วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 17:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2013, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


รูป เป็นสัตว์บุคคลหรือ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสัตว์บุคคลหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในรูปหรือ
สัตว์บุคคลอยู่ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณหรือ

หรือสัตว์บุคคลจะเป็นอย่างอื่่น จากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณหรือ

สัตว์บุคคล มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ
สัตว์บุคคล ไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาข้างต้นนำมาจาก อนุราธะสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

ครั้งหนึ่ง มีปริพาชกได้เข้าไปปราศัยและไต่ถามปัญหากับท่านพระอนุราธะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมบัญญัติฐานะ ๔ ว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑

ท่านพระอนุราธะตอบว่าพระผู้มีพระภาคย่อมบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ อย่างนี้
เมื่อปริพาชกได้ฟังเช่นนั้นก็กล่าวกับท่านพระอนุราธะว่าท่านคงเป็นภิกษุบวชใหม่ หรือเป็นภิกษุเถระที่โง่เขลา


เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ท่านพระอนุราธะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลพระองค์ถึงเรื่องที่ปริพาชกเหล่านั้นมาถามปัญหากับท่าน และทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า หากปริพาชกเหล่านั้นถามต่อไป พึงพยากรณ์เช่นไรจึงเป็นการพยากรณ์คล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เป็นการกล่าวตู่พระองค์ กล่าวคล้อยตามความจริงที่วิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงถามท่านพระอนุราธะ (เรื่องที่พระผู้มีพระภาคถาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับเบญขันธ์ ซึ่งแต่ละคำถามล้วนเป็นประโยชน์ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นเรื่องจริงที่มีความลึกซึ้งยิ่ง ให้เห็นถึงขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง )

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จากนั้นพระผู้มีพระภาคได้ถามท่านพระอนุราธะว่า
รูป เป็นสัตว์บุคคลหรือ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสัตว์บุคคลหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในรูปหรือ
สัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในเวทนาหรือ
สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในเวทนาหรือ
สัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในสัญญาหรือ
สัตว์บุคคลอยู่จากสัญญาหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในสังขารหรือ
สัตว์บุคคลอยู่จากสังขารหรือ

สัตว์บุคคลอยู่ในวิญญาณหรือ
สัตว์บุคคลอยู่จากวิญญาณหรือ


สัตว์บุคคล มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ
สัตว์บุคคลนี้ ไม่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ท่านพระอนุราธะได้ทูลตอบพระพุทธองค์ในทุกคำถามว่า ไม่ใช่อย่างนั้นพระเจ้าข้า

อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสต่อไปว่า
ดูกรอนุราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย

ควรแลหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ถึง
ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑
ย่อมไม่เกิดอีก ๑
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑
ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑?

ท่านพระอนุราธะทูลตอบว่า ข้อนั้นไม่ควรเลยพระเจ้าข้า


พ. ถูกละๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 19 ก.พ. 2013, 02:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ๔ นั่นเองคือสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน(บรรลุนิพพานอันเป็นอสังขตธรรม)


Quote Tipitaka:
พุทธวัจน์ : ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว
เราจึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2013, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เรียกว่าสัตว์นั้นความจริงเป็นเสียงเรียก เป็นบัญญัติ เป็นนามว่าสัตว์
แต่เหตุใดจริงมีการบัญญัติว่าสัตว์ เรียกว่าสัตว์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2013, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์


ท่านพระราธะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์.

เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ...
ในสัญญา ...
ในสังขาร ...
ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.


ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย
เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด

ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้เป็นของเล่นไม่ได้
จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล.

ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.

...........................................................

อรรถกถาสัตตสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสัตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺโต เป็นคำถามถึงบุคคล.
บทว่า ตตฺร สตฺโต ตตฺร วิสตฺโต ความว่า ผู้ติด คือผู้ข้องอยู่ในอุปาทานขันธ์นั้น.
บทว่า ปํสฺวาคารเกหิ แปลว่า เรือนที่ทำด้วยฝุ่น. (เรือนเล่นขายของ)
บทว่า กีฬายนฺติ แปลว่า เล่น.
บทว่า ธนายนฺติ แปลว่า สำคัญเรือนที่ทำด้วยฝุ่นว่าเหมือนทรัพย์.
บทว่า มมายนฺติ ได้แก่ ทำการยึดถือว่า นี้ของเรา นี้ของเรา คือไม่ยอมแม้แต่จะให้คนอื่นแตะต้อง.
บทว่า วิกีฬนิกํ กโรนฺติ ความว่า เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้นคิดว่า การเล่นเลิกแล้ว จึงทำลายทำให้ใช้เล่นไม่ได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2013, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บางครั้ง....การแปลต่อมาอีกทอดหนึ่ง....ก็ยากที่จะรักษานัยแห่งความหมายเดิมได้

ผู้อ่าน..จึงต้องตีความหมายต่อจากการอ่านอีกที...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2013, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีคุณกบ ไม่ได้สนทนากันนานนะครับ สบายดีรึเปล่า
อย่างที่คุณกบบอกแหละครับ การที่แปลออกมาก็รักษาใจความเดิมได้น้อยกว่าภาษาต้นฉบับอยู่แล้ว
และพอแปลออกมาเป็นภาษาไทยก็ค่อยข้างโบราณไม่คุ้นเคยอีก แต่ถ้าอ่านบ่อยๆ เดี๋ยวก็คุ้นเคยเองนะครับ
พระธรรมเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้มีอยู่จริงในปัจจุบัน

กระทู้นี้ ประเด็นแรกก็คือ อยากให้เห็นว่า

ปัญหาเหล่านี้คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑
ปัญหาเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พยากรณ์ ชาวพุทธควรจำไว้ว่าพระผู้มีพระภาคไม่พยากรณ์

ประเด็นที่สองคือ
สัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕
ที่เรียกว่าสัตว์นั้นก็เพราะเหตุว่ามีความติดข้องในอุปทานขันธ์

ประเด็นที่สามคือพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ไม่พยากรณ์อะไรและไม่ได้ตรัสลัทธิความสูญเปล่าไม่มีอะไร
แต่ท่านบัญญัติสอนเรื่องอริยสัจจ์ ๔

ทุกข์
เหตุแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

ท่านจะเห็นความเห็นผิดทั้งหลายเรื่องสัตว์เรื่องอัตตา
ก็เพราะความติดข้องและความไม่รู้ความจริง ของเรื่องขันธ์นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2013, 23:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ...สบายดี...แต่ยังไม่ถึงสบายดีที่สุดครับ..อิ
อิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2013, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จงทำให้รูป....เวทนา....สัญญา....สังขาร...ฯ...เป็นของเล่นไม่ได้

อาการเล่นได้..นี้เป็นยังงัย?
เพราะถ้ารู้ว่าเล่นได้ยังงัย..ถึงจะเข้าใจว่า..เล่นไม่ได้เป็นงัย
!!!


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 05 พ.ค. 2013, 23:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2013, 23:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


และ...ทำไมพยากรณ์การเกิด...ไม่ได้?

ท่านคิดเห็นว่าอย่างไร?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2013, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
จงทำให้รูป....เวทนา....สัญญา....สังขาร...ฯ...เป็นของเล่นไม่ได้

อาการเล่นได้..นี้เป็นยังงัย?
เพราะถ้ารู้ว่าเล่นได้ยังงัย..ถึงจะเข้าใจว่า..เล่นไม่ได้เป็นงัย
!!!


อาการเล่นเป็นยังไง ? เพลินเพลิน หวงแหน รักใคร่ พอใจ ติดใจ มีปรากฎอยู่ในชีวิตประจำวัน
เมื่อไหร่จะเลิกเล่นก็ไม่ทราบ ยังเป็นเด็กไม่รู้จักโตซักที :b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร