วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ย. 2024, 07:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2012, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




cg0072.jpg
cg0072.jpg [ 12.88 KiB | เปิดดู 16083 ครั้ง ]
ประมวลปกิณณกธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา
ปฐมภาค
สำนักงานกลาง อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย.



ปุจฉา ในร่างกายของคนเรานี้ ย่อมประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย แขน ขา
เหล่านี้เป็นต้น ในบรรดาอวัยวะต่างๆ เหล่านี้อวัยวะชนิดใดที่สามารถรับเอาสิ่งที่ไม่ต้องมาถึงจึงจะรู้
ถ้าสิ่งนั้นมาถึงแล้วก็ไม่รู้ และอวัยวะใด ต้องรับเอาสิ่งที่มาถึงแล้ว จึงจะรู้ ถ้าไม่มาถึง ก็ไม่รู้?
ขอให้อธิบายให้ชัดเจน

วิสัชชนา ในบรรดาอวัยวะต่างๆ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย แขน ขา เหล่านี้ อวัยวะที่รับเอาสิ่งที่ไม่ต้อง
มาถึงจะรู้ได้นั้น ได้แก่ ตากับหู คือ ธรรมดาตานี้ เมื่อเวลารู้รูปารมณ์ได้นั้น จะต้องประกอบด้วย
เหตุ ๔ อย่างคือ ตา รูปารมณ์ แสงสว่าง ความตั้งใจ เมื่อครบเหตุ ๔ อย่างนี้แล้ว จึงจะเกิดการเห็น
ขึ้นได้ หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปแล้ว ก็ไม่สามารถเห็นได้ ฉะนั้น ถ้ารูปารมณ์นี้เข้ามาถึงตาแล้ว
ย่อมขาดเหตุไป ๑ อย่าง คือ แสงสว่างนั้นเอง และเมื่อขาดแสงสว่างไปเช่นนี้แล้ว การรู้ในรูปารมณ์
นั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ฉะนั้น ในการที่เราแลเห็นสิ่งต่างๆ ได้นั้น หมายถึงรูปารมณ์นั้นยังไม่มาถึงตา

รูปารมณ์นี้ มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งมีแสงสว่างในตัว ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาว ดวงไฟ
แล้วที่มีรัศมี เทวดา พรหม เหล่านี้ อีกชนิดหนึ่งไม่มีแสงสว่างในตัว ได้แก่วัตถุสิ่งของทั่วๆ ไป
สำหรับรูปารมณ์ที่มีแสงสว่างในตัว แสงสว่างนั้นสามารส่องไปในที่อื่นๆ ได้ และสามารถเข้าถึง
ตาได้ ส่วนรูปารมณ์ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวนั้น สีของรูปารมณ์ไม่สามารถส่องไปในที่อื่นๆ ได้ คงอยู่
เฉพาะที่เท่านั้น ฉะนั้น รูปารมณ์ชนิดนี้ จึงไม่สามารถเข้าถึงตาได้ สำหรับตานั้นเมื่อเวลารับรูปารมณ์
จะเป็นชนิดใดก็ตามต้องเป็นรูปารมณ์ที่ยังไม่มาถึงตา เป็นแต่เพียงเงาของรูปารมณ์ มาปรากฏที่ตา
เท่านั้น ถ้าหากว่ารูปารมณ์นั้นเข้ามาถึงตาแล้ว ก็ไม่สามารถจะแลเห็นได้ และที่เงาของรูปารมณ์มา
ปรากฏที่ตาได้นั้น ก็เป็นด้วยอำนาจความใสของตานั้นเอง ไม่ใช่เป็นด้วยอำนาจของรูปารมณ์
ซึ่งความใสของตานี้เปรียบเสมือนหนึ่งความใสของกระจก เพราะธรรมดากระจกนั้น เมื่อมีสิ่งหนึ่ง
สิ่งใดผ่านมาเฉพาะหน้าแล้ว รูปร่างสัณฐานและสีของสิ่งนั้นๆ ก็จะปรากฏขึ้นที่กระจก นี่ก็เป็นด้วย
อำนาจแห่งความใสของกระจกนั้นเอง และสิ่งที่ปรากฏขึ้นที่กระจกนั้นก็ไม่ใช่เป็นสิ่งของจริงๆ
เป็นแต่เงาของสิ่งนั้นๆ เท่านั้น นี่เป็นวาทะของสมานวาทะ คือท่านมหาพุทธโฆษาจารย์
ส่วนอาจริยวาทะ คือมหาอรรถกถาจารย์แสดงว่า ตานี้ก็เป็นสัมปัตตคาหกรูป คือ สามารถรับรูปารมณ์
ที่มาถึงได้ เพราะเงาที่มาปรากฏนั้น ก็เป็นรูปารมณ์นั้นเอง ถ้าจะเปรียบเทียบกับในสมัยนี้แล้ว
เช่น ในการถ่ายรูป เงาของคนหรือวัตถุต่างๆ นั้น จะต้องมาปรากฏที่กล้องถ่ายจึงจะถ่ายได้ ถ้า
เงาสิ่งของนั้นๆ ไม่มาปรากฏที่กล้องแล้ว การถ่ายนั้นก็ไม่สำเร็จลงไปได้ เงาของคนหรือสิ่งของ
นั้นก็คือรูปารมณ์ฺนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่า รูปารมณ์นั้นจะต้องเข้ามาถึงตาโดยตรง
ฉะนั้น ตานี้จึงเรียกว่า สัมปัตตคาหกรูป ดังกล่าวแล้ว

ส่วนหู ตามสมานวาทะกล่าวว่า อสัมปัตตคาหกะ คือ เอาเสียงที่ยังไม่มาถึง ถ้าเสียงนั้นมาถึงหูแล้ว
หูก็ไม่สามารถรับเอาเสียงนั้นไว้ได้ เพราะขาดปัจจัยไป ๑ อย่างคือ ช่องว่าง(อากาศ)นั้นเอง
แต่สำหรับเสียงนั้นไปได้ทั่วไป ฉะนั้น เสียงที่เข้ามาถึงหูก็มี ที่ไม่เข้ามาถึงหูก็มี

เช่น เสียงฟ้าผ่าฟ้าร้อง เสียงปืน เสียงระเบิดเหล่านี้เป็นต้น เป็นเสียงชนิดที่มีกำลังแรงมาก
ทำให้เกิดความกระเทือนขึ้นได้ นี่ก็เป็นด้วยอำนาจการกระทบกันแห่งมหาภูตรูปซึ่งกันและกันที่อยู่ใน
ความติดต่อของเสียงนั้นๆ เสียงชนิดนี้สามารถเข้าถึงหูได้

ส่วนเสียงคน เสียงสัตว์ เสียงรถ เสียงระฆัง เหล่านี้เป็นต้น เป็นเสียงที่เข้าถึงหูได้ก็มี ไม่ถึงก็มี
แต่ว่าจะเป็นเสียงชนิดใดก็ตาม ถ้าเสียงนั้นเข้ามาถึงฐานะที่ควรได้ยินแล้ว(ลวนูปจาร) หูก็สามารถ
รับเอาเสียงนั้นได้ ด้วยเหตุนี้ หูจึงได้ชื่อว่าเป็น อสัมปัตตคาหกรูป

อีกอย่างหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่าขณะที่ภายในท้องของเราเกิดมีเสียงขึ้น ดังที่เราเรียกกันว่าท้องร้องนั้น
เสียงที่เกิดขึ้นภายในช่องท้องนี้ เป็นเสียงที่ไม่เข้าถึงหู แต่เราก็ได้ยิน ถ้าหากว่าเสียงในท้องนั้น
เข้ามาถึงหูแล้ว ในขณะที่เราได้ยินนั้น เราก็ต้องได้กลิ่นด้วย เพราะภายในช่องท้องที่เกิดเสียงขึ้นนั้น
เป็นที่ๆ มีแต่อาหารใหม่ และอาหารเก่าเท่านั้น ซึงจะต้องมีกลิ่นปรากฏตามเสียงนั้นมาด้วย แต่ที่เรา
ได้ยินเสียงท้องร้องนั้นไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ฉะนั้นข้อนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า เสียงนั้นไม่ได้เข้ามาถึงหูเลย
ถ้าจะมีปัญหาถามว่า เวลาที่เราหายใจเข้าหายใจออกนั้น ลมหายใจออกก็ออกมาจากภายในร่างกาย
เหมือนกัน แต่ทำไมเราจึงไม่รู้สึกว่ามีกลิ่นแต่อย่างใด ข้อนี้อธิบายว่า ลมหายใจเข้าออกนั้นไม่ได้
ล่วงล้ำไปถึงช่องท้อง ลมหายใจเข้าออกนี้สิ้นสุดอยู่เพียงแค่สะดือเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับช่องท้องเลย
ฉะนั้น เราจึงไม่ได้กลิ่น

อนึ่ง เวลาเราแลเห็นคนกำลังตัดต้นไม้ หรือกำลังซักผ้าอยู่ในที่ไกลๆ เราแลเห็นกริยาอาการท่าทาง
ของเขาแล้ว เราก็รู้ได้ว่า เขากำลังตัดต้นไม้ หรือกำลังซักผ้าอยู่ ก่อนที่เราจะได้ยินเสียง เช่น
คนที่กำลังตัดต้นไม้อยู่ เราแลเห็นมือที่เขาถือมีดนั้นเงื้อขึ้นแล้วก็ฟันลงไปที่ต้นไม้ก่อน แล้วจึงจะได้
ยินเสียงทีหลัง เป็นดังนี้ทุกครั้งไป ข้อนี้จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า เสียงนั้นค่อยๆ ผ่านมาๆ จนกระทั่ง
ถึงหูเราแล้ว โสตทวารวิถี คือการได้ยินจึงเกิดขึ้นเช่นนี้หรือ? ข้อนี้ตอบว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ความจริง
ในขณะที่เราแลเห็นมือของผู้นั้นฟันลงไปที่ต้นไม้ เมื่อมีดกระทบกับต้นไม้เวลาใดเวลานั้นเสียงก็
ปรากฏขึ้นทันที โสตทวารวิถีก็เกิดขึ้นทันทีเช่นเดียวกัน แต่หากว่าต้องเกิดหลายๆ รอบ และในการที่
เราได้ยินเสียงทีหลังนั้น ก็เป็นเพราะว่า มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากโสตทวารวิถีนั้น เกิดได้ช้ากว่า
คนที่อยู่ใกล้ๆ และมโนทวารวิถีที่เป็นอตีตัคคหณะ และสมูหัคคหณะ ก็จะต้องเกิดหลายๆ รอบ
จึงจะทำให้เกิดอัตถัคคหณะ และนามัคคหณะ รู้ขึ้นได้ว่าเราได้ยินเสียงตัดต้นไม้

เพราะโสตทวารวิถีที่เกิดขึ้นนั้นเป็นวิถีที่รับอารมณ์ปรมัตถ์คือเสียงเท่านั้น ยังไม่สามารถที่จะกำหนด
รู้ถึงการได้ยินได้ ต่อเมื่อวิถีนั้นผ่านเข้ามโนทวารวิถีไปตามสมควรแล้ว จึงจะกำหนดว่าได้ยินเสียงนั้นเสียงนี้ได้ ฉะนั้นเมื่อเราอยู่ในที่ไกลจากเสียงนั้นมาก การได้ยินของเราจึงเป็นไปได้ช้ากว่าคนที่อยู่ใกล้ เพราะคนที่
อยู่ใกล้กับเสียงนั้น เมื่อโสตทวารวิถีเกิด ก็ไม่ต้องเกิดหลายๆ รอบเหมือนคนที่อยู่ไกล และย่อมผ่านเข้า
มโนทวารวิถีได้ทันที เมื่อเข้ามโนทวารวิถีแล้ว อตีตัคคหณะและสมูหัคคหณะก็ไม่ต้องเกิดมากรอบ
ย่อมเข้าถึงอัตถัคคหณะและนามัคคหณะได้โดยเร็ว ฉะนั้นจึงกำหนดรู้ได้ยินได้ทันที ในเมื่อเสียงนั้นได้
เข้ามาอยู่ในระยะพอสมควรแก่การได้ยินแล้ว ด้วยเหตุนี้หูจึงจัดเป็นอสัมปัตตคาหกรูป

สำหรับวาทะของท่านมหาอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า หูนี้เป็นสัมปัตตคาหกรูป เช่นเดียวกันกับตา
คือที่จะได้ยินได้นั้น
ก็ต่อเมื่อเสียงนั้นได้เข้ามาถึงหูแล้ว ถ้าเสียงนั้นยังไม่เข้ามาถึงหู ก็ได้ยินไม่ได้ ดังเช่นคน ๒ คนพูดกัน โดยทางหนึ่งพูดกรอกเข้าไปทางท่อข้างหนึ่ง อีกคนหนึ่งฟังอยู่ทางปลายท่ออีกด้านหนึ่งแม้ในระยะไกลๆ คนที่ฟังนั้น
ก็สามารถได้ยินเสียงพูดได้อย่างชัดเจน ส่วนคนอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะมายืนอยู่ใกล้ๆ ก็ไม่สามารถจะได้ยินเสียงนั้นได้
เพราะว่าเสียงนั้นไม่ได้เข้าไปถึงหูของคนอื่นได้ ถ้าพิจารณาดูตามวาทะของมหาอรรถกถาจารย์นี้แล้ว ก็จะเห็นได้
ว่า ในการทำจานเสียงนั้น เขาได้อัดเสียงของคนที่ร้องเพลง หรือพูดเก็บเข้าไว้ในจานเสียงนั้น ฉะนั้นเสียงที่สามารถเข้าไปติดอยู่ในจานเสียงได้ ก็จะต้องเป็นเสียงที่เข้าไปถึงแล้ว จึงจะติดอยู่ในนั้นได้ ถ้าหากว่าเสียงนั้นในระหว่างที่ยังไม่เข้าไปถึงจานๆ ก็ไม่สามารถยึคเอาเสียงนั้นติดไว้ได้ ข้อนี้ฉันใด เสียงที่ยังไม่เข้ามาถึงโสตประสาทแล้ว โสตประสาทก็ไม่สามารถจะได้ยินเสียงนั้นๆ ได้ ฉะนั้น จึงจัดว่าโสตประสาทนี้ ก็เป็นสัมปัตตคาหกรูป คือ จับเอาเสียงที่เฉพาะเข้ามาถึงแล้ว

ท่านมหาพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า วาทะของมหาอรรถกถาจารย์ ที่กล่าวมานี้ ยังไม่เข้าถึงสภาวะ
การที่จะได้ยินเสียงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเสียงที่จะเข้ามาถึงหู หรือไม่ถึง ไม่จำเป็นต้องกล่าว เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า เสียงนั้นสามารถกระจายไปที่โน่นที่นี่ได้ สิ่งที่จำเป็นจะต้องกล่าวก็มีอยู่ว่า โสตประสาทคือ มีหูดี กับอากาศคือช่องว่าง และมนสิการคือความตั้งใจนี่เป็นสิ่งสำคัญ รวมความว่าต้องครบองค์ ๔ ก็เป็นอันว่าการได้ยินย่อมเกิดขึ้นได้ สำหรับข้อที่มหาอรรถกถาจารย์ยกตัวอย่างคน ๒ คนพูดกันโดยทางท่อ ได้ยินกันแต่เฉพาะ ๒ คน ส่วนคนอื่นไม่ได้ยินนั้น คน ๒ คน ที่ได้ยินกันได้ก็เพราะว่ามีองค์ ๔ ครบอยู่แล้ว ส่วนคนอื่นที่ไม่ได้ยิน ก็เพราะว่าขาดอากาศคือช่องว่างนั้นเอง หมายความว่า ผู้่ที่พูดนั้นจะต้องเอาปากเข้าไปชิดกับท่อ กรอกเสียงเข้าไปในรูท่อ โดยไม่ให้เสียงนั้นลอดออกมาได้ เช่นนี้แล้ว คนอื่นจึงจะไม่สามารถได้ยินได้ เพราะเหตุว่าขาดช่องว่าง คือ อากาศนั้นเอง ถ้าหากว่าผู้พูดๆ ห่างจากท่อแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม คนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ ในระยะที่ลมควรจะได้ยินได้แล้ว ก็จะได้ยินเสียงนั้นได้ เพราะว่าองค์ ๔ ครบบริบูรณ์แล้ว

เมื่อพิจารณาดูตามวาทะของพระพุทธโฆษาจารย์แล้ว จะเห็นได้ว่าถูกต้องตามหลักสภาวะโดยแท้จริง ในการยกตัวอย่างจานอัดเสียง ว่าเสียงนั้นจะต้องเข้าไปถึงจานเสียงก่อน จานเสียงจึงจะสามารถยึคเอาเสียงไว้ได้ ซึ่งโสตประสาทก็จะต้องมีสภาพเป็นไปในทำนองนี้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น จึงจัดว่าโสตประสาทนี้เป็นสัมปัตตคาหกรูป คือรับเอาเสียงที่เข้ามาถึงแล้วนั้น ข้อที่ยกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเทียบกับโสตประสาทเช่นนี้ นับว่ายังไม่ถูกต้อง จริงอยู่จานอัดเสียงนั้นเป็น สัมปัตตคาหกรูป ข้อนี้ไม่คัดค้านอย่างใด เป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้ว เพราะว่าจานเสียงนั้นไม่ใช่โสตประสาท มีสภาพผิดกัน จานเสียงเป็นแต่เพียงวัตถุชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อประกอบกับเครื่องรับเสียงแล้ว ก็สามารถยึคเอาเสียงที่ส่งไปนั้นให้ติดอยู่ได้ แต่ก็ต้องเป็นเสียงที่เข้าถึงจานเสียก่อน จานจึงจะเก็บเสียงนั้นไว้ได้ ถ้าเสียงไม่เข้าถึง ก็ไม่สามารถเก็บเสียงนั้นไว้ได้ ซึ่งต่างกับโสตปสาทรูป เพราะโสตปสาทรูปนี้ สามารถรับเอาเสียงที่ยังไม่เข้ามาถึงได้ ดังที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ฉะนั้น โสตปสาทรูปนี้ จึงจัดเป็น
อสัมปัตตคาหกรูปโดยส่วนเดียว ตามวาทะของมหาพุทธโฆษาจารย์

สำหรับอวัยวะที่เหลือ ๓ นั้น คือ จมูก ลิ้น กาย นั้น ต้องรับอารมณ์ที่มาถึงแล้ว จึงจะรู้ได้
ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัมปัตตคาหกรูป

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 19 เม.ย. 2012, 16:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รายละเอียดเพิ่มเติม
๑. อสัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับอารมณ์ที่ ยังไม่มาถึงตนได้ มี ๒ รูป ได้แก่
จักขุปสาทรูป และโสตปสาทรูป
๒. สัมปัตตโคจรคาหิกรูป หมายความว่า เป็นรูปที่สามารถรับได้แต่อารมณ์ ที่มาถึงตน มี ๓ รูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป
มีคำอธิบายว่า จักขุปสาทรูป รับรูปารมณ์ที่ยังมาไม่ถึงตน จึงจะทำให้เกิดการ เห็นได้ ถ้ารูปารมณ์นั้นมาถึง
จักขุปสาทรูปเสียแล้ว รูปนั้นก็จะมาปิดความใสเสีย จึงไม่สามารถรับได้ คือ ไม่เกิดการเห็น เช่น ยกมือมาจนถึงนัยน์ตา ก็จะไม่เห็นเลย
โสตปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นเสียงที่อยู่ในระยะที่พอเหมาะแก่ โสตปสาทรูปจะรับได้ จึงจะเกิดการได้ยิน ถ้าเสียงนั้นถึงโสตปสาทรูปเสียทีเดียวแล้ว ก็รับไม่ได้ ไม่ทำให้เกิดการได้ยิน เช่น ถ้าจะเอาอะไรเคาะที่โสตปสาทรูป ก็จะไม่ได้ ยินเสียง แต่จะเจ็บไปเท่านั้นเอง
ส่วนฆานปสาทรูป ต้องมีกลิ่น คือไอระเหยนั้นมาถึงตน จึงจะรับได้ ทำให้เกิดรู้ว่ากลิ่นนั้นเหม็นหรือหอม ถ้าไอระเหย
นั้นไม่ลอยมาถึงฆานปสาทรูปแล้ว ก็จะไม่รู้ว่าเหม็นหรือหอมเลย เช่น สุนัขเน่าลอยน้ำมา แม้แต่จะไกลสักหน่อย ก็จะแลเห็น แต่ไม่ได้กลิ่น เพราะกลิ่นนั้นลอยลมมาไม่ถึงฆานปสาทรูป

หน้า ๖๕

ชิวหาปสาทรูป ก็ต้องมีรสมาถึงลิ้นจึงจะรู้ ถ้าไม่ถึงเป็นไม่รู้ เช่น ไม่นำมาแตะ ลิ้น ก็ไม่รู้ว่าเปรี้ยวหรือหวาน ต่อเมื่อแตะถูกลิ้น จึงรู้ว่าหวานเป็นก้อนน้ำตาลกรวด ถ้าแตะที่ลิ้นรู้ว่าเปรี้ยวเป็นก้อนสารส้ม
กายปสาทรูป ก็เช่นเดียวกัน ต่อเมื่อสัมผัสถูกต้องแล้ว จึงจะรู้ว่าแข็งหรืออ่อน ร้อนหรือเย็น ถ้าไม่สัมผัสถูก ก็เป็น
เพียงแต่นึกรู้เอาตามสัญญาที่จำได้ ไม่ใช่รู้ทาง กายปสาทรูป

รายละเอียดเพิ่มเติมจากเวปhttp://www.reocities.com/SouthBeach/terrace/4587/6page64-70.htm
...............................................................

ลุงหมานอธิบายเพิ่มเติมไว้อีกว่า

เม็ดทรายอยู่บนฝ่ามือเราจะมองเห็นเม็ดทราย

แต่ถ้าเอาเม็ดทรายมาไว้ในตาเราจะมองไม่เห็นเม็ดทราย

เรียกว่าพอมาถึงกลับมองไม่เห็น รูปารมณ์ต้องอยู่ในระยะห่างพอสมควรจึงจะเห็นได้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา เมื่อมีโลภจิตเกิดขึ้น โดยโลภะนั้นเองเป็นประธานเช่นนี้ สามารถนำผู้นั้นให้ไปสู่อบายได้หรือไม่
โลภะที่ไม่นำไปสู่อบายมีหรือไม่ ถ้ามีเป็นโลภะชนิดไหนให้อธิบาย

วิสัชชนา เมื่่อมีโลภะจิตเกิดขึ้นโดยโลภะเป็นประธาน ก็สามารถที่จะนำไปสู่อบายได้ เช่น
มีความอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น แล้วขโมยเอาของเขามาเช่นนี้ การขโมยนั้นอาศัยโลภะ
เป็นหัวหน้า หรือกล่าวเท็จโดยมุ่งหวังจะได้ทรัพย์สมบัติของเขา หรือเพ่งเล็งหาทางที่จะเอา
ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นให้มาเป็นของๆ ตน หรือผู้ที่กำลังใกล้จะตายมีความห่วงใยในทรัพย์สมบัติ
ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ภรรยาสามีเหล่านี้ ในขณะที่เป็นไปดังที่กล่าวมาแล้วนี้ โลภะเป็นประธาน
และเมื่อตายลง โลภะนี้สามารถนำไปสู่อบายได้

โลภะที่ไม่นำไปสู่อบายก็มี เช่นเรามีความปราถนาอยากมีความสุข ความสบายมีเงินทองมากมาย
กว่าที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันชาตินี้แล้ว ในขณะที่เราทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม หรือเมื่อถือศีล
เจริญภาวนาแล้ว เราก็อธิษฐานตั้งความปราถนาที่ต้องการ ในขณะที่เราปราถนา โลภะเกิดขึ้นเป็น
ประธาน แต่โลภะนี้มีกุศลรองรับอยู่ ฉะนั้นโลภะนี้จึงไม่สามารถนำไปสู่อบายได้ และกุศลที่ทำนั้น
ก็จัดการให้เป็นผลปรากฏขึ้นตามความปราถนาของโลภะ

แต่เมื่ีอว่าโดยสภาวะแล้ว โลภะนี้เป็นอกุศลจะเกิดมากก็ตาม เกิดน้อยก็ตาม ย่อมนำไปสู่อบาย
ได้ทั้งสิ้น อุปมาเหมือนหนึ่งก้อนหิน จะเป็นก้อนใหญ่ก็ตาม ก้อนเล็กก็ตาม เมื่อทิ้งลงไปในน้ำ
แล้วย่อมจมลงทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ขึ้นชื่อว่าโลภะแล้ว ก็ย่อมนำสัตว์ลงสู่เบื้องล่าง คือ อบาย
ดังที่กล่าวแล้วฉันนั้น แต่ถ้าเราเอาก้อนหิน ถึงแม้ว่าจะเป็นก้อนใหญ่ๆ ก็ตามเอาใส่ในเรือแล้วลอยน้ำ
ก้อนหินนั้นก็ไม่จมเพราะว่ามีเรือรองรับไว้ ข้อนี้อุปมาเหมือน โลภะที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกุศลเป็น
เครื่องรองรับ โลภะชนิดนี้ก็ไม่สามารถนำสัตว์ไปสู่อบายได้ แต่ถ้าหากว่ากุศลนั้นน้อยมีกำลัง
ต่อต้านโลภะไม่ได้ กุศลนี้ก็ไม่สามารถจะรองรับไว้ได้เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา บุคคลที่มีความเลื่อมใสต่อพระรัตนตรัย แต่ได้ยินคนพูดว่า ถ้าอยากเป็นคนมีรูปร่างสวย
ก็ให้หาของที่สวยงามมาถวายแก่พระสงฆ์ หาดอกไม้ที่สวยงามมีกลิ่นหอมบูชาพระพุทธรูป
ถ้าทำดังนี้แล้ัวเกิดชาติหน้าจะเป็นคนมีรูปร่างสวยงามสมดังความปราถนา บุคคลที่เป็นคนไม่สวย
อยู่แล้ว เมื่อได้ยินดังนั้นจึงมีความอยากที่จะได้เป็นคนสวยในชาติหน้า ก็กระทำตามคำบอกเล่าของ
ผู้แนะนำ และขณะที่ถวายของหรือบูชาพระพุทธรูปนั้น จิตใจของผู้นั้นก็มุ่งหมายแต่จะให้ตนเป็นคน
มีรูปร่างหน้าตาสวยงามอย่างเดียว ไม่ได้กระทำไปด้วยใจศรัทธา หรือเชื่อกรรมหรือเชื่อผลของกรรม
แต่อย่างใด ข้อนี้อยากทราบว่าผู้นี้เมื่อตายไปเกิดชาติหน้าแล้ว จะมีรูปร่างหน้าตาสวยงามอย่าง
ที่ตั้งใจไว้หรือไม่?

ส่วนบุคคลอีกคนหนึ่งมีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และมีความเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมเป็นอย่างดี
ได้กระทำการถวายของและบูชาพระพุทธรูปในทำนองเดียวกันกับบุคคลที่กล่าวข้างต้น แต่ในการถวาย
หรือในการบูชานั้น หาได้มีความปราถนาต่อรูปสมบัติดังเช่นคนแรกไม่ มุ่งปราถนาพระนิพพานอย่างเดียว
อยากทราบว่าบุคคลนี้เมื่อตายไปเกิดชาติหน้าแล้ว จะได้รูปสมบัติเป็นที่สวยงามหรือไม่?

วิสัชชนา การถวายของหรือบูชาพระรัตนตรัยของบุคคลทั้งสองนี้ บุคคลที่หนึ่งที่ทำการบูชาพระรัตนตรัย
หรือถวายของด้วยความปราถนาตั้งใจจะมีรูปร่างสวยงามในชาติหน้านั้นไม่เป็นไปตามความปราถนา
ของตนได้ เพราะกุศลที่ตนทำนั้นเป็นกุศลชั้นต่ำ เป็นทวิเหตุกกุศล กุศลโอมโกมกะ กุศลโอมโกมกะเมื่อ
จะให้ปฏิสนธิผลก็ให้ปฎิสนธิเป็นสุคติอเหตุกบุคคล เป็นบุคคลชั้นต่ำ ฉะนั้นจะมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
ตามที่ตนปราถนานั้นไว้ไม่ได้

ส่วนบุคคลที่สอง ถึงแม้ไม่ได้ปราถนาตั้งใจไว้ก็จริง แต่การบูชาหรือถวายของนั้นเป็นการบูชาและถวาย
ของนั้นด้วยจิตที่เป็นติเหตุกกุศล กุศลอุกกัฏฐะ อันเป็นกุศลชั้นสูง กุศลจิตอย่างนี้เมื่อจะให้ผล ก็ให้ผล
ปฏิสนธิเป็นติเหตุกอุกกัฏฐะบุคคล บุคคลที่มีรูปร่างสวยงาม การที่มีรูปร่างสวยงามได้นั้น ก็เพราะการ
บูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ที่สวยงามและสิ่งของปราณีตอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อได้ถวายสิ่งของที่ปราณีต
สวยงามตรงตามเหตุที่ตนได้กระทำไว้
ดังมีบาลีว่า ลทิสํ ปากํ ชเนติ
แปลว่า การกระทำที่ให้ผลเสมอเหมือนกับตน
หมายความว่า ตนกระทำไว้อย่างไรย่อมได้รับผลเหมือนอย่างนั้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา พระโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนา เห็นพระไตรลักษณ์แต่เพียงอย่างเดียว จะสำเร็จมรรคผลได้หรือไม่?
ผู้เห็นอนิจจลักขณะชัดมากที่สุดจัดเป็นคนชนิดไหน ทุขลักขณะชัดมากที่สุดจัดเป็นคนชนิดไหน
อนัตตลักขณะชัดมากที่สุดจัดเป็นคนชนิดไหน?

วิสัชชนา พระโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเห็นพระไตรลักษณ์
แต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาพระไตรลักษณ์ทั้งสามนั้น
พระโยคีบุคคลนั้นก็สามารถสำเร็จมรรคผลได้ เพราะการบำเพ็ญวิปัสสนาของพระโยคีนับุคคลนับตั้งแต่
อุทัพพยญาณเป็นต้น จนถึงมรรคญาณผลญาณ เกิดขึ้นโดยลำดับได้นั้น ก็ต้องอาศัยการเห็นไตรลักษณ์
เป็นหลัก ฉะนั้นบุคคลใดไม่เห็นไตรลักษณ์แม้แต่อย่างใด อย่างหนึ่งแล้ว วิปัสสนาญาณที่ได้กล่าวแล้วนั้น
ก็มิไดุ้บังเกิดแก่บุคคลนั้นเลย เมื่อวิปัสสนาญาณมิได้บังเกิดแก่บุคคลนั้น ก็เป็นอันถือว่าบุคคลนั้นยังมิได้มรรคผล

-อนึ่งผู้ที่เห็นอนิจจลักขณะชัดมากที่สุดนั้นก็เพราะว่าบุคคลนั้นมี สัทธินทรีย์แก่กล้ามากกว่าอินทรีย์อื่นๆ
-ผู้ที่เห็นทุขลักขณะชัดมากที่สุดนั้น ก็เพราะบุคคลนั้นมีสมาธินทรีย์แก่กล้ามากกว่าอินทรีย์อื่น
-ผู้ที่เห็นอนิจจลักขณะชัดมากที่สุดนั้น ก็เพราะบุคคลนั้นมีปัญญินทรีย์แก่กล้ามากกว่าอินทรีย์อื่นๆ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา สายกลาง นั้นเป็นอย่างไร จึงเรียกว่า สายกลาง?

วิสัชชนา ที่เรียกว่าสายกลางนั้นก็เพราะมี ทางซ้าย คือ กามสุขัลลิกานุโยคข้างหนึ่ง
ทางขวา คือ อัตตกิลมถานุโยคข้างหนึ่ง ฉะนั้นจึงเรียกทางนี้ว่าเป็นทางสายกลาง

ทางซ้ายคือ กามสุขัลลิกานุโยค นั้นคือ การบำรุงบำเรอตนด้วยกามคุณารมณ์ทั้ง ๔ ที่ดีงาม
พยายามแสวงหาอารมณ์เหล่านี้มาให้ตนได้เสวยสุขอยู่เป็นนิจ เพราะมีความเข้าใจว่าความสุขชนิดนี้นี่แหละ
เป็นสวรรค์ นิพพาน การประพฤติปฏิบัติตนตามแนวทางกามสุขัลลิกานุโยคนี้ หมายเอาเฉพาะแต่ผู้ที่ต้องการ
ความสุขอย่างเยี่ยมแล้วมาประกอบตนผิดดังที่กล่าวนี้เท่านั้น แต่ถ้าเป็นคฤหัสถ์ครองเรือนหรือความสนุกสนาน
รื่นเริงที่ชาวโลกกระทำกันอยู่นั้น ไม่จัดเข้าในกามสุขัลลิกานุโยคเพราะเป็นไปตามโลกียวิสัย

ทางขวาคือ อัตตกิลมถานุโยค นั้นมีการพยายามทำตนให้ได้รับความลำบากอยู่เป็นนิจ เพราะเข้าใจว่าการ
ปฏิบัติดังนี้จักทำให้ได้รับความสุขในสวรรค์ นิพพาน การประพฤติตามแนวทางอัตตกิลมถานุโยคนี้ แม้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ชั่วระยะหนึ่งเหมือนกัน เนื่องมาจากวจีกรรมทุพภาษิตใน
อดีตชาติส่งผลเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ ได้กล่าวคำดูหมิ่นสัมมาสัมโพธิญาณว่าสำเร็จได้
โดยง่ายไม่ยากอะไรนัก ด้วยการกล่าววาจาทุพภาษิตนี้แหละ พระองค์จึงทรงปฏิบัติผิดทรมานพระองค์
จนเหลือแต่หนังกับกระดูกได้รับทุกข์อย่างสาหัส แต่แล้วก็หาได้บรรลุซึ่งธรรมพิเศษที่ทรงมุ่งหมายไว้แต่
อย่างใดไม่ จนกระทั่งเทวดามาทูลเตือนจึงทรงได้พระสติระลึกขึ้นได้ว่า การปฏิบัติที่จะให้สำเร็จซึ่ง
สัมมาสัมโพธิญาณนั้น จะต้องบำรุงพระวรกายให้ดีมีกำลัง ปรารภความเพียร ทางสายกลางคือ
มัชฌิมาปฏิปทานั้น ได้แก่การปฏิบัติที่เกี่ยวกับองค์มรรค

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




cg0073.jpg
cg0073.jpg [ 37.15 KiB | เปิดดู 16086 ครั้ง ]
ปุจฉา ผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ได้นั้นต้องประกอบด้วยธรรมกี่ประการ คืออะไรบ้าง?

วิสัชชนา ผู้ที่จะเป็นพระอินทร์ได้นั้นต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ
๑. เลี้ยงบิดามารดา
๒. เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. กล่าววาจาอ่อนหวาน
๔. ไม่กล่าวคำส่อเสียด
๕. ไม่มีความตระหนี่
๖. มีความสัตย์
๗. ระงับความโกรธไว้ได้

:b42: จากหนังสือวิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 20 เม.ย. 2012, 06:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความเป็นอริยะ หรือที่เรียกว่าทรัพย์ของสัปบุรุษ มีเท่าไร? อย่างไรบ้าง?

วิสัชชนา ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความเป็นอริยะ หรือที่เรียกว่า ทรัพย์ของสัปบุรุษ มี ๗ ประการ คือ
๑. สทฺธาธนํ ทรัพย์ คือ ความเลื่อมใส เชื่อในอนันตคุณ ๕ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม โลกนี้โลกหน้า
๒. สีลธนํ ทรัพย์ คือ การตั้งอยู่ในศีลธรรม
๓. สุตธนํ ทรัพย์ คือ ความเป็นผู้ได้เล่าเรียนในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. จาคธนํ ทรัพย์ คือ การบริจาควัตถุสิ่งของให้เป็นทานแก่ผู้อื่น
๕. ปญฺญายนํ ทรัพย์ คือ ความเป็นผู้รู้ในสภาวธรรมรูปนาม
๖. หิรีธนํ ทรัพย์ คือ ความเป็นผู้รู้ละอายต่อทุจริต
๗. โอตฺตปฺปธนํ ทรัพย์ คือ ความเป็นผู้กลัวต่อทุจริต

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ปุจฉา จงแสดงเปรต ๔ ประเภทที่มาในเปตวัตถุอัฏฐกถา และฎีกา ในบรรดาเปรต ๔ ประเภทนั้น
ประเภทไหนที่พระโพธิสัตว์ไม่ไปเกิด

วิสัชชนา เปรต ๔ ประเภท ที่มาในเปตวัตถุอัฏฐกถาและฎีกา
๑. ปรทัตตุปชีวิกเปรต เปรตที่มีการเลี้ยงชีวิตอยู่โดยอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้
๒. ชุปปิปาสิกเปรต เปรตที่ถูกเบียดเบียนด้วยการหิวข้าว หิวน้ำ
๓. นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
๔. กาลกัญจิกเปรต เป็นชื่อของอสุราที่เป็นเปรต

เปรตบางประเภทที่พระโพธิสัตว์ไม่ไปเกิด บรรดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์
เป็นต้น ไม่ไปเกิดเป็นเปรต ๓ ประเภท คือ
๑. ชุปปิปาสิกเปรต
๒. นิชฌามตัณหิกเปรต
๓. กาลกัญจิกเปรต
ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ พระโพธิสัตว์ ถ้าจะเกิดเป็นปรทัตตุปชีวิกเปรตประเภทเดียวเท่านั้น

:b42: จากหนังสือวิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา จงแสดงสมุฏฐานที่เป็นเหตุึให้เกิด อกุศลกรรมบถ ๑๐

วิสัชชนา แสดงสมุฏฐานที่เป็นเหตุให้เกิด อกุศลกรรมบถ ๑๐
ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ นั้น

-ปาณาติบาต๑ ผรุสวาส๑ พยาบาท๑
กรรมทั้ง ๓ นี้เกิดขึ้นเพราะ โทสะมูลจิต

-กาเมสุมิจฉาจาร๑ อภิชฌา๑ มิจฉาทิฏฐิ๑
กรรมทั้ง ๓ นี้ย่อมเกิดขึ้นได้เพราะ โลภะมูลจิต

-อกุศลกรรมบถที่เหลืออีก ๔ คือ อทินนาทาน๑ มุสาวาท๑ ปิสุณวาจา๑ สัมผัปปลาปะ๑
ย่อมเกิดขึ้นเพราะ โลภะมูลจิต หรือ โทสะมูลจิต

:b42: จากหนังสือวิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑

:b19: :b2:
:b12: :b22:

ปุจฉา การเห็นพระไตรลักษณ์ได้ประโยชน์อะไรบ้าง?

วิสัชชนา การเห็นพระไตรลักษณ์ได้ประโยชน์เป็นอันมาก
คืออย่างน้อยก็ทำให้เราเบากายเบาใจ ปลอดจากโรคจิตโรคประสาท
มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบานขึ้น อย่างสูงก็สามารถทำลายกิเลสได้
และถึงความสิ้นทุกข์ในที่สุด นี้คือประโยชน์ของการเห็นพระไตรลักษณ์

คนในปัจจุบ้ันเป็นอันมากเคร่งเครียด วุ่นวาย เดือดร้อน ยึคมั่น
ถือมั่น แก้ปัญหาชีวิตของตนไม่ตก แม้จะให้ทาน แม้จะรักษาศีล
แม้จะสะเดาะเคราะห์ แม้จะประพรมน้ำมนต์ หรือแม้จะเจริญสมาธิแล้ว
ก็ไม่อาจจะหายวุ่นวายได้ เพราะเหตุที่ใจของเขายังยึคมั่นถือมั่น
สิ่งทั้งปวง เนื่องจากเขาไม่เห็นพระไตรลักษณ์ การไม่เห็นพระไตรลักษณ์


จึงทำให้คนเราหนักกาย หนักใจ หนักอึ้ง แม้จะมานั่งสมาธิก็นั่งไม่ได้ผล
เพราะใจของเขายังยึคมั่นถือมั่นสิ่งทั้งปวงมากเกินไป

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดการทะเลาะกันขึ้นในที่ทำงาน
หรือบางคนเป็นหนี้เป็นความ หรือเกิดการทะเลาะกันในครอบครัว
ระหว่างสามีกับภรรยา แม้ผู้นั้นจะให้ทาน ความทุกข์
ความวุ่นวายจะหายไหม?ก็ไม่หาย

ความเดือดร้อน หรือ ความวุ่นวายจะหายได้เราจะต้องใช้ปัญญา
ปัญญาจึงเป็นธรรมะขั้นสูงที่จะทำลายความเดือดร้อนวุ่นวาย
ของเรา แต่เราจะต้องใช้เป็น

การเห็นพระไตรลักษณ์จึงเป็นประโยชน์ที่จะให้เกิดความเบากาย
เบาใจของเราขึ้น เราจะพบว่า บางคนที่มีความวุ่นวายใจ หนักใจ
เดือดร้อนเหมือนจะฆ่าตัวตาย และแม้เข้าวัดแล้วก็หาทางไม่ถูก
ยังทุกข์ยังเศร้าอยู่เหมือนเดิม เพราะอะไร เพราะใช้ยาที่พระพุทธเจ้า
ทรงมอบไว้ไม่ถูก ยานั้นมีอยู่หลายขนาน มีทั้งทาน ศีล และภาวนา

ภาวนาก็มีตั้ง ๒ ระบบ คือทั้งระบบสมถะ และ ระบบวิปัสสนา
ความทุกข์ไม่น้อยที่จะดับได้ก็ต้องใช้ปัญญาเท่านั้น และความทุกข์
ส่วนใหญ่นั้นต้องใช้ปัญญาเท่านั้นจึงจะระงับให้เบาบางลงได้
เราต้องทำความเข้าใจให้ชัด เพราะฉะนั้น การเห็นพระไตรลักษณ์
จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทั้งในปัจจุบันและประโยชน์อย่างสูง
คือ สิ้นทุกข์
:b48: :b48: :b48:
:b42: ข้อความบางตอนจากหนังสือ วิปัสสนาภาวนา
โดย ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ หรือ พระธรรมวิสุทธิกวี

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา การกระทำอย่างไรจึงเกิดโทษเป็นเหตุให้ไปเกิดในอสุรภูมิ?

วิสัชชนา โทษที่เป็นเหตุให้ไปเกิดในอสุรภูมิ

บุคคลบางคนที่อยู่ในโลกนี้เป็นผู้มียศและทรัพย์พอสมควร หรือใหญ่ยิ่งก็ตาม แต่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้
มีจิตใจไม่ดีหรือ เป็นผู้ได้สดับตรับฟังน้อย ฉะนั้น จึุงไม่สามารถเลือกเฟ้นว่า บุคคลใดควรจะยกย่อง
สรรเสริญ และบุคคลใดไม่ควรยกย่องสรรเสริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาจึงได้ใช้อำนาจและทรัพย์สมบัติ
ไปในทางที่ผิด คือบุคคลที่มีคุณงามความดีมีศีลธรรมควรจะยกย่องสรรเสริญ ก็กลับใช้อำนาจทางกาย
กดขี่ข่มเหงใช้อำนาจทางวาจา กล่าวคำดูถูกติเตียน ส่วนบุคคลที่ไม่ดีมีความประพฤติทุจริตผิดศีลธรรม
ก็กลับไปยกย่องสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้เมื่อละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปบังเกิดใน อสุรภูมิ

:b42: ข้อความบางตอนจากหนังสือ วิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่๕ เล่ม๑ หน้า๘๒ :b41:

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:
ประมวลปกิณณกธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา
ปฐมภาค
สำนักงานกลาง อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย.


ปุจฉา ในวิสุทธิมรรคอรรถกาแสดงไว้ว่า มรรคที่เป็นผู้ประหาณปิสุณวาจานั้น ได้แก่ อนาคามิมรรค
แต่ในอังคุตตรอรรถกถาแสดงไว้ว่าโสดาปัตติมรรคเป็นผู้ประหาณปิสุณวาจา เมื่อเป็นเช่นนี้ทั้ง ๒ ปกรณ์นี้
ก็คัดค้านกันอยู่ ขอให้วินิจฉัยความมุ่งหมายของปกรณ์ทั้ง ๒ นี้ว่ามุ่งหมายไปในแง่ไหน

วิสัชชนา แสดงการวินิจฉัยความมุ่งหมายของ ๒ ปกรณ์
คือ วิสุทธิมรรคอรรถกถา และอังคุตตรอรรถกถาดังต่อไปนี้ คือ:-

แสดงการประหาณทุจริตโดยมรรคทั้ง ๔
๑. อกุสลกมฺมปเถสุ ปาณาติปาโต อทินฺนาทานํ มิจฺฉาจาโร มุสาวาโท มิจฺฉาทิฏฺฐีติ อิเม
ปฐมญาณวชฺชา ปิสุณวาจา ผรุสวาจา พฺยาปาโทติ ตโย ตติยญาณวชฺชา สมฺผปฺปลาปาภิชฺฌา
จตุตฺถญาณวชฺช (มาในวิสุทธิมรรคอรรถกถา)

ในบรรดาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
-อกุศลกรรมบถ ที่โสดาปัตติมรรคญาณประหาณ มี ๕ อย่าง
คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท มิจฉาทิฏฐิ
-อกุศลกรรมบถ ที่อนาคามิมรรคญาณประหาณ มี ๓ อย่าง คือ ปิสุณวาจา ผรุสวาจา พยาบาท
-อกุศลกรรมบถ ที่อรหัตตมรรคญาณประหาร มี ๒ อย่าง คือ สัมผัปปลาปะ อภิชฌา

๒. อกุสลกมฺมปเถสุ ปาณาติปาโต อทินฺนาทานํ มิจฺฉาจาโร มุสาวาโท ปิสุณวาจา มิจฺฉาทิฏฺฐีติ
อิเม ตาว โสตาปตฺติมคฺเคน ปหียนฺติ ผรุสวาจา พฺยาปาโทติเทฺว อนาคามิมคฺเคน อภิชฺฌา
สมฺผปฺปลาโปติ เทฺว อรหตฺตมคฺเคนาติ (มาในอัคุตตรอรรถกถา)

ในบรรดาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง
-อกุศลกรรมบถที่โสดาปัตติมรรคญาณประหาณครั้งแรกมี ๖ อย่าง คือ
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา มิจฉาทิฏฐิ
-อกุศลกรรมบถที่อนาคามิมรรคญาณประหาณมี ๒ อย่าง คือ ผรุสวาจา พยาบาท
-อกุศลกรรบถที่อรหัตตมรรคญาณประหาณมี ๒ อย่าง คือ อภิชฌา สัมผัปปลาปะ

การวินิจฉัยความมุ่งหมายในปกรณ์ทั้ง ๒

สุขุมโทเสน ปวตฺติตํ น อปายยคมนิยํ ปฏิรูปกปิสุณวาจํ วา อนวเลสปฏิฆานุสยํ เตน
อนาคามิมคฺเคน ปหาตพฺพภาวํ วา สนฺธาย ตติยญาณวชฺชาติ วิสุทฺธิมคฺเค วุตฺตํ
โอฬาริกโทเสน ปวตฺติตํ อปายคมนิยํ ปิสุณวาจํ สนฺธาย โสตาปตฺติมคฺเคน ปหียนฺตีติ
องฺคุตฺตเร วตฺตํ (มาในติปิฎกวินิจฉยปกรณ์)

ที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาว่า ปิสุณวาจา อันอนาคามิมรรคญาณพึงประหาณดังนี้นั้น
หมายเอาปิสุณวาจาที่ไม่แท้ อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจโทสะที่ละเอียด ซึ่งไม่สามารถที่จะนำไปสู่อบายได้
และหมายเอาปฏิฆานุสัยที่อนาคามิมรรคญาณนั้น พึงประหาณไม่ให้เหลือ

ที่ท่านกล่าวไว้ในอังคุตตรอรรถกถาว่า ปิสุณวาจาอันโสดาปัตติมรรคญาณย่อมประหาณดังนี้นั้น
หมายเอาปิสุณวาจาที่แท้ อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจโทสะที่หยาบซึ่งสามารถที่จะนำไปสู่อบายได้
:b53:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา อุบายที่จะทำให้จิตใจตั้งอยู่ในศีลธรรมได้นั้นมีหรือไม่? ถ้ามีขอให้อธิบาย

วิสัชชนา อุบายที่จะทำให้จิตใจตั้งอยู่ในศีลธรรมได้นั้นมีอยู่ คือต้องหมั่นพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นโทษ
ของตนและโทษของผู้อื่นว่า ผู้ใดมีจิตใจต่ำเลวทรามแล้ว ผู้นั้นมิอาจที่จะตั้งตนให้ดีได้ เพราะผู้ที่มี
จิตใจต่ำเลวทรามเช่นนั้น สำหรับในปัจจุบันชาตินี้ ก็ไม่สามารถจะทำตนให้เป็นคนมีเกียรติยศชื่อเสียง
และดำรงในตำแหน่งที่ดีและสูงได้ ถึงแม้ผู้นั้นจะได้อาศัยโภคทรัพย์อันเป็นทรัพย์ภายนอกช่วยส่งเสริม
ให้ได้รับเกียรติยศ และตำแหน่งสูงได้บ้างก็จริง แต่เกียรติยศและตำแหน่งที่เขาได้รับนั้นย่อมไม่ถาวร
และยั่งยืนตลอดไปได้ ทั้งการที่จะได้รับความเมตตากรุณาจากคนอื่นก็ไม่ค่อยมี ถึงแม้จะมีบ้างก็คงมีได้
โดยยาก เพราะเมื่อตนมีจิตใจต่ำเลวทรามเสียแล้ว บุคคลใดที่ไหนเล่าจะมาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีจิตใจ
คิดเมตตากรุณาแก่ผู้ที่มีจิตใจต่ำเช่นนี้ ทั้งในอนาคตคือชาติหน้าต่อไป ก็ต้องเป็นผู้มีจิตใจต่ำเลวทรามและได้รับผลเช่นเดียวกันกับในชาตินี้อีก

เมื่อมาพิจารณาใคร่ครวญสวบสวนให้เห็นโทษของจิตใจต่ำด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็จะสามารถกลับจิตใจ
ของตนเองจากพื้นเพเดิมที่เคยต่ำช้ามาแล้วนั้น ให้มาตั้งมั่นในศีลธรรมอันเป็นธรรมฝ่ายสูงต่อไป

:b44: :b44:

ปุจฉา หสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางปัญจทวารวิถี และหสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางมโนทวารวิถี
ทั้ง ๒ อย่างนี้ มีความต่างกันอย่างไร?

วิสัชชนา หสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางปัญจทวารวิถี และหสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางมโนทวารวิถีมีความต่างกันดังนี้ คือ

-หสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางปัญจทวารวิถีนั้นเพียงแต่ทำให้มีความยินดีเกิดขึ้นภายในใจเท่านั้น ยังมิอาจทำให้การยิ้มนั้นปรากฏเกิดขึ้นได้


-ส่วนหสิตุปปาทชวนะที่เกิดทางมโนทวารวิถีนั้นสามารถทำให้การยิ้มปรากฏเกิดขึ้นได้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุจฉา คำว่า ปฏิสนธิ หมายความว่าอย่างไร?
ปฏิสนธิมีกี่อย่าง? คืออะไรบ้าง? จงแสดงให้ละเอียด

วิสัชชนา คำว่า ปฏิสนธิ หมายความว่า
- เมื่อภพเก่าสิ้นสุดลงแล้ว
- จิต เจตสิก กัมมชรูป ปรากฏเกิดขึ้นครั้งแรกในภพใดภพหนึ่ง
- โดยอำนาจแห่งการสืบต่อ ภพเก่ากับภพใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิ

ปฏิสนธิ มี ๔ อย่าง คือ
๑. อปายปฏิสนธิ หมายความว่า การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต เจตสิก และกัมมชรูปครั้งแรก
ในอบายภูมิ ๔ เรียกว่า อปายปฏิสนธิ

๒. กามสุคติปฏิสนธิ หมายความว่า การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต เจตสิก และกัมมชรูปครั้งแรก
ในการสุคติภูมิ ๗ เรียกว่า กามสุคติปฏิสนธิ

๓. รูปาวจรปฏิสนธิ หมายความว่า
- การปรากฏเกิดขึ้นแห่งจิต เจตสิก และกัมมชรูปครั้งแรกในรูปภูมิ ๑๕
- และปรากฏเกิดขึ้นแห่งกัมมชรูปครั้งแรกในอสัญญสัตตภูมิ
ทั้ง ๒ นี้ เรียกว่า รูปาวจรปฏิสนธิ

๔. อรูปาวจรปฏิสนธิ หมายความว่า การปรากฏเกิดขึ้นแห่ง จิต เจตสิก ครั้งแรกในอรูปภูมิ ๔
เรียกว่า อรูปาวจรปฏิสนธิ

:b48: :b48: :b48:

ปุจฉา จงแสดงภูมิอันเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายว่ามีเท่าไร? คืออะไรบ้าง?

วิสัชชนา ภูมิอันเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายนั้นมี ๓๑ ภูมิ คือ
๑. นรกภูมิ
๒. เปรตภูมิ
๓. อสุรกายภูมิ
๔. ดิรัจฉานภูมิ
(เรียกว่า อบายภูมิ ๔ เป็นที่เกิดของ ทุคติอเหตุกบุคคลจำพวกเดียว )

๕. มนุษย์ภูมิ....มนุสสภูมิ ๑....(สุคติอเหตุกบุคคล๑ เกิดในภูมินี้)
๖. จาตุมหาราชิกาภูมิ....(สุคติอเหตุกบุคคล๑ เกิดในภูมินี้)
(ข้อ ๕-๖ เป็นที่เกิดของบุคคล ๑๑ จำพวก...(เว้นทุคติอเหตุกบุคคล)
-สุคติอเหตุกบุคคล๑ เกิดเฉพาะในภูมิข้อที่ ๕-๖ และรวมอยู่ในบุคคล ๑๑จำพวกแล้ว )
๗. ดาวดึงสาภูมิ
๘. ยามาภูมิ
๙. ดุสิตาภูมิ
๑๐. นิมมานรตีภูมิ
๑๑. ปรนิมมิตตวสวัสตีภูมิ
(-ข้อ ๕-๑๑ เรียกว่า กามสุคติภูมิ ๗
-ข้อ ๖-๑๑ เรียกว่า เทวภูมิ ๖
-และ ข้อ ๑-๑๑ รวมเรียกว่า กามภูมิ ๑๑
ข้อ ๗-๑๑ เป็นที่เกิดของบุคคล ๑๐ จำพวก...(เว้นอเหตุกบุคคล๒) )

๑๒. พรหมปาริสัชชาภูมิ
๑๓. พรหมปุโรหิตาภูมิ
๑๔. มหาพรหมภูมิ
(ข้อ ๑๒-๑๔ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌานที่ ๑ คือปฐมฌานภูมิ ๓ )

๑๕. ปริตตาภาภูมิ
๑๖. อัปปมาณาภาภูมิ
๑๗. อาภัสสราภูมิ
(ข้อ ๑๕-๑๗ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌานที่ ๒, ๓ คือทุติยฌานภูมิ ๓ )

๑๘. ปริตตสุภาภูมิ
๑๙. อัปปมาณสุภาภูมิ
๒๐. สุภกิณหาภูมิ
(ข้อที่ ๑๘-๒๐ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌานที่ ๔ คือตติยฌานภูมิ ๓ )

๒๑. เวหัปผลาภูมิ....ปุถุชนภวัคคะ คือ ยอดภูมิปุถุชน
(ข้อ ๑๒-๒๑ เป็นที่เกิดของบุคคล ๙ จำพวก คือ ติเหตุกปุถุชน๑ อริยบุคคล๘)

๒๒. อสัญญสัตตภูมิ ๑ เป็นที่เกิดของ สุคติอเหตุกบุคคลที่มีรูปปฏิสนธิจำพวกเดียว

๒๓. อวิหาภูมิ
๒๔. อตัปปาภูมิ
๒๕. สุทัสสาภูมิ
๒๖. สุทัสสีภูมิ
๒๗. อกนิฏฐาภูมิ....อริยภวัคคะ คือ ยอดภูมิพระอริยะ
(-ข้อ ๒๑-๒๗ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌานที่ ๕ คือ จตุตถฌานภูมิ ๗
-ข้อที่ ๒๓-๒๗ คือ สุทธาวาสภูมิ ๕ เป็นที่เกิดของบุคคล ๓ จำพวก คือ อนาคามิผลบุคคล๑อรหัตตมรรคบุคคล๑ อรหัตตมรรคผลบุคคล๑
-ข้อที่ ๑๒-๒๗ คือ รูปภูมิ๑๖
-และข้อที่ ๑-๒๗ คือ
ปัญจโวการภูมิ ๒๖ คือ
-กามภูมิ ๑๑
-รูปภูมิ ๑๕
เอกโวการภูมิ ๑ คือ
-อสัญญสัตตาภูมิ )


๒๘. อากาสานัญจายตนภูมิ
๒๙. วิญญานัญจายตนภูมิ
๓๐. อากิญจัญญายตนภูมิ
๓๑. เนวสัญญานานัญญายตนภูมิ...สัพพภวัคคะ คือ ยอดภูมิปุถุชนและพระอริยะ
(-ข้อ ๒๘-๓๑ คือ อรูปภูมิ๔ สำหรับผู้ที่ได้ อรูปฌานที่ ๕-๘ ตามลำดับ
และเป็นที่เกิดของบุคคล ๘ จำพวก
คือ ติเหตุกปุถุชน๑ อริยบุคคล๗...(ยกเว้นโสดาปัตติมรรคบุคคล๑) เรียกว่า จตุโวการภูมิ ๔
- ข้อที่ ๕-๓๑ รวมเรียกว่า สุคติภูมิ ๒๗ )
:b41: :b41: :b41:
สรุป
:b46: ปัญจโวการภูมิ ๒๖ คือ
-กามภูมิ ๑๑
-รูปภูมิ ๑๕
:b46: เอกโวการภูมิ ๑ คือ
-อสัญญสัตตาภูมิ
:b46: จตุโวการภูมิ ๔
..............รวม ๓๑ ภูมิ :b48:


:b42: จากหนังสือวิถีมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 27 เม.ย. 2012, 12:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8241


 ข้อมูลส่วนตัว




phoca_thumb_l_4-2.jpg
phoca_thumb_l_4-2.jpg [ 43.33 KiB | เปิดดู 16029 ครั้ง ]
ถ้าไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมมาก่อนแล้ว คงจะยากแก่การอ่านแล้วทำความเข้าใจได้
ก็ต้องขออนุโมทนา...สาธุครับ ด้วยความวิริยะและศรัทธา เป็นประธาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กราบอนุโมทนาสาธุค่ะลุงหมาน
ที่ส่งภาพมาประกอบการอ่าน ปุจฉา-วิสัชชนา ค่ะ

:b35: :b35: :b35:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ุูปุจฉา จงแสดงภูมิที่พระอริยบุคคลไปเกิดแล้ว จะไม่ไปเกิดในภูมิอื่นๆ อีกนั้นมีกี่ภูมิ?
และภูมินั้นๆ เรียกชื่อภูมิว่าอะไร?

วิสัชชนา ในบรรดาพรหมภูมิ ๒๐ ชั้นนั้นคือ
:b49: เวหัปผลาภูมิ นับเป็นยอดของรูปภูมิ ๑๑ ชั้น(เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕)
เรียกว่า ปุถุชนภวัคคะ แปลว่า ยอดภูมิของปุถุชน

:b49: อกนิฏฐาภูมิ นับเป็นยอดของสุทธาวาสภูมิ เรียกชื่อว่า อริยภวัคคะ
แปลว่า ยอดภูมิของพระอริยะ

:b49: เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นับเป็นยอดของอรูปภูมิ เรียกชื่อว่า สัพพภวัคคะ
แปลว่า ยอดภูมิของปุถุชน และพระอริยะ

ยอดภูมิทั้ง ๓ นี้ พระอริยบุคคลได้ไปบังเกิดแล้ว
จะไม่ไปบังเกิดในภูมิอื่นๆ อีกต่อไป จะต้องปรินิพพานในยอดภูมินั้นๆ แน่นอน


:b8: :b8: :b8:

ปุจฉา จงแสดงชื่อของบุคคลทั้ง ๑๒ จำพวก มาโดยละเอียด
และในบรรดาบุคคล ๑๒ จำพวกนั้น บุคคลที่มีในสุทธาวาสภูมิ มีกี่บุคคล? คือใครบ้าง?

วิสัชชนา บุคคล ๑๒ จำพวกคือ
๑. ทุคติอเหตุกบุคคล
๒. สุคติอเหตุกบุคคล
๓. ทวิเหตุกบุคคล
๔. ติเหตุกบุคคล
๕. โสดาปัตติมรรคบุคคล
๖. โสดาปัตติผลบุคคล
๗. สกทาคามิมรรคบุคคล
๘. สกทาคมมิผลบุคคล
๙. อนาคามิมรรคบุคคล
๑๐. อนาคามิผลบุคคล
๑๑. อรหัตตมรรคบุคคล
๑๒. อรหัตตผลบุคคล

ในบรรดาบุคคล ๑๒ จำพวกนั้น บุคคลที่มีอยู่ในสุทธาวาสภูมิ ๕ มี ๓ บุคคล คือ
๑. อนาคามิผลบุคคล
๒. อรหัตตมรรคบุคคล
๓. อรหัตตผลบุคคล

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร