วันเวลาปัจจุบัน 07 ต.ค. 2024, 06:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2014, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:


ประตู
สู่
พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์


พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
จำรูญ ธรรมดา

แปลและเรียบเรียง


เนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ปรมาจารย์แห่งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย


คัมภีร์ที่ ๓-๔ ธาตุกถาและปุคคลบัญญัติ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ คือ ธาตุกถาและปุคคลบัญญัติ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ ๓ และที่ ๔ แห่งพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรือสัตตปกรณ์ คือ
๑. ธัมมสังคณี
๒. วิภังค์
๓. ธาตุกถา
๔. ปุคคลบัญญัติ
๕. กถาวัตถุ
๖. ยมก
๗. ปัฏฐาน
พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เองที่เรียกว่า พระอภิธรรมปิฎก


พระอภิธรรมปิฎกว่าด้วยเรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน และ บัญญัติ ในจำนวนนี้ ๔ เรื่องแรกจัดเป็นปรมัตถสัจคือความจริงขั้นสูงสุด เป็นความจริงสากล ส่วนเรื่องที่ ๕ คือ บัญญัติที่ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ จัดเป็นสมมติสัจ คือ ความจริงที่สมมติขึ้นใช้เพื่อเรียกขานกัน เป็นความจริงเฉพาะ พระอภิธรรมปิฎก ในส่วนที่เป็นปรมัตถสัจ จึงเป็นธรรมอันยิ่ง ธรรมอันพิเศษ ธรรมอันละเอียด ลุ่มลึก ประเสริฐกว่าธรรมทั้งปวงที่สามารถนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ บรรลุถึงนิพพานได้ พระอภิธรรมปิฎกจึงเป็นเหมือนฉัตรใหญ่ที่ประเสริฐกว่าฉัตรทั้งปวง

:b42: ประวัติพระอภิธรรมปิฎก
พระอรรถกถาจารย์เล่าความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎกไว้มีใจความว่า หลังจากพระผู้มีพระภาคตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ๓ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๔ ทรงพิจารณาพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นี้ติดต่อกันตลอด ๗ วัน ณ รัตนฆรเจดีย์ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้หลังจากตรัสรู้แล้ว ๗ พรรษา ทรงแสดงยมกปฏิหาริย์ ณ ควงไม้คัณฑามพฤกษ์ เขตกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จไปจำพรรษาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ซึ่งอยู่ภายใต้ต้นปาริชาต ได้ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดาที่ไปอุบัติเป็นสันตุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตและทวยเทพจากหมื่นจักรวาล ตลอดไตรมาสคือ
ทรงแสดงธัมมสังคณี ๑๒ วัน
ทรงแสดงวิภังค์ ๑๒ วัน
ทรงแสดงธาตุกถา ๖ วัน
ทรงแสดงปุคคลบัญญัติ ๗ วัน
ทรงแสดงกถาวัตถุ ๑๐ วัน
ทรงแสดงยมก ๑๒ วัน
ทรงแสดงปัฏฐาน ๒๕ วัน

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ที่ทรงแสดงโปรดพระพุทธมารดานี้ เรียกว่า พระอภิธรรมวิตถารนัย คือ พระอภิธรรมที่ทรงแสดงโดยละเอียดพิศดาร อนึ่งในขณะทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อยู่ในสวรรคชั้นดาวดึงส์นั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลงมาเสวยพระกระยาหารและทรงพักผ่อน ณ ป่าไม้จันทน์แดง บริเวณสระอโนดาด บนภูเขาหิมพานต์เป็นประจำทุกวัน โดยทรงเนรมิตพระพุทธเนรมิตให้ทรงแสดงพระอภิธรรมแทนต่อไป ในช่วงที่เสด็จลงมา ณ บริเวณสระอโนดาดนี้เอง ท่านพระสารีบุตรได้เข้าเฝ้าปรนนิบัติ และพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงพระอภิธรรมให้ท่านพระสารีบุตรฟังติดต่อกันทุกวันด้วย พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ที่ทรงแสดงครั้งนี้ ทรงแสดงโดยย่อ จึงเรียกว่า พระอภิธรรมสังเขปนัย

ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้แสดงแก่ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป โดยขยายความให้ละเอียดขึ้นพอสมควร คือไม่สังเขปนักและไม่พิศดารนัก จึงเรียกว่าพระอภิธรรมนาติวิตถารนาติสังเขปนัย

ธาตุกถาและปุคคลบัญญัติที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ นี้ คงเป็นเพียงฉบับสังเขปนัยเท่านั้น เมื่อเทียบกับฉบับวิตถารนัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึง ๖ วัน และ ๗ วัน ตามลำดับ

:b42: แนะนำธาตุกถา

ธาตุกถา


:b53: ๑. ความหมาย
คำว่า ธาตุ แปลว่า สภาวะที่ทรงลักษณะเฉพาะของตัวเองไว้ หมายถึง สิ่งที่ดำรงอยู่ตามสภาพของตนหรือตามธรรมดาของเหตุปัจจัย สิ่งที่เป็นมูลเดิม หรือสิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของคน สัตว์ และสิ่งทั้งหลาย ได้แก่ ธาตุ๔ ธาตุ๖ และธาตุ๑๘

:b50: ธาตุ ๔ คือ
๑. ปฐวีธาตุ ได้แก่ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกว่าเป็นสามัญว่าธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ได้แก่ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกกันเป็นสามัญว่าธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ได้แก่ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกกันเป็นสามัญว่าธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ได้แก่ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกกันเป็นสามัญว่าธาตุลม

:b50: ธาตุ ๖ คือ
ธาตุที่ ๑-๔ เหมือนธาตุ๔ ข้างต้น เพิ่ม
๕. อากาสธาตุ ได้แก่สภาวะที่ว่าง
๖. วิญญาณธาตุ ได้แก่สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์หรือ ธาตุรู้

:b50: ธาตุ ๑๘ คือ
๑. จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุ (ตา)
๒. โสตธาตุ ธาตุคือโสตะ (หู)
๓. ฆานธาตุ ธาตุคือฆานะ (จมูก)
๔. ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหา (ลิ้น)
๕. กายธาตุ ธาตุคือกาย
๖. รูปธาตุ ธาตุคือรูป
๗. สัททธาตุ ธาตุคือสัททะ (เสียง)
๘. คันธธาตุ ธาตุคือคันธะ (กลิ่น)
๙. รสธาตุ ธาตุคือรส
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือสิ่งที่สัมผัส (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง)

๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ
๑๖. มโนธาตุ ธาตุคือมโน
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือมโนวิญญาณ
๑๘. ธัมมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์


คำว่า ธาตุกถา แปลว่า คำอธิบายเรื่องธาตุ ในที่นี้เป็นชื่อปกรณ์หรือคัมภีร์ที่ ๓ ของพระอภิธรรมปิฎก เป็นคัมภีร์ที่พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมแม่บทที่เรียกว่ามาติกา จำนวน ๓๗๑ บท คืออัพภันตรมาติกา(สภาวธรรมแม่บทของคัมภีร์นี้เอง) จำนวน ๑๐๕ บท และพาหิรมาติกา(สภาวธรรมแม่บทจากคัมภีร์ธัมมสังคณี) จำนวน ๒๖๖ บท มาแสดงด้วยวิธีการหรือนัยต่างๆ ๑๔ นัย เช่น ทรงแสดงด้วยนัยที่๑ ว่า

-สภาวธรรมแม่บทเหล่านี้ บทไหนสงเคราะเข้าได้กับขันธ์เท่าไร
เข้าได้กับอายตนะเท่าไร และเข้าได้กับธาตุเท่าไร

-และสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
กล่าวคือ ทรงกำหนดให้ธรรม ๓ หมวด คือ ขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และ ธาตุ๑๘ เป็นบทยืนสำหรับเทียบว่า

สภาวธรรมแม่บท ๓๗๑ บทนั้น บทไหนสงเคราะห์หรือประกอบเข้าได้กับธรรม ๓ หมวดนี้ หมวดละเท่าไร สงเคราะห์หรือประกอบเข้าไม่ได้เท่าไร

คัมภีร์นี้จึงไม่ใช่ว่าด้วยธาตุเพียงอย่างเดียว ที่จริงแล้วว่าด้วยขันธ์และอายตนะด้วย แต่ที่ตั้้งชื่อว่าธาตุกถา เพราะเน้นเรื่องธาตุมากกว่าธรรมอีก ๒ หมวด วิธีตั้งชื่อแบบนี้เรียกว่า ตั้งตามสาติสยนัย คือนัยที่ยิ่งกว่า(มูล.ฎีกา ๓/๑-๒)

เนื่องจากขันธ์ อายตนะ และธาตุ เป็นบทยืนของคัมภีร์นี้จึงควรแนะนำไว้ก่อน เพื่อให้กำหนดจำไว้ให้แม่นยำ
มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจเรื่องได้ดีพอ ธาตุ๑๘ ได้แนะนำไว้แล้ว ต่อไปขอแนะนำขันธ์๕ และอายตนะ๑๒

ขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. รูปขันธ์ กองรูป
๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา
๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร
๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ
แต่ละขันธ์หรือแต่ละกองมีองค์ธรรมอะไรบ้าง ขอให้ศึกษาโดยละเอียดจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

อายตนะ ๑๒ ได้แก่
๑. จักขายตนะ อายตนะคือตา
๒. โสตายตนะ อายตนะคือหู
๓. ฆานายตนะ อายตนะคือจมูก
๔. ชิวหายตนะ อายตนะคือลิ้น
๕. กายายตนะ อายตนะคือกาย
๖. มนายตนะ อายตนะคือใจ
๗. รูปายตนะ อายตนะคือรูป
๘. สัททายนตนะ อายตนะคือเสียง
๙. คันธายตนะ อายตนะคือกลิ่น
๑๐. รสายตนะ อายตนะคือรส
๑๑. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะคือสิ่งที่สัมผัส(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง)
๑๒. ธัมมายตนะ อายตนะคือ ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจคิด)
อายตนะแต่ละอย่างมีองค์ธรรมอะไรบ้าง ควรศึกษาไว้ก่อนเพราะมีรายละเอียดมาก เช่น ธัมมายตนะมีองค์ธรรม ๒ กลุ่ม
- กลุ่มหนึ่งได้แก่ สุขุมรูป๑๖ และนิพพาน
- อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ เจตสิก๕๒
ทั้งสองกลุ่มนี้วิปปยุตจากกัน

อนึ่ง สภาวธรรม ๓ หมวดนี้ นอกจากเป็นบทยืนสำหรับเทียบกับสภาวธรรมแม่บทอื่นๆ แล้ว ยังเป็นสภาวธรรมแม่บทสำหรับยกเป็นมูลบทหรือบทตั้งในการจำแนกสภาวธรรมตามวิธีการของแต่ละนัยด้วย

:b53: ๒. เนื้อหาของธาตุกถา
ธาตุกถา แบ่งเป็น ๒ ภาค คือภาคอุทเทศและภาคนิทเทส
ก. ภาคอุทเทส ได้แก่ ภาคที่ทรงแสดงสภาวธรรมแม่บท หรือมาติกา พร้อมทั้งวิธีการจำแนกสภาวธรรมโดยย่อให้เห็นโครงสร้างของคัมภีร์นี้
ข. ภาคนิทเทส ได้แก่ ภาคที่ทรงแสดงการจำแนกโดยละเอียดด้วยวิธีการต่างๆ ที่เรียกว่านัย ถึง ๑๔ นัย ทำให้มีเนื้อหา ๑๔ บท

:b47: ก. ภาคอุทเทส

ภาคอุทเทส แบ่งเป็น ๕ มาติกา คือ
๑. นยมาติกา แปลว่า สภาวธรรมแม่บทที่เป็นนัยหรือวิธีการ หมายถึงวิธีการจำแนก หรือจัดหมวดหมู่สภาวธรรมแม่บทจำนวน ๓๗๑ บท (อัพภันตร มาติกา ๑๐๕ บท พาหิรมาติกา ๒๖๖ บท) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มูลมาติกา คือสภาวธรรมแม่บทที่เป็นเค้าโครงของธาตุกถามี ๑๔ นัยคือ

๑. สงฺคโห อสงฺคโห ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้่าไม่ได้ เรียกว่า สังคหาสังคหนัย

๒. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะ์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
เรียกว่า สังคหิเตนอสังคหิตนัย

๓. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ เรียกว่า อสังคหิเตนสังคหิตนัย

๔. สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ เรียกว่า
สังคหิเตนสังคหิตนัย

๕. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้
เรียกว่า อสังคหิเตน อสังคหิตนัย

๖. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้ เรียกว่า สัมปโยควิปปโยคนัย

๗. สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้
เรียกว่า สัมปยุตเตนวิปปยุตตนัย

๘. วิปฺปยุตฺต สมฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้
เรียกว่า วิปปยุตตสัมปยุตตนัย

๙. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้
เรียกว่า สัมปยุตตสัมปยุตตนัย

๑๐. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้
เรียกว่า วิปปยุตตวิปปยุตตนัย

๑๑. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้ กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ เรียกว่า สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตนัย

๑๒. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์ เข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้ เรียกว่า สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตนัย

๑๓. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้ กับสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ เรียกว่า อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตนัย

๑๔. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ ได้แก่ สภาวธรรมที่สงเคราะห์ เข้าได้ (และ)
สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้ เรียกว่า วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตนัย

คำว่า สงฺคโห หรือที่แปลว่าสงเคราะห์ หมายถึง การรวมเข้า เป็นวิธีการจัด หมวดหมู่สภาวธรรม
ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาชื่อปัญจปกรณ์ อธิบายไว้ว่า มี ๔ แบบ คือ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2014, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สงฺคโห หรือที่แปลว่าสงเคราะห์ หมายถึง การรวมเข้า เป็นวิธีการจัด หมวดหมู่สภาวธรรม
ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาชื่อปัญจปกรณ์ อธิบายไว้ว่า มี ๔ แบบ คือ

๑. ชาติสงฺคโห แปลว่า สงเคราะห์ตามชาติ หมายถึงสงเคราะห์สภาวธรรมที่เป็นชาติเดียวกันเข้าด้วย เช่น สงเคราะห์สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าในสีลขันธ์ เหมือนสงเคราะห์กษัตริย์เข้าในกษัตริย์ พราหมณ์เข้าในพราหมณ์ แพศย์เข้าในแพศย์ และศูทรเข้าในศูทรด้วยกัน

๒. สญฺชาติสงฺคโห แปลว่า สงเคราะห์ตามสัญชาติ เช่น สงเคราะห์สัมมาวายามะ สัมมาสติ เข้าสัมมาสมาธิเข้าในสมาธิขันธ์ เหมือนสงเคราะห์คนสัญชาติโกศลเข้าในคนสัญชาติโกศล คนสัญชาติมคธเข้าในคนสัญชาติมคธ

๓. กิริยาสงฺคโห แปลว่า สงเคราะห์ตามหน้าที่ เช่น สงเคราะห์สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าในปัญญาขันธ์ เหมือนสงเคราะห์คนฝึกช้างเข้าในคนฝึกช้าง คนฝึกม้าเข้าในคนฝึกม้า

๔. คณณสงฺคโห แปลว่า สงเคราะห์ด้วยการนับ หรือสงเคราะห์ตามจำนวน เช่น ถามว่า "จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร "ตอบว่า" สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ (คือรูปขันธ์)

คำว่า สงฺคโห (รวมทั้งคำ สงฺคหิตํ สงฺคหิเตน) ที่ใช้ในธาตุกถา อรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ปัญจปกรณ์ กล่าวว่า หมายถึง คณนสงฺคโห เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้น ที่แปล สงฺคโห ว่า สงเคราะห์เข้าได้ นั้นหมายถึงสงเคราะห์เข้าได้ด้วยการนับหรือตามจำนวนส่วนคำว่า อสงฺคโห (รวมทั้ง อสงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน) มีนัยตรงกันข้าม

คำว่า สมฺปโยโค (รวมทั้งคำ สมฺปยุตตํ) ที่แปลว่า ประกอบเข้าได้นั้น อรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ปัญจปกรณ์อธิบายว่า หมายถึงสภาวธรรมที่เกิด-ดับพร้อมกัน มีวัตถุและอารมณ์เดียวกัน ส่วนคำว่า วิปฺปโยโค (รวมทั้งคำ วิปฺปยุตตํ) มีนัยตรงกันข้าม (ดูรายละเอียดในคำอธิบายตัวอย่างของฉัฏฐนัยประกอบ)

๒. อัพภันตรมาติกา แปลว่า สภาวธรรมแม่บทภายใน หมายถึง สภาวธรรมที่เป็นแม่บทของคัมภีร์ธาตุกถานี้เอง ซึ่งตามนัยอรรถกถา มี ๒๒ นัย รวม ๑๒๕ บท คือ
๑. ขันธ์ ๕
๒. อายตนะ ๑๒
๓. ธาตุ ๑๘
๔. สัจจะ ๔
๕. อินทรีย์ ๒๒
๖. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
๗. สติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมัปปธาน ๔
๙. อิทธิบาท ๔
๑๐. ฌาน ๔
๑๑. อัปปมัญญา ๔
๑๒. อินทรีย์ ๕
๑๓. พละ ๕
๑๔. โพชฌงค์ ๗
๑๕. อริยมรรคมีองค์ ๘
๑๖. ผัสสะ
๑๗. เวทนา
๑๘. สัญญา
๑๙. เจตนา
๒๐. จิต
๒๑. อธิโมกข์
๒๒. มนสิการ

แต่ที่ปรากฏในพระบาลีมีเพียง ๑๐๕ บท คือ ขันธ์ ๕ บท / อายตนะ ๑๒ บท / ธาตุ ๑๘ บท / ธาตุ ๑๘ บท / สัจจะ ๔ บท / อินทรีย์ ๒๒ บท / ปฏิจจสมุปบาท ๒๘ บท นอกนั้นอย่างละ ๑ บท

๓. นยมุขมาติกา แปลว่า สภาวธรรมแม่บทที่เป็นหลักแห่งนัย หมายถึงเป็นหลักแห่งนัย ๑๔ นัยของนยมาติกา นยมุขมาติกา มี ๔ นัย คือ

๑. ตีหิ สงฺคโห แปลว่า สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรม ๓ หมวดคือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ

๒. ตีหิ อสงฺคโห แปลว่า สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรม ๓ หมวดคือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ

๓. จตูหิ สมฺปโยโค แปลว่า สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้กับสภาวธรรม ๔ หมวด (คือ อรูปขันธ์หรือนามขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์)

๔. จตูหิ วิปฺปโยโค แปลว่า สภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้กับสภาวธรรม ๔ หมวด (คืออรูปขันธ์ ๔)

๔. ลักขณมาติกา แปลว่า สภาวธรรมแม่บทที่แสดงลักษณะให้สังเกตเห็นได้ หมายถึงลักษณะของสภาวธรรมที่สงเคราะห็เข้าได้ และที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ สภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้และที่ประกอบเข้าไม่ได้ มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. สภาโค แปลว่า มีส่วนเสมอกัน
๒. วิสภาโค แปลว่า มีส่วนไม่เสมอกัน

๕. พาหิรมาติกา แปลว่า สภาวธรรมแม่บทภายนอก หมายถึงมาติกาของคัมภีร์ธัมมสังคณีมี ๑๒๒ นัย รวม ๒๖๖ บท จำแนกเป็นติกมาติกา ๒๒ นัย หรือ ๒๒ ติกะ / ติกะละ ๓ บท / รวม ๖๖ บท และทุกมาติกา ๑๐๐ นัย หรือ ๑๐๐ ทุกะ / ทุกะละ ๒ บท รวมเป็น ๒๐๐ บท ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

ก.) ติกมาติกา ๒๒ ติกะ (๖๖ บท) คือ

๑. กุสลติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกุศล
- สภาวธรรมที่เป็นอกุศล
- สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤต

๒. เวทนาติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา

๓. วิปากติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นวิบาก
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก

๔. อุปาทินนติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึคถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
- สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึคถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
- สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึคถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

๕. สังกิลิฏฐติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของกิเลส
- สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
- สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส

๖. สวิตักกติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
- สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
- สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร

๗. ปีติติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา

๘. ทัสสนติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
- สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
- สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓

๙. ทัสสนเหตุติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
- สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
- สภาวธรรมที่มีเหตุไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓

๑๐. อาจยคามิติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิและจุติ
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้นิพพาน
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงปฏิสนธิ จุติและนิพพาน

๑๑. เสกขติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล
- สภาวธรรมที่เป็นของเสขบุคคล
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเสขบุคคลและเสขบุคคล

๑๒. ปริตตติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นปริตตะ
- สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะ
- สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ

๑๓. ปริตตารัมมณติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีปริตตะเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่มีมหัคคตะเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่มีอัปปมาณะเป็นอารมณ์

๑๔. หีนติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมชั้นต่ำ
- สภาวธรรมชั้นกลาง
- สภาวธรรมชั้นประณีต

๑๕. มิจฉัตตติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน
- สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน
- สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน

๑๖. มัคคารัมมณติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นเหตุ
- สภาวธรรมที่มีมรรคเป็นอธิบดี

๑๗. อุปปันนติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
- สภาวธรรมที่ยังไม่เกิด
- สภาวธรรมที่จักเกิดแน่นอน

๑๘. อตีตติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอดีต
- สภาวธรรมที่เป็นอนาคต
- สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบัน

๑๙. อติตารัมมณติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่มีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์

๒๐. อัชฌัตตติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นภายในตน
- สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตน
- สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตน

๒๑. อัชฌัตตารัมมณติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นภายในตนเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่เป็นภายนอกตนเป็นอารมณ์
- สภาวธรรมที่เป็นภายในตนและภายนอกตนเป็นอารมณ์

๒๒. สนิทัสสนติกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
- สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบได้
- สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้

ข.) ทุกมาติกา ๑๐๐ (๒๐๐ บท) คือ

๑. เหตุทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุ

๒. สเหตุทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีเหตุ
- สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ

๓. เหตุสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตด้วยเหตุ

๔. เหตุสเหตุทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ
- สภาวธรรมที่มีเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

๕. เหตุเหตุสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุแต่ไม่เป็นเหตุ

๖. นเหตุสเหตุทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุแต่มีเหตุ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุและไม่มีเหตุ

๗. สัปปัจจยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
- สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

๘. สังขตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
- สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

๙. สนิทัสสนทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เห็นได้
- สภาวธรรมที่เห็นไม่ได้

๑๐. สัปปฏิฆทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่กระทบได้
- สภาวธรรมที่กระทบไม่ได้

๑๑. รูปีทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นรูป
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูป

๑๒. โลกิยะทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโลกียะ
- สภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระ

๑๓. เกนจิวิญเญยยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่พึงรู้ได้ด้วยจิตบางดวง
- สภาวธรรมที่ไม่พึงรู้ได้ด้วยจิตบางดวง

๑๔. อาสวทุกะ ได้แก
- สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอาสวะ

๑๕. สาสวทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

๑๖. อาสวสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะ

๑๗. อาสวสาสวทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ

๑๘. อาสวาสวสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ

๑๙. อาสววิปปยุตตสาสวทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอาสวะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ

๒๐. สัญโญชนทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์

๒๑. สัญโญชนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์

๒๒. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์
- สภาวธรรมที่วิปปยุตตจากสังโยชน์

๒๓. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์

๒๔. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์

๒๕. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์

๒๖. คันถทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นคันถะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นคันถะ

๒๗. คันถนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ

๒๘. คันถสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะ

๒๙. คันถคันถนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ

๓๐. คันถคันถสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยคันถะแต่ไม่เป็นคันถะ

๓๑. คันถวิปปยุตตคันถนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะแต่เป็นอารมณ์ของคันถะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากคันถะและไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ

๓๒. โอฆทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นโอฆะ

๓๓. โอฆนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ

๓๔. โอฆสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโอฆะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะ

๓๕. โอฆโอฆนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ

๓๖. โอฆโอฆสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะ
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโอฆะแต่ไม่เป็นโอฆะ

๓๗. โอฆวิปปยุตตโอฆนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะแต่เป็นอารมณ์ของโอฆะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโอฆะและไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ

๓๘. โยคทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโยคะ
- สภาวธรรมที่ำไม่เป็นโยคะ

๓๙. โยคนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของโยคะ
- สภาวธรรมที่ำไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ

๔๐. โยคสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยโยคะ
- สภาวธรรมที่ำวิปปยุตจากโยคะ

๔๑. โยคโยคนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโยคะและเป็นอารมณ์ของโยคะ
- สภาวธรรมที่ำเป็นโยคะแต่ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ

๔๒. โยคโยคสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นโยคะและสัมปยุตตด้วยโยคะ
- สภาวธรรมที่ำสัมปยุตด้วยโยคะแต่ไม่เป็นโยคะ

๔๓. โยควิปปยุตตโยคนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโยคะแต่เป็นอารมณ์ของโยคะ
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากโยคะและไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ

๔๔. นีวรณทุกะ ได้แ่ก่
- สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์

๔๕. นีวรณิยทุกะ ได้แ่ก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

๔๖. นีวรณสัมปยุตตทุกะ ได้แ่ก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์

๔๗. นีวรณนีวรณิยทุกะ ได้แ่ก่
- สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์และไม่เป็นนิวรณ์

๔๘. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตตด้วยนิวรณ์
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยนิวรณ์แต่ไม่เป็นนิวรณ์

๔๙. นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์

๕๐. ปรามาสทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นปรามาส
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส

๕๑. ปรามัฏฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาส
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส

๕๒. ปรามาสสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยปรามาส
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาส

๕๓. ปรามาสปรามัฏฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของปรามาสแต่ไม่เป็นปรามาส

๕๔. ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสแต่เป็นอารมณ์ของปรามาส
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส

๕๕. สารัมมณทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้
- สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้

๕๖. จิตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นจิต
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต

๕๗. เจตสิกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก

๕๘. จิตตสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่่สัมปยุตด้วยจิต
- สภาวธรรมที่วิปปยุตตจากจิต

๕๙. จิตตสังสัฏฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ระคนกับจิต
- สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต

๖๐. จิตตสมุฏฐานทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฎฐาน
- สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฎฐาน

๖๑. จิตตสมุฏฐานทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
- สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต

๖๒. จิตตานุปริวัตติทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต

๖๓. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฎฐาน
- สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฎฐาน

๖๔. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
- สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต

๖๕. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
- สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต

๖๖. อัชฌัตติกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นภายใน
- สภาวธรรมที่เป็นภายนอก

๖๗. อุปาทาทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป

๖๘. อุปาทินนทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึคถือ
- สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึคถือ

๖๙. อุปาทานทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทาน

๗๐. อุปาทานิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

๗๑. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

๗๒. อุปาทานสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นสัมปยุตด้วยอุปาทาน
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทาน

๗๓. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน

๗๔. อุปาทานวิปปยุตตอุปาทนิยทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานแแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากอุปาทานและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน

๗๕. กิเลสทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกิเลส
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นกิเลส

๗๖. กิเลสทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส

๗๗. สังกิลิฎฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมอง
- สภาวธรรมที่กิเลสไม่ทำให้เศร้าหมอง

๗๘. กิเลสสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลส
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลส

๗๙. กิเลสสังกิเลสิกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
- สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส

๘๐. กิเลสสังกิลิฎฐทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง
- สภาวธรรมที่กิเลสทำให้เศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส

๘๑. กิเลสกิิิิิเลสสัมปยุตตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส
- สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยกิเลสแต่ไม่เป็นกิเลส

๘๒. กิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสแต่เป็นอารมณ์ของกิเลส
- สภาวธรรมที่วิปปยุตจากกิเลสและไม่เป็นอารมณ์ของกิเลส

๘๓. ทัสสเนนปหาตัพพทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
- สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค

๘๔. ภาวนายปหาตัพพทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
- สภาวธรรมที่ไม่ต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓

๘๕. ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค
- สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยโสดาปัตติมรรค

๘๖. ภาวนายปหาตัพพเหตุทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓
- สภาวธรรมที่ไม่มีเหตุต้องประหาณด้วยมรรคเบื้องบน ๓

๘๗. สวิตักกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีวิตก
- สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก

๘๘. สวิจารทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีวิจาร
- สภาวธรรมที่ไม่มีวิจาร

๘๙. สัปปีติกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีปีติ
- สภาวธรรมที่ไม่มีปีติ

๙๐. ปีติสหคตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
- สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยปีติ

๙๑. สุขสหคตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
- สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยสุข

๙๒. อุเปกขาสหคตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
- สภาวธรรมที่ไม่สหรคตด้วยอุเบกขา

๙๓. กามาวจรทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร

๙๔. รูปาวจรทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจร
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร

๙๕. อรูปาวจรทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร

๙๖. ปริยาปันนทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (โลกิยะ)
- สภาวธรรมที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ (โลกุตตระ)

๙๗. นิยยานิกทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์

๙๘. นิยตทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
- สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น

๙๙. สอุตตรทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
- สภาวธรรมที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

๑๐๐. สรณทุกะ ได้แก่
- สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
- สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b47: ข. ภาคนิทเทส


ภาคนิทเทส คือภาคแสดงโดยยกนัยทั้ง ๑๔ นัยของนยมาติกาขึ้นตั้งเป็นบท ๑๔ บท เรียกชื่อบทว่า นยนิทเทส เริ่มตั้งแต่ ปฐมนยนิทเทส จนถึง จุททสมนยนิทเทส แต่ละนิทเทสว่าด้วยอัพภันตรมาติกาและพาหิรมาติกา ตามลำดับ โดยดำเนินตามนัยและวาระต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของธาตุกถา ดังนี้

นยนิทเทศ
|
มูลกนัย
|
ปุจฉาวาระ---------------------------วิสัชชนาวาระ


นยนิทเทศ คือการแสดงสภาวธรรมด้วยนัยแต่ละนัยของนยมาติกาในภาคอุทเทส เช่น นัยของปฐมนยนิทเทส คือ สัคหาสังคหนัย เรียกสภาวธรรมที่นำมาจำแนกด้วยนัยนี้่ว่าสังคหาสังคหปทะ (สังคหบทและอสังคหบท) และเรียกชื่อนยนิทเทสนี้ว่า ปฐมนัย สังคหาสังคหปทนิทเทส

มูลกนัย คือวิธีการจำแนกสภาวธรรมโดยยกสภาวธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นตั้งเป็นมูล ถ้าตั้งเป็นมูลทีละบทเรียกว่า เอกมูลกนัย ถ้าตั้งเป็นมูลทีละ ๒ บท เรียกว่า ทุกมูลกนัย ถ้าตั้งเป็นมูลทีละ ๓ บท เรียกว่า ติกมูลกนัย เป็นต้น จำนวน มูลกะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนบทของหมวดธรรมที่ยกมาจำแนก เช่น หมวดขันธ์มี ๕ มูลกะ หมวดอายตนะมี ๑๒ มูลกะ หมวดธาตุมี ๑๘ มูลกะ หมวดอินทรีย์มี ๒๒ มูลกะ

ปุจฉาวาระ วาระตั้งคำถามคือเมื่อยกสภาวธรรมบทใดขึ้นเป็นมูลก็ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบต่อไป เช่น ในปฐมนัย เมื่อยกรูปขันธ์ขึ้นตั้งเป็นมูลในเอกมูลกนัย ก็ตั้งคำถามว่า รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร

วิสัชชนาวาระ วาระตอบคำถาม เช่น ตัวอย่างข้างต้นตอบว่า
รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑

:b53: ๓. แนะนำนยนิทเทส

ต่อไปนี้ขอแนะนำสาระสำคัญของนยนิทเทสแต่ละนิทเทส เพื่อให้เข้าใจธาตุกถาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

:b51: ๑. ปฐมนัย :b51:
สังคหาสังคหปทนิทเทส


:b49: ๑.๑) วิธีการของปฐมนัย
คำว่า สังคหาสังคหปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าได้และบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ หมายความว่า ในปฐมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านำสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้และสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์ เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ มาจำแนกด้วยวิธีการที่เรียกว่า สังคหาสังคหนัย เพื่อหาว่าบทใดสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์เท่าไร อายตนะเท่าไร และธาตุเท่าไร สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร การจำแนกโดยแยกประเภทเป็นบทๆ แบบนี้เรียกว่า เภทวาระ เมื่อจำแนกเป็นบทๆ แล้ว ก็จะสรุปรวมทั้งหมด เช่น เมื่อทรงจำแนกแต่ละขันธ์แล้ว ทรงสรุปรวมว่า ขันธ์๕ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร การจำแนกแบบนี้เรียกว่า อเภทวาระ ทั้งเภทวาระและอเภทวาระ แบ่งเป็น ๒ วาระ คือ ปุจฉาวาระ และวิสัชนาวาระ ดังกล่าวข้างต้น

:b49: ๑.๒) เนื้อหาของปฐมนัย
คำว่า เนื้อหา ที่ใช้ในบทนำนี้ทั้งหมด หมายถึงสภาวธรรมที่ทรงยกขึ้นเป็นมูลบทหรือบทตั้ง เนื้อหาของปฐมนัยประกอบด้วยอัพภันตรมาติกา ๑๐๕ บทและพาหิรมาติกา ๒๖๖ บท รวมเป็น ๓๗๑ อัพภันตรมาติกาแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่เรียกว่า ขันธาทินิทเทส และส่วนที่เรียกว่า ผัสสสัตตกนิทเทส

ขันธาทินิทเทส แปลว่า การแสดงอัพภันตรมาติกาที่มีขันธ์ ๕ เป็นเบื้องต้นมีจำนวน ๑๕ มาติกา หรือ ๑๕ นัย ที่ทรงจำแนกไว้มี ๙๙ บท คือ
๑. ขันธ์๕ = ๕ บท
๒. อายตนะ = ๑๒ บท
๓. ธาตุ = ๑๘ บท
๔. สัจจะ๔ = ๔ บท
๕. อินทรีย์๒๒ = ๒๒ บท
๖. ปฏิจจสมุปบาท๑๒ = ๒๘ บท
๗. สติปัฏฐาน๔ = ๑ บท
๘. สัมมัปปธาน๔ = ๑ บท
๙. อิทธิบาท๔ = ๑ บท
๑๐. ฌาน๔ = ๑ บท
๑๑. อัปปมัญญ๔ = ๑ บท
๑๒. อินทรีย์๕ = ๑ บท
๑๓. พละ๕ = ๑ บท
๑๔. โพชฌงค์๗ = ๑ บท
๑๕. อริยมรรคมีองค์๘ = ๑ บท

ส่วนผัสสสัตตกนิทเทส แปลว่า การแสดงอัพภันตรมาติกา ๗ มาติกา มีผัสสะเป็นเบื้องต้น ทรงจำแนกไว้มาติการละ ๑ บท คือ
๑. ผัสสะ
๒. เวทนา
๓. สัญญา
๔. เจตนา
๕. จิต
๖. อธิโมกข์
๗. มนสิการ

:b49: ๑.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของปฐมนัย
:b46: ก. สงเคราะห์ ขันธ์๕ เข้ากับขันธ์ อายตนะ และธาตุ

เภทวาระ
เอกมูลกนัย

[๖] ปุจฉาวาระ รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑
ปุจฉาวาระ รูปขันธ์สงเคราห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑ และธาตุ๗
ฯลฯ

[๑๐] ปุจฉาวาระ วิญญาณขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ วิญญาณขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑ และธาตุ๑
ปุจฉาวาระ วิญญาณขันธ์สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ วิญญาณขันธ์สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑

ทุกมูลกนัย

[๑๑] ปุจฉาวาระ รูปขันธ์และเวทนาขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์และเวทนาขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑
ปุจฉาวาระ รูปขันธ์และเวทนาขันธ์สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์และเวทนาขันธ์สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๓ อายตนะ๑ และธาตุ๑
ฯลฯ

ปัญจกมูลกนัย

[๒๐] ปุจฉาวาระ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ไม่มี ขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

อเภทวาระ

[๒๑] ปุจฉาวาระ ขันธ์๕ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ขันธ์๕ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ ขันธ์๕ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ขันธ์๕ไม่มีขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้


:b46: ข. สงเคราะห์สัจจะเข้ากับขันธ์ อายตนะ และธาตุ
เภทวาระ
เอกมูลกนัย

[๔๐] ปุจฉาวาระ ทุกขสัจสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ทุกขสัจสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ฯลฯ

[๔๑] ปุจฉาวาระ สมุทยสัจสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สมุทยสัจสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑ และธาตุ๑
ปุจฉาวาระ สมุทยสัจสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สมุทยสัจสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๗
ฯลฯ


จตุกกมูลกนัย

[๔๘] ปุจฉาวาระ ทุกขสัจ สมุทยสัจ มัคคสัจ และนิโรธสัจ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ทุกขสัจ สมุทยสัจ มัคคสัจ และนิโรธสัจ เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘

อเภทวาระ

[๔๙] ปุจฉาวาระ สัจจะ๔ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สัจจะ๔ เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ สัจจะ๔ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สัจจะ๔ ไม่มีขันธ์ อายตนะและธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

:b46: ค. สงเคราะห์ทุกมาติกาเข้ากับขันธ์ อายตนะ และธาตุ
เภทวาระ

ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๒
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๖
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้เว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้ไม่มีขันธ์ อายตนะและธาตุเหล่าไหนที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

:b53: หมายเหตุ
๑.) การจำแนกเต็มรูปตามตัวอย่าง ก. และ ข. มีเพียงการจำแนกขันธ์๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ๑๘ สัจจะ๔ และอินทรีย์๒๒ เท่านั้น นอกจากนี้ท่านแสดงไว้โดยย่อพอเป็นแนวทาง ดังตัวอย่าง ค. เพราะนี้คือฉบับสังเขปนัย

๒.) แผนภูมิที่ ๑-๔ จะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น


รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ

:b51: ๒. ทุติยนัย :b51:
สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

:b50: ๒.๑) วิธีการของทุติยนัย
คำว่า สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับบทที่สงเคราะห์เข้าได้ หมายความว่า ในทุติยนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกเฉพาะสภาวธรรมที่เป็นรูปธรรมบางส่วน ซึ่งสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์ เป็นขันธ์เดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุเดียวกัน และสภาวธรรมที่เป็นนามธรรมบางส่วนที่สงเคราะห์เข้าได้ โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์และอายตนะเดียวกัน แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นธาตุเดียวกัน หรือกล่าวสั้นๆ ว่า ทรงนำสภาวธรรมที่เหมือนกันโดยขันธ์และอายตนะ แต่ต่างกันโดยธาตุมาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการ ที่เรียกว่า สังคหิเตนอสังคหิตนัย เพื่อหาว่าในรูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น บทที่สงเคราะห์เข้าได้กับมูลบท สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร เช่น

จักขายตนะ

[๑๗๑] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับจักขายตนะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. ขันธ์๔ ได้แก่ นามขันธ์๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
อายตนะ๒ ได้แก่ มนายตนะและธัมมายตนะ
ธาตุ๑๘ ได้แก่ ธาตุที่ ๑๑-๑๘

๒. วิธีการนี้ใช้ได้กับสภาวธรรมที่เป็นรูปธรรม ๓๕ บท และที่เป็นนามธรรม ๗ บท รวมเป็น ๔๒ บทเหล่านี้เองเป็นเนื้อหาของทุติยนัย

:b50: ๒.๒) เนื้อหาของทุติยนัย
เนื้อหาของทุตินัยน้อยกว่าปฐมนัย คือ ปฐมนัยมีเนื้อหา ๓๗๑ บท ดังกล่าวแล้ว ส่วนเนื้อหาของทุติยนัยมีเพียง ๔๒ บท ดังกล่าวแล้ว ส่วนเนื้อหาของทุติยนัยมีเพียง ๔๒ บท ได้แก่

โอฬาริกอายตนะ ๑๐ บท
๑. จักขายตนะ
๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ
๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ
๖. รูปายตนะ
๗. สัททายนตนะ
๘. คันธายตนะ
๙. รสายตนะ
๑๐. โผฏฐัพพายตนะ

ธาตุ ๑๗ บท
๑. จักขุธาตุ
๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ
๕. กายธาตุ
๖. รูปธาตุ
๗. สัททธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. รสธาตุ
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ
(๑๐ บทนี้ เรียกว่าโอฬาริกธาตุ)

๑๑.จักขุวิญญาณธาตุ
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๕. กายวิญญาณธาตุ
๑๖. มโนธาตุ
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ
(๗ บทนี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ๗)

อินทรีย์ ๗ บท
๑. จักขุนทรีย์
๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์
๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
๖. อิตถินทรีย์
๗. ปุริสินทรีย์

ปฏิจจสมุปบาท ๓ บท
๑. ภพ ๒ บท คือ อสัญญาภพและเอกโวการภพ
๒. ปริเทวะ ๑ บท

ติกมาติการ ๒ บท
๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆา ธัมมา (สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้)
๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆา ธัมมา (สภาวธรรมที่เห้นไม่ได้แต่กระทบได้)

ทุกมาติกา ๓ บท
๑. สนิทัสสนา ธัมมา (สภาวธรรมที่เห็นได้)
๒. สัปปฏิฆา ธัมมา (สภาวธรรมที่กระทบได้)
๓. อุปาทา ธัมมา (สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป)

ในจำนวนนี้ มีสภาวธรรมที่เป็นรูปธรรม ๓๕ บท ได้แก่ อายตนะ ๑๐ บท ที่เป็นโอฬาริกอายตนะ ธาตุ ๑๐ บท ซึ่งเป็นโอฬาริกธาตุ (ตั้งแต่ธาตุที่ ๑-๑๐) อินทรีย์ ๗ บท ปฏิจจสมุปบาท ๓ บท ติกมาติกา ๒ บท และทุกมาติกา ๓ บท และสภาวธรรมที่เป็นนามธรรม ๗ บท ได้แก่ธาตุ ๗ (ตั้งแต่ธาตุที่ ๑๑-๑๗)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

มีข้อที่ควรทำความเข้าใจไว้ก่อนคือ ทำไม พระผู้มีพระภาคไม่ทรงจัดขันธ์๕ มนายตนะ ธัมมายตนะ และธัมมธาตุเป็นเนื้อหาของทุติยนัย ในเรื่องนี้มีคำอธิบายที่น่ารับฟังดังต่อไปนี้

๑. ที่ไม่ทรงจัดขันธ์๕ เป็นเนื้อหาของทุติยนัย เพราะขันธ์แต่ละขันธ์อยู่แยกกัน ไม่สามารถนำมาสงเคราะห์เข้ากับขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในขันธ์๕ ได้ เช่น ถ้าจัดให้รูปขันธ์เป็นเนื้อหาของทุติยนัย จะต้องนำรูปขันธ์มาเปรียบเทียบกับนามขันธ์ อีก ๔ ขันธ์ที่เหลือขันธ์ใดขันธ์หนึ่งตามวิธีการของทุติยนัย คือวิธีสังคหิเตนอสังคหิตนัย แต่เนื่องจากรูปขันธ์อยู่กับรูปขันธ์ และนามขันธ์ทั้ง๔ ขันธ์ต่างก็อยู่กับขันธ์ของตนๆ นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ จึงสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้

๒. ที่ไม่ทรงจัดมนายตนะเป็นเนื้อหาของทุติยนัย เพราะมนายตนะประกอบด้วยวิญญาณ ๘๙ ซึ่งสงเคราะห์เข้าเป็นวิญญาณขันธ์ จึงเป็นเนื้อหาของทุติยนัยไม่ได้เหมือนรูปขันธ์และขันธ์๕ อื่นๆ ดังกล่าวในข้อ ๑

๓. ที่ไม่ทรงจัดธัมมายตนะและธัมมธาตุเป็นเนื้อหาของทุติยนัย เพราะธัมมายตนะ และธัมมธาตุ ประกอบด้วยสุขุมรูป๑๖ เจตสิก๕๒ และนิพพาน๑ สุขุมรูป๑๖ อยู่ในรูปขันธ์ เจตสิก๕๒ อยู่ในนามขันธ์๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ จึงเป็นเนื้อหาไม่ได้เหมือนที่กล่าวไว้ในข้อ๑ ส่วนนิพพานเป็นขันธวิมุต คือไม่จัดเป็นขันธ์ จึงไม่เข้าเกณฑ์ใดๆ (ดูแผนภูมิที่ ๑-๒ ประกอบ)

:b50: ๒.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของทุติยนัย
สภาวธรรมที่เป็นรูปธรรมบางส่วนในข้อ ๑๗๑ คือ อายตนะ๙ ได้แก่
๑. จักขายตนะ
๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ
๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ
๖. รูปายตนะ
๗. สัททายนตนะ
๘. คันธายตนะ
๙. โผฏฐัพพายตนะ
และธาตุ ๙ ได้แก่
๑. จักขุธาตุ
๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ
๕. กายธาตุ
๖. รูปธาตุ
๗. สัททธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. โผฏฐัพพธาตุ
ขอให้ดูที่ยกเป็นตัวอย่างแสดงวิธีการของทุติยนัยในข้อ ๒.๑ ข้างต้น โดยนำสภาวธรรมบทอื่นๆ ที่เหลือ ๑๗ บท ไปใส่แทนบทจักขายตนะ ต่อไปนี้ขอแสดงตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมตามข้อที่ ๑๗๒-๑๗๕ ข้อละ ๑ ตัวอย่าง ดังนี้
จักขุวิญญาณ

[๑๗๒] ปุจฉาวาระสภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับจักขุนทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระสภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑๒ และธาตุ๘

คำอธิบาย ขันธ์๔ ได้แก่ นามขันธ์๔
อายตนะ๑๒ ได้แก่ อายตนะที่๑-๑๒
และธาตุ๑๒ ได้แก่ ธาตุที่๑-๑๒

จักขุนทรีย์

[๑๗๓] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับจักขุนทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับ ขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘

อสัญญาภพ

[๑๗๔] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะ และธาุตุ กับอสัญญาภพ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๓ และธาตุ๙

ปริเทวะ

[๑๗๕] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะ และธาุตุ กับปริเทวะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘

(ดูแผนภูมิที่ ๕ ประกอบ)
ใส่ภาพหนังสือ ๑๐๕

:b51: ๓. ตติยนัย :b51:
อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

:b47: ๓.๑) วิธีการของตติยนัย
คำว่า อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าได้กับบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ หมายความว่า ในตติยนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำเฉพาะสภาวธรรมที่มีขันธ์ต่าง แต่มีอายตนะและธาตุเดียวกันมาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยเรียกวิธีการที่เรียกว่า อสังคหิเตนสังคหิตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับมูลบทในลักษณะตรงกันข้ามกับทุติยนัย เช่น

มัคคสัจ

[๑๗๙] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าได้ โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุ
สภาวธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว
สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์)
อายตนะ๑ (ธัมมายตนะ)
และธาตุ๑ (ธัมมธาตุ)

:b47: ๓.๒) เนื้อหาของตติยนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของตติยนัย ประกอบด้วยสภาวธรรม ๙๐ บท ในจำนวน ๓๗๑ บท ของปฐมนัย ได้แก่
อัพภันตรมาติกา ๕๐ บท
ขันธ์ ๓ บท

๑. เวทนาขันธ์
๒. สัญญาขันธ์
๓. สังขารขันธ์

สัจจะ ๓ บท
๑. สมุทยสัจ
๒. มัคคสัจ
๓. นิโรธสัจ

อินทรีย์ ๑๖ บท
๑. ชีวิตินทรีย์
๒. อิตถินทรีย์
๓. ปุริสินทรีย์
๔. สุขินทรีย์
๕. ทุกขินทรีย์
๖. โสมนัสสินทรีย์
๗. โทมนัสสินทรีย์
๘. อุเปกขินทรีย์
๙. สัทธินทรีย์
๑๐. วิริยินทรีย์
๑๑. สตินทรีย์
๑๒. สมาธินทรีย์
๑๓. ปัญญินทรีย์
๑๔. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๕. อัญญินทรีย์
๑๖. อัญญาตาวินทรีย์

ปฏิจจสมุปบาท ๑๔ บท
๑. อวิชชา
๒. สังขาร
๓. ผัสสะ
๔. เวทนา
๕. ตัณหา
๖. อุปาทาน
๗. กัมมภพ
๘. ชาติ
๙. ชรา
๑๐. มรณะ
๑๑. โสกะ
๑๒. ทุกข์
๑๓. โทมนัส
๑๔. อุปายาส

สภาวธรรมถัดจากปฏิจจสมุปบาท ๑๔ บท
๑. ฌาน
๒. สติปัฏฐาน
๓. สัมมัปปธาน
๔. อัปปมัญญา
๕. อินทรีย์๕
๖. พละ๕
๗. โพชฌงค์๗
๘. อริยมรรคมีองค์๘
๙. ผัสสะ
๑๐. เวทนา
๑๑. สัญญา
๑๒. เจตนา
๑๓. อธิโมกข์
๑๔. มนสิการ

พาหิรมาติการ ๔๐ บท คือ

๑. สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
๒. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ
๓. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
๔. สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งสัมปยุตด้วยเหตุ
๕. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(นิพพาน)
๖. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ
๗. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
๘. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
๙. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์
๑๐. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๑๑. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
๑๒.สภาวธรรมที่เป็นคันถะ
๑๓. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
๑๔. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
๑๕. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ
๑๖. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ
๑๗. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะ
๑๘. สภาวธรรมที่เป็นโยคะ
๑๙. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและเป็นอารมณ์ของโยคะ
๒๐. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและสัมปยุตตด้วยโยคะ
๒๑. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
๒๒. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๒๓. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตตด้วยนิวรณ์
๒๔. สภาวธรรมที่เป็นปรามาส
๒๕. สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
๒๖. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
๒๗. สภาวธรรมที่่สัมปยุตด้วยจิต
๒๘. สภาวธรรมที่ระคนกับจิต
๒๙. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฎฐาน
๓๐. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
๓๑. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
๓๒. สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
๓๓. สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต
๓๔. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน
๓๕. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๓๖. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
๓๗. สภาวธรรมที่เป็นกิเลส
๓๘. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
๓๙. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง
๔๐. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส

สภาวธรรมเหล่านี้งเคราะห์เข้าไม่ได้กับธัมมายตนะและธัมมธาตุเท่านั้น จึงได้องค์ธรรม ๕ ประการ
คือ เวทนา สัญญา สังขาร และนิพพาน ซึ่งเป็นสภาวธรรม ที่มีขันธ์ต่างกัน แต่มีอายตนะและธาตุเดียวกัน

:b47: ๓.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของตติยนัย
นิโรธสัจ

[๑๘๐] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับนิโรธสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑ และธาตุ๑

ชีวิตินทรีย์

[๑๘๑] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับชีวิตินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑ และธาตุ๑

กัมมภพ

[๑๘๒] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้ โดยการสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะและธาตุกับกัมมภพ
สภาวธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ อายตนะ๑ และธาตุ๑

ฌาน

[๑๘๓] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะ และธาตุกับฌาน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑ และธาตุ๑

สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน

[๑๙๐] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ แต่สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นอายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งออกจากขันธ์แล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ อายตนะ๑ และธาตุ๑

(ดูแผนภูมิที่ ๖ ประกอบ)

:b51: ๔. จตุตถนัย :b51:
สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส

:b50: ๔.๑) วิธีการของจตุตถนัย
คำว่า สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าได้กับบทที่สงเคราะห์เข้าได้ หมายความว่า ในจตุตถนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมบางส่วนที่สงเคราะห์เข้าได้ โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุด้วยวิธีการที่เรียกว่า สังคหิเตนสังคหิต นัย เพื่อหาว่าสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับมูลบท สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร เช่น
สมุทยสัจ

[๑๙๑] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๑) สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสมุทยสัจ
สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๒) สงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๑)
สภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๒) สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑(สังขารขันธ์) อายตนะ๑(ธัมมายตนะ)และ ธาตุ๑(ธัมมธาตุ)

คำอธิบายตัวอย่าง
คำว่า "สภาวธรรมเหล่าใดที่๑" ได้แก่สภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นสังขารขันธ์ คือเจตสิก๕๐ (มีสมุทยสัจรวมอยู่ด้วย) เมื่อยกเจตสิกตัวใดขึ้นเป็นมูลบทหรือบทตั้งในการจำแนก ถ้าเจตสิกตัวนั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะและธาตุเท่าไร ที่เหลือก็สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่านั้น ในตัวอย่างนี้ "สภาวธรรมเหล่าใดที่๑" คือเจตสิก ๔๙ ที่สงเคราะห์เข้าได้กับสมุทยสัจส่วน "สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๒" ก็คือสมุทยสัจนั้นเองกล่าวคือตั้งคำถามย้อนกลับอย่างเดียวกันกับวิธีการยมกของคัมภีร์ยมก(ดูขันธยมกประกอบ)

สังขารขันธ์ คือเจตสิก๕๐ ธัมมายตนะและธัมมธาตุ ในที่นี้คือเจตสิก๕๐

:b50: ๔.๒) เนื้อหาของจตุตถนัย
ตามวิธีการข้างต้น เนื้อหาของจตุตถนัยประกอบด้วยสภาวธรรม ๖๙ บท เป็นอัพภันตรมาติกา ๓๙ บท และพาหิรมาติกา ๓๐ บท ได้แก่

อินทรีย์ ๑๕ บท คือ

๑. อิตถินทรีย์
๒. ปุริสินทรีย์
๓. สุขินทรีย์
๔. ทุกขินทรีย์
๔. โสมนัสสินทรีย์
๖. โทมนัสสินทรีย์
๗. อุเปกขินทรีย์
๘. สัทธินทรีย์
๙. วิริยินทรีย์
๑๐. สตินทรีย์
๑๑. สมาธินทรีย์
๑๒. ปัญญินทรีย์
๑๓. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๔. อัญญินทรีย์
๑๕. อัญญาตาวินทรีย์

ปฏิจจสมุปบาท ๑๑ บท คือ

๑. อวิชชา
๒. สังขาร
๓. ผัสสะ
๔. เวทนา
๕. ตัณหา
๖. อุปาทาน
๗. กัมมภพ
๘. โสกะ
๙. ทุกข์
๑๐. โทมนัส
๑๑. อุปายาส

สภาวธรรมถัดจากปฏิจจสมุปบาท ๑๑ บท คือ

๑. สติปัฏฐาน
๒. สัมมัปปธาน
๓. อัปปมัญญา
๔. อินทรีย์๕
๕. พละ๕
๖. โพชฌงค์๗
๗. อริยมรรคมีองค์๘
๘. ผัสสะ
๙. เจตนา
๑๐. อธิโมกข์
๑๑. มนสิการ

พาหิรมาติการ ๓๐ บท คือ

๑. สภาวธรรมที่เป็นเหตุ
๒. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและมีเหตุ
๓. สภาวธรรมที่เป็นเหตุและสัมปยุตด้วยเหตุ
๔. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะ
๕. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ
๖. สภาวธรรมที่เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ
๗. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์
๘. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๙. สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์
๑๐. สภาวธรรมที่เป็นคันถะ
๑๑. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและเป็นอารมณ์ของคันถะ
๑๒. สภาวธรรมที่เป็นคันถะและสัมปยุตด้วยคันถะ
๑๓. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะ
๑๔. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและเป็นอารมณ์ของโอฆะ
๑๕. สภาวธรรมที่เป็นโอฆะและสัมปยุตด้วยโอฆะ
๑๖. สภาวธรรมที่เป็นโยคะ
๑๗. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและเป็นอารมณ์ของโยคะ
๑๘. สภาวธรรมที่เป็นโยคะและสัมปยุตตด้วยโยคะ
๑๙. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์
๒๐. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และเป็นอารมณ์ของนิวรณ์
๒๑. สภาวธรรมที่เป็นนิวรณ์และสัมปยุตตด้วยนิวรณ์
๒๒. สภาวธรรมที่เป็นปรามาส
๒๓. สภาวธรรมที่เป็นปรามาสและเป็นอารมณ์ของปรามาส
๒๔. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทาน
๒๕. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทาน
๒๖. สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทาน
๒๗.สภาวธรรมที่เป็นกิเลส
๒๘. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและเป็นอารมณ์ของกิเลส
๒๙. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและกิเลสทำให้เศร้าหมอง
๓๐. สภาวธรรมที่เป็นกิเลสและสัมปยุตด้วยกิเลส

กล่าวโดยสรุป ในจตุตถนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเฉพาะสภาวธรรมที่เป็นเวทนาบางส่วน สังขารบางส่วน และสุขุมรูปบางส่วนที่สงเคราะห์เข้าได้ทั้งกับขันธ์ อายตนะและธาตุ องค์ธรรมของจตุตถนัยนั้นจึงเหมือนกันทั้งโดยขันธ์ อายตนะและธาตุ เช่น ถ้ายกสุขินทรีย์เป็นมูลบท องค์ธรรมของประธานคือ "สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๑ " ได้แก่เวทนินทรีย์ของประธานได้แก่ เจตสิก ๔๙ (เจตสิก๕๐ ในที่นี้ยกสมุทยสัจออกไป) และถ้ายกอิตถินทรีย์เป็นมูลบท องค์ธรรมของประธานได้แก่ สุขุมรูป๑๕(สุขุมรูป ๑๖ ในที่นี้ยกอิตถินทรีย์ออกไป)

:b50: ๔.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของจตุตถนัย
อัพภันตรมาติกา
อิตถินทรีย์

[๑๙๒] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับอิตถินทรีย์
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑ และธาตุ๑

พาหิรมาติกา
สภาวธรรมที่เป็นเหตุ

[๑๙๒] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑ และธาตุ๑

(ดูแผนภูมิที่ ๗ ประกอบ)

:b51: ๕. ปัญจมนัย :b51:
อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

:b49: ๕.๑) วิธีการของปัญจมนัย
คำว่า อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ หมายความว่า ในปัญจมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมบางส่วนที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับสภาวธรรมอื่น ทั้งโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะและธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า อสังคหิเตนอสังคหิตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ทั้งโดยขันธ์ อายตนะและธาตุ เช่น

รูปขันธ์

[๑๙๓] ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๑)สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๒)สงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๑)
สภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๒)สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ (วิญญาณขันธ์) อายตนะ๑ (มนายตนะ) และธาตุ๗ (วิญญาณธาตุ๗ มี จักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น)

คำอธิบายตัวอย่าง
คำอธิบายคล้ายกับจตุตถนัยเพียงแต่มองกลับกัน คือจากสงเคราะห์เข้าได้เป็นสงเคราะห์เข้าไม่ได้ในกรณีตัวอย่างนี้ "สภาวธรรมเหล่าใดที่๑" ที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับรูปขันธ์นั้นได้แก่สภาวธรรมที่เป็นวิญญาณขันธ์ คือจิต๘๙ ส่วน"สภาวธรรมเหล่าใดที่๒" ก็คือสภาวธรรมที่เป็นรูปขันธ์นั้นเองคือตั้งคำถามย้อนกลับเหมือนกับวิธีการยกกของคัมภีร์ยมกดังกล่าวแล้ว

:b49: ๕.๒) เนื้อหาของปัญจมนัย
ตามวิธีการข้างต้น เนื้อหาของปัญจมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๒๕๗ บท เป็นอัพภันตรมาติกา ๙๙ บท เป็นพาหิรมาติกา ๑๕๘ บท อัพภันตรมาติกา ๙๙ บทได้แก่ ขันธ์๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ๑๘ สัจจะ๓(สมุทยสัจ มัคคสัจ และนิโรธสัจ) อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท๒๓ และสภาวธรรมต่อจากปฏิจจสมุปบาทอีก ๑๖ บท (ตั้งแต่สติปัฏฐานจนถึงมนสิการ นับแต่ละหัวข้อเป็น ๑ บท)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท ๒๓ บท

๑. อวิชชา
๒. สังขาร
๓. วิญญาณ
๔. นามรูป
๕. สฬายตนะ
๖. ผัสสะ
๗. เวทนา
๘. ตัณหา
๙. อุปาทาน
๑๐. กัมมภพ
๑๑. อรูปภพ
๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
๑๓. จตุโวการภพ
๑๔. อสัญญาภพ
๑๕. เอกโวการภพ

๑๖. ชาติ
๑๗. ชรา
๑๘. มรณะ
๑๙. ปริเทวะ
๒๐. โสกะ
๒๑. ทุกข์
๒๒. โทมนัส
๒๓. อุปายาส

ส่วนพาหิรมาติกา ๑๕๘ บท มาจากติกมาติกา ๔๓ บท (ดูรายละเอียดในข้อ ๒๑๐-๒๑๑) และทุกมาติกา ๑๑๕ บท (ดูรายละเอียดในข้อ ๒๑๒-๒๒๗)

มีข้อที่ควรศึกษาไว้ก่อนคือสภาวธรรมที่ทรงนำมาจำแนกด้วยวิธีการนี้ มีองค์ธรรมเป็นขันธ์เดียวบ้าง ๒ขันธ์บ้าง ๓ขันธ์บ้าง ๔ขันธ์บ้าง ไม่มีบทใดมีองค์ธรรมครบทั้ง ๕ ขันธ์ เช่น ถ้ายกรูปขันธ์ขึ้นเป็นมูลบทหรือบทตั้ง องค์ธรรมของประธาน (สภาวธรรมเหล่าใดที่๑)ได้แก่วิญญาณขันธ์ ถ้ายกวิญญาณขันธ์ขึ้นเป็นมูลบท องค์ธรรมของประธานได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และนิพพาน ถ้ายกเวทนาขันธ์เป็นมูลบท องค์ธรรมของประธานได้แก่วิญญาณขันธ์และโอฬาริกรูป

สภาวธรรมที่มีองค์ธรรมครบทั้ง ๕ ขันธ์ เช่น ทุกขสัจ กามภพ สภาวธรรม ที่เป็นอัพยากฤต ไม่ทรงนำมาแสดงเพราะไม่เข้าเกณฑ์ของวิธีการนี้ สภาวธรรมที่ไม่เข้าเกณฑ์มีทั้งหมด ๑๑๔ บท จากจำนวน ๓๗๑ บทของปฐมนัย ที่เข้าเกณฑ์มีเพียง ๒๕๗ บท ดังกล่าว

๕.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของปัญจมนัย

เวทนาขันธ์

ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับเวทนา
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้น สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๗

จักกกขายตนะ

[๑๙๖]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับจักขายตนะ
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘

สภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้

[๒๑๑]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุกับสภาวธรรมที่เห็นได้และกระทบได้
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘

สภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

[๒๑๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับสภาวธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๗

(ดูแผนภูมิที่ ๘ ประกอบ)

:b51: ฉัฏฐนัย :b51:
สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส


๖.๑) วิธีการของฉัฏฐนัย
คำว่า สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าได้และบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ คำว่า สัมปโยคะ ที่แปลว่า ประกอบเข้าได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า สัมปยุตตะ และคำว่า วิปปโยคะ ที่แปลว่า ประกอบเข้าไม่ได้ มีความหมายเหมือนกับคำว่า วิปปยุตตะ หมายความว่า ในฉัฏฐนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่เป็นสัมปยุตตธรรม และที่เป็นวิปปยุตตธรรม มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า สัมปโยควิปปโยคนัย เพื่อหาว่าสภาวธรรมบทใดสัมปยุตและวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร เช่น

รูปขันธ์

[๒๒๘]ปุจฉาวาระ รูปขันธ์สัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต
ปุจฉาวาระ รูปขันธ์วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต
วิสัชนาวาระ รูปขันธ์วิปปยุตจากขันธ์๔ (นามขันธ์๔) อายตนะ๑ (มนายตนะ) ธาตุ๗ (วิญญาณธาตุ๗) และ วิปปยุตจากอายตนะ๑ (ธัมมายตนะ) ธาตุ๑ (ธัมมธาตุ) บางส่วน

เวทนาขันธ์

ปุจฉาวาระเวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยขันธ์๓ (นามขันธ์๓ เว้นเวทนาขันธ์) อายตนะ๑ (มนายตนะ) และธาตุ๗ (วิญญาณธาตุ๗)
และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ (ธัมมายตนะ) ธาตุ๑ (ธัมมธาตุ)บางส่วน
ปุจฉาวาระเวทนาขันธ์วิปปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
b]วิสัชนาวาระ[/b] เวทนาขันธ์วิปปยุตด้วยขันธ์๑ (รูปขันธ์) อายตนะ๑๐ (โอฬาริกอายตนะ๑๐) และธาตุ๑๐ (โอฬาริกธาตุ๑๐)
และวิปปยุตจากอายตนะ๑ (ธัมมายตนะ) ธาตุ๑ (ธัมมธาตุ)บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
ขอให้สังเกตว่าวิธีการของฉัฏฐนัยนั้นต่างกับวิธีการของนัยอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือในปุจฉาวาระของแต่ละบท มีการถาม ๒ คำถาม คำถามที่๑ ถามเรื่องสัมปยุตตธรรม คือสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้ คำถามที่๒ ถามเรื่องวิปปยุตตธรรม คือสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้ คล้ายกับวิธีการของคัมภีร์ยมกที่มีคำถามคู่ คือถามแบบอนุโลม(ถามไปตามลำดับ) และแบบปฏิโลม(ถามย้อนกลับ) เพื่อให้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวธรรมที่เป็นมูลบทหรือบทตั้งกับสภาวธรรมอื่นๆ ที่ยกมาเปรียบเทียบ ทั้งในด้านบวกและด้านลบของกันและกัน

ในตัวอย่างที่๑ มูลบทคือรูปขันธ์ คำถามที่๑ ถามว่า รูปขันธ์สัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร คำถามที่๒ ถามว่า รูปขันธ์วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร

ในวิสัชนาวาระ มีคำตอบ ๒ แบบ คือตอบปฏิเสธและตอบรับ ในตัวอย่างที่๑ คำตอบเรื่องสัมปยุตตธรรม เป็นคำตอบปฏิเสธคือปฏิเสธว่า รูปขันธ์ไม่มีการสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหน เพราะรูปขันธ์ไม่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นขันธ์เดียวกัน ส่วนคำตอบเรื่องวิปปยุตตธรรมเป็นคำตอบรับ คือตอบว่ารูปขันธ์วิปปยุตจากนามขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน คำตอบรับนี้มี ๒ ตอน ตอนที่๑ ตอบว่า รูปขันธ์วิปปยุตจากนามขันธ์๔ ธาตุ๑ คือมนายตนะและวิญญาณธาตุ๗ ซึ่งแสดงว่ารูปขันธ์กับนามขันธ์๔ มนายตนะและวิญญาณธาตุ๗ นี้เป็นวิปปยุตตธรรม คือประกอบเข้ากันไม่ได้แบบทั้งหมด(เอกันตวิปปยุต)

ส่วนคำตอบรับตอนที่๒ ที่ตอบว่า วิปปยุตจากอายตนะ๑ และธาตุ๑ บางส่วนนั้น แสดงว่ารูปขันธ์กับอายตนะและธาตุทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นวิปปยุตตธรรมกันบางส่วน ไม่ทั้งหมดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยแวดล้อม ดังจะอธิบายต่อไป

ในตัวอย่างที่ ๒ ที่ยกเวทนาขันธ์เป็นมูลบทมีคำถาม ๒ คำถาม เช่นเดียวกับตัวอย่างแรก แต่มีคำตอบเป็นเชิงตอบรับทั้ง ๒ คำถาม ซึ่งแสดงว่าเวทนาขันธ์ เป็นทั้งสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรมกับสภาวธรรมอื่น

ถ้าจะถามว่า รู้ได้อย่างไรว่ารูปขันธ์และเวทนาขันธ์ในตัวอย่างทั้งสองสัมปยุตด้วยและวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร คำตอบคือต้องเข้าใจเรื่องสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรมเป็นอย่างดี ดังจะได้อธิบายในตอนที่ว่าด้วยเนื้อหาต่อไป

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๖.๒) เนื้อหาของฉัฏฐนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของฉัฏฐนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๒๕๐ บท มาจากอัพภันตรมาติกา ๙๒ บท จากพาหิรมาติกา ๑๕๙ บท ดังนี้
อัพภันตรมาติกา ๙๒ บท คือ ขันธ์ ๕ บท อายตนะ ๑๑ บท (เว้นธัมมายตนะ) ธาตุ ๑๗ บท(เว้นธัมมธาตุ)
สัจจะ ๓ บท(เว้นทุกขสัจ) อินทรีย์ ๒๑ (เว้นชีวิตินทรีย์) ปฏิจจสมุปบาท ๑๗ บท(เว้นสฬายตนะ นามรูป ภพใหญ่ ๔ บท ชาติ ชราและมรณะ) สภาวธรรมต่อจากปฏิจจสมุปบาท ๑๖ บท

พาหิรมาติการ ๑๕๘ บท คือ ติกมาติกา ๔๗ บท(ดูรายละเอียดในข้อ ๒๕๗-๒๗๖) และทุกมาติกา ๑๑๑ บท (ดูรายละเอียดในข้อ ๒๗๗-๓๐๕)

สภาวธรรม ๒๕๐ บทนี้ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มสภาวธรรมที่เป็นสัมปยุตตธรรม
๒. กลุ่มสภาวธรรมที่เป็นวิปปยุตตธรรม
๓. กลุ่มสภาวธรรมที่เป็นที่ตั้งสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรม

กลุ่มสภาวธรรมที่เป็นสัมปยุตธรรม ได้แก่นามขันธ์๔ คือ (๑)เวทนาขันธ์ (๒)สัญญาขันธ์ (๓)สังขารขันธ์ (๔)วิญญาณขันธ์ นามขันธ์เหล่านี้ต่างสัมปยุต ด้วยกัน หมายความว่าเวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยนามขันธ์อีก ๓ ขันธ์ก็สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์ เวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์สัมปยุตด้วยนามขันธ์อีก ๒ ขันธ์ และนามขันธ์อีก ๒ ขันธ์ก็สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์และสัญญาขันธ์

ลักษณะของสัมปยุตตธรรม
เหตุที่นามขันธ์เหล่านี้สัมปยุตด้วยกันแบบทั้งหมดนี้เพราะมีลักษณะร่วมกัน ๔ ประการคือ
(๑) เกิดร่วมกัน (เอกุปปาทะ)
(๒) ดับร่วมกัน (เอกนิโรธะ)
(๓) มีอารมณ์เดียวกัน (เอการัมมณะ)
(๔) มีวัตถุที่ตั้งเดียวกัน (เอกวัตถุกา)

กลุ่มสภาวธรรมที่เป็นวิปปยุตตธรรม ได้แก่สภาวธรรมที่ไม่มีลักษณะร่วมกัน ๔ อย่างดังกล่าวข้างต้น
สภาวธรรมที่เป็นวิปปยุตตธรรมมี ๓ พวกคือ
๑. สภาวธรรมที่เป็นวิปปยุตตธรรมแบบทั้งหมด ได้แก่
(๑)รูปธรรมวิปปยุต จากนามขันธ์๔
(๒)นิพพาน วิปปยุตจากนามขันธ์๔

๒. สภาวธรรมที่เป็นวิปปยุตตธรรมแบบบางส่วน เช่น นามขันธ์๔ ถ้าเวทนาขันธ์กับนามขันธ์อีก ๓ ขันธ์ สัญญาขันธ์กับนามขันธ์อีก ๓ ขันธ์ สังขารขันธ์ กับนามขันธ์อีก ๓ ขันธ์ และวิญญาณขันธ์กับนามขันธ์อีก ๓ ขันธ์ ต่างมีลักษณะแห่งสัมปยุตตธรรม ๔ ประการ ก็ถือว่าสัมปยุตด้วยกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีลักษณะ ๔ ประการนี้ก็ถือว่าวิปปยุตจากกัน

๓. สภาวธรรมที่ไม่เป็นทั้งสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรม เช่น
๑. รูปขันธ์กับนิพพาน
๒. รูปธรรมกับรูปธรรม
๓. เวทนาขันธ์กับเวทนาขันธ์
๔. สัญญาขันธ์กับสัญญาขันธ์
๕. สังขารขันธ์กับสังขารขันธ์
๖. วิญญาณขันธ์กับวิญญาณขันธ์
๗. ผัสสะกับผัสสะ
๘. เจตนากับเจตนา


สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละคู่ต่างไม่สัมปยุตด้วยกัน เพราะไม่มีลักษณะแห่งสัมปยุตตธรรม ๔ ประการ ทั้งไม่วิปปยุตจากกัน เปรียบเหมือนบุคคล กล่าวไม่ได้ว่าตัวเราเหมือนกับตัวเราหรือต่างกับตัวเอง มีแต่ตัวเองเหมือนหรือต่างกับผู้อื่น ฉันใด ปฐวีกับปฐวี เวทนากับเวทนา ก็สัมปยุตด้วยกันหรือวิปปยุตจากกันไม่ได้ ฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า สภาวธรรมเหล่านี้ไม่เป็นทั้งสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรม

:b48: ข้อยกเว้น
อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้นบางประการ เช่น เมื่อกล่าวว่าสังขารกับสังขารไม่เป็นทั้งสัมปยุตด้วยกันและวิปปยุตจากกัน ให้หมายความว่าผัสสะกับผัสสะ เจตนากับเจตนา เป็นต้น ไม่สัมปยุตด้วยหรือวิปปยุตจากเจตสิก ๕๐ ของสังขารขันธ์ แต่ผัสสะกับเจตนา ผัสสะกับปัญญา เป็นต้น สัมปยุตด้วยกัน

ลักษณะของวิปปยุตตธรรม
วิปปยุตตธรรม มีลักษณะร่วมกัน ๔ ประการ คือ
๑. เป็นวิปปยุตโดยภูมิหรือชั้น เช่น มหาภูตรูปต่างกับสุขุมรูป นามธรรมทั่วไปต่างกับปรมัตถธรรม

๒. เป็นวิปปยุตโดยชาติ เช่น ความต่างกันระหว่างกุศลธรรมกับอกุศลธรรม สภาวธรรมที่ให้ผลกับสภาวธรรมที่ไม่ให้ผล สภาวธรรมที่มีเหตุกับสภาวธรรมที่ไม่มีเหตุ

๓. เป็นวิปปยุตโดยกาล เช่น สภาวธรรมที่เป็นอดีตต่างกับสภาวธรรมที่เป็นอนาคตและปัจจุบัน อนึ่งการที่จักขุวิญญาณธาตุวิปปยุตจากวิญญาณธาตุที่เหลือก็เป็นวิปปยุตโดยกาล

๔. เป็นวิปปยุตโดยสันตานะ หรือสันดาน(การสืบเนื่อง) เช่น สภาวธรรมที่เป็นสสังขาริกต่างกับสภาวธรรมที่เป็นอสังขาริก สภาวธรรมที่เป็นอัชฌัตตะต่างกับสภาวธรรมที่เป็นพหิทธา

๖.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของฉัฏฐนัย

จักขุธาตุ

[๒๓๓]ปุจฉาวาระ จักขุธาตุสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต
ปุจฉาวาระ จักขุธาตุวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ จักขุธาตุวิปปยุตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน


มัคคสัจ

[๒๓๕]ปุจฉาวาระ มัคคสัจสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ มัคคสัจสัมปยุตด้วยขันธ์๓ อายตนะ๑ ธาตุ๑ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ มัคคสัจวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ มัคคสัจวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๖ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน


สภาวธรรมที่เป็นกุศล(ติกมาติกา)

[๒๕๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นกุศลสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นกุศลวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่เป็นกุศลวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๒ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาต๑ บางส่วน


สภาวธรรมที่เป็นเหตุ(ทุกมาติกา)

[๒๗๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุสัมปยุตด้วยขันธ์๓ อายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมที่เป็นเหตุวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๖ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

(ดูแผนภูมิที่ ๙ ประกอบ)

:b51: ๗. สัตตมนัย :b51:
สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

๗.๑) วิธีการของสัตตมนัย
คำว่า สัมปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ กับบทที่ประกอบเข้าได้ หมายความว่า ในสัตตนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้กับสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุด้วยวิธีการที่เรียกว่า สัมปยุตเตนวิปปยุตตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่ประกอบเข้าไม่ได้หรือวิปปยุตตธรรม เช่น

เวทนาขันธ์

[๓๐๖]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๑) สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๒) วิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๑)
สภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๒) วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. ในตัวอย่างนี้ ยกเวทนาขันธ์เป็นมูลบทหรือบทตั้ง เพื่อหาสภาวธรรม ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ ได้แก่สภาวธรรมเหล่าใดที่๑ ที่สัมปยุตหรือประกอบเข้าได้กับเวทนาขันธ์ หรือที่เป็นพวกเดียวกันกับเวทนาขันธ์ หมายถึงนามขันธ์๓ คือสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ซึ่งมีองค์ธรรมดังนี้
- เวทนาขันธ์คือเวทนาเจตสิก
- สัญญาขันธ์คือสัญญาเจตสิก
- สังขารขันธ์คือเจตสิก ๕๐
- วิญญาณขันธ์คือจิต ๘๙
ส่วนสภาวธรรมกลุ่มที่ ๒ ได้แก่ สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๒ ที่วิปปยุตหรือประกอบเข้าไม่ได้กับเวทนาขันธ์ หมายถึงสภาวธรรมที่เป็นรูปขันธ์และที่เป็นนิพพาน

๒. ในสัตตมนัยนี้ ถามเรื่องวิปปยุตธรรมอย่างเดียว

๓. ที่ถามว่า สภาวธรรม(กลุ่มที่๒) วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร หมายถึงวิปปยุตจากสภาวธรรม กลุ่มที่๑ โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ตอบว่า วิปปยุตจากขันธ์ ๔ คือนามขันธ์๔ จากอายตนะ๑ คือมนายตนะ จากธาตุ ๗ คือ วิญญาณธาตุ๗ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็่นต้น ทั้งหมดนี้เป็นวิปปยุตตธรรมทั้งหมด(เอกันตวิปปยุตตธรรม)ของรูปขันธ์ และที่ตอบว่า วิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วนนั้น หมายถึงวิปปยุตจากธัมมายตนะ และธัมมธาตุ เพราะสภาวธรรมทั้ง๒ อย่างนี้ หมายถึงสุขุมรูป๑๖ และนิพพาน จึงเป็นวิปปยุตตธรรมบางส่วนของเวทนาขันธ์และนามขันธ์ที่เหลือ

๗.๒) เนื้อหาของสัตตมนัย
ตามวิธีการนี้ เนื้อหาของสัตตมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๓๗ บท จากอัพภันตรมาติกา ๒๔ บท และจากพาหิรมาติกา ๑๓ บท

อัพภันตรมาติกา ๒๔ บท ได้แก่

๑. นามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
๒. อายตนะ ๑ คือ มนายตนะ
๓. ธาตุ ๗ คือ วิญญาณธาตุ ๗ มี จักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น
๔. อินทรีย์ ๒ คือ มนินทรีย์และอุเปกขินทรีย์
๕. ปฏิจจสมุปบาท ๓ คือ วิญญาณ ผัสสะ และเวทนา
๖. สภาวธรรมถัดจากปฏิจจสมุปบาทที่มีผัสสะเป็นต้นอีก ๗ บท คือ
(๑)ผัสสะ (๒)เวทนา (๓)สัญญา (๔)เจตนา (๕)จิต (๖)อธิโมกข์ (๗)มนสิการ

พาหิรมาติกา ๑๓ บท ได้แก่
๑. ติกมาติการ ๓ บท คือ

๑. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๒. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
๓. สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร

๒. ทุกมรติกา ๑๐ บท คือ
๑. สภาวธรรที่เป็นวิตก
๒. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
๓. สภาวธรรมที่เป็นสัมปยุตด้วยจิต
๔. สภาวธรรมที่ระคนกับจิต
๕. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
๖. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
๗. สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต
๘. สภาวธรรมที่มีวิตก
๙. สภาวธรรมที่มีวิจาร
๑๐. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา
ขอให้สังเกตว่า สภาวธรรมทั้ง ๓๗ บทนี้ล้วนเป็นนามธรรม จึงเป็นวิปปยุตต ธรรมจากรูปธรรมทั้งหลาย

๗.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของสัตตมนัย

อัพภันตรมาติกา
จักขุวิญญาณธาตุ

[๓๐๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่วิปปยุตจากธาตุ๑ (จักขุวิญญาณธาตุ)

ติกมาติกา
สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร

[๓๑๓]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่มีวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้น
ไม่มีขันธ์ และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่วิปปยุตจากธาตุ๑ (มโนธาตุ)

ทุกมาติกา
สภาวธรรมที่เป็นจิต

[๓๑๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่เป็นจิต
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้น
วิปปยุตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

(ดูคำอธิบายตัวอย่างวิธีการของสัตตมนัยข้างต้นและดูแผนภูมิที่ ๑๐ ประกอบ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: ๘.อัฏฐมนัย :b51:
วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

๘.๑) วิธีการของอัฏฐมนัย
คำว่า วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าได้กับบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ หมายความว่า ในอัฏฐมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่ประกอบเข้าได้กับสภาวธรรมที่เข้าไม่ได้มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า วิปปยุตเตนสัมปยุตตนัย เพื่อหาสัมปยุตตธรรมของบทตั้ง เช่น

รูปขันธ์

[๓๑๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากรูปขันธ์ ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
๒. เนื่องจากนามขันธ์ ๔ วิปปยุตแบบทั้งหมด หรือเอกันตวิปปยุตจากรูปขันธ์ในวิสัชนาวาระจึงตอบว่าไม่มีการสัมปยุต ดูลักษณะ ๔ ประการของวิปปยุตตธรรมและของสัมปยุตตธรรมในฉัฏฐนัยประกอบ

๘.๒) เนื้อหาของอัฏฐมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของอัฏฐมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๓๒๔ บท ซึ่งวิปปยุตจากกันโดยภูมิ โดยชาติ โดยสันตานะ และโดยกาล (ดูรายละเอียดในฉัฏฐนัย) สภาวธรรม ๓๒๔ บท จากอัพภันตรมาติกา ๙๗ บท จากพาหิรมาติกา ๒๒๗ บท

สภาวธรรม ๙๗ บท จากอัพภันตรมาติกา ได้แก่สภาวธรรมอื่นๆ นอกจากสภาวธรรม ๘ บท ต่อไปนี้คือ
๑. ธัมมายตนะ
๒. ธัมมธาตุ
๓. ชีวิตินทรีย์
๔. นามรูป
๕. สฬายตนะ
๖. ชาติ
๗. ชรา
๘. มรณะ

สภาวธรรม ๒๒๗ บท จากพาหิรมาติกา ได้แก่สภาวธรรมอื่นๆ นอกจากสภาวธรรม ๓๙ บท คือ ในติกมาติกา ๒ บท ในทุกมาติกา ๓๗ บท ได้แก่ ในอันตรทุกะแรก ๗ บท ในโคจฉกะ ๑๐ บท ในมหันตรทุกะถัดมา ๑๔ บท และในปีติทุกะสุดท้าย ๖ บท (ดูรายละเอียดในติกมาติกาและทุกมาติกาของคัมภีร์ธัมมสังคณี พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ และในภาคอุทเทสของบทนำนี้ประกอบ)

๘.๓) ตัวการจำแนกสภาวธรรมของอัฏฐมนัย

เวทนาขันธ์

[๓๑๘]ปุจฉาวาระสภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากเวทนาขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต

สังขารขันธ์

ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสังขารขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต

สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต

สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้

ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้สัตว์ร้องไห้
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต

:b48: หมายเหตุ
เนื่องจากคำตอบในอัฏฐมนัยเหมือนกันหมดคือตอบปฏิเสธทั้งหมด ท่านจึงย่อเหลือ ๒ ข้อ
ข้อแรกแสดงให้เห็นรูปแบบที่เต็ม ข้อที่ ๒ แสดงโดยย่อทั้งหมด ซึ่งถ้าจัดบทละ ๑ ข้อ อย่างข้อที่๑ (คือข้อ ๓๑๗ ในเนื้อ) จะได้ ๓๒๓ ข้อ
(ดูแผนภูมิที่ ๑๑ ประกอบ)

:b51: ๙. นวมนัย :b51:
สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

๘.๑) วิธีการของนวมนัย
คำว่า สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าได้กับบทที่ประกอบเข้าได้ หมายความว่า ในนวมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่สัมปยุตเข้ากันได้มาจำแนก โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วย วิธีการที่เรียกว่า สัมปยุตเตนสัมปยุตตนัย เพื่อหาสัมปยุตตธรรมของบทตั้ง เช่น

เวทนาขันธ์

[๓๑๙]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๑)สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๒)สัมปยุตด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๑)
สภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๓)สัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓อายตนะ๑ และธาตุ๗
และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๑ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๑ ได้แก่นามขันธ์ ๓ คือ สัญญาขันธ์(คือสัญญาเจตสิก) สังขารขันธ์(คือเจตสิก ๕๐) และวิญญาณขันธ์(คือจิต ๘๙)
๒. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๒ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๒ ได้แก่เวทนาขันธ์ (คือเวทนาเจตสิก)
๓. ในปุจฉาวาระที่ถามว่า สภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๒ (คือเวทนาขันธ์) สัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร ในวิสัชนาวาระจึงตอบว่า สัมปยุตด้วยขันธ์๓ คือสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สัมปยุตด้วยอายตนะ๑ คือ มนายตนะ สัมปยุตด้วยธาตุ ๗ คือ วิญญาณธาตุ๗ มีจักขุวิญญาณธาตุ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นการสัมปยุตทั้งหมด เพราะต่างมีลักษณะ ๔ ประการแห่งสัมปยุตตธรรม และยังมีการสัมปยุตบางส่วนอีก คือ สัมปยุตด้วยอายตนะ๑ คือ ธัมมายตนะ และด้วยธาตุ๑ คือ ธัมมธาตุ

องค์ธรรมของธัมมายตนะและของธัมมธาตุในที่นี้คือเจตสิก ๕๑ (เว้นเวทนาเจตสิก)

สรุปว่า เวทนาขันธ์มีการสัมปยุตกันทั้งหมด (เอกันตสัมปยุต) ด้วยนามขันธ์ ๓ มนายตนะ๑ วิญญาณธาตุ๗ และมีการสัมปยุตบางส่วนด้วยธัมมายตนะและธัมมธาตุ

๙.๒) เนื้อหาของนวมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของนวมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๑๒๐ บท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนามขันธ์ และสัมปยุตด้วยกันตามลักษณะ ๔ ประการดังกล่าวไว้ในฉัฏฐนัย ส่วนสภาวธรรมที่ทไม่เข้าเกณฑ์ของนวมนัย ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นนิพพานและรูปธรรมล้วนๆ หรือรูปธรรมที่เกี่ยวข้องกับนิพพานและนามธรรมทั้งสองนี้ สภาวธรรม ๑๒๐ บท มาจากอัพภันตรมาติกา ๕๖ บท จากพาหิรมาติกาา ๖๔ บท เป็นติกมาติกา ๘ บท ทุกมาติกา ๕๖ บท

อัพภันตรมาติกา ๕๖ บท ได้แก่

๑. ขันธ์ ๔ คือนามขันธ์ ๔
๒. อายตนะ ๑ คือ มนายตนะ
๓. ธาตุ ๗ คือวิญญาณธาตุ ๗
๔. สัจจะ ๒ คือสมุทยสัจและมัคคสัจ
๕. อินทรีย์ ๑๔ คือ
๑. มนินทรีย์
๒. สุขินทรีย์
๓. ทุกขินทรีย์
๔. โสมนัสสินทรีย์
๕. โทมนัสสินทรีย์
๖. อุเปกขินทรีย์
๗. สัทธินทรีย์
๘. วิริยินทรีย์
๙. สตินทรีย์
๑๐. สมาธินทรีย์
๒๑. ปัญญินทรีย์
๑๓. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
๑๔. อัญญินทรีย์
๑๕. อัญญาตาวินทรีย์

๖.ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ คือ
๑. อวิชชา
๒. สังขาร
๓. วิญญาณ
๔. ผัสสะ
๕. เวทนา
๖. ตัณหา
๗. อุปาทาน
๘. กัมมภพ
๙.โสกะ
๑๐. ทุกข์
๑๑. โทมนัส
๑๒. อุปายาส

๗. สภาวธรรมต่อจากปฏิจจสมุปบาทอีก ๑๖ บทมีสติปัฏฐานเป็นต้น

ติกมาติกา ๘ บท

๑. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
๒. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา
๓. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
๔. สภาวธรรมที่มีทั้งวิตกและวิจาร
๕. สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๖. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติวิจาร
๗. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยสุข
๘. สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา

ส่วนทุกมาติกา ๕๖ บท ดูรายละเอียดตั้งแต่ข้อ ๓๔๒ เป็นต้นไป

๙.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของนวมนัย

มนายตนะ

[๓๒๐]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยมนายตนะ
สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบาย
มนายตนะสัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยขันธ์๓ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์เท่านั้น ไม่สัมปยุตด้วยอายตนะและธาตุ และสัมปยุตแบบบางส่วนด้วยอายตนะ๑ (ธัมมายตนะ) และธาตุ๑ (ธัมมธาตุ)

สุขินทรีย์

[๓๒๓]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสุขินทรีย์
สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ (นามขันธ์๓ เว้นเวทนาขันธ์) อายตนะ๑ (มนายตนะ) ธาตุ๑ (กายวิญญาณธาตุ) และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ

[๓๔๐]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติ
สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๑ อายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบาย
สภาวธรรมที่สหรคตด้วยปีติไม่มีสัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยขันธ์ อายตนะและธาตุเหล่าใด มีแต่สัมปยุตแบบบางส่วนด้วยข้ันธ์๑ (สังขารขันธ์) อายตนะ๑ (ธัมมายตนะ) และธาตุ๑ (ธัมมธาตุ)

สภาวธรรมที่ระคนกับจิต

[๓๔๙]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่ระคนกับจิต
สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๑ อายตนะ๑ ธาตุ๗

คำอธิบาย
สภาวธรรมที่ระคนกับจิตสัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยขันธ์๑ (วิญญาณขันธ์) อายตนะ๑ (มนายตนะ) และธาตุ๗ (วิญญาณธาตุ๗) เท่านั้น ไม่มีการสัมปยุตแบบบางส่วน

ดูแผนภูมิที่ ๑๒ ประกอบ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: ๑๐.ทสมนัย :b51:
วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

๑๐.๑) วิธีการของทสมนัย
คำว่า วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าไม่ได้กับบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ หมายความว่า ในทสมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่วิปปยุตจากกันมาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า วิปปยุตเตนวิปปยุตตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่วิปปยุตจากบทตั้ง เช่น

รูปขันธ์

[๓๕๓]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๑) วิปปยุตจากรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่าใด(ที่๒) วิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๑)
สภาวธรรมเหล่านั้น(ที่๒) สงเคราะห์จากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๑ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๑ ได้แก่นามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (๓ ขันธ์นี้ได้แก่ เจตสิก ๕๒) และวิญญาณขันธ์ (ได้แก่จิต ๘๙)
๒. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๒ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๒ ได้แก่รูปขันธ์คือรูป ๒๘ และนิพพาน (นิพพานเป็นขันธวิมุตจึงวิปปยุตจากขันธ์๕)
๓.ในปุจฉาวาระที่ถามว่า สภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๒ วิปปยุตจากขันธ์ อายตนะและธาตุเท่าไร และในวิสัชนาวาระตอบว่า วิปปยุตจากขันธ์๔ คือ นามขันธ์๔ จากอายตนะ๑ คือมนายตนะ จากธาตุ๗ คือวิญญาณธาตุ๗ เหล่านี้เป็นวิปปยุตแบบทั้งหมด และวิปปยุตแบบบางส่วนจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ คือธัมมายตนะ และธัมมธาตุ ตามลำดับ ซึ่งในที่นี้หมายถึงเจตสิก ๕๒

๑๐.๒) เนื้อหาของทสมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของทสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๒๕๐ บท เหมือนในฉัฏฐนัยทุกประการ (ดูฉัฏฐนัยประกอบ)

๑๐.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของทสมนัย

มนายตนะ

[๓๕๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากมนายตนะ
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้น วิปปยุตจากขันธ์๑ (รูปขันธ์) อายตนะ๑๐ (โอฬาริกอายตนะ๑๐) ธาตุ๑๐ (โอฬาริกธาตุ๑๐) และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบาย วิปปยุตแบบบางส่วนจากอายตนะ๑ และธาตุ๑ หมายถึงธัมมายตนะ และธัมมธาตุตามลำดับ ซึ่งในที่นี้ ได้แก่ สุขุมรูป ๑๖ และนิพพาน

รูปภพ

[๓๖๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปภพ
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่วิปปยุตจากธาตุ๓

คำอธิบาย
๑. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๑ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๑ ได้แก่กามภพ (คือ กามาวจรวิปากจิต ๒๓ เจตสิก ๓๓ และกัมมชรูป ๒๐) และอรูปภพ (คือ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ และเจตสิก ๓๐)
๒. สภาวธรรมเหล่าใดที่ ๒ และสภาวธรรมเหล่านั้นที่ ๒ ได้แก่ รูปภพ (คือ รูปาวจรจิต๕ จักขุวิญาณ๒ โสตวิญญาณ๒ สัมปฏิจฉันนจิต๒ สันตีรณจิต๓ เจตสิก๓๕ กัมมชรูป๑๕)
๓. เนื่องจากสภาวธรรมตามข้อที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีการวิปปยุตจากกันโดยขันธ์และอายตนะ จึงตอบว่า ไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุตตามลักษณะ ๔ ประการของวิปปยุตตธรรม
๔. ที่ตอบว่า มีแต่วิปปยุตจากธาตุ ๓ หมายถึง ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ และกายธาตุ

สภาวธรรมที่เป็นวิบาก

[๓๗๒]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากวิบาก
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑

คำอธิบาย
๑. สภาวธรรมเหล่าใดและเหล่านั้นที่ ๑ ได้แก่ กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต และเจตสิก ๕๒
๒. สภาวธรรมเหล่าใดและเหล่านั้นที่ ๒ ได้แก่ สภาวธรรมที่เป็นวิบาก ซึ่งหมายถึง วิปากจิตและเจตสิก ๓๖
๓. สภาวธรรมที่เป็นวิบากวิปปยุตจากขันธ์ ๑ คือรูปขันธ์ จากอายตนะ ๑๐ ธาตุ ๑๐ คือโอฬาริกอายตนะ ๑๐ โอฬาริกธาตุ ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ ๑ ธาตุ ๑ บางส่วนนั้น หมายถึงธัมมาตนะและธัมมธาตุ ซึ่งในที่นี้ได้แก่ สุขุมรูป ๑๖ และนิพพาน

สภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร

[๓๗๘]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร
สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมเหล่านั้น
สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์และอายตนะเหล่าไหนที่จะวิปปยุต แต่วิปปยุตจาก ธาตุ๑ (มโนธาตุ)
(ดูแผนภูมิที่ ๑๓ ประกอบ)

:b51: ๑๑. เอกาทสมนัย :b51:
สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

๑๑.๑) วิธีการของเอกาทสมนัย
คำว่า สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าได้และบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ด้วยบทที่สงเคราะห์เข้าได้ หมายความว่า ในเอกาทสมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตนัย เพื่อหาสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรมของบทตั้ง เช่น

สมุทยสัจ

[๔๐๙]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับสมุทยสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วย ขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และ สัมปยุตด้วยขันธ์๑ อายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และ วิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
ก. หาสัมปยุตตธรรม

๑. องค์ธรรมของสมุทยสัจ คือ โลภมูลเจตสิก
๒. สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับสมุทยสัจ ได้แก่เจตสิก ๔๙ คือ สังขารขันธ์
๓. สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยขันธ์๓ (คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์และวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นนามขันธ์ เว้นสังขารขันธ์เพราะตัวเองสัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยตนเองไม่ได้) อายตนะ๑ (คือมนายตนะ) ธาตุ๗ (คือวิญญาณธาตุ๗) และสัมปยุตแบบบางส่วนด้วยขันธ์๑ (คือสังขารขันธ์) อายตนะ๑ ธาตุ๑ (คือธัมมายตนะและธัมมธาตุตามลำดับ ซึ่งในที่นี้หมายถึง เจตสิก ๕๒)

ข. หาวิปปยุตตธรรม
๑. สภาวธรรมเหล่านั้น (สังขารขันธ์) วิปปยุตตแบบทั้งหมดจากขันธ์๑ (คือรูปขันธ์) อายตนะ๑๐ (คือโอฬาริกอายตนะ๑๐ มีจักขายตนะเป็นต้น) ธาตุ๑๐ (คือโอฬาริกธาตุ๑๐ มีจักขุธาตุเป็นต้น) และวิปปยุตแบบบางส่วนจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ (คือธัมมายตนะและธัมมธาตุตามลำดับ แต่ในที่นี้หมายถึง สุขุมรูป ๑๖ และนิพพาน)

๑๑.๒) เนื้อหาของเอกาทสมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของเอกาทสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๖๙ บท เหมือนของจตุตถนัยทุกประการ

๑๑.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของเอกาทสมนัย

อิตถินทรีย์

[๔๑๐]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับอิตถินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วย ขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีการสัมปยุต (เพราะสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้กับอิตถินทรีย์ ได้แก่สุขุมรูป ๑๕ ซึ่งสัมปยุตไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเหล่าไหน)
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗
และวิปปยุตตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน (ขันธ์๔ คือนามขันธ์๔.... อายตนะ๑ คือมนายตนะ.... ธาตุ๗ คือวิญญาณธาตุ๗..... และอายตนะ๑ ธาตุ๑ คือธัมมายตนะและธัมมธาตุ ในที่นี้หมายถึงเจตสิก ๕๒)

อุปายาส

[๔๑๖]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับอุปายาส
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วย ขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ อายตนะ๑ และธาตุ๗ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐
และวิปปยุตตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายคำตอบที่ ๑
ขันธ์๓ คือ นามขันธ์๓ ยกเว้นเวทนาขันธ์ เพราะอุปายาสเป็นเวทนาขันธ์
อายตนะ๑ คือ มนายตนะ....ธาตุ๗ คือ วิญญาณธาตุ ๗
ส่วนอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน ได้แก่ ธัมมายตนะและธัมมธาตุที่มีองค์ธรรมเป็นเจตสิก ๕๒

คำอธิบายคำตอบที่ ๒
ขันธ์๑ คือ รูปขันธ์ ....อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐ คือ โอฬาริกาอายตนะ๑๐ และโอฬาริกธาตุ๑๐
ส่วนอายตนะ๑ และธาตุ๑ บางส่วน คือ ธัมมายตนะและธัมมธาตุ ซึ่งในที่นี้หมายถึงสุขุมรูป๑๖ และนิพพาน

(ดูแผนภูมิที่ ๑๔ ประกอบ)

:b51: ๑๒.ทวาทสมนัย :b51:
สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

๑๒.๑) วิธีการของทวาทสมนัย
คำว่า สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าได้และบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ด้วยบทที่ประกอบเข้าได้ หมายความว่า ในทวาทสมนัยนี้พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่ประกอบเข้าด้วยกันได้มาจำแนกโดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้และที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ เช่น

เวทนาขันธ์

[๔๑๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ อายตนะ๒ และธาตุ๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์ ได้แก่นามขันธ์๓ คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ว่าด้วยองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๑ และจิต ๘๙ ตามลำดับ
๒. สภาวธรรมเหล่านี้สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ คือ นามขันธ์๓ ตามข้อ๑ เข้าได้กับอายตนะ๒ คือ ธัมมายตนะและมนายตนะ และเข้าได้กับธาตุ๘ คือ ธัมมธาตุ และวิญญาณธาตุ๗
๓. สภาวธรรมเหล่านี้สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๒ คือรูปขันธ์และเวทนาขันธ์ เข้าไม่ได้กับอายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐ คือโอฬาริกอายตนะ๑๐ และโอฬาริกธาตุ๑๐

๑๒.๒) เนื้อหาของทวาทสมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของทวาทสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๑๒๐ บท เหมือนของนวมนัยทุกประการ

๑๒.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของทวาทสมนัย

จักขุวิญญาณธาตุ

[๔๑๘]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๓ อายตนะ๑ และธาตุ๑
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๒ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๗

ปัญญินทรีย์

[๔๒๓]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๒
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๖

สภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา

[๔๔๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสัมปยุตด้วยสภาวธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขา
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑ และธาตุ๑
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๗

(ดูแผนภูมิที่ ๑๕ ประกอบ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: ๑๓. เตรสมนัย :b51:
อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส

๑๓.๑) วิธีการของเตรสมนัย
คำว่า อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่ประกอบเข้าได้และบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ด้วยบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ หมายความว่าในเตรสมนัยนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ มาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุด้วยวิธีการที่เรียกว่า อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตนัย เพื่อหาสัมปยุตตธรรมและวิปปยุตตธรรมของบทตั้ง เช่น

รูปขันธ์

[๔๔๘]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุ กับรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ และธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และวิปปยุตตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. ในที่นี้สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับรูปขันธ์ ได้แก่วิญญาณขันธ์(จิต ๘๙)
๒. วิญญาณขันธ์สัมปยุตแบบทั้งหมดด้วยขันธ์๓ เท่านั้น คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
๓. วิญญาณขันธ์สัมปยุตแบบบางส่วนด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ คือธัมมายตนะและธัมมธาตุ ซึ่งในที่นี้หมายถึงเจตสิก ๕๒
๔. วิญญาณขันธ์วิปปยุตแบบทั้งหมดจากขันธ์๑ คือรูปขันธ์ จากอายตนะ๑๐ คือโอฬาริกอายตนะ๑๐ มีจักขายตนะเป็นต้น และจากธาตุ๑๐ คือ โอฬาริกธาตุ๑๐ มี จักขุธาตุเป็นต้น

๑๓.๒) เนื้อหาของเตรสมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของเตรสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๒๒ บท (ตามที่ระบุไว้ในรวมบทธรรมในเตรสมนัย) คือ
๑. รูปขันธ์
๒. ธัมมายตนะ
๓. ธัมมธาตุ
๔. อิตถินทรีย์
๕. ปุริสินทรีย์
๖. ชีวิตินทรีย์
๗. นามรูป
๘. อสัญญีภพ(อสัญญาภพ)
๙. เอกโวการภพ
๑๐. ชาติ
๑๑. ชรา
๑๒. มรณะ
๑๓. บทที่เป็นรูป
๑๔. อนารัมมณบท
๑๕. โนจิตตบท
๑๖. จิตตวิปปยุตตบท
๑๗. จิตตวิสังสัฏฐบท
๑๘. จิตตสมุฏฐานบท
๑๙. จิตตสหภูตบท
๒๐. จิตตานุปริวัตติบท
๒๑. พาหิรบท
๒๒. อุปาทานบท

แต่เนื้อหาที่ปรากฏในเตรสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรม ๑๓๐ บท มาจากอัพภันตรมาติกา ๑๖ บท มาจากพาหิรมาติกา ๑๑๔ บท

อัพภันตรมาติกา ๑๖ บท คือ ๑๒ บทแรกของรวมบทธรรมข้างต้นและเพิ่มเข้ามาอีก ๔ บท เป็นติกมาติกา ๔๑ บท ทุกมาติกา ๗๓ บท ดังรายละเอียดในข้อ ๔๕๑-๔๕๕

๑๓.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของเตรสมนัย

ธัมมายตนะ

[๔๔๙]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับธัมมายตนะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

มรณะ

[๔๔๙]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับมรณะ
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

สภาวธรรมที่เป็นอกุศล

[๔๕๑]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับสภาวธรรมที่เป็นอกุศล
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ ไม่มีการสัมปยุต
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์๔ อายตนะ๑ ธาตุ๗ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

สภาวธรรมที่เป็นรูป

[๔๕๒]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับสภาวธรรมที่เป็นรูป
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้

[๒]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดสงเคราะห์เข้าไม่ได้โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ และธาตุ กับสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสัมปยุตด้วยขันธ์๓ และสัมปยุตด้วยอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นวิปยุตจากขันธ์๑ อายตนะ๑๐ ธาตุ๑๐ และวิปปยุตจากอายตนะ๑ ธาตุ๑ บางส่วน

(ดูแผนภูมิที่ ๑๖ ประกอบ)

:b51: ๑๔. จุททสมนัย :b51:
วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

๑๔.๑) วิธีการของจุททสมนัย
คำว่า วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส แปลว่า การแสดงบทที่สงเคราะห์เข้าได้และบทที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ด้วยบทที่ประกอบเข้าไม่ได้ หมายความว่า ในจุททสมนัยนี้พระผู้มีพระภาคทรงนำสภาวธรรมที่วิปปยุตจากกันมาจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุด้วยวิธีการที่เรียกว่า วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตนัย เพื่อหาสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้และที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ โดยการสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะและธาตุกับบทตั้ง เช่น

รูปขันธ์

[๔๕๖]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากรูปขันธ์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐

คำอธิบายตัวอย่าง
๑. สภาวธรรมที่วิปปยุตจากรูปขันธ์ ได้แก่นามขันธ์๔
๒. นามขันธ์ ๔ สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ คือนามขันธ์ เข้าได้กับอายตนะ๒ คือธัมมายตนะและมนายตนะ เข้าได้กับธาตุ๘ คือวิญญาณธาตุ๗ และธัมมธาตุที่เป็นเจตสิก ๕๒
๓. นามขันธ์ที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๑ คือรูปขันธ์ เข้าไม่ได้กับอายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐ คือโอฬาริกอายตนะ๑๐ และโอฬาริกธาตุ๑๐

๑๔.๒) เนื้อหาของจุททสมนัย
ตามวิธีการดังกล่าว เนื้อหาของจุททสมนัยประกอบด้วยสภาวธรรมจำนวน ๓๒๔ บท จากอัพภันตรมาติกา ๙๗ บท จากพาหิรมาติกา ๒๒๗ บท ดูรายละเอียดภายในจุททสมนัย และดูอัฏฐมนัยประกอบ

๑๔.๓) ตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรมของจุททสมนัย

มนินทรีย์

[๔๕๗]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากมนินทรีย์
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(นิพพาน)ออกจากขันธ์เสียแล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑ และธาตุ๗

นิโรธสัจ

[๔๖๒]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากนิโรธสัจ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๔ อายตนะ๒ และธาตุ๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๐ และธาตุ๑๐

มนสิการ

[๔๗๒]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากมนสิการ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(นิพพาน)ออกจากขันธ์เสียแล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๑ อายตนะ๑๑ และธาตุ๑๑
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์๔ อายตนะ๑ และธาตุ๗

สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา

[๔๗๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(นิพพาน)ออกจากขันธ์เสียแล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะและธาตุเหล่าใดที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

สภาวธรรมที่เป็นเหตุ

[๔๙๔]ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่าใดวิปปยุตจากสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นเว้นธาตุที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(นิพพาน)ออกจากขันธ์เสียแล้ว สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์๕ อายตนะ๑๒ และธาตุ๑๘
ปุจฉาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นสงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร
วิสัชนาวาระ สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มีขันธ์ อายตนะและธาตุเหล่าใดที่จะสงเคราะห์เข้าไม่ได้

(ดูแผนภูมิที่ ๑๗ ประกอบ)


ภาพแผนภูมิจะนำมาใส่ให้ดูในภายหน้านะคะ :b27:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: ข้อสังเกต

คัมภีร์ธาตุกถา ว่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมจำนวน ๓๗๑ บท โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ด้วยวิธีการ ๑๔ วิธี แต่ละวิธีจำแนกสภาวธรรมได้มากน้อยไม่ค่อยเท่ากัน ท่านที่อ่านคัมภีร์ธัมมสังคณีซึ่งว่าด้วยมาติกาหรือสภาวธรรมแม่บทต่างๆ และอ่านคัมภีร์วิภังค์ซึ่งว่่าด้วยการจำแนกสภาวธรรมเหล่านั้น โดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะเป็นต้นแล้ว ถ้าได้อ่านคัมภีร์ธาตุกถาจะได้ความกระจ่างมากยิ่งขึ้น และจะเห็นว่าพระอภิธรรมนั้นลึกซึ้ง กว้างขวางยิ่งนัก แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างน่าประหลาด พระปัญญาขั้นสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงสามารถแทงตลอดได้อย่างนี้

ท่านผู้ที่เริ่มอ่านคัมภีร์ธาตุกถาโดยไม่ได้อ่านคัมภีร์พระอภิธรรม ๒ คัมภีร์ ที่กล่าวชื่อมาข้างต้นจะไม่เข้าใจซาบซึ้งเท่าผู้ที่ได้อ่านคัมภีร์ทั้งสองนั้นมาก่อน จึงขอแนะนำให้อ่านคัมภีร์ดังกล่าวนั้นก่อน และอ่านคำอธิบายพระอภิธรรมของอาจารย์ฝ่ายพระอภิธรรมประกอบด้วย เพื่อให้เข้าใจองค์ธรรมต่างๆ ได้ดี

ในคัมภีร์ธาตุกถาฉบับแปลนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจไว้ก่อนดังนี้
๑. รูปแบบที่ปรากฏโดยมาเป็นแบบย่อ คือแสดงเต็มรูปหรือเกือบเต็มรูปไว้เพียงข้อแรกของแต่ละนัย นอกจากนั้นเป็นแบบย่อ ขอให้ถือข้อแรกเป็นตัวอย่าง บทนำนี้ได้เสนอการจำแนกสภาวธรรมแต่ละนัยให้เห็นรูปแบบเต็ม เพื่อเป็นตัวอย่างไว้แล้ว

๒. ขอให้จำไว้ว่า การจำแนกสภาวธรรมบทตั้งบทหนึ่งๆ ถ้ามีหลายบทต้อง เติมประธานของประโยคคือคำว่า "สภาวธรรมเหล่าใด" และ"สภาวธรรมเหล่านั้น" ทุกๆ ประโยค เพราะบทตั้งแต่ละบทมีองค์ธรรมไม่เหมือนกัน สภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้หรือเข้าไม่ได้ สัมปยุตด้วยหรือวิปปยุตจากบทตั้งนั้นๆ จึงมีองค์ธรรมไม่เหมือนกัน หรือไม่เท่ากัน ขอให้ดูคำอธิบายตัวอย่างการจำแนกสภาวธรรม ในแต่ละนัยประกอบ

๓. เพื่อให้เข้าใจวิธีการของธาตุกถาดีขึ้น ขอให้อ่านบทนำของคัมภีร์ยมกประกอบด้วย

ที่แนะนำมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีข้อควรศึกษาประกอบอีกมาก แต่เข้าใจว่าคำแนะนำนี้พอเป็นแนวให้ท่านผู้เริ่มศึกษาพระอภิธรรมสามารถอ่านคัมภีร์ธาตุกถาได้อรรถรสยิ่งขึ้น

:b8: บทสวดมนต์สวดของคัมภีร์ธาตุกถาและปุคคลบัญญัติ

พระธาตุกะถา
สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.

พระปุคคะละปัญญัตติ
ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.

:b47: จบคัมภีร์ธาตุกถา :b47:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:


แนะนำปุคคลบัญญัติ
ปุคคลบัญญัติ

:b51: ๑. ความหมาย

คำว่า ปุคคลบัญญัติ มาจากคำภาษาบาลี ๒ คำ คือ ปุคคล และ ปญฺญตฺติ คำว่าปุคฺคล ในภาษาไทยใช้คำว่า บุคคล หมายถึงคนใดคนหนึ่งดังที่ใช้กันในวงนักวิชาการว่าปัจเจกบุคคล ในทางพระวินัย เมื่อพูดถึงบุคคลต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ คณะ(ตั้งแต่ ๒ ถึง ๓ คน) ไม่ใช่สงฆ์(ตั้งแต่ ๔ คนขึ้นไป) ในทางพระอภิธรรม บุคคล เป็นเรื่องสมมติ ไม่ได้มีอยู่จริง เช่น "นายดำ" เป็นคำสมมติเรียกขันธ์๕ ที่รวมเข้าเป็นรูปมีวิญญาณครองเมื่อขันธ์แตกสลาย ชื่อนายดำก็หายไป เช่นเดียวกับชื่อรถ ชื่อเรือน ชื่อสิ่งต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องสมมติ

คำว่า ปญฺญตฺติ หรือที่ใช้ในภาษาไทยว่า บัญญัติ อรรถกถาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์ปัญจปกรณ์อธิบายไว้ว่า มีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) หมายถึง การชี้แจง (ปญฺญาปนา) การแสดง(ทสฺสนา) การประกาศ(ปกาสนา) ดังปรากฏในพระบาลีว่า "อาจิกฺขติ เทเสติปญฺญเปติ ปฏฺฐเปติ(สํ.นิ.๑๖/๒๐/๒๕)แปลว่าบอก แสดง บัญญัติ กำหนด (๒) หมายถึงการตั้งไว้ (ฐปนา) การวางลง (นิกฺขิปนา) ดังปรากฏในพระบาลีว่า"สุปญฺญตฺตํ มญฺจปีฐ"(วินยฺ๑/๒๖๙/๑๙๓)แปลว่าเตียงและตั่ง จัดตั้งไว้เรียบร้อยแล้ว

ในที่นี้คำว่า บัญญัติ ใช้หมายถึงความหมายทั้ง ๒ อย่างนั้น กล่าวคือ คำว่า บัญญัติในบัญญัติ ๖ ประการ มีขันธบัญญัติเป็นต้น หมายถึงการชี้แจง การแสดง การประกาศ ๖ ประการ ก็ได้ หมายถึงการตั้งไว้ การวางลง (เป็นกฏหรือเป็นหลัก) ๖ ประการก็ได้

บัญญัติ ๖ ประการซึ่งปรากฏในภาคอุทเทสที่ ๑ ของคัมภีร์นี้ ได้แก่
๑. ขันธบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่า เป็นขันธ์
๒. อายตนบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่า เป็นอายตนะ
๓. ธาตุบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่ทรงตัวอยู่ว่า เป็นธาตุ
๔. สัจจบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นความจริงว่า เป็นสัจจะ
๕. อินทริยบัญญัติ คือการบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นใหญ่ว่า เป็นอินทรีย์
๖. ปุคคลบัญญัติ คือการบัญญัติเหล่าบุคคลว่า เป็นบุคคล

นอกจากบัญญัติ ๖ ประการที่ปรากฏในคัมภีร์ปุคคลบัญญัตินี้แล้วยังมีบัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอรรถกถาและนัยของอาจารย์อีก ๒ พวก ขอนำมาเสนอเพื่อประดับสติปัญญาและเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับศึกษาปุคคลบัญญัติสืบไป ดังนี้

ก.) บัญญัติ ๖ ประการ ตามนัยของอรรถกถา คือ


๑. วิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติสภาวธรรมที่มีอยู่จริง เช่น กุสลา ธมฺมา(สภาวธรรมที่เป็นกุศล)
อกุสลา ธมฺมา(สภาวธรรมที่เป็นอกุศล)

๒. อวิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติสิ่งสมมติคือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง บัญญัติเพื่อใช้เรียกขานสำหรับเป็นสื่อความเข้าใจกัน เช่น ปุริสะ(ผู้ชาย) อิตถี(ผู้หญิง) ตลอดจนคำบัญญัติทางนามธรรมของลัทธิศาสนาอื่น เช่น อาตมัน พรหมัน ก็ถือว่าเป็นคำบัญญัติประเภทนี้

๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติสิ่งที่มิได้มีอยู่จริงร่วมกับสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น เตวิชชบุคคล(บุคคลผู้ได้วิชชา๓) ในที่นี้ คำว่า บุคคล มิได้มีอยู่จริง ส่วนเตวิชชา มีอยู่จริง

๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติสิ่งที่มีอยู่จริงร่วมกับสิ่งที่มิได้มีอยู่จริง เช่น อิตถีรูปะ(รูปของหญิง) ในที่นี้ สภาวะที่เรียกว่า อิตถี มิได้มีอยู่จริง แต่สภาวะที่เรียกว่า รูป มีอยู่จริง

๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติสิ่งที่มีอยู่จริงร่วมกับสิ่งที่มีอยู่จริง เช่น จักขุสัมผัสสะ(การสัมผัสที่เกิดขึ้นในจักษุ) ในที่นี้ ทั้งสภาวะ ที่เรียกว่า จักขุ และสภาวะที่เรียกว่า ผัสสะ มีอยู่จริง

๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติถึงสิ่งที่มิได้มีอยู่จริงร่วมกับสิ่งที่มิได้มีอยู่จริง เช่น ขัตติยปุตตะ(โอรสของกษัตริย์) ในที่นี้ ทั้งสภาวะ ที่เรียกว่า ขัตติยะ และสภาวะที่เรียกว่าปุตตะ มิได้มีอยู่จริง จึงเป็นคำสมมติล้วนๆ ทั้ง ๒ คำ

ในบัญญัติ ๖ ประการตามนัยอรรถกถา บัญญัติที่ ๑-๓ เท่่านั้นที่พอ จัดเข้าในบัญญัติ ๖ ประการของคัมภีร์นี้ กล่าวคือ บัญญัติที่ ๑ คือ วิชชมานบัญญัติจัดเข้าในบัญญัติที่ ๑-๕ ของคัมภีร์นี้ บัญญัติที่ ๒ คือ อวิชชามานบัญญัติ จัดเข้าในบัญญัติที่ ๖ คือปุคคลบัญญัติ ส่วนบัญญัติที่ ๓ คือ วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ จัดเข้าในบัญญัติที่เหลือ เช่น เตวิชชะ

ข.) บัญญัติ ๖ ประการ ตามนัยของอาจารย์ คือ

๑. อุปาทานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยสิ่งอื่น เช่น การบัญญัติว่า สัตว์ โดยอาศัยขันธ์๕ การบัญญัติว่าทิศตะวันออก โดยอาศัยดวงอาทิตย์ (ขึ้นจากทิศนั้นก่อน)

๒. อุปนิธาบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยการเทียบเคียงซึ่งกันและกัน เช่น การบัญญัติความยาวโดยเทียบเคียงกับความสั้น ความไกลโดยเทียบเคียงกับความใกล้
อุปนิธาบัญญัติ มีหลายประเภท เช่น
๒.๑ ตทัญญาเปกขูปนิธา คือ การบัญญัติโดยการเทียบเคียงกับสิ่งอื่นนับถัดออกไปจากตน เช่น ทุติยะ(ที่๒) ตติยะ(ที่๓) คำว่า ทุติยะในความหมายว่า เพื่อน ก็เป็น อุปนิธาบัญญัติ
๒.๒ หัตถคตูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยที่อยู่ในมือ เช่น สัตถปาณิ(คนถือดาบ) ฉัตตปาณิ(คนถือร่ม)
๒.๓ สัมปยุตตูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยสิ่งที่ประดับติดตัว เช่น กุณฑลี(ผู้ใส่ตุ้มหู) กิรีฏี(ผู้สวมมงกุฏ)
๒.๔ สมาโรปิตูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยสิ่งที่บรรจุ เช่น ธัญญสกฏะ(เกวียนข้าวเปลือก) สัปปิกุมภะ(หม้อเนยใส)
๒.๕ อวิทูรคตูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยสิ่งแวดล้อม เช่น อินทสาลคูหา(ถ้ำช้างน้าว เพราะมีต้นช้างน้าวขึ้นโดยรอบ)
๒.๖ ปฏิภาคูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยความคล้ายคลึงกัน เช่น สุวัณณวัณณะ(ผู้มีผิวสีทอง)
๒.๗ ตัพพหุลูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยสิ่งข้างมาก เช่น ปทุมสระ(สระบัว) พราหมณคาม(หมู่บ้านพราหมณ์)
๒.๘ ตัพพิสิฏฐูปนิธา คือการบัญญัติโดยอาศัยสิ่งที่มีลักษณะเด่น เช่น วิชรกฏกะ(กำไลเพชร)

๓. สโมธานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยแบ่งเป็นหมู่หรือมวรรวม เช่น ปุบผราสิ(กองดอกไม้)

๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับ เช่น เทฺว(๒) ติณี(๓) จตฺตาริ(๔)

๕. ตัชชาบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยเพ่งสภาวะของธรรมนั้นๆ เช่น บัญญัติสิ่งที่มีสภาวะแข็งว่า ปฐวี บัญญัติสิ่งที่มีสภาวะร้อนว่า เตโช

๖. สันตติบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยความต่อเนื่อง เช่น อาสีติกะ(ผู้เฒ่าวัย๘๐) นาวุติกะ(ผู้เฒ่าวัย ๙๐)

ในบัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอาจารย์อาจจัดเข้าในบัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอรรถกถาได้ คือตัชชาบัญญัติจัดเข้าในวิชชมานบัญญัติ ส่วนที่เหลืออีก ๕ ประการจัดเข้าในอวิชชมานบัญญัติและวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ

ค.) บัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอาจารย์อีกพวกหนึ่ง คือ

๑. กิจจบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยหน้าที่ เช่น ภาณกะ(ผู้สวด) ธัมมกถิกะ(ธรรมกถึก)

๒. สัณฐานบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยรูปพรรณสัณฐาน เช่น กิสะ(ผู้ผอม) ถูละ(ผู้อ้วน)

๓. ลิงคบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยเพศ เช่น อิตถี(ผู้หญิง) ปุริสะ(ผู้ชาย)

๔. ภูมิบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติโดยอาศัยสถานที่ เช่น โกสลกะ(ชาวโกศล) มาธุรา(ชาวมธุรา)

๕. ปัจจัตตบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติให้เป็นชื่อเฉพาะของแต่ละบุคคลเช่น ติสสะ(นายติสสะ) สุมนะ(นายสุมนะ)

๖. อสังขตบัญญัติ หมายถึง การบัญญัติให้เป็นชื่อของอสังขตธรรม เช่น นิโรธ นิพพาน โมกขะ

บัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอาจารย์อีกพวกหนึ่งนี้อาจจัดเข้าในบัญญัติ ๖ ประการตามนัยของอรรถกถาได้ คือ ภูมิบัญญัติและอสังขตบัญญัติ จัดเข้าในวิชชมานบัญญัติ กิจจบัญญัติ จัดเข้าในวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ นอกจากนั้นจัดเข้าในอวิชชมานบัญญัติ(อภิ.อ. ๓/๑/๒๙-๓๓)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: ๒. เนื้อหาของปุคคลบัญญัติ

เนื้อหาของปุคคลบัญญัติ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ (๑) ภาคอุทเทส หรือภาคมาติกา (๒) ภาคนิทเทศ
ได้แก่ภาคอธิบายขยายความในภาคอุทเทสโดยละเอียด

ก.) ภาคอุทเทส


ภาคอุทเทส แบ่งเป็น ๑๐ อุทเทส เรียกชื่ออุทเทสตามจำนวนบุคคลที่ยกขึ้นตั้งเป็นบทมาติกาหมวดหนึ่งๆ เช่น หมวดที่ว่าด้วยบุคคล ๑ จำพวก เรียกว่า เอกกอุทเทส หมวดที่ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เรียกว่า ทุกอุทเทส หมวดที่ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก เรียกว่า ติกอุทเทส หมวดที่ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก เรียกว่าจตุกกอุทเทส จนถึงหมวดที่ว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก เรียกว่า ทสกอุทเทส

รวมบุคคลที่ทรงแสดงไว้ในภาคอุทเทสและนำไปขยายในภาคนิทเทส จำนวน ๓๖๕ จำพวก นอกจากนั้น ในเอกกอุทเทส พระผู้มีพระภาคทรงยกบัญญัติ ๖ ประการขึ้นตั้งเป็นบทมาติกาก่อน แล้วทรงจำแนกแต่ละบัญญัติโดยวิธีปุจฉาและวิสัชนาด้วยพระองค์เองที่เรียกว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา ตั้งแต่ขันธบัญญัติจนถึงอินทริยบัญญัติ เช่น

๑. ขันธบัญญัติ (ถาม)การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่า เป็นขันธ์มีเท่าไร (ตอบ)ขันธบัญญัติมี ๕ ประการ คือ (๑)รูปขันธ์ (๒)เวทนาขันธ์ (๓)สัญญาขันธ์ (๔)สังขารขันธ์ (๕)วิญญาณขันธ์

๒. อายตนบัญญัติ (ถาม)การบัญญัติสภาวธรรมที่เป็นบ่อเกิดว่า เป็นอายตนะ มีเท่าไร (ตอบ)อายตนบัญญัติมี ๑๒ คือ.............

พอถึงบัญญัติที่ ๖ คือปุคคลบัญญัติ (ถาม)การบัญญัติเหล่าบุคคลว่าเป็นบุคคลมีเท่าไร คำตอบคือบุคคล ๑ จำพวก จำนวน ๕๔ บุคคล มีบุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะเป็นบุคคลที่ ๑ และบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผลเป็นบุคคลที่ ๕๔ เป็นอันจบเอกกอุทเทส

ตั้งแต่ทุกอุทเทส จนถึงทสกอุทเทส ทรงจำแนกบุคคล ๒ จำพวก ๓ จำพวก ๔ จำพวก จนถึง ๑๐ จำพวก
:b47: รวมบุคคลแต่ละจำพวกของแต่ละอุทเทสได้ดังนี้

- เอกกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๑ จำพวก จำนวน ๕๔ บุคคล
- ทุกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก ๒๖ คู่ จำนวน ๕๒ บุคคล
- ติกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก ๑๘ กลุ่ม จำนวน ๕๔ บุคคล
- จตุกกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ๓๒ กลุ่ม จำนวน ๑๒๘ บุคคล
- ปัญจกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๕ จำพวก ๖ กลุ่ม จำนวน ๓๐ บุคคล
- ฉักกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก ๑ กลุ่ม จำนวน ๖ บุคคล
- สัตตกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๗ จำพวก ๒ กลุ่ม จำนวน ๑๔ บุคคล
- อัฏฐกกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๘ จำพวก ๑ กลุ่ม จำนวน ๘ บุคคล
- นวกกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก ๑ กลุ่ม จำนวน ๙ บุคคล
- ทสกกอุทเทส ว่าด้วยบุคคล ๑๐ จำพวก ๑ กลุ่ม จำนวน ๑๐ บุคคล
รวมทั้งหมด ๓๖๕ บุคคล

ข.) ภาคนิทเทส


ภาคนิทเทสก็แบ่งเป็น ๑๐ นิทเทสเหมือนในภาคอุทเทส แต่ละนิทเทสทรงนำบุคคลแต่ละจำพวกของแต่ละอุทเทสมาอธิบายขยายความโดยใช้วิธีปุจฉาและวิสัชนาแต่ละบุคคล ยกเว้นนิทเทสที่ ๖ ไม่ทรงใช้วิธีปุจฉา-วิสัชนา การเรียกชื่อ แต่ละนิทเทส ใช้จำนวนบุคคลแต่ละจำพวกเป็นชื่อนิทเทส เช่น นิทเทสที่ ๑ ซึ่งว่า ด้วยบุคคล ๑ จำพวก เรียกว่า เอกกปุคคลบัญญัติ นิทเทสที่ ๒ ซึ่งว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เรียกว่า ทุกปุคคลบัญญัติ นิทเทสที่ ๓ ซึ่งว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก เรียกว่า ติกปุคคลบัญญัติ

ตัวอย่างการจำแนกเอกกปุคคลบัญญัติ

๑. บุคคลผู้เป็นสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย(นามกาย) ทุกกาล ทุกสมัย และอาสวะทั้งหลายของเขาสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมยวิมุตตะ

๒. บุคคลผู้เป็นอสมยวิมุตตะ เป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ทุกกาลทุกสมัย แต่อาสวะทั้งหลายของเขาสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสมยวิมุตตะ

:b47: กล่าวโดยสรุป บุคคล ๑ จำพวก จำนวน ๕๔ บุคคล ที่ทรงอธิบายไว้ในเอกกปุคคลบัญญัติ ได้แก่ บุคคลต่อไปนี้

- บุคคลที่เป็นปุถุชน คือบุคคลที่ละสังโยชน์ ๓ ยังไม่ได้ และทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์เหล่านั้น

- บุคคลผู้หลุดพ้นแบบมีสมัย คือบุคคลที่หลุดพ้นจากอาสวะบางส่วนได้ในสมัยที่เข้าสมาบัติ ๘ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี

- บุคคลผู้หลุดพ้นแบบไม่มีสมัย คือบุคคลที่หลุดพ้นจากอาสวะในสมัยที่มิใช่เวลาเข้าสมาบัติ ๘ ได้แก่ พระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสกบุคคล

- โคตรภูบุคคล คือบุคคลผู้กำลังข้ามโคตรของปุุถุชนไปสู่อริยชน ซึ่งถ้าพิจารณาตามสภาวธรรมแล้ว หมายถึง ผู้ที่เจริญวปัสสนาจนถึงโลกุตตรวิถีจิต กำลังจะสำเร็จเป็นโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคล แต่ถ้าพิจารณาโดยขณะจิตแล้ว หมายถึงโคตรภูจิตที่เป็นเหตุให้เกิดโสดาปัตติมัคคจิตในขณะต่อไป

- บุคคลผู้ไม่มีสิทธิ์ในการบรรลุมรรคผล (อภัพพาคมนบุคคล) คือบุคคลต้องอนันตริยกรรม ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ บุคคลผู้ถือกำเนิดด้วยอเหตุกปฏิสนธิจิตและทุเหตุกปฏิสนธิจิต บุคคลผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บุคคลผู้ไม่มีกุศลฉันทะ และบุคคลผู้มีปัญญาทึบแต่กำเนิด

- บุคคลผู้มีสิทธิ์ในการบรรลุมรรคผล (ภัพพาคมนบุคคล) คือบุคคลผู้ซึ่งมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับอภัพพาคมนบุคคล

- บุคคลผู้แน่นอน (นิยตบุคคล) คือบุคคลที่จะต้องตกอบายแน่นอน ได้แก่ บุคคลผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง และบุคคลผู้มีนิยตมิจฉาทิฏฐิ นอกจากนี้ยังหมายถึงพระอริยบุคคล ๘ ประเภท ซึ่งเป็นบุคคลที่แน่นอนในฝ่ายของกรรมที่ดีงาม กล่าวคืออริยมรรค อริยผล และนิพพาน

- บุคคลผู้ไม่แน่นอน (อนิยตบุคคล) คือบุคคลที่มีนัยตรงกันข้ามกับนิยตบุคคล มีคติไม่แน่นอน เหมือนกับท่อนไม้ที่ขว้างขึ้นไปในอากาศ ไม่แน่นอนว่าจะเอาปลายตกลงมาหรือโคนตกลงมา

- พระอริยบุคคลมีสตตักขัตตุปรมะ เป็นต้น

ครั้นทรงอธิบายบุคคล ๑ จำพวกแล้ว ได้ทรงอธิบายบุคคลจำพวกต่างๆ ที่เหลือไปตามลำดับจนครบบุคคล ๑๐ จำพวกก็เป็นอันจบปุคคลบัญญัติ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: ข้อสังเกต

๑. มีข้อน่าสังเกตประการแรก คือในเอกกอุทเทสของภาคอุทเทส พระผู้มีพระภาคทรงนำบัญญัติ ๕ ประการแรกมีขันธบัญญัติเป็นต้นมาแสดงไว้ในเบื้องต้นโดยมิได้ทรงนำไปอธิบายขยายความในภาคนิทเทส และในเอกกอุทเทสนั้นเอง บัญญัติ ๕ ประการนี้ก็มิได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับบัญญัติที่ ๖ คือปุคคลบัญญัติ ดูเผินๆ เหมือนเป็นส่วนเกินของเอกกอุทเทส
แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทรงมีความมุ่งหมายที่จะให้ศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างบัญญัติ ๕ ประการซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิและเป็นความจริงปรมัตถ์กับกับปุคคลบัญญัติซึ่งเป็นความจริงสมมติ (ดูบัญญัติ ๖ ประการตามนัยอรรถกถาประกอบ)

๒. มีข้อน่าสังเกตในการบัญญัติบุคคลจำพวกต่างๆ ตั้งแต่บุคคล ๑ จำพวก จนถึง ๑๐ จำพวก พระพุทธองค์ทรงบัญญัติอริยบุคคลไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทรงบัญญัติบุคคล ๑ จำพวกที่เป็นอริยบุคคลไว้ไม่ต่ำกว่า ๓๐ บุคคล ในจำนวนทั้งสิ้น ๕๔ บุคคลกล่าวได้ว่า ทรงบัญญัติอริยบุคคลมากกว่าครึ่งหนึ่งของบรรดาบุคคล ๑ จำพวก เช่น พระอริยบุคคลประเภทสัตตักขัตตุปรมะ (คือพระโสดาบันที่ต้องเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างมาก)

ในบรรดาบุคคล ๒ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลไว้มากเช่นกัน เช่น บุคคลที่อิ่มแล้ว ซึ่งได้แก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระอรหันต์ ส่วนบุคคลที่อิ่มแล้วและทำให้ผู้อื่นอิ่มคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในบรรดาบุคคล ๓ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลไว้ไม่ต่ำกว่า ๑๔ บุคคล เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี ซึ่งเป็นบุคคลที่บำเพ็ญศีลได้สมบูรณ์ บำเพ็ญสมาธิและปัญญาให้สมบูรณ์ได้บางส่วน

ในบรรดาบุคคล ๔ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลไว้ไม่ต่ำกว่า ๑๐ บุคคล เช่น คนที่เป็นอริยบุคคลคือบุคคลผู้เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลที่ได้โลกุตตรปัญญา ไม่ว่าจะได้มหัคคตฌานสมาบัติหรือไม่ก็ตาม บุคคลที่เป็นอริยบุคคล ประเภทอุคฆติตัญญู วิปจิตัญญูและเนยยะ (บัว ๓ เหล่าใน ๔ เหล่า)

ในบรรดาบุคคล ๕ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลว่าเปรียบเหมือนนักรบที่กล้าหาญและชนะสงคราม

ในบรรดาบุคคล ๖ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลทุกประเภทโดยเฉพาะ คือตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนถึงพระโสดาบัน มิได้ทรงบัญญัติบุคคลที่ไม่ได้เป็นพระอริยะเลย

ในบรรดาบุคคล ๗ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลไว้ไม่ต่ำกว่า ๑๐ บุคคลใน จำนวน ๑๔ บุคคล ทรงแสดงอริยบุคคลที่พ้นจากการจมน้ำคืออกุศลกรรมประเภทต่างๆ และยังทรงแสดงถึงอริยบุคคลประเภทต่างๆ เช่น พระอรหันต์ที่ได้บรรลุอริยมรรคโดยไม่สัมผัสกับฌานสมาบัติ๘ เรียกว่าปัญญวิมุตตบุคคล พระโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคลผู้บรรลุอริยมรรคที่มีปัญญาเป็นประธานเรียกว่า ธัมมานุสารี พระโสดาปัตติมัคคัฏฐบุคคลที่บรรลุอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ เรียกว่า สัทธานุสารี เป็นต้น

ในบรรดาบุคคล ๘ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคล ๘ บุคคลไม่ปะปรนกับบุคคลประเภทอื่น

ในบรรดาบุคคล ๙ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลทั้งหมด โดยทรงนำอริยบุคคล ๗ บุคคลที่มีอยู่ในบุคคล ๗ จำพวกมาอธิบายขยายความ พร้อมทั้งเพิ่มประเภทอริยบุคคลระดังสูงสุดอีก ๒ บุคคล คือบุคคลที่ตรัสรู้เองโดยไม่ต้องศึุกษาจากผู้อื่น ได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า ส่วนบุคคล ๗ จำพวกตามที่กล่าวมาแล้วคืออุภโตภาควิมุต(อุภโตภาควิมุตตะ) ปัญญาวิมุต(ปัญญาวิมุตตะ) กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต(สัทธาวิมุตตะ) ธัมมานุสารี และสัทธานุสารี

ในบรรดาบุคคล ๑๐ จำพวก ทรงบัญญัติอริยบุคคลทั้งหมดโดยแยกตามภูมิ กล่าวคืออริยบุคคลที่บรรลุอริยมรรคในกามาวจรภูมิ ๕ ประเภท ได้แก่ สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี สกทาคามี พระอรหันต์และอริยบุคคลที่ละกามาวจรภูมิไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ประเภท ได้แก่ อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี และอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

๓. นอกจากทรงบัญญัติอริยบุคคลตั้งแต่บุคคล ๑ จำพวกจนถึงบุคคล ๑๐ จำพวก ดังกล่าวแล้ว ยังทรงบัญญัติบุคคลที่เป็นปุถุชนทั้งที่เป็นคนดีและคนชั่ว เพื่อให้รู้จักหลีกเลี่ยงคนชั่วและให้รู้จักเกณฑ์ของคนดีหรือบุคคลที่ดีอีกด้วย

เมื่อพิจารณาบุคคลทั้งหมดโดยภาพรวมแล้วอาจแบ่งได้เป็น ๒ จำพวกใหญ่ๆ คือ
(๑) นิยตบุคคล บุคคลที่แน่นอน
(๒) อนิยตบุคคล บุคคลที่ไม่แน่นอน


บุคคลที่แน่นอน(นิยตบุคคล)ในที่นี้ยังแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. บุคคลชั่วเต็มที่และความชั่วนี้จะให้ผลชั่วแน่นอน นั่นคือบุคคลที่กระทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ผลย่อมส่งให้ตกอบายภูมิแน่นอน
๒. บุคคลผู้เป็นพระอริยะ คือบุคคลผู้บรรลุอริยมรรคแล้วถ้ายังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็มีหลักประกันว่าจะต้องตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนในอนาคต

ส่วนบุคคลนอกจากนี้จัดเป็นอนิยตบุคคล อาจเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วคนเราจะทำบุญหรือบาปปะปนกัน ทำให้บุญและบาปแข่งกันให้ผลแล้วแต่ว่าฝ่ายใดจะมีกำลังแรงมากกว่า ถ้าในชาตินี้สร้างกุศลศีลไว้คุ้มครอง ศีลย่อมให้หลักประกันว่าตายแล้วจักไปสู่สุคติภูมิหรือที่เรียกว่าสว่างไป คนเรานั้นจะมืดมาหรือสว่างมาเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่ากรรมได้ให้ผลมาแล้ว แต่ว่ากรรมปัจจุบันนี้สามารถทำให้สว่างไปหรือมืดไปได้ ด้วยเหตุนี้ การป้องกันไม่ให้มืดไป จึงเป็นหน้าที่ในปัจจุบันภพ พระพุทธองค์ทรงวางเกณฑ์ของบุคคลผู้ที่ไม่ต้องไปอบายคือต้องมีศีล เป็นคนที่ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อมีศีล ๕ ก็ถือว่าเป็นสัตบุรุษ เป็นคนมีสุจริตกรรม เป็นคนดี เป็นคนไม่มีที่ติ

๔. การเป็นคนดีไม่ใช่รู้แค่คุณสมบัติของคนดีมีศีลธรรมเท่านั้น ยังต้องรู้จักลักษณะของคนชั่วไร้ศีลธรรมด้วย
เพราะเมื่อรู้ลักษณะของคนชั่วแล้วจะทำให้รู้จักหลีกความเป็นคนชั่ว ในประเด็นนี้พระผู้มีพระภาคทรงแนะให้รู้จักดูคนชั่ว โดยทรงจำแนกไว้มากมาย เช่น คนที่ไม่มีหิริ คนริษยา คนตระหนี่ คนโอ้อวด คนมีมายา คนไม่มีศีล คนมีมิจฉาทิฏฐิ และคนที่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

๕. เมื่อรู้จักเว้นบุคคลที่เป็นคนชั่วดังกล่าวพอเป็นตัวอย่างแล้ว ต่อไปควรรู้จักพัฒนาตนให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ในประเด็นนี้ พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกบุคคลผู้มีคุณสมบัติที่ดียิ่งกว่าดีจนเป็นอริยบุคคลไว้มากมาย
เช่น การเป็นคนดี โดยละเว้นทุจริต และการเป็นคนดียิ่งกว่าคนดี โดยการชักชวนให้ผู้อื่นเป็นคนดี มีศีลธรรม เว้นทุจริต หมั่นสำรวจตนว่ายังขาดคุณงามความดีของคนดีชนิดใดแล้วควรรีบปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้มีคุณงามความดีของคนดีชนิดนั้นๆ โดยให้พยายามสังเกต จากลักษณะของคนชั่วว่าตนมีลักษณะนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็ควรขจัดออกไป ถ้าไม่มี ควรรักษาคุณงามความดีนั้นดุจเกลือรักษาความเค็ม และให้พยายามพัฒนาความดีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงระดับความดีที่สูงสุดคือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นความดีที่มั่นคงและแน่นอนกว่าความดีทั้งมวล

คำแนะนำตลอดจนข้อสังเกตทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ขอให้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป

:b47: จบคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ :b47:
:b8: :b8: :b8:





.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ทุกะที่ ๒๑ - ๒๒ ใน สังวัณนาแห่งปิฏฐิทุกะ
จากหนังสือ โมหวิจเฉทนี แปล
จัดพิมพ์โดยคณะสงฆ์ ในงานพระเมรุพระศพ สมเด็จพระสังฆราช ปุณณสิริมหาเถระ


ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธาตุกุสลตา คือ ปัญญาเป็นเครื่องฟัง, เป็นเครื่องทรงจำ, เป็นเครื่องแทงตลอด และเป็นเครื่องปัจจเวกขณ์. ความเป็นผู้ฉลาดในการทำไว้ในใจซึ่งธาตุเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า
มนสิการกุสลตา คือปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เป็นเครื่องแทงตลอด และเป็นเครื่องปัจจเวกขณ์. แม้ในความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะก็นัยนี้. ก็บรรดาปัญญาเหล่านั้น ปัญญาเป็นเครื่องฟัง, เป็นเครื่องทรงจำ, และเป็นเครื่องปัจจเวกขณ์ เป็นกามาวจรเท่านั้น; ปัญญาเป็นเครื่องแทงตลอดเป็นโลกุตตระเท่านั้น. ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา (สมฺมสนํ) เป็นกามาวจรและเป็นโลกุตตระ. ธรรมชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท โดยอรรถวิเคราะห์ว่า ยังผลอันอาศัยกันและกันทรงตัวให้เกิดขึ้น คือ ประชุมแห่งปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไขด้วยอวิชชาเป็นต้น. ความเป็นผู้ฉลาดในอนุโลมปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ นั้น ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปาทกุสลาตา คือ โลกิยชวนปัญญาอันเป็นไปแล้วด้วยอำนาจการยังบุคคลให้รู้ว่า ธรรมชาตินี้เกิดด้วยปัจจัยนี้. ธาตุกุสลตาทุกะ ทุกะที่ ๒๑ และอายตนกุสลตาทุกะ ทุกะที่ ๒๒ จบ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:56 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร