูละ มูลี .....เช่น
มโนวิญญาณธาตุเป็นมูละ...ธัมมธาตุเป็นมูลี

สัง
วิธีหาขันธ์
มโนวิญญาณธาตุ องค์ธรรมคือ จิต ๗๖ เป็นวิญญาณขันธ์
ธัมมธาตุ องค์ธรรมคือ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน
เจตสิก ๕๒ เป็นนามขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
สุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปขันธ์
นิพพาน เป็นอสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตวา (ใช้สัญญาลักษณ์แทนให้รู้คือ *)
รวมแล้วทั้งมูละ มูลี จึงได้ *ขันธ์ ๕

วิธีหาอายตนะ
มโนวิญญาณธาตุ เป็นมนายตนะ
ธัมมธาตุ นั้น เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

วิธีหาธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ ก็คือชื่อตัวบทนิทเทสที่เป็นมูละเองนั่นแหละค่ะ บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นธาตุใด
ธัมมธาตุนั้น ก็คือชื่อตัวบทนิทเทสที่เป็นมูลีเองนั่นแหละค่ะ บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นธาตุใด

สัง ได้ *ขันธ์ ๕ อายตนะและธาตุ ได้อย่างละ ๒
(ธัมมายตนะ กับ ธัมมธาตุ นั้นมีองค์ธรรมเดียวกัน ได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน)
................................................

อสัง
ขันธ์ก็เป็น นเกฯ
อายตนะ 12-2=10 คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธาตุ 18-2=16 คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้นมโนวิญญาณธาตุ)

อสัง ได้ ขันธ์ก็ นเกฯ โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖
................................................

ปุจฉา... มโนวิญญาณธาตุ จ ธมฺมธาตุ จ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตนเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?
มโนวิญญาณธาตุ และ ธัมมธาตุนี้ นับสงเคราะได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... มโนวิญญาณธาตุ จ ธมฺมธาตุ จ อสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตวา ปญฺจหิ ขนฺเธหิ ทวีหายตนเนหิ ทวีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตาฯ
มโนวิญญาณธาตุ และ ธัมมธาตุนี้ ยกเว้นนิพพานที่นับสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์เสียแล้ว นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑ ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑
................................................

ปุจฉา... มโนวิญญาณธาตุ จ ธมฺมธาตุ จ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?
มโนวิญญาณธาตุ และ ธัมมธาตุนี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... มโนวิญญาณธาตุ จ ธมฺมธาตุ จ นเกหิจิ ขนฺเธหิ สตฺตหายตเนหิ โสฬสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตาฯ
มโนวิญญาณธาตุ และ ธัมมธาตุนี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาต ๖ (เว้นมโนวิญญาณธาตุ๑)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

เราสามารถใช้คำปุจฉาวิสัชชนาทั้งบาลีและคำแปลในบทนิทเทสใดก็ได้
ท่องเป็นบทสวดมนต์ในคัมภีร์ธาตุกถาก็ได้ค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ทุติยนยสงฺคหิเตนอสงฺคหิตปทนิทฺเทส (สัง + อสัง) ๔๒ บท (รคฺฆา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในทุติยนยนิทเทส

ทสายตนา สตฺตรส ธาตุโย
สตฺตินฺทฺริยา อสญฺญีภโว เอกโวการภโว
ปริเทโว สนิทสฺสนสปฺปฏิฆํ อนิทสฺสนํ
ปุนเทว สปฺปฏิฆํ อุปาทาติ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า ๑๓๘)

นัยที่ ๒ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ สังคหิตา อสังคหิตา
-ขันธ์เหมือน อายตนะ,ธาตุต่าง สำหรับรูป
-ขันธ์,อายตนะเหมือน ธาตุต่าง สำหรับจิต

วิธีคิด
๑. หา เย ธมฺมา ให้ได้ก่อน
๒. สงเคราะห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ของบทนิทเทส และ เย ธมฺมา ตามแนวตั้ง
๓. ตรวจดูว่าที่สงเคราะห์ได้แล้วนั้นของบทนิทเทส และ เย ธมฺมา มาเทียบดูว่าได้ถูกต้องตามกฏของนัยนี้หรือไม่ คือขันธ์ของบทนิทเทส และ เย ธมฺมา ตามแนวตั้งจะต้องเหมือนกัน และอายตนะ ธาตุของบทนิทเทส และ เย ธมฺมา ตามแนวตั้งนั้นจะต้องต่างกัน สำหรับรูป (และสำหรับจิตก็เป็นไปตามกฏของนัยนี้เช่นกัน)
๔. นำขันธ์ อายตนะ ธาตุ ของเย ธมฺมา ตามแนวตั้งมาเป็นประธานคือ เต ธมฺมา เพื่อหาที่สงเคราะห์ไม่ได้

-ขันธ์เหมือน อายตนะ,ธาตุต่าง สำหรับรูป ตัวอย่างเช่น
บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นรูป คือ อนิทสฺสนสปฺปฏิเฆหิ ธมฺเมหิ (สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้)
องค์ธรรมได้แก่ โอฬาริกรูป ๑๑ (เว้นรูปารมณ์)

(สัง + อสัง)
บทนิทเทส..................................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา......................วิสัชชนา
อนิทสฺสนสปฺปฏิเฆหิ ธมฺเมหิ------------->รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖------------>อสัง
ข. รูปขันธ์---------------------สัง------>รูปขันธ์-------------------------->นามขันธ์๔
อ. โอฬาริกายตนะ๙(-รูปายตนะ)--อสัง-->รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑--------->๑๐
ธ. โอฬาริกธาตุ๙(-รูปธาตุ)------อสัง-->รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑---------------->๑๖

เย ธมฺมา/เต ธมฺมา นี้คือส่วนที่เหลือของรูปจากองค์ธรรมในบทนิทเทสที่เป็นรูปเหมือนกัน และจะต้องมีอายตนะ ธาตุ ที่ต่างจากบทนิทเทสด้วย รูปมี ๒๘ คือ
แบ่งเป็นโอฬาริกรูป ๑๒ + สุขุมรูป ๑๖ .....องค์ธรรมของบทนิทเทสนี้คือ โอฬาริกรูป ๑๑ เว้นรูปารมณ์
เย ธมฺมา/เต ธมฺมา จึงเป็นรูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖

ก่อนอื่นเราจะคิดขันธ์ อายตนะ ธาตุ ตามแนวตั้งก่อน (ต่อไปนี้ขอย่อเป็น ข. อ. ธ.)
โอฬาริกรูป ๑๑ (เว้นรูปารมณ์)นับสงเคราะห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุได้
ข. รูปขันธ์
อ. โอฬาริกายตนะ๙(-รูปายตนะ)
ธ. โอฬาริกธาตุ๙(-รูปธาตุ)

รูปารมณ์ นับสงเคราะห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุได้ ....รูปขันธ์ รูปายตนะ รูปธาตุ
สุขุมรูป ๑๖ นับสงเคราห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุได้ ....รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ
ข. รูปขันธ์
อ. รูปายตนะ ธัมมายตนะ
ธ. รูปธาตุ ธัมมธาตุ

ข. รูปขันธ์<-----------------------(เป็นรูปขันธ์เหมือนกัน)------>รูปขันธ์
อ. โอฬาริกายตนะ๙(-รูปายตนะ)<-----(เป็นอายตนะต่างกัน)----->รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑
ธ. โอฬาริกธาตุ๙(-รูปธาตุ)<----------(เป็นธาตุที่ต่างกัน)--------->รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑

เปรียบเทียบดูบทนิทเทส กับ เย ธมฺมา ว่าเป็นไปตามกฏของนัยนี้ถูกต้อง
เมื่อสงเคราะห์องค์ธรรมของบทนิทเทส กับ เย ธมฺมา /เต ธมฺมา แล้วจะได้
องค์ธรรมของบทนิทเทสคือโอฬาริกรูป ๑๑(เว้นรูปารมณ์) ได้รูปขันธ์เหมือนกันกับ เย ธมฺมา/เต ธมฺมา คือรูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖
ส่วนอายตนะนั้นต่างกันคือบทนิทเทสได้ โอฬาริกายตนะ๙(-รูปายตนะ) ส่วนเย /เต ได้ รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑ นั้นได้อายตนะไม่เหมือนกัน
ส่วนธาตุนั้นต่างคือบทนิทเทสได้ โอฬาริกธาตุ๙(-รูปธาตุ) ส่วนเย /เต นั้นได้ รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑ นั้นได้ธาตุที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นจึงเอา เย ธมฺมา/เต ธมฺมา คือ รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖ มาหาอสังฯ คือวิสัชชนาหรือคำตอบ
นำ เย ธมฺมา/เต ธมฺมา คือ รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖ มาเป็นประธานหาคำตอบ จะนำที่สงเคราะห์ได้แล้วคือ
ข. รูปขันธ์
อ. รูปายตนะ ธัมมายตนะ
ธ. รูปธาตุ ธัมมธาตุ
มาเป็นประธานในการหาที่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ มีเท่าไร

เมื่อนับสงเคราะห์รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖แล้วได้ รูปขันธ์๑....นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ นามขันธ์๔....(ขันธ์5-รูปขันธ์1=นามขันธ์4)

รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖ นับสงเคราะห์ได้ด้วย รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑....นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ อายตนะ ๑๐ คือ โอฬาริกายตนะ๙(เว้นรูปายตนะ๑) มนายตนะ๑..... (12-2=10)

รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖ นับสงเคราะห์ได้ด้วย รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑......นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ๙(เว้นรูปธาตุ๑) วิญญาณธาตุ๗......(18-2=16)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส..........................................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา......................วิสัชชนา
อนิทสฺสนสปฺปฏิเฆหิ ธมฺเมหิ-------------------->รูปารมณ์ สุขุมรูป ๑๖------------>อสัง
ข. รูปขันธ์----------------------สัง--------->รูปขันธ์-------------------------->นามขันธ์๔
อ. โอฬาริกายตนะ๙(-รูปายตนะ)--อสัง-->รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑--------->๑๐
ธ. โอฬาริกธาตุ๙(-รูปธาตุ)--------อสัง-->รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑---------------->๑๖

ปุจฉา.... อนิทสฺสนสปฺปฏิเฆหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน อสงฺคหิตา
ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?

อนิททัสสนสัปปฏิฆธรรมเหล่านี้ นับสงเคราะห์รูปารมณ์และสุขุมรูป ๑๖ โดยความเป็นรูปขันธ์ได้
แต่นับสงเคราะห์โดยความเป็นโอฬาริกายตนะ๙(เว้นรูปายตนะ) โอฬาริกธาตุ๙(เว้นรูปธาตุ) ไม่ได้
รูปารมณ์และสุขุมรูป ๑๖ เหล่านั้น นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร?

วิสัชชนา..... เต ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ ทสหายตเนหิ โสฬสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตาฯ

รูปารมณ์และสุขุมรูป ๑๖ เหล่านั้น นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยนามขันธ์๔ อายตนะ ๑๐ คือ โอฬาริกายตนะ๙(เว้นรูปายตนะ๑) มนายตนะ๑ ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ๙(เว้นรูปธาตุ๑) วิญญาณธาตุ๗

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

-ขันธ์,อายตนะเหมือน ธาตุต่าง สำหรับจิต ตัวอย่างเช่น
บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นจิต คือ ฆานวิญฺญาณธาตุ
องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒

บทนิทเทส.............................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา................................วิสัชชนา
ฆานวิญฺญาณธาตุ--------------->วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือ-------------------->อสัง
ข. วิญญาณขันธ์-----------สัง----->วิญญาณขันธ์------------------------------>ขันธ์๔
อ. มนายตนะ--------------สัง----->มนายตนะ---------------------------------->๑๑
ธ. ฆานวิญฺญาณธาตุ---อสัง---->วิญญาณธาตุ๖ที่เหลือ(เว้นฆานวิญฯ)------>๑๒

จิตจะมา ๑ ดวงก็คือวิญญาณขันธ์ หรือมามากกว่า ๑ จนถึงมาทั้งหมด ๘๙ ดวงก็คือ วิญญาณขันธ์
จิตจะมา ๑ ดวง ก็คือ มนายตนะ หรือมามากกว่า ๑ จนถึงมาทั้งหมด ๘๙ ดวงก็คือ มนายตนะ
วิญญาณธาตุมีทั้งหมด ๗ และจิต ๘๙ นี้ได้วิญญาณธาตุ ๗ เมื่อมีมาคือ ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ก็จะเหลือ วิญญาณธาตุ อีก ๖ ค่ะ

วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือ
นับสงเคราะห์ได้ด้วย วิญญาณขันธ์๑ มนายตนะ๑ วิญญาณธาตุ๖(เว้นฆานวิญญาณธาตุ)

เปรียบเทียบดูบทนิทเทส กับ เย ธมฺมา ว่าเป็นไปตามกฏของนัยนี้ถูกต้อง
ข. วิญญาณขันธ์-------สัง------>วิญญาณขันธ์ ( ได้วิญญาณขันธ์เหมือนกัน )
อ. มนายตนะ-----------สัง----->มนายตนะ ( ได้มนายตนะเหมือนกัน )
ธ. ฆานวิญฺญาณธาตุ---อสัง---->วิญญาณธาตุ๖ที่เหลือ(เว้นฆานวิญญาณธาตุ) ( ได้ธาตุต่างกัน )

ขันธ์ นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ ขันธ์ ๔......(5 - วิญญาณขันธ์1 =4)
อายตนะ นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ อายตนะ ๑๑......(12 - มนายตนะ1 =11)
ธาตุ นับสงเคราะห์ไม่ได้คือ ธาตุ ๑๒.......(18 - วิญญาณธาตุ๖ =12)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส.............................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา................................วิสัชชนา
ฆานวิญฺญาณธาตุ--------------->วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือ-------------------->อสัง
ข. วิญญาณขันธ์--------สัง----->วิญญาณขันธ์-------------------------->ขันธ์๔
อ. มนายตนะ-----------สัง----->มนายตนะ-------------------------------->๑๑
ธ. ฆานวิญฺญาณธาตุ----อสัง---->วิญญาณธาตุ๖ที่เหลือ(เว้นฆานวิญฯ)------>๑๒

ปุจฉา...... ฆานวิญฺญาณธาตุ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา
ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?

ฆานวิญฺญาณธาตุนี้ นับสงเคราะห์ วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือโดยความเป็นวิญญาณขันธ์ มนายตนะได้
แต่นับสงเคราะห์โดยความเป็นฆานวิญญาณธาตุไม่ได้ วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือเหล่านั้น นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร?

วิสัชชนา...... เต ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ เอกาทสหายตเนหิ ทฺวาทสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตาฯ

วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือเหล่านั้น นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์๔ คือ รูปขันธ์๑ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑
สังขารขันธ์๑ อายตนะ ๑๑ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธัมมายตนะ๑ ธาตุ ๑๒ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐
ฆานวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมธาตุ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ตติยนยอสงฺคหิเตนสงฺคหิตปทนิทฺเทส (อสัง + สัง) ๙๐ บท (นฬา)
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในตติยมนยนิทเทส

(๑) ตโย ขนฺธา ตถา สจฺจา อินฺทฺริยานิ จ โสฬส
ปทานิ ปจฺจยากาเร จุทฺทสูปริ จุทฺทส ฯ
(๒) สมติํส ปทา โหนฺติ โคจฺฉเกสุ ทสสฺวถ
ทุเว จูฬนฺตรทุกา อฏฺฐ โหนฺติ มหนฺตราติ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า ๑๔๖)

นัยที่ ๓ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ อสังคหิตา สังคหิตา
ขันธ์ต่าง อายตนะ ธาตุเหมือน

นัยนี้จะแสดงได้เฉพาะ เจตสิก สุขุมรูป นิพพานเท่านั้น
ดังนั้น จึงแตกย่อยได้เป็น เวทนา สัญญา สังขาร สุขุมรูป นิพพาน
เมื่อบทนิทเทสม่ีองค์ธรรมใด ก็จะต้องตัดองค์ธรรมนั้นทิ้งไป และส่วนที่เหลือก็คือ เย ธมฺมา
ที่ต้องตัดทิ้งเพราะว่า นัยนี้ต้องเป็น ขันธ์ที่ต่างกัน เช่น
เวทนาขันธ์ นั้น มีขันธ์ที่ต่างกันคือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิธีหาความต่างกันคือ
ถ้าบทนิทเทสมีองค์ธรรมเป็น เจตสิก ๕๒ เมื่อแยกแล้วคือ เวทนา๑ สัญญา๑ สังขาร๕๐
ดังนั้น เราจะตั้งเป็น ๒ ฝ่าย
เวทนา สัญญา สังขาร ---------------- เวทนา สัญญา สังขาร สุขุมรูป นิพพาน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ---- เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปขันธ์ นิพพาน

จะเห็นได้ว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นั้นเหมือนกัน
ดังนั้นเราจะนำ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ มาสงเคราะห์ซ้ำอีกไม่ได้ เพราะนัย ๓ นี้
พระพุทธองค์ทรงแสดง ขันธ์ต่างกัน ดังนั้น จึงเหลือ สุขุมรูป นิพพาน
จึงเป็นการตัดตัวที่ซ้ำทิ้ง เพื่อสงเคราะห์ขันธ์ที่ต่างกัน และ สุขุมรูป นิพพาน จะมีอายตนะ กับธาตุ เหมือนกันกับ เวทนา สัญญา สังขาร ซึ่งลงตัวกับนัย ๓ นี้ คือ ขันธ์ต่าง อายตนะกับธาตุเหมือน

เช่น บทนิทเทสนี้ จิตตสํสฏฺเฐหิ ธมฺเมหิ(สภาวธรรมที่ระคนกับจิตก็คือเจตสิกนั่นเอง) มีองค์ธรรมคือ เจตสิก ๕๒
เจตสิก ๕๒ คือ เวทนาเจตสิก๑ สัญญาเจตสิก๑ สังขารเจตสิก๕๐
ดังนั้น เวทนา สัญญา สังขาร สุขุมรูป นิพพาน
จึงต้องถูกตัดทิ้งที่ซ้ำไป ๓ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
จึงเหลือ สุขุมรูป นิพพาน เป็น เย ธมฺมา

สุขุมรูป นิพพาน นับสงเคราะหได้ *รูปขันธ์
(จะเห็นได้ว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นั้นต่างกันกับรูปขันธ์)
นัยที่ ๓ นี้คำตอบจะเปลี่ยนเฉพาะ ขันธ์เท่านั้น บทนิทเทสที่สงเคราะห์ได้ในนัยนี้จะมีแค่
เจตสิก สุขุมรูป นิพพาน ซึ่งทั้ง ๓ นี้จะได้อายตนะ กับธาตุ เป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ เสมอ
ในนัยที่ ๓ นี้คำถามจะลงด้วย สังคหิตา ซึ่งต่างจากนัยที่ ๑,๒ จะลงท้ายด้วย อสังคหิตา

(อสัง + สัง)
บทนิทเทส...........................................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา......................วิสัชชนา
จิตตสํสฏฺเฐหิ ธมฺเมหิ------------------------> สุขุมรูป นิพพาน---------------->สัง
ข. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์----อสัง---> รูปขันธ์----------------------->*รูปขันธ์
อ. ธัมมายตนะ๑-------------------------สัง---> ธัมมายตนะ๑--------------------->๑
ธ. ธัมมธาตุ๑----------------------------สัง---> ธัมมธาตุ๑------------------------>๑

ข. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์----อสัง---> รูปขันธ์ (ได้ขันธ์ต่างกัน)
อ. ธัมมายตนะ๑----------------------สัง---> ธัมมายตนะ๑ ( ได้อายตนะเหมือนกัน)
ธ. ธัมมธาตุ๑-------------------------สัง---> ธัมมธาตุ๑ (ได้ธาตุเหมือนกัน )

จะเห็นได้ว่า เจตสิก ๕๒ ซึ่งเป็นองค์ธรรมของบทนิทเทสนั้น เป็น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
แต่ เย ธัมมา นั้นคือ สุขุมรูป เป็นรูปขันธ์ ส่วน นิพพาน เป็น อสังขตังฯ ดังนั้นบทนิทเทสกับเย ธัมมา จึงได้ขันธ์ที่ต่างกัน
ส่วนอายตนะ กับ ธาตุ เหมือน คือ สุขุมรูป นิพพาน นับสงเคราะห์ได้ ธัมมายตนะ กับ ธัมมธาตุ เหมือนกัน ทั้งบทนิทเทส และเย ธัมมา

จะเห็นว่านัยที่ ๓ นี้ คำตอบจะเป็นการนับสงเคราะห์ขันธ์ อายตนะ ธาตุของ เต ธัมมา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส...........................................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา..................วิสัชชนา
จิตตสํสฏฺเฐหิ ธมฺเมหิ-------------------------> สุขุมรูป นิพพาน---------------->สัง
ข. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์----อสัง---> รูปขันธ์------------------->*รูปขันธ์
อ. ธัมมายตนะ๑------------------------------สัง-------> ธัมมายตนะ๑---------------->๑
ธ. ธัมมธาตุ๑--------------------------------สัง-------> ธัมมธาตุ๑----------------->๑

ปุจฉา...... จิตตสํสฏฺเฐหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน อสงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา
ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?

จิตตสังสัฏฐธรรมเหล่านี้ นับสงเคราะห์ สุขุมรูป นิพพานโดยความเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
ไม่ได้ แต่นับสงเคราะห์โดยความเป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุได้ สุขุมรูป นิพพานเหล่านั้น นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา.... เต ธมฺมา อสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตฺวา เอเกน ขนฺเธน เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตาฯ

สุขุมรูป นิพพานเหล่านั้น ยกเว้นนิพพานที่นับสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์เสียแล้ว นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธัมมธาตุ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

จตุตฺถนยสงฺคหิเตนสงฺคหิตปทนิทฺเทส (สัง + สัง กลับประธานบท) ๖๙ บท (ธูตา)
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในจตุตถนยนิทเทส

เทฺว สจฺจา ปนฺนรสินฺทริยา เอกาทส ปฏิจฺจสมุปฺปาทา
อุทฺธํ ปุน เอกาทส โคจฺฉกปทเมตฺถ ติํสวิธํ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า ๑๖๒)

นัยที่ ๔ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ สังคหิตา สังคหิตา
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เหมือน ได้ทรงแสดงโดยกลับประธานบท

สรุปบทนิิทเทสที่แสดงได้ในนัยนี้คือ บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นสังขาร เวทนา
และบทนิทเทสที่เป็นรูปได้ ๓ คือ ภาวรูป ๒ ปริเทวะ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
นัยนี้ คำตอบ จะได้ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อย่างละ ๑ เสมอ

มัคคะสัจจะ องค์ธรรมคือ องค์มรรค ๘ ที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๒๘(เว้นองค์มรรค ๘)
องค์ธรรมที่เป็นสังขาร ก็ต้องสงเคราะห์กับสังขารที่เหลือ เพราะนัยนี้เป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เหมือน
องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิกที่เป็นสังขาร และองค์มรรค ๘ ที่เป็นสังขารทั้งหมด ๘ องค์นั้นไม่ได้ประกอบอยู่ในแค่เฉพาะมรรคจิต ๔ นี้เท่านั้น แต่องค์มรรค ๘ แต่ละองค์นั้นยังสามารถประกอบกับจิตประเภทอื่นได้อีกด้วย เช่นวิรตี ๓ นั้นยังมีเกิดในที่โลกียกุศลจิต ที่เป็นมหากุศลจิต ๘ได้ด้วย เป็นต้น องค์มรรค ๘จึงไม่ใช่เจตสิกที่เป็นสังขารประกอบเฉพาะแค่ในมรรคจิต ๔ นี้เท่านั้น จึงไม่สามารถหักออกแล้วหักออกเลยจากสังขารเจตสิก ๕๐ ได้ ดังนั้นจึงต้องบวกคืนกลับไปอย่างเดิม เพราะสามารถเกิดกับจิตประเภทอื่นได้ ไม่ใช่เกิดแต่ในเฉพาะมรรคจิต ๔ นี้เท่านั้น คือยังประกอบอยู่ทั่วไปในจิตอื่น เช่น วิรตี ๓ สามารถเกิดได้ในมหากุศลจิต ๘ เพราะฉะนั้น เย ธมฺมา ของบทนิทเทสนี้จะต้องเป็นสังขารขันธ์เจตสิก ๕๐ (เว้นองค์มรรค ๘) ดูเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันกับคำอธิบายนี้ในหนังสือปริจเฉทที่ ๑-๒-๖ หน้า ๓๘, ๕๒ (วิรตีเจตสิก ๓ ประกอบกับมหากุศลจิต ๘+โลกุตตรจิต ๘) วีรติ ๓ ประกอบกับจิตที่เป็นกุศลชาติ คือ มหากุศลจิต ๘ และมรรคจิต ๔ ก็เป็นกุศลชาติ ดังนั้นวิรตี ๓ จึงไม่ได้ประกอบแต่เฉพาะในมรรคจิต ๔ เท่านั้น ยังมีที่มหากุศลจิต ๘ ผลจิต ๔ ด้วย

50 - องค์มรรค8 = 42
42 + องค์มรรค8 = 50

มีสังขารขันธ์เจตสิก ๕๐ อยู่ ๑๔ นิทเทส คือ
๑. มรรคสัจจะ
๒. สมาธินทรีย์
๓. อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์
๔. อัญญินทรีย์
๕. อัญญาตาวินทรีย์
๖. สังขาร(ปฏิจจสมุปบาท)
๗. กัมมภวะ(ปฏิจจสมุปบาท)
๘. สติปัฎฐาน
๙. สัมมัปปธาน
๑๐. อัปปมัญญา
๑๑. ปัญจินทรีย์
๑๒. พละ
๑๓. โพชฌงค์
๑๔. มัคคะ

(สัง + สัง กลับประธานบท)
----------------------------แรก-------------------------------หลัง-----------------------
บทนิทเทส..............เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ......................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา.........วิสัชชนา
มัคคสัจจะ---------->สังขารขันธ์เจตสิก ๕๐(-๘)--------->มัคคสัจจะ------------>สัง
ข. สังขารขันธ์---สัง----->สังขารขันธ์------------------สัง-->สังขารขันธ์...............๑
อ. ธัมมายตนะ---สัง----->ธัมมายตนะ------------------สัง-->ธัมมายตนะ...............๑
ธ. ธัมมธาตุ------สัง----->ธัมมธาตุ---------------------สัง-->ธัมมธาตุ..................๑

ปุจฉา...มคฺคสจฺเจน เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา
เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา
เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?

มัคคสัจจะ นี้ นับสงเคราะห์สังขารขันธ์เจตสิก ๕๐ (เว้นองค์มรรค๘) โดยความเป็นสังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ได้ สังขารขันธ์เจตสิก ๕๐ เหล่านี้ นับสงเคราะห์มัคคสัจจะ โดยความเป็นสังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ได้ มัคคสัจจะเหล่านี้นับสงเคราะได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร?

วิสัชชนา....เต ธมฺมา เอเกน ขนฺเธน เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตาฯ
มัคคสัจจะ นี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์๑ ธัมมายตนะ๑ ธัมมธาตุ๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส ที่เจตสิกเป็นสังขาร ถูกหักแล้วหักเลยไม่กลับมาบวกคืน ตัวอย่างเช่น ตัณหา องค์ธรรมคือ โลภเจตสิก ที่ในโลถมูลจิต ๘ เย ธมฺมา จะได้สังขารขันธ์เจตสิก ๔๙ (เว้นโลภเจตสิก) หักแล้วหักเลยเพราะ โลภเจตสิกนั้นประกอบเฉพาะกับโลภมูลจิต ๘ เท่านั้น จิตอื่นๆ ไม่มีโลภเจตสิกประกอบอยู่เลย เช่นทีในโทสมูลจิตไม่มีโลภเจตสิกประกอบอยู่อย่างแน่นอน เป็นต้น

50 - โลภเจตสิก 1 = 49

บทนิทเทส............. เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ................ เย ธมฺมา/เต ธมฺมา ........วิสัชชนา
ตัณหา------------->สังขารขันธ์เจตสิก๔๙(-๑)---------->ตัณหา...................สัง
ข. สังขารขันธ์---สัง-->สังขารขันธ์-----------------สัง----->สังขารขันธ์...............๑
อ. ธัมมายตนะ---สัง-->ธัมมายตนะ-----------------สัง----->ธัมมายตนะ...............๑
ธ. ธัมมธาตุ------สัง-->ธัมมธาตุ-------------------สัง----->ธัมมธาตุ.................๑

นัยนี้ที่ยกตัวอย่างมานั้นจะมีการกลับประธานบท คือ มัคคสัจจะ ตัณหาที่เย ธมฺมาหลังค่ะ
และตั้ง เย ธมฺมาหลังเป็นประธาน สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ดังนั้นจะเห็นว่าเรารู้คำตอบตั้งแต่เห็นบทนิทเทสแล้วใช่มั้ยคะ แต่ความยากอยู่ที่ เย ธมฺมา แรก คือการหาสังขารขันธ์เจตสิกว่ามีจำนวนเท่าไร ซึ่งจะต้องเข้าใจมีความรู้ในเรื่องสังคหนัย สัมปโยคนัย เป็นพื้นฐานมาบ้าง ก็พอจะเข้าใจว่าจะหาได้อย่างไรค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปเป็นบทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นเวทนา
เวทนานั้น มี ๕ คือ สุข ทุกข โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
สุข นั้นเป็นเวทนาที่ใน สุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
ทุกข นั้นเป็นเวทนาที่ใน ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ ตามลำดับ

สุขินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ เวทนา ที่ใน สุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑
จะสงเคราะห์กับเวทนาที่เหลือ เพราะนัยนี้นั้น ต้องเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เหมือน

บทนิทเทส.............. เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ ......... เย ธมฺมา/เต ธมฺมา .....วิสัชชนา
สุขินทรีย์------------->ทุกข โสม โทม อุ---------->สุขินทรีย์.................สัง
ข. เวทนาขันธ์---สัง--> เวทนาขันธ์-----------สัง--> เวทนาขันธ์...............๑
อ. ธัมมายตนะ---สัง--> ธัมมายตนะ-----------สัง--> ธัมมายตนะ...............๑
ธ. ธัมมธาตุ------สัง--> ธัมมธาตุ-------------สัง--> ธัมมธาตุ..................๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นสุขุมรูป
อิตถินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวะ ๑

บทนิทเทส.............. เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ ....... เย ธมฺมา/เต ธมฺมา .....วิสัชชนา
อิตถินทรีย์------------> สุขุมรูป ๑๕(-๑)--------> อิตถินทรีย์...............สัง
ข. รูปขันธ์------สัง----> รูปขันธ์---------------สัง--> รูปขันธ์...................๑
อ. ธัมมายตนะ --สัง---> ธัมมายตนะ --------สัง--> ธัมมายตนะ ..............๑
ธ. ธัมมธาตุ-----สัง---> ธัมมธาตุ -------------สัง--> ธัมมธาตุ .................๑

อิตถินทรีย์ นับสงเคราะห์ได้ด้วย รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ
สุขุมรูป ๑๕(เว้นอิตถีภาวะ ๑) นับสงเคราะห์ได้ด้วย รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ

ปุจฉา....อิตถินทริเยน เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?

อิตถินทรีย์ นี้ นับสงเคราะห์ สุขุมรูป ๑๕ (เว้นอิตถีภาวะ ๑) โดยความเป็นรูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุได้ สุขุมรูป ๑๕ เหล่านี้นับสงเคราะห์อิตถินทรีย์ โดยความเป็นรูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุได้ อิตถินทรีย์นี้นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา....เต ธมฺมา เอเกน ขนฺเธน เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สงฺคหิตาฯ
อิตถินทรีย์ นี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์๑ ธัมมายตนะ๑ ธัมมธาตุ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2014, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ปญฺจมนยอสงฺคหิเตนอสงฺคหิตปทนิทฺเทส (อสัง + อสัง กลับประธานบท) ๒๕๗ บท (สมารา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปัญจมนยนิทเทส

๑. สพฺเพ ขนฺธา ตถายตนา ธาตุโย สจฺจโต ตโย
อินฺทฺริยานิ ปิ สพฺพานิ เตวีสติ ปฏิจฺจโต ฯ
๒. ปรโต โสฬส ปทา เตจตฺตาลีสกํ ติเก
โคจฺฉเก สตฺตติ เทฺว จ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา ฯ
๓. มหนฺตเร ปทา วุตฺตา อฏฺฐารส ตโต ปรํ
อฏฺฐารเสว ญาตพฺพา เสสา อิธ น ภาสิตา ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า ๑๗๖)

นัยที่ ๕ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ อสังคหิตา อสังคหิตา
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ต่าง ได้ทรงแสดงโดยกลับประธานบท

เย ธมฺมา แรก --------------- อสัง ---- >เย ธมฺมา หลัง
คู่ที่ ๑.
จิต 89 --------------------------อสัง----> รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน --อสัง---> จิต 89

คู่ที่ ๒.
นามขันธ์ 4 นิพพาน --------------อสัง----> โอฬาริกรูป 12
โอฬาริกรูป 12 ------------------อสัง-----> จิต 89 เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน

คู่ที่ ๓.
เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน ---อสัง-----> จิต 89 โอฬาริกรูป 12
จิต 89 โอฬาริกรูป 12----------อสัง------> เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน

เย ธัมมาแรก กับ เย ธัมมาหลัง รวมกันแล้วได้ ปรมัตถธรรม 4
เย ธัมมาหลังจะเป็นคำตอบที่ตายตัวเสมอตามที่แสดงมานี้
เช่น เมื่อเย ธัมมาแรกเป็นจิต 89 เย ธัมมาหลัง ก็จะเป็นที่เหลือคือ เจตสิก 52 รูป นิพพาน
ครบปรมัตถธรรม 4

อธิบายคู่ที่ ๑ เป็นตัวอย่างว่าทำไมถึงได้เย ธัมมาหลังตายตัวเสมออย่างที่แสดงไว้ทั้ง ๓ คู่นั้น
จิต 89 -------------อสัง----------> รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน
จิต 89 นับสงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ข. วิญญาณขันธ์ ๑
อ. มนายตนะ ๑
ธ. วิญญาณธาตุ ๗
ดังนั้น ที่นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ข. ขันธ์5 - วิญญาณขันธ์ ๑ = เหลือขันธ์4 คือ..........รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
อ. อายตนะ12 - มนายตนะ ๑ = เหลือ11 คือ.............โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธัมมายตนะ ๑
ธ. ธาตุ18 - วิญญาณธาตุ ๗ = เหลือ 11 คือ.........โอฬาริกธาตุ ๑๐ ธัมมธาตุ ๑
(ธัมมายตนะ กับ ธัมมธาตุ องค์ธรรมคือ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน)
ดังนั้น จึงตรวจดูความถูกต้องได้เมื่อหา เย ธัมมา หลังได้แล้ว
จิต 89 ------อสัง-------> รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน

ตัวอย่างบทนิทเทสที่องค์ธรรมเป็นรูป คือ อสัญญีภวะ องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตนวกกลาป(เป็นสุขุมรูป)
อสัญญีภวะ นับสงเคราะห์ได้ด้วย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ข .รูปขันธ์
อ. รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑
ธ. รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑
เหมือนเดิมค่ะ ได้อะไรมา ต้องหาสังตามแนวตั้งก่อนเสมอค่ะ แล้วค่อยนำมาเทียบดูว่าต่างกันตามกฎของนัยนี้หรือไม่

อสัญญีภวะ นั้นมีองค์ธรรมเป็น รูป เพราะฉะนั้นอสังเป็นส่วนที่เหลือจากรูปก็คือ จิต เจตสิก นิพพาน
ปรมัตถธรรม๔ หัก รูป ออก เหลือ จิต เจตสิก นิพพาน

อสัญญีภเวนะ----อสัง---->จิต 89 เจตสิก 52 นิพพาน----จึงต้องตัดตัวที่ซ้ำกันออกคือ เจตสิก 52 นิพพาน เพราะนัยนี้ธรรมพระพุทธองค์ทรงแสดงคือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ต่างกัน เจตสิกและนิพพานเป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จึงทำให้มีอายตนะ กับ ธาตุ ได้เหมือนกัน แม้ว่าขันธ์ซึ่งคือ รูปขันธ์ จะต่างกันกับ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ก็ตาม ก็ใช้ไม่ได้ต้องตัด เจตสิกกับนิพพาน ออกเสีย เพื่อให้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ต่างกันให้หมดทุกอย่าง

ชีวิตนวกกลาป เป็น สุขุมรูป สงเคราะห์แล้วได้
ข. รูปขันธ์ ๑
อ. รูปายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑
ธ. รูปธาตุ๑ ธัมมธาตุ๑

เจตสิก 52 นิพพาน
ข. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
อ. ธัมมายตนะ๑ซ้ำ
ธ. ธัมมธาตุ๑ซ้ำ

บทนิทเทสคือ อสัญญีภวะนั้นมีองค์ธรรมเป็นรูป ดังนั้นเย ธัมมาแรกนั้นคือที่เหลือจะต้องเป็น จิต
แต่เจตสิกและนิพพานนั้นเป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จึงซ้ำกับของบทนิทเทสที่สงเคราะห์ได้ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จึงต้องตัดเจตสิก ๕๒ และนิพพานทิ้งไป เพราะซ้ำกัน ทำให้ได้ตามกฏของนัยนี้คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างกัน ดังนั้นจึงเหลือแค่ จิต 89 เท่านั้นและจิต 89 ในเย ธัมมาแรก ก็จะได้เย ธัมมาหลังที่เป็นไปตามนี้ตายตัวเสมอจึงจะครบปรมัตถธรรม ๔เมื่อบวกเย ธัมมาแรกกับเย ธัมมาหลังแล้ว คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
จิต 89 ------อสัง-------> รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน

เมื่อเทียบดูแล้วจะเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างกันทุกบรรทัด

หาเย ธัมมาแรกได้ เย ธัมมาหลังจะได้ตามรูปแบบ ๓ คู่นั้นตายตัว
การหาเย ธัมมาหลัง จะไม่เกี่ยวข้องกับบทนิทเทสแล้ว ให้ดูที่เย ธัมมาแรกเป็นประธานไว้
คำตอบของนัยนี้ วิสัชชนาได้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ตรงกับเย ธัมมาแรก จะต้องได้คำตอบตรงกัน

(อสัง + อสัง กลับประธานบท)
บทนิทเทส.................เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ ......... เย ธมฺมา/เต ธมฺมา.....................................วิสัชชนา
อสัญญีภเวนะ--------------->จิต 89 -------------->รูป เว สัญ สัง นิพ...........................................อสัง
ข. รูปขันธ์ -----อสัง-->วิญญาณขันธ์ ---อสัง-->รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์.............๑
อ. รูปายตนะ ธัม--อสัง-->มนายตนะ---------อสัง--->โอฬาริกายตนะ๑๐ ธัมมายตนะ๑..........................๑
ธ. รูปธาตุ ธัม---อสัง-->วิญญาณธาตุ๗---อสัง--->โอฬาริกธาตุ๑๐ ธัมมธาตุ๑ ...............................๗

ปุจฉา....อสญฺญีภเวน เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน อสงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน อสงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน อสงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน อสงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?

อสัญญีภวะ นี้ นับสงเคราะห์จิต ๘๙ โดยความเป็นรูปขันธ์ รูปายตนะ ธัมมายตนะ รูปธาตุ ธัมมธาตุไม่ได้ จิต ๘๙ เหล่านี้นับสงเคราะห์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพาน โดยความเป็น วิญญาณขันธ์ มนายตนะ วิญญาณธาตุ ๗ ไม่ได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร นิพพานเหล่านี้นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา....เต ธมฺมา เอเกน ขนฺเธน เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตุหิ อสงฺคหิตาฯ
อสัญญีภวะ นี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยวิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗

(เพิ่มเติม อาจจะมีผู้สงสัยว่าทำไมชีวิตนวกกลาปจึงได้รูปายตนะ รูปธาตุด้วยที่อายตนะและธาตุ ให้อ่านทำความเข้าใจในหนังสือบทเรียนหน้า ๑๙ ค่ะ เพราะว่าเป็นรูปารมณ์แก่ผู้อื่นที่เห็นได้ แม้ตนเองจะไม่มีจักขุวิญญาณจิตก็ตามแต่ตนเองนั้นก็เป็นรูปารมณ์แก่ผู้อื่นได้)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ตัวอย่างบทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็น นาม
อทุกกขมสุขายเวทนายสัมปยุต องค์ธรรมได้แก่ อุเบกขาสหคตจิต ๕๕ เจตสิก ๔๖(เว้นเวทนา)

บทนิทเทสมี องค์ธรรมเป็นนามขันธ์ ๔ เย ธัมมาแรกต้องต้องเป็นที่เหลือคือ รูป 28 นิพพาน
รูป 28 นั้น แยกเป็น โอฬาริกรูป 12 + สุขุมรูป 16
สุขุมรูป 16 นิพพาน นั้นสงเคราะห์แล้วได้ รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ มีซ้ำกับ อายตนะ ธาตุ ของบทนิทเทส ซึ่งมี ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จึงต้องตัดสุขุมรูป 16 นิพพานออก เพราะสงเคราะห์แล้วได้ซ้ำกัน ซึ่งก็จะตรงกันกับกฏของนัยนี้คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างกัน และโอฬาริกรูป 12 ที่เย ธัมมาแรกเป็นประธานในการหาเย ธัมมาาหลัง โอฬาริกรูป 12 เป็นรูป จึงสงเคราะห์ไม่ได้คือ นามขันธ์4 นิพพาน

โอฬาริกรูป12----อสัง---->นามขันธ์4 นิพพาน

เมื่อเทียบดูแล้วจะเห็นว่า ขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างกันทุกบรรทัด เช่น
ข. สัญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์---อสัง--->รูปขันธ์๑ และ
รูปขันธ์๑---อสัง---->เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นิพพาน

ส่วนวิสัชชนาได้คำตอบคือ ๑ ๑๐ ๑๐ ตรงกันกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ของเย ธัมมาแรก
คือ รูปขันธ์๑ โอฬาริกายตนะ๑๐ โอฬาริกธาตุ๑๐

บทนิทเทส........................... ...........เย ธมฺมา/เตหิ ธมฺเมหิ ...... เย ธมฺมา/เต ธมฺมา .......วิสัชชนา
อทุกกขมสุขายเวทนายสัมปยุตตะ---->โอฬาริกรูป12-------->จิต89 เว สัญ สัง นิพพาน....อสัง
ข. สัญ สัง วิญ-----------------อสัง------->รูปขันธ์๑------------อสัง---->เว สัญ สัง วิญ นิพ.......๑
อ. มนา ธัม--------------------อสัง------->โอฬาริกายตนะ๑๐--อสัง---->มนา๑ ธัม๑.................๑๐
ธ. วิญ๖(-กายวิญ) ธัม----------อสัง------>โอฬาริกธาตุ๑๐ ----อสัง---->วิญ๗ ธัม๑.................๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2014, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ฉฏฺฐนยอสมฺปโยควิปฺปโยคปทนิทฺเทส (สัม + วิป เกหิจิ)
ถ้านับตามอรรถกถา ๒๔๘ บท (เทวรา)
ถ้านับตามฎีกา ๒๕๐ บท (นิมกฺขา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงใน ฉฏฺฐนยนิทเทส

๑. ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ทุกฺขสจฺจญฺจ ชีวิตํ
สฬายตนํ นามรูปํ จตฺตาโร จ มหาภวา ฯ
๒. ชาติ ชรา มรณญฺจ ติเกเสฺวกูนวีสติ
โคจฺฉเกสุ จ ปญฺญาส อฏฺฐจูฬนฺตเร ปทา ฯ
๓. มหนฺตเร ปณฺณรส โสฬส จ ตโต ปเร
เอกวีสติ ปทสตํ เอตํ สมฺปโเค น ลพฺภติ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก หน้า ๒๑๙)

นัยที่ ๖ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ สัมปโยค วิปปโยค
มีการแสดงขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ประกอบได้และไม่ได้เป็นพิเศษออกไปอีก โดยใช้ศัพท์ว่า เกหิจิ
(สัมปโยคคือที่ประกอบได้, วิปปโยคคือที่ประกอบไม่ได้,เกหิจิคือบางส่วน)

จะต้องท่อง ๗ ข้อนี้ให้ได้ก่อนจึงจะทำนัย ๖ และทำนัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สัม วิป ได้ค่ะ

:b53: แสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้

๑. นามขันธ์ ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก เหล่านี้ เมื่อครบลักษณะทั้ง ๔ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอการัมมณะ เอกวัตถุกะ แล้ว........ เป็นสัมปยุตต์ซึ่งกันและกันได้ (เกิดดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกันและอาศัยวัตถุเดียวกัน ต้องครบ ๔ อย่างนี้)
ถ้าไม่ครบลักษณะทั้ง ๔ .......ก็เป็นวิปปยุตต์

๒. นามขันธ์ ๔ กับ นิพพาน , นามขันธ์ ๔ กับ รูป .......เป็นวิปปยุตต์อย่างเดียว

๓. รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ........ไม่เรียกว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์

๔. ระหว่าง กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม ที่เป็นจิต เจตสิกซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า ชาติวิปปยุตต์

๕. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เกิดในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์ ชื่อว่า ภูมิวิปปยุตต์

๖. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์ ชื่อว่า กาลวิปปยุตต์

๗. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ซึ่งกันและกันเป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า สันตานวิปปยุตต์

วิธีการคิดหาสัมปยุตต์นั้น
จะเป็นการหาว่าประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ
และ สังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วนนั้น มีเท่าไร


บทนิทเทสคือ สัมมัปปธาน องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๕(เว้นวิริยเจ.)
วิริยะนี้เป็นสังขารเจตสิก จึงเป็นสังขารขันธ์ และเป็นตัวเว้นในวงเล็บ ที่เว้นเพราะว่าเราต้องการหาตัวที่ประกอบกับวิริยะ ดังนั้นสังขารขันธ์ จึงถูกเว้นไปอยู่ที่เกหิจิหรือสังขารขันธ์บางส่วน

องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้น วิริยเจฺ)

วิธีการหาสัมปยุตต์ เราจะคิดในตัวองค์ธรรมที่วิริยะเข้าไปประกอบเท่านั้นคือที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๕
สำหรับบทนิทเทสที่เป็นสังขารเจตสิก คือวิริยเจตสิก (เป็น สังขารขันธ์)
ขันธ์ จะหาได้จากตัวประกอบที่ต้องเว้นองค์ธรรมคือตัวเองออก เอาเฉพาะตัวที่ประกอบกับตนเองเท่านั้น และตัวองค์ธรรมของบทนิทเทสนั้นเป็นสังขารเจตสิก จึงเป็นสังขารขันธ์ ถ้าไม่เว้นตัวเองก็ต้องครบนามขันธ์ ๔
วิริยเจตสิก นั้นมีมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิริยเจ.)เป็นตัวประกอบ ซึ่งจะต้องเว้นตัวเองคือวิิริยะซึ่งเป็นสังขาร จึงต้องเว้นสังขารที่เป็นพวกเดียวกันอีกด้วย จึงสามารถคิดขันธ์ได้แค่
มรรคจิต ๔ เป็นวิญญาณขันธ์
เวทนาเจตสิก๑ เป็น เวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก๑ เป็นสัญญาขันธ์ ...ดังนั้นจึงยังมีเจตสิกเหลืออีก ๓๓
ก็เท่ากับหาอย่างเร็วได้เลยด้วยการเอานามขันธ์ ๔ ตั้งทุกครั้งสำหรับบทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นสังขารที่มีมาเพียงบางส่วน
นามขันธ์ ๔ หักด้วย สังขารขันธ์ ๑ จึงได้ นามขันธ์ ๓ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ............ขันธ์ ได้ นามขันธ์ ๓

วิธีการหาอายตนะ และ ธาตุนั้น อายตนะและธาตุจะแสดงได้เพียงจิตเท่านั้นในสัมปยุตต์ เพราะ เจตสิก นั้นเป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จะยกไปเป็นบางส่วน (เกหิจิ)
ดังนั้น จึงนำจิตมาคิดได้เท่านั้น จึงนำมาคิดได้เฉพาะ มรรคจิต ๔ ในการหา อายตนะ และ ธาตุ
ดังนั้น อายตนะ จึงได้......... มนายตนะ ๑
ธาตุ มรรคจิต ๔ นั้นเป็นจิตที่่เป็น...... มโนวิญญาณธาตุ ๑

ต่อไปเป็นการหา เกหิจิ(บางส่วน) ซึ่งมี สังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน
ตัวที่ไม่เคยถูกนำมาคิด ขันธ์ คือ เจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ เพราะที่ขันธ์ที่หาได้นั้นมีนามขันธ์ ๓ ที่เป็น เวทนาขันธ์(เวเจ.๑) สัญญาขันธ์(สัญเจ.๑) วิญญาณขันธ์(มรรคจิต๔) เท่านั้น จึงเหลือสังขารขันธ์ไว้ จากองค์ธรรมที่มีเจตสิก 35 ถูกนำไปคิดเป็นขันธ์แล้วคือ เวทนาเจตสิก๑ เป็น เวทนาขันธ์ , สัญญาเจตสิก๑ เป็น สัญญาขันธ์ ถูกหักไปแล้ว 2 ดังนั้นจึงเหลือบางส่วนที่ค้างไว้คือ เจตสิก 33
( 35 - 2 = 33 )
ดังนั้น สังขารขันธ์บางส่วนคือ........ สังขารขันธ์เจตสิก ๓๓ (เว้นวิริยเจ.)

ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วนคือ.......เจตสิก 35 (เว้นวิริยเจ.)
เพราะว่า อายตนะ และ ธาตุนั้น ที่ผ่านมาถูกคิดแค่ มรรคจิต ๔ เท่านั้น เจตสิก ๓๕(-วิริยเจ.)ถูกเว้นไป
ดังนั้นตัวที่ยังไม่เคยถูกคิดเลยในอายตนะ และ ธาตุ คือ เจตสิก ๓๕(-วิริยเจ)

จะเห็นว่าที่คิดหามาทั้งหมดนี้ เอาตัวประกอบมาคิดทั้งสิ้นค่ะ
สัมมัปปธาน ทำไมจึงสัมปยุตต์ เพราะว่าเมื่อมีวิริยะเกิดขึ้น มรรคจิตนั้นก็เกิดขึ้นพร้อมกันๆ ด้วย พร้อมด้วยเจตสิกตัวอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ตัวประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิริยะ จึงสามารถนำมาหาสัมปยุตต์ได้ เพราะครบลักษณะ ๔ ประการตามกฏข้อ ๑ ค่ะ

สัมปยุตต์.......
ข. นามขันธ์ ๓
อ. มนายตนะ ๑
ธ. มโนวิญญาณธาตุ ๑
และ สังขารขันธ์บางส่วน คือ สังขารขันธ์เจตสิก ๓๓
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๓๕(เว้นวิริยเจตสิก)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

วิธีการหาวิปปยุตต์
จะเป็นการหาว่าไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ และ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วนนั้น มีเท่าไร


องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิริยเจฺ)
สัมมัปปธาน มีองค์ธรรม เป็นนาม ดังนั้นกฏข้อ ๒ คือ นามขันธ์ ๔ วิปปยุตต์กับ รูป 28 นิพพาน
ขันธ์ จึงได้ .....รูปขันธ์ ๑
รูป 28 คือ โอฬาริกรูป 12 + สุขุมรูป 16
สุขุมรูป 16 และ นิพพาน นั้นเป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ยกไปเป็นบางส่วน(เกหิจิ)
เพราะอายตนะ กับ ธาตุที่เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จะไม่นำมาคิดตรงนี้ จะยกไปเป็นเกหิจิหมด
ดังนั้น อายตนะ จึงคิดได้เพียงโอฬาริกรูป 12 ก็จะได้ ........โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธาตุ ก็จะได้ โอฬาริกธาตุ ๑๐ ส่วนวิญญาณธาตุนั้น ตัวประกอบขององค์ธรรมในบทนิทเทส มรรคจิต ๔ นั้นเป็น มโนวิญญาณธาตุ ดังนั้นจึงเหลืออีก ๖ ธาตุในฝ่ายวิปปยุตต์
ธาตุทั้งหมดจึงได้............ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้นมโนวิญญาณธาตุ)

ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน ในฝ่ายวิปปยุตต์นั้นยังมีตัวที่เหลืออีก คือ เจตสิกบางส่วนที่เหลือจากองค์ธรรมของบทนิทเทส และ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน
บทนิทเทสนี้มีเจตสิกประกอบอยู่ 35(เว้นวิริยเจ.) + เจตสิกที่เป็นตัวองค์ธรรมของบทนิทเทสคือวิริยเจตสิก 1 = 36
เจตสิกทั้งหมดมี 52 - 36 = เพราะฉะนั้นยังมีบางส่วนที่ยังเหลืออยู่อีกคือ 16
มรรคจิต ๔ นั้นอยู่ในฝ่ายโสภณจิต เพราะฉะนั้นเจตสิกในฝ่ายที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องได้เลยคือ ในฝ่ายอโสภณ จึงเป็น อกุศลเจตสิกทั้งหมด 14 และยังขาดหายไปอีก 2 นั้นคือ อัปปมัญญาเจตสิก 2 เนื่องจากอัปปมัญญาเจตสิกทั้ง 2 นั้นประกอบในจิต 28 ดวงคือ มหากุศลจิต 8, มหากริยาจิต 8 ,รูปาวจรจิต 12(เว้นปัญจมฌานจิต 3) จึงเห็นได้ว่า อัปปมัญญาเจตสิกทั้ง ๒ คือ กรุณา มุทิตา ไม่ได้ประกอบในมรรคจิต ๔

สรุปว่า ในฝ่ายวิปปยุตต์นั้น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน (เกหิจิ)นั้นได้ ....
อกุศลเจตสิก 14 , อัปปมัญญาเจตสิก 2 , สุขุมรูป 16 นิพพาน

วิปปยุตต์.....
ข. รูปขันธ์ ๑
อ. โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธ. ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖(เว้นมโนวิญญาณธาตุ๑)
และ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน คือ อกุศลเจตสิก ๑๔ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
สัมมัปปธาน
สัมปยุตต์.......
ข. นามขันธ์ ๓
อ. มนายตนะ ๑
ธ. มโนวิญญาณธาตุ ๑
และ สังขารขันธ์บางส่วน คือ สังขารขันธ์เจตสิก ๓๓ (เว้นวิริยเจตสิก)
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๓๕(เว้นวิริยเจตสิก)

วิปปยุตต์.....
ข. รูปขันธ์ ๑
อ. โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธ. ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖(เว้นมโนวิญญาณธาตุ๑)
และ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน คือ อกุศลเจตสิก ๑๔ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

ปุจฉา...สมฺมปฺปธานํ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สมฺปยุตฺตํ ?
สัมมัปปธาน นี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา...สมฺมปฺปธานํ ตีหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา สมฺปยุตฺตํ เอเกน ขนฺเธน
เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ สมฺปยุตฺตํ ฯ

สัมมัปปธานนี้ ประกอบกับขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑ วิญญาณขันธ์๑ มนายตนะ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ และประกอบกับสังขารขันธ์ บางส่วน คือ สังขารขันธ์เจตสิก ๓๓ (เว้นวิริยเจตสิก) ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิริยเจตสิก)

ปุจฉา...สมฺมปฺปธานํ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตํ ?
สัมมัปปธาน นี้ ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?

วิสัชชนา...สมฺมปฺปธานํ เอเกน ขนฺเธน ทสหายตเนหิ โสฬสหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตตํ เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา
เกหิจิ วิปฺปยุตฺตํ ฯ

สัมมัปปธาน นี้ ไม่ประกอบกับรูปขันธ์ ๑ โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้นมโนวิญญาณธาตุ ๑) และไม่ประกอบกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ อกุศลเจตสิก ๑๔ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2014, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

สตฺตมนยสสมฺปยุตฺเตนวิปฺปยุตฺตปทนิทฺเทส (สัม + วิป /กลับประธานบท เกหิจิ) ๓๗ บท (สคฺคา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในสตฺตมนยนิทเทส

๑. ขนฺธา จตุโร อายตนญฺจ เอกํ ธาตูสุ สตฺต เทฺวปิจ
อินฺทฺริยโต ตโย ปฏิจฺจ ตถริว ผสฺสปญฺจมา ฯ
๒. อธิมุจฺจนา มนสิ ติเกสุ ตีณิ สตฺตนฺตรา
เทฺว จ มเนน ยุตฺตา วิตกฺกวิจารนา อุเปกฺขาย ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๗ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ สัมปยุตตา วิปปยุตตา
ได้ทรงแสดงโดยกลับประธานบท และมีการแสดงอายตนะ ธาตุ ที่ประกอบไม่ได้เป็นพิเศษออกไปอีก โดยใช้ศัพท์ว่า เกหิจิ นัยนี้จะไม่มีสังขารขันธ์บางส่วน จะมีแต่ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน
ถามวิปปยุตตา

นัยที่ ๗ นี้เป็นนัยเดียวที่เอาองค์ธรรมของบทนิทเทส มารวมเข้ากับ เย ธัมมาแรก แล้วตั้งเป็นประธานบทคือ เตหิ ธัมเมหิ เพื่อเป็นประธานในการหาเย ธัมมาหลัง
เช่น บทนิทเทส คือ อธิโมกเขนะ องค์ธรรมได้แก่ อธิโมกเจตสิก ที่ใน จิต ๗๘ เจตสิก ๕๐ (เว้น อธิโมกข์เจ.,วิริยเจ.)
องค์ธรรม ได้แก่ อธิโมกข์เจตสิก ๑......คือ องค์ธรรม
อธิโมกข์เจตสิก สัมปยุตต์กับ จิต ๗๘ เจตสิก ๕๐ (เว้น อธิโมกข์เจ.,วิริยเจ.) ........คือ เย ธัมมา
จิต ๗๘ เจตสิก ๕๑ (เว้น วิริยเจ.)......คือ เตหิ ธัมเมหิ

รูปแบบในการคิด

บทนิทเทส--สัม-->เย ธัมมาแรก(ได้)/
เตหิ ธัมเมหิ--วิป-->เย ธัมมาหลัง/เต ธัมมา--วิป-->วิสัชชนา
(วิสัชชนานั้น จะได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ/เกหิจิคือ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ)

อธิโมกเขนะ--สัม-->จิต78 เจ.50(-อธิ)ได้/
จิต78 เจ.51(-วิจิ)--วิป-->ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน----วิป--->?
X - X - 1/ --


เย ธัมมาแรก/เตหิฯ + เย ธัมมาหลัง = ปรมัตถธรรม 4 (มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน)
จิต78 เจ.51(-วิจิ) + ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน = ปรมัตถธรรม 4

ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท คือ
ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ และ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ เจตสิก ๑๕
ดังนั้นคำว่าจิตตุปบาทนั้นก็คือ จิต + เจตสิก

อธิโมกข์นี้จะประกอบกับจิต ๗๘ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต๑๐และวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต๑(89-11=78 )
ดังนั้นเจตสิกจึงคิดแบบเต็มที่ไม่เว้นตัวอธิโมกข์เจตสิก คือ เจตสิก ๕๑(เว้นวิจิกิจฉาเจ.)
แต่เมื่อหาตัวประกอบของอธิโมกข์เจตสิก จึงต้องเว้นตัวเอง จะเอาแค่ตัวที่ประกอบกับตัวเองเท่านั้น
คือ อธิโมกข์เจตสิก--สัม-->จิต ๗๘ เจตสิก ๕๐(-อธิโมกเจ.และวิจิกิจฉาเจ.)

จิต--สัม-->เจตสิก เช่น จิต ๘๙ ประกอบกับ เจตสิก ๕๒ ได้ หรือ
เจตสิก๕๒--สัม-->จิต๘๙ ก็คือ เจตสิก ๕๒ ประกอบกับ จิต ๘๙ ได้

เจตสิกบางส่วน--สัม-->จิต เจตสิก(เว้นตัวเอง) เช่น
เวทนาเจตสิก ประกอบกับจิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (-เวทนาเจ.) ได้

ส่วนการวิปปยุตต์นั้นก็เป็นไปตามกฏที่อยู่ในนัยที่ ๖ :b53: แสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้
จิต78 เจ.51(-วิจิ)--วิป-->ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน

ข้อ ๑. จิต เจตสิก เหล่านี้ ถ้าไม่ครบลักษณะทั้ง ๔ .......ก็เป็นวิปปยุตต์
ลักษณะทั้ง ๔ คือเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน อาศัยวัตถุเดียวกัน
จิต เจตสิก เหล่านี้ในข้อนี้ก็คือ ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท
นาม วิปกับ นามที่เหลือนั่นเอง
ที่นามคือจิต 78 เจ.51(-วิจิ)นั้น วิปกับ นามที่เหลือคือ ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท
ที่เป็นวิปปยุตต์กันได้นั้นก็เพราะว่า ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท ไม่ครบลักษณะทั้ง ๔ เหมือนกันกับจิต 78 เจ.51(-วิจิ) ในข้อใดข้อหนึ่งเพียงแค่ข้อเดียวก็ตามในลักษณะทั้ง ๔ ก็เป็นวิปปยุตต์กันได้แล้วค่ะ
จะยกให้เห็นกันชัดเจนคือ
จิต 78 นี้เป็น มโนธาตุ (มี 3 ดวง)และ มโนวิญญาณธาตุ (มโนวิญญาณธาตุ มี 76 ดวง แต่ตรงนี้ได้หักวิจิกิจฉาสัมปปยุตตจิตไป 1ดวง เหลือ 75 ดวง ณ ตรงนี้ค่ะ)
ส่วนทวิปัญจวิญญาณจิต 10 ดวงนี้ เป็น ปัญจวิญญาณธาตุ 5
- มโนธาตุ และ มโนวิญญาณธาตุ นั้น อาศัย หทยวัตถุเกิด
- ปัญจวิญญาณธาตุ 5 มี จักขุวิญญาณธาตุ 1 อาศัย จักขุวัตถุเกิด
โสตวิญญาณธาตุ 1 อาศัยโสตวัตถุเกิด .......เป็นต้น
การที่อาศัยวัตถุต่างกันเกิด ก็ไม่ครบลักษณะทั้ง ๔ แล้วค่ะ ดังนั้นจึงเป็นวิปปยุตต์กัน
ส่วนวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตนั้น แม้จะเป็นมโนวิญญาณธาตุ อาศัยหทยวัตถุเกิดเหมือนกันกับจิต 78 ก็ตาม
แต่วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตไม่ได้เกิดพร้อมกับอธิโมกข์เจตสิก จิต 78 เท่านั้นที่ประกอบกับอธิโมกข์ได้ และในจิต 78 นี้ไม่มีวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตร่วมอยู่เลยค่ะ ดัังนั้นจึงเป็นวิปปยุตต์กัน

ข้อ ๒. นามขันธ์ ๔ กับ นิพพาน, นามขันธ์ ๔ กับ รูป .......เป็นวิปปยุตต์อย่างเดียว
นาม วิปกับ รูป 28 นิพพาน

ส่วนในคำถามนั้นจะถามวิปปยุตตา
นำ เต ธัมมา คือ ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน
เอามาถามหาตัวที่วิปปยุตต์ว่าคือใคร ก็คือตัวที่ไม่ได้ประกอบกับทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน นั่นเองค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

อธิโมกเขนะ--สัม-->จิต78 เจ.50(-อธิ)ได้/
จิต78 เจ.51(-วิจิ)--วิป-->ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน----วิป--->?
X - X - 1(มโนธาตุ ๑)/ --


อธิบาย อธิโมกข์เจตสิกประกอบกับจิต ๗๘ เจตสิก ๕๐เว้นอธิโมกข์เจตสิก,วิจิกิจฉาเจตสิก ได้
กลับประธานบท จิต ๗๘ จะมีเจตสิกเต็มๆ คือ ๕๑ เว้นวิจิิกิจฉาเจตสิก
ถามวิปปยุตต์ต่อคือจิต ๗๘ เจตสิก ๕๑, จิต ๗๘ นี้จิตที่เว้นไป ๑๑ ให้ไม่ครบ ๘๙ นั้นมาเป็นตัววิปปยุตต์คือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ และเจตสิกที่ประกอบ __พูดง่ายๆคือ นามวิปกับนามที่เหลือ นั่นเอง
จิต ๗๘ เจตสิก ๕๑ คือ นามขันธ์ ๔, นามขันธ์ ๔ วิปปยุตต์กันกับ รูป ๒๘ นิพพาน
ดังนั้นจิต ๗๘ เจตสิก ๕๑ --วิป-->ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน
เอาทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาจิตตุปบาท รูป28 นิพพานมาเป็นตัวถาม----วิป--->?
ตัวถามนี้มี จิต เจตสิก รูป รวมกันแล้วครบขันธ์ ๕ วิปปยุตต์ ก็เป็น นเกฯ( X )
รูป 28 ...โอฬาริกรูป ๑๒ เป็น โอฬาริกายตนะ ๑๐, จิต เป็นมนายตนะ ๑, เจตสิก สุขุมรูป นิพพานเป็นธัมมายตนะ ๑จึงครบอายตนะ ๑๒ วิปปยุตต์ ก็เป็น นเกฯ( X )
รูป 28 ...โอฬาริกรูป ๑๒ เป็นโอฬาริกธาตุ ๑๐, ทวิปัญจะ เป็นวิญญาณธาตุ ๕, วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ ๑ (วิญญาณธาตุได้ ๖), เจตสิก สุขุมรูป นิพพานเป็นธัมมธาตุ ๑ ...รวมเป็น ธาตุ ๑๗ ธาตุ...ที่เป็นวิปปยุตต์ คือ มโนธาตุ ๑ (วิญญาณธาตุมี ๗ หัก ปัญจวิญญาณธาตุ ๕ มโนวิญญาณธาตุ ๑.... ดังนั้นคงเหลือแต่ มโนธาตุ 1 ที่ไม่ได้ประกอบอยู่ใน ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน)

เกหิจิ ไม่มีในบทนิทเทสนี้เพราะ มีการปฏิเสธว่าที่ขันธ์ อายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี เมื่อธัมมายตนะไม่มี ดังนั้นธัมมธาตุจึงไม่มีด้วย เกหิจิ จึงไม่มี

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นำมาปุจฉา วิสัชชนากันได้แล้วค่ะ

อธิโมกเขนะ--สัม-->จิต78 เจ.50(-อธิ)ได้/
จิต78 เจ.51(-วิจิ)--วิป-->ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป28 นิพพาน----วิป--->?
X - X - 1(มโนธาตุ ๑)/ --


ปุจฉา... อธิโมกฺเขน เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กติหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา?

อธิโมกข์ นี้ ประกอบกับจิต ๗๘ เจตสิก ๕๐ (เว้นอธิโมกข์,วิจิกิจฉาเจตสิก) ได้ จิต ๗๘ เจตสิก ๕๑ (เว้นวิจิกิจฉาเจตสิก) เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน เหล่านั้น ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... เต ธมฺมา นเกหิจิ ขนฺเธหิ นเกหิจิ อายตเนหิ เอกาย ธาตุยา วิปฺปยุตฺตา ฯ

ทวิปัญจวิญญาณ-วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน เหล่านั้น ไม่เป็นวิปปยุตต์กับขันธ์ อายตนะ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นวิปปยุตต์กับ มโนธาตุ ๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิสเทสคือ จิตฺตสํสฎฺฐสมุฎฐานสหภูหิ ธมฺเมหิ มีองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒
(สภาวธรรมที่ระคนกับจิต ที่มีจิตเป็นสมุฎฐาน และเกิดพร้อมจิต)
อธิบายการหาคำตอบของบทนิทเทสนี้ คือ
รูป28 นิพพาน----วิป--->? น.4 - 1 - 7 / เจตสิก 52
รูป 28 กับนิพพาน วิปกับ นามขันธ์ 4 คือจิต 89 เจตสิก 52 ดังนั้น
ขันธ์ ก็ต้องเป็น นามขันธ์ ๔
อายตนะ จิต 89 เป็น มนายตนะ ๑ (ส่วน เจตสิก 52 นั้นเป็นธัมมายตนะ ยกไป เกหิจิ)
ธาตุ จิต 89 เป็น วิญญาณธาตุ ๗ (ส่วน เจตสิก 52 นั้นเป็นธัมมธาตุ ยกไป เกหิจิ)
หลักการคือ หาขันธ์นั้นตรงนี้นำจิตกับเจตสิกมาคิดได้
ส่วนอายตนะกับธาตุเอาจิตมาคิดหาได้อย่างเดียว (ในส่วนใดที่เป็นเจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน นั้นเป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุนั้น ให้ยกไปที่เกหิจิ)
และในส่วนตรงนี้มี เจตสิก 52 เราจึงต้องยกเจตสิก 52 ไปเป็นเกหิจิ

บทนิทเทส--สัม-->เย ธัมมาแรก(ได้)/
เตหิ ธัมเมหิ--วิป-->เย ธัมมาหลัง/เต ธัมมา--วิป-->วิสัชชนา
(วิสัชชนานั้น จะได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ/เกหิจิคือ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ)

จิตฺตสํสฎฺฐสมุฎฐานสหภูหิ ธมฺเมหิ--สัม-->จิต 89 ได้/
จิต 89 เจ.52 --วิป-->รูป28 นิพพาน----วิป--->? น.4 - 1 - 7 / เจตสิก 52


ปุจฉา... จิตฺตสํสฎฺฐสมุฎฐานสหภูหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กติหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา?

จิตตสังสัฎฐสมุฎฐานสหภุธรรม นี้ ประกอบกับจิต ๘๙ ได้ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ รูป ๒๘ นิพพาน รูป ๒๘ นิพพาน เหล่านั้น ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา... เต ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ วิปฺปยุตฺตา ฯ

รูป ๒๘ นิพพาน เหล่านั้น ไม่ประกอบกับนามขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗ และไม่ประกอบกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๒

:b8: :b8: :b8:

ทุกนัยนี้เป็นการแจกแจงแยกเป็นส่วนย่อยๆ ให้เห็นกันไปเลยค่ะว่าในแต่ละสภาวธรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ใดๆ เลย มีแต่สภาวธรรมทั้งสิ้นที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หากมีสติเกิดขึ้นและได้มีปัญญาเกิดขึ้นตามมาได้เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงอย่างที่แจกแจงให้เห็นนี้ในวันใด วันนั้นก็เป็นบุญกุศลอย่างมากแม้ว่าวันนั้นๆ จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ตาม แต่เป็นวันที่คุ้มที่สุดที่ได้เกิดมา ดีกว่าผู้ที่มีอายุอยู่เป็นร้อยปี แต่ไม่เคยเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงสักครั้งหนึ่งเลยในชีวิตค่ะ

ความเข้าใจในการเรียนคัมภีร์ธาตุกถานี้ เป็นการเข้าไปเรียนรู้การวิปัสสนาโดยตรงว่าในขณะที่ปัญญาเข้าไปรู้ตามความเป็นจริงในขณะนั้น มีสภาวะใดเกิดขึ้นมาบ้าง โดยการไปรู้โดยความเป็นขันธ์บ้าง เป็นอายตนะบ้าง หรือในความเป็นธาตุบ้าง แล้วแต่ใครจะไปรู้โดยความเป็นอะไรในขณะนั้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2014, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




image.jpg
image.jpg [ 170 KiB | เปิดดู 14175 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ภาพนี้เป็นภาพที่

:b53: แสดงการสงเคราะห์ปรมัตถธรรม ๔ โดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ

อาจจะเห็นภาพไม่ได้ชัดเจนนัก แต่ก็คงพอเป็นแนวทางให้ท่านได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ
รูป ๒๘ นี้จะแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ โอฬาริกรูป ๑๒ และ สุขุมรูป ๑๖ ในการนำมาสงเคราะห์หาอายตนะ และธาตุ ไม่ว่าองค์ธรรมของรูปจะมาอย่างไร จะต้องใช้หลักนี้ในการแจกแจงก่อนค่ะ เช่นบทนิทเทสนี้ค่ะ
อุปาทา ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ อุปาทายรูป ๒๔ (เว้นมหาภูตรูป ๔)ก็ต้องนำ อุปาทายรูป ๒๔ นี้มาสงเคราะห์โดยหลักของการแบ่งเป็น ๒ ส่วนก่อนคือ โอฬาริกรูป และ สุขุมรูป และดูว่ามีอะไรอยู่ในส่วนใด เมื่อนำมาแบ่งแล้ว โผฏฐัพพารมณ์จะหายไป เพราะองค์ธรรมของโผฏฐัพพารมณ์ นั้นได้แก่ ปถวี เตโช วาโย ซึ่งอยู่ในฝ่ายของมหาภูตรูป ดังนั้น โอฬาริกรูป จึงเหลือแค่ ๙ ก็จะได้ โอฬาริกายตนะ ๙ และโอฬาริกธาตุ ๙ ค่ะ ส่วนรูปที่เหลือก็คือสุขุมรูป เป็น ธัมมายตนะ ๑ และ ธัมมธาตุ ๑
อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น บทนิทเทสนี้ค่ะ จิตฺตสหภุโน ธมฺมา องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒ วิญญัติรูป ๒
จะเห็นได้ว่าวิญญัติรูป ๒ นี้เป็นรูปที่อยู่ในส่วนของสุขุมรูป จึงเป็นธัมมายตนะ ๑ และ ธัมมธาตุ ๑ เป็นต้น

การสงเคราะห์รูป ๒๘
ขันธ์
รูป ๒๘ เป็น รูปขันธ์
อายตนะ และ ธาตุ
รูป ๒๘ แบ่งเป็น โอฬาริกรูป ๑๒ และ สุขุมรูป ๑๖
- โอฬาริกรูป ๑๒ เป็นปสาทรูป ๕ ได้แก่จักขุปสาท ถึง กายปสาท
และ วิสยรูป ๗ ได้แก่ รูปารมณ์ ถึง ปถวี เตโช วาโย (โผฏฐัพพารมณ์)
โอฬาริกรูป ๑๒ เป็น โอฬาริกายตนะ ๑๐ และ โอฬาริกธาตุ ๑๐
- สุขุมรูป ๑๖ เป็น ธัมมายตนะ ๑ และ ธัมมธาตุ ๑

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: แสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้

๑. นามขันธ์ ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก เหล่านี้ เมื่อครบลักษณะทั้ง ๔ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอการัมมณะ เอกวัตถุกะ แล้ว........ เป็นสัมปยุตต์ซึ่งกันและกันได้ (เกิดดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกันและอาศัยวัตถุเดียวกัน ต้องครบ ๔ อย่างนี้)
ถ้าไม่ครบลักษณะทั้ง ๔ .......ก็เป็นวิปปยุตต์

๒. นามขันธ์ ๔ กับ นิพพาน , นามขันธ์ ๔ กับ รูป .......เป็นวิปปยุตต์อย่างเดียว

๓. รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ........ไม่เรียกว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์

๔. ระหว่าง กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม ที่เป็นจิต เจตสิกซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า ชาติวิปปยุตต์

๕. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เกิดในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์ ชื่อว่า ภูมิวิปปยุตต์

๖. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์ ชื่อว่า กาลวิปปยุตต์

๗. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ซึ่งกันและกันเป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า สันตานวิปปยุตต์

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ใน ๒ ส่วนนี้จะต้องเข้าใจและจำให้ได้ค่ะ
๑. แสดงการสงเคราะห์ปรมัตถธรรม ๔ โดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๒. แสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2014, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

อฎฺฐมนยวิปฺปยุตฺเตนสมฺปยุตฺตปทนิทฺเทส (วิป + สัม / นตฺถิ) ๓๒๔ บท (วิราคา)

คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงใน อฏฺฐมนยนิทเทส

๑. ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ อถ ชีวิตํ นามรูปํ
สฬายตนํ ชาติ ชรามรณํ เทฺว จ ติเก น ลพฺภเร ฯ
๒. ปฐมนฺตเร สตฺต จ โคจฺฉเก ทส อปรนฺเต
จุทฺทส ฉ จ มตฺถเก อิจฺเจเต สตฺตจตฺตาลีส ธมฺมา
สมุจฺเฉเท น ลพฺภนฺติ โมฆปุจฺฉเกน จ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๘ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงคือ วิปปยุตต์ สัมปยุตต์
นัยนี้ไม่มีสัมปยุตต์ และไม่กลับประธานบท
ไม่มีการแสดงขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่ใช้ศัพท์ว่า เกหิจิ
ในอัฏฐมนยนิทเทส นี้ คำปุจฉาจะเป็นประการใดก็ตาม คำวิสัชชนาจะมีแต่คำว่า นตฺถิ อย่างเดียวเท่านั้น
ถาม สัมปยุตตา
(นัตถิ แปลว่า ไม่มี)

บทนิทเทส---วิป---->เย ธมฺมา/เตธมฺมา----สัม-->? นตฺถิ

ข้อสังเกตุของนัย ๘ นัยนี้ต้องหา สัมปยุตต์ก่อน คือ องค์ธรรมที่เป็นนาม สัมปยุตต์กันกับนามอะไร
เช่น สติปัฏฐาน องค์ธรรมคือ สติเจตสิก และสติเจตสิกนี้สัมปยุตต์กับนามอะไร(สัมปยุตต์ใช้คำว่าที่ใน)
สติเจตสิก ที่ใน โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๕ (เว้นสติเจตสิก)
องค์ธรรมที่ในจิต ๘๙ เต็มนั้น วิปกับ รูป นิพพาน ได้เลย
แต่องค์ธรรมที่ในจิต ไม่เต็ม ๘๙ นั้น วิปกับจิตที่เหลือก่อน แล้วจึงวิปกับ รูป นิพพาน
นาม วิปกับ นามที่เหลือ เช่น
จักขุวิญญาณธาตุ วิปกับ วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือ
เวทนา วิปกับ เวทนาที่เหลือ
ชาติ วิปกับ ชาติที่เหลือ
โลกียะ วิปกับ โลกุตตระ
โสภณะ วิปกับ อโสภณะ

ตัวอย่าง บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นรูป เช่น จักขายตนะ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท

จกฺขายตเนน---วิป-->นามขันธ์ 4--สัม-->? นตฺถิ

อธิบายว่า จักขายตนะนี้มีองค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท ซึ่งเป็นรูป รูปนั้นวิปกับนามขันธ์ ๔
ถามต่อไปอีกว่า นามขันธ์ ๔ นี้สัมปยุตต์กับอะไร คำตอบก็คือ นัตถิ (ไม่มี)
ที่ไม่มีเพราะว่า นาม ต้องสัมกับนามที่เหลือ แต่ในเมื่อ จิต เจตสิกมาครบแล้ว ไม่ว่าจะมาเท่าไร แต่ถ้าขึ้นชื่อว่า เป็นจิต เป็นเจตสิก มีมาให้เห็นเท่าไรก็ตาม แม้มาไม่ครบ 89 ,52 ก็ตาม ก็ถือว่ามีจิต เจตสิกมาครบองค์ ดังนั้นจึงไม่สามารถจะสัมปยุตต์อะไรได้อีก จึงตอบว่า ไม่มี

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิต ๘๙ เต็ม( เจ--สัม-->จิต๘๙)เช่น เวทนา
องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ประกอบในจิต ๘๙ เต็มๆ ดังนั้นจึงไม่มีนามเหลือให้วิปแล้วค่ะ
จึงเหลือ นามวิปกับรูปและนิพพาน

เวทนาย---วิป-->รูป 28 นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ

หลักข้อ ๓ มาแล้วค่ะ มาใช้ตรงนี้.. รูป 28 นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ
ข้อ ๓. รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ........ไม่เรียกว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์
ถามว่า รูป 28 นิพพานประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุได้เท่าไร?
รูป และ นิพพาน นั้นไม่สัมปยุตต์กับอะไร วิสัชชนา นัตถิ คำตอบจึงไม่มี

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทสที่องค์ธรรมเป็นเจตสิกประกอบกับจิตบางส่วน (เจ--สัม-->จิตบางส่วน) เช่น ปรามาสะ
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

ปรามาเสหิ ธมฺเมหิ---วิป-->ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ

หลักข้อ ๔ ค่ะ ชาติวิปปยุตต์
๔. ระหว่าง กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม ที่เป็นจิต เจตสิกซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า ชาติวิปปยุตต์

:b51: จิต ๘๙ นั้นแบ่งได้เป็น ๔ ชาติคือ กุศลชาติ อกุศลชาติ วิปากชาติ กริยาชาติ

ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เป็น อกุศลชาติ จึงวิปปยุตต์กับ ชาติของตนเองที่เหลือ และวิปกับชาติอื่นด้วย
และ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เป็นนาม นามจึงวิปปยุตต์กับ รูป และกับ นิพพาน

เพื่อความเข้าใจทำเป็นขั้นตอนดังนี้ค่ะ
ขั้นที่ ๑ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ก็วิปกับ ตัวที่เหลือในชาติของตนเองก่อนค่ะ
ต้องเอาตัวที่เหลือจากองค์ธรรมขึ้นนำหน้าก่อนเสมอค่ะ
ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เป็นอกุศล ที่อยู่ในโลภมูลจิต ๔ ดวงแรก
O O
O O.....ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

แถวบนเป็นโสมนัส ๒ ดวงแรกและแถวล่างเป็นอุเบกขา ๒ ดวงแรก
โลภมูลจิตที่เหลืออีก ๔ ดวงคือ
O O
O O......ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔


O O O O
O O O O........โลภมูลจิต ๘
O O.............โทสมูลจิต ๒
O O.............โมหมูลจิต ๒


ปรามาเสหิ ธมฺเมหิ---วิป-->ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ
เมื่อวิปกับชาติของตนเองที่เป็น อกุศลที่เหลือหมดแล้ว

ขั้นที่ ๒ คือวิปกับชาติที่เหลืออีก ๓ ชาติคือ -กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท ต้องลงท้ายด้วยจิตตุปบาท เพราะมีเจตสิกด้วยทุกชาติ

ขั้นที่ ๓ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เป็นนาม ดังนั้น นามวิปกับ รูป
นามวิปกับ นิพพาน

ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ
ตอบว่า ไม่มีเพราะ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาครบปรมัตถธรรม ๔ ไม่สามารถสัมปยุตต์กับอะไรได้อีกแล้วค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทสต่อไปมีองค์ธรรมเป็น จิต เจตสิก นิพพาน เช่น อนุปาทานิเยหิ ธมฺเมหิ
องค์ธรรมได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน

อนุปาทานิเยหิ ธมฺเมหิ---วิป-->โลกียจิตตุปบาท--สัม-->? นตฺถิ

เมื่อองค์ธรรมแบ่งได้เป็นฝ่ายแบบนี้ เราจำแนกเป็นโลกียจิต กับ โลกุตตรจิต ได้เลยค่ะ
องค์ธรรมของบทนิทเทสเป็น โลกุตตรจิตตุปบาท ทั้งหมด ที่เหลืือจึงต้องวิปกับ โลกียจิตตุปบาท
องค์ธรรมมีนิพพานเหมือนเดิมคือไม่สัมไม่วิป
โลกียจิตตุปบาท--สัม-->? นตฺถิ
ถามว่าโลกียจิตตุปบาทประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุได้เท่าไร?
ส่วนคำตอบคือนัตถิ ไม่มีเพราะจิตเจตสิกมาครบไม่มีตัวประกอบอะไรแล้วค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปเป็นตัวอย่างสุดท้ายในนัยนี้ค่ะ นำหลักข้อที่ ๕ มาใช้
ข้อ๕. ระหว่างนามขันธ์ ๔ ที่เกิดในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซึ่งกันและกัน เป็นวิปปยุตต์
ชื่อว่า ภูมิวิปปยุตต์

:b49: อุปปัตติภวะ แบ่งเป็น ๙ อย่าง คือ
๑. จำแนกภพโดยตัณหา ได้แก่ กามภวะ รูปภวะ อรูปภวะ
๒. จำแนกภพโดยสัญญา ได้แก่ สัญญีภวะ อสัญญีภวะ เนวสัญญีนาสัญญีภวะ
๓. จำแนกภพโดยขันธ์ ได้แก่ เอกโวการภวะ จตุโวการภวะ ปัญจโวการภวะ
ทั้ง ๓ ข้อนี้ต้องท่องได้ เพื่อที่จะจำแนกได้ตามกลุ่มอย่างถูกต้อง เราก็อยู่ในภูมิที่มีสัญญา ใช้สัญญาให้เป็นประโยชน์ หากขาดสัญญาย่อมลำบากแน่นอนค่ะ

บทนิทเทส คือ จตุโวการภวะ องค์ธรรมได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เจตสิก ๓๐

จตุโวการภเวน---วิป-->เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท ติชรูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ

ขั้นที่ ๑. ต้องรู้ก่อนว่า บทนิทเทสนี้ อยู่ในกลุ่มใด จตุโวการภวะนี้อยู่ในกลุ่มของการจำแนกภพโดยขันธ์
เมื่อบทนิทเทสคือ จตุโว ดังนั้นจึงเหลือ เอกโว และปัญจโว ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ขั้นที่ ๒. ต้องรู้องค์ธรรมของทุกตัวก่อนค่ะ แล้วตีองค์ธรรมให้เหลือแค่ รูป นาม
:b49: เอกโวการภวะ องค์ธรรมได้แก่ ชีวิตนวกกลาป มีองค์ธรรมเป็น--รูป
:b49: ปัญจโวการภวะ องค์ธรรมได้แก่ กามาวจรวิปากจิต ๒๓, รูปาวจรวิปากจิต ๕ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐ มีองค์ธรรมเป็น--รูป นาม
:b49: จตุโวการภวะ องค์ธรรมได้แก่ อรูปวิปากจิต ๔ เจตสิก ๓๐ มีองค์ธรรมเป็น-- นาม

บทนิทเทส จตุโวการภวะ------------นาม

เอกโวการภวะ-----------รูป

ปัญจโวการภวะ----------รูป นาม

---------------------------------------
บทนิทเทส จตุโวการภวะ------------นาม
นาม วิปกับ รูป ได้
นาม วิปกับ นามที่เหลือได้
(องค์ธรรมของบทนิทเทสเป็นนาม นามวิปกับนามที่เหลือ รูป และ นิพพานได้)

ขั้นที่ ๓ จะเห็นได้ว่า องค์ธรรมที่เป็นจิตนั้น จะเป็นวิปากจิต ดังนั้น การที่จะวิปกับนามที่เหลือนั้น
จึงวิปเป็น ชาติวิปปยุตต์ เหมือนในตัวอย่างที่ผ่านมาแล้วข้างบนค่ะ
แต่ในวิปากจิต ก็เหมือนกัน ย่อมมีจิตที่ยังหลงเหลืออยู่ในฝ่ายโลกุตตรจิตด้วย คือ ผลจิต
จึงอย่าลืมเอาผลจิตมารวมด้วยและเรียงตามลำดับไล่ลงไป แล้วมี ผลจิตอยู่ท้ายสุดค่ะ
(การเรียงนั้น พระพุทธองค์จะตรัสสอนกุศลขึ้นก่อน เช่นที่เราคุ้นๆ กันอยู่เวลาไปฟังสวดศพ พระท่านสวดพระอภิธรรม เราได้ยินคำว่า กุสลา ธัมมา ขึ้นก่อนเลย นั้นแหละค่ะคือการเรียงตามแบบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ คือ กุศล อกุศล วิปาก กริยา --------ดังนั้นการเรียงนั้นจึงนำ ภูมิวิปปยุตต์ ขึ้นก่อนแล้วตามด้วย ชาติวิปปยุตต์ เรียงไปตามลำดับที่เหลือ จากกุศลไปจนจบกริยา และเก็บตัวที่เหลือจากภูมิวิปปยุตต์ คือ ผลจิตตุปบาท ตามด้วยตุปบาททุกครั้ง เพราะในจิตที่เป็น กุศล อกุศล วิปาก กริยา เหล่านี้มีเจตสิกอยู่ด้วยค่ะ ผลจิตตุปบาทเป็นวิปากที่เหลืออยู่ในฝ่ายโลกุตตระ ส่วนมรรคจิต ๔ นั้นเป็นกุศลชาติ ได้รวมอยู่ในคำว่ากุศลแล้วค่ะ)

ขั้นที่ ๔ ดูว่า องค์ธรรมของบทนิทเทส มี กัมมชรูป
รูป นั้นมีสมุฏฐาน ๔ คือ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
เมื่อ กัมมชรูป มาในองค์ธรรม ก็จะเหลืออีก ๓ ฐาน คือ จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป
จึงเรียกที่เหลืออีก ๓ นี้ว่า ติชรูป
กัมมชรูป + ติชรูป = รูป ๒๘
ส่วนเอกโวการภวะ นั้นมีองค์ธรรมเป็น ชีวิตนวกกลาป ก็คือปฏิสนธิด้วยรูป คือชีวิตรูปในรูป ๒๘
ชีวิตรูปนี้ เป็นกัมมชรูป ด้วยเช่นกันค่ะ
คำว่า ภวะ ภโว ภเวน จะมีวิปากจิต เจตสิก และ กัมมชรูป อยู่ด้วย ตามแต่จะสมควรเป็นในแต่ละภพนั้น
เป็นที่รู้กันนะคะว่า องค์ธรรมมีจิต เจตสิก รูป แต่ตอนนี้จะแยกเพื่อยกเอา วิปาก และ กัมมชรูป มาให้ดูเพื่อให้เข้าใจการวิปปยุตต์ค่ะ
- จตุโวการภวะ มี วิปาก
- เอกโวการภวะ มีกัมมชรูป
- ปัญจโวการภวะ มีวิปาก มีกัมมชรูป
วิปาก และ กัมมชรูป ต่างก็เป็นองค์ธรรมอยู่ในเอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ
วิปาก และ รูป ที่เป็นองค์ธรรมของเอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะนี้ยังมีส่วนเหลือ คือ ผลจิต และ ติชรูป
จตุโวการภวะ จึงวิปกับชื่อได้เลยคือ เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ
จตุโวการภเวน---วิป-->เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ
ดังนั้นตัวที่วิปตามมาต่อจากเอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะนั้น ต้องเป็นชาติอื่นที่ไม่ใช่วิปาก เรียงไปตามลำดับคือ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท
จตุโวการภเวน---วิป-->เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท

ต่อมาเป็นรูป (กัมมชรูปนั้น มีอยู่ในเอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะแล้ว) ที่เหลือจึงคือ ติชรูป
สุดท้ายคือ นามวิปกับนิพพานได้
จตุโวการภเวน---วิป-->เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท ติชรูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ

สรุป นาม---วิป-->นามที่เหลือ รูป และ นิพพาน ได้
องค์ธรรมของบทนิทเทสเป็นวิปาก สิ่งที่ควรจำไว้คือการไล่เรียงกันไปดังนี้ค่ะ
กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท
ความยากของนัยนี้จึงอยู่ที่การหา เย ธัมมา ให้ได้ถูกต้องค่ะ ส่วนคำตอบนั้นตายตัวตามเหตุผลที่สอดคล้องกันกับคำถาม คือ นัตถิ ไม่มี

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


จตุโวการภเวน---วิป-->เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท ติชรูป นิพพาน--สัม-->? นตฺถิ

ปุจฉา...จตุโวการภเวน เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สมฺปยุตฺตา?

จตุโวการภวะ นี้ ไม่ประกอบกับ เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท ติชรูป นิพพาน เอกโวการภวะ ปัญจโวการภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท ติชรูป นิพพาน เหล่านี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา... นตฺถิ
ไม่มี

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2014, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
นวมนยสมฺปยุตฺเตนสมฺปยุตฺตปทนิทฺเทส (สัม + สัม/กลับประธานบท เกหิจิ) ๑๒๐ บท (อริยา)

คาถาแสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในนวมนยนิทเทส

๑. อรูปปกฺขนฺธา จตฺตาโร มนายตนเมว จ
วิญฺญาณธาตุโย สตฺต เทฺว สจฺจา จุทฺทสินฺทฺริยา ฯ
๒. ปจฺจเย ทฺวาทส ปทา ตโต อุปริ โสฬส
ติเกสุ อฏฺฐ โคจฺฉเก เตจตฺตาลีสเมว จ ฯ
๓. มหนฺตรทุเก สตฺต ปทา ปิฏฐิทฺเกสุ ฉ
นวมสฺส ปทสฺเสเต นิทฺเทเส สงฺคหํ คตา ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๙ นี้เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีสัมปยุตต์ โดยมีการกลับประธานบทและมีการแสดงเป็นพิเศษออกไปอีก โดยใช้ศัพท์ว่า เกหิจิ (สังขารขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน)
นัยนี้ถามด้วยสัมปยุตต์

รูปแบบการคิด

บทนิทเทส--สัม-->เย ธัมมาแรก/เตหิ ธัมเมหิได้--สัม-->เย ธัมมาหลัง/เต ธัมมาได้--สัม-->
วิสัชชนา (วิสัชชนานั้น จะได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ/เกหิจิคือ สังขารขันธ์ /ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ


บทนิทเทส เวทนาปจฺจยา ตณฺหาย
ตัณหามีองค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘ เจตสิก ๒๑(เว้นโลภเจ.)

เวทนาปจฺจยา ตณฺหาย--สัม-->โลภมูลจิต ๘ เจตสิก ๒๑(เว้นโลภเจ.)ได้--สัม-->ตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาเป็นเหตุได้--สัม-->? 3-1-1 / 19 / เจตสิก 21(เว้นโลภเจตสิก)

บทนิทเทสมีองค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก--สัม-->โลภมูลจิต ๘ เจตสิก ๒๑(เว้นโลภเจตสิก)จะเห็นได้ว่ามีการเว้นโลภเจตสิกซึ่งเป็นตัวองค์ธรรมของบทนิทเทสนี้ จึงยังมีนามคือเจตสิกเหลืออยู่ ๑ คือโลภเจตสิก ที่เป็นองค์ธรรมของประธานบท จึงสามารถนำย้อนไปประกอบกับบทประธานได้ จึงทำให้นัยนี้มีกลับประธานบทได้ คือ โลภมูลจิต ๘ เจตสิก ๒๑ ย้อนกลับไปประกอบกับ เวทนาปัจจยาตัณหา ได้ (แปลว่า ตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาเป็นเหตุ องค์ธรรมของตัณหาได้แก่โลภเจตสิก) และถามต่อไปว่าตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาเป็นเหตุนี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุได้เท่าไร?

การหาขันธ์ อายตนะ ธาตุ ก็เหมือนเดิมคือ เอาเฉพาะตัวที่เป็นสัมปยุตต์มาคิดขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ตัณหาที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเวทนาเป็นเหตุ องค์ธรรมได้แก่โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต๘ เจตสิก๒๑(เว้นโลภเจ.)
โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต๘ เจตสิก๒๑(เว้นโลภเจ.) คือ นามขันธ์ ๔ ...ตัวย่อ น.๔
- วิธีการคิดหาขันธ์
บทนิทเทสนี้มีโลภเจตสิกเป็นองค์ธรรมที่เป็นสังขารขันธ์มาบางส่วนคือไม่เต็ม ๕๐ จึงทำเหมือนเดิมคือเว้นตัวสังขารขันธ์เอาไว้ ๑ ขันธ์ใน นามขันธ์ ๔ เพราะฉะนั้น(น.4-1=3) ขันธ์จึงเหลือ 3 คือ
ในเจตสิก ๒๑ นี้
เวทนาเจตสิก ๑ เป็น เวทนาขันธ์ (เหลือเจตสิกอีก ๒๐)
สัญญาเจตสิก ๑ เป็น สัญญาขันธ์ (เหลือเจตสิกอีก 19 ยกไปเกหิจิที่เป็นสังขารขันธ์เจตสิก)

ส่วน โลภมูลจิต ๘ เป็น วิญญาณขันธ์
(จะเห็นได้ว่าเราเอาตัวสัมปยุตต์มาคิด คือโลภมูลจิต ๘ เจตสิก ๒๑)

- วิธีการคิดหา อายตนะ และ ธาตุ
อย่างที่เคยบอกไปแล้วค่ะว่า อายตนะ และ ธาตุ นี้ เราจะเอาเฉพาะตัวที่ไม่ใช่ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ มาคิดเท่านั้น เพราะอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุ นั้นต้องยกไปเกหิจิ
(ยกเจตสิก 21(เว้นโลภเจตสิก) ไปเกหิจิ)

ในที่นี้ตัวที่คิดได้คือ จิต เท่านั้น คือ โลภมูลจิต ๘
โลภมูลจิต ๘ เป็น มนายตนะ 1
โลภมูลจิต ๘ เป็น มโนวิญญาณธาตุ 1

3-1-1 / 19 / เจตสิก 21(เว้นโลภเจตสิก)

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

ต่อไปจะนำนิทเทสที่มีองค์ธรรมเป็นทั้งจิตและเจตสิกมาให้ดูค่ะ
บทนิทเทส อิทธบาท องค์ธรรมได้แก่
ฉันทะ วิริยะ มรคคจิต๔ ปัญญา ที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เวันฉันทะ วิริยะ ปัญญาเจตสิก)
ฉันทะ วิริยะ ปัญญา เป็นเจตสิกที่เป็นสังขาร รวมเรียกว่า อิทธิบาทองค์ธรรม ๓
ส่วน มรรคจิต๔ เป็นจิต ที่มีเจตสิกประกอบเต็มๆ คือ ๓๖

อิทธิปาเทน--สัม-->เจตสิก ๓๓ (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓) ได้--สัม-->อิทธิบาท ได้--สัม-->?
2 - - / 31 / เจตสิก 33 (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓)


อิทธิปาเทน--สัม-->เจตสิก ๓๓ (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓)
เจตสิก ๓๓ ตรงนี้เป็นเจตสิกที่ประกอบในมรรคจิต ๔ ซึ่งมรรคจิต ๔นี้ก็เป็นหนึ่งในองค์ธรรมของอิทธิบาท จึงต้องเอาเจตสิก ๓๓ที่ประกอบกับมรรคจิต ๔ มาเป็นตัวสัมปยุตต์
เจตสิก ๓๓ (-๓)กลับประธานบทคือไปประกอบกับ อิทธิบาท ๔ ได้ ถามต่ออีกว่า อิทธิบาท ๔ นี้ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

ก็มาหาขันธ์ อายตนะ ธาตุที่ประกอบกับอิทธิบาท ก็จะนำเอาตัวประกอบมาหาเช่นเดิมค่ะ
อิทธบาท องค์ธรรมได้แก่ ฉันทะ วิริยะ ปัญญา มรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เวันฉันทะ วิริยะ ปัญญาเจตสิก)
ฉันทะ วิริยะ ปัญญา เจตสิกทั้ง ๓ นี้ประกอบที่ในมรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เวันฉันทะ วิริยะ ปัญญาเจตสิก)
ฉันทะ วิริยะ ปัญญา เป็นเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์ เว้นไปแล้ว 1 คือ สังขารขันธ์ เพราะคือองค์ธรรม
มรรคจิต ๔ เป็น วิญญาณขันธ์เป็นหนึ่งในองค์ธรรมเช่นกัน ก็ต้องเว้นออกไปอีก 1
การหาสัมปยุตต์นั้น เราหาเพื่อนขององค์ธรรม จึงจะไม่นำตัวที่เป็นองค์ธรรมมาคิด
เพราะหาเพื่อนว่าเป็นใครบ้าง ก็คือเอาตัวที่เป็นตัวประกอบกับองค์ธรรมนั้น มาคิดว่าเป็นใครบ้างนั่นเองค่ะ
ดังนั้น ในบทนิทเทสนั้นจึง มีการเว้นนามขันธ์ไป ๒ คือ สังขารขันธ์๑ และ วิญญาณขันธ์๑

องค์ธรรมของบทนิทเทสเป็น นามขันธ์ ๔ จะต้องเว้นตัวองค์ธรรมของอิทธิบาทออก
เอาองค์ธรรมออกเพราะเราต้องการหาเพื่อนขององค์ธรรม ก็คือหาตัวที่ประกอบกับองค์ธรรม
คำถามนั้น ถามหาตัวประกอบว่า อิทธิบาทนี้ประกอบกับใครบ้างค่ะ
องค์ธรรม คือ ฉันทะ วิริยะ ปัญญา เป็นสังขารขันธ์๑
มรรคจิต ๔ เป็น วิญญาณขันธ์๑
ดังนั้นตัวองค์ธรรมที่ต้องเว้นคือ วิญญาณ(มรรคจิต๔) และ สังขารเจตสิก
พูดง่ายๆ คือ ตัวอิทธบาทเองและเพื่อนเป็น นามขันธ์๔
แต่ตัวอิทธิบาทเองนี้เป็นทั้ง วิญญาณ และ สังขาร ดังนั้น เพื่อนของอิทธิบาทก็คือ เวทนา กับ สัญญา
เอาเจตสิก ๓๓ ได้แค่นั้นมาคิดขันธ์
เวทนาเจตสิก ๑ เป็น เวทนาขันธ์ 1 (เหลือเจตสิก ๓๒)
สัญญาเจตสิก ๑ เป็น สัญญาขันธ์ 1 (เหลือเจตสิก 31 ยกไปเกหิจิที่เป็นสังขารขันธ์เจตสิก)
หรือ ตั้งนามขันธ์4 - 2 =2
ได้ ขันธ์ 2 คือ เวทนาขันธ์ 1 สัญญาขันธ์ 1
เจตสิก 31 นี้ จะไม่มี ฉันทะ วิริยะ ปัญญา อยู่ในนี้เลยค่ะ
เจตสิก 31 จึงเป็นสังขารขันธ์เจตสิกบางส่วนที่ประกอบกับอิทธิบาท

2 - - / 31 / เจตสิก 33 (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓)

อายตนะ และ ธาตุ ไม่มีอะไรให้คิด เพราะมีจิต เป็นองค์ธรรม (มรรคจิต ๔ เป็นองค์ธรรม)
ส่วนเจตสิก 33 (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓) นั้นยกไปเกหิจิ เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส--สัม-->เย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิได้--สัม-->เย ธัมมา/เต ธัมมาได้--สัม--> ?
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ / เกหิจิ...สังขารขันธ์ / ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ

อิทฺธิปาเทน--สัม-->เจตสิก ๓๓ (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓) ได้--สัม-->อิทธิบาท ได้--สัม-->?
2 - - / 31 / เจตสิก 33 (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓)

ปุจฉา อิทฺธิปาเทน เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สมฺปยุตฺตา ?

อิทธิบาท เหล่านี้ ประกอบกับ เจตสิก ๓๓ (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓) ได้ เจตสิก ๓๓ เหล่านี้ ประกอบกับ อิทธิบาท ได้ อิทธิบาทเหล่านี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา เต ธมฺมา ทวีหิ ขนฺเธหิ สมฺปยุตฺตา เอเกน ขนฺเธน เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ สมฺปยุตฺตา ฯ

อิทธิบาท เหล่านี้ ประกอบกับขันธ์ ๒ คือ เวทนาขันธ์๑ สัญญาขันธ์๑ และประกอบกับสังขารขันธ์บางส่วน คือ สังขารขันธ์เจตสิก ๓๑ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วนคือ เจตสิก ๓๓ (เว้นอิทธิบาทองค์ธรรม ๓)

(ตรงขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เราหาได้คือ 2 - - ตรงอายตนะกับธาตุ ที่เป็นขีด ไม่ใส่ตัวเลขนั้น เราจะไม่ใช่คำว่า นเกหิจิ อายตเนหิ นกาหิจิ ธาตูหิ ในวิสัชชนา เพราะไม่ใช่ว่าอายตนะกับธาตุไม่มี จริงๆ แล้วมี แต่เรายกไปเป็นเกหิจิ คือธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วนนั่นเองค่ะ)

:b8: :b8: :b8:

รูปภาพ
Interesting Amazing Galaxy

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ทสมนยวิปฺปยุตฺเตนวิปฺปยุตฺตปทนิทฺเทส (วิป + วิป /กลับประธานบท เกหิจิ)
ถ้านับตามอรรถกถา ๒๔๘ บท (เทวรา)
ถ้านับตามฎีกา ๒๕๐ บท (นิมกฺขา)

คาถาแสดงบทที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงในทสมนยนิทเทส

๑. ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ทุกฺขสจฺจญฺจ ชีวิตํ
สฬายตนํ นามรูปํ จตฺตาโร จ มหาภวา ฯ
๒. ชาติ ชรา มรณญฺจ ติเกเสฺวกูนวีสติ
โคจฺฉเกสุ จ ปญฺญาส อฏฺฐจูฬนฺตเร ปทา ฯ
๓. มหนฺตเร ปณฺณรส โสฬส จ ตโต ปเร
เอกวีสติ ปทสตํ เอตํ สมฺปโเค น ลพฺภติ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๑๐ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีแต่ วิปปยุตต์ ซึ่งได้แก่บทที่ทรงแสดงในฉัฏฐนยนิทเทสนั้นเอง
คงเปลี่ยนแต่วิธีแสดงเท่านั้น
ในนัยที่ ๑๐ นี้ ได้ทรงแสดงกลับประธานบท พร้อมทั้งแสดง อายตนะ ธาตุ เป็นพิเศษ โดยใช้คำว่า เกหิจิ

บทนิทเทส คือ นีวรณนีวรณสัมปยุตตะ องค์ธรรมได้แก่
นีวรณ์องค์ธรรม ๘ ที่ใน อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๑๙(เว้นนีวรณ์องค์ธรรม ๘)

บทนิทเทส--วิป-->เย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิ--วิป-->เย ธัมมา/เต ธัมมา--วิป--> ?
ขันธ์ อายตนะ ธาตุ / เกหิจิ...ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ

นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน
--วิป-->อกุศลจิตตุปบาท--วิป--> ? 1 - 10 - 16 / โสภณเจตสิก 25 สุขุมรูป 16 นิพพาน

นีวรณนีวรณสัมปยุตตะ เอาตัวที่สัมปยุตต์กับองค์ธรรมมาคิดคือ อกุศลจิต ๑๒ มีองค์ธรรมเป็นนาม
นามก็วิปกับนามที่เหลือ
นามวิปกับรูป
นามวิปกับนิพพาน
นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน

ต่อไปเป็นกลับประธานบท ประธานบทก็คือ อกุศลจิตตุปบาท
นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน
--วิป-->อกุศลจิตตุปบาท

นัยนี้นั้น เราจะไม่กลับประธานบทเป็นชื่อบทนิทเทสเหมือนที่ผ่านมา แต่จะเอาเย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิแรกเป็นประธานในการหา เย ธัมมา/เต ธัมมาหลัง โดยไม่เกี่ยวข้องกับชื่อของบทนิทเทสแล้ว แต่จะเกี่ยวข้องกับองค์ธรรมของบทนิทเทส ยกเว้นถ้าเป็นพวกภวะ ต้องกลับไปใช้ชื่อบทนิทเทสค่ะ

และจะถามว่าอกุศลจิตตุปบาทไม่ประกอบ ขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร
นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน--วิป-->อกุศลจิตตุปบาท--วิป--> ?
ในส่วนของคำตอบหรือวิสัชชนา คือ 1 - 10 - 16(-1) / โสภณเจตสิก 25 สุขุมรูป 16 นิพพาน

อกุศลจิตตุปบาท คือ นามขันธ์ ๔
นาม วิปกับ รูป ๒๘
นาม วิปกับ นิพพาน

รูป ๒๘ เป็น รูปขันธ์

อายตนะ และ ธาตุ
รูป ๒๘ นี้ เราจะต้องแยกเป็น ๒ ส่วนก่อน คือ โอฬาริกรูป ๑๒ และ สุขุมรูป ๑๖
สุขุมรูป ๑๖ เป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ
นัยนี้มีเกหิจิ จึงต้องยกธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ไปเกหิจิ
ดังนั้น การหาคำตอบจึงคิดได้แค่ โอฬาริกรูป ๑๒
โอฬาริกรูป ๑๒ เป็น โอฬาริกายตนะ ๑๐ , โอฬาริกธาตุ ๑๐
นิพพาน เป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ เช่นกันก็ยกไปเกหิจิ
อายตนะ ได้ โอฬาริกายตนะ 10

ธาตุ ได้โอฬาริกธาตุ ๑๐ มาแล้ว
หาวิญญาณธาตุที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิตตุปบาท และ อกุศลจิต ๑๒ นี้เป็น มโนวิญญาณธาตุ ๑
ดังนั้น วิญญาณธาตุมี ๗ หักมโนวิญญาณธาตุ ๑ (7-1=6)
จึงเหลือ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้นมโนวิญญาณธาตุ ๑)
เพราะฉะนั้น ธาตุได้เท่ากับ 16(-1)

เกหิจิ คือ สุขุมรูป นิพพานที่ยกมาแล้ว ยังมีเจตสิกบางส่วนด้วยที่ยังมาไม่ครบ
อกุศลจิตตุปบาท เป็น อโสภณจิต ดังนั้นจึงเหลือเจตสิกที่เป็น โสภณเจตสิกอีก ๒๕ ทั้งหมด
หรือ คิดจากเจตสิกที่ประกอบกับอกุศล คือ 27
เจตสิกทั้งหมดมี 52 - 27 = 25
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน(เกหิจิ) คือ โสภณเจตสิก 25 สุขุมรูป 16 นิพพาน

คือในฝ่ายที่วิปปยุตต์กับ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ หรือ อกุศลจิตตุปบาท นี้ อะไรที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิตตุปบาท ต้องเก็บตัวที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิตตุปบาทมาแสดงให้หมดค่ะ เช่น อกุศลจิต ๑๒ เป็น มโนวิญญาณธาตุ ๑ เพราะฉะนั้นวิญญาณธาตุที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ก็คือ วิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือคือจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ และอกุศลจิต ๑๒ เป็นนาม นามก็ไม่ประกอบกับรูปและนิพพาน เพราะอกุศลจิต ๑๒ ต้องประกอบกับเจตสิก ๒๗ ส่วนเจตสิกที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ มีเจตสิกใดที่ไม่ประกอบก็ต้องนำมาแสดง ก็คือ โสภณเจตสิก ๒๕ เป็นต้น

การหาธาตุ ถ้าบทนิทเทสเป็นนาม ตั้งขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เป็นคำตอบรอไว้ก่อนเลยค่ะ 1 - 10 - 10 แล้วหาว่าจิตในบทนิทเทสเป็นวิญญาณธาตุใด แล้วก็เอาวิญญาณธาตุที่ไม่ใช่ตัวบทนิทเทส มาบวกเข้ากับ ธาตุ 10 ที่ตั้งคอยไว้ค่ะ เช่น ในบทนิทเทสนี้ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ ๑ ดังนั้นวิญญาณธาตุ ๖ ที่เหลือจึงไม่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ก็เอาวิญญาณธาตุ 6 ไปบวกกับธาตุ 10 ที่ตั้งคอยไว้ ได้เป็น ธาตุ 16 ที่ไม่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน
--วิป-->อกุศลจิตตุปบาท--วิป--> ? 1 - 10 - 16 / โสภณเจตสิก 25 สุขุมรูป 16 นิพพาน

ปุจฉา นีวรเณหิ เจว นีวรณสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เตหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา วิปฺปยุตตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตตา ?

นีวรณนีวรณสัมปยุตตธรรม เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน
กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ อกุศลจิตตุปบาท
อกุศลจิตตุปบาท เหล่านี้ ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?

วิสัชชนา เต ธมฺมา เอเกน ขนฺเธน ทสหายตเนหิ โสฬสหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตตา เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ วิปฺปยุตตาฯ

อกุศลจิตตุปบาท เหล่านี้ ไม่ประกอบกับรูปขันธ์ 1 โอฬาริกายตนะ 10 ธาตุ 16 คือ โอฬาริกธาตุ 10 วิญญาณธาตุ 6(เว้นมโนวิญญาณธาตุ 1) และไม่ประกอบกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน คือ โสภณเจตสิก 25 สุขุมรูป 16 นิพพาน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส คือ เหตุ องค์ธรรมได้แก่ เหตุ ๖ ที่ใน สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๔๖ (เว้นเหตุ๖)

เหตูหิ ธมฺเมหิ--วิป-->อเหตุกจิตตุปบาท รูป ๒๘ นิพพาน--วิป-->สเหตุกจิตตุปบาท--วิป--> ?
1 - 10 - 16 / สุขุมรูป 16 นิพพาน

จิต ๘๙ นี้ แยกประเภทของจิตโดยอเหตุกะ(ไม่มีเหตุ) และ สเหตุกะ(มีเหตุ)
เหตุ ๖ เป็นเจตสิกที่มีจิตประกอบ ตัวประกอบกับเหตุ ๖ คือ สเหตุกจิต ๗๑
สเหตุกจิต ๗๑ ก็วิปกับ อเหตุกจิต ๑๘
บทนิทเทส เป็นนาม นามวิปกับ รูป และ นิพพาน

สเหตุกจิต ๗๑ นี้เป็นมโนวิญญาณธาตุ ๑ เท่านั้น เพราะอเหตุกจิต ๑๘ ตรงนี้มีวิญญาณธาตุครบ ๗ ค่ะ
หลักการคิดแนวเดียวกับบทนิทเทสแรกค่ะ
แต่ที่แตกต่างกันก็คือ เกหิจิ ไม่มีเจตสิกที่เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน
เนื่องจาก องค์ธรรมมีเจตสิกมาเต็มแล้วคือ เจตสิก ๔๖ + เว้นเหตุ ๖ = ๕๒ เต็ม
ดังนั้นในตอนกลับประธานบทเจตสิกของสเหตุกจิต ๗๑ จึงคือ ๕๒ เต็ม จึงไม่มีส่วนเหลือค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทสนี้จะหาเจตสิกที่เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วนยากสัักหน่อยค่ะ (เกหิจิ)
คันถคันถสัมปยุตตะ องค์ธรรมได้แก่
โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เจตสิก ๑๙ (เว้นโลภเจ. ทิฏฐิเจ.)

คันถะ นั้นมีองค์ธรรม ๓ คือ โลภเจ. ทิฏฐิเจ. โทสเจ. ที่ใน โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ เจตสิก ๒๓(-๓)
คันถคันถสัมปยุตตะ คือ สภาวธรรมที่เป็นคันถะ และสัมปยุตต์ด้วยคันถะ

ดังนั้นองค์ธรรมของคันถคันถสัมปยุตตะ จึงได้แก่ โลภเจ. ทิฏฐิเจ.ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เจตสิก ๑๙ (เว้นโลภเจ. ทิฏฐิเจ.) เพราะเอาตัวที่ร่วมกันเท่านั้น
ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง ก็อยู่ใน โลภมูลจิต ๘ ดวง

ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ อยู่ในโลภมูลจิต ๔ ดวงแรกนี้จึงมีเจตสิกเกิดร่วมกันคือ โลภเจ. ทิฏฐิเจ.
O O
O O.....ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

แถวบนเป็นโสมนัส ๒ ดวงแรกและแถวล่างเป็นอุเบกขา ๒ ดวงแรก
O O O O
O O O O........โลภมูลจิต ๘
O O...............โทสมูลจิต ๒

ตัวที่อยู่ในตำแหน่งที่ร่วมกันคือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

คนฺเถหิ เจว คนฺถสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน--วิป-->ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท--วิป--> ?
1 - 10 - 16 / มานะเจตสิก1 โทจตุกเจตสิก4 วิจิกิจฉาเจตสิก1 โสภณเจตสิก25 สุขุมรูป16 นิพพาน

ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท คือ ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต 4 เจตสิก 21
ดังนั้นเกหิจิ ต้องมีเจตสิกที่เป็นธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วนจำนวน 31 แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใน 31 นี้คืออะไรบ้าง เราหาได้จากตรงนี้ค่ะ ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน
ทิฏฐิคตวิปปยุตตจิตตุปบาท มี มานะเจตสิก 1
โทสมูลจิตตุปบาท มี โทจตุกเจตสิก 4
โมหมูลจิตตุปบาท มี วิจิกิจฉาเจตสิก 1
กุศลจิตตุปบาท มี โสภณเจตสิก 25

สรุปคือ เย ธัมมาหน้าและเย ธัมมาหลัง ทั้งหมดนี้
เย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิ--วิป-->เย ธัมมา/เต ธัมมา
เย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิ + เย ธัมมา/เต ธัมมา = รวมกันแล้วได้เท่ากับปรมัตถธรรม ๔
ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน + ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท = รวมกันแล้วได้เท่ากับปรมัตถธรรม ๔

ดังนั้นวิสัชชนา ก็จะวนกลับมาเอาคำตอบตรงได้นี้ค่ะ (เย ธัมมา/เตหิ ธัมเมหิ)
ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน
คำตอบต่อมาที่ได้จากตรงนี้คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ แล้วแยกเป็น โอฬาริกายตนะ ๑๐ , โอฬาริกธาตุ ๑๐ ยกวิปากจิตตุปบาทมาตัวเดียว ก็ได้ครบวิญญาณธาตุ ๗ หักมโนวิญญาณธาตุ ๑ ของบทนิทเทสออก เหลือ ๖ ส่วนเกหิจิ เจตสิกที่ซ่อนอยู่ก็หาอย่างข้างต้นที่แสดงให้ดู และสุขุมรูป นิพพาน ยกไป เกหิจิ -----ได้คำตอบทั้งหมดครบเลยค่ะ

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

เพิ่มเติมค่ะ
ข้อ ๓. รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ........ไม่เรียกว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์
ในหลัก แสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้ ทั้ง ๗ ข้อดังกล่าวที่เคยนำมาให้ดูนั้น ย่อมมีผู้สงสัยข้อ ๓ นี้อยู่บ้างว่า อะไรคือ รูป กับ รูป อะไรคือ รูป กับ นิพพาน ไม่สัม ไม่วิป
ยกตัวอย่างที่เป็นนามก่อนค่ะ นาม กับ นาม ......สัมกันได้ แล้ว นาม กับ นาม....ก็วิปกันได้
นามสัมปยุตต์กับนามได้ ก็คือ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เจตสิก ๒๐ (-ทิฏ.เจ.) เป็นต้น
เจ--สัม-->จิต เจ (เว้นตัวเอง)
เจตสิก ๕๒--สัม-->จิต ๘๙ เป็นต้น
นามวิปปยุตต์กับนามได้ ก็คือ นาม วิปกับนามที่เหลือ คือ ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาท รูป นิพพาน--วิป-->ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท
ส่วนรูปกับนิพพาน ไม่สัมไม่วิป คือจะเห็นว่าจากตัวอย่างข้างบนนี้ รูป กับ นิพพาน ไม่มีมาแล้วที่...ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิตตุปบาท ทั้งไม่มาและไม่มีคำตอบที่เป็น รูป นิพพานให้ด้วยค่ะ ถ้า รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ไม่สัม ไม่วิป ก็คือเมื่อมีการถามหาตัวที่ประกอบกับรูปที่เป็นรูป หรือถามหาตัวที่ไม่ประกอบกับ รูป นิพพาน ที่เป็นรูปกับนิพพาน ถ้ามีคำถามต้องการหาสัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์ จะไม่มีคำตอบที่เป็นรูปอะไรหรือมีนิพพานมาในลำดับต่อไปค่ะ เพราะว่า รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ไม่สัม ไม่วิป

แต่ นามนั้น ถ้านาม วิป ก็จะได้ นามที่เหลือ และมี รูป กับ นิพพาน มาด้วยค่ะ
คนฺเถหิ เจว คนฺถสมฺปยุตฺเตหิ จ ธมฺเมหิ--วิป-->ทิฏฐิคตวิปปยุตต-โทสมูล-โมหมูล-กุศล-วิปาก-กริยาจิตตุปบาทรูป นิพพาน
นาม--วิป-->นามที่เหลือ รูป นิพพาน

หลักข้อ ๓ นี้ของการแสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้ จะสำคัญอย่างมากต่อเรื่องภวะ
:b49: อุปปัตติภวะ แบ่งเป็น ๙ อย่าง คือ
๑. จำแนกภพโดยตัณหา ได้แก่ กามภวะ รูปภวะ อรูปภวะ
๒. จำแนกภพโดยสัญญา ได้แก่ สัญญีภวะ อสัญญีภวะ เนวสัญญีนาสัญญีภวะ
๓. จำแนกภพโดยขันธ์ ได้แก่ เอกโวการภวะ จตุโวการภวะ ปัญจโวการภวะ

บทนิทเทส คือ รูปภวะ
กลุ่มตัณหา ตีองค์ธรรมเป็น รูป นาม
รูปภวะ ...........รูป1 นาม
กามภวะ...........รูป2 นาม
อรูปภวะ............นาม
-------------------------
รูป1 วิปกับ รูป2 ------ไม่ได้ เพราะ รูป กับ รูป ไม่สัมไม่วิป

เพราะฉะนั้น นัยที่ ๑๐ นี้ บทนิทเทสคือ รูปภวะก็ต้องวิปกับกลุ่มของตนเอง (ตัณหา)
รูปภวะ ก็จะวิปโดยไม่มีรูปมาเกี่ยวข้อง ตัดรูปทิ้งไป เหลือแต่นามวิปกับนามได้เท่านั้น
จึงใช้ชื่อไม่ได้เพราะถ้าใช้ชื่อ ก็คือเอาองค์ธรรมที่เป็นวิปากจิต เจตสิก กัมมชรูป มาครบ ดังนั้นจึงต้องระบุว่าเป็น......จิตเจตสิกของกามภวะ อรูปภวะ กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิตตุปบาท
...........โลกียวิปากจิต เจตสิก...............กุศล-อกุศล-กริยา-ผลจิต+เจตสิก(โลกุตตระ)
จิตเจตสิกของกามภวะ อรูปภวะ คือ โลกียวิปากจิต เจตสิก ดังนั้นจึงขาดวิปากที่เป็นโลกุตตระคือ ผลจิต
ในส่วนของกุศลจิตตุปบาท นี้รวมทั้งหมดไว้แล้วในกุศล มีทั้งโลกียะ และ โลกุตตระ(มรรคจิต)ไว้ให้ครบค่ะ
จึงเห็นว่า เราจะต้องเก็บให้หมดไม่ตกไม่หล่น ที่ขาดหายไปจากตัวแรกก็เอามาใส่ไว้ในตอนท้ายสุด

สรุป พูดง่ายๆ คือ
นาม วิปกับ นามที่เหลือได้
แต่รูป วิปกับ รูปที่เหลือไม่ได้
รูป สัมกับ รูป ก็ไม่ได้เหมือนกันค่ะ

อ่านไปอ่านมาชักมึนงง อย่าเพิ่งเหมาหมดนะคะ ว่ารูปและนิพพาน วิปกับอะไรไม่ได้เลย
เพราะ รูป กับ นาม ......วิปกันได้
รูป ๒๘---วิป-->จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒
รูป นิพพาน กับ นามขันธ์ ๔.....วิปกันได้
รูป นิพพาน---วิป-->นามขันธ์ ๔
รูป---วิป-->นามขันธ์ ๔
นิพพาน ---วิป-->นามขันธ์ ๔
รูป นิพพาน---สัม-->นัตถิ (ไม่มี).....นัย ๘ กลับไปดูได้ที่นัย ๘ ค่ะ

การที่รูปกับนิพพานต้องเป็นไปตามกฏข้อ ๓ นั้น เพราะอะไร

การที่เข้าใจได้ว่าเพราะอะไรนั้นจะต้องเข้าใจกฏของสัมปยุตต์ก่อน กฏของสัมปยุตต์นั้น คือ จะต้องมีลักษณะครบ ๔ ประการคือ เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน อาศัยวัตถุเดียวกัน ถ้ามีลักษณะครบ ๔ ประการนี้ ถึงจะสัมปยุตต์กันได้ ในลักษณะทั้ง ๔ นี้ รูป กับ รูป , รูป กับ นิพพาน ไม่สามารถครบลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ได้เลย เช่น
รูปไม่รู้อารมณ์ รูปจึงสัมปยุตต์กับอะไรไม่ได้เลย แม้แต่ตัวรูปเอง
ส่วนนิพพานนั้น เป็นอารมณ์ภายนอกที่ถูกปัญญารู้ จึงไม่สามารถสัมปยุตต์กับอะไรได้เช่นเดียวกัน
ทั้งรูปและนิพพานก็ไม่สามารถที่จะมีอารมณ์เดียวกันได้ด้วย เพราะรูปกับนิพพานเป็นสภาวธรรมที่รู้อารมณ์ไม่ได้จึงต่างฝ่ายต่างก็สัมปยุตต์กันเองไม่ได้ และรูปกับนิพพาน ก็เกิดพร้อมกันไม่ได้อยู่แล้ว เป็นต้น

เมื่อสัมปยุตต์กันไม่ได้ ก็วิปปยุตต์กันไม่ได้เช่นเดียวกัน
จึงเป็นไปตามหลักข้อ ๓ ของ การแสดงขันธ์ที่สัมปยุตต์วิปปยุตต์ได้และไม่ได้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2014, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

เอกาทสสมนยสงฺคหิเตนสมฺปยุตฺตวิปฺปยุตฺตปทนิทฺเทส ( สัง+สัม วิป / เกหิจิ) ๖๙ บท (ธูตา)
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในเอกาทสสมนยนิทเทส

เทฺว สจฺจา ปนฺนรสินฺทริยา เอกาทส ปฏิจฺจสมุปฺปาทา
อุทฺธํ ปุน เอกาทส โคจฺฉกปทเมตฺถ ติํสวิธํ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๑๑ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นธรรมที่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ เหมือนกัน ได้แก่บทที่ทรงแสดงไว้ในนัย ๔ นั้นเอง คงเปลี่ยนแต่วิธีแสดง
จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมกัน ๒ นัย คือ นัยที่ ๔ และ นัยที่ ๖
นัย ๔ แสดง การสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุก่อนคือ เย ธัมมา แล้วจึงนำ เย ธัมมา มาตั้งเป็นประธานเพื่อถามคือ เต ธัมมา และจะถามต่อตามนัย ๖ อีกว่า เต ธัมมา ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุได้เท่าไร และไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร

นัย ๑๑ นี้มีแค่ ๓ รูปแบบ คือ เวทนา มี ๘ นิทเทส
รูปก็มีแค่ ๓ นิทเทส ปริเทวะและ ภาวรูป ๒ และที่เหลือนอกนั้นเป็นสังขาร

บทนิทเทส
โสมนัสสินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่เวทนาเจตสิก ที่ในสุขสหคตกายวิญญาณจิต๑ สัพพจิตต.๖(-เวทนาเจ.)

บทนิทเทส..................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา---สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
โสมนัสสินทริเยน------>สุข ทุกข โสมนัส อุเบกขาเวทนา
ข. เวทนาขันธ์---สัง--->เวทนาขันธ์ (ขันธ์เหมือน)
อ. ธัมมายตนะ---สัง--->ธัมมายตนะ (อายตนะเหมือน)
ธ. ธัมมธาตุ------สัง--->ธัมมธาตุ (ธาตุเหมือน)

สุข ทุกข โสมนัส อุเบกขาเวทนา---------สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
สัมปปยุตต์
ขันธ์ ๓ คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
อายตนะ คือ มนายตนะ ๑
ธาตุ คือ วิญญาณธาตุ ๗
และธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนาเจตสิก)
วิปปยุตต์
ขันธ์ คือ รูปขันธ์ ๑
อายตนะ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธาตุ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐
และธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ ปีติเจตสิก ๑ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส อิตถินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ อิตถีภาวรูป ๑

อิตฺถินฺทฺริเยน------>สุขุมรูป ๑๕ (เว้นอิตถีภาวรูป ๑)
ข. รูปขันธ์-------สัง--->รูปขันธ์ (ขันธ์เหมือน)
อ. ธัมมายตนะ---สัง--->ธัมมายตนะ (อายตนะเหมือน)
ธ. ธัมมธาตุ------สัง--->ธัมมธาตุ (ธาตุเหมือน)

สุขุมรูป ๑๕ ---------สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
สัมปปยุตต์------นตฺถิ
วิปปยุตต์
ขันธ์ คือ นามขันธ์ ๔
อายตนะ คือ มนายตนะ ๑
ธาตุ คือ วิญญาณธาตุ ๗
และธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๒


ปุจฉา อิตฺถินฺทฺริเยน เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา
เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สมฺปยุตฺตา?

อิตถินทรีย์นี้ นับสงเคราะห์ สุขุมรูป ๑๕ (เว้นอิตถีภาวรูป ๑) โดยความเป็น รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุได้
สุขุมรูป ๑๕ เหล่านี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา นตฺถิ
ไม่มี

ปุจฉา อิตฺถินฺทฺริเยน เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน สงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน สงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน สงฺคหิตา
เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา?

อิตถินทรีย์นี้ นับสงเคราะห์ สุขุมรูป ๑๕ (เว้นอิตถีภาวรูป ๑) โดยความเป็น รูปขันธ์ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุได้
สุขุมรูป ๑๕ เหล่านี้ ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา เต ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ วิปฺปยุตฺตา ฯ

สุขุมรูป ๑๕ เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗
และไม่ประกอบกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๒

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

บทนิทเทส คันถคันถสัมปยุตตะ องค์ธรรมได้แก่ โลภะ,ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เจ.๑๙(-๒)
คันถคันถสัมปยุตตะ------>สังขารขันธ์เจตสิก 49(เว้นโลภะ,ทิฏฐิเจ.ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔)
ข. สังขารขันธ์---สัง--->สังขารขันธ์ (ขันธ์เหมือน)
อ. ธัมมายตนะ---สัง--->ธัมมายตนะ (อายตนะเหมือน)
ธ. ธัมมธาตุ------สัง--->ธัมมธาตุ (ธาตุเหมือน)

สังขารขันธ์เจตสิก 49---------สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
สัมปปยุตต์
ขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
อายตนะ คือ มนายตนะ ๑
ธาตุ คือ วิญญาณธาตุ ๗
และ สังขารขันธ์บางส่วน คือ โลภะ,ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ โลภะ,ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔, เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก
วิปปยุตต์
ขันธ์ คือ รูปขันธ์ ๑
อายตนะ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธาตุ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐
และธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน


อธิบายสัมปยุตต์

โลภเจตสิก 1 + ทิฏฐิเจตสิก 1 = 2
สังขารขันธ์เจตสิก 50 - 2 = 48
โลภเจตสิกยังมีประกอบกับจิตอื่นอีกต้องบวกกลับคืน
สังขารขันธ์เจตสิก 48+โลภเจตสิก1 = 49

เอา สังขารขันธ์เจตสิก 49(เว้นโลภะ,ทิฏฐิเจ.ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔) มาหาขันธ์
สังขารขันธ์เจตสิก 49 นี้ เป็นนามขันธ์ ต้องประกอบกับนามขันธ์ด้วยกันคือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้นขันธ์จึงได้ ๓

ส่วน อายตนะ กับ ธาตุนั้น คิดได้แค่จิต คือ วิญญาณขันธ์ เป็น มนายตนะ
ส่วน เวทนา กับ สัญญาเจตสิกนั้นยกไปเป็น ธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน
จิต ๘๙ ได้ วิญญาณธาตุ ๗

เกหิจิ สังขารขันธ์บางส่วน จะต้องเป็นตัวที่ถูกเว้น คือ โลภะ,ทิฏฐิเจ.ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ เนื่องจากที่คิดทั้งหมดที่ผ่านมาไม่มีสังขารขันธ์นำมาคิดเลย เพราะเราจะนำสังขารที่มีมาเพียงบางส่วนในบทนิทเทส ยกมาไว้ที่เกหิจิหมด
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุบางส่วน คือ โลภะ,ทิฏฐิเจ.ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
และยังมีอีก ๒ ที่เราต้องยกมาที่เกหิจินี้คือ เวทนา กับ สัญญา ที่ยังไม่ถูกคิดที่อายตนะ กับธาตุค่ะ

วิปปยุตต์

สังขารขันธ์เจตสิก เป็นนาม
นาม วิปกับ รูป นิพพาน
รูป เป็นรูปขันธ์
นิพพาน ยกไปที่เกหิจิ
รูป ๒๘ แยกเป็น โอฬาริกรูป ๑๒ + สุขุมรูป ๑๖
โอฬาริกรูป ๑๒ เป็น โอฬาริกายตนะ ๑๐ , โอฬาริกธาตุ ๑๐
สุขุมรูป ๑๖ ยกไปเกหิจิ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2014, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

ทฺวาทสมนยสมฺปยุตฺเตนสงฺคหิตาสงฺคหิตปทนิทฺเทส (สัม + สัง อสัง ) ๑๒๐ บท (อริยา)
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในทฺวาทสมนยนิทเทส

๑. อรูปปกฺขนฺธา จตฺตาโร มนายตนเมว จ
วิญฺญาณธาตุโย สตฺต เทฺว สจฺจา จุทฺทสินฺทฺริยา ฯ
๒. ปจฺจเย ทฺวาทส ปทา ตโต อุปริ โสฬส
ติเกสุ อฏฺฐ โคจฺฉเก เตจตฺตาลีสเมว จ ฯ
๓. มหนฺตรทุเก สตฺต ปทา ปิฏฐิทฺเกสุ ฉ
นวมสฺส ปทสฺเสเต นิทฺเทเส สงฺคหํ คตา ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๑๒ นี้เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีสัมปยุตต์ ได้แก่บทที่ทรงแสดงในนวมนยนิทเทสนั้นเอง เปลี่ยนแต่วิธีแสดงเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมกัน ๒ นัย คือ นัยที่ ๙ และ นัยที่ ๑
นัย ๙ แสดงประกอบกับสภาวธรรมใดได้ก่อน คือ เย ธัมมา นำเย ธัมมา มาตั้งเป็นประธานเพื่อถาม
คือ เต ธัมมา และจะถามต่อตามนัย ๑ อีกว่า เต ธัมมา นั้นนับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร และนับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร


บทนิทเทส โสมนัสสินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในโสมนัสสสหคตจิต๖๒ เจตสิก๔๖(-เวทนาเจ.)

บทนิทเทส.....................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา------------สังคหิตา ? / อสังคหิตา ?
โสมนสฺสินฺทฺริเยน---สัม-->โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖(-เวทนาเจ.)ได้

โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖(-เวทนาเจ.)--------สังคหิตา ? / อสังคหิตา ?
สังคหิตา
ขันธ์ ๓ คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ ๑ ธัมมายตนะ ๑
ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมธาตุ ๑
อสังคหิตา
ขันธ์ ๒ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑
อายตนะ คือ โอฬาริกายตนะ ๑๐
ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้น มโนวิญญาณธาตุ ๑ )


ปุจฉา โสมนสฺสินฺทฺริเยน เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?
โสมนัสสินทรีย์นี้ ประกอบกับโสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖(เว้นเวทนาเจตสิก)ได้ โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖ เหล่านี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?

วิสัชชนา เต ธมฺมา ตีหิ ขนฺเธหิ ทวีหายตนเนหิ ทวีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา ฯ
โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖ เหล่านี้ นับสงเคราะห็ได้ด้วยขันธ์ ๓ คือ สัญญาขันธ์๑ สังขารขันธ์๑ วิญญาณขันธ์๑ อายตนะ ๒ คือ มนายตนะ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธาตุ ๒ คือ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมธาตุ ๑

ปุจฉา โสมนสฺสินฺทฺริเยน เย ธมฺมา สมฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?
โสมนัสสินทรีย์นี้ ประกอบกับโสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖(เว้นเวทนาเจตสิก)ได้ โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖ เหล่านี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?

วิสัชชนา เต ธมฺมา ตีหิ ขนฺเธหิ ทสหายตนเนหิ โสฬสหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา ฯ
โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๖ เหล่านี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ ๒ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ โอฬาริกายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๖ คือ โอฬาริกธาตุ ๑๐ วิญญาณธาตุ ๖ (เว้น มโนวิญญาณธาตุ ๑ )

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2014, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

เตรสมนยอสงฺคหิเตนสมฺปยุตฺตวิปฺปยุตฺตปทนิทฺเทส ( อสัง+สัม วิป / เกหิจิ) ๑๓๐ บท (นคฺคิยา)
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในเตรสมนยนิทเทส

รูปญฺจ ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ
อิตฺถิปุมํ ชีวิตํ นามรูปํ
เทฺว ภวา ชาติชรา มจฺจุรูปํ
อนารมฺมณํ โน จิตฺตํ จิตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ
วิสํสฏฺฐํ สมุฏฺฐานสหภุ
อนุปริวตฺติ พาหิรํ อุปาทา
เทฺว วิสโย เอส นโย สุพุทฺโธติ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๑๓ นี้ ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นธรรมที่มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ต่างกัน
จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมกัน ๒ นัย คือ นัยที่ ๕ และ นัยที่ ๖
นัย ๕ แสดง การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุก่อนคือ เย ธัมมา แล้วจึงนำ เย ธัมมา มาตั้งเป็นประธานเพื่อถามคือ เต ธัมมา และจะถามต่อตามนัย ๖ อีกว่า เต ธัมมา ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุได้เท่าไร
และไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร

เย ธมฺมา/เต ธมฺมา สำหรับนัยนี้ที่นับสงเคราะห์ไม่ได้ มี ๒ อย่างคือ
๑.) จิต ๘๙
๒.)โอฬาริกรูป ๑๒

บทนิทเทส สารัมมณะ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒

บทนิทเทส..................................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา-----สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
สารมฺมเณหิ ธมฺเมหิ----------------->โอฬาริกรูป ๑๒
ข. นามขันธ์๔----------------อสัง--->รูปขันธ์๑ (ขันธ์ต่าง)
อ. มนายตนะ๑ ธัมมายตนะ๑---อสัง--->โอฬาริกายตนะ๑๐ (อายตนะต่าง)
ธ. วิญญาณธาตุ๗ ธัมมธาตุ๑---อสัง--->โอฬาริกธาตุ๑๐ (ธาตุต่าง)

โอฬาริกรูป ๑๒---------สัมปยุตต์ ? / วิปปยุตต์ ?
สัมปปยุตต์-------นตฺถิ
วิปปยุตต์
ขันธ์ คือ นามขันธ์ ๔
อายตนะ คือ มนายตนะ ๑
ธาตุ คือ วิญญาณธาตุ ๗
และธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๒


ปุจฉา สารมฺมเณหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน อสงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน อสงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สมฺปยุตฺตา?

สารัมมณธรรม เหล่านี้ นับสงเคราะห์ โอฬาริกรูป ๑๒ โดยความเป็น นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ธัมมายตนะ วิญญาณธาตุ๗ ธัมมธาตุ ไม่ได้
โอฬาริกรูป ๑๒ เหล่านี้ ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ ได้เท่าไร?

วิสัชชนา นตฺถิ
ไม่มี

ปุจฉา สารมฺมเณหิ ธมฺเมหิ เย ธมฺมา ขนฺธสงฺคเหน อสงฺคหิตา อายตนสงฺคเหน อสงฺคหิตา ธาตุสงฺคเหน อสงฺคหิตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา?

สารัมมณธรรม เหล่านี้ นับสงเคราะห์ โอฬาริกรูป ๑๒ โดยความเป็น นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ธัมมายตนะ วิญญาณธาตุ๗ ธัมมธาตุ ไม่ได้
โอฬาริกรูป ๑๒ เหล่านี้ ไม่ประกอบกับขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา เต ธมฺมา จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ วิปฺปยุตฺตา เอเกนายตเนน เอกาย ธาตุยา เกหิจิ วิปฺปยุตตา ฯ

สารัมมณธรรม เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ นามขันธ์ ๔ มนายตนะ ๑ วิญญาณธาตุ ๗
และไม่ประกอบกับธัมมายตนะ ธัมมธาตุ บางส่วน คือ เจตสิก ๕๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2014, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

จุทฺทสมนยวิปฺปยุตฺเตนสงฺคหิตาสงฺคหิตปทนิทฺเทส (วิป + สัง อสัง ) ๓๒๔ บท (ภกฺขิลา )
คาถาที่แสดงบทที่พระพุทธองค์ไม่ทรงแสดงในจุทฺทสมนยนิทเทส

๑. ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ อถ ชีวิตํ นามรูปํ
สฬายตนํ ชาติ ชรามรณํ เทฺว จ ติเก น ลพฺภเร ฯ
๒. ปฐมนฺตเร สตฺต จ โคจฺฉเก ทส อปรนฺเต
จุทฺทส ฉ จ มตฺถเก อิจฺเจเต สตฺตจตฺตาลีส ธมฺมา
สมุจฺเฉเท น ลพฺภนฺติ โมฆปุจฺฉเกน จ ฯ
(อ่านแปลคาถาได้ที่หนังสือปัญหาพยากรณโชติกะ ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ
หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก )

นัยที่ ๑๔ นี้เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีวิปปยุตต์ ได้แก่บทที่ทรงแสดงในอัฏฐมนยนิทเทสนั้นเอง เปลี่ยนแต่วิธีแสดงเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าเป็นการผสมกัน ๒ นัย คือ นัยที่ ๘ และ นัยที่ ๑
นัย ๘ แสดงไม่ประกอบกับสภาวธรรมใดก่อน คือ เย ธัมมา นำเย ธัมมา มาตั้งเป็นประธานเพื่อถาม
คือ เต ธัมมา และจะถามต่อตามนัย ๑ อีกว่า เต ธัมมา นั้นนับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร
และนับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร เราสามารถทำนัยที่ ๘ ควบคู่ไปกับนัยที่ ๑๔ ได้ค่ะในการฝึกคิดเพื่อตั้งปุจฉาและวิสัชชนา

บทนิทเทส อัญญาตาวินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน อรหัตตผลจิต ๑
บทนิทเทส.....................เย ธมฺมา/เต ธมฺมา---------------สังคหิตา ? / อสังคหิตา ?
อญฺญาตาวินฺทฺริเยน---วิป-->โลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน

โลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน--------สังคหิตา ? / อสังคหิตา ?
สังคหิตา
ขันธ์ *๕
อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘
อสังคหิตา
ขันธ์ X
อายตนะ X
ธาตุ X


ปุจฉา อญฺญาตาวินฺทฺริเยน เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา?

อัญญาตาวินทรีย์นี้ ไม่ประกอบกับโลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน
โลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน เหล่านี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา เต ธมฺมา อสงฺขตํ ขนฺธโต ฐเปตฺวา ปญฺจหิ ขนฺเธหิ ทฺวาทสหายตเนหิ อฏฺฐารสหิ ธาตูหิ สงฺคหิตา ฯ

อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้ยกเว้นนิพพานที่นับสงเคราะห์โดยความเป็นขันธ์เสียแล้ว นับสงเคราะห็ได้ด้วยขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘

ปุจฉา อญฺญาตาวินฺทฺริเยน เย ธมฺมา วิปฺปยุตฺตา เต ธมฺมา กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา?

อัญญาตาวินทรีย์นี้ ไม่ประกอบกับโลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน
โลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพานเหล่านี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร?

วิสัชชนา เต ธมฺมา น เกหิจิ ขนฺเธหิ น เกหิจิ อายตนเนหิ น กาหิจิ ธาตูหิ อสงฺคหิตา ฯ

โลกีย-มรรค-ผลจิตตุปบาทเบื้องต่ำ๓ รูป๒๘ นิพพาน เหล่านี้ นับสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่มี

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

นัยที่มีการถามถึง ๒ ครั้งมี ๖ นัย คือ นัยที่ ๑ , ๖ , ๑๑ , ๑๒ , ๑๓ , ๑๔

หากมีข้อผิดพลาดประการใดในการอธิบายนี้ ขอท่านผู้รู้กรุณาช่วยแนะนำด้วยค่ะ
และหากเห็นว่าข้อความใดผิดพลาด หรือสิ่งใดไม่ถูกต้องกรุณาแจ้งให้ดิฉันทราบด้วยการโพสตอบกระทู้ขึ้นมาใหม่ หรือแจ้งทางพีเอ็ม ขอความกรุณาอย่าแก้ข้อความ สี และวรรคตอนใดๆ ทั้งสิ้นค่ะ
จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนการคิดที่ละเอียดมากและมีอย่างหนึ่งคือแต่ละนิทเทสมีองค์ธรรมที่ซ้ำกันบ้าง และไม่ซ้ำกันก็มีเยอะมาก อีกทั้งมีความเป็นเรื่องเฉพาะตัวในการคิดหาตามหลักเช่น. สมาธินทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในจิต 72 เจตสิก 50 (เว้นวิจิกิฉา, เอกัคคตาเจ. ). ซึ่งธรรมดาจะเว้นแค่ตัวเองแต่บทนิทเทสนี้เว้นวิจิกิจฉาด้วยเพราะวิจิกิจฉาเป็นนิวรณ์ตัวหนึ่งค่ะต้องไม่มีในจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งจะท่ององค์ธรรมไปโดยไม่รู้ลึกซึ้งในเนื้อหาที่มาของข้อยกเว้นนั้นท่องได้ค่ะ. แต่ท่องได้แบบแป๊บเดียวก็ลืม. ดังนั้นจึงควรใส่ใจกับเนื้อหาด้วยว่าเว้นเพิ่มขึ้นมาเพราะอะไรค่ะ ขอให้เพื่อนๆจงมีวิริยะเพื่อทำการพัฒนาจิตตนเองในสิ่งที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจนอกจากจะเป็นปัญญาบารมีแล้วเพื่อเป็นวิริยะบารมีได้อีกด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร