วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 13:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 12:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


onion
s002

ต้องใช้เวลา และ สมาธิสูงในการค่อยเรียนรู้......
ขอบคุณค่ะที่จัดทำ...จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ.....
....ยากมากจริงๆๆๆ...... s002 s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


มาสนับสนุนอีกเสียงว่า พระอภิธรรม ค่อนข้างยากมาก :b12: :b5: ต้องใช้ความเพียรมากๆ ถึงจะเรียนให้เข้าใจและเรียนให้สำเร็จคะ :b4: ขอโมทนากับผู้จัดทำนะคะ ลุงหมาน กับ คุณSOAMUSA :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


น้องพลอย เขียน:
มาสนับสนุนอีกเสียงว่า พระอภิธรรม ค่อนข้างยากมาก :b12: :b5: ต้องใช้ความเพียรมากๆ ถึงจะเรียนให้เข้าใจและเรียนให้สำเร็จคะ :b4: ขอโมทนากับผู้จัดทำนะคะ ลุงหมาน กับ คุณSOAMUSA :b8: :b8: :b8:


เราอย่าไปคิดว่าพระอภิธรรมนั้นยาก ตั้งแต่ยังไม่ได้ลองศึกษาดูก่อนเลย
เราไปตั้งธงว่า"ยาก"ก่อนได้ศึกษาทำให้ไม่อยากเรียน เชื่อเถอะถ้าได้เรียนสัก ๑ อาทิตย์
หรือสัก ๑ เดือน เชื่อว่าจะต้องชอบใจ เห็นมามากแล้วคนที่เข้าห้องเรียนพระอภิธรรมนั้นเลิกเรียนยาก
จริงๆ เพราะมันจะรู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนได้อย่างลึกซึ้งขนาดนี้เลยหรือ

การเรียนพระอภิธรรม หรือการศึกษาวิชาอะไรแขนงใดๆ ก็แล้วแต่ยากทั้งนั้น
มันต้องมีจุดเริ่มต้น ที่ลุงหมานเอามาลงไว้ในห้องพระอภิธรรมนั้นเป็นปริจเฉท ๆ คนที่เรียนในห้อง
เรียนมาก่อนเขายิ้มเลยสบายเขา คนที่ไม่ได้เรียนในห้องเรียนมาก่อน เชื่อได้เลยว่าอ่านไม่เกินหน้าหรอก
ง่วงนอน หรือไม่ก็ต้องวางแล้วบ่นว่ายาก

ผลไม้ที่เราทานกันทุกวันนี้มันมาจากเมล็ดหรือหน่อ มันจะค่อยโตแล้วจึงออกผลทีหลัง
ให้เราได้รับประทานกัน เราจะต้องมองให้เห็นความจริงของธรรมชาติเช่นนี้ก่อน
ถ้าเราไม่ได้ศึกษาปริยัติ จะให้การปฏิบัติได้ถูกต้องเข้าใจนั้นยากยิ่งกว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้วยไม้ม่วง เขียน:
onion
s002

ต้องใช้เวลา และ สมาธิสูงในการค่อยเรียนรู้......
ขอบคุณค่ะที่จัดทำ...จะพยายามทำความเข้าใจค่ะ.....
....ยากมากจริงๆๆๆ...... s002 s002



:b8: ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ เป็นการแจกแจงให้เห็นว่าเวลาผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ปัญญาจะเห็นอะไรได้บ้าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสภาวธรรมทั้งสิ้นค่ะ หากค่อยๆ เรียนไปตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะเข้าใจได้ค่ะ

หากอ่านไม่เข้าใจ แต่ก็ได้รู้ได้เห็นว่า คัมภีร์นี้มีวิธีที่จะหาคำตอบอย่างไรให้ไปถึงคำตอบที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


น้องพลอย เขียน:
มาสนับสนุนอีกเสียงว่า พระอภิธรรม ค่อนข้างยากมาก :b12: :b5: ต้องใช้ความเพียรมากๆ ถึงจะเรียนให้เข้าใจและเรียนให้สำเร็จคะ :b4: ขอโมทนากับผู้จัดทำนะคะ ลุงหมาน กับ คุณSOAMUSA :b8: :b8: :b8:


:b8: ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ ถ้ามีเวลาไปเรียนในห้องเรียนนั้น จะทำให้สามารถเข้าใจได้ค่ะ
อย่างดิฉันก็เริ่มจากไม่รู้เรื่องอะไรเลย จนสามารถแยกแยะออกว่า สำนักใดสอนผิด ก่อนจะศึกษานั้นแค่ใครพูดเก่ง ดิฉันก็คิดว่าเค้าเก่งแล้ว เมื่อศึกษาพระอภิธรรมจึงได้รู้จักของจริง ก็ได้รู้ว่าของไม่จริงนั้นคืออย่างไร ข้อดีของการเรียนอยู่ตรงนี้ด้วยค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2014, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
น้องพลอย เขียน:
มาสนับสนุนอีกเสียงว่า พระอภิธรรม ค่อนข้างยากมาก :b12: :b5: ต้องใช้ความเพียรมากๆ ถึงจะเรียนให้เข้าใจและเรียนให้สำเร็จคะ :b4: ขอโมทนากับผู้จัดทำนะคะ ลุงหมาน กับ คุณSOAMUSA :b8: :b8: :b8:


เราอย่าไปคิดว่าพระอภิธรรมนั้นยาก ตั้งแต่ยังไม่ได้ลองศึกษาดูก่อนเลย
เราไปตั้งธงว่า"ยาก"ก่อนได้ศึกษาทำให้ไม่อยากเรียน เชื่อเถอะถ้าได้เรียนสัก ๑ อาทิตย์
หรือสัก ๑ เดือน เชื่อว่าจะต้องชอบใจ เห็นมามากแล้วคนที่เข้าห้องเรียนพระอภิธรรมนั้นเลิกเรียนยาก
จริงๆ เพราะมันจะรู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนได้อย่างลึกซึ้งขนาดนี้เลยหรือ

การเรียนพระอภิธรรม หรือการศึกษาวิชาอะไรแขนงใดๆ ก็แล้วแต่ยากทั้งนั้น
มันต้องมีจุดเริ่มต้น ที่ลุงหมานเอามาลงไว้ในห้องพระอภิธรรมนั้นเป็นปริจเฉท ๆ คนที่เรียนในห้อง
เรียนมาก่อนเขายิ้มเลยสบายเขา คนที่ไม่ได้เรียนในห้องเรียนมาก่อน เชื่อได้เลยว่าอ่านไม่เกินหน้าหรอก
ง่วงนอน หรือไม่ก็ต้องวางแล้วบ่นว่ายาก

ผลไม้ที่เราทานกันทุกวันนี้มันมาจากเมล็ดหรือหน่อ มันจะค่อยโตแล้วจึงออกผลทีหลัง
ให้เราได้รับประทานกัน เราจะต้องมองให้เห็นความจริงของธรรมชาติเช่นนี้ก่อน
ถ้าเราไม่ได้ศึกษาปริยัติ จะให้การปฏิบัติได้ถูกต้องเข้าใจนั้นยากยิ่งกว่า


:b8: สาธุค่ะ ลุง พระอภิธรรมนั้นยาก แต่ก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ หากเริ่มเรียนไปตามลำดับตามขั้นตอนของหลักสูตร จะทำให้เราสามารถค่อยๆ เชื่อมโยงไปหาความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ตลอดจนถึงได้ศึกษาในคัมภีร์ต่างๆ ตามหลักสูตรแต่ละช่วงที่เรียนค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2014, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับพี่น้องต่างจังหวัด และท่านที่สนใจฝึกทำบทนิทเทส
แนะนำให้ฝึกทำบทนิทเทสดังต่อไปนี้ค่ะ

นัยที่ ๑
ชีิวิตินทริยนิทเทส, สฬายตนนิเทส, ธัมมายตนนิทเทส, นามรูปนิทเทส, อัพยากตปทนิทเทส,
รูปภวนิทเทส, ฌานนิทเทส, สังกิลิฏฐปทนิทเทส, อสังขตปทนิทเทส, อุเปกขาสหคตปทนิทเทส,
อิทธิปาทนิทเทส, อนิทัสสนสัปปฏิฆปทนิทเทส, โนอุปาทาปทนิทเทส, จักขุวิญญาณนิทเทส,
นิโรธสัจจนิทเทส, ทุกขสัจจนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, กุสลปทนิทเทส, มโนวิญญาณธาตุนิทเทส,
รูปักขันธนิทเทส, วิญญาณักขันธนิทเทส, วิญญาณนิทเทส, จิตตสัมปยุตตปทนิทเทส, มรณปทนิทเทส,

อเภท ทำ อินทริยนิทเทส สัจจนิทเทส อายตนนิทเทส ขันธนิทเทส ธาตุนิทเทส
(อินทริยนิทเทส จำไว้เลยค่ะว่า อินทรีย์ ๒๒ ไม่มีสัญญา และโอฬาริกรูปได้แค่พวกปสาทรูป ๕ เท่านั้น
ขอให้จำไว้ว่า อสัง ได้ 1 5 5
ขันธ์คือสัญญาขันธ์ อายตนะ ๕ คือกลุ่มวิสยรูป๗รูปา-โผฏ ธาตุ ๕ คือกลุ่มวิสยรูป๗รูป-โผฏ)
มูละ มูลี แนะนำคู่นี้ค่ะ มโนวิญญาณธาตุ จ ธัมมธาตุ จ

นัยที่ ๒ เอกโวการภวนิทเทส, อนิทัสสนสัปปฏิฆปทนิทเทส, รูปายตนนิทเทส, โผฏฐัพพายตนนิทเทส
ปุริสินทริยนิทเทส, โสตินทริยนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, อสัญญีภวนิทเทส, สนิทัสสนสัปปฏิฆปทนิทเทส,
มโนธาตุนิทเทส, สนิทัสสนปทนิทเทส, สัปปฏิฆหทนิทเทส, มโนวิญญาณธาตุนิทเทส, รูปธาตุนิทเทส,
ฆานวิญญาณธาตุนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, อุปาทาปทนิทเทส, กายวิญญาณธาตุนิทเทส,
จักขายตนนิทเทส, ชิวหาวิญญาณนิทเทส

นัยที่ ๓ โสกนิทเทส, สัญญานิทเทส, มัคคนิทเทส, ชิวิตินทริยนิทเทส, จิตตสังสัฏฐปทนิทเทส,
สมุทยสัจจนิทเทส, นิโรธสัจจนิทเทส, ชาตินิทเทส, จิตตสัมปยุตตปทนิทเทส, ฌานนิทเทส,
อสังขตปทนิทเทส, เหตุปทนิทเทส, เจตสิกปทนิทเทส, จิตตสหภุปทนิทเทส, สัญญากขันธนิทเทส,
จิตตานุปริวัตติปทนิทเทส, มัคคสัจจนิทเทส, มรณนิทเทส, ปุริสินทริยนิทเทส, อวิชชานิทเทส, ชรานิทเทส,
กิเลสสังกิลิฏฐปทนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส, กิเลสสังกิเลสิกปทนิทเทส

นัยที่ ๔ มัคคส้จจนิทเทส, สุขินทริยนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, ปัญจินทริยนิทเทส,
ทุกขนิทเทส, สมุทยสัจจนิทเทส, ทุกขินทริยนิทเทส, สมาธินทริยนิทเทส, ปัญญินทริยนิทเทส,
โทมนัสสนิทเทส, อธิโมกขนิสเทส, สัมมัปปธานนิทเทส, เหตุปทนิทเทส, กิเลสสังกิลิฏฐปทนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส, กิเลสสังกิเลสิกปทนิทเทส, ปุริสินทริยนิทเทส, สังขารนิทเทส, อุปาทานนิทเทส, โสกนิทเทส, อัปปมัญญานิทเทส, มนสิการนิทเทส, ตัณหานิทเทส, สตินทริยนิทเทส, กิเลสปทนิทเทส, โสมนัสสินทริยนิทเทส, ปรามาสปทนิทเทส, อัญญาตาวินทริยนิทเทส, อาสวอาสวสัมปยุตตปทนิทเทส, โพชฌงคนิทเทส

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2014, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


นัย ๕ จักขุนทริยนิทเทส, จิตตนิทเทส, อัปปมัญญานิทเทส, สรณปทนิทเทส, ชาตินิทเทส, กายวิญญาณธาตุนิทเทส, สฬายตนนิทเทส, สนิทัสสนปทนิทเทส, นามรูปนิทเทส, มโนวิญญาณธาตุนิทเทส, รูปายตนนิทเทส, วิปากปทนิทเทส, อสังขตปทนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, มโนธาตุนิทเทส, สัปปฏิฆปทนิทเทส, อรูปภวนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส, สมาธินทริยนิทเทส, อิทธิปาทนิทเทส, จิตตวิปปยุตตปทนิทเทส, สารัมมณปทนิทเทส, กายวิญญาณธาตุนิทเทส, ชีวิตินทริยนิทเทส, จตุโวการภวนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, ปัญจินทริยนิทเทส, อวิชชานิทเทส, ปุริสินทริยนิทเทส, จักขุวิญญาณธาตุนิทเทส, วิริยินทริยนิทเทส, อนิทัสสนสัปปฏิฆปทนิทเทส, อนารัมมณปทนิทเทส, อัชฌัตติกปทนิทเทส, เอกโวการภวนิทเทส,

นัย ๖ สมุทยสัจจนิทเทส, สมาธินทริยนิทเทส, มนินทริยนิทเทส, ปัญจินทริยนิทเทส, รูปภวนิทเทส, อสัญญีภวนิทเทส, จักขุวิญญาณธาตุนิทเทส, จักขายตนนิทเทส, เวทนาขันธนิทเทส, มโนธาตุนิทเทส, รูปักขันธนิทเทส, นิโรธสัจจนิทเทส, จิตตนิทเทส, จิตตสัมปยุตตปทนิทเทส, อรูปาวจรปทนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, อิทธปาทนิทเทส, สวิตักกสวิจารปทนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส, อุปายาสนิทเทส, มนสิการนิทเทส, กายวิญญาณธาตุนิทเทส, โลกุตตรปทนิทเทส, ทุกขินทริยนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, มัคคสัจจนิทเทส, จิตตปทนิทเทส, อนุปาทานิยปทนิทเทส, จักขุธาตุนิทเทส, โสตวิญญาณธาตุนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส, กิเลสปทนิทเทส, ปีติสหคตปทนิทเทส, รูปธาตุนิทเทส, อัปปมาณปทนิทเทส, วิปากปทนิทเทส, มนายตนนิทเทส, จักขุนทริยนิทเทส, ปัญญินทริยนิทเทส, ทุกขนิทเทส, ปรามาสสัมปยุตตปทนิทเทส, สุขินทริยนิทเทส, คันถปทนิทเทส, อปรามัฏฐปทนิทเทส, อุเปกขาสหคตปทนิทเทส, อกุสลปทนิทเทส, โสมนัสสินทริยนิทเทส, สุขายเวทนายสัมปยุตตปทนิทเทส, อาสวปทนิทเทส


ระวังนะคะ บางบทนิทเทสชื่อคล้ายกัน อาจจะคิดว่าบทเดียวกัน เช่น
อุปาทาปทนิทเทส กับ อุปาทาปทนิทเทส เป็นคนละบทนิทเทสกันนะคะ
มัคคนิทเทส กับ มัคคสัจจนิทเทส นี่ก็องค์ธรรมไม่ได้เหมือนกันทั้งหมดค่ะ
กามวจรปทนิทเทส กับ กามภวนิทเทส ก็องค์ต่างกันนะคะ ดูดีๆ ระวังทั้งกลุ่มของพวกภวะกับวจระ
วิปาก ธัมมา กับ วิปากธัมม ธัมมา นี่ก็ปฐมบท กับ ทุติยบท คนละองค์ธรรมกันค่ะ
จิตตสังสัฏฐ กับ จิตตวิสังสัฏฐ นี่ก็อยู่คนละฟากกันเลยค่ะ

ดูหนังสือหัดทำแบบฝึกหัดกันนะคะ อุปปัตติภวะ ๙ ท่องด้วยค่ะ
คาถานัยต้นๆ ท่องเลยค่ะทั้งบาลีคำแปล
กลุ่มบทนิทเทสต้นๆ ของอัพภันตร และบทท้ายๆ ของทุกะ ท่องด้วยค่ะ
อย่าลืมท่อง วจนัตถะของคำว่า ธาตุกถา
ปฏิจจสมุปบาท แต่ละนัย ว่าแสดงได้ ไม่ได้ มีอะไรบ้าง
อัพภันตระ พาหิระ มหันตระ สัจจาทินิทเทส
ขันธาทินิทเทส ขันธนิทเทส สังขารขันธ์เจตสิก ๕๐
อัพภันตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมี ๑๐๕ และทรงตั้งไว้ ๑๒๕ ดูด้วยนะคะ
นยมุขมาติกา ลักขณมาติกาที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้
จำนวนบทของแต่ละนัย พร้อมทั้งบาลี ท่องไว้ค่ะ เช่น ๓๗๑ บท โกสลา
:b10: ฝากไว้แค่นี้แหละค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2014, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


แบบทดสอบ นัย ที่ ๑ - ๑๔
ตรงนี้ไม่ใช่ข้อสอบเก่าใหม่ที่ไหนนะคะ แต่เป็นแบบฝึกหัดให้ลองทดสอบความรู้ของตนเอง
ให้ลองทำกันดูเพื่อประเมินตนกันเองค่ะ
มีเฉลยมาบ้างนิดหน่อย แต่ลองลอกคำถามไป แล้วลองทำดูนะคะ

รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2014, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


นัย ๗
อธิโมกขนิทเทส, อุเปกขาสหคตปทนิทเทส, จิตตสังสัฏฐปทนิทเทส, สวิตักปทนิทเทส, มินทริยนิทเทส,
มโนธาตุนิทเทส, จักขุวิญญาณธาตุนิทเทส, สังขารักขันธนิทเทส, เวทนากขันธนิทเทส,
กายวิญญาณธาตุนิทเทส, สวิจารปทนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส, สัญญากขันธนิทเทส, มนสิการนิทเทส
(นัย๗ นี้ ถ้าเป็นวิญญาณธาตุ ๗ เช่น จักขุวิญญาณธาตุ เวลากลับประธานบทให้ใช้ จักขุวิญญาณธาตุจิตตุปบาท)

นัย ๘
สิทธินทริยนิทเทส, อรูปภวนิทเทส, ตัณหานิทเทส, สวิตักกปทนิทเทส, สัมมัปปธานนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส,
มโนธาตุนิทเทส, รูปักขันธนิทเทส, กามภวนิทเทส, อนุปาทินนุปาทานิยปทนิทเทส, เอกโวการภวนิทเทส,
กิเลสปทนิทเทส, จักขายตนนิทเทส, มัคคสัจจนิทเทส, รูปภวนิทเทส, สาสวปทนิทเทส, อโนฆนิยปทนิทเทส,
กายวิญญาณธาตุนิทเทส, โสกนิทเทส, สเหตุกปทนิทเทส, อุปาทานปทนิทเทส, อนุตตรปทนิทเทส,
ชิวหาวิญญาณธาตุนิทเทส, ทุกขินทริยนิทเทส, ปริเทวนิทเทส, ปัญจโวการภวนิทเทส, นิโรธสัจจนิทเทส,
อุเปกขินทริยนิทเทส, อุปายาสนิทเทส, อนาสวปทนิทเทส, สังกิเลสิกปทนิทเทส, รูปีปทนิทเทส,
อกุศลปทนิทเทส, รูปธาตุนิทเทส, สัญญีภวนิทเทส, โพชฌังคนิทเทส, อปรามัฏฐปทนิทเทส,
สังกิลิฏฐโนกิเลสปทนิทเทส, ทุกขสัจจนิทเทส, สุขสหคตปทนิทเทส, โลกียปทนิทเทส, มนสิการนิทเทส,
จิตตวิสังสัฏฐปทนิทเทส, มัคคังคนิทเทส, คันถนิยปทนิทเทส, ปรามาสปทนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส,
ปีติสหคตปทนิทเทส, นเหตุสเหตุกปทนิทเทส, อสังกิเลสิกปทนิทเทส,

นัย ๙
สุขายเวทนายสัมปยุตตปทนิทเทส, เวทนากขันธนิทเทส, อัญญาติวินทริยนิทเทส, กัมมภวนิทเทส,
ปัญญินทริยนิทเทส, อุปาทานนิทเทส, สติปัฏฐานนิทเทส, กิเลสสังกิลิฏฐปทนิทเทส,
อาสวอาสวสัมปยุตตปทนิทเทส, โยคโยคสัมปยุตตปทนิทเทส, อาสวสัมปยุตตโนอาสวปทนิทเทส,
อัปปมัญญานิทเทส, ปรามาสสัมปยุตตปทนิทเทส, ปรามาสปทนิทเทส, กิเลสปทนิทเทส,
จักขุวิญญาณธาตุนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส, อุปายาสนิทเทส, จิตตสัมปยุตตนิทเทส,
กายวิญญาณธาตุนิทเทส, ปีติสหคตปทนิทเทส, สมุทยสัจจนิทเทส, มนินทริยนิทเทส,
อิทธปาทนิทเทส, คันถปทนิทเทส,

นัย ๑๐
อิทธิปาทนิทเทส, นิโรธสัจจนิทเทส, รูปภวนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส, โสมนัสสินทริยนิทเทส,
มโนธาตุนิทเทส, คันถปทนิทเทส, รูปักขันธนิทเทส, สติปัฏฐานนิทเทส, สุขินทริยนิทเทส,
อนาสวปทนิทเทส, รูปาวจรปทนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, จิตตสัมปยุตตปทนิทเทส, อรูปภวนิทเทส,
อคันถนิยปทนิทเทส, สมุทยสัจจนิทเทส, สังกิลิฏฐปทนิทเทส, เอกโวการนิทเทส,
อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกปทนิทเทส, สรณปทนิทเทส, อสังกิเลสิกปทนิทเทส, จักขุวิญญาณธาตุนิทเทส,
วิปากธัมมปทนิทเทส,

นัย ๑๑
สมุทยสัจจนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส, ปุริสินทริยนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส,
โสมนัสสินทริยนิทเทส, กิเลสปทนิทเทส, มัคคสัจจนิทเทส, ทุกขินทริยนิทเทส, โสกนิทเทส,
โทมนัสสินทริยนิทเทส, สตินทริยนิทเทส, ปัญญินทริยนิทเทส, สัมมัปปธานนิทเทส, สังขารนิทเทส,
ปรมาสปทนิทเทส,

นัย ๑๒
อุเปกขินทริยนิทเทส, สตินทริยนิทเทส, สัทธินทริยนิทเทส, มัคคนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส,
สัญโญชนปทนิทเทส, สังขารนิทเทส, จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติปทนิทเทส, สังขารักขันธนิทเทส,
จิตตสังสัฏฐปทนิทเทส, อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตปทนิทเทส, อทุขมสุขายเวทนายสัมปยุตตปทนิทเทส,
อุเปกขินทริยนิทเทส, ชิวหาวิญญาณธาตุนิทเทส, โทมนัสสนิทเทส, กัมมภวนิทเทส,
เหตุปทนิทเทส, สวิจารปทนิทเทส, อวิชชานิทเทส, โสกนิทเทส, จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานปทนิทเทส,
สุขินทริยนิทเทส, กิเลสสังกิเลสิกปทนิทเทส, จิตตสัมปยุตตปทนิทเทส, ปรามาสปทนิทเทส,
จิตตปทนิทเทส, ปีติสหคตปทนิทเทส, อาสวปทนิทเทส,

นัย ๑๓
อนารัมมณปทนิทเทส, อรูปภวนิทเทส, เอกโวการภวนิทเทส, สรณปทนิทเทส, อิตถินทริยนิทเทส,
อุเปกขาสหคตปทนิทเทส, ธัมมายตนนิทเทส, รูปีปทนิทเทส, นามรูปนิทเทส, สารัมมณปทนิทเทส,
อุปาทาปทนิทเทส, จิตตสหภุปทนิทเทส, อิทธิปาทนิทเทส, กุสลปทนิทเทส, ชิวิตินทริยนิทเทส,
ปุริสินทริยนิทเทส, อกุสลปทนิทเทส, เหตุสัมปยุตตปทนิทเทส,

นัย ๑๔
ทุกขสัจจนิทเทส, ปัญจโวการภวนิทเทส, กายวิญญาณธาตุนิทเทส, สารัมมณปทนิทเทส,
รูปาวจรปทนิทเทส, สติปัฏฐานนิทเทส, อุปายาสนิทเทส, กามภวนิทเทส, อัปปัจจยปทนิทเทส,
กามาวจรปทนิทเทส, รูปักขันธนิทเทส, รูปายตนนิทเทส, อุเปกขินทริยนิทเทส,
เนวสัญญีนาสัญญีภวนิทเทส, สวิตักกปทนิทเทส, โสตวิญญาณธาตุนิทเทส, สัททายตนนิทเทส,
กัมมภวนิทเทส, อนิทัสสนสัปปฏิฆปทนิทเทส, อโนฆนิยปทนิทเทส, ปุริสินทริยนิทเทส,
ปรามาสปทนิทเทส, อธิโมกขนิทเทส, อสังกิลิฏฐปทนิทเทส, สัญญีภวนิทเทส,


:b8: :b8: :b8:

ขอให้ทุกๆ ท่านที่จะสอบชั้นนี้มีสมาธิและสติปัญญาในการทำข้อสอบค่ะ ในการศึกษาและสอบนี้
ขอจงเป็นพลวปัจจัยเป็นนิสัยตามส่งให้เกิดปัญญาญาณทั้งชาตินี้และชาติหน้าตลอดชาติอย่างยิ่ง
จนถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานเทอญ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2016, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


หวังว่าการทำกระทู้อธิบายคงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัลยาณมิตรที่เรียนในต่างจังหวัด และเพื่อนๆที่สนใจ
ขอให้ค่อยๆ อ่าน และทำความเข้าใจในวิธีคิดกันนะคะ
ทุกนัยที่ให้หัดทำ ลองทำดูค่ะ

:b8: สาธุกับทุกๆ ท่านที่ได้รับประโยชน์จากการทำกระทู้นี้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:48 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร