วันเวลาปัจจุบัน 14 ต.ค. 2024, 11:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พ ร ะ อ ภิ ธั ม มั ต ถ สั ง ค ห ะ

ราวพุทธศักราชที่ ๑๕ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ท่านหนึ่ง
นามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์)
ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของพระเทศอินเดีย

ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่ สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา
จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง

ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจาก นัมพะอุบาสก
ผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียงเรียงพระอภิธรรมปิฎก
ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
และยากแก่การทำความเข้าใจให้สั้น และง่าย
เพื่อสะดวกการศึกษา และจดจำ

พระอนุรุธาจารยจึงได้เรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อขึ้น
และเรียกชื่อ คัมภีร์นี้ว่า “พระอภิธัมมัตถสังคหะ”


อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ+ธัมมะ+อัตถะ+สัง+คหะ

อภิ = อันประเสริฐยิ่ง
ธัมมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
อัตถะ = เนื้อความ
สัง = โดยย่อ
คหะ = รวบรวม


อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ไว้โดยย่อ
อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม


แบ่งเป็น ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉทมีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

:b8: :b8: :b8:

(มีต่อ : สรุปเนื้อหา ๙ ปริจเฉท)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 00:41, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๑ : จิตตสังคหวิภาค :b42:

แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต
ประเภทของจิตทั้งโดยย่อ และโดยพิสดาร
ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต
กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 00:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๒ : เจตสิกสังคหวิภาค :b42:

แสดงเรื่อง เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิต
ให้มีสภาพต่างๆกันทั้งหมด
๕๒ ลักษณะ
แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท
เจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 00:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2010, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริเฉทที่ ๓ : ปกิณณกสังคหวิภาค :b42:

แสดง การนำจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม หมวด
ได้แก่ เหตุแห่งความดีชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ)
ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ)


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 21 ม.ค. 2010, 00:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๔ : วิถีสังคหวิภาค :b42:

แสดง วิถีจิต อันได้แก่ กระบวนการทำงานของจิต
ที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภท

บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง
ก่อนที่จะเกิดจิตบุญ จิตบาป
มีจิตขณะหนึ่งก่อนเกิด คอยเปิดประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบา


จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)
หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ)


หากเราเข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๕ : วิถีมุตตสังคหวิภาค :b42:

แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย
ขณะ ตาย (จุติ) และขณะ เกิดใหม่ (ปฏิสนธิ)


กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ
โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษย์ภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๑ ภูมิ)

ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร
ควรวางใจอย่างไรจึงไปเกิดในภพภูมิที่ดี


พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที
มิใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่

และยังอธิบายเรื่องของ กรรม
ลำดับแห่ง การให้ผลของกรรม ไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 22 ม.ค. 2010, 17:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2010, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๖ : รูปสังคหวิภาค และนิพพาน :b42:

เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก อันเป็นนามธรรมมาแล้ว
ในปริเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

นั่นคือเรื่องของ รูป ร่างกาย (รูปธรรม)
โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่างๆได้ ๒๘ ชนิด
และอธิบายถึง สมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆไว้อย่างละเอียดพิสดาร


ในตอนท้ายได้กล่าวถึงเรื่อง พระนิพพาน ว่ามีสภาวะอย่างไร
อันจะทำให้เข้าใจเรื่องพระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๗ : สมุจจยสังคหวิภาค :b42:

เมื่อได้ศึกษา ปรมัตถธรรม ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว
ในปริเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลซึ่งให้ผลเป็นความสุข
และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์

ในสภาวะความเป็นจริงแล้ว กุศลจิต (จิตบุญ) และ อกุศลจิต (จิตบาป)
จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา
ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล


คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้
จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่รู้จกจบสิ้น


ใน ปริจเฉทที่ ๗ นี้ ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สำคัญๆ ได้แก่

อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น)
อายตนะ ๑๒ (สิ่งที่เชื่อมต่อให้รู้อารมณ์)
ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)
อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ)

และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค)

มี ๓๗ ประการ คือ

สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔,
อินทรีย์ ๕., พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๘ : ปัจจยสังคหวิภาค :b42:

ในปริจเฉทนี้ ได้แสดงเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท
(เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์)
และเป็นปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย

ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของ บัญญัติธรรม
ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้
แต่เป็น ความจริงสมมติ (สมมติสัจจะหรือสมมติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2010, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ปริจเฉทที่ ๙: กัมมัฏฐานสังคหวิภาค :b42:

ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้น
เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น


ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

เพราะผลของการทำสมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้น
เป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำลายกิเลสได้


ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานจนถึงขั้นอรูปฌาน
จนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน
แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น

จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า


จิต เจิตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิต
ต่างก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป
ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา


เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
ไม่ใช่ตัวตน อะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ไม่สามารถที่จะบังคับได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน

ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้
เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : “พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร” ใน สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม
เรียบเรียงโดย ดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ จัดพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกในงานทอดกฐิน
ณ วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒, หน้า ๒๔-๒๗)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 17:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ ผู้เรียบเรียง เป็นประธานมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม

เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นตำราเรียนทางไปรษณีย์ .....เล่มที่ 1 ของมูลนิธิ

-----------

ปัจจุบันการเรียนการสอน พระอภิธรรมหลักสูตร...

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย, วัดมหาธาตุ) และ

มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย (วัดโสมฯ)

เรียนสอนกันตามอภิธัมมัตถสังคหะข้างต้น

ส่วนมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม อยู่ในสังกัดของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย, วัดมหาธาตุ

---------------------------------


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


link PDF download

อ้างคำพูด:
[ปริเฉทที่๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค*]ขอความนอบนอมจงมีแดพระรัตนตรัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลี. คาสถาเริ่มตนปกรณ. ขาพเจา (ชื่ออนุรุทธาจารย) ขอถวายอภิวาท


http://www.thammapedia.com/dhamma/tripitaka/parean/80.pdf


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p6/008.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตปรมัตถ์

ที่มา:

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_2.htm

อ้างคำพูด:
จิตซึ่งเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์นั้น มิใช่มีแต่ในพระพุทธศาสนา หรือเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้นนั้นเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เชื้อชาติใดๆ ทั้งสิ้น การที่บัญญัติว่าเป็นบุคคลนี้เห็น สัตว์นั้นได้ยิน เป็นต้น ก็โดยอาศัยรูปและการจำ ถ้าไม่มีรูปและการจำ ก็ย่อมจะบัญญัติจิตเห็น จิตได้ยินนั้นๆ ว่าเป็นบุคคลนี้เห็น หรือเป็นสัตว์นั้นได้ยินไม่ได้ จิตเป็นปรมัตถธรรม ไม่ว่าจะเป็นจิตเห็นของสัตว์ใด บุคคลใด จิตเห็นที่เกิดขึ้นนั้น ก็จะต้องเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตได้ยินก็จะต้องได้ยินเสียง จิตเห็นจะรู้เสียงไม่ได้ และจิตได้ยินจะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ได้ ไม่มีผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชา ให้ปรมัตถธรรมเปลี่ยนลักษณะ และสภาพของปรมัตถธรรมนั้นๆ เป็นอย่างอื่นได้ จิตซึ่งเป็นปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เมื่อไม่มีปัจจัย จิตก็เกิดไม่ได้ เช่น เมื่อเสียงไม่เกิดขึ้นกระทบหู จิตได้ยินก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อกลิ่นไม่เกิดขึ้นกระทบจมูก จิตรู้กลิ่นก็เกิดไม่ได้ จิตแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทนั้นๆ ฉะนั้น จิตที่เกิดขึ้นจึงต่างกันเป็น ๘๙ ประเภท หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ (ซึ่งเรียกว่า ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวง) และปัจจัยที่ทำให้เกิดจิตประเภทหนึ่งๆ นั้นก็ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว แต่ต้องมีหลายปัจจัย เช่น จิตเห็นเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย คือตาซึ่งได้แก่ จักขุปสาท และรูป คือสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นต้น

จิตเป็นปรมัตถธรรมที่ไม่ใช่รูป ปรมัตถธรรมใดไม่ใช่รูป ปรมัตถธรรมนั้นเป็นนามธรรม จิต เจตสิก นิพพานเป็นนามธรรม รูปเป็นรูปธรรม [ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ ข้อ ๘๔๔]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกปรมัตถ์
http://www.dhammajak.net/forums/posting.php?mode=reply&f=66&t=28831


อ้างคำพูด:
เจตสิกได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเจตสิกปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตปรมัตถ์


อ้างคำพูด:
ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น มีนามปรมัตถ์อีกประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต นามปรมัตถ์นั้นคือเจตสิก


อ้างคำพูด:
ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ เป็นต้นนั้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต ถ้าไม่มีจิต เจตสิกคือ ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ เป็นต้นนั้น ก็เกิดไม่ได้ เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ประเภทหรือเรียกว่า ๕๒ ดวง เช่น ความโกรธ (โทสะ) ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง มีลักษณะหยาบกระด้างดุร้าย ความรักก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง คือ โลภเจตสิก มีลักษณะยึดติด ไม่สละและปรารถนาอารมณ์ จะเห็นได้ว่า เจตสิกแต่ละประเภทเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน นอกจากมีลักษณะต่างกัน กิจของเจตสิกแต่ละอย่างก็ต่างกัน ผลคืออาการที่ปรากฏก็ต่างกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร