วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ย. 2024, 08:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-1988.jpg
Image-1988.jpg [ 53.48 KiB | เปิดดู 15815 ครั้ง ]
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ
แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

๑. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา
เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรม
จึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ
ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ),
เรื่องเจตสิก, เรื่องอำนาจจิต, เรื่องวิถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม,
เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส
ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร
มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ
ไปได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า
ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม
ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

๓. ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม
หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่า
ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป
ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น
แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย
สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์
หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้
เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4652.jpg
Image-4652.jpg [ 54.11 KiB | เปิดดู 15815 ครั้ง ]
๔. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง
อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน
นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น
เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป
ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง
จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง
และเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะ
และเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา
เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุด
ในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก
ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด
คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก)
และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย
เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนำไปสู่
การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้
นามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์
ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ
๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด
ไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลก
เท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้
ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุค่ะลุง

ความรู้จากปริยัติทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจเรื่องรูปนาม สามารถแยกรูปแยกนามได้
เพื่อเป็นบาทแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

:b47: :b47: :b47:

ในขณะความเข้าใจพระธรรมเกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่โลภะค่ะ

ในการศึกษาพระอภิธรรมนั้นหากมีความเข้าใจแล้ว ขณะนั้นเกิดมหากุศลที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยค่ะ

แต่ขณะอื่นต่อไป จะเป็นโลภะนั้นเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะต้องมีความอยากที่จะไปรู้เป็นธรรมดาค่ะ

และเมื่อฟังแล้วเกิดความเข้าใจขณะนั้นเกิดมหากุศลค่ะ เป็นฉันทะเกิดร่วมกับกุศลแล้วค่ะ

มหากุศลจิต8 และโลภมูลจิต8 มีเวทนาที่เป็นโสมนัสและอุเบกขา เหมือนกันก็จริง

แต่หากมีความเข้าใจในพระธรรมเมื่อไร เมื่อนั้นไม่ใช่โลภะแน่นอนค่ะ

เพราะปัญญาไม่สามารถประกอบกับอกุศลจิตได้ค่ะ ปัญญาต้องประกอบกับโสภณจิตค่ะ



ขอบพระคุณค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2013, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2013, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-6942.jpg
Image-6942.jpg [ 73.51 KiB | เปิดดู 15815 ครั้ง ]
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรม
* จะทราบว่า หลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ในพระพุทธศาสนาคืออะไร
และหัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
* จะเข้าใจธรรมชาติของร่างกายและจิตใจ ที่รวมกันเป็นชีวิตหรือขันธ์ 5
อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน
ว่าแท้จริงแล้ว เป็นแค่เพียงสถาวะที่ปรากฏเกิดขึ้น
ตามเหตุตามปัจจัย ที่ปรุงเเต่งขึ้นมาเท่านั้น มิใช่สัตว์ มิใช่เป็นบุคคล
มิใช่เป็นเรา มิใช่เป็นเขา ตามที่หลงผิดกัน
* จะมีความเข้าใจ เรื่องของบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรมอย่างชัดเจน
* จะตัดสินได้ด้วยตนเอง ว่าอะไรเป็น ''บุญ'' อะไรเป็น ''บาป''
* จะมีความเข้าใจในเรื่อง ของการทำบุญมากขึ้น รู้ว่าจะต้องทำบุญอย่างไรจึงจะได้รับอานิสงส์สูงสุด
* จะทราบว่าบุญบาปที่ทำไปแล้ว กลับมาส่งผลได้อย่างไร ทำไมเราจึงเกิดมาแตกต่างกัน
* จะทราบว่าตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ อยู่ที่ไหน
* จะเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม (วิบาก) เป็นอย่างดี
* จะเข้าใจเรื่องการทำสมาธิและ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง
* จะเข้าใจเรื่อง มรรค ผล นิพพาน อย่างถ่องแท้
* จะได้รับความรู้ในสาระอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตมากมาย ฯลฯ
ที่มา : ระเบียบการการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9561.jpg
Image-9561.jpg [ 65 KiB | เปิดดู 15815 ครั้ง ]
ปริยัติศาสนาย่อมเป็นส่วนสำคัญยิ่งประการหนึ่ง ในอันที่จรรย์โลงพระพุทธศาสนา
ให้สถิตเสถียรถาวรเจริยรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตกาล
นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นต้นมา
ถ้าพระเถรานุเถระทั้งหลายไม่สนใจในการศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นพุทธวจนะ
และอรรถกถาสืบต่อกันมาแล้วพระพุทธศาสนาก็ไม่อาจสืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้

ถ้าการณ์ ? ดังนั้นแล้ว บรรดาประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในภาย
หลังจากพุทธปรินิพพานแล้วมา ก็ไม่อาจรู้จักพระพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมะ
ในพระพุทธศาสนา เมื่อไม่ได้ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ย่อมจะหันไปนิยมนับถือลัทธิต่างๆ
อันมิใช่พระพุทธศาสนา ซึ่งจะกระทำให้วัฏฏะของบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีที่สิ้นสุด
อันเป็นที่น่าสงสารน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้น

การศึกษาเล่าเรียน อันได้แก่ปริยัติศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งนัก และการศึกษาเล่าเรียนนี้
ถ้าหากจะมีการศึกษาเล่าเรียนกันเฉพาะแต่การท่องจำภาษาบาลีล้วนๆ ไม่ได้ทำการแปลพระไตรปิฎก
และอรรถกถาให้เป็นภาษาพื้นเมืองอย่างสมบูรณ์แล้ว ปริยัติศาสนาก็ไม่อาจขยายให้กว้างขวาง
ออกไปได้ การศึกษาเล่าเรียนนั้นก็ย่อมเป็นที่รู้กันโดยเฉพาะแต่ในคนหมู่หนึ่ง
ซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้ก็เพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น แล้วก็จะเสื่อมสิ้นสูญไป

ความหวังที่จะให้พุทธศาสนาได้แผ่ขยายให้กว้างออกไป และให้เจริญยั่งยืนอยู่ตลอดกาลนาน
เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังๆนั้น ก็ย่อมเป็นความหวังที่ยากจะสำเร็จได้ แต่ถ้าได้รจนาปกรณ์ต่างๆ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาออกมาเป็นภาษาพื้นเมืองโดยถูกต้องสมบูรณ์
เพื่อให้ได้ศึกษากันในหมู่ชุมนุมชนโดยทั่วไปแล้วการศึกษาเล่าเรียนก็ย่อม
จะขยายวงกว้างออกไปทุกที่ กระทำให้ประชาชนทั้งหลาย ได้ทราบถึงธรรมรสและอรรถรส
ในพระพุทธศาสนาแพร่หลายยิ่งขึ้น ซึ่งจะมั่นใจได้ว่า พระพุทธจะเจริญยั่งยืนถาวรอยู่ตลอดกาลนาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สาูธุค่ะลุง
ในขณะที่กำลังศึกษานั้น มีความเข้าใจเกิดขึ้น นั่นคือมีการภาวนาเกิดขึ้นแล้วคือ
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่งเรียนนี้มีการเดินงานในสติปัฏฐานสี่ในหมวดธรรมานุปัสสนา
ดังนั้นการเรียนไม่ได้ทำให้เกิดเสียเวลาในภาคปฏิบัติ เพราะขณะนั้นก็มีการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ในตัว
ในหมวดที่ยากสุดด้วยค่ะ

และมีการกระทำครบทั้ง 3 ทวารในขณะที่เรียนคือ มีการถามตอบระหว่างผู้สอนและผู้ศึกษา
และอยู่ในบารมี10 ด้วยค่ะ คือ
-เนกขัมมบารมี มีการสละเรือนออกไปปฏิบัติ
ในบุญกิริยาวัตถุ10 คือ
-ธรรมสวนะ
-ธรรมเทศนาในบางครั้งที่มีเพื่อนๆ ถามในเรื่องที่เค้าไม่เข้าใจกับเราๆ ก็ได้อธิบาย
-ในขณะที่นั่งเรียนนั้นไม่มีการผิดศีลใดๆ เกิดขึ้น
- ธรรมเทศนากับธรรมสวนะ ในขณะนั้นเกิดทานขึ้นคือ วิรติทาน
จึงจัดธรรมเทศนากับธรรมสวนะ เข้าในทานด้วยค่ะ
-ทิฏฐุชุกัมม การทำความเห็นให้ตรงกับความจริง คือ ปัญญา
ขณะที่ท่านไปนั่งเรียนนั้น ทาน ศีล ภาวนา ครบและกุศลที่เกิดจากการพิจารณาธรรมขณะที่เรียนนั้น
แล้วเข้าใจ มีอานิสงส์มากสูงสุด และมีกำลังแรงมากในขณะที่มีการเดินงานครบ 3 ทวาร มีกำลังแรงมาก
และอาจจะสามารถส่งผลเป็นนิมิตเมื่อใกล้จะตายได้ค่ะเพราะเป็นปกตูปนิสสยชาติมีกำลังแรง และนำเกิดได้ในสุคติภูมิได้ในชาติต่อไปค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
สาูธุค่ะลุง
ในขณะที่กำลังศึกษานั้น มีความเข้าใจเกิดขึ้น นั่นคือมีการภาวนาเกิดขึ้นแล้วคือ
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่งเรียนนี้มีการเดินงานในสติปัฏฐานสี่ในหมวดธรรมานุปัสสนา
ดังนั้นการเรียนไม่ได้ทำให้เกิดเสียเวลาในภาคปฏิบัติ เพราะขณะนั้นก็มีการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ในตัว
ในหมวดที่ยากสุดด้วยค่ะ

และมีการกระทำครบทั้ง 3 ทวารในขณะที่เรียนคือ มีการถามตอบระหว่างผู้สอนและผู้ศึกษา
และอยู่ในบารมี10 ด้วยค่ะ คือ
-เนกขัมมบารมี มีการสละเรือนออกไปปฏิบัติ
ในบุญกิริยาวัตถุ10 คือ
-ธรรมสวนะ
-ธรรมเทศนาในบางครั้งที่มีเพื่อนๆ ถามในเรื่องที่เค้าไม่เข้าใจกับเราๆ ก็ได้อธิบาย
-ในขณะที่นั่งเรียนนั้นไม่มีการผิดศีลใดๆ เกิดขึ้น
- ธรรมเทศนากับธรรมสวนะ ในขณะนั้นเกิดทานขึ้นคือ วิรติทาน
จึงจัดธรรมเทศนากับธรรมสวนะ เข้าในทานด้วยค่ะ
-ทิฏฐุชุกัมม การทำความเห็นให้ตรงกับความจริง คือ ปัญญา
ขณะที่ท่านไปนั่งเรียนนั้น ทาน ศีล ภาวนา ครบและกุศลที่เกิดจากการพิจารณาธรรมขณะที่เรียนนั้น
แล้วเข้าใจ มีอานิสงส์มากสูงสุด และมีกำลังแรงมากในขณะที่มีการเดินงานครบ 3 ทวาร มีกำลังแรงมาก
และอาจจะสามารถส่งผลเป็นนิมิตเมื่อใกล้จะตายได้ค่ะเพราะเป็นปกตูปนิสสยชาติมีกำลังแรง และนำเกิดได้ในสุคติภูมิได้ในชาติต่อไปค่ะ

เป็นการคิดที่แจ่มแจ๋วมาก..
ฟังไปเถอะ คิดไปเถอะ เรียนไปเถอะ อาจจะเป็นหนึ่งเหมือนในสมัยพุทธกาล

เรื่องราวในสมัยพุทธกาลก็เกิดขึ้นมาแล้วที่เราเคยได้ฟังเคยได้อ่าน
สาวกทั้งหลายได้การฟังธรรมแล้ว โดยการยกจิตตรึกตรองตามธรรมคำสอน
ที่พระองค์แสดง ซึ่งเป็นการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนา คือพิจารณารูปนาม
เห็นความเป็นจริง ตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ จิตของสาวกนั้นก็หลุดพ้นก้าวเข้าสู่วิมุต

อย่าไปมองว่าการศึกษาปริยัติ เป็นการศึกษาเพียงตำรา เป็นการท่องจำ
อย่ามองข้ามคำสอนของพระองค์ว่าเป็นเพียงปริยัติ ถ้าไม่ดี มีประโยชน์ต่อสัตว์โลก
พระองค์ก็คงไม่บัญญัติขึ้นมาเพื่อให้ได้ศึกษากัน ดังจะเห็นได้จากพระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็ยังไม่สามารถที่จะบัญญัติคำสอนได้ การที่เราจะศึกษาปริยัติได้นั้น
ก็จะมีแต่ในขณะที่พระพุทธศาสนายังไม่สิ้นไป
ฉะนั้นเราโชคดีแล้วที่ได้ศึกษาปริยัติของพระองค์ ก่อนที่คำสอนจะเสื่อมสูญสิ้นไป

แท้จริงแล้วการจะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องมาจากการศึกษาที่ถูกต้อง
คำสอนของพระพุทธองค์เป็นเหตุเป็ผลกันเสมอ
การศึกษาปริยัติเป็นเหตุที่ถูกต้อง การปฏิบัติจะเป็นผลที่ถูกต้อง
การปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นเหตุ จะทำให้ผลของปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ ปฏิเวธที่ถูกต้อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-2133.jpg
Image-2133.jpg [ 189.51 KiB | เปิดดู 15815 ครั้ง ]
คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นประโยชน์เพื่อ ๓ อย่าง คือ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อแสดงขั้นตอนความรู้ในคำสอน

๑. ปริยัติ ได้แก่ ธรรม และวินัย ที่พระองค์ทรงประกาศไว้ตลอดเวลาที่ทรงเผยแผ่
พระศาสนาอยู ๔๕ พรรษา ต่อมาหลังจากที่พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
ก็ถูกรวมรวมไว้เป็นตำรา หรือคัมภีร์ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า พระไตรปิฎก เป็นต้น
เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ เพื่อนำไปใช้เป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติตาม
เพื่อประโยชน์ที่ต้องการนั้นๆ

๒. ปฏิบัติ เป็นการทำศีล สมาธิ ปัญญา ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ที่เกิดแล้วก็ทำให้ตั้งมั่น หรือให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
คือ ปฏิบัติให้เพิ่มพูนตามแบบแผนที่เรียนมาอันเป็นส่วนของปริยัติ
เพื่อประโยชน์แก่การสิ้นทุกข์

๓. ปฏิเวธ คือการแทงตลอดธรรมที่ควรแทงตลอดธรรม ๙ อย่าง
หรือเรียกว่าโลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้
ชื่อว่าธรรมที่ควรแทงตลอด ก็ผู้ใดแทงตลอดผู้นั้นย่อมทำทุกข์ให้สิ้นไป เรียกว่าความสำเร็จมา
จากการปฏิบัติที่ถูกต้อง

คำสอนทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นเหตุเป็นผลที่ถูกต้อง ปฏิเวธที่ถูกต้องนั้น
จะมีไม่ได้เลยถ้าหากขาดปริยัติที่ถูกต้อง ขาดปฏิบัติที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้นย่อมกล่าวได้ว่าปฏิบัติเป็นผลมาจากปริยัติที่ได้เรียนไว้ดีแล้ว คือมีปริยัติเป็นเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2013, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยัติ เปรียบเหมือนแผนที่ลายแทง
ผู้แสวงหาขุมทรัพย์ก็ต้องศึกษาให้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง
ก่อนที่จะออกเดินทางแสวงหาขุมทรัพย์
ปฏิบัติ เปรียบเหมือนการเดินทางแสวงหาขุมทรัพย์
ตามแผนที่ลายแทงนั้นตามที่ตนมีอยู่
ปฏิเวธ เปรียบเหมือนการพบขุมทรัพย์ ฉะนี้แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่กล่าวว่าปริยัติศาสนาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ก็เพราะพระสัมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาไว้ในปัญจังคุตตรพระบาลีว่า
ปญฺจิเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ, กตเม ปญฺจ ?
๑. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขู สกฺกจฺจํ ธมฺมํ สุณนฺติ
๒. สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ปริยาปุณนฺติ
๓. สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ธาเรนฺติ
๔. สกฺกจฺจํ ธาตานํ ธมฺมานํ อตฺถิ อุปปริกฺขนฺติ
๕. สกฺกจฺจํ ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปชฺชนติ ฯ
แปลเป็นใจความว่า ดูก่อนภิษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
คือคำสั่งสอนของตถาคต
อันแก่ปิฎกทั้ง ๓ และอรรถกถา ตั้งมั่นและเจริญรุ่งเรืองไม่สูญหาย ธรรม ๕ ประการนั้นคือ
๑. พระภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้มีความสนใจในการสดับรับฟังจดจำ
พระไตรปิฎกอรรถกถาประการหนึ่ง
๒. มีความสนใจในการศึกษาเล่าเรียน พระไตรปิฎกอรรถกถาประการหนึ่ง
๓. มีความทรงจำข้อธรรมที่สำคัญๆ ในพระไตรปิฎกอรรถกถาไว้ได้ประการหนึ่ง
๔. มีความสนใจพิจารณาเนื้อความข้อธรรมที่สำคัญๆ อันตนทรงจำไว้ได้นั้นว่า
มีความหมายอย่างไร โดยถูกต้องประการหนึ่ง
๕. มีความสนใจหลักปฏิบัติธรรมนั้นๆ เพื่อประสบธรรมรสและอรรถรสประการหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


รวมธรรมทั้ง ๕ ประการนี้แล ที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรม คือคำสั่งสอนของตถาคต
อันได้แก่ปิฎกทั้ง ๓ แลอรรถกถา ตั้งมั่นเจริญรุ่งเรืองไม่สูญหาย ฯ
โดยพุทธวจนะนี้ บรรพชิตและคฤหัสทั้งหลาย เป็นอันรู้ได้ว่า

ถ้าภิกษุทั้งหลายไม่สนใจในการสดับรับฟังพระไตรปิฎกอรรถกถา
มีความสนใจแต่วิชาทางโลก อันจะนำไปสู่การประกอบอาชีพ หรือชื่อเสียงเกียรติยศในทางโลกก็ดี
พระสัทธรรมก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ หรือพระภิกษุสนใจสดับรับฟังพระไตรปิฎกอรรถกถาแต่ไม่สนใจ
ในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกอรรถกถา สนใจแต่การศึกษเล่าเรียนวิชาทางโลกดังกล่าวแล้ว
พระสัทธรรมก็ไม่อาจตั้งมั่นอยู่ได้ หรือพระภิกษุสนใจสดับรับฟังและการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก
อรรถกถา แต่ไม่สนใจข้อธรรมที่สำคัญๆ

ในพระไตรปิฎกอรรถกถาแล้วสนใจแต่วิชาทางโลก พระสัทธรรมก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้
หรือพระภิกษุสนใจสดับรับฟังและศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกอรรถกถา ตลอดจนทรงจำข้อธรรมที่
สำคัญๆ แต่มีความสนใจพิจารณาเนื้อความที่สำคํญๆ อันตนทรงจำไว้ได้นั้น ว่ามีความหมายอย่างไร
โดยถูกต้อง คงมีความสนใจแต่ที่จะพิจารณาเนื้อความของวิชาทางโลก พระสัทธรรมก็ไม่อาจสามารถ
ตั้งอยู่ได้ หรือพระภิกษุสนใจสดับตรับฟัง และศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกอรรถกถา
ตลอดจนทรงจำข้อธรรมที่สำคัญๆ

รวมทั้งมีความสนใจพิจารณาเนื้อความของข้อธรรมที่สำคัญๆ อันตนทรงจำไว้นั้น
ว่ามีความหมายอย่างไรโดยถูต้องแต่ไม่มีความปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นๆ เพื่อประสบธรรมรสและ
อรรถรส คงสนใจปฏิบัติแต่วิชาทางโลก โดยเห็นแต่

ประโยชน์ในอันที่จะประกอบอาชีพ หรือชื่อเสียงเกียรติยศทางโลก พระสัทธรรมก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้
ธรรม ๕ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งมั่นและเจริญรุ่งเรืองได้นี้ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อที่ ๔
เป็นฝ่ายปริยัติ คงเป็นฝ่ายปฏิบัติเพียงข้อ ๕ ข้อเดียว ดังนี้จะเห็นได้ว่าธรรมะทางฝ่ายปริยัติ
มีความสำคัญเพียงใด ส่วนธรรมะที่เป็นฝ่ายปฏิบัติในข้อที่ว่า มีความสนใจปฏิบัติธรรมนั้นมีความหมายอย่างไร การปฏิบัติตามหลักธรรมหมายความว่า ในพระวินัยอันได้แก่การสังวรกาย วาจา
ให้เป็นไปตามปาติโมกข์สังวรศีลนั้นเอง ฝ่ายพระสูตร

พระพุทธองค์ได้แนะนำสั่งสอนว่า การกระทำอย่าใดเป็นกุศลให้ผลเป็นความสุข ก็กระทำตามนั้น
การกระทำอย่างใดเป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ ก็ละการกระทำนั้นเสีย ทางฝ่ายที่เป็นกุศลมีการรักษาศีล ๕
ศีล ๘ และการกระทำตนให้เหมาะสมแก่ฐานะและหน้าที่ เช่น ศิษย์กับอาจารย์ บุตรกับบิดามารดา
สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน คฤหัสกับพรรพชิต นายกับคนใช้ ตลอดทั้งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเทศนา
ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งมีมงคล ๓๘ ประการ
ไม่คบคนพาลคบแต่บัณฑิต และบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นต้น

ในฝ่ายพระอภิธรรม พระพุทธองค์ทรงเทศนาสั่งสอนเพื่อให้พ้นจากความเห็นผิด
มีนิยตมิฉาทิฎฐิ สัสสตทิฎฐิ อุจเฉททิฎฐิ เป็นต้น และให้มีความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรมและผลของกรรมเชื่อนรก สวรรค์ เชื่อการเกิดการตาย
ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามีรูปนามขันธ์ ๕ เท่านั้น เหล่านี้เป็นต้น
ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่านี้ย่อมได้รับธรรมรสและอรรถรส คือในภพนี้กิเลสต่างๆ
จะลดน้อยลงทุจริตก็ย่อมลดน้อยลง จิตใจก็มีความผ่องใสแม้ว่าเกิดอยู่ในฐานะสูงหรือต่ำประการใด
ก็ย่อมมีความสุข นี้เรียกว่าธรรมรสประการหนึ่ง เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมปฏิสนธิในสุคติภูมิ
ซึ่งจะได้รับความสุขในภพนั้น ชื่อว่าได้อรรถรสประการหนึ่ง

ที่มา...พระอภิธรรมโชติกะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่วิชาทางโลกนั้น การที่เราจะมีความรู้ความเข้าใจในวิชาต่างๆ
วิชานี้ วิชานั้น ได้นั้น เราก็ต้องฟังต้องเรียนจากผู้อื่น หรือต้องศึกษาจากตำรามาก่อนทั้งสิ้น
ยกเว้นเฉพาะบุคคลที่ค้นพบหลักการ หรือที่คิดค้นวิชาการนั้นๆ ได้ก่อนเป็นคนแรกเท่านั้น
โดยไม่ต้องฟังจากผู้อื่นหรือศึกษาจากตำราเลย

แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็เช่นนั้นเหมือนกัน ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ทรงค้นพบสัจจธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว
บุคคลที่เหลือนอกนั้นเมื่อจะเข้าถึงสัจจธรรมของสภาวะธรรมเหมือนอย่างพระองค์
เขาต้องเรียนสดับตรับฟังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะเข้าถึงได้

คนเหล่านั้นแม้เรียนแม้ฟังจากสาวกผู้รู้ธรรมทั่งถึงองค์อื่นๆ มีท่านพระสารีบุตรเป็นต้น
ก็ชื่อว่าเรียนหรือฟังคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน เพราะว่าพระองค์ไม่อุบัติขึ้นในโลกก่อน
คำสอนเช่นนี้ก็ไม่ปรากฎ ก็คำสอนที่ต้องเรียนต้องฟังเสียก่อนเหล่านี้แหละเขาเรียกว่าปริยัติ

ก็แต่ว่าเมื่อพระบรมศาสดาดับขันธ์ปรินิพพานไปนานแล้ว
และพระสาวกองค์สำคัญที่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยของพระองค์ มีท่านพระสารีบุตรเป็นต้น
ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถเผยแผ่พระศาสนาให้กว้างขวางเช่นเดียวกับพระศาสดา
ก็ล้วนดับขันธ์ปรินิพพานกันไปหมดแล้ว มิได้มีอายุยืนนานมาจนถึงกาลปัจจุบันอย่างนี้

หากเราจะประสงจะบรรลุธรรมพระสัจจธรรม เพื่อประโยชน์แก่ความพ้นทุกข์ทั้งปวง
เราจะเริ่มต้นจากการเรียนการฟังจากใครเล่า เพราะไม่มีพระศาสดาคอยยืนยันรับรอง
นี้เป็นปัญญหาที่น่าฉุกคิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8172


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ความเห็นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นนามธรรม
เราไม่สามารถที่จะไปสัมผัสทางทวารทั้ง ๕ ได้ คือจะใช้ ตาดู หูฟัง
เพื่อจะให้รู้ว่าท่านเป็นพระอริยะเจ้าผู้รู้ได้ทั่วถึงหรือไม่ประการใด
ข้อนี้ไม่เป็นวิสัยของปุถุชนที่จะพึงรู้ได้ ต้องเป็นพระอริยะเจ้าด้วยกันเท่านจึงจะรู้ได้

ปุถุชนจะรู้ก็เพียงคาดคะเนเอา หรือเชื่อตามคำล่ำลือจากผู้อื่นเท่านั้น
ซึ่งจะหาความแน่นอนไม่ได้พระอริยะเจ้าจริงๆ ย่อมไม่ประกาศความเป็นพระอริยะเจ้า
ของท่านให้ผู้อื่นรู้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยเพราะกิเลสคือความโอ้อวด
หรือความประสงค์จะให้คนยกย่องนับถือท่านได้ถูกละไปหมดแล้ว
ผู้ใดก็ตามเที่ยวประกาศตนว่าเป็นพระอริยะเจ้า เป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระอรหันต์
พึงรู้เถิดว่าท่านผู้นั้นไม่ใช่พระอริยะเจ้าจริง

การเที่ยวแสวงหาให้พบพระอริยะเจ้าเสียก่อน แล้วจึงจะมาฟังธรรมจากท่าน
ด้วยหวังว่าจะฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเรื่องเสียเวลา ทำให้เวลาล่วงเลยไปเปล่าๆ
อย่างไร้ประโยชน์ซึ่งจะเป็นเรื่องมากไปด้วยการคาดคะเนหรือตามคนอื่น
หรือเชื่อตามคนทั้งหลายมากมายเขานับถือกันว่าท่านเป็นพระอริยะเจ้า ก็พลอยเชื่อถือ
ตามเขาไปด้วย คำพูดคำสอนของท่านผู้นั้นก็ไม่มีหลักประกันว่าเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
หรือเปล่าเพราะไม่มีเครื่องมือจะสินเรื่องนี้ได้

เมื่อเป็นดังนี้ บุคคลทั้งหลายจะทำอย่างไรเล่าจะได้ฟังธรรมคำสั่งสอนที่แท้จริงได้ ?
ในกาลก่อนหน้าที่พระองค์จะดับขันธ์ปรินิพพานได้เล็กน้อย
ได้รับสั่งกับพระอานท์ว่า :- " โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต,
โส โว มมจฺจเยน สตฺถา " ซึ่งแปลว่า " ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราแสดงแล้ว
ได้บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาแทนพวกเธอ" ดังนี้

เนื้อความสูตรนี้ น่าจะซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมศาสดา
ที่ทรงมีต่อชาวพุทธบริษัท ผู้ที่เกิดมาภายหลังจะได้ไม่ลังเลสงสัยว่าเราจะฟังธรรมจากผู้ใด
จากใครหนอ พระองค์จึงทรงมอบหลักตัดสินใจในเรื่องนี้ ว่าอย่าพึงยึดติดกับตัวบุคคลเลย
เพราะหาความแน่นอนไม่ได้ ควรยึดถือเอาธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้
และวินัยที่ทรงบัญญัติไว้เป็นหลักไว้ก่อนเถิด ธรรมและวินัยอันนี้แหละ จะตั้งอยู่ในฐานะ
เป็นศาสดาแทนพระองค์เลยที่เดียว จึงควรหนักแนน ควรเคารพในธรรมวินัยเช่นเดียวกับ
ในตัวพระพุทธองค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2013, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยชน์ของการศึกษาคัมภีร์ยมก
(นำมาจากหนังสือ อายตนยมก)

ปกรณ์ที่ชื่อว่า "ยมก" เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องก้าวล่วงวิสัยของพระยายมเสียได้นั้น คำ

ว่า "พระยายม" นั้น ได้แก่ ความตายนี้เอง ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ ท่านโมฆราช ว่า
"ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติระลึุกรู้สึกอยู่ทุกเมื่อ โดยมีการพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งโลกว่าเป็นของ
สูญ ฆ่าอัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นโดยเป็นตัวตนเสียได้แล้ว พึงเป็นผู้ข้ามความตายเสียได้ ด้วยการฆ่า
อัตตานุทิิิิิฏฐิลงเสียนี้ มัจจุราชย่อมไม่เห็นซึ่งบุคคลอันพิจารณาเห็นซึ่งโลกอย่างนี้ เมื่อบุคคลมา
พิจารณาเห็นลงซึ่งโลกโดยเป็นของสูญ ฆ่าอัตตานุทิฏฐิลงเสียได้อย่างนี้ มัจจุราชย่อมไม่แลเห็น คือผู้
นั้นซึ่งข้ามพ้นวิสัยมัจจุราชเสียได้แล้ว"


ตามพุทธดำรัสนี้ชี้ให้ทราบว่า คำว่า "โลกๆ" นั้น พระองค์ทรงมุ่งหมายเอาขันธโลก คือ
อุปาทานขันธ์
อันได้แก่ ร่างกายที่มีใจครอง มีเวทนา สัญญา ของเราท่าน ที่มีความยาวหนึ่งวา
หนาหนึ่งคืบกว้างหนึ่งศอกนี้แหละ มิได้ทรงหมายถึง ดิน ฟ้า อากาศ ภูเขา ต้นไม้ ทะเล มหาสมุทร ที่เป็น
โอกาสโลกแต่ประการใด

เหตุนั้น เมื่อเราท่านได้ทราบความหมายของคำว่า "โลก" อันได้แก่ ขันธ์แล้ว ก็ความ
จะมีความปลื้มใจในการที่ได้มาทำการศึกษาเรื่อง ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่มีอยู่ในยมกปกรณ์ อันมีมูลยมก
เป็นต้นนี้เป็นที่ยิ่ง เพราะเท่ากับได้รับคำสอนจากพระองค์เช่นเดียวกันกับท่านโมฆราช ชื่อว่าได้เป็นผู้
นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นกัลยาณปุถุชน ปุถุชนที่มีความรู้ความเข้าใจในขันธ์ อายตนะ
ธาตุ ตามหลักธรรมคำสอนอย่างถูกถ้วน ตรงข้ามกับอันธปุถุชน ปุถุชนผู้มืดบอด ไม่รู้เรื่องขันธ์ อายตนะ
ธาตุ ที่เป็นปรมัตถธรรมคำสอนของพระองค์ เพียงแต่นับถือตามๆ กันไปตามประเพณีสืบๆ กันมา ฉะนั้น
เป็นอันว่า เราท่านได้ประพฤติเจริญรอยตามท่านโมฆราชได้ส่วนหนึ่งตามหลักของปริยัติ


เนื่องจากในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น ย่อมทราบซึ้งในพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณและพระมหากรุณา
คุณที่พระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมไว้ให้เราท่านทั้งหลายได้ทราบ ทำให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในความ
ตรัสรู้ของพระองค์ เป็นตถาคตโพธิสัทธา เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
จนก้าวล่วงวิจิกิจฉาความสงสัยในคุณพระรัตนตรัย รวมทั้งโมหะความไม่รู้ในเรื่องสัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่ในโลกได้ตามสมควรแก่การศึกษา และเมื่อพิจารณาใคร่ครวญในข้อธรรมนั้นๆ ย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจในปรมัตถธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ของสัตว์ที่กำลังเกิด กำลังตาย เคยเกิด เคยตาย จักเกิด
จักตาย ใน ๓๑ ภูมิ ตามกาลทั้ง ๖ ที่ทรงแสดงไว้ใน "คัมภีร์ยมก" ตามกำลังปัญญาของตนๆ เท่าที่จะ
เข้าใจได้ สามารถช่วยให้พ้นจากอบายภูมิได้บ้าง คือ ในภพที่สอง ส่วนภพที่สามนั้นไม่แน่ แต่ก็ยังเป็น
อุปนิสัยปัจจัยให้พ้นจากทุกข์ได้ในอนาคตด้วยการศึกษา เพราะว่าการศึกษาพระอภิธรรมนั้น เป็นบุญ
ประเภท "ญาณสัมภาระ สั่งสมไว้ซึ่งบุญคือ ปัญญา" ที่จะทำให้ได้มาซึ่งข้อวัตรปฏิบัติให้ถึงซึ่ง
พระนิพพาน ก้าวล่วงวิสัยของพยายมได้ในการลต่อไป
อนึ่ง ในเวลาที่กำลังศึกษาอยู่นั้น ท่านอาจารย์พระสัทธัมมโชติกะได้กล่าวว่า หากว่าได้มีการพิจารณา
ใคร่ครวญด้วยสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้อยู่ในข้อธรรมนั้นๆ ด้วยดีแล้ว ก็เท่ากับได้เจริญวิปัสสนาขั้นนามรู
ปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ ได้เหมือนกัน เพราะการศึกษาพระอภิธรรมนับตั้งแต่พระอภิธัมมมัต
ถสังคหะ เป็นต้น จนถึงธัมมสังคณีปกรณ์ และยมกปกรณ์นี้ ก็ล้วนแล้วแต่แสดงเรื่องสภาวธรรมทั้งสิ้น ที่
จะทำให้นักศึกษาสามารถประหานอวิชชาอันเป็นตัวกิเลสลงได้บ้างด้วยอำนาจแห่งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวะตามความเป็นจริงตามปรมัตถสัจจะได้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร