วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากกระทู้ โดย คุณกุหลาบสีชา

นำคำสอนของของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงนำพระสูตร 2 สูตร
ซึ่งแสดงความหมายแตกต่างกัน...ระหว่าง จิต กับ วิญญาณ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=29292

============================

การที่ผมนำพระสูตร ที่แสดงแตกต่างเนื่อหามาลงในกระทู้นี้
มิได้ต้องการโต้แย้งคุณกุหลาบสีชา หรือ

โดยเฉพาะย่อมไม่บังอาจ โต้เถียงกับ...สมเด็จพระสังฆราชฯ

แต่เนื่องจาก คำสอนตามพระสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

ในบางสูตรทรงแสดง จิต และ วิญญาณ โดยความหมายเดียวกัน

จึงขอนำมาลงเพื่อศึกษา ควบคู่ไปด้วยกัน

============================
มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑
[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่
ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย.....ฯลฯ.....

...ฯลฯ.... [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่า
ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป
ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
.........

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =16&A=2519

============================

บังเอิญหมดเวลาซะแล้ว เอาไว้จะนำมาลงเพิ่ม

onion onion onion
ขออนุโทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 19:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลิงที่กำลังอยู่เฉยๆ ที่ไม่ห้อยโหนกิ่งไม้ใดๆเลย ก็คล้าย มโน

ลิงที่กำลังห้อยโหนกิ่งต้นตา จัดว่าเป็น ลิงโหนต้นตา ก็คล้าย จักขุวิญญาณ

ลิงที่กำลังห้อยโหนกิ่งต้นหู จัดว่าเป็น ลิงโหนต้นหู ก็คล้าย โสตวิญญาณ

ๆลๆ

ลิงที่กำลังห้อยโหนกิ่งต้นใจ จัดว่าเป็น ลิงโหนต้นใจ ก็คล้าย มโนวิญญาณ



จะกล่าวว่า ลิงที่กำลังอยู่เฉยๆ คือ อย่างเดียวเปี๊ยบ กับ ลิงโหนต้นตา ก็ไม่ใช่ เพราะองค์ประกอบ และ เงื่อนไขปัจจัย ต่างกัน...

แต่ จะกล่าวว่า ลิงที่โหนต้นตา เป็นคนละตัวกับ ลิงที่กำลังอยู่เฉยๆ ก็ไม่ใช่อีก




ประเด็น เรื่อง ลิงเฉยๆ ที่ไม่โหนกิ่งต้นใดๆเลย... ก็ เป็นจุดที่มีความเห็นแตกต่างกัน


ทาง นักอภิธัมมัตถะสังคหะ เชื่อว่า ขึ้นชื่อว่า ลิง แล้ว ต้องโหนกิ่งต้นใดต้นหนึ่ง จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ (ธรรมชาติของจิตต้องรับอารมณ์เสมอ)


ทาง พระสูตร แสดง ลิงเฉยๆ ที่ไม่ได้กำลังโหนกิ่งต้นใดๆอยู่เอาไว้ด้วย (มโน จาก มหาหัตถิโปทมสูตร; จิตแท้ -จิตดั้งเดิม จาก กามภูสูตร; จิตที่ดำรงอยู่ จาก อนิจจสูตร ที่๑ และ ๆลๆ )




ก็มี ที่มา ที่ไป ที่เข้าใจไม่ตรงกัน ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณศิรัสพล
อุปมาชัดเจนนะครับ ขออนุญาตเสริมหน่อย
ภาษาที่ต่าง บอกนัยที่เป็นลักษณะของจิตครับ

จิต สะสม
มโน น้อมไปสู่อารมณ์
วิญญาณ รู้อารมณ์
ฯลฯ ครับ ภาษาจะพากันวนนะเนี่ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
สวัสดีครับคุณศิรัสพล
อุปมาชัดเจนนะครับ ขออนุญาตเสริมหน่อย
ภาษาที่ต่าง บอกนัยที่เป็นลักษณะของจิตครับ

จิต สะสม
มโน น้อมไปสู่อารมณ์
วิญญาณ รู้อารมณ์
ฯลฯ ครับ ภาษาจะพากันวนนะเนี่ย




สวัสดีครับ ท่านอาจารย์กามโภคี

ไม่ได้คุยกันนานเลย



ผมไม่ใช่ คุณศิรัสพล หรอกน่ะครับ

แต่ ผมสนใจ ประเด็น จิต สะสม???...

ผมขอเสนอว่า จิต ในความหมายของวิญญาณ ไม่น่าจะสะสมอะไรได้(สะสม น่าจะเป็น สะสมกรรม?)

เพราะ ในมหาหัตถิโปทมสูตร แสดง การเกิดขึ้นของวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด เมื่อเหตุปัจจัยประชุมพร้อมทั้งสาม(มโน +ธรรมมารมณ์ +การกำหนดร่วมอันเกิดแต่มโนและธรรมารมณ์;สมันหาโร)...เมื่อ ความประชุมพร้อมของเหตุปัจจัยสิ้นสุดลง วิญญาณก็ดับลง

และ วิญญาณชนิดที่เป็นอมตะยืนโรงข้ามภพชาติ นั้น ก็ไม่มี(ดังที่มีพระสูตรแสดงปฏิเสธวิญญาณในลักษณะนั้นต่อ สาติภิกษุ)

ดังนั้น จิตในmodeวิญญาณ จึงไม่น่าจะสะสมกรรมได้... แต่ จิตในmodeวิญญาณ น่าจะเป็นตัวสร้างกรรม มากกว่า



ผมเสนอว่า จิตในmodeมโน น่าจะเป็นที่สะสมกรรม มากกว่า

เพราะ มีคำว่า "มโนกรรม" ใน กรรม๓... แต่ ไม่มีคำว่า"วิญญาณกรรม"


ส่วน ประเด็น

มโน น้อมไปสู่อารมณ์
วิญญาณ รู้อารมณ์

นั้น... ผมเห็นด้วยครับ




ยินดีที่ได้สนทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง จิต มโน วิญญาณ นั้น



ผมขอเสนอลักษณะที่ว่า

จิต เป็นคำเรียกรวมๆ ที่ครอบคลุมได้ทั้ง ในส่วน มโน(จิตดั้งเดิม;กามภูสูตร) และ วิญญาณ(จิตที่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ;มหาหัตถิโปทมสูตร)



แต่ ที่มีทั้ง จิต มโน วิญญาณ นั้น เป็นลักษณะ mode หรือ function ต่างๆของจิต ...ที่มีการ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ นั้น

การ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ ของ จิต นั้น ก็คือ การเกิด-ดับ ของ จิต มโน วิญญาณ นั้นเอง

เมื่อ จิตนั้นswitch จาก modeมโน ไปสู่ modeมโนวิญญาณ(เช่น ในมหาหัตถิโปทมสูตร) จิตในขณะ(ดวง?)ที่เป็นmodeมโนก็ดับไป จิตในขณะที่เป็นmodeมโนวิญญาณก็ปรากฏเกิดขึ้น
(ลิง ไม่ยอมอยู่เฉยๆ แต่ ไปคว้าเอากิ่งต้นใจมาโหน)

และ จิตนั้นก็สามารถ switchกลับจากจิตในmodeมโนวิญญาณ กลับไปสู่ จิตในmodeมโน ได้...

หรือ อาจจะไม่ switchกลับจากจิตในmodeมโนวิญญาณ กลับไปสู่ จิตในmodeมโน ... แต่ switchไปสู่ จิตในmodeวิญญาณช่องทางอื่นๆ ก็ได้


วันหนึ่ง คืนหนึ่ง จิต มโน วิญญาณ จึงเกิดดับ มากมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ ผมสนใจ ประเด็น จิต สะสม???...
ผมขอเสนอว่า จิต ในความหมายของวิญญาณ ไม่น่าจะสะสมอะไรได้(สะสม น่าจะเป็น สะสมกรรม?)

ถูกครับ จิตในความหมายของวิญญาณไม่สามารถสะสมอะไรได้เลย เพราะจิตในความหมายของวิญญาณ มีการรับรู้อารมณ์เท่านั้น เมื่อรู้ก็ดับ รูดับๆๆ ไปเป็นทอดเป็นสาย

อ้างคำพูด:
เพราะ ในมหาหัตถิโปทมสูตร แสดง การเกิดขึ้นของวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด เมื่อเหตุปัจจัยประชุมพร้อมทั้งสาม(มโน +ธรรมมารมณ์ +การกำหนดร่วมอันเกิดแต่มโนและธรรมารมณ์;สมันหาโร)...เมื่อ ความประชุมพร้อมของเหตุปัจจัยสิ้นสุดลง วิญญาณก็ดับลง


ถูกครับเข้าใจตรงกันแล้ว
มโน(จิต) น้อมไปสู่ธรรมมารมณ์ที่มีหรือเกิดขึ้น ต่อจากนั้นก็ตามที่คุณอธิบายครับ

อ้างคำพูด:
และ วิญญาณชนิดที่เป็นอมตะยืนโรงข้ามภพชาติ นั้น ก็ไม่มี(ดังที่มีพระสูตรแสดงปฏิเสธวิญญาณในลักษณะนั้นต่อ สาติภิกษุ)

จิต จิ ธาตุในความสะสม
จุดที่เรียกว่าสะสมคือ ลักษณะการที่จิตดวงแรกเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงต่อไป
เช่น การที่เราสามารถนึกถึงเรื่องวันก่อนๆได้ ก็เนื่องมาจากการที่จิตดวงปัจจุบันเกิดขึ้นโดยอาศัย
เหตุปัจจัยของจิตดวงเดิมที่ดับไป เหมือนการถ่ายทอดพันธุกรรมไปเป็นสาย
นัยยะของการปฏิบัติคือ นามที่ยังไม่ถึงการดับทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดนามหรือรูปต่อไป

ถ้าเข้าใจจิตแต่เพียงวิญญาณหรือในแง่วิญญาณ(การรู้อารมณ์) ก็ไม่ใช่เรื่องของการสะสมครับ

อ้างคำพูด:
ดังนั้น จิตในmodeวิญญาณ จึงไม่น่าจะสะสมกรรมได้... แต่ จิตในmodeวิญญาณ น่าจะเป็นตัวสร้างกรรม มากกว่า


ชัดเจนครับ ไม่ใช่ในโหมดวิญญาณ

อ้างคำพูด:
ผมเสนอว่า จิตในmodeมโน น่าจะเป็นที่สะสมกรรม มากกว่า
เพราะ มีคำว่า "มโนกรรม" ใน กรรม๓... แต่ ไม่มีคำว่า"วิญญาณกรรม"


ข้อนี้ยังกังขาอยู่ครับ เพราะผมมองตรงที่ว่า จิตคือสะสม ส่วนแง่อื่นๆ เหมือนเป็นลักษณะของจิต
ที่มีลักษณะต่างๆหรือหน้าที่ในขณะต่างๆกัน เลยมีคำเรียกต่างๆกันออกมา ไม่ว่าจะเรียกเช่นไร ก็เป็น
จิตทั้งนั้น
แปลกนะครับ มีมโนกรรม แต่ในอภิธรรม ไม่มี กุศลมโน อกุศลมโน ฯลฯ อเหตุกมโน กลับใช้คำว่าจิต
ทุกตัวเลย มันต้องมีที่ต่างกันซินะ

อีกอย่างหนึ่งครับ จิต แปลว่า วิจิตร ให้วิจิตร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ประเด็น เรื่อง จิต มโน วิญญาณ นั้น
ผมขอเสนอลักษณะที่ว่า
จิต เป็นคำเรียกรวมๆ ที่ครอบคลุมได้ทั้ง ในส่วน มโน(จิตดั้งเดิม;กามภูสูตร) และ วิญญาณ(จิตที่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ;มหาหัตถิโปทมสูตร)


เห็นชอบครับ เห็นด้วยครับ

ตรงประเด็น เขียน:
แต่ ที่มีทั้ง จิต มโน วิญญาณ นั้น เป็นลักษณะ mode หรือ function ต่างๆของจิต ...ที่มีการ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ นั้น
การ switch ไปๆ มาๆ ระหว่าง mode หรือ function ต่างๆ ของ จิต นั้น ก็คือ การเกิด-ดับ ของ จิต มโน วิญญาณ นั้นเอง
เมื่อ จิตนั้นswitch จาก modeมโน ไปสู่ modeมโนวิญญาณ(เช่น ในมหาหัตถิโปทมสูตร) จิตในขณะ(ดวง?)ที่เป็นmodeมโนก็ดับไป จิตในขณะที่เป็นmodeมโนวิญญาณก็ปรากฏเกิดขึ้น
(ลิง ไม่ยอมอยู่เฉยๆ แต่ ไปคว้าเอากิ่งต้นใจมาโหน)


ในขณะรู้อารมณ์(วิญญาณ) จิตก็น้อม(มโน)ไปสู่อารมณ์นั้นด้วยและก็เป็นเหตุให้นามรูปในลำดับถัดไป
เกิดด้วย(สะสม)นามรูปที่เกิดเพราะอาศัยจิตดวงก่อนเกิด ทำให้จิตดวงที่เกิดถัดมา รู้หรือรับอารมณ์ที่
คล้ายกับจิตดวงก่อนที่รู้หรือรับอารมณ์มา
ลักษณะการทำงาน คล้ายสวิชที่เร็วมาก จนคิดว่าเป็นไปพร้อมกัน เหมือนอย่างลิงที่กล่าวขณะที่โหน
ก้ดีดตัวเอง ตาก็มองไปที่กิ่งใหม่ ขณะที่ขาหรือมือเริ่มละกิ่งเก่า ไวเสียจนคิดว่าพร้อมกัน ที่จริงตามลำดับการสวิชนั่นเอง แต่ไวมากเท่านั้น

ตรงประเด็น เขียน:
วันหนึ่ง คืนหนึ่ง จิต มโน วิญญาณ จึงเกิดดับ มากมาย

เห็นเขาว่าใน ๑ วินาที ประมาณจิตที่เกิดดับได้ หนึ่งล้านล้านขณะ ไวจริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

เห็นเขาว่าใน ๑ วินาที ประมาณจิตที่เกิดดับได้ หนึ่งล้านล้านขณะ ไวจริงๆ




การที่ "เขาว่า"นั้น... มันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขาที่ เขาจะว่าเช่นนั้น ครับ

ผู้ฟังย่อมต้อง โยนิโสมนสิการด้วยความแยบคาย เอาเอง ครับ


แต่ ถ้า.... "เขากล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า ชั่วลัดนิ้วมือ จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ"... เรา ก็ควรตรวจสอบดูว่า มี พระพุทธพจน์ตรงไหนที่ตรัสแสดงไว้เช่นนั้น...
ถ้า พบ ก็ควรศึกษาเสีย...
แต่ ถ้าไม่พบก็ควรถามเขาว่า มี พระพุทธพจน์ตรงไหนที่ตรัสแสดงไว้เช่นนั้น


>>>>>>>>>>>>>



สรุปสั้นๆ ในประเด็นที่ ผมได้สนทนากันมา กับทุกๆท่าน



จิตเป็นวิญญาณขันธ์...ไม่ผิด
แต่
จิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น...ไม่ถูก


จิตมีธรรมชาติที่รับอารมณ์...ไม่ผิด
แต่
จิตมีธรรมชาติที่รับอารมณ์เสมอ...ไม่ถูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
การที่ "เขาว่า"นั้น... มันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขาที่ เขาจะว่าเช่นนั้น ครับ

ผู้ฟังย่อมต้อง โยนิโสมนสิการด้วยความแยบคาย เอาเอง ครับ

แต่ ถ้า.... "เขากล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า ชั่วลัดนิ้วมือ จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ"... เรา ก็ควรตรวจสอบดูว่า มี พระพุทธพจน์ตรงไหนที่ตรัสแสดงไว้เช่นนั้น...
ถ้า พบ ก็ควรศึกษาเสีย...
แต่ ถ้าไม่พบก็ควรถามเขาว่า มี พระพุทธพจน์ตรงไหนที่ตรัสแสดงไว้เช่นนั้น


ถ้าปฏิบัติตามแนวสติปัฎฐานสูตร จะเห็นง่ายครับว่าไวจริง ยิ่งสูงยิ่งเห็นยิ่งเข้าใจนะครับ
แต่ถ้านอนหนุนคัมภีร์ จ้างก็ไม่เห็นครับ
บางอย่างนี่เหลือเกินวิสัยเราที่จะคุยกัน ก็ต้องโยนิฯแบบที่คุณว่าละครับ
สาธุ

ส่วนท้ายๆที่คุณตรงฯสรุปมา ผมไม่บังอาจพูดคุยครับ ความรู้ยังไม่ถึง ยังน้อยอยุ่
แต่ชอบที่จะอ่านของคุฯตรงเสมอๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


Eikewsang เขียน:
สืบเนื่องจากกระทู้ โดย คุณกุหลาบสีชา

นำคำสอนของของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงนำพระสูตร 2 สูตร
ซึ่งแสดงความหมายแตกต่างกัน...ระหว่าง จิต กับ วิญญาณ

viewtopic.php?f=66&t=29292

============================

การที่ผมนำพระสูตร ที่แสดงแตกต่างเนื่อหามาลงในกระทู้นี้
มิได้ต้องการโต้แย้งคุณกุหลาบสีชา หรือ

โดยเฉพาะย่อมไม่บังอาจ โต้เถียงกับ...สมเด็จพระสังฆราชฯ

แต่เนื่องจาก คำสอนตามพระสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

ในบางสูตรทรงแสดง จิต และ วิญญาณ โดยความหมายเดียวกัน

จึงขอนำมาลงเพื่อศึกษา ควบคู่ไปด้วยกัน


ขอบพระคุณ และยินดีค่ะคุณพี่ Eikewsang :b8:

การมีความเห็นในธรรมแตกต่างกันไป
มิใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
เพราะเราท่านล้วนยังเป็นผู้ต้องศึกษากันอยู่ทั้งสิ้น

ดังนั้นการพิจารณาทำความเข้าใจข้อธรรมต่างๆ
จากตำราทั้งชั้นหลักที่เปรียบเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญ
(พระไตรปิฏก แม้จากพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม)
และชั้นรอง (อรรถกถา และคัมภีร์ที่รจนาในชั้นหลังต่างๆ)

รวมทั้งธรรมสากัจฉาบนพื้นฐานของความเคารพในธรรม
จึงเป็นบุญกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
ยิ่งกระทำมากก็จะยิ่งแตกฉานในธรรมะ
เอื้อประโยชน์และเกื้อกูลต่อการปฏิบัติต่อไป
หากได้ศึกษาอย่างมีโยนิโสมนสิการ....


อย่างไรก็ตาม
หากมีโอกาสได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนและศึกษาให้รอบคอบยิ่งขึ้น
ผู้อ่านจะเข้าใจได้ไม่ยากว่าในกระทู้นี้

วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก
viewtopic.php?f=66&t=29292

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสนทนาธรรมในกระทู้นี้

จิต....คืออะไร
viewtopic.php?f=66&t=29224

นัยที่สมเด็จพระสังฆราชท่านต้องการจะสื่อ....คืออะไร :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตรงประเด็น เขียน:
ผมเห็นว่า ที่เข้าใจไม่ตรงกัน ไม่ใช่ประเด็นที่ว่า

จิตเป็นวิญญาณขันธ์
หรือ
จิตไม่ได้เป็นวิญญาณขันธ์

แต่ น่าจะเป็นประเด็นที่ว่า

จิต เป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น หรือไม่?...ต่างหาก

(คำว่า"เท่านั้น" มีความหมายมากๆ;พึงสังเกตุ)



ขอบพระคุณคุณหมอ....
และขออนุโมทนาที่ท่านกรุณาให้ความเห็นอย่าง ” ตรงประเด็น” (สมชื่อ) ด้วยค่ะ
:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุหลาบสีชา เขียน:
Eikewsang เขียน:
สืบเนื่องจากกระทู้ โดย คุณกุหลาบสีชา

นำคำสอนของของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงนำพระสูตร 2 สูตร
ซึ่งแสดงความหมายแตกต่างกัน...ระหว่าง จิต กับ วิญญาณ

viewtopic.php?f=66&t=29292

============================

การที่ผมนำพระสูตร ที่แสดงแตกต่างเนื่อหามาลงในกระทู้นี้
มิได้ต้องการโต้แย้งคุณกุหลาบสีชา หรือ

โดยเฉพาะย่อมไม่บังอาจ โต้เถียงกับ...สมเด็จพระสังฆราชฯ

แต่เนื่องจาก คำสอนตามพระสูตรนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน

ในบางสูตรทรงแสดง จิต และ วิญญาณ โดยความหมายเดียวกัน

จึงขอนำมาลงเพื่อศึกษา ควบคู่ไปด้วยกัน


ขอบพระคุณ และยินดีค่ะคุณพี่ Eikewsang :b8:

การมีความเห็นในธรรมแตกต่างกันไป
มิใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
เพราะเราท่านล้วนยังเป็นผู้ต้องศึกษากันอยู่ทั้งสิ้น

ดังนั้นการพิจารณาทำความเข้าใจข้อธรรมต่างๆ
จากตำราทั้งชั้นหลักที่เปรียบเสมือนเป็นรัฐธรรมนูญ
(พระไตรปิฏก แม้จากพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม)
และชั้นรอง (อรรถกถา และคัมภีร์ที่รจนาในชั้นหลังต่างๆ)

รวมทั้งธรรมสากัจฉาบนพื้นฐานของความเคารพในธรรม
จึงเป็นบุญกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
ยิ่งกระทำมากก็จะยิ่งแตกฉานในธรรมะ
เอื้อประโยชน์และเกื้อกูลต่อการปฏิบัติต่อไป
หากได้ศึกษาอย่างมีโยนิโสมนสิการ....


อย่างไรก็ตาม
หากมีโอกาสได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนและศึกษาให้รอบคอบยิ่งขึ้น
ผู้อ่านจะเข้าใจได้ไม่ยากว่าในกระทู้นี้

วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก
viewtopic.php?f=66&t=29292

ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสนทนาธรรมในกระทู้นี้

จิต....คืออะไร
viewtopic.php?f=66&t=29224

นัยที่สมเด็จพระสังฆราชท่านต้องการจะสื่อ....คืออะไร :b1:



สวัสดีครับ คุณกุหลาบสีชา

ในอดีตคงเคยมีผู้ศึกษาพระไตรปิฎก ถกเถียงกันในเรื่องนี้มาแล้ว

สมเด็จพระสังฆราชฯ ท่านคงทราบจึงเมตตาลูกศิษย์
อุตส่าห์ ค้นหาคำสอนในพระสูตรมาเขียน - อธิบาย ให้ศึกษากัน

โดยท่านก็ย้ำว่า เป็นพระสูตรเพียง 2 สูตร เท่านั้น

เหตุนี้ผมจึงต้องนำพระสูตรที่แตกต่างมาลงให้ดู เพราะ
เกรงว่า สมาชิกบางคนจะไป "เถียง...พระสังฆราชฯ" โดยไม่เจตนา

แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ผลนัก...........................

---------------------------------------------------

สำหรับประเด็นว่า "จิต = วิญญาณขันธ์ เท่านั้น " ความจริงไม่มีใครถกกันครับ

เพียงแต่คุณศีรัสพล...สำคัญผิด ยกขึ้นอ้างเองในกระทู้ "จิต...คืออะไร"

---------------------------------------------------

หมายเหตุ.- เพิ่งทราบว่า "คุณตรงประเด็น" เป็น "หมอ"

บังเอิญผมได้คุยกันมาพอสมควรแล้ว


ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

สรุปสั้นๆ ในประเด็นที่ ผมได้สนทนากันมา กับทุกๆท่าน

จิตเป็นวิญญาณขันธ์...ไม่ผิด
แต่
จิตเป็นวิญญาณขันธ์เท่านั้น...ไม่ถูก


จิตมีธรรมชาติที่รับอารมณ์...ไม่ผิด
แต่
จิตมีธรรมชาติที่รับอารมณ์เสมอ...ไม่ถูก


สวัสดีครับ คุณตรงประเด็น

เห็นด้วย....ครับในคำกล่าวว่า
จิตเป็นวิญญาณขันธ์...ไม่ผิด
จิตเป็นวิญญาณขันธ์ "เท่านั้น" ...ไม่ถูก

คำกล่าวว่า ...."จิตมีธรรมชาติที่รับอารมณ์ เสมอ"
เป็นคำกล่าว...ในตำรา...หลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต...ของอภิธรรมโชติกวิทยาลัย


โดยมีวัจนัตถะรับรองไว้ว่า
"อารมฺมณํ จินเตตีติ = จิตตํ ธรรมชาติใด ย่อมรู้อารมณ์ คือได้รับอารมณ์อยู่เสมอ ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
(หมายเหตุ- เครื่องหมาย = เป็นสัญญาลักษณ์
ที่ใช้แสดงในตำรา ไม่ใช่ผู้เขียนนำมาใส่เอง)

คำว่า "เสมอ" มีความหมายลึกนัก (ระดับวิถีจิต)
จึงไม่อยากยืนยัน....โดยสอดแทรก...ความเห็น

เช่น ในเวลาหลับ จิตก็ยังรับอารมณ์อยู่ คือ ผัสสเจตสิก , เวทนาเจตสิก เป็นต้น

เอาไว้ค้นคำตอบได้โดยชัดแจ้งแล้วจะตั้งกระทู้ใหม่แจ้งให้ทราบครับ

ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2010, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงเรียก ร่างกายว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

.....แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง .....

(.....ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย.....ฯลฯ.....)

ตอบ

ทั้งหมดเป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ตัวต้นคือ สังขาร เป็นปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ, แล้ววิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป และก็ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงภพ ชาติ และก็ชรามรณะ แล้วก็วนกลับมาใหม่ ถ้ายังมีอวิชชาอยู่

1. จะเห็นว่า คำว่าสังขาร ที่สร้างวิญญาณนั้น คือ จิตสังขาร หรือจิตที่คิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเรียก จิตสังขาร ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งต่อเนื่องมาจากสังขาร(จิต) นอกจากนี้ พระพุทธองค์จะเรียก สิ่งที่เป็นนามรูป หรือ ขันธ์ 5 หรือร่ายกายว่า อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ก็ไม่ผิด เพราะเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องกัน

ตัวอย่าง ทุกสรรพสิ่งประกอบด้วยสสาร มีโมเลกุลเป็นสิ่งเล็กสุดที่รับรู้ได้ในยุคหนึ่ง ต่อมาเมื่อพบว่า อะตอมเป็นสิ่งที่เล็กสุดในสสารหรือโมเลกุล เราจะเรียกสิ่งนั้นเป็นอะไรก็ได้ เป็น สสาร เป็นโมเลกุล เป็นอะตอม หรือจะแยกแยะออกไปอีกก็ได้ ตามแต่ว่าเราจะสื่ออะไรให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดในสาขาวิชานั้น

สมมุติ เราเรียกโมเลกุลว่าเป็น จิตสังขาร, โมเลกุลในไม้ เราเอามาใช้ทำบ้าน เราจะเรียกบ้านของเราว่า "บ้านไม้" ถ้าเราเอาไม้ไปทำอุปกรณ์ทุกชิ้นในบ้าน เช่น โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้ เราจะเรียกอุปกรณ์เหล่านั้นว่า โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้

หรือเราจะเรียกโมเลกุลของไม้ที่เป็นพื้นฐาน ก็ย่อมได้ จะเรียกเป็นอะตอมก็ได้ แต่คงจะสื่อกันยืดยาวหน่อย เราเลยเรียกเป็นฃื่อ สิ่งสมมุตินั้นแทน ในกรณีนี้คือ โต๊ะไม้ เก้าอี้ไม้ ตะเกียบไม้

2. พระพุทธเจ้าบางครั้งก็เรียกสังขาร(จิต) ว่า "โลก" บางครั้งก็เรียกว่า "อุปทาน" บางครั้งก็เรียก "อัตตานุทิฎฐิ" บางครั้งก็เรียก "สังสารวัฏฏ์" ขึ้นอยู่กับจุดประสงฆ์ว่าท่านจะแสดงธรรมระดับไหน

ที่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เทศน์ว่า

แม้ จิตสังขาร คือสัญญาเวทนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีสัญญามีเวทนา จิตจึงจะคิดนึกตรึกตรอง วิญญาณจึงเกิดขึ้นในเรื่องที่จิตคิดนึกตรึกตรองนั้น ...

องค์สมเด็จพระญาณสังวร จะเรียก จิตว่ากายก็ได้ เพราะตัวกาย(นามรูป)นั้นย่อมต้องมีจิตสังขาร( กายทิพย์, โอปาติกะ, เจตภูต, อทิสมานกาย)อยู่ในกายหรือขันธ์ 5(นามรูป - รูปขันธ์,เวทนาขันธ์,สังขารขันธ์, สัญญาขันธ์, วิญญาณขันธ์) ชีวิตจึงจะมีขึ้นได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร