วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 23:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานปรมัตถ์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_4.htm
http://www.dhammastudy.com/thpar1.html


อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหาคือวานะ [อรรถกถา ขุททกนิกาย ธาตุสูตร ข้อ ๒๒๒]


อ้างคำพูด:
นิพพานปรมัตถ์เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ จิต เจตสิก รูป เป็นทุกข์เพราะไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป การที่จะดับทุกข์ได้นั้นจะต้องดับตัณหา เพราะตัณหาเป็นสมุทัย


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 09 ต.ค. 2010, 23:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัณหาเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสมุทัยให้เกิดขันธ์ ซึ่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป การที่จะดับตัณหาได้นั้นก็ด้วยการอบรมเจริญปัญญา จนรู้แจ้งชัดในลักษณะเกิดดับของจิต เจตสิก รูป แล้วละคลายความยินดียึดมั่นเห็นผิดในจิต เจตสิก รูป ได้ด้วย

การรู้แจ้งนิพพานซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดับตัณหา ดับทุกข์ ดับขันธ์ นิพพานจึงเป็นธรรมที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นิพพานปรมัตถ์ ว่าโดยความแตกต่างแห่งอาการ มี ๓ อย่าง คือ


อ้างคำพูด:
สุญญตะ ๑ >พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขาร ทั้งปวง
อนิมิตตะ ๑ >ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตคือสังขารทั้งปวง
อัปปณิหิตะ ๑ >ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง


อ้างคำพูด:
เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์

เมื่อบุคคลมนสิการสภาพธรรมโดยเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไป (คือรู้แจ้งอริยสัจจธรรม) ด้วยอนิมิตตวิโมกข์

เมื่อมนสิการโดยสภาพเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิตวิโมกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วจนัตถะของนิพพาน

คำ ว่า นิพพาน มีวจนัตถะ หรือวิเคราะห์ มีความหมายมากมายหลายนัย จะนำมากล่าวแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

กล่าวอย่างธรรมดาสามัญที่สุด
ก็ว่า นิพพาน แปลว่า ตัณหาดับสนิท
คำว่าดับสนิท หมายความว่า เมื่อดับไปแล้ว ไม่มีการเกิดขึ้นได้อีกเลย



อีกนัยหนึ่งก็ว่า กิเลสดับสิ้นไปเมื่อใด เมื่อนั้นแหละ คือถึงซึ่งนิพพาน คำว่า ดับสิ้น หมายความว่า ต้องดับสนิท
ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ตัณหาหรือกิเลสดับ แต่สำคัญตรงที่ไม่เกิด ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่เกิดอีกแล้ว นั่นแหละ คือ นิพพาน


นิพพาน มาจากคำว่า นิ ซึ่งแปลว่า พ้นจาก และคำว่า วาน แปลว่า ตัณหา ดังนั้น คำว่า นิพพาน จึงแปลว่า ธรรมที่พ้นจากตัณหา


http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=156:--6---121-133-&catid=41:-1-&Itemid=71


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 09 ต.ค. 2010, 23:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กล่าวโดยชื่อ คือ นามแห่งคุณของนิพพาน มีตั้ง ๑00 กว่าชื่อ เพียงแต่ชื่อของนิพพาน ก็พอที่จะทำให้ทราบความ หมายแห่งนิพพานด้วย ดังนั้นจึงขอยกมากล่าวสัก ๓0 ชื่อ คือ

๑. อเสสวิราคนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับทุกข์โดยพ้นจากราคะไม่มีเศษเหลือ
๒. อเสสภวนิโรโธ เป็นธรรมที่ ดับภพไม่มีเศษเหลือ



หน้า ๑๓๑

๓. จาโค เป็นธรรมที่ สละจากตัณหาทั้งปวง
๔. ปฏินิสฺสคฺโค เป็นธรรมที่ พ้นจากภพต่างๆ
๕. มุตฺติ เป็นธรรมที่ พ้นจากกิเลส
๖. อนาลโย เป็นธรรมที่ ไม่มีความอาลัย
๗. ราคกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นราคะ
๘. โทสกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโทสะ
๙. โมหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นโมหะ
๑0. ตณฺหกฺขโย เป็นธรรมที่ สิ้นตัณหา
๑๑. อนุปฺปาโท เป็นธรรมที่ ดับขันธ์ ๕
๑๒. อปวตฺตํ เป็นธรรมที่ ดับรูปนาม
๑๓. อนิมิตฺตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีสังขารนิมิต
๑๔. อปฺปณิหิตํ เป็นธรรมที่ ปราศจากความต้องการ
๑๕. สุญฺญตํ เป็นธรรมที่ สูญสิ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง
๑๖. อปฺปฏิสนฺธิ เป็นธรรมที่ ไม่ปฏิสนธิอีก
๑๗. อนุปฺปตฺติ เป็นธรรมที่ ไม่อุบัติต่อไป
๑๘. อนายูหนํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความพยายามอีกแล้ว
๑๙. อชาตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเกิด
๒0. อชรํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความแก่



หน้า ๑๓๒

๒๑. อพยาธิ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเจ็บป่วย
๒๒. อคติ เป็นธรรมที่ ไม่มีที่ไป
๒๓. อมตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความตาย
๒๔. อโสกํ เป็นธรรมที่ ไม่มีความโศกเศร้า
๒๕. อปริเทว เป็นธรรมที่ ไม่มีการร้องไห้
๒๖. อนุปายาส เป็นธรรมที่ ไม่มีการรำพันพร่ำบ่น
๒๗. อสงฺกิลีฏฺฐ เป็นธรรมที่ ไม่มีความเศร้าหมอง
๒๘. อสงฺขตํ เป็นธรรมที่ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
๒๙. นิวานํ เป็นธรรมที่ พ้นจากเครื่องร้อยรัด
๓0. สนฺติ เป็นธรรมที่ สงบสุขจากทุกข์ทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ
๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกีย
ธรรม

๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ

๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจาก
กาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน



หน้า ๑๒๓

๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน
บัญญัติ ก็ เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว

๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฎฐานสังคหวิภาค

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่าง) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำสมาธิ หรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญ สมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิตต่างก็มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด


http://www.dharma-gateway.com/dhamma/abidhamma-06.htm

:b41: :b41: :b41:


http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=128:--9---1-10&catid=41:-1-&Itemid=71
อ้างคำพูด:
คู่มือการศึกษา

กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปริจเฉทที่ ๙

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

ความเบื้องต้น

คู่มือการศึกษาเล่มนี้ รวบรวมคำสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ ที่ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค อันเป็นปริจเฉทสุดท้ายแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา
กัมมัฏฐาน แปลตามพยัญชนะ ตามตัวอักษรว่า ที่ตั้งแห่งการงาน แต่ตามอรรถ ตามความหมาย
ในที่นี้หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงานทางใจที่จะให้ถึงฌานและถึงมัคคถึงผล ไม่ได้หมายถึงการงานอื่นใดที่นอกจากนี้เลย
สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
วิภาค แปลว่า ส่วน
กัมมัฏฐานสังคหวิภาค จึงรวมแปลตามความหมายว่า เป็นส่วนที่รวบรวมโดยย่อซึ่งที่ตั้งแห่ง
การงานทางใจ อันจะให้ถึงฌานและถึงมัคคถึงผล
ดังปรากฏตามนัย มูลฎีกา แสดงวจนัตถะ ของคำกัมมัฏฐานว่า
กมฺมเมว จิเสสาธิคมสฺส ฐานนฺติ กมฺมฏฺฐานํ
การกระทำที่เป็นเหตุแห่งการได้บรรลุ ฌาน มัคค ผล นิพพาน ที่เป็นธรรมพิเศษนั่นเทียว จึงชื่อว่า กัมมัฏฐาน
กมฺเม ภาวนา รพฺโพ ฐานนฺติ กมฺมฏฺฐานํ
การเจริญภาวนาทั้ง ๒ อย่าง เป็นเหตุแห่งการได้บรรลุ ฌาน มัคค ผล นิพพาน จึงชื่อว่า กัมมัฏฐาน


....
ส่วนแรก จะคล้ายกับ วิสุทธิมรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรให้ เข้าใจ และ ปฎิบัติ ให้ได้ ปฐม ญาณก่อน ที่จะศึกษาต่อไป...


อ้างคำพูด:
การเจริญกสิณกัมมัฏฐาน

จะได้กล่าวถึง การเจริญปฐวีกสิณพอเป็นตัวอย่างโดยย่อ ๆ แต่อย่างเดียว กสิณที่เหลืออื่น ๆ อีก ๙ กสิณ ก็เจริญในทำนองเดียวกัน
๑. เมื่อทำดวงปฐวีกสิณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำมาตั้งเฉพาะหน้า ให้ห่างสัก ๒ ศอก พอมองเห็นได้ถนัด แล้วจงนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง จึงจะนั่งได้ทน นั่งได้นาน แล้วลืมตาดู
ดวงกสิณ ให้ใจจดจ่ออยู่ที่อารมณ์ คือ ที่ดวงกสิณที่เพ่งนั้น อาการเช่นนี้เรียกว่า วิตก คือ ยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์
และจง ประคองจิต ไว้ ไม่ให้แส่คิดไปอย่างอื่น ให้คงคิดและเพ่งอยู่แต่ในอารมณ์ คือ ดวงกสิณนั้นแต่อย่างเดียว อาการเช่นนี้เรียกว่า วิจาร ดวงกสิณที่เพ่งนั้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต จิตที่เพ่งบริกรรมนิมิตนี้เรียกว่า
บริกรรมภาวนา บริกรรมภาวนานี้เป็นไปได้ด้วยอำนาจ บริกรรมสมาธิ
ข้อนี้เป็นการเห็นด้วยนัยน์ตา เป็นการเห็นทางจักขุทวาร



หน้า ๓๓

๒. ลืมตาเพ่งดวงกสิณให้ทั่วทั้งดวงกสิณ ให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งทุกกระเบียดนิ้ว ว่าตรงไหนเป็นอย่างไร เช่นว่ามีเศษผงนิดหนึ่งติดอยู่ตรงนี้ มีรอยบุ๋มตรงนั้น เป็นรอยขีดตรงโน้น ให้จิตแน่วแน่ในดวงกสิณนั้น
ในอารมณ์นั้น ประคองไว้ไม่ให้จิตตกไปจากอารมณ์นั้น
๓. ลืมตาเพ่งจนเห็นว่าจำได้ทั่วทุกส่วนในดวงกสิณนั้นแล้ว ก็ให้ลองหลับตาดู จะติดตา คือ เห็นดวงกสิณ
เหมือนดังลืมตาเห็นนั้นหรือไม่ ถ้ายังเห็นไม่ชัดก็ให้ลืมตาดูใหม่ ทำเช่นนี้แล้วเช่นนี้อีก จนเมื่อหลับตาก็เห็น
ดวงกสิณนั้นชัดเจนทุกส่วนทั่วทั้งดวงกสิณ แม้จนกระทั่งเศษผง รอยบุ๋ม รอยขีดอยู่ตรงไหนบ้าง ก็เห็นชัดหมด
ทุกสิ่งทุกอย่าง นิมิตที่เห็นติดตาเช่นนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต จิตที่นึกเห็นอุคคหนิมิตนี้ยังคงเรียกว่า บริกรรมภาวนา บริกรรมภาวนานี้เป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งบริกรรมสมาธิ ตอนนี้เป็นการเห็นโดยทางมโนทวาร คือ ทางใจ
๔. หลับตาเพ่งเช่นนั้น หรือลืมตาโดยไม่ได้มองดวงกสิณ ก็ติดตาเห็นดวงกสิณชัดเจนอยู่อย่างนั้น นิมิตก็ไม่
คลาดคลายหายไป เพ่งหนักเข้า อุคคหนิมิตนั้นจะชัดเจนจนกระทั่งใส สะอาดประดุจดวงแก้วมณี เศษผง รอยบุ๋ม
รอยขีด ที่เคยเห็นก็ค่อยจางหายไป ดวงกสิณจึงใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก นิมิตที่เห็นเช่นนี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต และปฏิภาคนิมิตนี้อาจขยายให้ใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงได้ตามความปรารถนาด้วย จิตที่นึกเห็นปฏิภาคนิมิต
นี้เรียกว่า อุปจารภาวนา เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอุปจารสมาธิ คือใกล้จะได้ฌานแล้วละ เป็นการเห็นทางใจ ทางมโนทวารเช่นเดียวกับข้อ ๓
ถึงขั้นนี้ก็สามารถประหาณนิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เป็นปฏิปักษ์กับสมาธินั้นได้แล้ว แต่ยังเป็นแค่กามาวจรสมาธิ
มีกำลังยังไม่มาก ยังไม่แน่นอน ยังไม่แนบแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ
๕. เพ่งปฏิภาคนิมิต ด้วยอุปจารภาวนาเช่นนั้น ให้เป็นไปโดยสมบูรณ์จนอารมณ์ คือ ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่
หายไป แต่แนบแน่นในจิตประทับติดอยู่ในใจยิ่งนัก รูปาวจรปฐมฌาน ก็ย่อมเกิดขึ้น ที่รูปาวจรปฐมฌานเกิด
ขึ้นนี้โดยอาศัยปฏิภาคนิมิต ด้วยอำนาจแห่ง อัปปนาภาวนา อันเรียกตามอำนาจแห่งสมาธิว่าเป็น อัปปนาสมาธิ
ฌานจิตนี้สามารถข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม การข่มนิวรณ์ได้ด้วยอำนาจ
แห่งฌานนี้แหละที่เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
๖. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ และองค์ฌานทั้ง ๕ ที่ทำหน้าที่ข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ องค์ฌานใด ข่มนิวรณ์อะไร อย่างไรนั้น ได้กล่าวแล้วในปริจเฉทที่ ๑ ตอนรูปาวจรจิต ตรงนิวรณ์ของฌานและการเผานิวรณ์ (วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์, วิจาร เผาวิจิกิจฉานิวรณ์, ปีติ เผาพยาปาทนิวรณ์, สุข เผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์, เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิปัสสนากัมมัฏฐาน

วิปัสสนากัมมัฏฐาน แปลว่า อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจที่จะให้เห็นแจ้ง ซึ่งมีความหมายว่า
ให้เห็นแจ้ง รูปนาม ให้เห็นแจ้ง ไตรลักษณ์ ให้เห็นแจ้ง อริยสัจจ ให้เห็นแจ้ง มัคค ผล นิพพาน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าต่างกับ สมถกัมมัฏฐาน ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เพราะสมถกัมมัฏฐานเป็นเพียง
อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจ ที่จะให้เกิดความสงบ แต่อย่างเดียวเท่านั้น ไม่ถึงกับให้เกิดปัญญา
เห็นแจ้ง ดังที่กล่าวนี้ด้วย
บ้างก็กล่าวสั้น ๆ ว่า สมถะเป็นอุบายสงบใจ วิปัสสนาเป็นอุบายเรืองปัญญา
มีคาถาที่ ๑๒ ที่ ๑๓ ที่ ๑๔ เริ่มต้นกล่าวถึง วิปัสสนากัมมัฏฐานว่า

๑๒. วิปสฺสนา กมฺมฏฺฐาเน นโย ปน วิชฺชานโย
อาทิมฺหิ สีลวิสุทฺธิ ตโต จิตฺตวิสุทฺธิ จ ฯ

๑๓. ตโต ตุ ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ กงฺขาวิตรณาปิ จ
ตโต ปรํ มคฺคามคฺค ญาณทสฺสนนามิกา ฯ

๑๔. ตถา ปฏิปทาญาณ ทสฺสนา ญาณทสฺสนา
อิจฺจานุกฺกมโต วุตฺตา สตฺต โหนฺติ วิสุทฺธิโย ฯ

ตามนัยแห่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งนั้น พึงทราบว่า ในเบื้องต้นตรัส สีลวิสุทธิ
ต่อนั้นตรัส จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
และญาณทัสสนวิสุทธิ รวมวิสุทธิ ๗ ประการ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยลำดับฉะนี้



...คล้ายๆวิสุทธิมรรค???


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=120:--9---81-90&catid=41:-1-&Itemid=71


อ้างคำพูด:
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ที่ เกิดวิปลาส คือ มีความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดขึ้นก็เพราะไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ที่ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ก็เพราะมีสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์อยู่ สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ คือ
๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง สันตติ คือ ความสืบต่อของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วเหลือเกิน จึงทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของนามและของรูป ทำนองเดียวกับที่เห็นแสงไฟที่ธูป ซึ่งแกว่งหมุน
เป็นวงกลมอย่างเร็ว ๆ ในที่มืด ๆ จึงทำให้เห็นไปว่าแสงไฟนั้นติดกันเป็นพืด เป็นวงกลมไปเลย ฉะนั้น เมื่อไม่เห็น
ความเกิดดับ ก็ทำให้เข้าใจผิดไปว่ารูปนามนี้ไม่มีการเกิดดับ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตนเราเขา เป็นของสวย
งามน่าชื่นชมยินดี ต่อเมื่อได้กำหนดจนเกิดปัญญาเห็นความดับไปของนามของรูปอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้ว จึงจะทำลายความวิปลาสที่เห็นว่าเที่ยงว่ายั่งยืน และประหาณ มานะได้
๒. อิริยาบถ ปิด บังทุกข์ อันความทุกขเวทนาทั้งหลาย ตามปกติเป็นส่วนมากนั้นเกิดจากอิริยาบถ เช่น นั่งมากก็เมื่อยเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาแล้วทนอยู่ไม่ได้ เดินมากก็เมื่อยทนไม่ได้ ยืนมากก็ทนไม่ไหว แม้แต่นอน
มากก็ลำบากทนอยู่ไม่ได้นานเหมือนกัน อิริยาบถเก่าเป็นทุกข์นั้นย่อมรู้เห็นกันทั่วไปได้โดยง่าย เมื่อนั่งนานก็
เมื่อยทนไม่ได้จึงลุกเดิน ก็นึกว่าการเดินนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเมื่อย เดินนานหน่อยก็เหนื่อยทนไม่ได้อีก
จึงนอน ก็นึกว่าการนอนนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเหนื่อย คือเห็นว่าอิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่นั้นเป็นสุข เพราะ
ขณะที่เปลี่ยนใหม่ ๆ นี้ ทุกขเวทนายังไม่ทันเกิด แท้จริงอิริยาบถเก่าเป็นทุกข์ อิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่ก็จะเป็น
ทุกข์อีกเหมือนกัน รวมความว่า หนีทุกข์เก่าไปสู่ทุกข์ใหม่นั้นเอง อิริยาบถเก่านั้นเห็นทุกข์ได้ง่าย เพราะ
ทุกขเวทนากำลังมีอยู่ แต่อิริยาบถใหม่ก็ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ จะต้องสำแดงให้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่าง
แน่นอนไม่เร็วก็ช้า
อิริยาบถเก่าที่กำลังมีทุกข์เวทนาอยู่ เป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส อิริยาบถใหม่ที่นึกว่าเป็นสุขนั้นก็เป็นที่ตั้งแห่ง
ตัณหา คือ อภิชฌา แต่ว่าการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น เพื่อกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ทั้งสองอย่าง
ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงการเห็นทุกขเวทนา ซึ่งผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานย่อมจะเห็นทุกขเวทนา
ก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะทุกขเวทนาเป็นของหยาบ เห็นได้ง่าย ขั้นที่สอง จึงจะเห็นสังขารทุกข์ที่จะต้องถูกเบียด
เบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ ต่อไปก็เห็น ทุกขลักษณะ คือ ความเกิดดับเป็นขั้นที่สาม และจะปรากฏทุกขสัจจ
เป็นขั้นสุดท้าย



หน้า ๘๕

ทุกขเวทนา เห็นได้ในอิริยาบถเก่า เห็นสังขารทุกขได้ในอิริยาบถใหม่ เห็นทุกขลักษณะได้เมื่อกำหนดนามรูป
จนสันตติขาด และจะเห็นทุกขสัจจ ได้ในสังขารุ เบกขาญาณที่แก่กล้า มีกำลังพอที่จะอนุโลมให้เห็น อริยสัจจ ทั้ง ๔ ได้
เมื่อเห็นทุกข์ ก็ทำลายวิปัลลาสธรรมที่เห็นว่าสุขว่าสบายนั้นได้ และประหาณตัณหาลงได้
๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความสำคัญว่าเป็นก้อน เป็นแท่ง ความสำคัญว่าเป็นก้อนเป็น
แท่งนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นคนเป็นสัตว์ ที่ว่าเป็นคนก็สำคัญเอาหมดทั้งก้อนหมดทั้งแท่งนี้ว่า
เป็นคน ถ้าย่อยก้อนนี้แท่งนี้ออกไปแล้ว ก็จะมีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เท่านั้นเอง หาสิ่งที่เป็นคน
เป็นตนเป็นตัวนั้นไม่มีเลย ถ้ายังถือทั้งก้อนทั้งแท่งว่าเป็นคนอยู่ ก็ย่อมจะเข้าใจผิดไปว่าเป็นของเที่ยง เพราะยั่งยืน
อยู่นับสิบ ๆ ปี เป็นสุข เป็นสาระ สวยงามน่ารักน่าใคร่
เมื่อเห็นอนัตตา ก็ทำลายวิปลาสว่า เป็นตัวเป็นตนบังคับบัญชานั้นได้ และประหาณทิฏฐิลงได้
การทำลายสิ่งที่ปกปิดไตรลักษณ์ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์นั้น มีวิธีเดียว คือ การกำหนดเพ่งรูปนามตาม
วิธีที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ที่กำลังศึกษาอยู่บัดนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนุปัสสนา

อนุปัสสนา แปลว่า ตามเห็น ตามดูให้เห็นแจ้ง หรือดูบ่อย ๆ ซึ่งก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน ดังมีคาถาที่ ๑๖
แสดงว่า

๑๖. อนิจฺจานุปสฺสนา จ ตโต ทุกฺขานุปสฺสนา
อนตฺตานุปสฺสนา ติ ติสฺโส อนุปสฺสนา ฯ

แต่นั้นพึงทราบ อนุปัสสนา ๓ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา
มีความหมายว่า พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีความเพียร หมั่นตั้งสติ มีสมาธิมั่นคง ไม่เผลอ
บังเกิดปัญญา เห็นแจ้งรูปธรรม นามธรรม มีความเกิดดับเป็นลักษณะ ปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริงแห่ง
สภาวธรรมว่า
เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง จึงต้องดับไป ๆ
เป็น ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องดับไป ๆ
เป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ จึงต้องดับไป ๆ
อยู่ทุกขณะ ต่อแต่นี้ไปพระโยคาวจรพึงพิจารณาด้วยปัญญา ตามเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ



หน้า ๘๖

๑. อนิจจานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรมที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าไม่เที่ยง เหมาะใจในการดูอนิจจัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สีล
๒. ทุกขานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าทนอยู่ไม่ได้ เหมาะใจในการดูทุกขัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สมาธิ
๓. อนัตตานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะว่า บังคับบัญชาไม่ได้ เหมาะใจใน
การดูอนัตตา เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา
การกำหนดจนเห็นไตรลักษณ์นี้ ย่อมเห็นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะเห็นทั้ง
๓ อย่าง เมื่อเห็นอย่างใดก็ได้ชื่อว่า เห็นแจ้งทั้ง ๓ อย่าง เพราะทั้ง ๓ อย่างนี้มีลักษณะที่สมคล้อยกัน กล่าวคือ
เพราะ ไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ที่ทนอยู่ไม่ได้ก็เพราะไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงก็ทนอยู่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ถือว่าเที่ยงได้ ที่ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ก็เพราะบังคับบัญชาว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ ก็จะบังคับบัญชาให้เที่ยงให้
ทนอยู่ได้
เมื่อเห็นลักษณะใด ก็ตามดูลักษณะนั้นเรื่อยไป และนับตั้งแต่ได้เห็น ไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นต้นไป ได้ชื่อว่ามีปัญญาถึงขั้น วิปัสสนาญาณ แล้ว


......คือ บ่อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อานิสงส์ของบารมี

อานิสงส์ของบารมีนั้น มี ๖ ประการ คือ
๑. อายุสมฺปทา อายุยืน
๒. รูปสมฺปทา มีรูปงาม
๓. กุลสมฺปทา เกิดในตระกูลสูง
๔. อิสฺสริยสมฺปทา มียศและมีเกียรติ
๕. อาเทยฺยวจนตา ได้รับการยกย่องโดยทั่วไป
๖. มหานุภาวตา เป็นผู้ทรงอานุภาพ
เรื่องบารมีนี้ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้กล่าวไว้ด้วย จึงนำมาแทรกไว้ ณ ที่นี้แต่โดยย่อ ด้วยมี
ความมุ่งหมายว่า จะมีผลแก้ข้อข้องใจในบางท่านที่ว่าบุญบารมียังน้อยอยู่ จึงได้ลังเลใจจนถึงกับละเลย
ในการที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา
พุทธศาสนิกชนผู้มีบุญทั้งหลาย ที่ได้ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะมาจนถึงเพียงนี้แล้ว ไม่เป็นการสมควร
เลยที่จะคาดคิดเอาเองว่ายังมีบุญบารมีน้อยอยู่ เพราะการคาดคิดเช่นนี้เป็นการเดาเอาโดยแท้ และเป็นการเดา
ที่ไม่เป็นคุณแก่ตนเลย แม้จะสมมติว่าบารมียังมีน้อยจริง ก็ไม่เป็นการสมควรละ หรือที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อสร้างสมบุญบารมีให้พอกพูนเพิ่มมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะได้เต็มเปี่ยมในกาลภายหน้าที่ไม่เนิ่นนานนัก
นักศึกษาพระอภิธรรมผู้มีปัญญาทั้งหลาย คงได้พิจารณาเห็นแล้วว่า สังขารนี้ไม่ยั่งยืน จึงเป็นการสมควร
อย่างยิ่งที่จะพากเพียรให้ถึงซึ่งธรรมอันไม่จุติ ตัดขาดจากความเยื่อใยในสิ่งที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพใหม่ชาติใหม่อีก จักเสวยแต่วิมุตติสุข อันประเสริฐสุดกว่าสุขทั้งปวง



หน้า ๑๖๕

มิฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนอย่างที่ปรากฏใน สัทธัมมัปปกาสินี ว่ามีเหมือนไม่มี ๔ ประการ คือ
ทุกฺขเมว น โกจิ ทุกฺขิโต
ทุกข์มีจริง แต่คนเป็นทุกข์ไม่มี
การโก น กิริยา ว วิชฺชติ
ผู้ทำไม่มี แต่การกระทำมีอยู่แท้
อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา
ความดับมีอยู่ แต่ผู้ดับไม่มี
มคฺโค อตฺถิ คม โก น วิชฺชติ
ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี
ดังนั้น จงเบื่อหน่ายในกามให้สมตามนัยที่ ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท แสดงไว้ว่า
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ ฯ
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ยินดีในกาม แม้เป็นของทิพย์

อวสานคาถา ปริจเฉทที่ ๙

๔๐. อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
นวโม ปริจฺเฉโท สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ

นี่ปริจเฉทที่ ๙ (ชื่อ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม ที่
พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้นั้นจบแล้วโดยย่อแต่เพียงเท่านี้แล

อวสานแห่งปกรณ์ ( วสันตดิลกฉันท์ )

จาริตฺตโสภิตวิสาลกุโลทเยน
สทฺธาภิวุทฺธปริสุทฺธคุโณทเยน
นมฺพวฺหเยน ปณิธาย ปรานุกมฺปํ
ยํ ปตฺถิตํ ปกรณํ ปรินิฏฺฐิตนฺตํ ฯ

ปกรณ์ ซึ่งอุบาสกชื่อว่า นัมพะ ผู้เกิดในตระกูลอันใหญ่ไพศาล งามด้วยมารยาท มีความบังเกิดขึ้นแห่งคุณ
อันเจริญยิ่ง และ บริสุทธิ์แล้วด้วยสัทธา หวังความเอ็นดูแก่ผู้อื่น อาราธนาข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า อนุรุทธาจารย์ ให้รจนา
คัมภีร์สัตตปกรณ์นั้น ก็สำเร็จบริบูรณ์แล้วดังความประสงค์



หน้า ๑๖๖

ปุญฺเญน เตน วิปุเลน ตุมูลโสมํ
ธญฺญาธิวาสมุทิโตทิตมายุคนฺตํ
ปญฺญาวทาตคุณโสภิตลชฺชิภิกฺขุ
มญฺญนฺตุ ปุญฺญวิภโวทยมงฺคลาย ฯ

ขอภิกษุทั้งหลาย ผู้งามแล้วด้วยคุณอันขาวบริสุทธิ์ด้วยปัญญา เป็นลัชชี จงสำคัญซึ่งมูลโสมวิหาร เป็นที่เคารพ
สักการะแทนองค์พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์สังคหะนี้ ด้วยว่ามูลโสมวิหาร เป็นอธิวาสถานแห่งพระอาจารย์ผู้
รจนาคัมภีร์สังคหะนี้ และแห่งพระสมณะผู้มีบุญทั้งหลายองค์อื่นๆ อีกด้วย เพื่อได้เป็นมิ่งมงคล ยังความบังเกิดขึ้น
แห่งสมบัติ คือกองบุญตลอดจนที่สุดแห่งอายุ เทอญ
อิติ อนุรุทฺธาจริเยน วิรจิตํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหนฺนาม ปกรณํ ฯ
คัมภีร์ชื่อ อภิธัมมัตถสังคหะ ที่พระอนุรุทธาจารย์รจนาไว้โดยวิเศษด้วยความเพียรจบบริบูรณ์แล้ว

นิพฺพาน ปจฺจโยโหตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่านนัน 555 :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตสังคห ใน ไตรภูมิกถา ฦฦ??

http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/aaauaoadaec-onoeaoua3i/15/


อ้างคำพูด:
แต่ นี้ใส่ไตรภูมิกถาเมื่อใดไส้ ปีรกาสักราชได้ ๒๓ ได้ในเดือน ๑๐ เพงวันพฤหัสบดีมฤคเสียรนักษัตร ผู้ใดรังไส้ พระญาลิทัยผู้เป็นหลายปู่พระญาลิทัยผู้เสวยราชในเมืองศรีสัชชนาลัยแลสุกโช ทัย ผู้เป็นหลานแก่พระรามราชอันเป็นสุริยพงษ เพื่อได้กินเมืองศรีสัชชนาลัยอยู่ได้หกเข้าจึงไส้เพื่อความไภรอรกพระอภิธรรม แลจะใคร่เทสนาเฉพาะแก่แม้เอาคนหีนจักใคร่จะเริญพระธรรมโสดธรรมไตรภูมิกถานี้ เอาออกแต่คัมภีร์ปางสิ้น อันว่าไตรภูมิกถานี้เอาออกแต่อัฎฐกถาฎีกาพระจตุลมรรคนั้นสเลกสน้อยฯ อัฏฐกถาฎีกาพระอภิธรรมาวดาร อัขฐกถาพระอภิธรรมมัตถสงเคราะห์ ในคัมภีร์ฝูงนี้พระมังคลวิลาสินี พระปนัญจสูทนี พระสารัทถปกาสินี พระมโนรถปูรนี พระนีลมาลัตถปกาสินีอัฎฐกถาฏีกา พระวินัยปิฎก พระธัมมมหารถกถา พระธัมมรัตถวิลาสินี พระธาเตการตกถา พระชินาลังกา พระโพธิวงษ พระสารสังคห พระอภิธัมมัตสังคห พระอภิธัมมาวดาร พระมิลินท พระธธัมมหทัย พระมหานิทาน พระพุทธวงษ พระอนาคตวงษ พระจริยาปิฎก พระธัมมบท พระโลกบัญญัติ พระมหากัลป พระอรุณวดีสูตร พระสปนปาสาถิกา พระวิทสุทธิมรรค พระลักขณภิธรรม พระอนุปติกา พระโลกุปัตติ พระสาริริกพินิสยฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ค. 2014, 23:12
โพสต์: 1

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ ได้ความรู้มากเลย (มือใหม่ป้ายแด๊งแดง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร