วันเวลาปัจจุบัน 08 ก.ย. 2024, 15:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว




old-monk-teaching-little-monks-260nw-347323895.jpg
old-monk-teaching-little-monks-260nw-347323895.jpg [ 39.77 KiB | เปิดดู 5642 ครั้ง ]
คู่มือการศึกษา
สมุจจยสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๗

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

ความเบื้องต้น

ปริจเฉทที่ ๗ รวบรวม คำสอน พระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่มีชื่อว่า สมุจจยสังคหวิภาค
สมุจจยสังคหะ มาจากคำว่า สํ(เข้าด้วยกัน) + อุจฺจย(รวบรวม) + สงฺคห (แสดงโดยย่อ)
จึงรวมหมายความว่า แสดงการรวบรวมธรรมที่มีสภาพเข้าด้วยกัน ได้นั้นโดยย่อ

สํ ปิณฺเฑตฺวา อุจฺจียนฺเต เอเตนาติ สมุจฺจโย ฯ

ที่ชื่อว่าสมุจจย เพราะ เป็นการแสดงการรวบรวมปรมัตถ ธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้ ให้อยู่เป็นหมวด ๆ
ในสมุจจยสังคหะนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์คาถาสังคหะเป็นหลักในการแสดงไว้ ๑๔ คาถาด้วยกัน
คาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า

๑. ทฺวาสตฺตติวิธา วุตฺตา วตฺถุธมฺมา สลกฺขณา
เตสนฺทานิ ยถาโยคํ ปวกฺขามิ สมุจฺจยํ ฯ


แปลความว่า วัตถุธรรม ๗๒ ประการ อันเป็นไปพร้อมด้วยลักษณะนั้นได้กล่าวมาแล้ว
บัดนี้จักแสดง สมุจจยสังคหะแห่ง วัตถุธรรมทั้ง ๗๒ นั้น ตามควรแก่สภาพที่พึงรวบรวมเข้ากันได้
เป็นหมวด ๆ วัตถุธรรม ๗๒ นั้นเป็นการนับจำนวนตามลักษณะแห่งวัตถุนั้นๆ คือ จิต ๑, เจตสิก ๕๒,
นิปผันนรูป ๑๘ และนิพพาน ๑
ที่นับจิตเพียง ๑ เพราะจิตมีลักษณะรับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น
ที่นับเจตสิก ๕๒ เต็มจำนวน เพราะเจตสิกแต่ละดวงต่างก็มีลักษณะเฉพาะ ตน แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง
ที่นับเฉพาะนิปผันนรูป ๑๘ (คือมหาภูตรูป ๔, ปสาทรูป ๕, โคจรรูป ๔, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑ และ อาหารรูป ๑) เท่านั้น เพราะเป็น รูปปรมัตถที่มีสภาวะของตนเองปรากฏชัดเจน เป็นรูปที่เกิดด้วยปัจจัย ๔ (คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร)ปรุงแต่ง เป็นรูปที่สาธารณกับไตรลักษณ์ และเป็นรูปที่ ควรแก่การเจริญวิปัสสนาภาวนา
ส่วนที่ไม่นับ อนิปผันนรูป ๑๐ (คือปริจเฉทรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔) ด้วยนั้น เพราะอนิปผันนรูปเป็นรูปปรมัตถที่จะเกิดมีเกิด ปรากฏขึ้นมาได้ ก็ต้องอาศัยนิปผันนรูป นิปผันนรูปมี อนิปผันนรูปจึงปรากฏ ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิปผันนรูปก็มีไม่ได้ ปรากฏขึ้นไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่นับอนิป ผันนรูปรวมในที่นี้ด้วย
และที่นับนิพพาน ๑ ก็เพราะนิพพานมีลักษณะแต่อย่างเดียวเท่านั้น คือ สันติลักขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


สมุจจยสังคหะ แบ่งเป็น ๔ หมวด

สมุจจยสังคหะจำแนกเป็น ๔ หมวด คือ
๑. อกุสลสังคหะ ๒. มิสสกสังคหะ
๓. โพธิปักขิยสังคหะ ๔. สัพพสังคหะ


๑. อกุสลสังคหะ

หมวดที่สงเคราะห์สภาวธรรมต่าง ๆ มีโอฆะ ๔ เป็นต้น ที่เป็นอกุสลชาติ ล้วน ๆ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุสลสังคหะ อกุสลสังคหะ เป็นการรวบรวมเฉพาะอกุสลธรรมทั้งหมด
แสดงไว้ในหมวดนี้ โดยจำแนกไปตามอาการของกิเลส รวมเป็น ๙ กองด้วยกัน คือ
๑. อาสวะ ๒. โอฆะ ๓. โยคะ
๔. คันถะ ๕. อุปาทาน ๖. นิวรณ
๗. อนุสัย ๘. สังโยชน์ ๙. กิเลส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๒ แสดงว่า

๒. อาสโวฆา จ โยคา จ ตโย คนฺถา จ วตฺถุโต
อุปาทานา ทุเว วุตฺตา อฏฺฐ นิวรณา สิยุํฯ


แปลความว่า อาสวะ โอฆะ โยคะ ก็ดี คันถะ ก็ดี กล่าวโดยวัตถุธรรม ( คือองค์ธรรม ) มี ๓ อุปาทานมี ๒
นิวรณ์มี ๘ รวมได้เท่านี้

อกุสลสังคหะกองที่ ๑ อาสวะ ๔

อาสวนฺติ จิรํ ปริวสนฺตีติ อาสวา ฯ

สิ่งใดถูกหมักดองอยู่นาน ๆ สิ่งนั้น ชื่อว่า อาสวะ
อาสว = อา (วัฏฏทุกข์ที่ยาวนาน หากำหนดมิได้)+ สว (เจริญรุ่งเรือง) = ธรรม
ที่ทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนาน ไม่มีกำหนดนั้น เจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด

อายตํ สงฺสารทุกฺขํ สวนฺติ ปสวนฺติ วฑฺเฒนฺตีติ อาสวา ฯ

ธรรมเหล่าใด ทำให้วัฏฏทุกข์ที่ยาวนานนั้นเจริญรุ่งเรือง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ


ภวโต อาภวคฺคา ธมฺมโต อาโคตฺรภุมฺหา สวนฺติ อารมฺมณกรณวเสน ปวตฺตนฺตีติ อาสวา ฯ

ธรรมเหล่าใดไหลไปถึงหรือเกิดได้ถึง ว่าโดยภูมิถึงภวัคคภูมิ ว่าโดยธรรมถึงโคตรภู ด้วยอำนาจกระทำให้เป็นอารมณ์ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ
อาสว = อา (มีขอบเขตถึงภวัคคภูมิ คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ หรือมี ขอบเขตถึงโคตรภู) + สว(เกิดได้ไหลไปได้)
กิเลสนี่แหละ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ก็เคยชิน เลยสะสมจมดองอยู่ในจิตตสันดาน ครั้นจิตประสบกับอารมณ์ใด ด้วยความเคยชินของกิเลสที่หมักหมมจมดองอยู่ ก็ขึ้น มาปรุงแต่งจิตให้น้อมไปตามกิเลสนั้น ๆ อาการที่หมักหมมจมดองอยู่เช่นนี้ จึงเรียก ว่า อาสวะ เมื่อยังมีอาสวะอยู่ตราบใด ตราบนั้นก็ยังต้องวนเวียนอยู่ใน สังสารวัฏฏ

ขนฺธานญฺจ ปฏิปาฏิ ธาตุอายตนานญฺจ อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ ฯ
(อัฏฐสาลินี)
แปลความว่า ลำดับของขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอยู่โดยไม่ขาดสายนั้น เรียกว่า สังสาระ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวะมี ๔ ประการ คือ
๑. กามาสวะ จมอยู่ในความติดใจแสวงหากามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวาสวะ จมอยู่ในความชอบใจยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ อยากได้ในรูปภพ อรูปภพ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐาสวะ จมอยู่ในความเห็นผิดจากความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมหรือผิด ทำนองคลองธรรม
จึงมีความติดใจในความเห็นผิดนั้น องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชชาสวะ จมอยู่ในความไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงได้ โลภ โกรธ หลง
องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
รวมอาสวะมี ๔ แต่วัตถุธรรมหรือองค์ธรรมมีเพียง ๓ เท่านั้นคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ
โมหเจตสิก

อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงความหมายแห่งอาสวะทั้ง ๔ นี้ว่า

ปญฺจกามคุณิโก ราโค กามาสโว นาม ฯ

ความติดใจใคร่ได้ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามาสวะ
รูปารูป ภเวสุ ฉนฺทราโค ฌานนิกนฺติ สสฺสตทิฏฺฐิ สหชาโต ราโค ภววเสน ปตฺถนา ภวาสโว นาม ฯ
ความชอบใจรักใคร่ในรูปภพ อรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะที่เกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ
ความปรารถนาด้วยอำนาจมุ่งภพ ชื่อว่า ภวาสวะ
ทฺวาสฏฺฐีทิฏฺฐิโย ทิฏฺฐาสโว นาม ฯ ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏฐาสวะ
อฏฺฐสุ ฐาเนสุ อญฺญานํ อวิชฺชาสโว นาม ฯ

ความไม่รู้ในฐาน ๘ ชื่อว่า อวิชชาสวะ ไม่รู้ในฐาน ๘ คือ ไม่รู้อริยสัจ ๔, ไม่รู้อดีต ๑,
ไม่รู้อนาคต ๑, ไม่รู้ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ๑, และไม่รู้ปฏิจจสมุปปาท ๑

กามาสโว อนาคามิมคฺเคน ปหียตี ภวาสโว อรหตฺตมคฺเคน ทิฏฺฐาสโว
โสตาปตฺติมคฺเคน อวิชฺชาสโว อรหตฺตมคฺเคน ฯ


อนาคามิมัคค ประหาร กามาสวะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภวาสวะ
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐาสวะ
อรหัตตมัคค ประหาร อวิชชาสวะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๒ โอฆะ ๔

อวตฺถริตฺวา หนนฺตีติ โอฆา ฯ

ธรรมชาติใดย่อมท่วมทับเบียดเบียนสัตว์ ทั้งหลาย ธรรมชาตินั้นชื่อว่า โอฆะ คือ ห้วงน้ำ

อวหนนฺติ โอสีทาเปนฺตีติ โอฆา ฯ

ธรรมเหล่าใดทำให้สัตว์ทั้งหลายจมลง ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า โอฆะ

โอฆะ มีความหมายว่า เป็นอ่าว หรือเป็นห้วงน้ำ และเป็นห้วงน้ำที่ไหลวน มีลักษณะที่ดูดสัตว์ให้จมลง
สู่ที่ต่ำ กล่าวโดยภูมิ และกล่าวโดยจิตก็เป็นไปในทำนอง เดียวกับอาสวะ กล่าวคือ จมอยู่ในระหว่าง
อบายถึงพรหม จนกว่าจะว่ายแหวกไปถึง โคตรภูญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


โอฆะ มี ๔ ประการ คือ

๑. กาโมฆะ ห้วงแห่งกาม พาให้สัตว์จมอยู่ในกามคุณทั้ง ๕
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภโวฆะ ห้วงแห่งภพ พาให้สัตว์จมอยู่ในความยินดีต่ออัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจอยากได้
รูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิคต วิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏโฐฆะ ห้วงแห่งความเห็นผิด พาให้สัตว์จมอยู่ในความเห็นผิดจาก ความเป็นจริงของสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตต จิต ๔
๔. อวิชโชฆะ ห้วงแห่งความหลง พาให้สัตว์ลุ่มหลงจมอยู่ในความไม่รู้เหตุ ผลตามความเป็นจริงจึง
โลภ โกรธ หลง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสล จิต ๑๒

รวมโอฆะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ โมหเจตสิก (เท่ากันและ
เหมือนกันกับองค์ธรรมของอาสวะ)
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏโฐฆะ
อนาคามิมัคค ประหาร กาโมฆะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภโวฆะ และอวิชโชฆะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๓ โยคะ ๔

วฏฺฏสฺสมึ สตฺเต โยเชนฺตีติ โยคา ฯ ธรรมที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏ ทุกข์ (คือภพต่าง ๆ)
นั้นชื่อว่า โยคะ
โยคะ หมายความว่า เครื่องประกอบ ทำหน้าที่ประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ใน สังสารทุกข์ เหมือนตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้
อีกนัยหนึ่งหมายความว่า ประกอบสัตว์ให้ติดแน่นในสังสารวัฏฏเหมือนติดไว้ ด้วยกาว ยากแก่การที่จะถอนให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร

โยคะ มี ๔ ประการ คือ

๑. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับกามคุณ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภ มูลจิต ๘
๒. ภวโยคะ ตึงให้ติดอยู่กับความยินดีในอัตภาพของตน ตลอดจนชอบใจ ในรูปภพ อรูปภพ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความเห็นผิดจากความเป็นจริงของสภาวธรรม
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็น จริง จึงโลภ โกรธ หลง
องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมโยคะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ โมหเจตสิก
(เท่ากันและเหมือนกันกับองค์ธรรมของ อาสวะ และของโอฆะ)

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิโยคะ
อนาคามิมัคค ประหาร กามโยคะ
อรหัตตมัคค ประหาร ภวโยคะ และ อวิชชาโยคะ
อนึ่ง อาสวะ โอฆะ โยคะ ทั้ง ๓ กองที่กล่าวแล้วนี้ แต่ละกองก็มีธรรม ๔ ประการเท่ากัน
ชื่อของธรรมก็เหมือนกันคือ มี กาม ภวะ ทิฏฐิ อวิชชา และ องค์ธรรมก็มี ๓ เท่ากันและเหมือนกัน
คือ โลภะ ทิฏฐิ โมหะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๔ คันถะ ๔

กาเยน กายํ คนฺเถนฺตีติ กายคนฺถา ฯ ธรรมเหล่าใดผูก คือเกี่ยวคล้องไว้ ระหว่างนามกายใน
รูปกายปัจจุบันภพ กับนามกายรูปกายในอนาคตภพ ธรรมเหล่า นั้นชื่อว่า กายคันถะ
คนฺถ กรณํ สงฺขลิก จกฺกลกานํ วิย ปฏิพนฺตา กรณํ วา คนฺถนํ คนฺโถ ฯ การร้อยรัดหรือผูกพันให้ติด
อยู่ประดุจจะโซ่เหล็กนั้น ชื่อว่า คันถะ

คันถะ มีความหมายว่า ผูกมัดหรือทำให้เป็นปม อีกนัยหนึ่งหมายความว่า เป็นห่วงที่ร้อยรัดไว้ในระหว่าง จุติ-ปฏิสนธิ ให้เกิดก่อต่อเนื่องกันไม่ให้พ้นไปจาก วัฏฏทุกข์ได้
คันถะ มี ๔ ประการ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความยินดี ชอบใจ อยากได้ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
อภิชฌา ที่เป็นคันถะนี้แตกต่างกับอภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต คือ
อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริตนั้น เป็นโลภะอย่างหยาบ มีสภาพอยากได้ทรัพย์ สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของ
ตนโดยไม่ชอบธรรม
ส่วนอภิชฌาที่เป็นคันถะนี้ เป็นได้ทั้งโลภะอย่างหยาบ และอย่างละเอียดทั้ง หมดที่เกี่ยวกับความอยากได้ ความชอบใจในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น หรือแม้ของ ตนเอง จะโดยชอบธรรมก็ตาม ไม่ชอบธรรมก็ตาม จัดเป็นอภิชฌากายคันถะทั้งสิ้น
๒. พยาปาทกายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความโกรธ จะถึงกับคิดปองร้ายด้วย หรือไม่ก็ตาม องค์ธรรมได้แก่
โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
พยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ แตกต่างกับพยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต คือ
พยาปาทที่เป็นมโนทุจจริต ได้แก่ โทสะอย่างหยาบ เกี่ยวกับการปองร้ายผู้อื่น ตลอดจนการนึกคิด
ให้เขามีความลำบาก เสียหายต่าง ๆ หรือนึกแช่งผู้อื่นที่เขา ไม่ชอบนั้นให้ถึงแก่ความตาย
ส่วนพยาปาท ที่เป็นคันถะนี้ ได้แก่ โทสะอย่างหยาบก็ตาม อย่างละเอียด ก็ตาม คือ ความไม่ชอบใจ
ไม่พอใจ โกรธ เกลียด กลัว กลุ้มใจ เสียใจ ตลอดไปจน ถึงการทำปาณาติบาต ผรุสวาท เหล่านี้ จัดเป็นพยาปาทกายคันถะทั้งสิ้น
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด ว่าปฏิบัติอย่างนี้แหละ
เป็นทางให้พ้นทุกข์ โดยเข้าใจว่าเป็นการถูกต้องแล้วชอบแล้ว แต่ถ้าหากว่ามีผู้รู้แนะนำสั่งสอนทางที่ถูกต้องให้ ก็สามารถกลับใจได้ จึงเปรียบไว้ว่า เป็นทิฏฐิชั้นลูกศิษย์ พอจะแก้ให้ถูกได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคต สัมปยุตตจิต ๔
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด แต่ว่ารุนแรงมั่นคงแน่ว
แน่มากกว่าในข้อ ๓ นอกจากนั้นแล้วยังดูหมิ่นและเหยียบย่ำ ทับถมวาทะ หรือมติของผู้อื่นด้วย ถึงแม้ว่าจะมีผู้รู้มาชี้แจงแสดงเหตุผลในทางที่ถูก ที่ชอบประการใด ๆ ก็ไม่ยอมกลับใจได้เลย จึงมีข้อเปรียบไว้ว่าเป็นทิฏฐิชั้นอาจารย์ เพราะไม่สามารถที่จะแก้มาในทางที่ชอบได้ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตต ๔

รวมคันถะมี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๓ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก (จำนวน ๓ เท่ากัน แต่องค์ธรรมไม่เหมือนกันกับของ อาสวะ โอฆะ โยคะ)
โสดาปัตติมัคค ประหาร สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และ อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
อนาคามิมัคค ประหาร พยาปาทกายคันถะ
อรหัตตมัคค ประหาร อภิชฌากายคันถะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๕ อุปาทาน ๔

อุปาทาน = อุป (มั่น) + อทาน( ยึด) = ยึดมั่น
อุปาทียนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้นธรรม เหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คณฺหนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดยึดถือ อย่างแรงกล้า(คือถือไว้ไม่ปล่อย) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน
ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้
อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้วนั้นโดยไม่ยอมปล่อย

อีกนัยหนึ่ง ตัณหา คือ ความชอบใจต้องการอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือ ความติดใจในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดถึงอยู่เสมอ

ตัณหา เปรียบไว้ว่าเหมือนต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วน อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ถอนยาก เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว

อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน
โลภมูลจิต ๘
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ และ ทิฏฐิ ๖๒ (ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นข้อ ๓ และ ข้อ ๔) องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และ สุนัข เป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจาก มัชฌิมาปฏิปทา การยึดมั่นในการ ปฏิบัติที่ผิดเช่นนี้ บางทีก็เรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน หรือว่ามีตัว มีตนอยู่ในเบ็ญจขันธ์ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
รวมอุปาทาน มี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๒ คือ โลภเจตสิก และ ทิฏฐิเจตสิก
โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน
อรหัตตมัคค ประหาร กามุปาทาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุศลสังคหะกองที่ ๖ นิวรณ์ ๖

ฌานาทิกํ นิวาเรนฺตีติ นิวรณานิฯ ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุสลธรรม มีฌาน เป็นต้นไม่ให้เกิดขึ้น
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ์
มีความหมายว่า นิวรณ์ เป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดีเป็นเครื่องกั้น เครื่องห้ามไม่ให้ ฌาน มัคค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้

นิวรณ์ มี ๖ ประการ คือ
๑. กามฉันทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์ เมื่อชอบใจและต้องการ
แต่ในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะทำ ความดี มีฌานและมัคคผลเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. พยาปาทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์ เมื่อจิตใจ มีแต่ความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการกระทำความดี มี ฌานเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์ เมื่อจิตใจ หดหู่ท้อถอยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะ กระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เมื่อจิตใจ เป็นดังนี้ ก็ย่อมขาดความ
สุขใจในอันที่จะกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจ เจตสิก กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดความ ลังเลสงสัยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิจารในอันที่จะพินิจพิจารณาในการกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑
๖. อวิชชานิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่รู้ มีการทำให้หลงลืม ก็ย่อมขาด สติ ไม่ระลึกถึงความดีที่ตนจะกระทำ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมนิวรณ์ มี ๖ แต่องค์ธรรมมีถึง ๘ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก และ โมหเจตสิก

ถีนมิทธนิวรณ์ นี้ เป็นเจตสิก ๒ ดวงคือ ถีนเจตสิก ดวงหนึ่ง และ มิทธเจตสิก อีกดวงหนึ่ง แต่เมื่อจัด
เป็นนิวรณ์นับเป็นนิวรณ์เดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถีนก็ดี มิทธก็ดี เมื่อว่าโดยกิจ คือ หน้าที่การงาน ก็มีหน้าที่ทำให้จิตหดหู่ ท้อถอยต่อ อารมณ์ ไม่จับอารมณ์ ไม่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เมื่อว่าโดยอาการ คือเหตุ ก็เป็นเหตุ ให้เกียจคร้าน เมื่อว่าโดยวิโรธปัจจัย คือข้าศึก ก็เป็นปฏิปักษ์กับวิริยะ เหมือน ๆ กัน ดังนั้นจึงจัด เป็นนิวรณ์เดียวกัน

อุทธัจจะ และ กุกกุจจะ ที่จัดเป็นนิวรณเดียว ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ว่าโดยกิจ ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕ ประการ ว่าโดยวิโรธปัจจัย ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ ถ้าไม่สงบ ก็ไม่เป็นสุข ต่อเมื่อสงบก็เป็นสุข เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เอกัคคตา คือการตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่แน่ว ก็เรียกว่า สมาธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


พยสนะ ๕ ประการ เรียกว่า วิบัติ ๕ ก็ได้นั้น ได้แก่
ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ โภคพฺยสน ความพินาศไปแห่งทรัพย์สมบัติ
โรคพฺยสน โรคภัยเบียดเบียน สีลพฺยสน ความทุสีล เสื่อมสีล สิกขาบทที่รักษาอยู่นั้นขาดไป
ทิฏฐิพฺยสน ความเห็นผิด ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป
ในการเจริญสมถภาวนา ข่มนิวรณ์เพียง ๕ ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕ ไว้ได้ โดยวิขัมภนปหาน
ก็สามารถถึงฌานได้

ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา ต้องประหารนิวรณ์ทั้ง ๖ ประการ โดย สมุจเฉทปหาน
จึงจะบรรลุมัคคผล
โสดาปัตติมัคค ประหาร วิจิกิจฉานิวรณ์
อนาคามิมัคค ประหาร กามฉันทนิวรณ์ กุกกุจจนิวรณ์และพยาปาทนิวรณ์
อรหัตตมัคค ประหาร นิวรณ์ที่เหลือนั้นได้หมดเลย
อนึ่ง ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า ถีนมิทธเจตสิก นั้นเป็นนิวรณ์ เป็น กิเลส แต่ ถีนมิทธ
ที่เป็นธรรมประจำกาย นั้น ไม่ใช่นิวรณ์และไม่เป็นกิเลส

กายานุคตธรรม ธรรมประจำกายนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ๑. สีต เย็น , ๒. อุณฺห ร้อน, ๓. ชิฆจฺฉา หิว,
๔. ปิปาส กระหาย, ๕. อุจฺจาร ถ่ายหนัก, ๖. ปสฺสาว ถ่ายเบา, ๗. ถีนมิทฺธ การหลับนอน, ๘. ชรา แก่, ๙. พยาธิ เจ็บไข้ได้ป่วย, ๑๐.มรณ ตาย
อกุสลสังคหะ ๙ กองนั้น ได้กล่าวมาแล้ว ๖ กอง ยังเหลืออีก ๓ กอง มีคาถาสังคหะที่ ๓ แสดงว่า

๓. ฉเฬวานุสยา โหนติ นว สญฺโญชนา มตา
กิเลสา ทส วุตฺโตยํ นวธา ปาปสงฺคโห ฯ


แปลความว่า อนุสัย มี ( องค์ธรรม ) ๖ สังโยชน์ มี ( องค์ธรรม ) ๙ เท่านั้น กิเลสคง มี ( องค์ธรรม ) ๑๐
อกุสลสังคหะย่อมมี ๙ กองฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๗ อนุสัย ๗

สนฺตาเน อนุ อนุ เสนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดที่ตามนอนเนื่องอยู่ใน สันดานเป็นเนืองนิจ
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย
จิตฺตสนฺตาเน นิทหิตฺวา ว ฯ ฝากไว้ในจิตตสันดานนั่นเทียว
อนุรูปํ การณํ ลภิตฺวา เสนฺติ อุปฺปชฺชนฺตีติ อนุสยา ฯ ธรรมเหล่าใดเมื่อได้ เหตุอันสมควรแล้ว ย่อม
เกิดขึ้นได้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย
รวมความว่า อนุสัย หมายถึงกิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิตต สันดานของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นประจำ ต่อเมื่อใดได้เหตุอันสมควรแล้ว ก็ปรากฏขึ้น เมื่อนั้น

อนุสัย มี ๗ ประการ คือ

๑. กามราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภ เจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวราคานุสัย สันดานที่ชอบใจในอัตภาพของตนและชอบใจในรูปภพ อรูปภพ องค์ธรรมได้แก่
โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๓. ปฏิฆานุสัย สันดานที่โกรธเคือง ไม่ชอบใจในอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
๔. มานานุสัย สันดานที่ทะนงตน ถือตัว ไม่ยอมลงให้แก่ใคร องค์ธรรม ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
๕. ทิฏฐานุสัย สันดานที่มีความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
๖. วิจิกิจฉานุสัย สันดานที่ลังเลและสงสัยไม่แน่ใจ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉา เจตสิก ที่ใน
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
๗. อวิชชานุสัย สันดานที่มีความลุ่มหลงมัวเมา เพราะไม่รู้เหตุผลตามความ เป็นจริง องค์ธรรมได้แก่โมหเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมอนุสัย มี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๖ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก
ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก และ โมหเจตสิก

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย
อนาคามิมัคค ประหาร กามราคานุสัย และ ปฏิฆานุสัย
อรหัตตมัคค ประหาร อนุสัยที่เหลือนั้นทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุสลสังคหะกองที่ ๘ สังโยชน ๑๐

สํโยเชนฺติ พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน์
ทูรคตสฺสาปี อากฑฺฒนโต นิสฺสริตุํ อปฺปทานวเสน พนฺธนํ สํโยชนํ ฯ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์
ด้วยอำนาจไม่ให้ออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะ โดยเหตุ ที่คร่าหรือดึงสัตว์ที่อยู่ในที่ไกลให้ลงมา นั้นชื่อว่า สังโยชน์ สัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือก คือ สังโยชน ผูกคอไว้ในกามคุณทั้ง ๕ ซึ่งเปรียบ ด้วยเรือนจำ
จึงไม่สามารถที่จะไปไหนได้เลย
สังโยชน์ หรือ สัญโญชน์ มี ๒ นัย คือ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ ตามนัยแห่งพระสูตร
ต่างก็มีจำนวนนัยละ ๑๐ ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

๑. กามราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. ภวราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๓. ปฏิฆสังโยชน์ = โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๔. มานสังโยชน์ = มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๕. ทิฏฐิสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์ = วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต

๘. อิสสาสังโยชน์ = อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๙. มัจฉริยสังโยชน์ = มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์ = โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

สังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตร

๑. กามราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. รูปราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๓. อรูปราคสังโยชน์ = โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๔. ปฏิฆสังโยชน์ = โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒

๕. มานสังโยชน์ = มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔

๖. ทิฏฐิสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ = ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔

๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ = วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต

๙. อุทธัจจสังโยชน์ = อุทธัจจเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

๑๐. อวิชชาสังโยชน์ = โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระอภิธรรม มีองค์ธรรม ๘ คือ
โลภเจตสิก, โทสเจตสิก, มานเจตสิก, ทิฏฐิเจตสิก, วิจิกิจฉาเจตสิก
อิสสาเจตสิก, มัจฉริยเจตสิก และ, โมหเจตสิก

รวมสังโยชน์ตามนัยแห่งพระสูตรนั้นมี องค์ธรรมเพียง ๗ คือ
โลภเจตสิก , โทสเจตสิก, มานเจตสิก, ทิฏฐิเจตสิก
วิจิกิจฉาเจตสิก, อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก

เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน์ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม และตามนัยแห่ง พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว ก็ได้
องค์ธรรม ๙ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก
ดังนั้นจึงกล่าวว่า สังโยชน์ มี ๑๐ ประการ รวมมีองค์ธรรม ๙

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8166


 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน์นี้ ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ และ อุทธังภาคิยสังโยชน์
โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ
อุทธังภาคิยสังโยชน์ หมายความว่า สังโยชน์อันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๗
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา
อิสสา
มัจฉริยะ
อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๓
ภวราคะ
มานะ
อวิชชา

ตามนัยแห่งพระสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
กามราคะ
ปฏิฆะ
ทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาส
วิจิกิจฉา
อุทธังภาคิยสังโยชน์ ๕
รูปราคะ
อรูปราคะ
มานะ
อุทธัจจะ
อวิชชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 122 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร