วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 17:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2012, 16:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีจิต

และความหมายของภวังคจิตอีกอย่างหนึ่งคือว่า ตัวภวังคจิตที่แท้ ๆ
นั้นยังไม่มีอารมณ์ คือ จิตที่ยังไม่มีอารมณ์ เรียกว่า ภวังคจิต
ต่อเมื่อมีอารมณ์จึงเป็น วิถีจิต วิถีวิญญาณ จิตที่บังเกิดขึ้นเป็นไปตามทางในเมื่อ
อายตนะภายในภายนอกมาประจวบกันเป็นต้น
จิตที่เป็นไปตามทางนี้ก็คือจิตเดินทาง จิตเคลื่อนไหว
จิตที่น้อมไป ไม่ใช่จิตที่อยู่ตัวคือ นิ่งอยู่เฉย ๆ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงมีคำเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนอย่างคนที่นอนหลับอยู่ใต้ต้นมะม่วง
เมื่อผลมะม่วงหล่นลงมา เสียงผลมะม่วงหล่นลงมากระทบแผ่นดิน เสียงนั้นก็มากระทบ
โสตประสาทของคนที่นอนหลับก็ตื่นขึ้นมา
ตื่นขึ้นมาก็เอื้อมมือไปหยิบเอาผลมะม่วงมาบริโภค เสร็จแล้วก็หลับไปใหม่ นี้เป็นอุปมา

มีข้ออุปมัยว่า จิตที่อยู่ในภวังค์นั้นก็เหมือนอย่างคนนอนหลับ
และจิตที่ออกรับอารมณ์นั้นก็เหมือนอย่างคนนอนหลับที่ตื่นขึ้น
เอื้อมมือออกไปหยิบผลมะม่วงบริโภคแล้วก็หลับไปใหม่
ก็คือเมื่ออายตนะภายนอกมาประจวบกันก็เหมือนอย่างเป็นสิ่งที่มากระทบเข้ากับภวังค์จิต
ภวังค์จิตก็ตื่นขึ้นมาน้อมออกรับอารมณ์ เมื่อรับอารมณ์แล้วก็กลับเข้าภวังค์ใหม่
คือเหมือนอย่างหลับไปใหม่
เมื่ออายตนะภายในภายนอกมาประจวบกันใหม่
จิตก็ออกจากภวังค์น้อมออกรับอารมณ์
เสร็จแล้วก็หลับไปใหม่คือเข้าภวังค์ใหม่
ท่านแสดงธรรมชาติของจิตไว้ดังนี้
จิตที่ไม่รับอารมณ์นั้น เรียกว่า ภวังคจิต
และจิตที่ออกรับอารมณ์นั้น เรียกว่า วิถีจิต
วิถี ก็คือ ทาง ก็หมายความว่าจิตน้อมออกไปเหมือนอย่างเดินทาง


สมเด็จพระญาณสังวรฯ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2012, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2297

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ท่านแสดงธรรมชาติของจิตไว้ดังนี้
จิตที่ไม่รับอารมณ์นั้น เรียกว่า ภวังคจิต
และจิตที่ออกรับอารมณ์นั้น เรียกว่า วิถีจิต
วิถี ก็คือ ทาง ก็หมายความว่าจิตน้อมออกไปเหมือนอย่างเดินทาง

สาธุ .. :b8: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8207


 ข้อมูลส่วนตัว




วิถีจิต.png
วิถีจิต.png [ 727.9 KiB | เปิดดู 11569 ครั้ง ]
วิถีจิตแสดงด้วยภาพได้ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2012, 12:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณค่ะ ลุงหมาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2013, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8207


 ข้อมูลส่วนตัว



.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
วิถีจิต

และความหมายของภวังคจิตอีกอย่างหนึ่งคือว่า ตัวภวังคจิตที่แท้ ๆ
นั้นยังไม่มีอารมณ์ คือ จิตที่ยังไม่มีอารมณ์ เรียกว่า ภวังคจิต
ต่อเมื่อมีอารมณ์จึงเป็น วิถีจิต วิถีวิญญาณ จิตที่บังเกิดขึ้นเป็นไปตามทางในเมื่อ
อายตนะภายในภายนอกมาประจวบกันเป็นต้น
จิตที่เป็นไปตามทางนี้ก็คือจิตเดินทาง จิตเคลื่อนไหว
จิตที่น้อมไป ไม่ใช่จิตที่อยู่ตัวคือ นิ่งอยู่เฉย ๆ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงมีคำเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนอย่างคนที่นอนหลับอยู่ใต้ต้นมะม่วง
เมื่อผลมะม่วงหล่นลงมา เสียงผลมะม่วงหล่นลงมากระทบแผ่นดิน เสียงนั้นก็มากระทบ
โสตประสาทของคนที่นอนหลับก็ตื่นขึ้นมา
ตื่นขึ้นมาก็เอื้อมมือไปหยิบเอาผลมะม่วงมาบริโภค เสร็จแล้วก็หลับไปใหม่ นี้เป็นอุปมา

มีข้ออุปมัยว่า จิตที่อยู่ในภวังค์นั้นก็เหมือนอย่างคนนอนหลับ
และจิตที่ออกรับอารมณ์นั้นก็เหมือนอย่างคนนอนหลับที่ตื่นขึ้น
เอื้อมมือออกไปหยิบผลมะม่วงบริโภคแล้วก็หลับไปใหม่
ก็คือเมื่ออายตนะภายนอกมาประจวบกันก็เหมือนอย่างเป็นสิ่งที่มากระทบเข้ากับภวังค์จิต
ภวังค์จิตก็ตื่นขึ้นมาน้อมออกรับอารมณ์ เมื่อรับอารมณ์แล้วก็กลับเข้าภวังค์ใหม่
คือเหมือนอย่างหลับไปใหม่
เมื่ออายตนะภายในภายนอกมาประจวบกันใหม่
จิตก็ออกจากภวังค์น้อมออกรับอารมณ์
เสร็จแล้วก็หลับไปใหม่คือเข้าภวังค์ใหม่
ท่านแสดงธรรมชาติของจิตไว้ดังนี้
จิตที่ไม่รับอารมณ์นั้น เรียกว่า ภวังคจิต
และจิตที่ออกรับอารมณ์นั้น เรียกว่า วิถีจิต
วิถี ก็คือ ทาง ก็หมายความว่าจิตน้อมออกไปเหมือนอย่างเดินทาง


สมเด็จพระญาณสังวร.


ขอบคุณครับ ผมหาคำตอบมานานแล้วเพียงแต่ไม่รู้ว่าคำถามผมเองจะตั้งว่าอย่างไร ที่ตากระทบแสงนั้นคือ ภวังคจิต จิตที่ออกรับอารมณ์นั้นคือ วิถีจิต

หากเอกอนย้อนไปอ่านที่เราเคยพูดคุยในกระทู้อื่น student พยายามสื่อถึง ภวังคจิต เมื่อจักษุธาตุ กระทบแสง แล้วนี่คือสิ่งที่ student ถือเป็นข้อปฏิบัติในการกำหนดรู้ในทุกๆอริยาบทเท่าที่ความเพียรและความตั้งใจมั่น จึงอยากถามประสบการณ์เอกอนกับความหมาย ภวังคจิต ที่เอกอนกำหนดรู้ว่าเป็นอย่างไรครับ

เอกอนถามว่า ที่student เห็นนั้น เห็นอะไร แล้วพยายามสื่ออะไร student มั่นใจว่า ภวังคจิตนั้นคือ คำตอบที่student พยายามจะสื่อ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2013, 18:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ถ้าเอกอนยังไม่รีบเข้ามาตอบอย่าแปลกใจนะ ... :b12:

แบบว่าช่วงนี้เอกอนยุ่งมาก
พี่เข้า ร.พ. ตั้งแต่ 3 วันก่อน
มีเรื่องให้ต้องทำเยอะแยะเรย
แต่วันนี้ clear แล้ว...
มันก็เลย เข้าไปพักอยู่ในความว่าง

ซึ่งเอกอนเข้ามาอ่าน กระทู้หลาย ๆ กระทู้
ขนาดเขียนเป็นภาษาไทย
เอกอนยังไม่แปลภาษาที่อ่านออกมาให้ตัวเองเข้าใจเรย
คือ อ่าน ก็อ่านได้ แต่ที่อ่านตะกี๊มันคืออะไรหว๋า ... :b9:
มันเหมือนกับน้ำไหลผ่านหิน มันไม่ซึมเข้าไปในเนื้อหิน

55555

:b1: :b1: :b1:


อิอิ...ขออยู่อย่างไม่มีอะไรในหัว แบบขอว่าง ๆ สักพัก...ก่องนะ ... :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 00:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
จึงอยากถามประสบการณ์เอกอนกับความหมาย ภวังคจิต ที่เอกอนกำหนดรู้ว่าเป็นอย่างไรครับ


ก่อนที่จะรู้ว่ามีแสงมากระทบตา
เรารู้อะไรก่อน...
อะไรที่เป็นลักษณะของอาการที่ปลุกเราให้ตื่น และเรารู้สิ่งนั้น ๆ เป็นอันดับต้น ๆ

จริง ๆ คำสอนพระสังฆราชนี้ เป็นส่วนท่อนหนึ่งของพระสูตรหนึ่ง
ที่เอกอนจำชื่อไม่ได้...
ซึ่งพระสูตรนี้... อุปมาวิถีจิตทั้งหมด ว่าจิตขึ้นสู่วิถีที่จะหย่อนลงสู่ภพ
และชาติ ชรา มรณะ อย่างไร
และอย่างไรที่ จิตขึ้นสู่วิถี แต่ไม่หย่อนลงสู่ภพ

พระสูตรนี้ อุปมาจากอาการที่ออกจาก นิโรธ
บางครั้งจิตมันก็ขึ้นวิถีนิดนึง ถ้าผัสสะนั้นไม่มีแรงเหนี่ยวนำวิถีมากพอ
มันก็ดับไม่ล่วงไปสู่ภพ
ถ้า...นิโรธ...ได้บ่อย และรู้เท่าทัน ก็จะตามนั้นล่ะ
จะรู้ว่า...ทำไมจึงอุปมาเหมือนคนหลับใต้ต้นมะม่วง
และการตกลงสู่พื้นของลูกมะม่วง...
และลำดับการรับรู้...มันเป็นเช่นนั้น
:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 มี.ค. 2013, 23:32, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 00:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างคิดไปถึง นิโรธสมาบัติ นะ

ก็นั่งมอง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ นี่ล่ะ
มันจะมีช่วงจังหวะที่ดี ที่ผู้ปฏิบัติจะรู้สิ่งที่ปรากฎได้ชัด... :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2013, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้พี่เอกอนหายป่วยไวๆ นะครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2013, 11:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ขอให้พี่เอกอนหายป่วยไวๆ นะครับ


:b1:

คือ มันตัวเขาเน๊าะ
เขาก็ต้องเจ็บเท่าที่จะเจ็บนั่นล่ะ
มันเกิดไปแล้ว มันเจ็บ มันก็ต้องเจ็บ หรือถ้ามันจะตายก็ต้องตาย
ไม่อยากเจ็บก็ต้องเจ็บ ไม่อยากตายก็ต้องตาย
แม้อยากตายก็ต้องตาย ตายช้าตายเร็ว
ไม่ต้องรนหาที่ ก็ต้องตาย... :b1:

จะไปบอกเขาว่าอย่าทำอะไรให้ต้องมาเป็นภาระเราก็ไม่ได้ .. :b32: :b32:
กรรมมันจัดสรรมาอย่างน๊านนนนน :b5:

ถ้าหมดภาระพวกเขาทั้งหมด
เอกอนก็จะได้สละทรัพย์ทั้งหมด ปลีกตัวสักที
ว่าจะขึ้นเขา ไปอยู่กับลิง... :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2013, 13:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าแต่ที่เอกอนตอบไป ไม่สงสัยบ้างเหร๋อ

เพราะจิตมันไวนะ เราไปนั่งเห็นมันได้ไง ...

:b1:

จริง ๆ รอคำถามอยู่นะนี่

เพราะ ภวังค์ เป็นช่วงที่จิตยังไม่ปรากฎอารมณ์ อาการอะไรให้รับรู้
แล้ว...รู้ได้อย่างไรว่านั่นคือ ภวังค์

และเราเข้าไปรู้อาการต่าง ๆ ของจิตที่น้อมไปรับอารมณ์เข้ามาได้อย่างไร


:b1:

เมื่อจิตทำงานกิจเดียว
และจิตนั้นประกอบด้วยโสภณเจตสิก
คือ จิตที่เอื้อต่อการบรรลุธรรม

ปัญหาในการเข้าไปเห็น คือ การวางอุปสรรค์ในการเห็นลงไปทั้งหมด

ผู้ปฏิบัติ ที่พิจารณา จิต
จะเห็นว่า จิตรู้ อารมณ์

และผู้รู้ก็ไปหมายอารมณ์ที่รู้(สิ่งที่ถูกรู้)นั้นเป็นเรา
และพอบอกว่า สิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่เรา
ก็จะหันไปมองว่า สิ่งที่เข้าไปรู้นั้นเป็นเรา เราคือ จิต
แต่ถ้าไม่มีผัสสะกระทบ จิตไม่เข้ารับอารมณ์ เราเอาอะไรมาหมายมั่นอะไร

ดังนั้นการปฏิบัติเข้าไปพิจารณาการเข้าไปรู้อารมณ์ของจิต
เราต้องอาศัยคุณลักษณะของ โสภณเจตสิก
เพราะมันจะเหมือน น้ำนิ่ง ที่ใส เมื่อมีแรงกระเพื่อมเพียงนิด
ทีละระลอก มันก็จะเห็นร่องรอยชัดเจน บนฐานของมัน (พื้นน้ำ)

ไม่ใช่ คุณลักษณะของ การคิดนะ
คุณลักษณะของการคิด มันจะเหมือนลูกคลื่นหลายระลอกตีรวนกันอยู่
เมื่อเห็น มันจะเห็นฐานคลื่นที่เกิดต่อยอดกัน
คือ ภวังค์ที่มีแรงสืบเนื่อง มีแรงตัดรอน
ซึ่งภวังค์ในลักษณะนี้ เอกอนก็มองไมออก เพราะมันเร็วมาก
เราจะทันได้แค่เอะใจว่า "เฮ้ย...จิตมันเปลี่ยนเรื่องแล้วเว้ยเฮ้ย"
ถ้าเรามีอะไรที่มุ่งหมาย หรือจิตมี order เยอะ
จิตจะวิ่งออกรับอารมณ์ตลอด ...
และถ้าเราคิดไปในเรื่องธรรมนะ จิตก็จะวิ่งออกไปคิด วิ่งออกไปคิด
ซึ่งต้องหยั่งใจกันดี ๆ ว่า การจดจอในกิจอันนั้น ๆ ของจิต มันจะนำเราไปสู่ธรรมอันสงบหรือไม่
คือ ความคิดไม่หยุดมันขมวดเกลียวฟุ้ง มันเหมือนอาการของลมบ้าหมู
ซึ่งเมื่อผู้ปฏิบัติ ถ้าเห็นลักษณะของจิตที่เป็นอุปสรรค์
คือ...อุปสรรค์ ก็คือ อุปสรรค์ นะ
เราต้องข้ามผ่าน อุปสรรค์ นั้น ๆ ไปก่อน
เราจึงจะเห็นธรรมที่อยู่เบื้องหลังอุปสรรค์

คือ พูดง่าย ๆ ถ้าอุปสรรค์ยังครอบครองเป็นอารมณ์จิตอยู่
สัจจะจะเข้ามาเป็นอารมณ์...ไม่ได้

สัจจะ เข้ามาเป็นอารมณ์ได้ กรณี จิตประกอบด้วยโสภณเจตสิก

คือ การสอนเกี่ยวกับ วิถีจิต
ก็น่าจะเพื่อ ให้ผู้ศึกษาเข้าใจว่า เราไม่ใช่ผู้ที่เข้าถึงธรรมนะ
ถ้า อารมณ์ ไม่เข้ามาสู่จิต จิตไม่รับเอาอารมณ์นั้นเข้ามาสู่จิต
จิตก็ไม่รับรู้ อารมณ์ นะ
เมื่อจิตรู้อารมณ์ ก็จะเห็นสิ่งที่หมายในอารมณ์ที่จิตรู้ นั้นล่ะ
บางคนเข้าไปเห็นไม่ได้
แต่ถ้าศึกษาตามตำราแล้วพอจะเข้าใจได้ และเชื่อตามนั้นได้จริง
ก็น่าจะช่วยให้ผู้ศึกษาคลายความยึดติดได้



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2013, 14:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความนี้ค่อนข้างดี...

อ้างคำพูด:
ในพระอภิธรรม เราศึกษาว่ามี มหากุศลจิต 8 ดวง ซึ่งเป็นกามาวจรกุศลจิต ทำไมจึงไม่มีมหากุศลจิตแต่เพียงดวงเดียว เหตุผลก็คือจิตแต่ละประเภท (ดวง) มีปัจจัยเฉพาะตน ๆ ที่ทำให้จิตนั้นเกิดขึ้น ถ้าเรารู้เรื่องจิตประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ และถ้ามีสติระลึกรู้ขณะที่ลักษณะของจิตเหล่านี้ปรากฏ ก็จะทำให้เราไม่ยึดถือจิตเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน มหากุศลจิต 4 ดวง เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา และ มหากุศลจิตอีก 4 ดวง เกิดกับ อุเบกขาเวทนา เราอยากจะมีมหากุศลโสมนัส เพราะเราชอบโสมนัสเวทนา แต่เราก็ไม่สามารถบังคับบัญชาให้โสมนัสเวทนาเกิดได้ บางครั้งเราก็ให้ทานด้วยโสมนัสเวทนา บางครั้งก็ด้วยอุเบกขา โสมนัสหรืออุเบกขาจะเกิดกับมหากุศลจิตตามเหตุปัจจัย มหากุศลจิต 4 ดวงสัมปยุตต์ด้วยปัญญา อีก 4 ดวงไม่สัมปยุตต์ด้วยปัญญา เช่น เราอาจช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่มีปัญญาหรือมีปัญญาเกิดร่วมด้วย เมื่อเรารู้ว่าการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่นเป็นกุศล หรือถ้าสติระลึกรู้นามธรรมหรือรูปธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น มหากุศลจิตนั้นก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย มหากุศลจิต 4 ดวงเป็นอสังขาริก (เกิดขึ้นเอง ไม่มีการชักจูงด้วยตนเองหรือผู้อื่น) อีก 4 ดวงเป็นสสังขาริก (โดยการชักจูงของตนเองหรือผู้อื่น) มหากุศลจิต 8 ดวง คือ

....

โสภณจิตที่เป็นรูปภูมิ (รูปาวจรจิตสำหรับผู้ที่บรรลุรูปฌาน)
โสภณจิตที่เป็นอรูปภูมิ (อรูปาวจรจิตสำหรับผู้ที่บรรลุอรูปฌาน)
โสภณจิตซึ่งเป็นโลกุตตรภูมิ สำหรับผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระอริยบุคคล

กามาวจรจิตเท่านั้นที่เป็นอโสภณจิตได้
จิตที่เป็นรูปภูมิ อรูปภูมิ และโลกุตตรภูมิเป็นโสภณจิตได้เท่านั้น

ผู้ที่ไม่ได้บรรลุฌานหรือไม่รู้แจ้งพระนิพพาน ไม่มีจิตภูมิอื่นแต่สามารถรู้แจ้งสัจจธรรมที่เป็นกามภูมิที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้แล้ว เราจะรู้ได้ด้วยตนเองว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ที่จะกระทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา เราจะรู้ได้ว่าการเจริญกุศลดังกล่าวนี้ทำให้เรามีอกุศลจิตน้อยลงหรือไม่ บางครั้งเป็นโอกาสที่จะทำทาน บางครั้งเป็นโอกาสจะรักษาศีลหรือเจริญภาวนา แต่การเจริญวิปัสสนานั้นเจริญได้ขณะที่ทำทาน รักษาศีล เจริญสมถภาวนา หรือขณะที่ศึกษาธรรม หรือแสดงธรรม และในขณะที่ไม่มีโอกาสที่จะกระทำทาน รักษาศีลหรือกุศลอื่น ๆ แม้ว่าจะยังไม่ได้อบรมเจริญสติระลึกรู้นามธรรมและรูปธรรมมากนัก เราก็สามารถที่จะรู้ว่าสติเป็นปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดน้อยลง และการยึดมั่นในตัวตนน้อยลงบ้างหรือไม่ การเจริญสติทำให้เราพิสูจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคได้

ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิดฯ "

"ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้ โดยส่วนหนึ่งว่า นี้มิใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดาฯ "


http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... ham-20.htm


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 12 มี.ค. 2013, 14:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2013, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
คุณเอกอน

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2013, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนเรามีจุดประสาทตามส่วนต่างๆทั่วร่างกาย เช่นเดียวกับดวงตาที่มีเส้นประสาท สมมุติมีวัตถุอยู่ห่างกัน2ชิ้น วัตถุแรกอยุ๋ในระยะ 1เมตร วัตถุที่2อยู่ในระยะ2เมตร แต่วัตถุทั้ง2 อยู่แนวเดียวกัน ถ้าจะมองก็ไม่ต้องหันหน้าไปทางอื่น เพราะอยู่ในแนวเส้นเดียวกัน แต่การมองต้องอาศัยประสาทตาจะมองวัตถุแรกก็ต้องใช้ประสาทตาโพกัส ถ้าไม่โพกัสก็เข้าข่ายใจลอย แล้วทีนี้เปลี่ยนโพกัสไปวัตถุที่2 student เข้าไปเห็นการทำงานของประสาทตาที่มีอาการไหวตามการโพกัส นั่นคือจิต student อยู่ที่ประสาทตาแต่เห็นวัตถุชัดเจนไม่ใช่อาการเหม่อลอย จิตstudentไม่ได้อยู่ที่ภาพ แต่เห็นภาพ เลยลงความหมายว่าแสง กรณีเช่นนี้เรียกว่าอะไร

การฟัง เมื่อเราจับเอาเสียงใดเสียงหนึ่งเป็นอารมณ์ แล้วติดตามเสียงนั้นไปเรื่อยๆ (ในที่นี้อาจเป็นเสี้ยววินาที)แล้ววกเข้ามากำหนดรู้ประสาทหู เมื่อเสียงดับลงเกิดอะไรขึ้น แม้เสียงอื่นรอบด้านจะดังแทรกขึ้นมาแต่เราเองกลับเห็นความดับลงของธรรมที่กำหนดอยู่ เป็นอารมณ์ของความสงบ ไม่มีสังขารขันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องการมอง student จะกำหนดเก่งกว่าการฟัง คือมองปลุ๊บ student เข้าไปกำหนดรู้ประสาทตาได้ทันที แต่การฟังนั้นstudentกำหนดยากกว่า แต่กำหนดได้ จึงเล่าสู่กันฟังได้

อย่างการก้าวเดิน ทุกวันนี้ student จับเอาเวทนาขันธ์เป็นอารมณ์ จึงกำหนดชัดกว่่าเหมือนเห็นขาตนเอง แต่ไม่ได้เข้าไปกำหนดรู้แสง แต่รู้ว่าเป็นขา แต่จิตอยู่ข้างใน(เวทนาขันธ์) ประโยชน์คือ เราแยกธรรมต่างๆได้ดีขึ้น เรามีความสงสัยในธรรมแล้วต้องการหาคำตอบ มีคำถามอยู่ตลอดเวลา บางครั้งย้อนไปเมื่อ5ปีก่อน ทำไมเราไม่เคยเห็น ทำไมเราไม่เคยฉุกใจคืด นี่คือ ธรรมที่อาจเป็นบันไดไต่ขึ้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร